1 / 6

Publication Clinic Workshop

Publication Clinic Workshop. สาส์นถึงผู้สนใจเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการเตรียมต้นฉบับบทความวิจัยระดับนานาชาติ โดย. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ หน่วยระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. http://www.psu.ac.th.

Download Presentation

Publication Clinic Workshop

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Publication Clinic Workshop สาส์นถึงผู้สนใจเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการเตรียมต้นฉบับบทความวิจัยระดับนานาชาติ โดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์ วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ หน่วยระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ http://www.psu.ac.th

  2. หน่วยระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วันที่ 20เมษายน พ.ศ. 2553 เรียน ท่านผู้สมัครเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการเตรียมต้นฉบับบทความวิจัยระดับนานาชาติ ท่านผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาและคณะ ได้ให้เกียรติมอบหมายให้ผมเป็นวิทยากรหลักในการประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าว เนื่องจากเป็นนักวิจัยอาวุโส และมีผลงานตีพิมพ์สาขาสังคมศาสตร์ในวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูล Scopusที่มีจำนวนสูงสุดในมหาวิทยาลัย ของเรา ผมตอบรับด้วยสำนึกว่าเป็น “น่าที่” ซึ่งควรจะทำ โดยยอมรับข้อจำกัดของตนเองที่มีประสบการณ์ด้านการสาธารณสุข และงานตี พิมพ์ด้วยการวิเคราะห์เชิงปริมาณเป็นส่วนใหญ่ ผมได้ตกลงในหลักการกับท่าน และขอส่งสารมายังผู้สมัครเข้าร่วมประชุมดังนี้ 1.การประชุมเชิงปฏิบัติการชุดนี้ เป็นปฏิบัติการจริง ๆ และตั้งเป้าไว้ชัดเจนว่าจะนำพาพวกเราไปตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติที่อยู่ใน ฐานข้อมูล Web of Scienceของ ISIหรือฐานข้อมูล Scopusเท่านั้น เราจะไม่รับท่านที่ต้องการตีพิมพ์ในวารสารประจำสถาบัน หรือวารสารระดับชาติที่ไม่อยู่ในฐานข้อมูลทั้งสอง เนื่องจากมหาวิทยาลัยของเราถูกประเมินความเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติด้วยฐานข้อมูล ดังกล่าว 2. การวัดผลสำเร็จในเบื้องต้น คือ ในวันสุดท้ายของการประชุมเชิงปฏิบัติการระยะที่สาม เราได้ช่วยให้ท่านส่งบทความของท่านไปยัง วารสารที่ท่านเลือกจากฐานข้อมูลเหล่านั้นทางอินเตอร์เน็ต เหตุการณ์และกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นในภายหลัง เช่น บรรณาธิการของวารสารนั้น ๆ อาจจะรับบทความไว้พิจารณาและท่านจะต้องแก้ไขในภายหลัง หรือ อาจจะปฏิเสธบทความของท่านซึ่งท่านจะต้องหาทางส่งไปวารสารอื่น ๆ เป็นเรื่องที่ท่านกับวิทยากรอาจจะดำเนินการต่อไปได้ แต่ไม่ได้อยู่ในขอบข่ายของการประเมินความสำเร็จของการประชุมปฏิบัติการครั้งนี้

  3. 3.ผมขอให้รายละเอียดขั้นตอนการประชุมดังนี้: การประชุมเชิงปฏิบัติการมีสามระยะ เราต้องการรับอาจารย์และนักวิจัยที่เข้าร่วมได้ทั้งสามระยะเท่านั้น นอกจากนี้ทุกคนต้องทำการบ้านล่วงหน้ามาส่งในกาประชุมทุกครั้ง • a. ก่อนประชุมครั้งแรก ท่านต้องส่งใบสมัครพร้อมกับ • i. บทคัดย่อภาษาอังกฤษหรือภาษาไทย • ii. ชื่อวารสารบทฐานข้อมูล Web of Scienceหรือ Scopusที่ท่านต้องการส่งบทความไปในตอนสุดท้าย • b. เมื่อสิ้นสุดวันสุดท้ายของการประชุมระยะแรก ท่านจะได้ outline ของบทความเป็นภาษาอังกฤษ ประกอบด้วยหัวข้อใหญ่ (headings)หัวข้อย่อย (subheadings)และย่อหน้าซึ่งมีขอบข่ายเนื้อหาชัดเจน ซึ่งประกอบด้วยแนวทางประโยคภายในย่อหน้านั้น และแนวคิดของเอกสาร • c.จบจากการประชุมเชิงปฏิบัติการระยะแรก และก่อนที่ระยะที่สองจะเริ่มต้น ท่านต้องทำการบ้านเขียนประโยคที่จะทำให้ย่อหน้าที่เตรียมไว้ในระหว่างการประชุมเชิงปฏิบัติการสมบูรณ์มากขึ้น หาเอกสารอ้างอิงประกอบการโต้แย้งของประโยคต่าง ๆ ส่งการบ้านให้คณะผู้จัดการประชุม • d. การประชุมระยะที่สอง เป็นการวิจารณ์และขัดเกลาประโยคร่วมกัน เพื่อจะได้เรียนรู้วิธีผูกเนื้อ • ความให้สอดคล้องภายในบทความ ตลอดจนการเขียนคำวิจารณ์ (discussion)ณ จุดต่าง ๆ ภายในบทความเพื่อแสดงความรอบรู้ ลึกซึ้งและความมีวิจารณญาณของท่าน เมื่อสิ้นสุดการประชุมครั้งนี้ ท่านควรจะได้ร่างบทความ draft manuscriptที่มีเนื้อหาใกล้ • เคียงกับบทความในระยะสุดท้าย แต่ยังขาดบางส่วนที่จะต้องกลับไปทำต่อที่บ้านหรือที่สถาบัน • e. ก่อนการประชุมครั้งสุดท้าย ท่านต้องขัดเกลาเนื้อความทั้งบทความให้เรียบร้อย ปรับแต่งรูปประโยคให้อ่านง่ายและน่าอ่านและถูกไวยากรณ์ ตรวจสอบ references และ format ให้ตรงกับความต้องการของวารสาร • f. การประชุมระยะสุดท้ายเป็นการให้เพื่อนในที่ประชุมอ่านและวิจารณ์อีกรอบ แก้ไขให้เรียบเรียบร้อย และส่งบทความนั้นแบบ on-line submissionในวันสุดท้ายของการประชุม

  4. 4. สำหรับท่านที่ไม่เคยส่งบทความไปวารสารนานาชาติ ครั้งนี้จะเป็นโอกาสอันดีที่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง แต่อย่างไรก็ตามการเตรียมผลงานให้พร้อมที่จะส่งต้องใช้ความวิริยะอุสาหะไม่น้อย ขอให้ท่านเตรียมตัวเตรียมใจ และเตรียมผล งานดังกล่าว ก่อนสมัคร 5.ถ้าท่านตัดสินใจสมัคร ขอให้ติดตามและเข้าสู่กระบวนการของเราตลอดไม่ขาดตอน เราไม่รับผู้สังเกตการณ์ที่ไม่ได้มีส่วนร่วม (hand-on)ในการเตรีมบทความ และการเตรียมบทความไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะช่วงเวลาของการประชุม 3ครั้งเท่านั้น งานที่สำคัญหลายส่วนต้องไปทำที่บ้านหรือสถาบันต้นสังกัด ก่อนและในระหว่างเวลาว่างที่ไม่ได้กำลังประชุมเชิงปฏิบัติการ กิจกรรมที่บ้านและที่สถาบันเหล่านี้เป็นการเตรียมต้นฉบับงานวิจัยให้ก้าวหน้าไปขั้นหนึ่งก่อนการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งต่อไป ถ้าท่านเตรียมไม่สำเร็จก็จะไม่มีงานที่นำมาทำในห้องปฏิบัติการในรอบต่อไป 6. บทความที่จะส่งไปยังวารสารนานาชาติต้องเป็นบทความภาษาอังกฤษ ขอแนะนำให้ท่านติดต่อผู้ที่สามารถให้ความช่วยเหลือด้านภาษาอังกฤษเป็นพิเศษ ส่วนวิทยากรจะช่วยให้ความเห็นเรื่องการเลื่อนไหล (flow)ของเนื้อหาวิชาการที่จะช่วยให้บรรณาธิการและ reviewerอ่านบทความของท่านได้สะดวกและมีแนวโน้มที่ยอมรับบทความของท่านมากขึ้น แต่ความถูกต้องทางภาษาต้องอาศัยเจ้าของภาษา หรือผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาเท่านั้น (โดยในส่วนของการสนับสนุนเรื่องการขัดเกลาภาษานั้นทางสำนักวิจัยโดย Publication Clinic จะหาผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้คำปรึกษาและคำแนะนำต่าง ๆ ในช่วงระหว่างระยะที่ 2-3 และในระยะที่ 3 ของการประชุมเชิงปฏิบัติการ) 7. งานวิชาการในปัจจุบันต้องอาศัยอินเตอร์เนตอย่างมาก ก่อนเข้าประชุมปฏิบัติการระยะแรกท่านต้องหาบทความที่ตีพิมพ์ในวารนานาชาติที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกับงานของท่าน (benchmark paper)จำนวนหนึ่ง อ่านให้ละเอียดว่าเขาทำอะไรและเขียนอย่างไร พร้อมทั้งค้นหา referencesที่ผู้เขียนอ้างถึง แล้วจึง download referencesที่เกี่ยวข้องกับงานของท่านและอ่านเพิ่มเติม ทำเป็นวงจรเช่นนี้จนกระทั่งแน่ใจแล้วว่าไม่มีงานประเภท benchmark paperที่ท่านยังไม่ได้อ่าน

  5. 8. จากการอ่านบทความเหล่านั้น ท่านควรจะพิจารณาว่า น่าจะส่งบทความของท่านไปลงวารสารใดได้บ้าง ตรวจสอบว่าวารสารนั้นอยู่ในฐานข้อมูล ISIและ Scopusหรือไม่ ถ้าไม่แน่ใจให้โทรศัพท์ถามบรรณารักษ์ห้องสมุดของเราหรือสอบถามมาที่ สำนักวิจัยและพัฒนา (คุณพิมลพร วงศ์ชนะ-Publication Clinic หมายเลขภายใน 6959) เมื่อแน่ใจแล้วให้เข้าไปสู่ websiteของ วารสารนั้น อ่านคำประกาศแนวทางของวารสารว่าเขาจะพิจารณารับเรื่องประเภทใดบ้าง ถ้าท่านคิดว่าเขาน่าจะรับบทความของท่านไว้พิจารณา ก็ โปรดหาหน้า Instruction to authorเพื่อพิมพ์เนื้อหาทั้งหมดของหน้านั้นออกมาใช้ระหว่างการประชุมเชิงปฏิบัติการของเรา 9. หลังจากอ่านข้อความข้างบนจบแล้ว และแน่ใจว่าจะเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ โปรดส่งอีเมล์มายังคณะผู้จัดประชุม(pimonporn.v@psu.ac.th)เพื่อยืนยันความพร้อมใจที่จะเข้าประชุมอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนความตั้งใจที่จะทำการบ้านมาส่งก่อนการประชุมเชิงปฏิบัติการรอบต่อไป ขอแสดงความนับถือ วีระศักดิ์ จงสูวิวัฒน์วงศ์

  6. Thank you Ms.Pimonporn Vongchana Publication Clinic E – mail: pimonporn.v@psu.ac.th Tel: 6959

More Related