1 / 50

ผศ .ดร. ริเรืองรอง รัตนวิไลสกุล

SSC290 Environment and Development. การบรรยายครั้งที่ 3. ปัญหาสิ่งแวดล้อม. ผศ .ดร. ริเรืองรอง รัตนวิไลสกุล. เทคโนโลยีกับสิ่งแวดล้อม.

amie
Download Presentation

ผศ .ดร. ริเรืองรอง รัตนวิไลสกุล

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. SSC290 Environment and Development การบรรยายครั้งที่ 3 ปัญหาสิ่งแวดล้อม ผศ .ดร. ริเรืองรอง รัตนวิไลสกุล

  2. เทคโนโลยีกับสิ่งแวดล้อมเทคโนโลยีกับสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีช่วยให้มนุษย์มีความสามารถมากขึ้น โดยเฉพาะความสามารถในการเอาชนะธรรมชาติ เพื่อให้มี ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยเฉพาะเทคโนโลยี ช่วยให้มนุษย์สามารถทำงานได้มากขึ้น เดินทางได้รวดเร็วขึ้น สามารถมองเห็นได้ไกลกว่าที่ดวงตามนุษย์จะมองเห็นได้ สามารถติดต่อสื่อสารและสื่อความหมายกันได้ โดยไม่ต้องเดินทางมาพบกันฯลฯ เช่น มนุษย์สามารถเดินทางได้ถึงวันละ 408,000 ไมล์โดยทางอากาศเป็นต้น

  3. ที่สำคัญก็คือมนุษย์ได้อาศัยเทคโนโลยีในการผลิตอาหาร ทำให้ได้อาหารมากขึ้นต่างกับสมัยก่อนมนุษย์ใช้ก้อนหินกิ่งไม้หรือหอกในการหาอาหาร ทำให้จับสัตว์ได้เพียงจำนวนหนึ่ง แต่เมื่อมนุษย์ได้พัฒนาเทคโนโลยีให้สูงขึ้น ด้วยการใช้ธนูและเครื่องจับสัตว์ ทำให้มนุษย์สามารถล่าสัตว์ได้มากกว่าเดิม ต่อมามนุษย์ก็ได้พัฒนาเทคโนโลยีขึ้นเรื่อย ๆ ในที่สุดก็กลายเป็นเทคโนโลยีการเลี้ยงสัตว์และการเพาะปลูก นั่นคือ มนุษย์ได้พัฒนาจาก Food collectionไปเป็นFood productionด้านเทคโนโลยีการเลี้ยงสัตว์ มนุษย์ได้พัฒนาขึ้นไปเรื่อยๆ จากการใช้พันธุ์พื้นบ้านไปเป็นการคัดเลือกพันธุ์ การหาพันธุ์ใหม่ และการให้อาหารที่มีคุณภาพ ฯลฯ

  4. ด้านการเพาะปลูก มนุษย์สามารถผลิตเครื่องมือที่ดีขึ้น เช่น สามารถผลิตและใช้คันไถ รู้จักการใช้ปุ๋ย การชลประทาน ทำให้สามารถเพิ่มผลผลิตได้สูงมากขึ้นด้านการอุตสาหกรรม เทคโนโลยีทำให้เกิดการปฏิวัติ ทางอุตสาหกรรม ด้วยการนำเอาเครื่องจักรมาใช้แทนแรงงานคนและแรงงานสัตว์ ด้านเทคโนโลยีพลังงงาน มนุษย์มีความสามารถสูงจากการรู้จักเอาพลังงานต่างๆ มาใช้ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำมัน แก๊สธรรมชาติ และพลังงานจากน้ำตก ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีอื่นๆ ที่ช่วยสร้างคุณภาพชีวิต ให้แก่มนุษย์ เป็นต้นว่าเทคโนโลยีทางชีวภาพ และเทคโนโลยีการสื่อสาร/คมนาคมต่างๆ เป็นต้น

  5. เทคโนโลยีดังกล่าวทั้งหมดนี้ แม้จะให้คุณประโยชน์แก่มนุษยชาติอย่างมหาศาล แต่ถ้ามนุษย์ไม่รู้จักใช้หรือใช้ไม่เหมาะสม ก็อาจก่อให้เกิดปัญหาได้เหมือนกัน เช่น การจับปลาโดยใช้ระเบิด การมีโรงจักรไฟฟ้าพลังปรมาณูแต่ไม่รู้จักการควบคุม ดูแล ทำให้เกิดการรั่วของสารกัมมันตรังสี หรือการนำเอาพลังปรมาณูไปใช้ในการสู้รบกัน เป็นต้น ดังนั้นผลเสียที่อาจเกิดจากเทคโนโลยีก็มีไม่ใช่น้อย อาทิ 1. ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมถูกทำลายจนเสียสมดุลธรรมชาติ 2. การเกิดมลภาวะ 3. การทำลายชีวิตและทรัพย์สินในสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

  6. สรุป เทคโนโลยี แม้จะให้ประโยชน์แก่มนุษย์มากมายมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการอำนวยความสะดวกสบาย ในชีวิตประจำวัน ความรวดเร็ว และวิทยาการสมัยใหม่ ในขณะเดียวกันเทคโนโลยี ก็สามารถให้โทษแก่มวลมนุษย์ได้มากเช่นกันไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการผลิตอาวุธนิวเคลียร์ในการทำสงคราม การทำลายทรัพยากรต่างๆ โดยไม่คำนึงถึงการเสียสมดุลธรรมชาติ หรือการใช้สารพิษโดยขาดความรู้ สิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

  7. ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาสิ่งแวดล้อมหมายถึงปัญหาความเสื่อมโทรมในเชิงคุณภาพและปริมาณของสิ่งแวดล้อม ทั้งที่เป็นสิ่งแวดล้อมทางชีวกายภาพและสิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคม โดย มีสาเหตุมาจากการกระทำของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการพัฒนา ด้วยเทคโนโลยีและวิทยาการสมัยใหม่ สาเหตุของปัญหาสิ่งแวดล้อม 1. การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร 2. การขยายตัวทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้า ทางเทคโนโลยี

  8. ประเภทของปัญหาสิ่งแวดล้อมประเภทของปัญหาสิ่งแวดล้อม 1. ความเสื่อมสลายของทรัพยากรธรรมชาติ 2. ภาวะมลพิษของสิ่งแวดล้อม 3. ปัญหาสิ่งแวดล้อมของชุมชนเมือง 4. ความเสื่อมสลายของสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม

  9. ความเสื่อมสลายของทรัพยากรธรรมชาติความเสื่อมสลายของทรัพยากรธรรมชาติ • หมายถึง การที่ทรัพยากรธรรมชาติร่อยหรอทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ซึ่งครอบคลุมทั้งทรัพยากรที่มีลักษณะ ทางกายภาพและชีวภาพ โดยมีสาเหตุมาจากการกระทำของมนุษย์ โดยที่ทรัพยากรบางประเภทเมื่อสูญสิ้นไปแล้วไม่สามารถที่จะสร้างขึ้นทดแทนได้ หรือสร้างทดแทนขึ้นใหม่ได้แต่ต้องใช้เวลานาน อาทิ การสูญเสียพื้นที่ป่าไม้จากการทำไร่เลื่อนลอย การร่อยหรอของป่าชายเลนจากการทำนากุ้ง ตลอดจนปริมาณสำรองของน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติที่ลดลง เป็นต้น

  10. ภาวะมลพิษของสิ่งแวดล้อมภาวะมลพิษของสิ่งแวดล้อม • หมายถึงการที่สิ่งแวดล้อมถูกปนเปื้อนด้วยสิ่งแปลกปลอมหรือของเสียต่างๆ ที่เกิดจากกระบวนการผลิตทั้งในรูปของวัตถุดิบและพลังงาน ทั้งที่มีลักษณะทางกายภาพและชีวภาพ โดยที่สิ่งต่างๆ เหล่านี้เจือปนอยู่ในธรรมชาติมากจนเกินระดับที่กระบวนการฟอกตัวของระบบธรรมชาติจะรองรับได้ และในบางกรณีอาจถึงระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและอนามัยของมนุษย์ รวมทั้งระบบนิเวศน์ของพืชและสัตว์ก็ได้ อาทิ มลพิษทางน้ำ ทางอากาศ ทางเสียง รวมทั้งปัญหาขยะและของเสียอันตราย เป็นต้น

  11. ปัญหาสิ่งแวดล้อมของชุมชนเมืองปัญหาสิ่งแวดล้อมของชุมชนเมือง • หมายถึงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในเมืองทั้งทางด้านกายภาพ สังคม และวัฒนธรรม อันเป็นมาจากการกระทำของมนุษย์ โดยมีสาเหตุมาจากการขาดแผนการควบคุมการใช้ที่ดินที่เหมาะสม และขาดการจัดการชุมชนเมืองที่เป็นระบบ ทำให้สภาพแวดล้อมของเมืองเสื่อมโทรม อาทิ ปัญหาของระบบสาธารณูปโภค ปัญหาด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ปัญหาชุมชนแออัดและปัญหาการจารจรติดขัด/ คับคั่ง เป็นต้น

  12. ความเสื่อมสลายของสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมความเสื่อมสลายของสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม • หมายถึงความเสื่อมสลายที่เกิดขึ้นตามกาลเวลาและอายุขัยของศิลปวัตถุ โดยมีสาเหตุมาจากการถูกทำลายทั้งจากสภาวะทางธรรมชาติ อาทิ ฝนกรด การทรุดตัวของ พื้นดิน น้ำท่วม ไฟป่า พายุ และแผ่นดินไหว และจาก การกระทำของมนุษย์อันเป็นผลมาจากการพัฒนา อาทิ การก่อสร้าง การลักลอบขุดหาทรัพย์สิน การรื้อถอนทำลายเพื่อเอาทรัพย์สิน และสิ่งของมีค่าจากโบราณสถาน เป็นต้น

  13. ขอบเขตของปัญหาสิ่งแวดล้อมขอบเขตของปัญหาสิ่งแวดล้อม ขอบเขตของปัญหาสิ่งแวดล้อม แบ่งออกเป็น 3 ระดับคือ 1. ปัญหาสิ่งแวดล้อมระดับท้องถิ่น 2. ปัญหาสิ่งแวดล้อมระดับภูมิภาค 3. ปัญหาสิ่งแวดล้อมระดับโลก

  14. ปัญหาสิ่งแวดล้อมระดับท้องถิ่นปัญหาสิ่งแวดล้อมระดับท้องถิ่น (National Environmental Problem) ปัญหาสิ่งแวดล้อมระดับท้องถิ่น เป็นปัญหาที่มีสาเหตุและผลกระทบในลักษณะที่ค่อนข้างจำกัด กล่าวคือจะมีผลกระทบต่อมนุษย์ พืช สัตว์ ทรัพย์สินและสิ่งแวดล้อมในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง หรือภายในอาณาเขตประเทศใดประเทศหนึ่งโดยเฉพาะเท่านั้น เช่น ปัญหาอากาศเป็นพิษจากการปล่อยทิ้งกากของเสียของโรงงานอุตสาหกรรม หรือการรั่วไหลของสารเคมีจากสถานที่จัดเก็บ เป็นต้น

  15. ปัญหาสิ่งแวดล้อมระดับภูมิภาคปัญหาสิ่งแวดล้อมระดับภูมิภาค ( Regional Environmental Problem ) ปัญหาสิ่งแวดล้อมระดับภูมิภาค ถือเป็นปัญหาที่ปราศจากพรมแดน กล่าวคือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากปัญหาสภาพแวดล้อม ต่างๆ มิได้จำกัดขอบเขตอยู่เพียงเฉพาะในประเทศที่ก่อให้เกิดปัญหาเท่านั้น แต่อาจจะส่งผลไปถึงประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเดียวกัน เช่น ปัญหาน้ำเสีย ปัญหาฝนกรด ปัญหาป่าไม้ แหล่งน้ำจืด และระบบนิเวศน์ทางน้ำ เป็นต้น

  16. ปัญหาสิ่งแวดล้อมระดับโลกปัญหาสิ่งแวดล้อมระดับโลก (Global Environmental Problem) ปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก เป็นปัญหาที่มีผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ทั่วโลก ซึ่งถือเป็นวิกฤตการณ์อย่างหนึ่งของโลก เป็นภัยที่กำลังคุกคามต่อสิ่งแวดล้อมรอบตัวมนุษย์ในส่วนที่เรียกว่า “ชีวาลัย” หรือระบบนิเวศน์ของโลก เช่น การลดลงของชั้นโอโซนในบรรยากาศซึ่งมีสาเหตุมาจากการใช้สาร CFC หรือการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลกอันเป็นผลมาจากสภาวะเรือนกระจกซึ่งมีสาเหตุมาจากการเพิ่มขึ้นของก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ในบรรยากาศ เป็นต้น

  17. ตัวอย่าง ปัญหาสิ่งแวดล้อมระดับท้องถิ่น - ปัญหามลพิษจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะ - ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจาการก่อสร้างโรงไฟฟ้าบ่อนอก - ปัญหาการบุกรุกพื้นที่บนเกาะช้าง - มลพิษที่เกิดจากการเลี้ยงกุ้งกุลาดำในเขตพื้นที่น้ำจืด บริวเณสุพรรณบุรีและลพบุรี - ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมภายหลังการก่อสร้างเขื่อนทดน้ำ บางปะกง - ผลกระทบจากการสร้างเขื่อนรัชชประภา ฯลฯ

  18. กิจกรรมเสริมทักษะ ให้นักศึกษายกตัวอย่างปัญหาสิ่งแวดล้อม ระดับภูมิภาค มาอย่างน้อยคนละ 2 เรื่อง

  19. ผลกระทบของปัญหาสิ่งแวดล้อมผลกระทบของปัญหาสิ่งแวดล้อม ผลกระทบของปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีต่อมนุษย์ และสิ่งมีชีวิตต่างๆ ในโลกพิจารณาได้ใน 2 ประเด็นใหญ่ๆ คือ 1. พิจารณาจากลักษณะการเกิด ความรุนแรง และ ความเสียหายที่เกิดขึ้น 2. พิจารณาจากผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ ต่อมนุษย์ และต่อทรัพย์สิน

  20. ผลกระทบของปัญหาสิ่งแวดล้อมผลกระทบของปัญหาสิ่งแวดล้อม พิจารณาจากลักษณะการเกิด ความรุนแรงและความเสียหายที่เกิดขึ้น 1. ผลกระทบอย่างเฉียบพลัน(Acute Environment-disruption) เป็นผลกระทบของปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในบางเวลา บางสถานที่ในรูปแบบของปรากฏการณ์ที่เห็นได้อย่างเด่นชัด ซึ่งโดยทั่วไปมักจะสร้างความเสียหายต่อมนุษย์ สิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อมโดยตรงและในขอบเขตที่กว้างขวาง เช่น การระเบิดของถังแก๊สเหลวที่ใช้ในอุตสาหกรรม หรือการรั่วไหลของน้ำมันจากเรือบรรทุกน้ำมัน เป็นต้น

  21. 2. ผลกระทบอย่างต่อเนื่อง(Creeping Enviromental-disruption) เป็นผลกระทบของปัญหาที่จะแสดงผลในรูปของความเสื่อมโทรมของคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างค่อยเป็นค่อยไป และจะปรากฎผลให้เห็นในระยะยาว โดยตกอยู่ในสภาวะที่เสี่ยงภัยต่อความอดอยากและหิวโหย เนื่องจากเกิดภาวะขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้เป็นอาหาร รวมทั้งแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภค และอื่นๆ เป็นต้น

  22. 3. ผลกระทบอย่างสะสมความเสี่ยง( Risk Environmental-disruption ) เป็นผลกระทบที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีในกิจการ อุตสาหกรรมเพื่อการผลิตทั้งในเชิงพาณิชย์และการทหาร การผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ที่มีอำนาจในการทำลายล้างสูงและอย่างกว้างขวาง ซึ่งมนุษย์สามารถควบคุมอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตต่างๆ ได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น ซึ่งหมายความว่า ทุกวันนี้เรายังต้องอยู่บนความเสี่ยงต่อความผิดพลาดและความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม อันอาจจะเกิดขึ้นได้จากการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้

  23. ผลกระทบของปัญหาสิ่งแวดล้อมผลกระทบของปัญหาสิ่งแวดล้อม พิจารณาจากผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ ต่อมนุษย์ และต่อทรัพย์สิน 1. ผลกระทบต่อระบบนิวเศน์ ในระบบนิเวศหนึ่งๆ สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตจะช่วยดำรงสถานภาพของระบบธรรมชาติ มิให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากจนเกินไป เรียกว่า “สมดุลทางนิเวศวิทยา” ดังนั้นเมื่อมนุษย์เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับระบบนิเวศน์มากเกินไป ย่อมทำให้ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสียความสมดุล และเกิดเป็นมลพิษ

  24. 2. ผลกระทบต่อมนุษย์ การเปลี่ยนแปลงคุณภาพของสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเกิดจากการพัฒนา การเกษตรกรรมหรือการอุตสาหกรรมนอกจากจะทำให้ความสมดุลในธรรมชาติต้องเสียหายแล้ว ยังมีผลต่อการสร้างสภาพแวดล้อมใหม่ที่เหมาะสมต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ อีกด้วย เช่น การสร้างเขื่อนฯ นักนิเวศน์วิทยาได้ทำการศึกษาพบว่า การสร้างเขื่อน นอกจากสร้างความเสียหายให้กับความสมดุลของธรรมชาติแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมต่อการแพร่กระจายของโรคบางชนิด เช่น โรคพยาธิใบไม้ในเลือด และโรคพยาธิใบไม้ในตับ เพราะเชื้อโรคเหล่านี้จะอยู่ในตัวหอยซึ่งขยายพันธุ์ได้ดีในบริเวณน้ำนิ่งที่อยู่เหนือเขื่อนเป็นพาหนะ ฯลฯ

  25. 3. ผลกระทบต่อทรัพย์สินของมนุษย์ จากการศึกษาศิลปกรรมของยุโรปนานาชนิด พบว่าหน้าจั่วของมหาวิหารโคโลญจ์ในประเทศเยอรมัน สนามกีฬาโคลอสเซี่ยมของอิตาลี และกระจกสีตามวิหารต่างๆ ได้รับความเสียหายจากปัญหาฝนกรด ซึ่งเกิดจากออกไซด์ของไนโตรเจนจากไอเสียรถยนต์ในอากาศ รวมตัวกับน้ำฝนที่ตกลงสู่พื้นดิน และมีสภาพเป็นกรดกรัดกร่อนทำลายสิ่งก่อสร้างดังกล่าว รวมทั้งพืชพันธุ์ตามธรรมชาติต่างๆ ได้รับความเสียหายเป็นอันมาก

  26. สถานการณ์สิ่งแวดล้อมโลกในศตวรรษที่ 21 • ช่วงต้นของศตวรรษที่ 21 • อากาศเป็นพิษเพิ่มขึ้น ควบคู่กับความเป็นพิษของน้ำและดิน • พืชพันธุ์ธัญญาหารและอาหารต่างๆ จะปนเปื้อนด้วยสารพิษ • มลพิษทางจิตใจของผู้คนจะอยู่ในสภาพน่าเป็นห่วง กล่าวคือ ความเอื้ออาทรต่อกันหาได้ยากยิ่ง มีความเครียดเพิ่มมากขึ้น • แหล่งผลิตมลพิษที่มาจากอุตสาหกรรมจะแพร่ระบาดมากขึ้น • มลพิษจะเข้าสู่ชนบทเพิ่มมากขึ้น

  27. ประชาชนจะตาย และป่วยด้วยโรคจากการพัฒนา โรคจากอุตสาหกรรม และโรคจากสารพิษมากขึ้น • ชีวิตผู้คนจะซับซ้อนและมีการแข่งขันกันมากขึ้น • กลไกการจัดการ/ การควบคุม/ การแก้ไข/ การป้องกัน ปัญหาจากมลพิษไม่สามารถเป็นที่พึ่งของประชาชนได้ • ในระยะกลางและระยะปลายของศตวรรษที่ 21 • ปัญหาสิ่งแวดล้อมในทุกๆ เรื่องเพิ่มขึ้นถึงระดับสูงมาก ทำให้มนุษย์ถึงทางตัน จึงเกิดความตระหนักภัยที่จะมาถึงตัวทำให้ต้องหยุดการทำลายธรรมชาติและการสร้างมลพิษ แล้วหันมาพัฒนาความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เพื่อคุณภาพชีวิตแทน

  28. มีการป่วยและตายด้วยโรคจากการพัฒนาในผู้ป่วยรายเก่า และผู้ป่วยรายใหม่มากมาย • ในระยะปลายของศตวรรษที่ 21 จะมีการตายและเจ็บป่วย จากผู้ป่วยรายใหม่ด้วยโรคในกลุ่มนี้ลดลง โดยอาจจะเกิด ในเฉพาะผู้ป่วยรายเก่า • เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเพื่อศตวรรษที่ 21 • เป็นเทคโนโลยีที่มีลักษณะสะอาด เรียบง่าย ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่รวดเร็ว ไม่ซับซ้อน และมีภาวะสมดุล • เป็นเทคโนโลยีเพื่อการป้องกันปัญหาสุขภาพอันเนื่องมาจากอุตสาหกรรม/สารพิษ และสิ่งแวดล้อมมากกว่าการรักษา

  29. เป็นเทคโนโลยีผสมผสานสหวิทยาการ ภูมิปัญญาชาวบ้านและ ประสบการณ์การจัดการของเจ้าของกิจการในการ“งด”และ “ลด”ซึ่งการก่อมลพิษในทุกด้าน • เป็นเทคโนโลยีที่มุ่งประโยชน์สูงสุดเพื่อสุขภาพของประชาชนส่วน ใหญ่ในประเทศ • ประชาชนเริ่มตระหนักที่จะลดและงดการใช้สารพิษในทุกรูปแบบ • มีการสร้างแหล่งรื่นรมย์ตามธรรมชาติมากยิ่งขึ้นด้วยการปลูก ต้นไม้ให้ออกซิเจน • ประชาชนโดยภาพรวมจะลดการบริโภคที่ฟุ่มเฟือยลง • ประชาชนโดยภาพรวมจะให้ความร่วมมือในการลดใช้พลังงานลง • นโยบายคุณภาพชีวิตจะเน้นเรื่องอนามัยส่วนบุคค / สิ่งแวดล้อม และจริยธรรมในการผลิตและการบริโภค

  30. สถานการณ์ สิ่งแวดล้อม ของประเทศไทย

  31. สถานการณ์สิ่งแวดล้อมของประเทศไทย สถานการณ์สิ่งแวดล้อมของประเทศไทย [Environmental Degradation in Thailand] • การเสื่อมโทรมของที่ดิน (land degradation) • ภาวะการขาดแคลนน้ำ (water scarcity) • การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity loss) • ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก (probable impacts of climate change)

  32. พื้นที่ป่าไม้ที่ยังคงเหลืออยู่ในปี พ.ศ. 2528/25529 และ 2535/2536 ปลายแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 5 กลางแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7 29.40% 26.03%

  33. ฉบับที่1 ฉบับที่3 ฉบับที่4 ฉบับที่5 ฉบับที่6 ฉบับที่7 ฉบับที่8 ฉบับที่2 ทั้งประเทศ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ ภาคตะวันออก การลดลงของพื้นที่ป่าไม้ในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2504-2541 การลดลงของพื้นที่ป่าไม้ Source: Forestry Statistics of Thailand (1985, 1991 and 1998), the Royal Forest Department http://www-cger.nies.go.jp/cger-j/db/enterprise/gwdb/B00/B0n/b031_tbl01.html

  34. แผ่นดินถล่ม บ้านลุ่มน้ำแม่แจ่ม (บ้านยางหลวง ลุ่มน้ำแม่แรก)จังหวัดเชียงใหม่ (พ.ศ. 2546)

  35. แผ่นดินถล่ม บ้านลุ่มน้ำแม่แจ่ม (บ้านยางหลวง ลุ่มน้ำแม่แรก) จังหวัดเชียงใหม่ (ปี 2546)

  36. น้ำท่วมเชียงใหม่ สิงหาคม 2548

  37. น้ำท่วมเชียงใหม่ สิงหาคม 2548

  38. การศึกษาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ในประเทศไทย ประเทศไทยมีการศึกษาสถานการณ์ของประเทศที่มีผลต่อขีดความสามารถของประเทศ ในการตอบสนองต่อปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก แนวทางในการลดและแนวทางการพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับความล่อแหลมต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยมีการศึกษาครอบคลุมถึงทรัพยากรต่าง ๆ ทั้งทางด้านทรัพยากรพลังงาน ทรัพยากรป่าไม้ ทรัพยากรน้ำ ทรัพยากรชายฝั่ง การเกษตร และ สุขภาพ (กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม, 2543)

  39. การศึกษาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในประเทศไทย (2) ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ต่อทรัพยากรป่าไม้และการเกษตร ผลกระทบและความอ่อนไหว (vulnerability) ของพื้นที่ป่าไม้ เมื่อสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง มีปริมาณก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้น เป็น 2 เท่า (2xCO2) นั้น Boonpragob (1996) ได้ทำการศึกษา ครอบคลุมพื้นที่ประเทศไทยไว้ โดยทำการจำแนกชนิดและการแพร่ กระจายของป่า ตามการจำแนกของโฮลดริดจ์ (Holdridge Life-Zone Classification) ซึ่งถือเอาอุณหภูมิและความชื้นเป็นปัจจัยหลักในการ จำแนกพบว่า

  40. การศึกษาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในประเทศไทย (3) ปริมาณป่าไม้มีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงคือป่าแล้งกึ่งเขตร้อน (Subtropical Dry Forest) มีแนวโน้มที่จะสูญหายไปและจะทดแทนด้วยป่าแล้งมากส่วนเขตร้อน (Tropical Very Dry Forest) โดยทั่วไปแล้วป่าแบบกึ่งเขตร้อน (Subtropical Life Zone) ลดลงจากร้อยละ 50 เป็นร้อยละ 12 – 20 ส่วน ป่าเขตร้อน (Tropical Life Zone) เพิ่มจากร้อยละ 45 เป็นร้อยละ 80 ผลของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศจะทำให้ป่าชื้นมีแนวโน้มจะถูกแทนที่ด้วยป่าแล้ง ซึ่งจะมีผลต่อระบบนิเวศและความสมบูรณ์ของป่าไม้ในอนาคต

  41. การศึกษาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในประเทศไทย (4) ภาคการเกษตรก็ได้รับอิทธิพลจากการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ เช่นกัน จากการศึกษาผลกระทบของภาวะโลกร้อนต่อสมดุลน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาพบว่าปริมาณน้ำฝนในอนาคตมีแนวโน้มลดลง และมีอุณหภูมิเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้นทำให้ปริมาณน้ำท่าของลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีแนวโน้มลดลง 30-50% ในช่วงปีที่มีปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มเป็น2 เท่า (ปี ค.ศ.2069 - 2079) หากสมดุลของน้ำมีการเปลี่ยนแปลงไป ส่วนหนึ่งเกิดจากปริมาณน้ำฝนที่มีแนวโน้มลดลงประกอบกับอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้มีการใช้น้ำสำหรับการคายระเหยเพิ่มสูงขึ้น อีกส่วนก็เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะพื้นที่เกษตรกรรมที่เพิ่มขึ้นการใช้น้ำเพื่อการเกษตรกรรมจึงมากขึ้น เป็นผลทำให้น้ำในส่วนที่เป็นน้ำท่ามีปริมาณลดน้อยลงในอนาคต

  42. สถานการณ์สิ่งแวดล้อมของไทยสถานการณ์สิ่งแวดล้อมของไทย ปัจจุบันอยู่ในขั้นวิกฤตเกือบทุกสภาพแวดล้อมก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ และมลพิษมากมาย ปัญหาสิ่งแวดล้อมบางอย่างเกิดจากการพัฒนาตามโครงการต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ประกอบกับการเปลี่ยน แปลงของโลก(Global Change)ซึ่งทุกคนยอมรับและไม่สามารถ ปฏิเสธกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ สาเหตุสำคัญเกิดจากการเปลี่ยนแปลง องค์ประกอบในชั้นบรรยากาศ การเพิ่มขึ้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และการเปลี่ยน แปลงการใช้ที่ดิน สาเหตุดังกล่าวได้สะสมมากขึ้นจนใกล้ถึงจุดวิกฤต ฉะนั้นการวางแผนและการจัดการสิ่งแวดล้อม จึงเป็นเรื่องที่ต้องนำมาพิจารณาเป็นอย่างมาก http://www.human.riubon.ac.th/geog1-11.html

  43. ทรัพยากรป่าไม้ ปัจจุบันมีเนื้อที่ป่าไม้เหลือเพียง 32.68% ของพื้นที่ประเทศหรือประมาณ 98 ล้านไร่ ซึ่งการลดลงของพื้นที่ป่า ทำให้เกิดปัญหาสภาวะแวดล้อมอื่นๆ เช่นการเกิดอุทกภัยรุนแรงเพิ่มขึ้นในฤดูฝนส่วนในฤดูแล้งมักเกิดภาวะความแห้งแล้งกระจายทั่วประเทศ รวมทั้งปัญหาการขาดแคลนน้ำดื่มน้ำใช้ทุกๆ พื้นที่ของประเทศ การรุกล้ำของน้ำเค็มของแม่น้ำสายสำคัญ นอกจากนี้ยังมีการเคลื่อนย้ายดิน กรวด หิน จากพื้นที่ป่าสูงลงสู่ที่ต่ำทำให้ดินลดคุณค่าทางการเกษตร และที่สำคัญอีกประเด็นหนึ่งคือการขาดแคลนไม้ใช้สอยภายในประเทศ ต้องสั่งซื้อไม้จากประเทศพม่า ลาว เขมรและมาเลเซีย เท่ากับเป็นการสูญเสียเงินตราต่างประเทศ อีกทั้งยังต้องสูญเสียสัตว์ป่าหลายร้อยหลายพันชนิด เนื่องจากไม่มีที่อยู่อาศัย

  44. พื้นที่ป่าไม้ของประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. 2525-2547 ปี % พื้นที่ป่าไม้ 2525 30.52 2528 29.40 253128.03 2532 27.95 253426.64 2538 25.62 2540 25.39 2541 25.28 2543 33.14 2547 32.68

  45. ทรัพยากรดิน ปัจจุบันที่ดินเกษตรกรรมแม้ว่ายังมีอย่างพอเพียง แต่ทุกแห่งกำลังอยู่ในขั้นเผชิญปัญหาดินจืด ดินเค็ม ดินเปรี้ยว ดินทรายจัด ดินถูกชะล้างพังทลาย ดินเสื่อมค่า และถูกทับถมด้วยกรวดทราย หิน นอกจากนี้ดินที่ดีเหมาะต่อการทำเกษตรกรรมโดยเฉพาะปลูกพืช ได้ถูกคุกคามโดยโครงการจัดที่อยู่อาศัย เช่น ในเขตพื้นที่รอบนอกของกรุงเทพมหานคร ดินนาข้าวถูกคุกคามปีละไม่น้อย ด้วยการสร้างที่อยู่อาศัย การใช้ที่ดินทำเกษตรกรรมด้วยเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสมและขาดความระมัดระวัง ก่อให้ เกิดดินแน่นตัว น้ำซึมผ่านได้ยาก มีการใช้ยาฆ่าแมลงและยาปราบวัชพืชมากเกินไป และไม่เหมาะสม ทำให้สิ่งมีชีวิตในดินหลายชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อพืชและสัตว์ด้วยกันต้องสูญเสียหรือตายไปเท่ากับเป็นตัวเร่ง ให้ดินเสื่อมคุณภาพไปในที่สุด http://www.human.riubon.ac.th/geog1-11.html

  46. ทรัพยากรน้ำ ปัจจุบันมีน้ำมากในฤดูฝนและมีน้อยในฤดูแล้งแม้ว่ามีน้ำค่อนข้าง มากในแหล่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ แต่คุณภาพน้ำต่ำกว่ามาตรฐานในการนำไปใช้ ทำให้เกิดปัญหามากมายทั้งทางเกษตรกรรมและ อุตสาหกรรม รวมทั้งการใช้น้ำเพื่ออุปโภค บริโภคในชุมชนชนบทและเมือง ป่าไม้เป็นปัจจัยสำคัญให้ดินเก็บน้ำได้มากและมีประสิทธิ ภาพ แต่ในภาวะที่ขาดป่าปกคลุมเช่นนี้ จำเป็นต้องหาพื้นที่เก็บน้ำในฤดูฝนเอา ไว้ใช้ในฤดูแล้ง มิฉะนั้นแล้วภาวะขาดแคลนน้ำจะเกิดขึ้น http://www.human.riubon.ac.th/geog1-11.html

  47. อากาศ มลพิษทางอากาศเห็นได้ชัดในเมืองหลวงอย่างกรุงเทพ มหานครและเขตปริมณฑลรวมทั้งเขตชุมชนขนาดใหญ่ที่กำลังพัฒนา โดย เฉพาะการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม และการคมนาคมขนส่ง ซึ่งสาเหตุของมลพิษทางอากาศเกิดจากยานพาหนะที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะพื้นที่จราจรมีเท่าเดิม และเกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม กิจกรรมการก่อสร้างต่าง ๆ รวมทั้งการปรับปรุงผิวการจราจรเป็นต้น กรุงเทพมหานครเป็นพิษ พบสารตะกั่วในบรรยากาศสูง โรงไฟฟ้าแม่เมาะปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ออกไซด์ของ ไนโตรเจนและฝุ่นละออง

  48. เสียง ปัจจุบันมลพิษทางเสียง เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มเพิ่มความรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะในเขตชุมชนเมืองใหญ่ที่มีสภาพการจราจรหนาแน่นและในเขตพื้นที่อุตสาหกรรม สาเหตุมลพิษทางเสียงเกิดจากยานพาหนะประเภทต่างๆ การก่อสร้าง การประกอบกิจกรรมต่างๆ ในชุมชน และจากโรงงานอุตสาหกรรม ปัญหาสภาวะแวดล้อมที่เกิดขึ้นมีอีกมากมาย เช่น การเกิดอุบัติเหตุจากการขนส่ง สารเคมีเป็นพิษ ขยะมูลฝอยชุมชน อาชญากรรม ทรัพยากรแร่และพลังงาน เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยที่ค่อนข้างรุนแรง ดังนั้นการมีความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อม จึงเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่ง http://www.human.riubon.ac.th/geog1-11.html

  49. สรุป โดยภาพรวมแล้วสถานการณ์สิ่งแวดล้อมของประเทศไทยอยู่ในขั้นวิกฤตเกือบทุกๆ ด้าน สาเหตุสำคัญก็คือ การขาดความรู้ของประชาชน หรือรู้แต่ละเลยไม่ปฏิบัติตาม อีกทั้งกฎหมายไม่มีประสิทธิภาพ และนโยบายของรัฐบาลไม่แน่นอน พอที่จะดำเนินการให้ลุล่วงไปได้ด้วยดี ดังนั้นการสร้างมาตรการป้องกัน จึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่งในสภาวการณ์ปัจจุบัน http://www.human.riubon.ac.th/geog1-11.html

More Related