1 / 39

สื่อประกอบการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ ชีวิตมนุษย์และสัตว์

สื่อประกอบการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ ชีวิตมนุษย์และสัตว์. นางรุ่งทิพย์ วงค์ ภูมี ตำแหน่งครู วิทย ฐานะครูชำนาญการ โรงเรียนเวียงคำวิทยา คาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. กรอบความรู้. ระบบย่อยอาหารของมนุษย์

amaris
Download Presentation

สื่อประกอบการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ ชีวิตมนุษย์และสัตว์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สื่อประกอบการเรียนรู้สื่อประกอบการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ ชีวิตมนุษย์และสัตว์ นางรุ่งทิพย์ วงค์ภูมี ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการ โรงเรียนเวียงคำวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21

  2. กรอบความรู้ ระบบย่อยอาหารของมนุษย์ ตามปกติอาหารที่คนเรากินเข้าไปส่วนใหญ่ร่างกายจะไม่สามารถดูดซึมไปยังเซลล์ต่าง ๆ ได้ในทันที เนื่องจากอาหารยังมีอนุภาคขนาดใหญ่อยู่ ร่างกายจะต้องย่อยอาหารเหล่านี้ให้มีอนุภาคเล็กลง โดยให้อยู่ในรูปของสารอาหารก่อน จึงจะสามารถดูดซึมเข้าสู่เซลล์ได้ อย่างไรก็ตามสารอาหารที่คนเรากินเข้าไปมีหลายประเภท เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน เป็นต้น ซึ่งสารอาหารเหล่านี้มีสมบัติและขนาดของอนุภาคแตกต่างกัน จึงทำให้มีผลต่อการดูดซึมไปยังเซลล์ต่าง ๆ แตกต่างกัน ขนาดอนุภาคของสารอาหารมีผลต่อการดูดซึมไปยังเซลล์แตกต่างกัน จากการทดลอง ในบัตรกิจกรรมที่ 1 นักเรียนจะเห็นได้ว่า ในของเหลวที่นำมาทดสอบตรวจพบอนุภาคของน้ำตาลกลูโคส แสดงว่า อนุภาคของน้ำตาลกลูโคสมีขนาดเล็กกว่าแป้งและเล็กกว่ารูของกระดาษเซลโลเฟน จึงสามารถลอดผ่านรูกระดาษออกมาได้ ส่วนอนุภาคของแป้งไม่พบในของเหลวเลย แสดงว่า อนุภาคของแป้งมีขนาดใหญ่กว่าน้ำตาลกลูโคสและใหญ่ว่ารูของกระดาษเซลโลเฟน จึงไม่สามารถลอดผ่านออกมาได้ ถ้าเปรียบกระดาษเซลโลเฟนเป็นเยื่อหุ้มเซลล์ รูของกระดาษ เซลโลเฟนก็เปรียบได้กับเยื่อหุ้มเซลล์ รูของกระดาษเซลโลเฟนกับรูของเยื่อหุ้มเซลล์มีสมบัติคล้ายกัน คือ เป็นเยื่อเลือกผ่าน ซึ่งยอมให้สารบางอย่างผ่านได้ เช่น สารอาหารที่มีอนุภาคเล็กกว่ารูของเยื่อหุ้มเซลล์จะผ่านสู่เซลล์ได้ ส่วนอาหารที่มีอนุภาคขนาดใหญ่กว่ารูเยื่อหุ้มเซลล์ไม่สามารถผ่านเข้าสู่เซลล์ได้ ด้วยเหตุนี้เมื่อเรากินอาหารเข้าไป ร่างกายจึงต้องมีกลไกการย่อยอาหารเพื่อให้ได้สารอาหารที่มีอนุภาคขนาดเล็กที่สุดที่จะสามารถดูดซึมเข้าไปสู่เซลล์ของเราได้

  3. กรอบความรู้ อวัยวะและกลไกการย่อยอาหาร นักเรียนคงทราบมาแล้วว่า เมื่อเรากินอาหารเข้าไป อาหารนั้นจะถูกบดเคี้ยวและย่อยให้มีอนุภาคเล็กลง โดยกลไกการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย จากนั้นร่างกายก็จะดูดซึมและลำเลียงไปยังเซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกาย กลไกที่ทำให้อาหารที่กินเข้าไปซึ่งมีอนุภาคใหญ่ให้มีขนาดอนุภาคเล็กที่สุดพอที่จะดูดซึมและลำเลียงไปยังเซลล์ต่าง ๆ ได้นั้น เรียกว่า การย่อยอาหาร ( Digestion ) การย่อยอาหารของคนเราประกอบด้วย 2 กระบวนการคือ • 1. การย่อยเชิงกลเป็นการเปลี่ยนแปลงอาหารให้มีอนุภาคเล็กลง • โดยการบดเคี้ยวของฟัน 2. การย่อยเชิงเคมี เป็นการเปลี่ยนแปลงอาหารให้มีอนุภาคเล็กลง โดยอาศัยเอนไซม์หรือน้ำย่อย ในกลไกการย่อยอาหารนั้น อาหารจะผ่านอวัยวะที่เป็นทางเดินอาหารซึ่งประกอบด้วย ปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก และลำไส้ใหญ่ นอกจากนี้ยังมีอวัยวะอื่น ๆ อีกที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการย่อยอาหาร เช่น ฟัน ลิ้น ต่อมน้ำลาย ตับ ตับอ่อน ถุงน้ำดี เป็นต้น

  4. กรอบความรู้ รูปที่ 3 แสดงตำแหน่งอวัยวะต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับทางเดินอาหาร ที่มา : ยุพา วรยศ และคณะ. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เล่ม 1. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์, ม.ป.ป. หน้า 8.

  5. กรอบความรู้ การย่อยอาหารในปาก การย่อยอาหารของคน เริ่มตั้งแต่ในปาก คือ เมื่ออาหารเข้าปาก ฟันจะทำหน้าที่ตัดฉีกและบดเคี้ยวอาหารให้มีขนาดเล็กลง โดยมีลิ้นที่คลุกเคล้าอาหารให้ผสมกับน้ำลาย ซึ่งน้ำลายที่ผลิตจากต่อมน้ำลายใต้หู ใต้ลิ้น และใต้ขากรรไกรล่าง จะช่วยให้อาหารลื่น อ่อนนุ่ม สะดวกต่อการเคี้ยวและการกลืน นอกจากน้ำลายจะช่วยให้อาหารลื่นแล้วน้ำลายยังมีหน้าที่อื่นอีก ซึ่งนักเรียนได้ศึกษาจากบัตรกิจกรรมที่ 3 พบว่านักเรียนตรวจพบน้ำตาลในของเหลว ทั้ง ๆ ที่การทดลองนี้ไม่ได้ใส่น้ำตาลในถุงกระดาษเซลโลเฟนและในน้ำที่แช่ถุงกระดาษ และเมื่อตรวจสอบน้ำลายและแป้งทีละอย่างโดยหยดสารละลายเบเนดิกต์ลงไป ก็พบว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น แสดงว่าทั้งในน้ำตาลและแป้งไม่มีน้ำตาลอยู่ ดังนั้นจึงยืนยันได้ว่า น้ำตาลที่ตรวจสอบพบเกิดจากปฏิกิริยาระหว่างน้ำลายและแป้ง ทั้งนี้เนื่องจากน้ำลายจะเปลี่ยนแป้งที่มีอนุภาคขนาดใหญ่ให้แป้งมีโมเลกุลเล็กลงและ น้ำตาลจึงสามารถลอดผ่านรูเซลโลเฟนได้การเปลี่ยนแป้งซึ่งเป็นสารที่มีอนุภาคใหญ่ให้กลายเป็นน้ำตาลที่มีอนุภาคขนาดเล็กดังกล่าวนี้เรียกว่า การย่อย • นักเรียนจะเห็นได้ว่า นอกจากน้ำลายจะทำหน้าที่ช่วยให้อาหารลื่นและอ่อนนุ่มแล้วน้ำลายยังช่วยย่อยอาหารได้อีกด้วย โดยในน้ำลายมีเอนไซม์ชื่อ ไทยาลิน( Ptyalin ) ซึ่งเป็นอะไมเลสชนิดหนึ่ง เอนไซม์อะไมเลสในน้ำลายชนิดนี้ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในปฏิกิริยาย่อยแป้งให้เป็นน้ำตาลเท่านั้น

  6. กรอบความรู้ ต่อมน้ำลาย น้ำลายจากต่อมน้ำลายมี3คู่ได้แก่ต่อมน้ำลายใต้ลิ้น1คู่ต่อมน้ำลายใกล้ขากรรไกรล่าง 1 คู่และต่อมน้ำลายใต้กกหู 1คู่ต่อมน้ำลายจะผลิตน้ำลายได้ประมาณวันละ1 – 1.5ลิตร รูปที่ 4 แสดงลักษณะของลิ้น ที่มา :http://talung.pt.ac.th/ptweb/studentweb/body/ arweb/c4/c41.jpg สืบค้นวันที่ 16 เมษายน 2554

  7. กรอบความรู้ อวัยวะทางเดินอาหาร *เอ็นไซม์(enzyme) เป็นสารประกอบประเภทโปรตีนซึ่งสิ่งมีชีวิตสร้างขึ้น เพื่อเป็นตัวเร่ง (catalyst)ในปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น ในการย่อยแป้งด้วยเอนไซม์นั้นขึ้นอยู่กับภาวะที่เหมาะสม โดยปกติน้ำลายจะ มี pH 6.4 - 7.2 ซึ่งเป็นภาวะที่เอนไซม์ทำงานได้ดีนอกจากนี้เอนไซม์ยังทำงานได้ดี ที่อุณหภูมิใกล้เคียงกับร่างกายเอนไซม์ส่วนใหญ่ถูกทำลายที่อุณหภูมิประมาณ 100 องศาเซลเซียสอย่างไรก็ตามมีเอนไซม์หลายชนิดถูกทำลายได้ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 100 องศาเซลเซียส คอหอยเป็นทางผ่านของอาหารซึ่งไม่มีการย่อยใด ๆทั้งสิ้นหลอดอาหาร ท่อลำเลียงอาหารอยู่ด้านหลังของหลอดลมและทะลุกระบังลมไปต่อกับปลายบนของกระเพาะอาหาร ทำหน้าที่ลำเลียงอาหารที่เคี้ยวแล้วลงสู่กระเพาะอาหาร โดยการบีบรัดของผนังกล้ามเนื้อ รูปที่ 5 แสดงการบีบรัดของหลอดอาหาร ที่มา : http://www.highskynetwork.com/images/activity/ c931021a85920b580fb72d4768f7051e.jpg สืบค้นวันที่ 16 เมษายน 2554

  8. กรอบความรู้ จากกิจกรรมการทดลองนักเรียนจะเห็นได้ว่า ดินน้ำมันก้อนใหญ่ 1 ก้อน เมื่อตัดให้เป็นก้อนเล็กๆ หลายๆ ก้อน จะทำให้มีพื้นที่รวมของก้อนดินน้ำมันเพิ่ม มากขึ้น ก้อนดินน้ำมันที่มีขนาดเล็กลงๆ จะมีพื้นที่หน้าตัดเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้มีโอกาสสัมผัสกับสิ่งต่างๆ เช่น อากาศได้มากขึ้น ในการกินอาหารก็เช่นเดียวกัน เหตุที่เราต้องเคี้ยวอาหารให้ละเอียดก็เพื่อเพิ่มเนื้อที่ของชิ้นอาหาร ทำให้มีโอกาสสัมผัสกับเอนไซม์ในน้ำลายมากที่สุด มีผลทำให้การย่อยอาหารเป็นไปอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากที่สุด การย่อยอาหารในกระเพาะอาหาร การหดตัวเเละคลายตัวของกล้ามเนื้อหลอดอาหารทำให้อาหารเคลื่อนที่เข้าสู่ กระเพราะอาหาร รูปที่ 7 แสดงการเคลื่อนที่ของอาหารผ่านหลอดอาหารสู่กระเพราะอาหาร ที่มา :http://www.thaigoodview.com/library/sema/sukhothai/somsak_b/ organ/images/014.jpg สืบค้นวันที่ 16 เมษายน 2554

  9. กรอบความรู้ กระเพาะอาหาร ( Stomach )เป็นอวัยวะเกี่ยวกับทางเดินอาหาร อยู่ใต้กะบังลมทางด้านบนซ้ายของช่องท้อง ขณะที่ไม่มีอาหารอยู่ กระเพาะอาหารของคนเราจะมีขนาดประมาณ 50 ลูกบาศก์เซนติเมตร แต่สามารถขยายขนาดได้อีก10-40 เท่า เมื่อมีอาหารกระเพาะอาหารประกอบด้วยผนังหลายชั้น ชั้นในสุดมีต่อมสร้างน้ำย่อยอาหาร ซึ่งมีเอนไซม์เพปซินเเละกรดไฮโดรคลอริก เป็นส่วนประกอบ ขณะที่กระเพาะอาหารว่าง หรือมีการเคี้ยวอาหาร กระเพาะอาหารจะสร้างเอนไซม์เพปซิน และกรดไฮโดรคลอริกออกมาเล็กน้อย แต่เมื่ออาหารเคลื่อนลงสู่กระเพาะอาหารแล้ว กระเพาะอาหารก็จะสร้างเอนไซม์และกรดไฮโดรคลอริกมากขึ้น เพื่อช่วยในการย่อยอาหาร รูปที่ 8 แสดงตำแหน่งและโครงสร้างของกระเพาะอาหาร ที่มา :http://www.thaigoodview.com/library/sema/sukhothai/ somsak_b/organ สืบค้นวันที่ 16 เมษายน 2554

  10. กรอบความรู้ สำหรับกรดไฮโดรคลอริกที่ปล่อยออกมาใหม่ๆ มีความเข้มข้นมาก สามารถทำลายเนื้อเยื่อต่างๆภายในร่างกายได้ แต่กรดนี้จะไม่เป็นอันตรายต่อกระเพาะอาหาร เนื่องจากกรดไฮโดรคลอริกจะรวมกับอาหารที่อยู่ในกระเพาะอาหาร ทำให้กรดมีฤทธิ์เจือจางลง นอกจากนี้ผนังเซลล์ซึ่งบุกระเพาะยังสร้างน้ำเมือกฉาบไว้ด้วยทำให้กรด ไม่สามารถทำลายผนังกระเพาะอาหารได้อย่างไรก็ตาม บางครั้งการทำงานของกระเพาะอาหารไม่เป็นไปตามปกติ โดยปกติจะปล่อยน้ำย่อยออกมาขณะที่ไม่มีอาหาร น้ำย่อยจะไปทำลายผนังกระเพาะอาหารทำให้เกิดเป็นแผล ถ้าเป็นมากจะมีอาการเจ็บปวดมาก และมีอุจจาระสีดำ ส่วนเอนไซม์เฟปซินในกระเพาะอาหารจะทำหน้าที่ย่อยโปรตีนให้มีขนาดเล็กลง แต่ก็ยังไม่เล็กที่สุดพอที่ร่างกายจะสามารถดูดซึมเข้าสู่เซลล์ได้ ดังนั้นสารอาหารประเภทโปรตีนจะถูกส่งไปยังลำไส้เล็กเพื่อย่อยต่อไป นักเรียนจะสังเกตเห็นได้ว่า สารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตและไขมันจะ ไม่มีการย่อยสลายในกระเพาะอาหาร ทั้งนี้เนื่องจากในกระเพาะอาหารมีสภาพความเป็นกรด จึงไม่มีเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ย่อยอาหารทั้งสองประเภทนี้ หรือมีปริมาณน้อย จึงไม่สามารถทำงานได้ดังนั้นสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตและไขมันจึงผ่านกระเพาะอาหารออกไปย่อยที่ลำไส้เล็ก

  11. กรอบความรู้ การย่อยอาหารในลำไส้เล็ก อาหารที่ผ่านการย่อยจากกระเพาะอาหารแล้วจะเคลื่อนที่เข้าสู่ ลำไส้เล็ก (Small intestine) โดยการทำงานของกล้ามเนื้อกระเพาะอาหารและกล้ามเนื้อหูรูด ลำไส้เล็กมีลักษณะเป็นท่อยาวประมาณ 7 เมตร ขดอยู่ในช่องท้อง ที่ผนังด้านในของลำไส้เล็กมีลักษณะไม่เรียบเป็นปุ่มปมเล็กๆ จำนวนมากมายยื่นออกมา เพื่อเพิ่มเนื้อที่ผิวในการสัมผัสกับอาหาร ช่วยให้อาหารถูกย่อยได้เร็วขึ้น รูปที่ 9 แสดงตำแหน่งและลักษณะภายในของลำไส้เล็ก ที่มา :http://www.bangkokhealth.com/cimages/colostomy สืบค้นวันที่ 16 เมษายน 2554

  12. กรอบความรู้ การย่อยอาหารในลำไส้เล็กเกิดจากการทำงานร่วมกันของเอนไซม์หลายชนิด จากแหล่งต่าง ๆ ได้แก่ ผนังลำไส้เล็ก ตับอ่อน และตับ ผนังลำไส้เล็กทำหน้าที่สร้างเอนไซม์หลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดมีหน้าที่ย่อยอาหารต่างกัน ได้แก่ 1. เอนไซม์มอลเทส ทำหน้าที่ช่วยย่อยน้ำตาลมอลโทสให้เป็นน้ำตาลกลูโคส 2. เอนไซม์ซูเครส ทำหน้าที่ช่วยย่อยน้ำตาลซูโครสให้เป็นน้ำตาลกลูโคสและฟรักโทส • 3. เอนไซม์แล็กเทส ทำหน้าที่ช่วยย่อยน้ำตาลแล็กโทสในเป็นน้ำตาลกลูโคส และกาแล็กโทส 4. เอนไซม์อิเรพซิน ทำหน้าที่ย่อยโปรตีนโมเลกุลย่อยในเป็นกรดอะมิโน ตับอ่อนทำหน้าที่สร้างเอนไซม์หลายชนิดแล้วส่งไปยังลำไส้เล็ก ซึ่งแต่ละชนิดมีหน้าที่ย่อยอาหารแตกต่างกัน ได้แก่ 1. เอนไซม์ไลเพส ทำหน้าที่ย่อยไขมันให้เป็นกรดไขมันและกลีเซอรอล 2. เอนไซม์อะไมเลส ทำหน้าที่ย่อยแป้งให้เป็นน้ำตาลมอลโทส 3. เอนไซม์ทริปซิน ทำหน้าที่ย่อยโปรตีนโมเลกุลย่อยให้เป็นกรดอะมิโน ตับทำหน้าที่สร้างน้ำดี แล้วส่งไปเก็บไว้ที่ถุงน้ำดี ( Gall bladder ) ซึ่งมีท่อติดต่อกับลำไส้เล็ก น้ำดีมีฤทธิ์เป็นเบสอ่อนๆ น้ำดีไม่ใช่เอนไซม์ เพราะไม่มีสารประเภทโปรตีน จึงไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการย่อยโดยตรง เมื่ออาหารผ่านเข้ามาสู่ลำไส้เล็กก็จะมีการกระตุ้นให้น้ำดีหลั่งออกมา น้ำดีจะช่วยทำให้ไขมันแตกตัวออกเป็นเม็ดเล็ก ๆ เพื่อให้เอนไซม์ไลเพสที่สร้างจากตับอ่อนทำหน้าที่ย่อยไขมันได้ง่ายขึ้น

  13. กรอบความรู้ รูปที่ 10 แสดงลำไส้เล็ก ตับอ่อน ตับ และถุงน้ำดี ที่มา :http://www.thaigoodview.com/files/u4620/ 12_clip_image002_0002.jpg สืบค้นวันที่ 16 เมษายน 2554 นักเรียนจะเห็นได้ว่า การย่อยอาหารที่ลำไส้เล็ก มีเอนไซม์หลายชนิดช่วยในการย่อย ทั้งนี้เพราะลำไส้เล็กจะมีการย่อยอาหารประเภทโปรตีนต่อจากที่ย่อยมาแล้วครั้งหนึ่งในกระเพาะอาหาร ย่อยสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่ถูกย่อยมาแล้วที่ปาก และย่อยสารอาหารประเภทไขมันให้มีอนุภาคเล็กที่สุดพอที่จะดูดซึมเข้าสู่เซลล์ได้ เอนไซม์ต่างๆ ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นจะทำงานได้ดีเมื่ออยู่ในภาวะที่เป็นเบส

  14. กรอบความรู้ จึงสรุปได้ว่า ทั้งสารอาหารประเภทโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมันจะถูกย่อยอย่างสมบูรณ์ที่ลำไส้เล็ก จนได้ขนาดอนุภาคที่เล็กที่สุด และสามารถดูดซึมผ่านผนังลำไส้เล็กเข้าสู่หลอดเลือด จากนั้นจะถูกส่งไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ ส่วนกากอาหารที่เหลือจากการย่อยและย่อยไม่ได้ เช่น เซลลูโลส จะเคลื่อนไปยังลำไส้ใหญ่ ลำไส้ใหญ่ ( Large intestine ) เป็นทางเดินอาหารส่วนสุดท้ายต่อจากลำไส้เล็ก มีความยาวประมาณ 1.5 เมตร ที่ผนังลำไส้ใหญ่จะไม่มีการย่อยอาหาร แต่จะมีการดูดซึมน้ำ แร่ธาตุ วิตามินบางชนิด และกลูโคส ออกจากกากอาหารกลับเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้กากอาหารเหนียว ข้น และเป็นก้อน จากนั้นก็จะเคลื่อนที่เข้าไปรวมกันที่ลำไส้ใหญ่ส่วนที่เรียกว่า ลำไส้ตรง ซึ่งอยู่เหนือทวารหนัก และจะถูกขับถ่ายออกมาทางทวารหนัก เป็นอุจจาระ รูปที่ 11 แสดงลำไส้ใหญ่

  15. กรอบความรู้ ระบบหมุนเวียนเลือดของมนุษย์ หัวใจ หัวใจของคนตั้งอยู่ในบริเวณทรวงอก ระหว่างปอดทั้งสองข้างค่อนไปทางด้านซ้ายภายในมีลักษณะเป็นโพรงมี 4 ห้อง โดยแบ่งเป็นห้องบน 2 ห้อง เรียกว่า เอเตรียม (Atrium) ห้องล่าง 2 ห้อง เรียกว่า เวนตริเคิล(Ventricle) โดยหัวใจห้องบนจะรับเลือดเข้าหัวใจ ส่วนห้องล่างจะส่งเลือดออกจากหัวใจ ซึ่งห้องล่างจะใหญ่และหนากว่าห้องบน และหัวใจห้องบนซ้ายและล่างซ้ายมีลิ้นไบคัสพิด(Bicupid) คั่นอยู่ ส่วนห้องบนขวาและล่างขวามีลิ้นไตรคัสพิด (Tricuspid ) คั่นอยู่ ซึ่งลิ้นทั้งสองนี้ทำหน้าที่คอยปิด - เปิด เพื่อไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับ หัวใจทำหน้าที่สูบฉีดเลือดโดยการบีบตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อหัวใจเป็นจังหวะ ทำให้เลือดไหลไปตามหลอดเลือดต่าง ๆ รูปที่ 1 แสดงส่วนประกอบของหัวใจ ที่มา : http://school.obec.go.th/msp/bodyheart.jpg สืบค้นวันที่ 17 เมษายน 2554

  16. กรอบความรู้ หลอดเลือด หลอดเลือดแบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ 1. หลอดเลือดแดง (Arteries)เป็นหลอดเลือดที่นำเลือดที่ฟอกแล้วออกจากหัวใจไปยังส่วนต่างๆของร่างกายหลอดเลือดแดงเป็นเลือดที่มีก๊าซออกชิเจนมากยกเว้นหลอดเลือดที่ส่งไปยังปอดจะมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาก หลอดเลือดแดงมีผนังหนาและแข็งแรงเพื่อให้มีความทนทานต่อแรงดันสูงที่ถูกฉีดออกจากหัวใจ 2. หลอดเลือดดำ (Veins)เป็นหลอดเลือดออกจากส่วนต่างๆของร่างกายเข้าสู่หัวใจโดยเลือดในส่วนนี้จะมีปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากยกเว้นหลอดเลือดดำที่นำเลือดจากปอดมายังหัวใจจะเป็นเลือดที่มีก๊าซออกซิเจนสูง 3. หลอดเลือดฝอย(Capillaries)เป็นหลอดเลือดที่มีขนาดเล็กละเอียด มีอยู่จำนวนมากในร่างกายหลอดเลือดฝอยประกอบด้วยเซลล์ชั้นเดียวหลอดเลือดฝอยมีอยู่เกือบทุกส่วนในร่างกายและมีจำนวนมากบริเวนผนังของเลือดฝอยเป็นบริเวณที่การแลกเปลี่ยนสารอาหารก๊าซต่างๆระหว่างเลือดกับเซลล์ของร่างกาย

  17. กรอบความรู้ การหมุนเวียนของเลือด สารอาหาร ก๊าซ และสิ่งต่างๆ จะถูกส่งไปเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกายพร้อมกับเลือดโดยทางหลอดเลือด ในการเคลื่อนที่หรือการไหลเวียนของเลือดนั้นบางครั้งมีการไหลจากที่สูงไปยังที่ต่ำกว่า บางครั้งจะไหลจากที่ต่ำไปยังที่สูงกว่า การที่เลือดไหลไปได้ในทิศต่าง ๆ นั้น เนื่องมาจากร่างกายของคนเรามีหัวใจ(Heart) ซึ่งเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่เสมือนเครื่องสูบฉีด ทำให้เกิดแรงดันในเลือดไหลไปตามหลอดเลือด แล้วไหลต่อไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และไหลกลับคืนเข้าสู่หัวใจ* * วิลเลียมฮาร์วีย์ นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ เป็นคนแรกที่ค้นพบการหมุนเวียนของเลือด โดยชี้ให้เห็นว่า เลือดมีการไหลเวียนไปทางเดียวกัน ระบบการหมุนเวียนเลือดแบ่งเป็น 2 ระบบ ดังนี้ ระบบเลือดวงจรเปิด (open circulatory system) พบในสัตว์พวกแมลง หอย และกลุ่มของดาวทะเล ซึ่งจะมีช่องว่างในลำตัวทำหน้าที่คล้ายหลอดเลือด เลือดจะสัมผัสกับเซลล์โดยตรง ดังนั้นสัตว์ที่มีการไหลเวียนเลือดแบบระบบเปิดจะไม่มี หลอดเลือดฝอย ระบบเลือดวงจรปิด (closed circulatory system) พบในสัตว์พวกไส้เดือนดิน หมึก และสัตว์มีกระดูกสันหลัง เลือดจะไหลเวียนไปในหลอดเลือด ซึ่งจะไม่สัมผัสกับเซลล์ร่างกายโดยตรง ดังนั้นสัตว์ที่มีการไหลเวียนเลือดแบบระบบปิดจึงจำเป็นต้องมีหลอดเลือดฝอยในการแลกเปลี่ยนสารต่างๆ ระหว่างเซลล์กับเลือด

  18. กรอบความรู้ ระบบหมุนเวียนเลือดในร่างการมนุษย์ หัวใจห้องเอเตรียมขวาจะรับเลือดจากหลอดเลือดดำ ชื่อชุพีเรียเวนาคาวา โดยจะนำเลือดมาจากศีรษะและแขน และรับเลือดจากหลอดเลือดดำ ชื่ออินฟีเรียเวนาคาวา ซึ่งนำเลือดจากลำตัวและขา กลับเข้าสู่หัวใจ เมื่อหัวใจห้องเอเตรียมขวา บีบตัว เลือดจะไหลลงสู่บริเวณ เวนตริเคิลขวาโดยผ่านลิ้นไตรคัสพิด เมื่อเวนตริเคิลขวาบีบตัวเลือดจะผ่านลิ้น พัลโมนารีเซมิลูนาร์ หลอดเลือดนี้จะนำเลือดไปฟอกยังปอดเพื่อแลกเปลี่ยนก๊าซ โดยเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกและรับก๊าซออกซิเจน ไหลกลับสู่หัวใจทางหลอดเลือดดำ เข้าสู้ห้องเอเตรียมซ้าย เมื่อเอเตรียมซ้ายบีบตัวเลือดก็จะผ่านลิ้นไบคัสพิดเข้าสู้ห้องเวนตริเคิลซ้าย แล้วบีบตัวดันเลือดให้ไหลผ่าน ลิ้นเอออร์ติกเซมิลูนาร์ เข้าสู่เอออร์ตาซึ่งเป็นหลอดเลือดใหญ่ จากเอออร์ตาจะมีหลอดเลือดแตกแขนงแยกไปยังส่วนต่างๆในร่างกาย รูปที่ 3 แสดงการหมุนเวียนเลือดในร่างกายมนุษย์ ที่มา : http://th.upic.me/i/ie/circulatory6.jpg สืบค้นวันที่ 17 เมษายน 2554

  19. กรอบความรู้ ความดันเลือด ( Blood pressure )คือความดันที่เกิดขึ้นเนื่องจากการบีบตัวและคลายตัวของหัวใจ โดยขณะที่หัวใจบีบตัว เลือดจะถูกดันให้ไหลไปตามหลอดเลือดแดงด้วยความดันสูง ทำให้เลือดสามารถเคลื่อนที่ไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ และในขณะที่หัวใจคลายตัวเลือดจะไหลกลับสู่หัวใจตามหลอดเลือดดำด้วยความดันต่ำ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า หลอดเลือดที่นำเลือดเข้าสู่หัวใจจะมีความดันต่ำ และส่วนเลือดที่นำเลือดออกจากหัวใจจะมีความดันสูง การวัดความดันเลือดจะวัดจากหลอดเลือดที่อยู่ใกล้หัวใจ เพื่อให้ได้ค่าใกล้เคียงกับความดันในหัวใจมากที่สุด หลอดเลือดที่เหมาะสำหรับวัดความดันเลือด คือ หลอดเลือดแดงบริเวณต้นแขน เครื่องมือที่แพทย์ใช้วัดความดันเลือดเรียกว่า มาตรวัดความดันเลือด (Sphygmoanometer) ซึ่งแพทย์จะใช้คู่กับหูฟัง หรือ สเตทโทสโคป (Stethoscope) รูปที่ 5 แสดงเครื่องมือวัดความดันเลือด และหูฟังแพทย์ ที่มา :http://songkhlatoday.comสืบค้นวันที่ 17 เมษายน 2554

  20. กรอบความรู้ ค่าความดันเลือดที่แพทย์วัดออกมาได้นั้นมีหน่วยเป็นมิลลิเมตรของปรอท โดยปกติผู้ใหญ่จะมีความดันเลือดประมาณ 120 / 80 มิลลิเมตรของปรอท จะเห็นว่า ความดันเลือดที่มีค่าตัวเลข 2 ค่า คือ ตัวเลขแรก หมายถึง ค่าความดันเลือด สูงที่สุดที่ขณะหัวใจบีบตัวให้เลือดออกจากหัวใจ ตัวเลขตัวหลัง หมายถึง ค่าความดันเลือดต่ำสุดขณะที่หัวใจคลายตัวรับเลือดเข้าสู่หัวใจ ในคนปกติความดันเลือดสูงขณะที่หัวใจบีบตัวให้เลือดออกจากหัวใจนั้น จะมีค่าประมาณ 100 + อายุ สำหรับความดันเลือดขณะที่หัวใจคลายตัวรับเลือดเข้าสู่หัวใจไม่เกิน 90 มิลลิเมตรของปรอท ค่าความดันเลือดของคนปกติเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ได้แก่ 1.เพศโดยทั่วไปเพศหญิงมักจะมีความดันเลือดสูงกว่าเพศชายที่มีอายุ เท่าๆ กัน ในวัยหนุ่มสาว เพศหญิงจะมีความดันเลือดเฉลี่ย 110 / 70 มิลลิเมตรของปรอท ขณะที่เพศชายมีความดันเลือดเฉลี่ย 120 / 80 มิลลิเมตรของปรอท 2.อายุคนยิ่งมีอายุสูงขึ้น ค่าความดันก็จะยิ่งเพิ่มขึ้นเนื่องจากผนังหลอดเลือดมีความยืดหยุ่นลดลง ทำให้มีการบีบตัวของผนังหลอดเลือดมีน้อยลง เช่น ผู้ใหญ่มีอายุระหว่าง 20 - 30 ปี จะมีความดันเลือดปกติเฉลี่ย120/80 มิลลิเมตรของปรอท ขณะที่เด็กมีอายุ 3 - 6 ปีจะมีความดันเลือดเฉลี่ย 110 / 70 มิลลิเมตรของปรอท 3.ขนาดของร่างกายคนที่มีร่างกายใหญ่โตหรือคนอ้วนจะมีความดันเลือดสูงกว่าคนร่างเล็กหรือคนผอมที่มีอายุเท่า ๆ กัน 4.อารมณ์คนที่กำลังตกใจ โกรธ มีความเครียดหรือวิตกกังวล จะมีความดันเลือดสูงกว่าคนที่มีอารมณ์ปกติ เช่น ขณะที่โกรธ ร่างกายจะสร้างสารชนิดหนึ่งออกมา ซึ่งมีผลต่อการบีบตัวของหัวใจและหลอดเลือด ทำให้หัวใจสูบฉีดเลือดออกจากหัวใจแรงกว่าปกติ

  21. กรอบความรู้ 5.การทำงานและการออกกำลังกายคนที่ทำงานหนัก หรือ ขณะกำลังออกกำลังกาย จะมีความกันเลือดสูงกว่าคนที่ทำงานเบา หรือขณะพักผ่อน 6.อิริยาบถคนที่อยู่ในอิริยาบถนั่งจะมีความดันเลือดต่ำกว่า คนที่ยืน จะเห็นได้ว่าขณะที่เราเปลี่ยนอิริยาบถจากนั่งเป็นลุกขึ้นยืนอย่างรวดเร็ว ทำให้รู้สึกเวียนศีรษะ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะขณะนั่งความดันเลือดจะต่ำกว่าขณะยืน เมื่อลุกขึ้นทันทีร่างกายยังปรับความดันเลือดไม่ทันจึงทำให้เกิดความรู้สึกเวียนศีรษะ เมื่อลุกขึ้นยืนสักครู่ความรู้สึกเวียนศีรษะก็จะค่อยๆ หายไป ทั้งนี้เป็นเพราะร่างกายปรับความดันเลือดให้ปกติสำหรับท่ายืนได้แล้ว คนที่รู้สึกเวียนศีรษะครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงอิริยาบถ หรือมักหน้ามืดบ่อยๆ เป็นเพราะความดันเลือดต่ำ บุคคลเหล่านี้ควรจะออกกำลังกายเป็นประจำ นอกจากนี้เรายังพบว่า ขนาดของหลอดเลือดมีผลต่อความดันเลือดด้วยเช่นกัน คนที่มีหลอดเลือดตีบและแคบจะมีความดันเลือดสูงกว่าปกติ ทั้งนี้เพราะหัวใจจะสูบฉีดแรง เพื่อให้มีแรงดันมากในการทำให้เลือดไหลผ่านได้ ถ้าผนังเลือดเปราะบางจะมีผลทำให้หลอดเลือดแตกเป็นอันตรายถึงตายได้ โรคความดันเลือดสูงนี้โดยมากจะเป็นกับผู้สูงอายุ ผู้ที่มีความเครียดและวิตกกังวลเป็นประจำ ผู้ที่โกรธง่าย หรือผู้ที่มีระดับไขมันในเลือดสูง ดังนั้นผู้ที่เป็นความดันเลือดสูงจึงต้องระวังสุขภาพ ทั้งนี้ในเรื่องของอาหาร อารมณ์ และการออกกำลังกาย

  22. กรอบความรู้ เลือด (blood) ภายในหลอดเลือดประกอบด้วยเลือด ในร่างกายคนเรามีเลือดอยู่ประมาณร้อยละ 9 - 10 ของน้ำหนักตัว ส่วนประกอบของระบบหมุนเวียนเลือด 1. ส่วนประกอบที่เป็นของเหลว เรียกว่า น้ำเลือด หรือ พลาสมา (Plasma) จะมีอยู่ประมาณ 55 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำเลือดจะประกอบด้วยน้ำประมาณ 91 เปอร์เซ็นต์ และนอกจากนี้เป็นสารอื่นๆ ได้แก่ เอมไซม์ ฮอร์โมน และก๊าซ รวมทั้งของเสียในร่างกายที่ไม่ต้องการเช่น ยูเรีย ก๊าซคาร์บอนไซด์ออกไซค์ เป็นต้น น้ำเลือดทำหน้าที่ลำเลียงสารอาหาร เอมไซด์ ฮอร์โมน และก๊าซไปเลี้ยงเซลล์ต่างๆ ของร่างกาย และลำเลียงของเสียงต่างๆ มาที่ปอด เพื่อขับออกจากร่างกาย 2. ส่วนที่เป็นของแข็ง ได้แก่ เซลล์เม็ดเลือด (Corpuscle) และ เกล็ดเลือด (Platelet) ซึ่งมีอยู่ประมาณ 45 เปอร์เซ็นต์ ของปริมาณทั้งหมด 2.1 เซลล์เม็ดเลือด มีอยู่ 2 ชนิดคือ รูปที่ 6 แสดงลักษณะและส่วนประกอบของเลือดในร่างกายคน

  23. กรอบความรู้ 1. เซลล์เม็ดเลือดแดง มีรูปร่างค่อนข้างกลมแบน เมื่อโตเต็มที่จะ ไม่มีนิวเคลียส เซลล์เม็ดเลือดแดง จะประกอบด้วยสารประเภทโปรตีน ที่เรียกว่า ฮีโมโกลบิน ซึ่งมีธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ ฮีโมโกลบิน จะทำหน้าที่ในการรวมตัวกับก๊าซออกซิเจนเพื่อนำไปเลี้ยงเซลล์ต่างๆ ทั่วร่างกายและลำเลียงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จากเซลล์กลับไปสู่ปอดเพื่อทำการแลกเปลี่ยนก๊าซ เม็ดเลือดแดงมีอายุประมาณ 100-120 วัน หลังจากนั้นจะถูกทำลายโดยตับและม้าม แหล่งสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง คือไขกระดูก รูปที่ 7 แสดงลักษณะของเซลล์เม็ดเลือดแดง ที่มา :http://pro2star.com/images/product/cap_e_test.jpg สืบค้นวันที่ 17 เมษายน 2554

  24. กรอบความรู้ 2. เซลล์เม็ดเลือดขาว ไม่มีสีมีนิวเคลียส มีรูปร่างกลมใหญ่กว่า เซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือดขาวในร่างกายมีอยู่หลายชนิด โดยมีหน้าที่ต่อต้านและทำลายเชื้อโรคหรือสิ่งที่แปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย เซลล์เม็ดเลือดขาวมีอายุประมาณ 7-14 วัน แหล่งที่สร้างเซลล์เม็ดเลือดขาว ได้แก่ ม้าม ไขกระดูก ต่อมน้ำเหลือง รูปที่ 8 แสดงลักษณะของเซลล์เม็ดเลือดขาว ที่มา :http://kanchanapisek.or.th/kp6/New/pictures8/l8-211.jpg สืบค้นวันที่ 17 เมษายน 2554

  25. กรอบความรู้ 3. เกล็ดเลือด มีรูปร่างเป็นรูปไข่และแบน มีขนาดเล็กมากไม่มีสี ไม่มีนิวเคลียส เป็นส่วนประกอบของเลือดที่ไม่ใช่เซลล์ แต่เป็นส่วนของเซลล์ ช่วยทำให้เลือดแข็งตัวเมื่อเลือดออกสู่ภายนอกร่างกาย โดยจะจับตัวเป็นกระจุกร่างแหอุดรูของหลอดเลือดฝอยจะช่วยให้เลือดหยุดไหล เกล็ดเลือดจะมีอายุเพียง 4 วัน ก็จะถูกทำลาย แหล่งที่สร้างเกล็ดเลือด คือไขกระดูก รูปที่ 9 แสดงการจับตัวเป็นกระจุกร่างแหของเกล็ดเลือด

  26. กรอบความรู้ ระบบขับถ่าย ระบบขับถ่าย เป็นระบบซึ่งทำหน้าที่กำจัดและขับถ่ายของเสียที่เหลือใช้จากการเผาผลาญอาหารในร่างกายเพื่อให้เกิดพลังงานและสะสมพลังงาน นั่นก็คือการกำจัดของเสียที่เกิดจากปฏิกิริยาเคมีภายในเซลล์ซึ่งเรียกว่า เมแทบอลิซึม (Metabolism) การขับถ่าย (Excretion)หมายถึง การกำจัดของเสียที่เกิดจากกระบวนการเมแทบอลิซึมของเซลล์ออกจากร่างกาย ซึ่งไม่ได้รวมถึงกากอาหารแต่การกำจัดกากอาหารอาจมีของเสียที่เกิดจากกระบวนการเมเทบอลิซึมปนออกมาด้วย การกำจัดของเสียในระบบขับถ่ายของมนุษย์เกิดขึ้นได้หลายทาง ได้แก่ ไต ผิวหนัง ปอด และลำไส้ใหญ่ การกำจัดของเสียทางไต ไตของมนุษย์มีลักษณะคล้ายเมล็ดถั่ว อยู่ด้านหลังช่องท้อง 2 ข้าง ของกระดูกสันหลัง ภายในไตจะกลวง เรียกว่า กรวยไต ทำหน้าที่กรองของเสียซึ่งมีทั้ง ยูเรีย และเกลือแร่ต่าง ๆ ที่ละลายน้ำได้ เรียกว่า น้ำปัสสาวะ (urine) ไหลผ่านท่อไตไปรวมกันในกระเพาะปัสสาวะ เพื่อรอการขับถ่ายออกนอกร่างกาย

  27. กรอบความรู้ 1. โครงสร้างของไต ไต (kidney) ยาวประมาณ 10 – 13 เซนติเมตร กว้าง 6 เซนติเมตร และหนา 3 เซนติเมตร ไตแต่ละข้างหนักประมาณ 150 กรัม ต่อจากไตทั้งสองข้างมีท่อไต (ureter) ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำปัสสาวะจากไตไปเก็บไว้ที่กระเพาะปัสสาวะ (urinary bladder) ก่อนจะขับถ่ายออกนอกร่างกายทางท่อปัสสาวะ โครงสร้างภายในของไตประกอบด้วยเนื้อไต ซึ่งมี2 ชั้นชั้นนอกเรียกว่า คอร์เทกซ์ชั้นในเรียกว่าเมดัลลา แต่ละข้างประกอบด้วยหน่วยไต (nephron) นับล้านหน่วย ในแต่ละหน่วยไตประกอบด้วย • โบว์แมนส์แคปซูล (Bowman ‘s capsule) มีลักษณะเป็นกระเปาะอยู่ปลายข้างหนึ่งของหน่วยไต ภายในกระเปาะมีโกลเมอรูรัสหรือกลุ่มหลอดเลือดฝอยอยู่ • โกลเมอรูรัส(glomerulus) เป็นกลุ่มหลอดเลือดฝอยอยู่ในโบว์แมนส์แคปซูล ทำหน้าที่กรองของเสียออกจากเลือด อัตราการกรองประมาณ 125 มิลลิลิตร/นาที สารที่กรองได้ประกอบด้วยน้ำตาล โมเลกุลเดี่ยว กรดอะมิโน โซเดียมคลอไรด์ซัลเฟต ฟอสเฟต ยูเรีย และกรดยูริก 1.3 ท่อของหน่วยไต (convoluted tubule) เป็นทางผ่านของสารที่กรองได้ โดยผนังของท่อของหน่วยไตจะดูดสารที่มีประโยชน์กลับคืน เช่น กลูโคส กรดอะมิโน เกลือแร่ วิตามิน กลับเข้าสู่หลอดเลือดฝอยรอบ ๆ ท่อของหน่วยไต ส่วนของเสียผ่านไปเป็นน้ำปัสสาวะ ไปเก็บไว้ที่กระเพาะปัสสาวะ

  28. กรอบความรู้ รูปที่ 2 แสดงโครงสร้างภายในไต ที่มา :http://www.bloggang.com/data/g/goodluckthailand/ picture/1270224806.jpg สืบค้นวันที่ 20 เมษายน 2554 รูปที่ 3 แสดงองค์ประกอบและการทำงานในหน่วยไต ที่มา : http://tc.mengrai.ac.th/rungrat/123/bio/pic4.htm สืบค้นวันที่ 20 เมษายน 2554

  29. กรอบความรู้ 2. กระบวนการขับถ่ายของเสียโดยไต หลอดเลือดที่นำเลือดมายังไตนั้น เป็นหลอดเลือดที่ออกจากหัวใจ (หลอดเลือดอาร์เทอรี) ซึ่งจะลำเลียงสารทั้งที่มีประโยชน์และไม่มีปะโยชน์ที่ร่างกายต้องการกำจัดออกไป สารเหล่านี้จะถูกลำเลียงเข้าสู่หน่วยไต โดยผ่านทางหลอดเลือดฝอย เพื่อให้หน่วยไตทำหน้าที่กรองสารที่มีอยู่ในเลือดของเหลวที่กรองได้ จะมีลักษณะคล้ายเลือด ยกเว้น ไม่มีสารโมเลกุลใหญ่ เช่น เซลล์เม็ดเลือดแดง โปรตีน ไขมัน เป็นต้น สารที่มีประโยชน์เช่นกลูโคส กรดอะมิโน น้ำจะถูกคูดกลับที่ท่อหน่วยไต ทุกส่วน ของเหลวเมื่อไหลมาถึงท่อรวม จะเรียกว่า “น้ำปัสสาวะ” น้ำปัสสาวะจะไหลไปตามท่อไตเก็บที่กระเพาะปัสสาวะ น้ำปัสสาวะประกอบด้วยน้ำ ยูเรียเป็นส่วนใหญ่และมีเกลือแร่เล็กน้อยปริมาณการขับถ่ายในแต่ละวันจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ ปริมาณน้ำที่ร่างกายได้รับชนิดของอาหารและเครื่องดื่ม เช่น แตงโม เหล้า ทำให้การขับถ่ายปัสสาวะมากขึ้น การเสียน้ำของร่างกายทางอื่น ไตเป็นอวัยวะที่ทำงานหนัก วันหนึ่ง ๆ เลือดทั้งหมดที่หมุนเวียนในร่างกายต้องผ่านมายังไต ประมาณว่าในแต่ละนาทีจะมีเลือดมาที่ไต 1,200 ลูกบาศก์เซนติเมตร หรือวันละ 180 ลิตร โดยไตจะขับของเสียในรูปของน้ำปัสสาวะออกมาเรื่อย ๆ แล้วส่งต่อไปยังกระเพาะปัสสาวะซึ่งมีความจุประมาณ 500 ลูกบาศก์เซนติเมตร แต่เมื่อน้ำปัสสาวะไหลลงสู่กระเพาะปัสสาวะประมาณ 250 ลูกบาศก์เซนติเมตร ร่างกายก็จะรู้สึกปวดปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะจะหดตัวขับน้ำปัสสาวะออกมา ในวันหนึ่ง ๆ คนปกติจะถ่ายปัสสาวะออกมาประมาณ 1,000 - 1,500 ลูกบาศก์เซนติเมตร หรือ 1 - 1.5 ลิตร

  30. กรอบความรู้ 3. หน้าที่ของไต .กำจัดของเสียที่เป็นสารละลายของยูเรีย เกลือ และสารอื่น ๆ ออกมาทางน้ำปัสสาวะ .ช่วยรักษาสมดุลของน้ำและเกลือแร่ในร่างกายให้เหมาะสม .รักษาระดับความเข้มข้นของเลือดและสิ่งอื่นในร่างกาย .รักษาระดับแรงดันออสโมติกของเลือด ในน้ำปัสสาวะนอกจากจะมีน้ำ ยูเรีย และของเสียอื่น ๆ ที่ร่างกายไม่ต้องการแล้วบางครั้งเราอาจพบสารบางชนิดเช่น น้ำตาลกลูโคส โปรตีนบางชนิด เม็ดเลือดแดง เป็นต้น ปะปนมากับน้ำปัสสาวะด้วย ซึ่งสารเหล่านี้เกิดจากไตทำงานผิดปกติ ทำให้การกรองสารต่าง ๆ ผิดปกติได้ ดังนั้นการตรวจสอบน้ำปัสสาวะจึงเป็นการตรวจสอบเบื้องต้นเกี่ยวกับการทำงานของไต นอกจากนี้การตรวจสอบน้ำปัสสาวะยังมีความสำคัญต่อการวินิจฉัยโรคของแพทย์ได้อีกด้วย เช่น โรคเบาหวาน เนื่องจากโรคนี้เกิดจากความผิดปกติของตับอ่อนที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติได้ ไตจึงไม่สามารถดูดน้ำตาลกลับคืนสู่เลือดได้หมดทำให้น้ำปัสสาวะของคนที่เป็นโรคเบาหวานมีน้ำตาลปนอยู่ด้วย เป็นต้น

  31. กรอบความรู้ การกำจัดของเสียทางผิวหนัง ส่วนหนึ่งของของเสียที่เป็นของเหลว นอกจากร่างกายจะกำจัดออกมาทางไตในรูปของน้ำปัสสาวะแล้ว ร่างกายยังมีการกำจัดออกทางผิวหนังในรูปของเหงื่ออีกด้วย ของเสียที่กำจัดออกมาในรูปของเหงื่อ มีอวัยวะที่เกี่ยวข้อง คือ 1. ผิวหนัง (skin) ทำหน้าที่กำจัดของเสียในรูปของเหงื่อ ซึ่งถูกขับออกตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ใต้รักแร้ และแผ่นหลัง เป็นต้น แต่ละวันร่างกายจะสูญเสียน้ำในรูปของเหงื่อประมาณ 500-1,000cm3 และยิ่งในวันที่อากาศร้อนหรือออกกำลังกายอาจมีเหงื่อออกได้มากถึง 2,000 cm3 ถ้านักเรียนลองชิมเหงื่อจะรู้สึกเค็ม เพราะเหงื่อประกอบด้วยน้ำ 99% และสารอื่นๆ อีก 1% ได้แก่ โซเดียมคลอไรด์ และสารอินทรีย์ ซึ่งมียูเรีย เป็นส่วนใหญ่ นอกนั้นเป็นแอมโมเนีย กรดอะมิโน กรดแลกติก และน้ำตาล นอกจากนี้ผิวหนังยังทำหน้าที่สำคัญอีกหลายอย่าง เช่น ระบายความร้อนให้แก่ร่างกายเพื่อขับเหงื่อออกสู่ภายนอกโดยปกติความร้อนที่เสียไปทางผิวหนังจะมีปริมาณ 87.4 % ช่วยควบคุมความชุ่มชื้นภายในเซลล์ของร่างกาย ช่วยปรับระดับอุณหภูมิภายในร่างกายของสัตว์เลือดอุ่นให้คงที่ ป้องกันสารแปลกปลอมและเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายป้องกันอันตรายจากรังสีอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ เป็นต้น

  32. กรอบความรู้ ผิวหนังของคนเป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ชั้นนอกสุด ที่ห่อหุ้มร่างกายเอาไว้ผิวหนังของผู้ใหญ่คนหนึ่ง มีเนื้อที่ประมาณ 3,000 ตารางนิ้วผิวหนังตามส่วนต่างๆของร่างกาย จะหนาประมาณ 1-4 มิลลิเมตร แตกต่างกันไปตามอวัยวะและบริเวณที่ถูกเสียดสี เช่น ผิวหนังที่ศอก และ เข่าจะหนากว่าผิวหนังที่แขนและขาโครงสร้างของผิวหนังผิวหนังของคนเราแบ่งออกได้เป็น 2 ชั้น คือ หนังกำพร้าและหนังแท้ 1.1 หนังกำพร้า (Epidermis)เป็นผิวหนังที่อยู่ ชั้นบนสุด มีลักษณะบางมาก ประกอบไปด้วยเชลล์เรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ โดยเริ่มต้นจากเซลล์ชั้นในสุด ติดกับหนังแท้ซึ่งจะแบ่งตัวเติบโตขึ้นแล้วค่อยๆ เลื่อนมาทดแทนเซลล์ที่อยู่ชั้นบนจนถึงชั้นบนสุดแล้วก็ กลายเป็นขี้ไคลหลุดออกไปนอกจากนี้ในชั้นหนังกำพร้ายังมีเซลล์เรียกว่า เมลานิน ปะปนอยู่ด้วย เมลานิน มีมากหรือน้อยขึ้น อยู่กับบุคคลและเชื้อชาติจึงทำให้สีผิวของคนแตกต่าง กันไป ในชั้นของหนังกำพร้าไม่มีหลอดเลือด เส้น ประสาทและต่อมต่างๆ นอกจากเป็นทางผ่านของรูเหงื่อ เส้นขนและไขมันเท่านั้น1.2 หนังแท้ (Dermis)เป็นผิวหนังที่อยู่ชั้นล่างถัดจากหนังกำพร้า และหนากว่าหนังกำพร้ามาก ผิวหนังชั้นนี้ประกอบไปด้วยเนี้อเยื่อคอลลาเจน (Collagen) และอีลาสติน (Elastin) หลอดเลือดฝอย เส้นประสาท กล้ามเนื้อเกาะเส้นขน ต่อมไขมัน ต่อมเหงื่อ และรูขุมขนกระจายอยู่ทั่วไป • รูปที่ 7 แสดงภาพผิวหนังมนุษย์

  33. กรอบความรู้ 2. ต่อมเหงื่อโครงสร้างภายในต่อมเหงื่อจะมีท่อขดอยู่เป็นกลุ่ม และมีหลอดเลือดฝอยมาหล่อเลี้ยงโดยรอบ หลอดเลือดฝอยเหล่านี้จะลำเลียงของเสียมายังต่อมเหงื่อ เมื่อของเสียมาถึงบริเวณต่อมเหงื่อก็จะแพร่ออกจากหลอดเลือดฝอยเข้าสู่ท่อในต่อมเหงื่อ จากนั้นของเสียซึ่งก็คือ เหงื่อจะถูกลำเลียงไปตามท่อจนถึงผิวหนัง ชั้นบนสุด ซึ่งมีปากท่อเปิดอยู่ หรือที่เรียกว่า รูเหงื่อ ต่อมเหงื่อของคนเราแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ 2.1 ต่อมเหงื่อขนาดเล็กมีอยู่ที่ผิวหนังทั่วทุกแห่งของร่างกาย ยกเว้นที่ ริมฝีปากและที่อวัยวะสืบพันธุ์บางส่วน ต่อมเหงื่อเหล่านี้ติดอยู่กับท่อขับถ่ายซึ่งเปิดออกที่ผิวหนังชั้นนอกสุดต่อมเหงื่อขนาดเล็กนี้สร้างเหงื่อแล้วขับถ่ายออกมาตลอดเวลา เนื่องจากมีการระเหยไปตลอดเวลาเช่นกัน ดังนั้นจึงมักสังเกตไม่ค่อยได้ แต่เมื่ออุณหภูมิภายนอกของร่างกายสูงขึ้นและขณะออกกำลังกาย ปริมาณเหงื่อที่ขับถ่ายออกมาจะเพิ่มขึ้นจนสังเกตเห็นได้ ที่อุณหภูมิ 32 องศาเซลเซียส จะมีการขับเหงื่อออกมาเห็นได้ชัดเจน เหงื่อจากต่อมเหงื่อขนาดเล็กเหล่านี้ประกอบด้วยน้ำร้อยละ 99 สารอื่น ๆ ร้อยละ 1 ซึ่งได้แก่ เกลือโซเดียมคลอไรด์และสารอินทรีย์พวกยูเรีย นอกนั้นเป็นสารอื่นอีกเล็กน้อย เช่น แอมโมเนีย กรดอะมิโน น้ำตาล กรดแลกติก เป็นต้น 2.2 ต่อมเหงื่อขนาดใหญ่ไม่ได้มีอยู่ทั่วร่างกาย พบได้เฉพาะบางที่ ได้แก่ ที่รักแร้ รอบหัวนม รอบสะดือ ช่องหูส่วนนอก จมูก ที่อวัยวะสืบพันธุ์บางส่วน ต่อมเหล่านี้มีท่อขับถ่ายใหญ่กว่าชนิดแรก และจะเปิดที่รูขนใต้ผิวหนัง ปกติจะไม่เปิดโดยตรงที่ผิวหนังชั้นนอกสุด ต่อมชนิดนี้จะทำงานตอบสนองต่อการกระตุ้นของจิตใจ สารที่ขับถ่ายจากต่อมชนิดนี้มักมีกลิ่นด้วยซึ่งก็คือกลิ่นตัวนั่นเอง

  34. กรอบความรู้ การกำจัดของเสียทางปอด มนุษย์สามารถมีชีวิตอยู่ได้นานเป็นสัปดาห์แม้จะไม่ได้รับอาหารเลยและจะอยู่ได้หลายวันในสภาวะขาดน้ำแต่เมื่อใดที่ขาดอากาศจะตายในเวลาไม่กี่นาทีออกซิเจนเป็นแก๊สที่พบทั่วไปในบรรยากาศและจำเป็นต่อเมตาบอลิซึมของเซลล์ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญในการเปลี่ยนอาหารให้เป็นพลังงานการหายใจนำแก๊สออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายและปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นของเสียจากกระบวนการ เมตาบอลิซึมออกไปพร้อมกับไอน้ำการแลกเปลี่ยนแก๊สนี้เกิดขึ้นที่ถุงลมขนาดเล็กจำนวนมากมายที่อยู่เกือบเต็มปอดออกซิเจนที่เข้ามาในถุงลมจะเข้าสู่หลอดเลือดฝอยที่อยู่รอบๆแล้วถูกนำไปในกระแสเลือดส่งไปให้เซลล์ต่างๆทั่วร่างกายในทำนองเดียวกันคาร์บอนไดออกไซด์จากเซลล์ก็จะถูกส่งจากหลอดเลือดฝอยไปยังถุงลมและปล่อยออกไปจากปอด ของเสียที่ถูกกำจัดออกจากร่างกายทางปอดได้แก่น้ำและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นผลที่เกิดขึ้นจากกระบวนการหายใจของเซลล์ต่างๆในร่างกาย รูปที่ 8 แสดงการแลกเปลี่ยนแก๊ส ที่ถุงลม

  35. กรอบความรู้ แสดงปริมาณแก๊สต่างๆ และไอน้ำในลมหายใจเข้าและลมหายใจออก แก๊ส ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ออกซิเจน 21% 17%คาร์บอนไดออกไซด์ 0.04% 4% ไนโตรเจน 79% 79% ไอน้ำ ไม่คงที่ อิ่มตัว แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และไอน้ำเป็นของเสียที่เกิดจากการสลายสารอาหารเพื่อสร้างเป็นพลังงานของเซลล์ ที่เรียกว่า กระบวนการหายใจ

  36. กรอบความรู้ การกำจัดของเสียทางลำไส้ใหญ่ หลังจากกินอาหารประมาณ 8 - 9 ชั่วโมง อาหารส่วนที่เหลือจากการย่อยและส่วนที่ย่อยไม่ได้ ซึ่งรวมกันเรียกว่า กากอาหาร จะเคลื่อนเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ซึ่งมีความยาวประมาณ 1.50 เมตร ลำไส้ใหญ่จะทำหน้าที่สะสมกากอาหารดังกล่าวและดูดซึมสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ได้แก่ น้ำ แร่ธาตุ วิตามิน และกลูโคส ออกจากกากอาหาร ทำให้กากอาหารมีลักษณะเหนียวและข้นขึ้นจนเป็นก้อนแข็ง จากนั้นลำไส้ใหญ่จะบีบตัวเพื่อให้กากอาหารเคลื่อนที่ไปรวมกันที่ลำไส้ตรง และขับออกมาสู่ภายนอกร่างกายทาง ทวารหนัก กากอาหารที่ถูกำจัดออกมาภายนอกนี้เรียกว่า อุจจาระ กระบวนการทั้งหมดนี้จะกินเวลาประมาณ 22 – 23 ชั่วโมง รูปที่ 9 แสดงตำแหน่งและลักษณะภายในของลำไส้ใหญ่ ที่มา :http://www.thaigoodview.com/library/sema/sukhothai/ somsak_b/organ/images/bodymam.jpg สืบค้นวันที่ 21 เมษายน 2554 รูปที่ 9 แสดงตำแหน่งและลักษณะภายในของลำไส้ใหญ่

  37. กรอบความรู้ การกำจัดของเสียทางลำไส้ใหญ่ หลังจากกินอาหารประมาณ 8 - 9 ชั่วโมง อาหารส่วนที่เหลือจากการย่อยและส่วนที่ย่อยไม่ได้ ซึ่งรวมกันเรียกว่า กากอาหาร จะเคลื่อนเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ซึ่งมีความยาวประมาณ 1.50 เมตร ลำไส้ใหญ่จะทำหน้าที่สะสมกากอาหารดังกล่าวและดูดซึมสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ได้แก่ น้ำ แร่ธาตุ วิตามิน และกลูโคส ออกจากกากอาหาร ทำให้กากอาหารมีลักษณะเหนียวและข้นขึ้นจนเป็นก้อนแข็ง จากนั้นลำไส้ใหญ่จะบีบตัวเพื่อให้กากอาหารเคลื่อนที่ไปรวมกันที่ลำไส้ตรง และขับออกมาสู่ภายนอกร่างกายทาง ทวารหนัก กากอาหารที่ถูกำจัดออกมาภายนอกนี้เรียกว่า อุจจาระ กระบวนการทั้งหมดนี้จะกินเวลาประมาณ 22 – 23 ชั่วโมง รูปที่ 9 แสดงตำแหน่งและลักษณะภายในของลำไส้ใหญ่ ที่มา :http://www.thaigoodview.com/library/sema/sukhothai/ somsak_b/organ/images/bodymam.jpg สืบค้นวันที่ 21 เมษายน 2554

  38. กรอบความรู้ การถ่ายอุจจาระเป็นปกติของแต่ละคนอาจจะแตกต่างกันไป เช่น บางคนถ่ายทุกวันหรือสองวันครั้ง แต่บางคนถ่ายวันละสองครั้ง อย่างไรก็ตามในบางครั้ง การถ่ายอุจจาระอาจผิดปกติได้ เนื่องจากมีอุจจาระตกค้างอยู่ในลำไส้ใหญ่เป็นเวลานานหลายวัน ซึ่งขณะที่อุจจาระตกค้างอยู่นี้ น้ำหรือของเหลวอื่นในอุจจาระ จะถูกผนังลำไส้ใหญ่ดูดซึมกลับเข้าไปสู่หลอดเลือดทำให้อุจจาระมีลักษณะแข็ง เกิดความยากลำบากในการถ่าย อาการนี้เรียกว่า ท้องผูก ผู้ที่ท้องผูกจะมีอาการหลายอย่าง เช่น รู้สึกแน่นท้อง อึดอัด บางรายอาจมีอาการปวดท้องหรือปวดหลังด้วย แต่อาการเหล่านี้จะหายไปเมื่อถ่ายอุจจาระออกมา ผู้ที่ท้องผูกเป็นเวลาหลายวัน เมื่อถ่ายอุจจาระจะต้องใช้แรงเบ่งมาก จึงทำให้เป็นโรคริดสีดวงทวารได้ อาการท้องผูกเกิดจากหลายสาเหตุ ได้แก่ กินอาหารที่มีกากหรือใยอาหารน้อยเกินไปถ่ายอุจจาระไม่เป็นเวลา เกิดอารมณ์เครียดและวิตกกังวล สูบบุหรี่จัด ดื่มน้ำชากาแฟมากไป ตลอดจนกินอาหารรสจัด การป้องกันการเกิดอาการท้องผูก ได้แก่ 1. กินอาหารที่มีกากหรือใยอาหารสูง 2 .ถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลา 3. ทำจิตใจให้แจ่มใสเบิกบาน 4. งดสูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำชากาแฟ 5. หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด 6. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

  39. ข้อควรรู้ ใยอาหารเป็นสารจากพืช ผัก ผลไม้ ธัญพืช และเมล็ดพันธุ์ต่างๆ ซึ่งเมื่อกินเข้าไปแล้วเอนไซม์ในกระเพราะอาหารและลำไส้เล็กไม่สามารถ ย่อยได้ ใยอาหารเป็นสารพวกเซลลูโลสเฮมิเซลลูโลส เพคติน และลิกนิน ซึ่งสารทั้งสี่สิ่งนี้เป็นโครงสร้างของผนังเซลล์ ใยอาหารสามารถอุ้มน้ำได้ดี จึงช่วยให้ลำไส้ใหญ่บีบตัวโดยดูดน้ำจากลำไส้ใหญ่เข้าไว้ในตัว ทำให้น้ำหนักของกากอาหารมีมาก นอกจากนี้แบคทีเรียในลำไส้ใหญ่จะย่อยอาหารได้ กรดไขมัน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซมีเทน กรดไขมันจะกระตุ้นให้ลำไส้ใหญ่บีบตัวมากขึ้น มีผลในระยะเวลาที่อาหารผ่านจากปากถึงทวารหนักสั้นลง ส่งผลทำให้การขับถ่ายเร็วขึ้น ผู้กินใยอาหารอยู่เสมอทำให้น้ำหนักอุจจาระและจำนวนครั้งในการถ่ายอุจจาระมากกว่าผู้กินใยอาหารน้อย นอกจากนี้การที่ใยอาหารช่วยให้อาหารผ่านจากปากถึงทวารหนักได้เร็วทำให้สารพิษต่าง ๆ ซึ่งรวมทั้งสารที่ทำให้เป็นมะเร็งสัมผัสกับลำไส้ใหญ่เป็นเวลาสั้น โอกาสที่สารพิษจะทำลายเยื่อบุผนังลำไส้ใหญ่ไปได้น้อย ดังนั้นการกิน ใยอาหารจึงอาจป้องกันการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้

More Related