240 likes | 702 Views
การปฏิวัติอุตสาหกรรม. ดร.เมธี ธรรมวัฒนา. อุตสาหกรรม คืออะไร. อุตสาหกรรม คือ กระบวนการแปรรูป หรือ การผลิตสิ่งของจากวัตถุดิบให้เป็นวัสดุใหม่ เพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้ตามวัตถุประสงค์ โดยการใช้เครื่องจักรหรือแรงคน เพื่อให้ผลิตได้ครั้งละมาก ๆ จนสามารถนำไปขายเป็นสินค้าได้. การปฏิวัติ คืออะไร.
E N D
การปฏิวัติอุตสาหกรรม ดร.เมธี ธรรมวัฒนา
อุตสาหกรรม คืออะไร อุตสาหกรรม คือ กระบวนการแปรรูป หรือ การผลิตสิ่งของจากวัตถุดิบให้เป็นวัสดุใหม่ เพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้ตามวัตถุประสงค์ โดยการใช้เครื่องจักรหรือแรงคน เพื่อให้ผลิตได้ครั้งละมาก ๆ จนสามารถนำไปขายเป็นสินค้าได้
การปฏิวัติ คืออะไร ปฏิวัติ (revolution)หมายถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จากระบบเดิม ยกเลิกระบบเดิม ใช้ระบบใหม่ หรือ การรื้อโครงสร้างเดิมเป็นส่วนใหญ่ หรือจะใช้เป็นคำที่อธิบายว่ามีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอย่างมาก เช่น ปฏิวัติตนเอง คือปรับปรุงตัวเองใหม่ จากหน้ามือเป็นหลังมือเป็นต้น ในระบบการเมือง การปฏิวัติคือการยึดอำนาจจากผู้ปกครองเดิม แล้วทำการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง เช่น การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ซึ่งต่างจากรัฐประหาร ที่เป็นการยึดอำนาจปกครอง แต่ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง เช่น รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549
สรุปการปฏิวัติอุตสาหกรรม คืออะไร อุตสาหกรรม อุตสาหกรรม คือ กระบวนการแปรรูป หรือ การผลิตสิ่งของจากวัตถุดิบให้เป็นวัสดุใหม่ เพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้ตามวัตถุประสงค์ โดยการใช้เครื่องจักรหรือแรงคน เพื่อให้ผลิตได้ครั้งละมาก ๆ จนสามารถนำไปขายเป็นสินค้าได้
การปฏิวัติอุตสาหกรรม เป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างยิ่งใหญ่ในบริเตนใหญ่ (เกาะอังกฤษ) ทั้งด้านเศรษฐกิจสังคม และเทคโนโลยี เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ19 โดยมีจุดเริ่มจากเทคโนโลยีเครื่องจักรไอน้ำ (ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงหลัก) ทำงานอัตโนมัติ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและเศรษฐกิจถูกผลักดันด้วยการสร้างเรือกำปั่น และทางรถไฟ ที่อาศัยเครื่องจักรไอน้ำ ความเจริญก้าวหน้าแผ่ขยายไปสู่ยุโรปตะวันตกและทวีปอเมริกาเหนือ และส่งผลกระทบทั่วโลกในที่สุด
ถ่านหิน เครื่องจักรไอน้ำ การปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นวลีที่นักประวัติศาสตร์ใช้เรียกเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่ขยายตัวเร็วมากในยุโรป สืบเนื่องมาจากการค้นพบแหล่งพลังงานจากถ่านหินราคาถูกกับนวัตกรรมทางเครื่องกลที่เข้ามาทดแทนแรงงานคนและสัตว์
การปฏิวัติระยะที่ 1 (ค.ศ.1760-1860)ยุคของ เครื่องจักรไอน้ำ โดยเริ่มนำมาใช้กับอุตสาหกรรมการปั่นด้าย การทอผ้าฝ้ายผ้าขนสัตว์ และอุตสาหกรรมเหล็กกล้า ที่ผลักดันให้เกิดการขยายตัวของแรงงานอย่างมหาศาล ประสิทธิภาพการผลิตและผลผลิตที่มากมาย และการก้าวกระโดดทางเทคโนโลยีอย่างมหาศาล
รวมทั้งระบบโรงงาน ขั้นตอนการผลิตและการจัดการแบบใหม่ ปรากฏการณ์ดังกล่าวทำให้เมืองต่างๆ ในอังกฤษกลายเป็นเมืองอุตสาหกรรมที่แออัด โดยอังกฤษซึ่งเป็นเจ้าอาณานิคมที่มีเมืองขึ้นรองรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอยู่ทั่วโลกแล้วจึงได้ขยายไปทั่วยุโรป และทวีปอเมริกาเหนือ ผู้ใช้วลี “การปฏิวัติอุตสาหกรรม” เป็นคนแรกคือทูตฝรั่งเศสประจำกรุงเบอร์ลินชื่อหลุยส์ Guillaume เมื่อปี ค.ศ.1799
การปฏิวัติอุตสาหกรรมเริ่มจากการประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำขึ้นมาใช้ในการปั่นและทอผ้าฝ้ายและทอผ้าขนสัตว์เกือบทั้งหมดมักตั้งอยู่ในเมือง ทำให้ชุมชนเมืองเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งจากการอพยพของแรงงานจากชนบทและจากการแต่งงานเร็วขึ้นของคนทำงานที่มีรายได้ประจำเพิ่ม นอกจากอุตสาหกรรมสิ่งทอแล้ว อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าก็เกิดขึ้น ซึ่งแม้จะขยายตัวช้ากว่า แต่ก็ได้กลายเป็นตัวการสำคัญในการขับเศรษฐกิจแห่งการปฏิวัติ
การปฏิวัติอุต ฯ ยุคที่ 2 ค.ศ.1861-1914 มีการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการผลิตภาคอุตสาหกรรมอย่างแท้จริงเป็นยุคที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงจากก๊าซธรรมชาติน้ำมันปิโตรเลียมและไฟฟ้าส่วนถ่านหินและเครื่องจักรไอน้ำ ลดความสำคัญลง ช่วงที่ 2 นี้มีผู้ให้นิยามว่าเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมยุคเหล็กกล้า (Age of Steel )
การค้นพบวิธีการผลิตเหล็กกล้าในปีค.ศ.1856 และการใช้พลังงานใหม่ๆแทนที่ถ่านหินได้แก่พลังงานจากก๊าซน้ำมันปิโตรเลียมและไฟฟ้า • การขยายตัวของการปฏิวัติอุตสาหกรรมในทวีปยุโรป โดยเฉพาะเยอรมัน • การเกิดประเทศผู้นำด้านอุตสาหกรรมของโลกก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1(ค.ศ.1914-1918) อังกฤษยังคงมีฐานะเป็นประเทศผู้นำทางด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมชั้นนำของโลกโดยเยอรมนีเป็นประเทศที่มีระดับการพัฒนาใกล้เคียงมากที่สุด • การเกิดระบบการบริหารและการจัดการทางอุตสาหกรรมการปฏิวัติอุตสาหกรรมทำให้เกิดการบริหารงานในระบบโรงงานที่มีประสิทธิภาพเช่นมีการแบ่งงานกันทำเป็นฝ่าย ความก้าวหน้าและการขยายตัวของการปฏิวัติอุตสาหกรรม
การเพิ่มของจำนวนประชากรโดยเฉพาะประเทศอังกฤษและเยอรมนีมีอัตราการเพิ่มของประชากรสูงขึ้นอย่างรวดเร็วการเพิ่มของจำนวนประชากรโดยเฉพาะประเทศอังกฤษและเยอรมนีมีอัตราการเพิ่มของประชากรสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว • การขยายตัวของสังคมเมืองเกิดเมืองใหม่ๆเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากการอพยพของผู้คนในชนบทเข้ามาทำงานในเมืองทำให้เกิดปัญหาสังคมตามมา • การแสวงหาอาณานิคมและลัทธิจักรวรรดินิยมประเทศยุโรปที่มีการปฏิวัติการผลิตด้านอุตสาหกรรมมีความจำเป็นต้องแสวงหาแหล่งวัตถุดิบป้อนโรงงานอุตสาหกรรม • ความเจริญก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมในคริสต์ศตวรรษที่ 20 การปฏิวัติอุตสาหกรรมทำให้โลกมีการพัฒนาการผลิตภาคอุตสาหกรรมก้าวหน้าต่อไปไม่หยุดยั้ง สรุปผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรม
James Watt เจมส์ วัตต์เป็นนักประดิษฐ์ชาวอังกฤษที่รู้จักกันดีในนาม ของผู้ประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำที่มีประสิทธิภาพและส่งผลให้ วงการอุตสาหกรรมในขณะนั้นมีความเจริญก้าวหน้าวัตต์เกิดเมื่อวันที่ 19 มกราคม ค.ศ. 1736 ที่เมืองกรีนน็อค ประเทศอังกฤษ ฐานะทางครอบครัวของวัตต์ค่อนข้างยากจน วัตต์ไม่ได้รับการศึกษามากนัก แต่เขาก็มีความสนใจในเรื่องของการประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ และเครื่องยนต์กลไกมาตั้งแต่เด็ก รวมถึงความรู้เกี่ยวกับเรื่องช่างไม้วันหนึ่งเครื่อง จักรไอน้ำนิวโคแมน ของมหาวิทยาลัยเกิดเสีย วัตต์สามารถซ่อมจนใช้งาน ได้ดีอีกทั้งยังปรับปรุงให้เครื่องจักรไอน้ำนิวโคแมนมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย
สิ่งประดิษฐ์ของเจมส์ วัตต์ ยังมีเครื่องจักรตีเหล็ก และเครื่องปั่นด้าย อีกด้วย
หลักการของเครื่องจักรไอน้ำหลักการของเครื่องจักรไอน้ำ เครื่องจักรไอน้ำ (Steam engine) รถไฟสมัยโบราณได้กำลังจากเครื่องจักรไอน้ำ ในเครื่องจักรไอน้ำ ลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้นลง (หรือเดินหน้าและถอยหลัง)อยู่ในกระบอกสูบเช่นเดียวกับลูกสูบในเครื่องยนต์ของรถยนต์ ไอน้ำร้อนที่มีความดันสูงจะไหลจากหม้อต้มน้ำไปยังกระบอกสูบ แล้วไอน้ำนี้จะขยายตัวดันลูกสูบทำให้ได้กำลังงานออกมา
เครื่องจักรไอน้ำ (Steam Engine)เครื่องจักรไอน้ำเป็นกลไกลูกสูบ-ข้อเหวี่ยง ทำหน้าที่ในการเปลี่ยนรูปพลังงานความร้อนที่อยู่ในไอน้ำให้เป็นพลังงานกลที่เพลาข้อเหวี่ยง ไอน้ำมีความดันสูงจะดันให้ลูกสูบเคลื่อนที่กลับไปกลับมา และกลไก ลูกสูบ-ข้อเหวี่ยงจะทำหน้าที่เปลี่ยนการเคลื่อนที่ตามแนวเส้นตรงของลูกสูบให้เป็นการเคลื่อนที่เชิงมุมของข้อเหวี่ยง เครื่องจักรไอน้ำที่ใช้งานในปัจจุบันมี 2 ชนิดคือ แบบแนวนอน และแบบแนวดิ่ง
ประเภทของเครื่องจักรไอน้ำประเภทของเครื่องจักรไอน้ำ 1. แบบแนวนอนเป็นแบบดั้งเดิมที่ใช้กันอยู่ในประเทศไทย โดยเฉพาะตามโรงสีข้าว พลังงานกลที่ได้จะนำไปใช้งานโดยตรงไม่ค่อยนำไปผลิตไฟฟ้าเพราะกำลังต่ำ เครื่องจักรไอน้ำแบบนี้เลิกผลิตแล้วเพราะมีประสิทธิภาพต่ำและไอเสียที่ออกมาไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เพราะมีน้ำมันหล่อลื่นผสม
ประเภทของเครื่องจักรไอน้ำประเภทของเครื่องจักรไอน้ำ 2. แบบแนวดิ่งเป็นแบบที่ถูกพัฒนามาจากแนวนอน มีประสิทธิภาพสูงกว่า และสามารถนำไอเสียกลับมาใช้ใหม่ได้ แต่มีราคาค่อนข้างสูง เหมาะกับนำมาผลิตพลังงานร่วมหรือผลิตไฟฟ้าอย่างเดียวไม่เกิน 1.5 เมกะวัตต์