420 likes | 1.26k Views
หน่วยที่ 2. การฝากขาย ( Consignments). สาระการเรียนรู้. 1 . ความหมายของการฝากขาย 2. ประโยชน์ของการฝากขาย 3. สิทธิและหน้าที่เกี่ยวกับการฝากขาย 4. ความแตกต่างระหว่างการขายโดยปกติและการฝากขาย 5. การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการฝากขายด้านผู้รับฝากขาย
E N D
หน่วยที่ 2 การฝากขาย(Consignments)
สาระการเรียนรู้ 1. ความหมายของการฝากขาย 2. ประโยชน์ของการฝากขาย 3. สิทธิและหน้าที่เกี่ยวกับการฝากขาย 4. ความแตกต่างระหว่างการขายโดยปกติและการฝากขาย 5. การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการฝากขายด้านผู้รับฝากขาย 6. การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการฝากขายด้านผู้ฝากขาย 7. การแสดงรายการเกี่ยวกับฝากขายในงบการเงิน 8. ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value added tax) เกี่ยวกับการฝากขายสินค้า
ความหมายของการฝากขาย(Consignments)ความหมายของการฝากขาย(Consignments) การฝากขาย(Consignments)หมายถึง การทำการค้ากันระหว่างบุคคล 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งเป็นเจ้าของสินค้าเรียกว่า ผู้ฝากขาย (Consignor) ส่งสินค้าให้อีกฝ่ายหนึ่งขายสินค้าแทนเรียกว่า ผู้รับฝากขาย(Consignee)กรรมสิทธิ์ในสินค้าของผู้ฝากขายและจะถูกโอนไปยังผู้ซื้อเมื่อผู้รับฝากขาย ขายสินค้าได้และส่งมอบสินค้าให้กับผู้ซื้อแล้ว
ประโยชน์ของการฝากขาย ประโยชน์ต่อผู้ฝากขายสินค้า (Consignor) 1. ลดความเสี่ยงภัยจากการขายสินค้าเป็นเงิน 2. เป็นการขยายตลาดและแนะนำสินค้าใหม่ 3. ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเนื่องจากไม่ต้องเปิดสาขาใหม่และจ้างพนักงานเพิ่ม 4. การควบคุมราคาขายสินค้า 5. มีสิทธิเรียกสินค้าคืนหากผู้รับฝากขายไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง
ประโยชน์ต่อผู้รับฝากขาย(Consignee) 1. ลดความเสี่ยงภัยจากการลงทุนในสินค้า 2. ลดความเสี่ยงในผลขาดทุนที่อาจเกิดขึ้นจากการขายสินค้าไม่ได้ หรือล้าสมัย 3. มีสิทธิเรียกคืนค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการฝากขายสินค้าที่สำรองจ่ายแทนไปก่อนจากผู้ฝากขายได้ 4. มีสิทธิได้รับผลตอบแทนจากการรับฝากขายสินค้าในลักษณะค่านายหน้าหรือค่าป่วยการ
3. สิทธิและหน้าที่เกี่ยวกับการฝากขาย สิทธิและหน้าที่ของผู้ฝากขาย
สิทธิและหน้าที่ของผู้รับฝากขายสิทธิและหน้าที่ของผู้รับฝากขาย
4. ความแตกต่างระหว่างการขายโดยปกติและการฝากขาย4. ความแตกต่างระหว่างการขายโดยปกติและการฝากขาย
การบันทึกบัญชีด้านผู้รับฝากขายการบันทึกบัญชีด้านผู้รับฝากขาย หลักปฏิบัติทางบัญชีเกี่ยวกับการรับฝากขายสินค้าผู้รับฝากขายปฏิบัติได้ 2 วิธี • การบันทึกรายการรับฝากขายแยกจากการขายตามปกติ • การบันทึกรายการรับฝากขายรวมกับการขาย
การบันทึกรายการรับฝากขายแยกจากการขายตามปกติของกิจการ ผู้รับฝากขายจะเปิดบัญชีรับฝากขาย (Consignment in-controlling account) เพื่อบันทึกรายการที่เกี่ยวกับการรับฝากขายและแสดงฐานะเป็นลูกหนี้หรือเจ้าหนี้ของผู้ฝากขายโดยพิจารณายอดคงเหลือดังนี้ • ยอดคงเหลือบัญชีรับฝากขาย ด้านเดบิต มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ผู้ฝากขาย • ยอดคงเหลือบัญชีรับฝากขาย ด้านเครดิตมีฐานะเป็นลูกหนี้ผู้ฝากขาย
การบันทึกรายการรับฝากขายรวมกับการขายตามปกติการบันทึกรายการรับฝากขายรวมกับการขายตามปกติ ให้บันทึกความทรงจำ (Memorandum) เมื่อรับสินค้าจากผู้ฝากขาย เปิดบัญชี “ผู้ฝากขาย” เพื่อบันทึกค่าใช้จ่ายในการรับฝากขายแทนผู้ฝากขาย เมื่อขายสินค้ารับฝากขายบันทึกรายการ • ซื้อสินค้าด้วยทุน (ราคาขาย หัก ค่านายหน้า) • บันทึกรายการขายด้วยราคาขาย
การบันทึกด้านผู้ฝากขายการบันทึกด้านผู้ฝากขาย การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการฝากขายทำได้ 2วิธี คือ • การบันทึกการฝากขายแยกต่างหากจากการขายตามปกติ • การบันทึกการฝากขายรวมกับการขายตามปกติ การบันทึกบัญชีทั้งสองวิธีผู้ให้คำนึงถึงวิธีการบันทึกบัญชีสินค้า เป็นการบันทึกสินค้า แบบสิ้นงวด (Periodic inventory method) หรือ แบบต่อเนื่อง (Perpetual inventory method)
การบันทึกการฝากขายสินค้าแยกต่างหากจากการขายตามปกติการบันทึกการฝากขายสินค้าแยกต่างหากจากการขายตามปกติ เหมาะกับกิจการที่มีการส่งสินค้าไปฝากขายกับผู้รับฝากขายหลายรายเปิดบัญชีฝากขาย (Consignment-out account) เท่ากับจำนวนของผู้รับฝากขายสินค้าในมือของผู้รับฝากขายในให้นับรวมเป็นสินค้าคงเหลือของผู้ฝากขาย
การบันทึกการฝากขายสินค้ารวมกับการขายตามปกติการบันทึกการฝากขายสินค้ารวมกับการขายตามปกติ เหมาะกับกิจการมีการส่งสินค้าไปขายกับผู้รับฝากขายน้อยรายสัดส่วนน้อยเมื่อเทียบกับการขายปกติ ไม่ต้องแยกกำไรขาดทุนออกจากการขายปกติ เปิดบัญชีฝากขายเพื่อบันทึกต้นทุนสินค้าฝากขาย
การแสดงรายการเกี่ยวกับการฝากขายในงบการเงินของผู้ฝากขายการแสดงรายการเกี่ยวกับการฝากขายในงบการเงินของผู้ฝากขาย งบกำไรขาดทุน (Profit and loss statement)2 วิธี ดังนี้ 1. แสดงรายการเกี่ยวกับการฝากขายแยกต่างหากจากการขายปกติ กรณีฝากขายสินค้ากับผู้รับฝากขายหลายราย แสดงยอดขาย ต้นทุนขาย ค่าใช้จ่ายและกำไรสุทธิจากการฝากขายแยกต่างหาก เป็นวิธีที่ทำให้ผู้บริหารทราบรายละเอียดของผลการดำเนินงานของกิจการ 2. แสดงรายการเกี่ยวกับการฝากขายเฉพาะรายการกำไร (ขาดทุน) จากการฝากขาย กรณีส่งสินค้าไปฝากขายกับผู้รับฝากขายน้อยรายให้แสดงเฉพาะกำไร (ขาดทุน) จากการฝากขายเท่านั้น
ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value added tax) เกี่ยวกับสินค้าฝากขาย - ผู้ฝากขายรับผิดชอบในภาระภาษีมูลค่าเพิ่ม ยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีด้วยตนเอง - ตั้งผู้รับฝากขายเป็นตัวแทนในการจำหน่ายสินค้าและออกใบกำกับภาษีในนามผู้ฝากขาย
สรุป การฝากขายเป็นการการค้ากันระหว่างบุคคล2ฝ่ายคือ ผู้ฝากขาย และผู้รับฝากขายกรรมสิทธิ์ในสินค้ายังของผู้ฝากขายและโอนไปยังผู้ซื้อเมื่อผู้รับฝากขายขายสินค้าได้ การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการฝากขายทั้งด้านผู้ฝากขายและผู้รับฝากขายทำได้ 2 วิธี คือ 1.การบันทึกรายการฝากขายแยกต่างหากจากการขายปกติ 2. การบันทึกรายการฝากขายรวมกับการขายปกติ ผู้ฝากขายมีหน้าที่ในการยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีมูลค่าเพิ่มผู้รับฝากขายทำหน้าที่ออกใบกำกับสินค้าให้ลูกค้าในนามผู้ฝากขาย