1 / 111

กฎหมายลักษณะครอบครัว

กฎหมายลักษณะครอบครัว. โดย อาจารย์พงศพล มหาวัจน์ หัวหน้าสาขาวิชานิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่. The Law IS ?. Reason is the spirit of law. เนื้อหาในกฎหมายครอบครัว( 1 ). ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 แบ่งศึกษาได้ 4 ส่วนสำคัญได้แก่ การหมั้น การสมรส

alexis-chen
Download Presentation

กฎหมายลักษณะครอบครัว

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กฎหมายลักษณะครอบครัว โดย อาจารย์พงศพล มหาวัจน์ หัวหน้าสาขาวิชานิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่

  2. The Law IS ? Reason is the spirit of law

  3. เนื้อหาในกฎหมายครอบครัว(1)เนื้อหาในกฎหมายครอบครัว(1) • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 • แบ่งศึกษาได้ 4 ส่วนสำคัญได้แก่ • การหมั้น • การสมรส • บิดามารดา และบุตร • ค่าอุปการะเลี้ยงดู

  4. เนื้อหาในกฎหมายครอบครัว(2)เนื้อหาในกฎหมายครอบครัว(2) • การหมั้น • การหมั้น (มาตรา 1435-1447/2)

  5. เนื้อหาในกฎหมายครอบครัว(3)เนื้อหาในกฎหมายครอบครัว(3) • การสมรส • เงื่อนไขแห่งการสมรส (มาตรา 1448-1460) • ความสัมพันธ์ระหว่างสามีและภริยา (มาตรา 1461-1464/1) • ทรัพย์สินระหว่างสามีและภริยา (มาตรา1465-1493)

  6. เนื้อหาในกฎหมายครอบครัว(4)เนื้อหาในกฎหมายครอบครัว(4) • ความเป็นโมฆะของการสมรส (มาตรา 1494-1500) • การสิ้นสุดแห่งการสมรส (มาตรา 1501-1535) =====

  7. เนื้อหาในกฎหมายครอบครัว(5)เนื้อหาในกฎหมายครอบครัว(5) • บิดามารดากับบุตร • บิดา,มารดา (มาตรา 1536-1560) • สิทธิและหน้าที่ของบิดามารดาและบุตร (มาตรา 1561-1584/1) • ความปกครอง (มาตรา 1585-1598/18) • บุตรบุญธรรม (มาตรา 1598/19-1598/41)

  8. กฎหมายครอบครัวในอดีต-1กฎหมายครอบครัวในอดีต-1 • กฎหมายลักษณะผัวเมียในสมัยของกรุงสุโขทัย • สมัยกรุงสุโขทัย กฎหมายลักษณะนี้ได้รับอิทธิพลโดยตรงมาจากขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมของอินเดีย • และได้รับอิทธิพลโดยอ้อมมาจากขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมของชนชาติขอม และมอญ

  9. กฎหมายครอบครัวในอดีต-2กฎหมายครอบครัวในอดีต-2 • ระบุอยู่ในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง ระหว่าง พ.ศ.1828-1835 • ความสัมพันธุ์เน้นหนักไปในทางบิดา มารดา และบุตร ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการสมรส • ไม่มีการแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีและภริยา • ทรัพย์มรดกตกทอดแก่บุตรเพียงผู้เดียว

  10. กฎหมายครอบครัวในอดีต-3กฎหมายครอบครัวในอดีต-3 • แสดงให้เห็นว่าสตรีในยุคสมัยนั้นไม่มีบทบาทในครอบครัว หรือในสังคม • และยังแสดงให้เห็นว่าบิดาหรือบุรุษนั้นเป็นใหญ่ที่สุดในครอบครัว

  11. กฎหมายครอบครัวในอดีต-4กฎหมายครอบครัวในอดีต-4 • กฎหมายลักษณะผัวเมียในสมัยของกรุงศรีอยุธยา • ยังคงเป็นเช่นเดียวกับสมัยของกรุงสุโขทัย • แต่มีการขยายตัวของชุมชนมากขึ้นจึงได้ตรากฎหมายเกี่ยวกับครอบครัวมาใช้บังคับ • นำคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ของอินเดีย ผ่านทางมอญมาเป็นแม่แบบกฎหมายลักษณะครอบครัว

  12. กฎหมายครอบครัวในอดีต-5กฎหมายครอบครัวในอดีต-5 • กฎหมายครอบครัวในสมัยดังกล่าว เช่น • พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการผิดเมีย พ.ศ.1904 • พระราชบัญญัติเพิ่มเติมว่าด้วยการแบ่งปันสินบริคณห์ระหว่างผัวเมีย พ.ศ.1905 • กฎหมายลักษณะมูลคดีวิวาท

  13. กฎหมายครอบครัวในอดีต-6กฎหมายครอบครัวในอดีต-6 • กฎหมายลักษณะลักพา • และกฎหมายลักษณะผัวเมีย • กฎหมายดังกล่าวมีอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์และฮินดูแทรกอยู่ทั่วไป เช่น การที่ยอมให้ชายมีภริยาได้หลายคน เป็นต้น

  14. กฎหมายครอบครัวในอดีต-7กฎหมายครอบครัวในอดีต-7 • กฎหมายลักษณะผัวเมียในสมัยของกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น • ยังคงใช้กฎหมายเก่าของกรุงศรีอยุธยา จนกระทั่ง พ.ศ.2347 • ได้เกิดคดีอำแดงป้อม กับนายบุญศรีขึ้น

  15. กฎหมายครอบครัวในอดีต-8กฎหมายครอบครัวในอดีต-8 • พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ชำระกฎหมายใหม่ให้ถูกต้อง • พร้อมกับจัดเป็นหมวดหมู่และให้อาลักษณ์ชุบเส้นหมึกสามฉบับเก็บไว้ 3 ที่ ได้แก่ หอหลวง,ห้องเครื่อง,ศาลหลวง • และปิดตราพระราชสีห์,พระคชสีห์,บัวแก้ว • เหล่านี้เรียกว่ากฎหมายตราสามดวง

  16. กฎหมายครอบครัวในอดีต-9กฎหมายครอบครัวในอดีต-9 • กฎหมายลักษณะผัวเมียที่น่าสนใจ • กฎหมายอนุญาตให้ชายมีภริยาได้หลายคนในขณะเดียวกัน • หญิงที่อายุยังไม่ครบ 20 ปี ยังอยู่ในอิสระของบิดามารดา จะเลือกคู่ครองด้วยตัวเองโดยไม่ได้รับความยินยอมจากบิดามารดาไม่ได้

  17. กฎหมายครอบครัวในอดีต-10กฎหมายครอบครัวในอดีต-10 • การสมรสทำได้โดยการแสดงออกโดยพิธีแต่งงานตามประเพณี โดยไม่ต้องจดทะเบียน • สามีสละภริยาไปบวช หรือภริยาสละสามีไปบวช ถือว่าขาดจากการสมรส • เมื่อภริยาทำผิดให้สามีมีสิทธิโบยได้ตามสมควรในฐานปราบปราม แต่จะทำร้ายร่างกายเกินสมควรไม่ได้

  18. กฎหมายครอบครัวในอดีต-11กฎหมายครอบครัวในอดีต-11 • เมื่อหย่าขาดจากกันให้แบ่งสินสมรสเป็น 3 ส่วน ชายได้ 2 ส่วน และหญิงได้ 1 ส่วน สำหรับบุตรนั้นถ้าตกลงกันไม่ได้ หากเป็นบุตรชายให้อยู่กับมารดา และบุตรสาวอยู่กับบิดา เว้นแต่ สามีมีศักดินา 400 ไร่ขึ้นไป ให้สามีมีอำนาจเลือกบุตรได้ • บุตร,หลานจะฟ้องบิดามารดา หรือปู่ย่าตายายอันเป็นบรรพบุรุษของตนเอง เป็นจำเลยไม่ได้

  19. กฎหมายครอบครัวในอดีต-12กฎหมายครอบครัวในอดีต-12 • ถ้าภริยาหนีสามีมาอยู่บิดามารดา หรือพี่น้อง หรือบุคคลใด หากสามีถามหาบุคคลนั้นอำพราง ซุกซ่อน หรือเสือกไสไปด้วยประการใดๆ ให้ปรับไหมเป็นข้อละเมิด

  20. กฎหมายครอบครัวในอดีต-13กฎหมายครอบครัวในอดีต-13 • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5เดิม • ใน พ.ศ.2451มีการตรวจชำระกฎหมายและยกร่างประมวลกฎหมายแพ่งฯขึ้น โดยชาวฝรั่งเศส • ได้เทียบเคียงกฎหมายต่างประเทศ เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน สวิส อิตาลี เนเธอร์แลนด์ ญี่ปุ่น อเมริกา • ประกาศใช้ในวันที่ 1ตุลาคม พ.ศ.2478

  21. กฎหมายครอบครัวในอดีต-14กฎหมายครอบครัวในอดีต-14 • ประมลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ใหม่ • ภายหลัง 14 ตุลาคม พ.ศ.2516ได้มีการเรียกร้องประชาธิปไตยเกิดขึ้น • จึงเกิดรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2517 ขึ้น • ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 28บัญญัติให้ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน

  22. กฎหมายครอบครัวในอดีต-15กฎหมายครอบครัวในอดีต-15 • จึงต้องมีการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ใน พ.ศ. 2519 (รวม 41 มาตรา) • เริ่มบังคับใช้ เมื่อวันที่ 16ตุลาคม พ.ศ. 2519 เป็นต้นมา • สิ่งที่ได้รับการแก้ไข เช่น • อำนาจในการทำนิติกรรมของหญิงมีสามี • หัวหน้าคู่ครอง

  23. กฎหมายครอบครัวในอดีต-16กฎหมายครอบครัวในอดีต-16 • อำนาจการปกครองบุตรผู้เยาว์ • ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา ฯลฯ =======

  24. กฎหมายครอบครัวในปัจจุบัน-1กฎหมายครอบครัวในปัจจุบัน-1 • มีการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ใน พ.ศ. 2533โดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฉบับที่ 10พ.ศ. 2533 ใช้บังคับเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2533 • ได้แก้ไขเพิ่มเติมทั้งสิ้น 77 มาตรา • เช่น การหมั้น

  25. กฎหมายครอบครัวในปัจจุบัน-2กฎหมายครอบครัวในปัจจุบัน-2 • การจัดการสินสมรส ต้องจัดการร่วมกัน • การสมรสซ้อน • เพิ่มเติมเหตุฟ้องหย่า • ลดอายุผู้รับบุตรบุญธรรมเหลือเพียง 25ปี ฯลฯ เป็นต้น

  26. กฎหมายครอบครัวในปัจจุบัน-3กฎหมายครอบครัวในปัจจุบัน-3 • ได้มีการแก้ไขกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในปี 2550-2551 โดย • พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 16 และ 19) (ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2551) • แก้ไข เรื่อง ? ดู พรบ. ฉ. 16,19 ประกอบ

  27. กฎหมายครอบครัวในปัจจุบัน-4กฎหมายครอบครัวในปัจจุบัน-4 • วันบังคับใช้กฎหมาย คือ ? • สาเหตุแห่งการแก้ไข คือ ? • กฎหมายลักษณะครอบครัวที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เช่น ?

  28. กฎหมายครอบครัวในปัจจุบัน-5กฎหมายครอบครัวในปัจจุบัน-5 • มีข้อยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายลักษณะครอบครัว คือ • กฎหมายครอบครัวลักษณะดังกล่าวไม่ใช้บังคับใน 4จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ • ยะลา • นราธิวาส • ปัตตานี

  29. กฎหมายครอบครัวในปัจจุบัน-6กฎหมายครอบครัวในปัจจุบัน-6 • สตูล • 4 จังหวัดดังกล่าวใช้กฎหมายอิสลามเกี่ยวกับครอบครัวและมรดก • ======

  30. ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีครอบครัวศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีครอบครัว • คดีครอบครัวโดยทั่วไปต้องพิจารณาโดยศาลเยาวชนและครอบครัว • ทั้งนี้เป็นไปตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534มาตรา 11(3) บัญญัติไว้ดังนี้

  31. ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีครอบครัวศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีครอบครัว • “คดีแพ่งที่ฟ้องหรือร้องขอต่อศาลหรือกระทำการใดๆ ในทางศาลหรือเกี่ยวกับผู้เยาว์ หรือครอบครัว แล้วแต่กรณีซึงต้องบังคับด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์” • รวมถึงคดีที่เกี่ยวด้วยการสมรส สิทธิ และหน้าที่ หรือความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาบิดามารดา และบุตร หรือส่วนได้เสียของผู้เยาว์

  32. ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีครอบครัวศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีครอบครัว • รวมทั้งคดีที่เกี่ยวด้วยสถานะและความสามารถของบุคคลอันเกี่ยวกับครอบครัว • คดีครอบครัวนั้นแตกต่างคดีสิทธิในครอบครัว และมีผลในการอุทธรณ์คดี • ซึ่งปรากฎในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224ว.2 และมาตรา 248ว.2

  33. ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีครอบครัวศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีครอบครัว • นอกเหนือจะพิจารณาเขตอำนาจของศาลจากพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลฯ และวิธีพิจารณาฯ พ.ศ.2534 • ยังต้องพิจารณาจากคำวินิจฉัยของประธานศาลฎีกา อีกด้วย

  34. การหมั้น • หมายถึง การที่ชายและหญิงทำสัญญาว่าจะสมรสอยู่กิน ด้วยกันฉันสามีภริยา • เงื่อนไขการหมั้น • ชายและหญิงที่หมั้นกันต้องมีอายุ 17 ปี บริบูรณ์ ม.1435 • หากเป็นผู้เยาว์ต้องได้รับความยินยอมจากบิดา,มารดา ม.1436

  35. การหมั้น

  36. การหมั้น • ข้อสังเกต • หากฝ่าฝืน ม.1435 มีผล? • หากฝ่าฝืน ม.1436 มีผล?

  37. การหมั้น=ของหมั้น • ถือเป็นแบบของสัญญาหมั้น • ต้องมีของหมั้นมามอบแก่หญิง • ข้อสังเกต • ฝ่าฝืน ผลเป็นอย่างไร? • สัญญาหมั้นทำด้วยวาจา หรือลายลักษณ์อักษร ก็ได้

  38. การหมั้นฎีกาศึกษา กรณี แบบของสัญญาหมั้น • ฎีกา 676/2487=การหมั้นต้องมีสิ่งของนำไปให้ฝ่าย หญิง เป็นประเพณีมาแต่โบราณ หากชายไปสู่ขอหญิงเฉยๆ หาเรียกว่าชายนั้นหมั้นหญิงไม่ ฉะนั้นการตกลงจะทำการสมรสกันโดยไม่มีของหมั้น เมื่อมีการผิดสัญญาขึ้นจึงจะเรียกค่าทดแทนจากกันไม่ได้ • ฎีกา 1217/2496= ชายสู่ขอหญิง ได้ตกลงกันและมีการเหยียบเรือนโดยชายมีหมากพลูกับผ้าขาวไปเป็นของหมั้นตามประเพณีท้องถิ่น เป็นการหมั้นอันสมบูรณ์ตามกฎหมาย ฉะนั้นเมื่อชายผิดสัญญาหมั้นชายก็ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหาย(ค่าทดแทน)

  39. การหมั้นฎีกาศึกษา กรณี แบบของสัญญาหมั้น • ฎีกา525/2509= การหมั้นจะเรียกว่าหมั้นต่อเมื่อฝ่ายชายนำของหมั้นไปมอบให้ฝ่ายหญิงอันเป็นเรื่องที่เข้าใจกันตามธรรมดาประเพณี เมื่อมีการหมั้นแล้วถ้าฝ่ายใดผิดสัญญาหมั้นฝ่ายนั้นต้องรับผิดใช้ค่าทดแทน โดยที่กฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษเช่นนี้ เมื่อฝ่ายชายเพียงแต่ตกลงว่าจะสมรส โดยไม่มีการหมั้นจึงอยู่นอกขอบเขตที่กฎหมายรับรอง หากไม่ปฏิบัติตามที่ตกลงกันไว้จะเรียกค่าทดแทนหาได้ไม่

  40. การหมั้น=ของหมั้น • จึงพอสรุปได้ว่า ของหมั้นเป็นทรัพย์สินที่ฝ่ายชายได้มอบ หรือโอนให้แก่ หญิง เพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น • ของหมั้นนั้นจะเป็นทรัพย์สินใดก็ได้ • ของหมั้นตามกฎหมายมีได้เฉพาะ ฝ่ายชาย ให้แก่ หญิงเท่านั้น หากเป็นกรณีที่ หญิงให้ของหมั้นแก่ ชายคู่หมั้น ทรัพย์สินดังกล่าวไม่เป็นของหมั้น

  41. การหมั้น=ของหมั้น • ทรัพย์สินที่ชายได้ทำการหมั้นนั้น ต้องเป็นกรรมสิทธิ์ของชาย หรือเป็นทรัพย์สินที่เจ้าของยินยอมให้ชายนำมาเป็นของหมั้น • ทรัพย์สินอื่นๆ ที่ชายยกให้แก่หญิงคู่หมั้นในฐานะอื่นไม่ใช่ในฐานะของหมั้น กรรมสิทธิ์ตกไปอยู่กับหญิงคู่หมั้นทันที แม้หญิงผิดสัญญาหมั้นก็เรียกคืนไม่ได้ • การให้ของหมั้นต้องให้ด้วยเจตนาที่จะสมรสกันต่อไปตามกฎหมาย

  42. การหมั้น=ของหมั้น ฎีกาศึกษา กรณี เจตนา • ฎีกาที่ 3557/2524= ข้อเท็จจริงปรากฏชัดว่าชายหญิงเพียงแต่ประกอบการสมรส หาได้มีเจตนาที่จะไปจดทะเบียนสมรสเพื่อให้มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายไม่ การประกอบพิธีสมรสดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการสมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย ด้วยเหตุผลดังกล่าว เงิน แหวนเพชร และทองคำ ที่ฝ่ายชายได้อ้างว่ามอบให้แก่ฝ่ายหญิงจึงหาได้ให้ในฐานะเป็นสินสอด หรือของหมั้นตามความหมายแห่ง ปพพ ม.1437 ไม่ ฝ่ายชายจึงไม่มีสิทธิเรียกคืน

  43. การหมั้น=ของหมั้น • ลักษณะที่สำคัญของ ของหมั้น 4 ประการ • ต้องเป็นทรัพย์สิน • ต้องเป็นของที่ฝ่ายชายให้แก่ หญิง แต่ของหมั้นไม่จำต้องเป็นกรรมสิทธิ์ของชายก็ได้ • ต้องให้ไว้ในเวลาการทำสัญญา และหญิงต้องรับไว้แล้ว • ต้องเป็นการให้ไว้เพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น และต้องให้ไว้ก่อนการสมรส ถ้าให้ไว้ภายหลังการสมรสแล้วทรัพย์สินนั้นไม่ถือว่าเป็นของหมั้น

  44. การหมั้น=คู่สัญญาที่ต้องรับผิดตามสัญญาหมั้นการหมั้น=คู่สัญญาที่ต้องรับผิดตามสัญญาหมั้น • พิจารณาจาก มาตรา 1437,1439 • สามารถจำแนกบุคคลที่เป็นคู่สัญญาหมั้นได้ดังนี้ • ชาย และ หญิงคู่หมั้น • บิดา มารดา ของชาย,หญิงคู่หมั้น • บุคคลผู้กระทำการในฐานะเช่น บิดา,มารดา ของชาย หญิงคู่หมั้น

  45. การหมั้น= สินสอด • คือ ทรัพย์สินที่ฝ่ายชายได้มอบแก่ผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงเป็นค่าตอบแทนที่ได้เลี้ยงดูหญิงมาจนเติบใหญ่จนกระทั่งได้มาสมรสกับชาย • ลักษณะของสินสอดมี 3 ประการ • ต้องเป็นทรัพย์สิน • ต้องเป็นของที่ฝ่ายชายได้มอบให้แก่บิดา,มารดาฯ ของหญิง • เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรสด้วย

  46. การหมั้น= สินสอด • การตกลงจะให้สินสอดนั้นจะต้องตกลงให้กันก่อนการสมรส • แต่ทรัพย์สินที่เป็นสินสอดนั้นจะมอบให้แก่ฝ่ายหญิงก่อน หรือหลัง การสมรสก็ได้ • ไม่จำต้องมอบสินสอดในขณะทำการหมั้นก็ได้ • การให้สินสอดไม่มีแบบ ดังนั้นเพียงตกลงกันด้วยวาจาก็ถือได้ว่าสมบูรณ์แล้ว (ฎ.878/2518)

  47. การหมั้น= สินสอด • สินสอดไม่ใช่สาระสำคัญของการหมั้น หรือการสมรส(ฎ.878/2518) • แม้หญิงบรรลุนิติภาวะแล้วก็อาจจะให้สินสอดกันได้ (ฎ.771/2509) • สินสอดที่ฝ่ายชายได้มอบแก่ฝ่ายหญิง กรรมสิทธิ์ตกไปยังผู้รับตั้งแต่เวลาที่ส่งมอบไปแล้ว

  48. การหมั้น= สินสอด • แต่ฝ่ายชายก็สามารถเรียกสินสอดคืนได้ ดังนี้ • ถ้าไม่มีการสมรสโดยมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิง(ม.1442,1444,1445ฯ) • ถ้าไม่มีการสมรสโดยมีพฤติการณ์ซึ่งฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบ ทำให้ชายนั้นไม่สมควรหรือไม่อาจสมรสกับหญิงได้

  49. การหมั้น=วิธีการคืนของหมั้น หรือสินสอด • พิจารณาจาก มาตรา 1437วรรคท้าย • โดยนำมาตรา 412-418 มาใช้บังคับโดยอนุโลม • ประเด็นที่ต้องพิจารณาคือ ทรัพย์สินที่เป็นของหมั้นหรือสินสอดเป็นทรัพย์สินอะไร ? • หากทรัพย์สินเป็นเงินตรา ฝ่ายหญิงมีหน้าที่ต้องคืนแก่ฝ่ายชายเพียงส่วนที่มีอยู่ขณะเรียกคืนเท่านั้น • หากทรัพย์สินเป็นทรัพย์สินอื่นที่มิใช่เงินตรา ฝ่ายหญิงมีหน้าที่ต้องคืนแก่ฝ่ายชายในสภาพที่เป็นอยู่ขณะเรียกคืน

  50. การหมั้น= การเรียกค่าทดแทน • การเรียกค่าทดแทน ม.1440 • ค่าทดแทนความเสียหายต่อกายหรือชื่อเสียง • ค่าทดแทนความเสียหายในการเตรียมการสมรส • ค่าทดแทนความเสียหายในการจัดการทรัพย์สินหรืออาชีพการงานด้วยการคาดหมายว่าจะมีการสมรส

More Related