450 likes | 667 Views
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 25 50. โดย สาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. ชื่อหลักสูตร. ชื่อปริญญา. วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์ Bachelor of Science Program in Applied Mathematics.
E N D
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2550 โดย สาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์ Bachelor of Science Program in Applied Mathematics ชื่อเต็ม วิทยาศาสตรบัณฑิต (คณิตศาสตร์ประยุกต์) Bachelor of Science (Applied Mathematics) ชื่อย่อวท.บ. (คณิตศาสตร์ประยุกต์) B.Sc.(Applied Mathematics)
หลักการและเหตุผล / ปรัชญาและ / หรือวัตถุประสงค์ของหลักสูตร • สังคมมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตามกระแสโลกาภิวัฒน์ ซึ่งส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนนโยบาย วิสัยทัศน์ พันธกิจและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมระดับประเทศ หลักสูตรที่เปิดสอนจึงจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขเพื่อตอบสนองต่อกระแสการเปลี่ยนแปลง หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล / ปรัชญาและ / หรือวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ปรัชญา เรียนรู้คู่จริยธรรมนำสู่ปฏิบัติพัฒนาสังคม
หลักการและเหตุผล / ปรัชญาและ / หรือวัตถุประสงค์ของหลักสูตร วัตถุประสงค์ 1. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความเข้าใจความคิดด้านวิทยาศาสตร์ 2. เพื่อผลิตบัณฑิตที่สามารถคิดอย่างมีเหตุผล มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 3. เพื่อผลิตบัณฑิตที่ตระหนักในคุณค่าของคณิตศาสตร์ มีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์
กำหนดการเปิดสอน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 เป็นต้นไป คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา ต้องมีคุณสมบัติตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2548 หมวด 4 ข้อ 11 (ภาคผนวก ก)
การคัดเลือกผู้เข้าศึกษาการคัดเลือกผู้เข้าศึกษา ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2548 หมวด 4 ข้อ 12 และข้อ 13 (ภาคผนวก ก)
โดย 1 ปีการศึกษา แบ่งเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ หนึ่งภาคการศึกษาปกติมีเวลาการศึกษา ไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ มหาวิทยาลัยอาจจัดให้มีการศึกษาภาคฤดูร้อน โดยกำหนดระยะเวลาและจำนวนหน่วยกิตให้มีสัดส่วนเทียบเคียงกันได้กับ การศึกษาภาคปกติ 1. ระบบการศึกษาแบบทวิภาค ระบบการศึกษา
1.ภาคทฤษฎี ที่ใช้เวลาบรรยาย >= 15 ชั่วโมง / 1 ภาค การศึกษาปกติ มีค่า = 1 หน่วยกิต 2.ภาคปฏิบัติ ที่ใช้เวลาฝึกหรือทดลอง >= 30 ชั่วโมง / 1 ภาค การศึกษาปกติ มีค่า = 1 หน่วยกิต 3.การฝึกประสบการณ์วิชาชีพหรือฝึกงาน ที่ใช้เวลาฝึก >= 45 ชั่วโมง / 1 ภาค การศึกษาปกติ มีค่า = 1 หน่วยกิต 2. การคิดหน่วยกิต ระบบการศึกษา
ระยะเวลาการศึกษา หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์ เป็นหลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี ใช้ระยะเวลาในการศึกษา ไม่น้อยกว่า 6 ภาคการศึกษาปกติและไม่เกิน 16 ภาคการศึกษา สำหรับการลงทะเบียนเรียนเต็มเวลา และไม่น้อยกว่า 7 ภาคการศึกษาปกติ และไม่เกิน 24 ภาคการศึกษาสำหรับการลงทะเบียนเรียนไม่เต็มเวลา
การลงทะเบียนเรียน 1. สำหรับการลงทะเบียนเรียนเต็มเวลา นักศึกษามีสิทธิลงทะเบียนเรียนรายวิชา แต่ละภาคการศึกษาปกติ ได้ไม่ต่ำกว่า 9 หน่วยกิตและไม่เกิน 22 หน่วยกิต สำหรับการลงทะเบียนเรียนไม่เต็มเวลา นักศึกษามีสิทธิลงทะเบียนเรียน รายวิชาแต่ละภาคการศึกษาปกติได้ไม่เกิน 9 หน่วยกิต 2. การลงทะเบียนเรียนรายวิชาในภาคฤดูร้อนให้ลงทะเบียนไม่ต่ำกว่า 3 หน่วยกิต และไม่เกิน 9 หน่วยกิต 3. การลงทะเบียนจะสมบูรณ์เมื่อนักศึกษาได้ชำระเงินตามประกาศของมหาวิทยาลัย
การวัดผลและการสำเร็จการศึกษาการวัดผลและการสำเร็จการศึกษา การวัดผลการศึกษาให้เป็นไปตามข้อบังคับ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2548หมวด 7 และหมวด 8 (ภาคผนวก ก)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำหลักสูตร 1. นางมาลี ศรีพรหม อาจารย์ ระดับ 7 กศ.บ. วิทย์ – คณิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กศ.ม. คณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปร.ด. คณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำหลักสูตร 2. นางสาวสมจิตต์ รัตนอุดมโชค ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ระดับ 8 วท.บ. คณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พบ.ม. สถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำหลักสูตร 3. นางสาวสมบูรณ์ ชาวชายโขง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ระดับ 8 วท.บ. สถิติประยุกต์ วิทยาลัยครูอุดรธานี สต.ม. สถิติประยุกต์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำหลักสูตร 4. นายศรีจันทร์ ทานะขันธ์ อาจารย์ ระดับ 7 ค.บ. คณิตศาสตร์ วิทยาลัยครูอุบลราชธานี วท.ม. การสอนคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำหลักสูตร 5. นางสาวชนัญกาญจน์ แสงประสาน อาจารย์ ระดับ 6 วท.บ. สถิติ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วท.ม. สถิติประยุกต์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
อาจารย์ผู้สอน 1. นายสุนทร ไชยชนะ อาจารย์ ระดับ 7 กศ.บ.คณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วท.ม. การสอนคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อาจารย์ผู้สอน 2. นายพฤหัส กำภูศิริ อาจารย์ ระดับ 7 ศษ.บ.คณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กศ.ม.คณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
อาจารย์ผู้สอน 3. นางสาวสมจิตร บุญเทียม อาจารย์พิเศษประจำ วท.บ. คณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
จำนวนนักศึกษา จำนวนนักศึกษาที่จะรับเข้าศึกษา และจะสำเร็จการศึกษา ในปีการศึกษา 2551– 2555 • รวมจำนวนนักศึกษาในแต่ละปี • 40 คน • 80 คน • 120 คน • 160 คน • 160 คน ปี 2554 , 2555 จำนวนนักศึกษา ที่คาดว่าจะสำเร็จการศึกษา
สถานที่และอุปกรณ์การสอนสถานที่และอุปกรณ์การสอน 1. สถานที่ที่ใช้เพื่อการเรียนการสอน ประกอบด้วย อาคารเรียนรวมกาญจนาภิเษก อาคาร 10 ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์สาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ อาคารเรียนของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์คอมพิวเตอร์และศูนย์ภาษา
สถานที่และอุปกรณ์การสอนสถานที่และอุปกรณ์การสอน 2. อุปกรณ์การเรียนการสอน สาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ มีสื่อและอุปกรณ์การเรียนการสอน ที่เพียงพอ ต่อการใช้งานดังนี้
ห้องสมุด 1. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งประกอบด้วย ศูนย์คอมพิวเตอร์ และศูนย์ภาษาให้บริการหนังสือ ตำราวิชาคณิตศาสตร์และวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 2. ห้องสมุดคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้บริการหนังสือ ตำราวิชา คณิตศาสตร์และวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 3. ห้องสมุดสาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติให้บริการหนังสือ วารสาร ตำรา วิชาคณิตศาสตร์และวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 4. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งรับโดยมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร และฐานข้อมูลทางเว็บ เช่น IEEE, web of science เป็นต้น
หลักสูตร • จำนวนหน่วยกิต หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 123 หน่วยกิต • โครงสร้างหลักสูตร • โครงสร้างหลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์ มีดังนี้
รายวิชา 1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 33 หน่วยกิต 1.1 รายวิชาบังคับ 24 หน่วยกิต 1.2 รายวิชาเลือก 9 หน่วยกิต
รายวิชา 2. หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 84 หน่วยกิต 2.1 กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เลือกเรียนไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต 2.2 กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน เรียนไม่น้อยกว่า 64 หน่วยกิต 2.2.1 วิชาเอกบังคับ 31 หน่วยกิต 2.2.2 วิชาเอกเลือก ให้เลือกเรียนรายวิชาเฉพาะด้านต่อไปนี้ เพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น ไม่น้อยกว่า 33 หน่วยกิต 2.3 กลุ่มวิชาวิทยาการจัดการ เลือกเรียนไม่น้อยกว่า3 หน่วยกิต 2.4 กลุ่มวิชาฝึกปฏิบัติเชิงวิชาชีพ เลือกเรียนไม่น้อยกว่า 5 หน่วยกิต
รายวิชา 3. หมวดวิชาเลือกเสรี เรียนไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
ความหมายของรหัสประจำวิชา 8 หลัก มีความหมาย ดังนี้ 0 หมายถึง รายวิชาศึกษาทั่วไปหรือเลือกเสรี 1 หมายถึง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2 หมายถึง คณะครุศาสตร์ 3 หมายถึง คณะมนุษยศาสตร์ 4 หมายถึง คณะวิทยาการจัดการ 5 หมายถึง คณะเทคโนโลยีการเกษตร 6 หมายถึง คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ความหมายของรหัสประจำวิชา 8 หลัก มีความหมาย ดังนี้ • เลขหลักแรก คือ เลขรหัสคณะ • 0 หมายถึง รายวิชาศึกษาทั่วไปหรือเลือกเสรี • 1 หมายถึง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี • 2 หมายถึง คณะครุศาสตร์ • 3 หมายถึง คณะมนุษยศาสตร์ • 4 หมายถึง คณะวิทยาการจัดการ • 5 หมายถึง คณะเทคโนโลยีการเกษตร • 6 หมายถึง คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ความหมายของรหัสประจำวิชา 8 หลัก มีความหมาย ดังนี้ ข. เลขหลักที่สองถึงหลักที่สี่ คือ เลขรหัสหมู่วิชา 400 หมายถึง หมู่วิชาที่เป็นวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 401 หมายถึง หมู่วิชาฟิสิกส์ 402 หมายถึง หมู่วิชาเคมี 403 หมายถึง หมู่วิชาชีววิทยา 409 หมายถึง หมู่วิชาคณิตศาสตร์ 411 หมายถึง หมู่วิชาสถิติ 412 หมายถึง หมู่วิชาคอมพิวเตอร์
ความหมายของรหัสประจำวิชา 8 หลัก มีความหมาย ดังนี้ ค. เลขหลักที่ 5 หมายถึง ชั้นปีที่เปิดสอน
ความหมายของรหัสประจำวิชา 8 หลัก มีความหมาย ดังนี้ ง. เลขหลักที่ 6 หมายถึง กลุ่มวิชา กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ 1 หมายถึง คณิตศาสตร์ทั่วไป 2 หมายถึง รากฐานคณิตศาสตร์ 3 หมายถึง พีชคณิต 4 หมายถึง การวิเคราะห์ 5 หมายถึง เรขาคณิต 6 หมายถึง คณิตศาสตร์สำหรับจุดประสงค์เฉพาะ 7 หมายถึง คอมพิวเตอร์ 8 หมายถึง การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 9 หมายถึง โครงการพิเศษ การสัมมนาและการวิจัย
ความหมายของรหัสประจำวิชา 8 หลัก มีความหมาย ดังนี้ ง. เลขหลักที่ 6 หมายถึง กลุ่มวิชา กลุ่มวิชาสถิติศาสตร์ 1 หมายถึง หลักสถิติประยุกต์และสถิติวิเคราะห์ 2 หมายถึง ทฤษฎีสถิติและความน่าจะเป็น 3 หมายถึง วิธีวิจัยและการวิเคราะห์ 4 หมายถึง สถิติประชากร 5 หมายถึง การวิจัยและการดำเนินการ 6 หมายถึง สถิติสำหรับจุดประสงค์เฉพาะ 7 หมายถึง คอมพิวเตอร์ 8 หมายถึง การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 9 หมายถึง โครงการพิเศษ การสัมมนาและการวิจัย จ. เลขหลักที่เจ็ดถึงแปด หมายถึง ลำดับรายวิชา
แผนการศึกษา แผนการศึกษาตลอดหลักสูตรแบ่งเป็น 8 ภาคการศึกษาดังนี้ ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2
แผนการศึกษา แผนการศึกษาตลอดหลักสูตรแบ่งเป็น 8 ภาคการศึกษาดังนี้ ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2
แผนการศึกษา แผนการศึกษาตลอดหลักสูตรแบ่งเป็น 8 ภาคการศึกษาดังนี้ ชั้นปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2
แผนการศึกษา แผนการศึกษาตลอดหลักสูตรแบ่งเป็น 8 ภาคการศึกษาดังนี้ ชั้นปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2
การประกันคุณภาพหลักสูตรการประกันคุณภาพหลักสูตร 1. การบริหารหลักสูตร 2. ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน 3. การสนับสนุนและการให้คำแนะนำนักศึกษา 4. ความต้องการของตลาดแรงงาน สังคม และ/หรือความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต
การพัฒนาหลักสูตร 1. กำหนดดัชนีบ่งชี้มาตรฐานและคุณภาพการศึกษา 1.1 จำนวนอาจารย์ต่อนักศึกษา 1.2 เอกสารหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา 1.3 ร้อยละของบัณฑิตที่ได้งานทำและประกอบอาชีพอิสระ 1.4 ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต 2. กำหนดการประเมินหลักสูตร ตามดัชนีชี้วัดทุกระยะ 5 ปี 3. กำหนดการประเมินครั้งแรก ภายในปี พ.ศ. 2554
ความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น 1. ความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น ๆ ภายในมหาวิทยาลัย ได้แก่ ความร่วมมือกับสาขาวิชาอื่นๆในการสอนวิชาศึกษาทั่วไป วิทยาศาสตร์พื้นฐานและวิชาเฉพาะด้าน 2. ความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น ๆ ภายนอกมหาวิทยาลัย ได้แก่ ความร่วมมือกับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่นและมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สาระสำคัญการปรับปรุงแก้ไข หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์ 1. หลักสูตรฉบับนี้ เริ่มใช้กับนักศึกษาที่เข้าศึกษาปี 2551 และใช้ข้อบังคับมหาวิทยาลัย ราชภัฏสกลนครว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 254 2. เหตุผลในการปรับปรุงแก้ไข 2.1 เพื่อปรับปรุงชื่อหลักสูตร ปรัชญา วัตถุประสงค์ โครงสร้างหลักสูตรและคำอธิบายรายวิชาให้เหมาะสม 2.2 เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เลือกวิชาเฉพาะด้านความสนใจของตนเอง เพื่อจะได้ศึกษาอย่างมีความสุขและสามารถนำความรู้ไปใช้ได้อย่างมั่นใจ
สาระสำคัญการปรับปรุงแก้ไข หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์ 3. สาระในการปรับปรุงแก้ไข 3.1 ชื่อสาขาวิชาจากเดิม คณิตศาสตร์ เปลี่ยนเป็น คณิตศาสตร์ประยุกต์ เพื่อเพิ่ม โอกาสเลือกให้นักศึกษา 3.2โครงสร้างหลักสูตร 1. เปรียบเทียบโครงสร้างหลักสูตรเดิม หลักสูตรปรับปรุงและเกณฑ์ มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2548 ของกระทรวงศึกษาธิการ 2. เปรียบเทียบรายวิชาโครงสร้างเดิมและโครงสร้างใหม่ 3.3 สาระสำคัญในการปรับปรุงแก้ไข