1 / 25

สรุปผลการดำเนินงาน ตามโครงการต้นแบบการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่อำเภอแม่แจ่ม

1. สภาพโดยทั่วไปก่อนเริ่มโครงการ

alea-huff
Download Presentation

สรุปผลการดำเนินงาน ตามโครงการต้นแบบการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่อำเภอแม่แจ่ม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. 1. สภาพโดยทั่วไปก่อนเริ่มโครงการ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นแหล่งทรัพยากรป่าไม้ ประกอบด้วย ป่าดิบ,ป่าสน, ป่าเบญจพรรณและป่าเต็ง-รัง เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร ในอดีตที่ผ่านมาเคยมีพื้นที่ป่าไม้ ถึงร้อยละ 80 (ปี 2504) และลดลงทุกปี ในปี 2549 เหลือร้อยละ 69.16 โดยมีสาเหตุมาจากการบุกรุกตัดไม้ทำลายป่า โดยลักลอบแปรรูปเพื่อการค้าโดยตรง และการบุกรุกเพื่อทำการเกษตร โดยเฉพาะพืชเชิงเดี่ยว เช่น ข้าวโพด กะหล่ำปลี มะเขือเทศ ซึ่งอำเภอแม่แจ่มมีเนื้อที่ 3,361.151 ตารางกิโลเมตร และเป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธาร พื้นที่ลุ่มน้ำปิงที่ไหลลงสู่เขื่อนภูมิพล เป็นอำเภอที่ห่างไกล ทุรกันดาร มีการบุกรุกทำลายป่าจำนวนมาก เกิดความวิกฤติด้านปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และมีสถิติการเกิดไฟป่ามากที่สุด เนื่องจากความไม่ชัดเจนในการดำเนินการพิสูจน์สิทธิ์พื้นที่ป่าไม้ จากการแจ้งครอบครองที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน มีการซื้อ-ขาย เปลี่ยนการครอบครองและทำประโยชน์ในพื้นที่ ใช้พื้นที่ไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ ซึ่งเป็นการนำที่ดินมาใช้ประโยชน์โดยไม่ถูกวิธีและเกิดความเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการต้นแบบการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่อำเภอแม่แจ่ม ข้อมูลทั่วไป

  2. 2. ลักษณะภูมิประเทศ • พื้นที่อำเภอแม่แจ่มตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่แจ่มเกือบทั้งพื้นที่ มีแม่น้ำแม่แจ่มเป็นแม่น้ำสายหลัก • พื้นที่ส่วนใหญ่ประมาณ 70 % เป็นป่าไม้และภูเขา สูงชัน • ประมาณ 20 % เป็นที่ราบเชิงเขา • ประมาณ 10 % เป็นที่ราบลุ่ม

  3. 3. การปกครอง ประกอบด้วย • 10 ตำบล 125 หมู่บ้าน • 1 เทศบาล 10 อบต. จำนวนประชากร ชาย 34,401 คน หญิง 32,637 คน รวมประชากรทั้งหมด 67,038 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ยต่อพื้นที่ประมาณ 19.94 คน/ตารางกิโลเมตร

  4. 4. วัตถุประสงค์ของโครงการ 1. เพื่อดำเนินการตามโครงการพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ชื่อโครงการต้นแบบการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ อำเภอแม่แจ่มและอมก๋อย 2. เพื่อแก้ไขปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ของอำเภอแม่แจ่มที่ถูกทำลายไปเป็น จำนวนมาก 3. เพื่อเป็นการจัดระเบียบที่ดินป้องกันการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ ทำข้อตกลงร่วมกันในการทำประชาคมหมู่บ้าน 4. เพื่อป้องกันการบุกรุกพื้นที่ป่าปลูกพืชเสพติด ซึ่งปัจจุบันได้เพิ่มมากขึ้น 5. เพื่อยึดหลักการให้ชุมชน/หมู่บ้าน ร่วมแก้ปัญหาของตนและยึดหลักการดำเนิน ตามแนวทางพระราชดำริบนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียงนำนวัตกรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้แก้ไขปัญหาความยากจน 6. เพื่อรวบรวมพื้นที่ป่าที่ถูกบุกรุกของอำเภอแม่แจ่มนำถวายเป็นราชสักการะแด่สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคม 2552

  5. 5. กิจกรรมก่อนดำเนินโครงการ 1. จัดประชุมหารือแนวทางการดำเนินงานของคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการพัฒนาพื้นที่พิเศษ อำเภอแม่แจ่ม ครั้งที่ 1/2552 ในวันที่ 8 เมษายน 2552 ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอแม่แจ่ม 2. จัดประชุมชี้แจงแนวทางการปฏิบัติ และการดำเนินงานในพื้นที่ของคณะทำงานระดับตำบล ครั้งที่ 2/2552 ในวันที่ 28 เมษายน 2552 ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอแม่แจ่ม 3. จัดประชุมชี้แจงแนวทางการปฏิบัติ และการดำเนินงานในพื้นที่ของคณะทำงานระดับตำบล ครั้งที่ 3/2552 ในวันที่ 12 พฤษภาคม 2552 ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอแม่แจ่ม 4. จัดประชุมซักซ้อม ทำความเข้าใจคณะทำงานระดับตำบล เรื่องการใช้แผนที่ในการจัดทำข้อมูลหมู่บ้าน ครั้งที่ 4/2552 ในวันที่ 27 พฤษภาคม 2552 ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอ แม่แจ่ม 5. จัดประชุมซักซ้อม ทำความเข้าใจคณะทำงานระดับตำบล เรื่องการจัดประชาคมหมู่บ้าน ครั้งที่ 5/2552 ในวันที่ 27 กรกฎาคม 2552 ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอแม่แจ่ม

  6. 6. กิจกรรมตามโครงการ 6.1 สำรวจพื้นที่หมู่บ้านก่อนทำประชาคม 121 หมู่บ้าน - สำรวจพื้นที่ตามกิจกรรมที่ 1 หาข้อมูล 1. จำนวนประชากร ชาย – หญิง 2. จำนวนกลุ่มบ้านรวมทั้งระยะใกล้ – ไกลกับหมู่บ้านหลัก 3. พื้นที่ทำกิน พื้นที่ป่า พื้นที่อยู่อาศัย (ทำแผนที่สังเขป) 4. กลุ่มองค์การต่าง ๆ ในหมู่บ้าน 5. จำนวนประชากรที่อพยพไปอยู่ต่างพื้นที่ 6. จำนวนผู้ที่เข้ามาทำกินในพื้นที่ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการที่จะ ควบคุมดูแล

  7. 7. การลักลอบกระทำผิดต่าง ๆ ในพื้นที่ เช่น ยาเสพติด คนต่างด้าว การพนัน เป็นต้น 8. กลุ่มบุคคล ที่จะต่อต้านการปฏิบัติงาน 9. ข้อมูลอื่น ๆ ที่สำคัญ เช่น พื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่ม

  8. 6.2 จัดทำประชาคมในระดับหมู่บ้าน 121 หมู่บ้าน 1. ให้ความรู้โครงการตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง 2. โครงการชุมชนพอเพียง 3. การป้องกันหมอกควันไฟป่า 4. โครงการปลูกต้นไม้ 3,000 ต้น / หมู่บ้าน 5. โครงการส่งเสริมประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 6. โครงการให้ความรู้คณะกรรมการหมู่บ้าน ในการพัฒนาหมู่บ้านสร้าง ชุมชนเข้มแข็ง 7. โครงการหมู่บ้านสีขาว ต่อต้านยาเสพติด (4 รั้ว 3 โครงการ)

  9. 8. โครงการของส่วนราชการต่าง ๆ เช่น กองทุนหมู่บ้าน ราคาพืชผลทาง การเกษตร 9. ลงมติในการแก้ไขปัญหา การบุกรุกพื้นที่ป่าโดยทำ SWOT Analysis (จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค) 10. มติในการกำหนดกฎระเบียบหมู่บ้านป้องกันรักษาป่าไม้และทรัพยากร ธรรมชาติในเขตพื้นที่หมู่บ้าน เช่น กำหนดพื้นที่ทำกิน บทกำหนดโทษ 11. จัดตั้งชุดหมู่บ้าน 10 คน ดำเนินการจัดทำหลักเขต และบันทึกข้อตกลง ร่วมกัน

  10. 6.3 จัดทำบันทึกรับรองแนวเขตการใช้ที่ดิน 121 หมู่บ้าน - จัดประชุมชี้แจงข้อตกลงร่วมกันในการจัดทำหลักเขตและหาพื้นที่ป่าที่ถูกทำลายหรือพื้นที่ที่ควรอนุรักษ์เป็นป่าต้นน้ำเพื่อถวายแด่สมเด็จ พระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ พิจารณาจัดทำแผนงานเฉพาะกิจเชิงบูรณาการ ซึ่งเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2552 ได้รับพื้นที่และปลูกต้นไม้คืนให้ป่าจำนวนพื้นที่ 4,710ไร่ 3 ตารางวา ปลูกต้นไม้จำนวน 333,921 ต้น

  11. โครงการถวายความจงรักภักดีทูลเกล้าถวายผืนป่าต้นน้ำและโครงการปลูกต้นไม้ หมู่บ้านละ 3,000 ต้น เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนพรรษา สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ 77 พรรษา “12 สิงหามหาราชินี”

  12. ที่ประชุมทำบันทึกรับรองแนวเขตการใช้ที่ดินที่ประชุมทำบันทึกรับรองแนวเขตการใช้ที่ดิน

  13. จัดทำแนวเขตกันพื้นที่ป่าในหมู่บ้านจัดทำแนวเขตกันพื้นที่ป่าในหมู่บ้าน

  14. 6.4 จัดทำแผนงานเฉพาะกิจเชิงบูรณาการ 121 หมู่บ้าน 6.4.1 จัดฝึกอบรมตามโครงการภูมิปัญญาแห่งแผ่นดินขยายผลสู่ปวงชน ชาวไทย จำนวน 2 รุ่น ดังนี้ (1.) โครงการฝึกอบรมด้านอาชีพ เพื่อพัฒนาให้ครอบครัวมีความเข้มแข็ง สามารถดำรงชีพได้จากกิจกรรมที่ทำ โดยมีการฝึกอบรมการทำน้ำยาอเนกประสงค์และการเพาะเห็ดฟาง มีผู้เข้าร่วมฝึกอบรมจำนวน 320 คน ในวันที่ 18 สิงหาคม 2552 ณ ศาลาประชาคมอำเภอแม่แจ่ม (2.) โครงการฝึกอบรมด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้หมู่บ้าน/ชุมชนเข้มแข็งมีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีผู้เข้าร่วมฝึกอบรมจำนวน 300 คน ในวันที่ 25 สิงหาคม 2552 ณ ศาลาประชาคมอำเภอแม่แจ่ม

  15. ฝึกอบรมด้านอาชีพ

  16. ฝึกอบรมด้านทรัพยากรธรรมชาติ

  17. 6.4.2 นำผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมทั้ง 2 รุ่น คัดเลือกผู้สนใจรับการศึกษาดูงาน จำนวน 150 คน ศึกษาดูงานเพื่อนำมาปฏิบัติจริงยังพื้นที่ หรือครอบครัวตัวเอง จำนวน 2 แห่ง คือ ศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ฯ อำเภอแม่ริม และ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอดอยสะเก็ด เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2552

  18. ราษฎรผู้สนใจเข้าศึกษาดูงาน

  19. ผลการดำเนินงาน 1.ผลการดำเนินงานในพื้นที่ 1.1 กิจกรรมจัดทำข้อมูลหมู่บ้าน ดำเนินการสำรวจข้อมูลหมู่บ้านจำนวน 121หมู่บ้าน 10 ตำบล ดำเนินการเสร็จครบทุกหมู่บ้าน 1.2 กิจกรรมจัดทำประชาคม อยู่ระหว่างการดำเนินการประชาคมจำนวน 57 หมู่บ้าน 8 ตำบล คงค้างอีก 64หมู่บ้าน 2 ตำบลที่ยังไม่ได้ดำเนินการเนื่องจากได้รับแผนที่จากส่วนกลางล่าช้า 1.3 กิจกรรมรับรองแนวเขต อยู่ระหว่างดำเนินการ 1.4 กิจกรรมจัดทำแผนงานเฉพาะกิจเชิงบูรณาการ ดำเนินการจัดฝึกอบรมตามโครงการ ภูมิปัญญาแห่งแผ่นดิน ฯ จำนวน 2 รุ่น คือ1.) ฝึกอบรมด้านอาชีพ มีผู้เข้ารับการฝึกอบรม จำนวน 320 คน 2.) ฝึกอบรมด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีผู้เข้ารับการฝึกอบรม จำนวน300 คน 1.5 นำผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมทั้ง 2 รุ่น คัดเลือกผู้สนใจรับการศึกษาดูงาน จำนวน 150 คน ศึกษาดูงานเพื่อนนำมาปฏิบัติจริงยังพื้นที่ หรือครอบครัวของตนเอง

  20. ปัญหาอุปสรรค 1. การจำกัดด้านระยะเวลาในการดำเนินงาน 2. ได้รับแผนที่จากส่วนกลางล่าช้า 3. สภาพพื้นที่ยากลำบากประกอบกับเป็นช่วงฤดูฝนทำให้การสัญจร ยากลำบากซึ่งส่งผลกระทบต่อระยะเวลาการดำเนินการ 4. จำกัดด้านงบประมาณซึ่งมีผู้สนใจอีกมากที่อยากจะเข้ารับการฝึกอบรมและ ศึกษาดูงานตามโครงการแผนงานเฉพาะกิจเชิงบูรณาการ เพื่อนำกลับมาใช้ ในชุมชนและครอบครัวที่มีรายได้น้อย

  21. ระยะเวลาที่คาดว่าจะแล้วเสร็จโครงการฯระยะเวลาที่คาดว่าจะแล้วเสร็จโครงการฯ การดำเนินการตามโครงต้นแบบการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่อำเภอแม่แจ่มและอำเภออมก๋อย คาดว่าจะแล้วเสร็จเรียบร้อยประมาณเดือนพฤศจิกายน 2552

More Related