980 likes | 1.46k Views
การเบิกจ่าย. ค่าตอบแทน ใช้สอย และวัสดุ. ขอบเขตเนื้อหา. ลักษณะของรายจ่ายที่เบิกเป็นค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุ. รายจ่ายลักษณะค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุ ที่ได้กำหนด. หลักเกณฑ์ไว้ในกฎหมาย ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรีและ. หนังสือเวียนกระทรวงการคลัง. รายจ่ายลักษณะใดที่ต้องขอทำความตกลงกับกระทรวง.
E N D
การเบิกจ่าย ค่าตอบแทน ใช้สอย และวัสดุ
ขอบเขตเนื้อหา • ลักษณะของรายจ่ายที่เบิกเป็นค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุ • รายจ่ายลักษณะค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุ ที่ได้กำหนด หลักเกณฑ์ไว้ในกฎหมาย ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรีและ หนังสือเวียนกระทรวงการคลัง • รายจ่ายลักษณะใดที่ต้องขอทำความตกลงกับกระทรวง การคลัง และรายจ่ายใดที่ไม่ต้องขอทำความตกลงกับ กระทรวงการคลัง
กฎหมายและระเบียบการคลังกฎหมายและระเบียบการคลัง 1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2. กฎหมายเงินคงคลัง 3. กฎหมายวิธีการงบประมาณ 4. กฎหมายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 5. ระเบียบการบริหารงบประมาณ 6. ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงินและการนำส่งคลัง 7. ระเบียบเงินทดรองราชการ
การเบิกเงินงบประมาณ • ประกาศใช้ พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปีแล้ว • ได้รับอนุมัติวงเงินประจำงวดแล้ว • มีข้อผูกพันหรือมีความจำเป็นต้องจ่ายเงินแก่เจ้าหนี้ หรือ ผู้มีสิทธิ • หนี้นั้นถึงกำหนดหรือใกล้ถึงกำหนดต้องจ่ายเงิน
งบประมาณ หลักการจำแนกประเภทรายจ่ายตามงบประมาณจำแนกรายจ่ายตามงบประมาณเป็น 2 ลักษณะ รายจ่ายงบกลาง รายจ่ายของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ
รายจ่ายงบกลาง หมายถึง รายจ่ายที่ตั้งไว้เพื่อจัดสรรให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจโดยทั่วไปใช้จ่ายตามรายการที่กำหนดดังนี้ เงินเบี้ยหวัดบำเหน็จบำนาญ เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ค่าใช้จ่ายตามโครงการอันเนื่องจากพระราชดำริ ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลข้าราชการลูกจ้างและพนักงานของรัฐ เป็นต้น
นอกจากรายการหลักดังกล่าวดังกล่าวแล้ว พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปีอาจตั้งรายจ่าย รายการอื่น ๆ ไว้ในรายจ่ายงบกลาง ตามความเหมาะสมแต่ละปีได้ เช่น ค่าใช้จ่ายการปรับเงินค่าตอบแทนบุคลากรภาครัฐ ค่าใช้จ่ายการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นต้น
รายจ่ายของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจรายจ่ายของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ หมายถึง รายจ่ายซึ่งกำหนดไว้สำหรับแต่ละส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจโดยเฉพาะได้แก่ งบบุคลากร งบดำเนินงาน งบลงทุน งบเงินอุดหนุน งบรายจ่ายอื่น
งบดำเนินงาน หมายถึง รายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายเพื่อบริหารงานประจำ ได้แก่ รายจ่ายที่จ่ายในลักษณะ ค่าตอบแทน ค่าใช้สอย ค่าวัสดุ ค่าสาธารณูปโภค รวมถึงรายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายจากงบรายจ่ายอื่นใดในลักษณะดังกล่าว
ค่าตอบแทน หมายถึง เงินที่จ่ายตอบแทนให้แก่ผู้ที่ปฏิบัติงานให้ทางราชการตามที่กระทรวงการคลังกำหนด เช่น เงินค่าเช่าบ้าน ข้าราชการ ค่าตอบแทนกรรมการตรวจการจ้างและ ผู้ควบคุมงาน เงินสมนาคุณกรรมการสอบสวนทางวินัย ข้าราชการ เงินค่าตอบแทนเหมาจ่ายแทนการจัดหา รถประจำตำแหน่งเป็นต้น
ค่าใช้สอย หมายถึง รายจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งบริการ (ยกเว้น บริการสาธารณูปโภค) รายจ่ายที่เกี่ยวกับการรับรองและ พิธีการและรายจ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติราชการ ที่ไม่เข้าลักษณะรายจ่ายอื่น ๆ เช่น ค่าจ้างเหมาบริการ ค่าเบี้ยประกันภัย ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ในประเทศ) ค่าของขวัญ เป็นต้น
ค่าวัสดุ หมายถึง รายจ่ายเพื่อจัดหาสิ่งของซึ่งโดยสภาพแล้ว ย่อมสิ้นเปลืองหมดไป แปรสภาพหรือไม่คงสภาพเดิม หรือสิ่งของที่มีลักษณะคงทนถาวรและมีราคาต่อหน่วยหรือต่อชุดไม่เกิน 5,000 บาท รายจ่ายเพื่อซ่อมแซมบำรุงรักษาทรัพย์สิน เพื่อให้ใช้งานได้ตามปกติ เป็นต้น
ค่าสาธารณูปโภค หมายถึง รายจ่ายค่าบริการสาธารณูปโภค เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าประปา ค่าโทรศัพท์ ค่าบริการไปรษณีย์ เป็นต้น
งบรายจ่ายอื่น หมายถึง รายจ่ายที่ไม่เข้าลักษณะประเภทงบรายจ่ายใดงบรายจ่ายหนึ่งหรือรายจ่ายที่สำนักงานประมาณกำหนดให้ ใช้จ่ายในงบรายจ่ายนี้ เช่น เงินราชการลับ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว ค่าใช้จ่ายสำหรับกองทุนหรือเงินทุนหมุนเวียน เป็นต้น
รายจ่ายที่เบิกจ่ายได้รายจ่ายที่เบิกจ่ายได้ กฎหมาย ระเบียบ กระทรวงการคลัง อนุมัติให้จ่ายได้ มติคณะรัฐมนตรี ข้อบังคับ คำสั่ง
รายจ่ายประเภทค่าตอบแทนรายจ่ายประเภทค่าตอบแทน ความหมายของเงินค่าตอบแทน เงินที่จ่ายตอบแทนให้แก่ผู้ปฎิบัติงานให้ทางราชการ
รายจ่ายประเภทค่าตอบแทนรายจ่ายประเภทค่าตอบแทน ความหมาย : เงินที่จ่ายตอบแทนให้แก่ผู้ปฏิบัติงานให้แก่ทางราชการ ลักษณะ • เงินเดือน • นอกเหนือเงินเดือน • นอกเวลาราชการปกติ • นอกเหนืองานในหน้าที่ • เงินเพิ่มรายเดือน
ระเบียบ กค. ว่าด้วยค่าตอบแทนนอกเหนือจากเงินเดือน ของข้าราชการ และลูกจ้างประจำฯ 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม หลักเกณฑ์ 1. ข้าราชการได้เงินเดือน + ตำแหน่ง ให้ได้ค่าตอบแทน เท่ากับเงินตำแหน่ง เว้น ระดับ 7 2. ข้าราชการที่ได้เงินเดือนระดับ 8 8ว หรือเทียบเท่า ให้ได้รับ 3,500 บาท 3. ข้าราชการ 1-7 - เงินเดือนยังไม่เต็มขั้น - เงินเดือนเต็มขั้น
(1) มีขั้นเหลืออยู่ 1.5 ขั้น ให้ได้รับเงินค่าตอบแทนเพิ่ม 2% ของอัตราเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ถึงขั้นสูง (2) มีขั้นเหลืออยู่ 1 ขั้น ให้ได้รับเงินค่าตอบแทนเพิ่ม 4% ของอัตราเงินเดือนฯ (3) มีขั้นเหลืออยู่ 0.5 ขั้น ให้ได้รับเงินค่าตอบแทนเพิ่ม 6% ของอัตราเงินเดือนฯ (4) ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างขั้นสูงของอันดับหรือตำแหน่ง ให้ได้รับเงินค่าตอบแทนเพิ่ม 8% ของอัตราเงินเดือนฯ 4. หากได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างขั้นสูงของอันดับหรือตำแหน่งและได้รับเงินตอบแทนพิเศษตามระเบียบ พ.ศ. 2544 และได้ปรับเงินเดือนหรือค่าจ้างแล้ว ให้ได้รับเงินค่าตอบแทนเพิ่ม 8% ของอัตราเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ถึงขั้นสูง 5. หากพ้นหรือเลื่อนอันดับหรือตำแหน่ง ให้งดจ่ายเงินค่าตอบแทน
แก้ไขข้อ 5 • ข้าราชการพลเรือนที่ได้รับเงินประจำตำแหน่ง • ให้ได้รับค่าตอบแทนรายเดือน = อัตราเงินประจำตำแหน่ง • ยกเว้น ผู้ที่ได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ • ซึ่งเดิมเคยดำรงตำแหน่งระดับ 7 ไม่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนรายเดือน ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ, ประเภททั่วไป ระดับอาวุโส (c7-8) เฉพาะผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งระดับ 8 หรือ 8 ว ซึ่งไม่ได้รับเงินประจำตำแหน่ง ให้ได้รับค่าตอบแทนพิเศษรายเดือน 3,500 บาท แก้ไขข้อ 6 • ประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน , ชำนาญงาน, อาวุโส • ประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ, ชำนาญการ • ที่เคยมีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทน (เงินดาว) ให้ได้รับในอัตราที่เคยได้รับต่อไป • กรณีพ้นจากประเภทตำแหน่งหรือระดับดังกล่าว ไม่ว่าเหตุใด ให้งดจ่าย • การจ่ายเงินค่าตอบแทน (เงินดาว) เป็นการจ่ายชั่วคราว หากมีการปรับโครงสร้างเงินเดือน กค. จะพิจารณาปรับปรุงหลักเกณฑ์และอัตราการจ่าย เพื่อให้สอดคล้องกับโครงสร้างเงินเดือนของข้าราชการที่ปรับใหม่ต่อไป กำหนดเพิ่ม
ระเบียบว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของระเบียบว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของ ข้าราชการและลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ผู้มีสิทธิ • ข้าราชการพลเรือน • ข้าราชการทหาร ไม่รวมถึงนักเรียนในสังกัดกระทรวงกลาโหมและทหารกองประจำการ • ข้าราชการตำรวจไม่รวม พลตำรวจสำรอง • ลูกจ้างประจำ
เกณฑ์การจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเกณฑ์การจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว 1. ผู้มีสิทธิได้รับเงินเดือนหรืออัตราค่าจ้างไม่เกินเดือนละ 11,700 บาท ได้รับ เงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเดือนละ 1,500 บาท แต่เมื่อรวมกับเงินเดือนฯ แล้วต้องไม่เกินเดือนละ 11,700 บาท แต่ถ้าเงินเพิ่มฯ รวมกับเงินเดือนฯ แล้วไม่ถึง 8,200 บาท ให้ได้รับ เงินเพิ่มฯ เพิ่มขึ้น เมื่อรวมกับเงินเดือนฯ เป็น 8,200 บาท 2. การเบิกจ่ายจากเงินงบประมาณงบใด รายการใด ให้เป็นไปตามที่สำนักงบประมาณกำหนด
ไม่ใช้บังคับกับผู้มีสิทธิตามไม่ใช้บังคับกับผู้มีสิทธิตาม • ระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ เจ้าหน้าที่คดีพิเศษ • ระเบียบคณะกรรมการกฤษฎีกาว่าด้วยการกำหนดตำแหน่งนักกฎหมายกฤษฎีกา
ยกเลิกบัญชีเงินเพิ่มฯ และให้ส่วนราชการ คำนวณอัตราการจ่ายเงินเพิ่มฯ ตามหลักเกณฑ์ใหม่ • ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มฯ เต็ม ตามสิทธิที่คำนวณได้ เพื่อให้สอดคล้องกับการจ่ายเงินในระบบ GFMIS
มีผลใช้บังคับกับ - อาสาสมัครทหารพราน - สมาชิกกองอาสารักษาดินแดน - พนักงานราชการ - ลูกจ้างเงินนอกงบประมาณ
เงินตอบแทน การปฏิบัติงานนอกเวลา
“เงินตอบแทน”หมายความว่า เงินที่จ่ายให้แก่ ข้าราชการที่ปฏิบัติงานตามหน้าที่ปกติ โดยลักษณะงานส่วนใหญ่ต้องปฏิบัติงานในที่ตั้งสำนักงานและ ได้ปฏิบัติงานนั้นนอกเวลาราชการในที่ตั้งสำนักงานหรือโดยลักษณะงานส่วนใหญ่ต้องปฏิบัติงานนอก ที่ตั้งสำนักงาน และได้ปฏิบัติงานนั้นนอกเวลาราชการนอกที่ตั้งสำนักงาน และหรือโดยลักษณะงานปกติต้องปฏิบัติงานในลักษณะเป็นผลัดหรือกะและ ได้ปฏิบัติงานนั้นนอกผลัดหรือกะของตน”
“การปฏิบัติงานเป็นผลัดหรือกะ หมายความว่า การปฏิบัติงานประจำตามหน้าที่ปกติของ ข้าราชการในส่วนราชการนั้น ๆ ซึ่งจัดให้มีการปฏิบัติงานผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันตลอด 24 ชั่วโมง ช่วงเวลาที่ปฏิบัติงาน ดังกล่าวถือเป็นเวลาราชการปกติของ ข้าราชการผู้นั้น ทั้งนี้ การปฏิบัติงานในผลัดหรือกะหนึ่ง ๆ ต้องมีเวลาไม่น้อยกว่า 7 ชั่วโมง (ไม่รวมเวลาหยุดพัก)”
ต้องได้รับอนุมัติจากหัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณ ให้ให้พิจารณาเฉพาะช่วงเวลาที่จำเป็น เพื่อประโยชน์ของทางราชการเป็นสำคัญ ให้คำนึงถึงความเหมาะสมและสอดคล้องกับระบบและ วิธีการงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน กรณีที่มีราชการจำเป็นเร่งด่วนต้องปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ให้ดำเนินการขออนุมัติจากผู้มีอำนาจโดยไม่ชักช้า และให้แจ้งเหตุแห่ง ความจำเป็นที่ไม่อาจขออนุมัติก่อนได้
ข้าราชการได้รับคำสั่งให้เดินทางไปราชการไม่มีสิทธิได้รับเงินตอบแทนนอกเวลาราชการ เว้นแต่ได้รับอนุมัติให้ปฏิบัติงานนอกเวลา ราชการก่อนการเดินทาง เมื่อการเดินทาง ไปราชการนั้นเสร็จสิ้นหรือเสร็จสิ้น การฝึกอบรมในแต่ละวันและกลับถึงสำนักงานในวันเดียวกัน
การปฏิบัติงานนอกเวลาราชการในวันทำการ ให้มีสิทธิเบิกได้ไม่เกินวันละ 4 ชั่วโมง ในอัตราชั่วโมงละ 50 บาท การปฏิบัติงานในวันหยุดราชการ ให้มีสิทธิเบิกค่าตอบแทนได้ไม่เกินวันละ 7 ชั่วโมง ในอัตราชั่วโมงละ 60 บาท
กรณีมีความจำเป็นต้องปฏิบัติงานซึ่งเป็นภารกิจหลักของหน่วยงานเป็นครั้งคราวหรือเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่มอบหมายให้หน่วยงานปฏิบัติมีกำหนดระยะเวลาแน่นอนและมีลักษณะเร่งด่วน เพื่อมิให้เกิดความเสียหายแก่ราชการหรือประโยชน์สาธารณะ หัวหน้าส่วนราชการอาจสั่งการให้ ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการติดต่อกัน โดยให้มีสิทธิเบิกเงินตอบแทนเป็นรายครั้งไม่เกินครั้งละ 7 ชั่วโมง ในอัตราชั่วโมงละ 60 บาท
การปฏิบัติงานนอกเวลาราชการหลายช่วงเวลาภายในวันเดียวกันให้นับเวลาปฏิบัติงานนอกเวลาราชการทุกช่วงเวลารวมกัน เพื่อเบิกเงินตอบแทนสำหรับวันนั้น การปฏิบัติงานนอกเวลาราชการที่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนอื่นของทางราชการสำหรับการปฏิบัติงานนั้นแล้ว ให้เบิกได้ทางเดียว
การปฏิบัติงานดังต่อไปนี้ ไม่อาจเบิกเงินตอบแทน • การอยู่เวรรักษาการณ์ตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติหรือตามระเบียบหรือคำสั่ง ที่เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยสถานที่ราชการ • การปฏิบัติงานนอกเวลาราชการไม่เต็มจำนวนชั่วโมง
ลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราวที่ได้รับค่าจ้างจากเงินงบประมาณ มีสิทธิได้รับเงินตอบแทนฯ ตามระเบียบว่าด้วยการจ่ายค่าจ้างลูกจ้างของส่วนราชการ พ.ศ. 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยให้นำหลักเกณฑ์และอัตราเงินตอบแทนตามระเบียบนี้มาใช้ โดยอนุโลม
พนักงานราชการมีสิทธิได้รับเงินตอบแทนฯ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. 2547 และประกาศ คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับที่ 3)
กระทรวงการคลังกำหนดแบบฟอร์มประกอบการเบิกจ่าย ซึ่งส่วนราชการอาจกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมจากแบบฟอร์มได้ตามความเหมาะสม
เบี้ยประชุมกรรมการ ยกเลิก 1. พ.ร.ฎ. เบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. 2523 2. พ.ร.ฎ. เบี้ยประชุมและค่าตอบแทนที่ปรึกษา ซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง พ.ศ. 2523 3. มติ ครม. กำหนดเงินสมนาคุณรายเดือน • พ.ร.ฎ. เบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. 2547 (มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 เป็นต้นไป) และที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2550 (มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 18 ตุลาคม 2550 เป็นต้นไป)
คณะกรรมการคณะอนุกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมคณะกรรมการคณะอนุกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุม แต่งตั้งโดย • (1) ก.ม. /ประกาศพระบรมราชโองการ • (2) ประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนฯ ประธานวุฒิสภา • (3) คณะรัฐมนตรี/รัฐมนตรีเจ้าสังกัด ซึ่งได้รับอนุมัติจาก ครม. • (4) นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล • (5) คณะกรรมการ • คณะกรรมการ (1) – (4) • คณะอนุกรรมการ (1) – (5)
ลักษณะเบี้ยประชุม กรรมการ (1) รายเดือน: • แต่งตั้งโดย ก.ม. ประกาศพระบรมราชโองการ • มีหน้าที่ความรับผิดชอบสูง กำหนดนโยบายซึ่งมีผลกระทบ ต่อการบริหาร เศรษฐกิจ สังคม - รายชื่อและอัตราตามที่ ร.ม.ต. คลังกำหนด (2) รายครั้ง : - แต่งตั้งโดย กม. ประกาศพระบรมราชโองการ นอกจาก (1) - โดยประธานรัฐสภาประธานสภาผู้แทนราษฎรประธานวุฒิสภา • โดย ค.ร.ม. นายก หรือ ร.ม.ต. ซึ่งได้รับอนุมัติจาก ค.ร.ม.
ลักษณะเบี้ยประชุม (ต่อ) อนุกรรมการ (1) รายเดือน: • คณะอนุกรรมการในคณะกรรมการที่ได้รับรายเดือน • มีหน้าที่ความรับผิดชอบสำคัญพิเศษ • ตามรายชื่อและอัตราที่ ร.ม.ต. คลังกำหนด (2) รายครั้ง : - คณะอนุกรรมการนอกจาก (1) • อ.ก.พ. กระทรวง ทบวง กรม ให้ได้รับเฉพาะ บุคคลต่างส่วนราชการและบุคคลภายนอก
อัตราเบี้ยประชุม • รายเดือน - ตามรายชื่อและอัตราที่ ร.ม.ต. คลังประกาศกำหนด - ได้รับเฉพาะเดือนที่เข้าร่วมประชุม • รายครั้ง - กรรมการ ครั้งละไม่เกิน 1,200 บาท - อนุกรรมการ ” 800 บาท - ประธานเพิ่ม 1 ใน 4 - รองประธานเพิ่ม 1 ใน 8 - เลขานุการไม่เกิน 1 คน ผู้ช่วยเลขานุการไม่เกิน 2 คน
ที่ปรึกษาคณะกรรมการ ได้รับเบี้ยประชุมเช่นเดียวกับกรรมการ และเฉพาะที่ปรึกษาซึ่งได้รับแต่งตั้งโดยกฎหมาย/ประกาศพระบรมราชโองการ
ต้องมีกรรมการ อนุกรรมการ มาประชุมอย่างน้อยกึ่งหนึ่ง จึงจะเป็นองค์ประชุมและ มีสิทธิเบิกเบี้ยประชุม
กรรมการหรืออนุกรรมการแต่งตั้งโดยตำแหน่ง ไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ แต่มอบหมายให้ผู้อื่น เข้าร่วมประชุมแทน โดยทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานการมอบหมาย ถือเป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะกรรมการหรืออนุกรรมการ ให้นับเป็นองค์ประชุมและมีสิทธิได้รับเบี้ยประชุม
ระเบียบกระทรวงการคลังระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย ในการบริหารงานของส่วนราชการ พ.ศ. 2549
เจตนารมณ์ของระเบียบ เพื่อให้ส่วนราชการสามารถเบิกจ่ายเงินเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการบริหารงาน ได้สะดวก คล่องตัว มีความยืดหยุ่น สามารถใช้บริหารจัดการ ได้อย่างเหมาะสม โดยไม่ต้องอ้างอิงหนังสือสั่งการหลายฉบับ
ในระเบียบนี้ ส่วนราชการ หมายถึง สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นหรือเทียบเท่า กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งไม่มีฐานะเป็นกรมแต่มีหัวหน้าส่วนราชการซึ่งมีฐานะเป็นอธิบดี และราชการบริหารส่วนภูมิภาค
ค่าใช้จ่าย หมายถึง ค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของส่วนราชการที่เบิกจ่ายจาก งบดำเนินงานในลักษณะ ค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุ ค่าสาธารณูปโภค หรือ งบรายจ่ายใดที่เบิกจ่ายในลักษณะเดียวกัน