1 / 24

ระบบศาลปกครอง ของสาธารณรัฐฝรั่งเศส

ระบบศาลปกครอง ของสาธารณรัฐฝรั่งเศส. ระบบ ศาล คู่ วิวัฒนาการ ของศาลปกครองของฝรั่งเศส โครงสร้างและการจัดองค์กรของศาล ปกครองของฝรั่งเศส ลักษณะสำคัญของวิธีพิจารณาคดีปกครอง. ระบบคอมมอนลอร์. ความเท่าเทียมกันของทุกคนภายใต้กฎหมาย ไม่ มีการแยกระบบกม.ปกครองออกมาเป็นเอกเทศ

Download Presentation

ระบบศาลปกครอง ของสาธารณรัฐฝรั่งเศส

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ระบบศาลปกครองของสาธารณรัฐฝรั่งเศสระบบศาลปกครองของสาธารณรัฐฝรั่งเศส

  2. ระบบศาลคู่ • วิวัฒนาการของศาลปกครองของฝรั่งเศส • โครงสร้างและการจัดองค์กรของศาลปกครองของฝรั่งเศส • ลักษณะสำคัญของวิธีพิจารณาคดีปกครอง

  3. ระบบคอมมอนลอร์ • ความเท่าเทียมกันของทุกคนภายใต้กฎหมาย • ไม่มีการแยกระบบกม.ปกครองออกมาเป็นเอกเทศ • ระบบศาลเดี่ยวทุกคดีต้องขึ้นศาลเดียวกันคือ ศาลยุติธรรม

  4. ระบบประมวลกฎหมาย • ความเป็นเอกเทศของกฎหมายปกครอง • ฝ่ายปกครองอยู่ภายใต้กฎหมายพิเศษที่แตกต่างไปจากกฎหมายที่ใช้บังคับสำหรับการดำเนินกิจกรรมของเอกชน • ไม่นำกฎเกณฑ์ของกม.แพ่งมาใช้ • สร้างกฎเกณฑ์เฉพาะ • ศาลปกครอง เป็นผู้วินิจฉัยข้อพิพาทเกี่ยวกับการดำเนินกิจการทางปกครอง

  5. เหตุผล • ความแตกต่างระหว่างกิจกรรมทางปกครองและกิจกรรมของเอกชน • แนวคิดที่ว่าการพิจารณาพิพากษาคดีที่เกี่ยวกับฝ่ายปกครองเป็นส่วนหนึ่งของการปกครองด้วย

  6. 1.ความแตกต่างระหว่างกิจกรรมทางปกครองและกิจกรรมของเอกชน1.ความแตกต่างระหว่างกิจกรรมทางปกครองและกิจกรรมของเอกชน ฝ่ายปกครองดำเนินกิจกรรมทางปกครองเพื่อประโยชน์สาธารณะ ในกรณีที่ประโยชน์ส่วนตัวของเอกชนขัดกับประโยชน์ส่วนรวม ฝ่ายปกครองสามารถใช้อำนาจมหาชนบังคับได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากเอกชน • เอกชนมีความเสมอภาคกันตามกฎหมาย • มุ่งหมายประโยชน์ส่วนตัว • ใช้หลักความยินยอมในการผูกนิติสัมพันธ์ • หากมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับนิติสัมพันธ์ที่ได้ทำกันไว้ คู่กรณีต้องขอให้ศาลบังคับให้

  7. ศาลคดีขัดกัน คดี Blanco 1873 • หลักความเป็นเอกเทศของความรับผิดของฝ่ายปกครอง • ความรับผิดของฝ่ายปกครองไม่อาจเป็นไปตามหลักการที่บัญญัติไว้ใน ป. แพ่งซึ่งเป็นเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชน • ความรับผิดของฝ่ายปกครองมีกฎเกณฑ์เฉพาะ ที่จะเปลี่ยนแปลงไปตามความต้องการของบริการสาธารณะและความจำเป็นในการประสานสิทธิของรัฐกับสิทธิของเอกชน

  8. อย่างไรก็ตาม ความเป็นเอกเทศของกฎหมายปกครอง • มิได้ห้ามมิให้ฝ่ายปกครองใช้วิธีการตามกฎหมายแพ่งเพื่อดำเนินกิจกรรมทางปกครอง (กรณีที่ประโยชน์ส่วนตัวของเอกชนสอดคล้องกับประโยชน์ส่วนรวม)

  9. 2. แนวคิดที่ว่าการพิจารณาพิพากษาคดีที่เกี่ยวกับฝ่ายปกครองเป็นส่วนหนึ่งของการปกครองด้วยJugerl’administration, c’est encore administrer • กม. ปกครองเป็นเรื่องของการสร้างดุลยภาพระหว่าง • อภิสิทธิของฝ่ายปกครองในการดำเนินงานเพื่อประโยชน์สาธารณะ และ • สิทธิเสรีภาพของประชาชน

  10. การตัดสินคดีปกครองควรให้อยู่ในอำนาจขององค์กรที่ไม่เพียงแต่เป็นผู้ที่เชี่ยวชาญเกี่ยวกับคดีปกครองเท่านั้น • แต่ต้องมี “วิญญาณของนักบริหารงานทางปกครอง” อีกด้วย • เพื่อที่จะได้ตระหนักถึงผลกระทบของคำวินิจฉัยที่จะมีต่อการบริหารราชการ

  11. ฝ่ายบริหารของฝรั่งเศสมีความพยายามจำกัดอำนาจของฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมไม่ให้เข้ามาก้าวก่ายการบริหารราชการ • แนวคิดดังกล่าวนำไปสู่การแบ่งแยกระบบศาลยุติธรรม-ศาลปกครอง

  12. ระบบศาลรัฐมนตรี Ministre-jugeหลังการปฏิวัติฝรั่งเศส • รัฐบัญญัติ 1790วางหลักการแบ่งแยกองค์กรทางปกครองกับองค์กรตุลาการ • ห้ามมิให้ตุลาการมาก้าวก่ายการจัดทำบริการสาธารณะของฝ่ายปกครอง • ถ้าการดำเนินกิจการทางปกครองสร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน ประชาชนสามารถร้องเรียนต่อรัฐมนตรีที่มีอำนาจในเรื่องนั้นๆ

  13. การจัดตั้งสภาแห่งรัฐ(Conseil d’État)ค.ศ.1799 • มีอำนาจหน้าที่ร่างกฎหมายและเป็นที่ปรึกษาให้แก่ฝ่ายบริหาร • พิจารณาคำร้องทุกข์ของประชาชนเกี่ยวกับการกระทำของเจ้าหน้าที่ของฝ่ายปกครอง • ระบบJustice retenue สภาแห่งรัฐไม่มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องทุกข์ด้วยตนเอง เพียงแต่เสนอแนะคำวินิจฉัยต่อประมุขแห่งรัฐ • ระบบ Justice déléguéeค.ศ.1872 มีการตรากฎหมายมอบอำนาจในการวินิจฉัยชี้ขาดคดีปกครองให้แก่สภาแห่งรัฐ สภาแห่งรัฐตัดสินในนามของประชาชนชาวฝรั่งเศส

  14. บทบาทของสภาแห่งรัฐในการสร้างระบบกฎหมายปกครองบทบาทของสภาแห่งรัฐในการสร้างระบบกฎหมายปกครอง • ไม่มีประมวลกฎหมายปกครอง • สภาแห่งรัฐเป็นผู้วางบรรทัดฐานของกฎหมายปกครองฝรั่งเศสตั้งแต่ช่วงปลายศตวรรษที่ 19จนถึง 1950 • กฎเกณฑ์ที่วางโดยศาลปกครองมีความอ่อนตัว ไม่ต้องการผลผูกพันแน่นหนาเกินไป • ศาลมักให้เหตุผลในคำพิพากษาอย่างสั้น

  15. ระบบศาลปกครองฝรั่งเศสระบบศาลปกครองฝรั่งเศส • ระบบศาลปกครองของสาธารณรัฐฝรั่งเศสเป็นเอกเทศจากระบบศาลยุติธรรมโดยสิ้นเชิง • แบ่งออกเป็น 3 ชั้นศาล คือ • ศาลปกครองชั้นสูงสุด คือ สภาแห่งรัฐ • ศาลปกครองชั้นอุทธรณ์ (Cours administratives d’appel) จำนวน 8 ศาล • ศาลปกครองชั้นต้น (Tribunaux administratifs) จำนวน 42 ศาล

  16. ที่มา คุณสมบัติ วิธีการคัดเลือกและแต่งตั้ง และสถานภาพของตุลาการศาลปกครอง • มีสถานภาพเป็นข้าราชการพลเรือน มิใช่เป็นข้าราชการตุลาการของศาลยุติธรรม • กฎหมายวางหลักประกันความเป็นอิสระของตุลาการศาลปกครอง โดยตุลาการศาลปกครองมิอาจได้รับการแต่งตั้ง การเลื่อนขั้นหรือการเลื่อนตำแหน่ง หากตนไม่ยินยอม เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองไม่มีอำนาจบังคับใดๆเหนือตุลาการศาลปกครอง

  17. วิธีการคัดเลือกและแต่งตั้งตุลาการศาลปกครองของฝรั่งเศสมีลักษณะเดียวกันกับวิธีการคัดเลือกและแต่งตั้งข้าราชการระดับสูงของฝ่ายปกครอง • ตุลาการศาลปกครองชั้นต้นและชั้นอุทธรณ์ • รับจากสถาบันเตรียมข้าราชการระดับสูง École nationale de l’administration • การสอบคัดเลือกโดยตรง • การคัดเลือกและแต่งตั้งข้าราชการที่มีความรู้ความสามารถจากส่วนราชการต่าง ๆ โดยระบบเปิด (le tour extérieur)

  18. สมาชิกสภาแห่งรัฐ • ส่วนใหญ่มีที่มาจากEna • อีกส่วนมาจากการแต่งตั้งโดยรัฐบาล ตามความเห็นของรองประธานสภาแห่งรัฐ โดยมีที่มา อายุความรู้และประสบการณ์หลากหลาย

  19. สภาแห่งรัฐมีอำนาจหน้าที่ 2ประการ • ที่ปรึกษาของรัฐบาล (แผนกปกครอง) • ให้คำปรึกษาทางกม.แก่ฝ่ายบริหาร • ให้ความเห็นเกี่ยวกับร่างกม. ร่างรัฐกฤษฎีกา • ศาลปกครองสูงสุด (แผนกคดีปกครอง) • ทำหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาททางปกครอง

  20. การทำทั้ง 2 หน้าที่ ปัญหาความไม่เป็นกลาง ? Ex สมาชิกสภาแห่งรัฐให้ความเห็นเกี่ยวกับความชอบด้วยกม. ของรัฐกฤษฎีกาฉบับหนึ่งในฐานะที่ปรึกษาทางกม. ภายหลังมีการฟ้องคดีต่อสภาแห่งรัฐให้ยกเลิกเพิกถอนรัฐกฤษฎีกาฉบับดังกล่าว • ขัดต่อหลักความเป็นธรรมของกระบวนการพิจารณา (Due process)ของอนุสัญญาแห่งยุโรปว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน(EuropeanConvention on HumanRights)?

  21. สมาชิกสภาแห่งรัฐที่เคยให้ความเห็นเกี่ยวกับร่างกฎเกณฑ์ของฝ่ายปกครองในฐานะที่ปรึกษาของรัฐบาล ต้องถอนตัวจากการเป็นผู้ตัดสินชี้ขาดความชอบด้วยกม.ของกฎเกณฑ์เดียวกันนั้นในภายหลัง R. 122-21-1 code de justice administrative: les membres du Conseil d’État ne peuvent participer au jugementdes recours dirigés contre les actes pris après avis du Conseil d’État, s’ils ont pris part à la délibération de cet avis

  22. ลักษณะสำคัญของวิธีพิจารณาคดีปกครองลักษณะสำคัญของวิธีพิจารณาคดีปกครอง • วิธีพิจารณาใช้ระบบไต่สวน • ตุลาการมีบทบาทสำคัญในการสอบสวนและแสวงหาข้อเท็จจริง เนื่องจากความไม่เท่าเทียมกันโดยพื้นฐานของรัฐกับเอกชน • วิธีพิจารณาเป็นลายลักษณ์อักษร • วิธีพิจารณาที่เปิดโอกาสให้คู่ความทุกฝ่ายได้รับทราบและโต้แย้งข้ออ้างข้อเถียงของฝ่ายตรงข้ามได้

More Related