1 / 15

พระนครศรีอยุธยา

พระนครศรีอยุธยา. น.ส. นนทวรรณ ศรีชา 56070306 คณะสาธารณสุขศาสตร์.

alesia
Download Presentation

พระนครศรีอยุธยา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. พระนครศรีอยุธยา น.ส.นนทวรรณ ศรีชา 56070306 คณะสาธารณสุขศาสตร์

  2. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยมีผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดมีมูลค่าสูงเป็นอันดับ 3 ของประเทศและมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ยาวนาน เคยมีชื่อเสียงในฐานะเป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นจังหวัดที่ไม่มีอำเภอเมือง มีอำเภอพระนครศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางการบริหารจัดการด้านต่าง ๆ ชาวบ้านโดยทั่วไปนิยมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "กรุงเก่า" หรือ "เมืองกรุงเก่า"

  3. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นอดีตราชธานีของไทยมีหลักฐานของการเป็นเมืองในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 16 - 18 โดยมีร่องรอยของที่ตั้งเมือง โบราณสถาน โบราณวัตถุ และเรื่องราวเหตุการณ์ในลักษณะตำนานพงศาวดาร ไปจนถึงหลักศิลาจารึก ซึ่งถือว่าเป็นหลักฐานร่วมสมัยที่ใกล้เคียงเหตุการณ์มากที่สุด ซึ่งเมืองอโยธยาหรืออโยธยาศรีรามเทพนคร หรือเมืองพระราม มีที่ตั้งอยู่บริเวณด้านตะวันออกของเกาะเมืองอยุธยา มีบ้านเมืองที่มีความเจริญทางการเมือง การปกครอง และมีวัฒนธรรมที่รุ่งเรืองแห่งหนึ่ง มีการใช้กฎหมายในการปกครองบ้านเมือง 3 ฉบับ คือ   พระอัยการลักษณะเบ็ดเสร็จ    พระอัยการลักษณะทาส   พระอัยการลักษณะกู้หนี้ ประวัติ

  4. สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมื่อพ.ศ. 1893 กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางของประเทศสยามสืบต่อยาวนานถึง 417 ปี มีพระมหากษัตริย์ปกครอง 33พระองค์ จาก 5 ราชวงศ์ คือ  ราชวงศ์อู่ทอง   ราชวงศ์สุพรรณภูมิ    ราชวงศ์สุโขทัย    ราชวงศ์ปราสาททองราชวงศ์บ้านพลูหลวง  กรุงศรีอยุธยาสูญเสียเอกราชให้แก่พม่า  2  ครั้ง   ครั้งแรกใน  พ.ศ. 2112 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกู้เอกราชคืนมาได้ใน พ.ศ.2127 และเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 พ.ศ. 2310 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงกอบกู้เอกราชได้ในปลายปีเดียวกัน แล้วทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีแห่งใหม่กวาดต้อนผู้คนจากกรุงศรีอยุธยาไปยังกรุงธนบุรีเพื่อสร้างบ้านเมืองแห่งใหม่ให้มั่นคง แต่กรุงศรีอยุธยาก็ไม่ได้กลายเป็นเมืองร้างยังมีคนที่รักถิ่นฐานบ้านเดิมอาศัยอยู่ และมีราษฎรที่หลบหนีไปอยู่ตามป่ากลับเข้ามาอาศัยอยู่รอบ ๆ เมือง รวมกันเข้าเป็นเมืองจนทางการยกเป็นเมืองจัตวาเรียกว่า  "เมืองกรุงเก่า“

  5. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงยกเมืองกรุงเก่าขึ้นเป็นหัวเมืองจัตวาเช่นเดียวกับสมัยกรุงธนบุรี หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้จัดการปฏิรูปการปกครองทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคโดยการปกครองส่วนภูมิภาคนั้นโปรดให้จัดการปกครองแบบเทศาภิบาลขึ้นโดยให้รวมเมืองที่ใกล้เคียงกัน 3 - 4 เมือง ขึ้นเป็นมณฑล มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครอง โดยในปี พ.ศ. 2438 ทรงโปรดให้จัดตั้งมณฑลกรุงเก่าขึ้น ประกอบด้วยหัวเมืองต่าง ๆคือ กรุงเก่าหรืออยุธยา  อ่างทอง  สระบุรี  ลพบุรี  พรหมบุรี  อินทร์บุรี และสิงห์บุรี ต่อมาโปรดให้รวมเมืองอินทร์ และเมืองพรหมเข้ากับเมืองสิงห์บุรี  ตั้งที่ว่าการมณฑลที่อยุธยา และต่อมาในปี พ.ศ. 2469 เปลี่ยนชื่อจากมณฑลกรุงเก่าเป็นมณฑลอยุธยา ซึ่งจากการจัดตั้งมณฑลอยุธยามีผลให้อยุธยามีความสำคัญทางการบริหาร การปกครองมากขึ้นการสร้างสิ่งสาธารณูปโภคหลายอย่างมีผลต่อการพัฒนาเมืองอยุธยาในเวลาต่อมา จนเมื่อยกเลิกการปกครองระบบเทศาภิบาล ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 อยุธยาจึงเปลี่ยนฐานะเป็นจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

  6. ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีได้มีนโยบายบูรณะโบราณสถานภายในเมืองอยุธยาเพื่อเป็นการฉลองยี่สิบห้าพุทธศตวรรษประจวบกับในปี พ.ศ.2498นายกรัฐมนตรีประเทศพม่าเดินทางมาเยือนประเทศไทยและมอบเงินจำนวน200,000 บาท เพื่อปฏิสังขรณ์วัดและองค์พระมงคลบพิตร เป็นการเริ่มต้นการบูรณะโบราณสถานในอยุธยาอย่างจริงจัง ซึ่งต่อมากรมศิลปากรเป็นหน่วยงานสำคัญในการดำเนินการ จนองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโก มีมติให้ขึ้นทะเบียนนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาเป็น " มรดกโลก " เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2534มีพื้นที่ครอบคลุมในบริเวณโบราณสถานเมืองอยุธยา

  7. อาณาจักรกรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานีมาตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 1893 จนถึงวันที่ 7เมษายน 2310 เป็นเวลายาวนานถึง 417 ปี มีประวัติในการปกครอง การกอบกู้เอกราช วีรกรรมและด้านขนบธรรมเนียมประเพณีมากมาย เป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธ์ธัญญาหารดังคำกล่าวว่า " ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว " ทั่วทั้งจังหวัดพระนครศรีอยุธยายังมากมายไปด้วยวัดวาอาราม ปราสาทราชวังและปูชนียสถาน ปูชนียวัตถุมากมายกรุงศรีอยุธยามีพระมหากษัตริย์ปกครองอาณาจักรสืบต่อกันมา 33 พระองค์  มีราชวงศ์ผลัดเปลี่ยนกันครองอาณาจักรรวม 5 ราชวงศ์  1.ราชวงศ์อู่ทอง          3    พระองค์ 2. ราชวงศ์สุพรรณภูมิ    13   พระองค์  3. ราชวงศ์สุโขทัย         7   พระองค์  4. ราชวงศ์ปราสาททอง   4   พระองค์  5. ราชวงศ์บ้านพลูหลวง   6   พระองค์

  8. ราชธานีเก่า    อู่ข้าวอู่น้ำ    เลิศล้ำกานท์กวี   คนดีศรีอยุธยา คำขวัญ

  9. " ราชธานีเก่า " หมายถึง   จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในอดีตเคยเป็นเมืองหลวงเก่าของประเทศไทย ในนามว่า " กรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยามหาดิลก ภพนพรัตนราชธานีบุรีรมย์ ” หรือเรียกกันทั่วไปว่า “ กรุงศรีอยุธยา ” ที่มีความเจริญรุ่งเรืองในด้านการปกครอง เศรษฐกิจ สังคมและ การต่างประเทศ ยาวนานถึง  417 ปีโดยมีพระมหากษัตริย์ปกครอง 5 ราชวงศ์ 33 พระองค์ " อู่ข้าวอู่น้ำ " หมายถึง   จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตั้งอยู่ในบริเวณภาคกลางตอนล่างของประเทศไทย มีพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มอันอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่ การเพาะปลูกและยังมีแม่น้ำไหลผ่าน   4  สาย คือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำลพบุรี  แม่น้ำน้อย  ทำให้เหมาะแก่การเกษตร กรรม การประมงและการค้าขาย

  10. " เลิศล้ำกานท์กวี " หมายถึง   ในสมัยกรุงศรีอยุธยามียุคทองของวรรณคดี   คือ ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศกอรป ด้วยกวีเอกที่มีความสามารถล้ำเลิศ  เช่น สมเด็จพระนารายณ์ พระมหาราชครูศรีปราชญ์ เจ้าฟ้าธรรมมาธิเบศร์(เจ้าฟ้ากุ้ง) พระโหราธิบดี วรรณคดีที่สำคัญ เช่น สมุทรโฆษคำฉันท์ โครงกำศรวลศรีปราชญ์  ภาพย์ห่อโคลง ประพาสธารทองแดง  จินดามณี มหาชาติคำหลวง   " คนดีศรีอยุธยา " หมายถึง   จังหวัดพระนครศรีอยุธยากอรปด้วยคนดีมีความสามารถทุกยุคทุกสมัยตลอดมา แม้เมื่อกรุงศรีอยุธยาต้องเสียกรุงให้แก่พม่า ถึง  2 ครั้ง  แต่ก็ยังสามารถกอบกู้เอกราชกลับคืนมาได้  ก็ด้วยเหตุเพราะมีคนดีที่มีความสามารถนั่นเอง จนมีคำกล่าวมาแต่เดิมว่า “กรุงศรีอยุธยาไม่สิ้นคนดี "

  11. คติธรรมประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยาคติธรรมประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้มาจากสุภาษิตที่ว่าพลฺสงฺฆสฺส  สามัคคี  ซึ่งหมายถึง ความสามัคคีในหมู่คณะย่อมยังความสำเร็จมาให้  สามัคคีย่อมเป็นคุณธรรมอันประเสริฐเพราะการร่วมแรงร่วมใจสามัคคีกัน ทำในสิ่งที่ดีงามย่อมทำให้ผลงานได้สำเร็จลุล่วงไปโดยเรียบร้อยสมบูรณ์ ชนชาติไทยเป็นผู้มีความสามัคคี กลมเกลียวกันมาช้านานได้ร่วมกันต่อสู้ศัตรูเพื่อความเป็นเอกราชของชาติตลอดมาทุกสมัยที่ประเทศไทยเข้าที่คับขันถูกข้าศึกมารุกรานคนไทยต้องรวมกำลังเข้าต่อสู้ป้องกันประเทศชาติไว้ได้ทุกครั้งโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ในการรวบรวมกำลังออกต่อสู้ขับไล่ศัตรูออกไปจากผืนแผ่นดินไทย สามัคคีจึงเป็นคุณธรรมประจำชาติหากชาติใดประเทศใดไร้ความ สามัคคี  บ้านเมืองก็ย่อมถึงซึ่งความพินาศล่มจมดังที่เคยปรากฏในประวัติศาสตร์ชาติไทยมาแล้ว ขอให้ชาวไทย โปรดจำคติธรรมประจำจังหวัดไว้ให้มั่น  อยุธยาจะมั่นคงแข็งแกร่งตลอดกาล

  12. จังหวัดพระนครศรีอยุธยาอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 76 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งสิ้นประมาณ 2,556 ตารางกิโลเมตร แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 16 อำเภอ ได้แก่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอนครหลวง อำเภอภาชี อำเภอบ้านแพรก อำเภอบางซ้าย อำเภอบางไทร อำเภอลาดบัวหลวง อำเภอบางบาล อำเภอมหาราช อำเภอบางปะหัน อำเภอเสนา อำเภออุทัย อำเภอบางปะอิน อำเภอผักไห่ อำเภอท่าเรือ และอำเภอวังน้อย  อาณาเขต

  13. ชื่อเพลง  :  อยุธยาเมืองเก่า อยุธยาเมืองเก่าของเราแต่ก่อน จิตใจอาวรณ์มาเล่าสู่กันฟัง อยุธยาแต่ก่อนนี้ยัง  เป็นดังเมืองทองของพี่น้องเผ่าพงศ์ไทย เดี๋ยวนี้ซิเป็นเมืองเก่า  ชาวไทยแสนเศร้าถูกข้าศึกรุกราน ชาวไทยทุกคนหัวใจร้าวราน   ข้าศึกเผาผลาญแหลกลาญวอดวาย เราชนชั้นหลังมองแล้วเศร้าใจ    อนุสรณ์เตือนให้ชาวไทยจงมั่น สมัครสมานร่วมใจกันสามัคคี  คงจะไม่มีใครกล้าราวีชาติไทย เพลงประจำจังหวัด

  14. อยุธยาเป็นที่ลุ่ม ไม่มีภูเขา แต่มีแม่น้ำสายใหญ่คือ แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำลพบุรี และแม่น้ำเจ้าพระยา ไหลมาบรรจบกันในลักษณะล้อมรอบเมือง ตัวจังหวัดเป็นเกาะที่มีบ้านเรือนปลูกเรียงรายหนาแน่นตามสองข้างฝั่งแม่น้ำ อยุธยาห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 76 กม. มีเนื้อที่ประมาณ 2,556 ตรกม. ภูมิประเทศ

  15. ส่วนใหญ่เป็นโบราณสถาน ได้แก่ วัด และพระราชวังต่างๆ พระราชวังในจังหวัดพระนครศรีอยุธยามีอยู่ 3 แห่ง คือ พระราชวังหลวง วังจันทรเกษมหรือวังหน้า และวังหลัง นอกจากนี้ยังมีวังและตำหนักนอกอำเภอพระนครศรีอยุธยาซึ่งเป็นที่สำหรับเสด็จประพาส ได้แก่ พระราชวังบางปะอิน ในเขตอำเภอบางปะอิน ตำหนักนครหลวง ในเขตอำเภอนครหลวง และตลาดน้ำอโยธยา สถานที่ท่องเที่ยว

More Related