1 / 48

คำสั่งเรียกให้นำเงินมาชำระ

คำสั่งเรียกให้นำเงินมาชำระ. 1. อ้างถึงเหตุละเมิด 2. คำสั่งให้เจ้าหน้าที่รับผิด 3. สาเหตุที่ต้องรับผิด 4. จำนวนเงินที่ต้องชำระ 5. กำหนดเวลาชำระ 6. สิทธิอุทธรณ์คำสั่ง. คำสั่งกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ที่ /2554 เรื่อง เรียกให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน.

alea-hall
Download Presentation

คำสั่งเรียกให้นำเงินมาชำระ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. คำสั่งเรียกให้นำเงินมาชำระคำสั่งเรียกให้นำเงินมาชำระ 1. อ้างถึงเหตุละเมิด 2. คำสั่งให้เจ้าหน้าที่รับผิด 3. สาเหตุที่ต้องรับผิด 4. จำนวนเงินที่ต้องชำระ 5. กำหนดเวลาชำระ 6. สิทธิอุทธรณ์คำสั่ง

  2. คำสั่งกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนที่ /2554เรื่อง เรียกให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ตามคำสั่งกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ...../2554 ลงวันที่ .....มีนาคม 2554 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดกรณี เจ้าหน้าที่ตำรวจในสังกัดกองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ .........ได้ทำอาวุธปืนชนิด........ซึ่งเป็นทรัพย์สินของทางราชการสูญหาย นั้น บัดนี้คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดได้พิจารณาและมีความเห็นว่าสาเหตุการสูญหายดังกล่าวเกิดจากการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของ จ.ส.ต.......................... ดังนั้นจึงอาศัยอำนาจตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 สั่งให้ จ.ส.ต...........นำเงินจำนวน 10,000 บาทมาชำระให้แก่ทางราชการภายในกำหนด 30 วันนับแต่วันรับทราบคำสั่งนี้ อนึ่งหากท่านประสงค์จะโต้แย้งคำสั่งนี้ให้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งต่อผู้บัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนได้ภายใน 15 วันนับแต่วันรับทราบคำสั่งนี้ สั่ง ณ วันที่ มีนาคม 2554 พลตำรวจโท ผู้บัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน

  3. ใช้มาตรการบังคับทางปกครองใช้มาตรการบังคับทางปกครอง 1. พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 57 “คำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้ผู้ใดชำระเงินถ้าถึงกำหนดแล้วไม่มีการชำระโดยถูกต้องครบถ้วนให้เจ้าหน้าที่มีหนังสือเตือนให้ผู้นั้นชำระภายในระยะเวลาที่กำหนดแต่ต้อง ไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ถ้าไม่มีการปฏิบัติตามคำเตือน เจ้าหน้าที่อาจใช้มาตรการบังคับทางปกครองโดยยึดหรืออายัดทรัพย์สินและขายทอดตลาดเพื่อชำระเงินให้ครบถ้วน” เจ้าหน้าที่ไม่ยินยอมชำระ

  4. วรรคสอง “วิธีการยึดหรืออายัดและการขายทอดตลาดทรัพย์สินให้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยอนุโลมส่วนผู้มีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดหรือขายทอดตลาดให้เป็นไปตามกฎกระทรวง”

  5. หนังสือเตือน - อ้างถึงคำสั่งเรียกให้ชดใช้ทดแทน - ครบกำหนดชำระแล้วไม่นำเงินมาชำระ - ให้นำเงินมาชำระภายใน 7 วัน - หากยังเพิกเฉยไม่นำเงินมาชำระจะดำเนินการใช้มาตรการบังคับทางปกครองโดยการยึดหรืออายัดทรัพย์สิน ออกขายทอดตลาด ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติฯ ข้อ 8

  6. เจ้าหน้าที่เพิกเฉย สืบหาทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่โดยไม่ชักช้า 1. มอบหมายเจ้าหน้าที่รับผิดชอบ 2. แต่งตั้งเป็นคณะกรรมการสืบหาทรัพย์สิน

  7. หนังสือ ตร. ที่ 0031.31/ว.82 ลง 14 มิ.ย. 2550 เรื่องแนวทางปฏิบัติในการดำเนินคดีปกครองเพิ่มเติม ข้อ 5 การสืบหาหลักทรัพญืหรือทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาศาลปกครองหรือของผู้อยู่ใต้บังคับตามคำสั่งทางปกครองของ ตร. 5.1 ให้แต่งตั้งคณะกรรมการหรือเจ้าหน้าที่เพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการสืบหาหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของลูกหนี้เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาเรียกให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน

  8. สืบหาทรัพย์สิน 1. ที่ดิน 2. รถยนต์ รถจักรยานยนต์ 3. หุ้นสหกรณ์ออมทรัพย์ 4. บัญชีเงินฝากธนาคาร

  9. ที่ ตช 0011.34/ กองคดีปกครองและคดีแพ่ง เขตปทุมวัน กทม. 10330 มิถุนายน 2553 เรื่อง ขอความร่วมมือตรวจสอบข้อมูลในคดีล้มละลาย เรียน อธิบดีกรมบังคับคดี ด้วย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ออกคำสั่งเรียกให้เจ้าหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ให้แก่ทางราชการ ตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 แต่ปรากฎว่าเจ้าหน้าที่ผู้อยู่ใต้บังคับของคำสั่งทางปกครองยังไม่ยินยอมชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ทางราชการภายในกำหนด ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยการใช้มาตรการบังคับทางปกครองโดยการยึด หรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินตามมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 พ.ศ.2551 หนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0530.7/ว 107 ลงวันที่ 4 ตุลาคม 2544 หนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0406.2/ว 46 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2548 รวมทั้งเพื่อรักษาผลประโยชน์ของทางราชการให้ได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ทางราชการโดยครบถ้วน ต้องดำเนินการสืบหาหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่ผู้อยู่ใต้บังคับของคำสั่งทางปกครอง และติดตามข้อมูลในคดีล้มละลาย ตามมาตรา 27 ประกอบมาตรา 91 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ดังนี้ 1. ร้อยตำรวจตรี กากา 2. พันตำรวจเอก ตอเรส จึงเรียนขอความกรุณามาเพื่อโปรดตรวจสอบข้อมูลบุคคลดังกล่าวว่าบุคคลดังกล่าวถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดหรือไม่ หรือพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายหรือไม่ ผลเป็นประการใดขอได้โปรดแจ้งให้ทราบด้วย และขอขอบคุณล่วงหน้ามา ณ โอกาส นี้ ขอแสดงความนับถือ ยศ ( ) ตำแหน่ง กองคดีปกครองและคดีแพ่ง โทร.0 2205 3555-6

  10. ที่ ตช 0011.34/ กองคดีปกครองและคดีแพ่ง เขตปทุมวัน กทม. 10330 มิถุนายน 2553 เรื่อง ขอความร่วมมือตรวจสอบข้อมูลในคดีล้มละลาย เรียน อธิบดีผู้พิพากษาศาลล้มละลายกลาง ด้วย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ออกคำสั่งเรียกให้เจ้าหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ทางราชการ ตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 แต่ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ผู้อยู่ใต้บังคับของคำสั่งทางปกครองยังไม่ยินยอมชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ทางราชการภายในกำหนด ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยการใช้มาตรการบังคับทางปกครองโดยการยึด หรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินตามมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 พ.ศ.2551 หนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0530.7/ว 107 ลงวันที่ 4 ตุลาคม 2544 หนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0406.2/ว 46 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2548 รวมทั้งเพื่อรักษาผลประโยชน์ของทางราชการให้ได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ทางราชการโดยครบถ้วน ต้องดำเนินการสืบหาหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่ผู้อยู่ใต้บังคับของคำสั่งทางปกครอง และติดตามข้อมูลในคดีล้มละลาย ตามมาตรา 27 ประกอบมาตรา 91 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ดังนี้ 1. ดาบตำรวจ โอเว่น 2. พันตำรวจโท แมสซี่ จึงเรียนขอความกรุณามาเพื่อโปรดตรวจสอบข้อมูลบุคคลดังกล่าวว่าถูกฟ้องใน คดีล้มละลายหรือไม่ และศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดหรือไม่ ผลเป็นประการใดขอได้โปรดแจ้งให้ทราบด้วย และขอขอบคุณล่วงหน้ามา ณ โอกาส นี้ ขอแสดงความนับถือ พลตำรวจโท ( ) ตำแหน่ง กองคดีปกครองและคดีแพ่ง โทร.0 2205 3555-6

  11. ที่ ตช 0011.34/ กองคดีปกครองและคดีแพ่ง เขตปทุมวัน กทม. 10330 มิถุนายน 2553 เรื่อง ขอตรวจสอบกรรมสิทธิ์และสิทธิครอบครองในที่ดิน เรียน เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสระแก้ว ด้วย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ออกคำสั่งเรียกให้เจ้าหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ให้แก่ทางราชการ ตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 แต่ปรากฎว่าเจ้าหน้าที่ผู้อยู่ใต้บังคับของคำสั่งทางปกครองยังไม่ยินยอมชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ทางราชการภายในกำหนด ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยการใช้มาตรการบังคับทางปกครองโดยการยึด หรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินตามมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 พ.ศ.2551 หนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0530.7/ว 107 ลงวันที่ 4 ตุลาคม 2544 หนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0406.2/ว 46 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2548 รวมทั้งเพื่อรักษาผลประโยชน์ของทางราชการให้ได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ทางราชการโดยครบถ้วน ต้องดำเนินการสืบหาหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่ผู้อยู่ใต้บังคับของคำสั่งทางปกครอง ดังนี้ 1. ดาบตำรวจ โรนัลโด 2. พลตำรวจตรี ซีดาน จึงเรียนมาเพื่อขอความร่วมมือท่านกรุณามาตรวจสอบกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครองครองในที่ดินของบุคคลดังกล่าวด้วย และหากปรากฏว่าพบชื่อบุคคลดังกล่าวถือกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองที่ดินแปลงใด ขอทราบราคาประเมินที่ดินและขอสำเนาเอกสารทางทะเบียนที่ดินที่ตรวจพบซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินรับรองด้วย และ ขอขอบคุณล่วงหน้ามา ณ โอกาส นี้ ดังกล่าว ขอแสดงความนับถือ ยศ ( ) ตำแหน่ง กองคดีปกครองและคดีแพ่ง โทร.0 2205 3555-6

  12. ที่ ตช 0011.34/ กองคดีปกครองและคดีแพ่ง เขตปทุมวัน กทม. 10330 มิถุนายน 2553 เรื่อง ขอตรวจสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ เรียน ผู้จัดการสหกรณ์ออมทรัพย์ ด้วย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ออกคำสั่งเรียกให้เจ้าหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ทางราชการ ตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 แต่ปรากฎว่าเจ้าหน้าที่ผู้อยู่ใต้บังคับของคำสั่งทางปกครองยังไม่ยินยอมชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ทางราชการภายในกำหนด ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยการใช้มาตรการบังคับทางปกครองโดยการยึด หรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินตามมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 พ.ศ.2551 หนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0530.7/ว 107 ลงวันที่ 4 ตุลาคม 2544 หนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0406.2/ว 46 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2548 รวมทั้งเพื่อรักษาผลประโยชน์ของทางราชการให้ได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ทางราชการโดยครบถ้วนต้องดำเนินการสืบหาหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่ผู้อยู่ใต้บังคับของคำสั่งทางปกครอง ดังนี้ 1. ดาบตำรวจ เหลี่ยม 2. พันตำรวจตรี กลม จึงเรียนขอความกรุณามาเพื่อโปรดตรวจสอบว่าบุคคลดังกล่าวเป็นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์หรือไม่ หากเป็นบุคคลดังกล่าวมีทุนเรือนหุ้นจำนวนเท่าได ผลเป็นประการใดโปรดแจ้งให้ทราบด้วย และขอขอบคุณล่วงหน้ามา ณ โอกาส นี้ ขอแสดงความนับถือ ยศ ( ) ตำแหน่ง กองคดีปกครองและคดีแพ่ง โทร.0 2205 3555-6

  13. ที่ ตช 0011.34/ กองคดีปกครองและคดีแพ่ง เขตปทุมวัน กทม. 10330 มิถุนายน 2553 เรื่อง ขอตรวจสอบกรรมสิทธิ์รถยนต์หรือยานพาหนะทุกประเภท เรียน อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ด้วย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ออกคำสั่งเรียกให้เจ้าหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ทางราชการ ตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 แต่ปรากฎว่าเจ้าหน้าที่ผู้อยู่ใต้บังคับของคำสั่งทางปกครองยังไม่ยินยอมชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ทางราชการภายในกำหนด ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยการใช้มาตรการบังคับทางปกครองโดยการยึด หรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินตามมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 พ.ศ.2551 หนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0530.7/ว 107 ลงวันที่ 4 ตุลาคม 2544 หนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0406.2/ว 46 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2548 รวมทั้งเพื่อรักษาผลประโยชน์ของทางราชการให้ได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ทางราชการโดยครบถ้วนต้องดำเนินการสืบหาหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่ผู้อยู่ใต้บังคับของคำสั่งทางปกครอง ดังนี้ 1. ดาบตำรวจ อิ่ม 2. พันตำรวจโท ไม่อิ่ม จึงเรียนขอความกรุณามาเพื่อโปรดตรวจสอบกรรมสิทธิ์รถยนต์หรือยานพาหนะทุกประเภท ของบุคคลดังกล่าวด้วย ผลเป็นประการใดโปรดแจ้งให้ทราบด้วย และขอขอบคุณล่วงหน้ามา ณ โอกาส นี้ ขอแสดงความนับถือ ยศ ( ) ตำแหน่ง กองคดีปกครองและคดีแพ่ง โทร.0 2205 3555-6

  14. ที่ ตช 0011.34/ กองคดีปกครองและคดีแพ่ง เขตปทุมวัน กทม. 10330 มิถุนายน 2553 เรื่อง ขอตรวจหลักทรัพย์หรือบัญชีเงินฝากและเงินฝากในบัญชี เรียน ผู้จัดการธนาคารกรุงไทย สำนักงานใหญ่ ด้วย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ออกคำสั่งเรียกให้เจ้าหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ทางราชการ ตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 แต่ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ผู้อยู่ใต้บังคับของคำสั่งทางปกครองยังไม่ยินยอมชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ทางราชการภายในกำหนด ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยการใช้มาตรการบังคับทางปกครองโดยการยึด หรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินตามมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 พ.ศ.2551 หนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0530.7/ว 107 ลงวันที่ 4 ตุลาคม 2544 หนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0406.2/ว 46 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2548 รวมทั้งเพื่อรักษาผลประโยชน์ของทางราชการให้ได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ทางราชการโดยครบถ้วน ต้องดำเนินการสืบหาหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่ผู้อยู่ใต้บังคับของคำสั่งทางปกครอง ดังนี้ 1. สิบตำรวจเอก วินัย 2. ร้อยตำรวจโท ระเบียบ จึงเรียนขอความกรุณามาเพื่อโปรดตรวจสอบหลักทรัพย์หรือบัญชีเงินฝากและเงินฝากในบัญชีบุคคลดังกล่าวด้วย ผลเป็นประการใดโปรดแจ้งให้ทราบด้วย และขอขอบคุณล่วงหน้ามา ณ โอกาส นี้ ขอแสดงความนับถือ ยศ ( ) ตำแหน่ง กองคดีปกครองและคดีแพ่ง โทร.0 2205 3555-6

  15. พบทรัพย์สิน 1. คณะกรรมการรายงานผลการสืบหาทรัพย์สิน 2. เสนอรายชื่อเจ้าพนักงานยึด อายัด

  16. การประเมินราคาทรัพย์สินการประเมินราคาทรัพย์สิน ที่ดิน ให้พิจารณาจากราคาท้องตลาด ราคาที่ดินใกล้เคียง ราคาซื้อขาย ราคาจำนอง ราคา ขายฝาก หรือราคาประเมินของที่ดิน ทรัพย์สินอื่นๆ ประเมินจากราคาซื้อขายตามท้องตลาด ตามสภาพความเก่าใหม่ของทรัพย์สินนั้นๆ

  17. วิธีการประเมินราคาทรัพย์สินวิธีการประเมินราคาทรัพย์สิน ข้อ ๓๕ การประเมินราคาที่ดินพึงพิจารณาตามหลักเกณฑ์เหล่านี้ประกอบกัน คือ (๑) ราคาซื้อขายกันในท้องตลาดโดยคำนึงถึงสภาพแห่งที่ดินนั้นว่าเป็นที่ดินประเภทใด เช่น ที่อยู่อาศัย ที่โรงงาน ที่ให้บริการหรือค้าขาย ที่สวน ที่นา ที่ไร่ เป็นต้น และที่นั้นอยู่ในทำเลอย่างใด เช่น อยู่ในทำเลค้าขาย ที่ชุมนุมชนอยู่ติดถนนหรือแม่น้ำลำคลองหรือไม่ รถยนต์เข้าถึงหรือไม่ หากเป็นที่ให้เช่ามีผลประโยชน์หรือรายได้มากน้อยเพียงใด (๒) ราคาที่ดินบริเวณใกล้เคียง ซึ่งเจ้าพนักงานเคยขายทอดตลาดไปแล้ว (๓) ราคาซื้อขาย หรือจำนอง หรือขายฝากครั้งสุดท้ายของที่ดินที่ยึด และที่ดินข้างเคียง (๔) ราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน

  18. ข้อ 36 การซื้อประเมินราคาทรัพย์สินนอกจากที่ดิน ให้ประเมินตามราคาขายในท้องตลาดตามสภาพความเก่าใหม่ของทรัพย์สินนั้นๆ ข้อ 37 การประเมินราคาทรัพย์สินที่มีการจำนองหรือจำนำให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับข้อ 34 และ ข้อ 35 แต่ให้หมายเหตุไว้ด้วยว่าจำนองหรือจำนำเมื่อใด ต้นเงินเท่าใดเพื่อประกอบดุลพินิจในการขายทอดตลาด

  19. ข้อ 38 หากผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเห็นว่าราคาทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานประเมินไม่เหมาะสม หรือผู้มีส่วนได้เสียในการยึดทรัพย์สินร้องขอโดยมีเหตุอันสมควรผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติมีอำนาจแก้ไขราคาประเมินได้เองหรือมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานทำการประเมินราคาใหม่ หรืออาจขอให้หน่วยงานที่มีหน้าที่ในการประเมินราคาทรัพย์สินหรือผู้เชี่ยวชาญในการประเมินราคาทรัพย์สินช่วยประเมินราคาให้ กรณีประเมินราคาตามคำร้องขอของผู้มีส่วนได้เสียในการยึดทรัพย์สิน ให้ผู้ร้องขอเป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย เมื่อได้มีการแก้ไขราคาประเมินแล้ว ให้เจ้าพนักงานแจ้งราคาประเมินที่ได้แก้ไขใหม่ให้ผู้มีส่วนได้เสียทราบ ข้อ 39 การประเมินราคาทรัพย์สินบางประเภท หากมีความจำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญผู้ชำนาญพิเศษ หรือผู้มีความรู้เชี่ยวชาญตรวจสอบและประเมินราคา ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติสั่งให้ดำเนินการได้

  20. ข้อ 31 ห้ามยึดทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่ผู้ต้องชดใช้เงินดังต่อไปนี้ (๑) เครื่องนุ่งห่มหลับนอน หรือเครื่องใช้ในครัวเรือน โดยประมาณราคารวมกันตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๒๘๕แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในกรณีผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเห็นสมควรจะกำหนดทรัพย์สินดังกล่าวที่มีราคาเกินกว่าที่กำหนดไว้ตามมาตรา ๒๘๕ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ให้เป็นทรัพย์สินที่ไม่ต้องอยู่ในบังคับแห่งระเบียบนี้ก็ได้ ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงความจำเป็นตามฐานะของเจ้าหน้าที่ผู้ต้องชดใช้เงิน (๒) เครื่องมือ หรือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการเลี้ยงชีพ หรือประกอบวิชาชีพ โดยประมาณรวมกันราคาไม่เกินกว่าที่กำหนดไว้ในมาตรา ๒๘๕ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แต่ถ้าเจ้าหน้าที่ผู้ต้องชดใช้เงินมีคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ขออนุญาตใช้เครื่องมือหรือเครื่องใช้อันจำเป็นเพื่อการเลี้ยงชีพหรือประกอบวิชาชีพอันมีราคาเกินกว่าจำนวนราคาดังกล่าวแล้วให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติมีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจอนุญาตหรือไม่อนุญาตภายในบังคับแห่งเงื่อนไขตามที่เห็นสมควร (๓) วัตถุ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ทำหน้าที่แทนหรือช่วยอวัยวะของ เจ้าหน้าที่ผู้ต้องชดใช้เงิน (๔) ทรัพย์สินอย่างใดที่โอนกันไม่ได้ตามกฎหมาย หรือตามกฎหมายย่อมไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี ทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่ผู้ต้องชดใช้เงินอันมีลักษณะเป็นของส่วนตัวโดยแท้ เช่น หนังสือสำหรับวงศ์ตระกูลโดยเฉพาะ จดหมายหรือสมุดบัญชีต่างๆนั้น อาจยึดมาตรวจดูเพื่อประโยชน์แห่งการยึดทรัพย์สินได้ถ้าจำเป็น แต่ห้ามมิให้เอาออกขายทอดตลาด (๕) ทรัพย์สินของกสิกรตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการยึดทรัพย์สินของกสิกร พ.ศ.๒๔๗๕ได้แก่ พืชพันธุ์ที่ใช้ในปีต่อไปตามสมควร พืชผลที่เก็บไว้สำหรับเลี้ยงตัวและครอบครัวตามฐานานุรูปสำหรับหนึ่งปี สัตว์และเครื่องมือประกอบอาชีพที่มีไว้พอแก่การดำเนินอาชีพต่อไป

  21. ข้อ 48 ห้ามอายัดทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่ผู้ต้องชดใช้เงิน ดังต่อไปนี้ (๑) เบี้ยเลี้ยงชีพซึ่งกฎหมายกำหนดไว้ และเงินรายได้เป็นคราว ๆ อันบุคคลภายนอกได้ยกให้เพื่อเลี้ยงชีพเป็นจำนวนรวมกันไม่เกินเดือนละ ๑๐,๐๐๐ บาท หรือตามจำนวนที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเห็นสมควร (๒) เงินเดือน ค่าจ้าง บำนาญ บำเหน็จ และเบี้ยหวัดหรือรายได้อื่นในลักษณะเดียวกันของข้าราชการ เจ้าหน้าที่ หรือลูกจ้างในหน่วยราชการ และเงินสงเคราะห์ บำนาญ หรือบำเหน็จที่หน่วยราชการได้จ่ายให้แก่คู่สมรสหรือญาติที่ยังมีชีวิตของบุคคลเหล่านั้น (๓) เงินเดือน ค่าจ้าง บำนาญ ค่าชดใช้ เงินสงเคราะห์หรือรายได้อื่นในลักษณะเดียวกันของพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงานนอกจากที่กล่าวไว้ใน (๒) ที่นายจ้างจ่ายให้แก่บุคคลเหล่านั้น หรือคู่สมรส หรือญาติที่ยังมีชีวิตของบุคคลเหล่านั้นเป็นจำนวนรวมกันไม่เกินเดือนละ ๑๐,๐๐๐ บาท หรือตามจำนวนที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเห็นสมควร (๔) เงินฌาปนกิจสงเคราะห์ที่เจ้าหน้าที่ผู้ต้องชดใช้เงินได้รับอันเนื่องมาแต่ความตายของบุคคลอื่น เป็นจำนวนตามที่จำเป็นในการดำเนินการฌาปนกิจศพตามฐานะของผู้ตายที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเห็นสมควร ในการกำหนดจำนวนเงินตาม (๑) และ (๓) ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติกำหนดให้ไม่น้อยกว่าอัตราเงินเดือนขั้นต่ำสุดของข้าราชการตำรวจในขณะนั้นและไม่เกินอัตราเงินเดือนขั้นสูงสุดของข้าราชการตำรวจในขณะนั้น ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงฐานะในทางครอบครัวของเจ้าหน้าที่ผู้ต้องชดใช้เงินและจำนวนบุพการีและผู้สืบสันดาน ซึ่งอยู่ในความอุปการะของเจ้าหน้าที่ผู้ต้องชดใช้เงินด้วย

  22. ทรัพย์สิน ที่ยึดหรืออายัด ไม่ได้ 1. ฎ 741/2543,3793/2535,1063/2533, 3020/2532 เงินเดือนและเงินบำเหน็จ ของ ข้าราชการยังมิได้นำไปปะปนกับเงินจำนวนอื่น ต้องถือว่าเป็นเงินเดือน บำเหน็จ 2. ฎ 122/2537 เงินบำนาญตกทอด บำเหน็จ ตกทอดไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี เพราะมีเจตนารมณ์ต้องการให้คู่สมรสหรือญาติ ของข้าราชการมีเงินเลี้ยงชีพต่อไป

  23. ทรัพย์สิน ที่ยึดหรืออายัด ได้ 1. คำพิพากษาฎีกา(ประชุมใหญ่) ที่ ๕๕๙๓/๒๕๓๔ ยอมให้มีการอายัดเงินค่าหุ้นได้ต่อเมื่อสมาชิกหมดสมาชิกภาพ เพราะไม่มีผลกระทบต่อสิทธิของสหกรณ์ 2. . คำพิพากษาฎีกาที่ 143/2537 , 4621/2532,2098/2545,5593/2534 เงินค่าหุ้น อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี , เรียกร้องต่อเมื่อมีการคืนหุ้นแก่จำเลย มี 2 กรณี เมื่อจำเลยขาดสมาชิกกภาพ และ เมื่อสหกรณ์ชำระบัญชีแล้วมีเงินเหลือคืนจำเลย 3. เงินค่าหุ้นของสมาชิกสหกรณ์นั้น ถือว่าเป็นทุนของสหกรณ์ และได้รับการคุ้มครองตามความพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.๒๕๔๒ มาตรา ๔๒ วรรคสอง และการที่จะคืนเงินค่าหุ้นให้แก่สมาชิกได้นั้น ต้องได้ความว่าหุ้นของสมาชิกอันเป็นส่วนหนึ่งของทุนดำเนินการของสหกรณ์ไม่ต้องรับภาระการขาดทุนและในระหว่างที่สมาชิกภาพของสมาชิกยังไม่สิ้นสุด ห้ามมิให้เจ้าหนี้ของสมาชิกใช้สิทธิเรียกร้องในค่าหุ้นของสมาชิกผู้นั้นพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.๒๕๔๒ มาตรา ๔๒ วรรคสอง - เงินปันผล คือ เงินค่าตอบแทนผู้ถือหุ้นเมื่อกิจการได้กำไร - เงินเฉลี่ยคืนคือ เงินค่าตอบแทนแก่สมาชิก(ผู้ถือหุ้น) ตามส่วนธุรกิจที่สมาชิก(ผู้ถือหุ้น)ได้ทำไว้กับสหกรณ์ เมื่อสหกรณ์ได้กำไร ทั้งเงินปันผลและเงินเฉลี่ยคืน สมาชิกหรือผู้ถือหุ้นจะมีสิทธิเรียกร้องต่อเมื่อที่ประชุมใหญ่อนุมัติให้จัดสรร

  24. ทรัพย์สิน ที่ยึดหรืออายัด ได้ 4. ฎีกาที่ 5990/2533 เงินตำแหน่งและผลประโยชน์ตอบแทน 5. กรรมสิทธิ์รวม 6. สินสมรส ถ้าสามีภริยาโดยถูกต้องตามกฎหมายและได้ทรัพย์สินมาเข้าหลักกฎหมายมาตรา 1474 ถ้าเป็นสามีภริยากันโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายให้ถือว่าเป็นกรรมสิทธิ์รวม

  25. ทรัพย์สินของภรรยาและบุตรผู้เยาว์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาทรัพย์สินของภรรยาและบุตรผู้เยาว์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ป.วิ.พ.มาตรา 282 วรรคสอง ทรัพย์สินของภรรยาและบุตรผู้เยาว์ของลูกหนี้ตามพิพากษา กฎหมายให้อำนาจเจ้าหนี้ยึดทรัพย์สินของภริยาและบุตรผู้เยาว์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อนำมาขายทอดตลาดได้อย่างเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม ม.282 วรรคท้าย จำกัดไว้ 2 ประเภท 1.) เป็นทรัพย์สินซึ่งตามกฎหมายอาจถือได้ว่าเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษา 2.) เป็นทรัพย์สินซึ่งตามกฎหมายอาจถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่อาจบังคับเอาชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้ นอกจากนี้ต้องพิจารณา ป.พ.พ. บรรพ 5 ครอบครัว หมวด 4 ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาประกอบด้วย

  26. ทรัพย์สินของภรรยาและบุตรผู้เยาว์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาทรัพย์สินของภรรยาและบุตรผู้เยาว์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษา 1) เป็นหนี้ร่วมของสามีภริยา ป.พ.พ.มาตรา1489 ถ้าสามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกัน ให้ชำระหนี้จากสินสมรสและสินส่วนตัวของทั้งสองฝ่าย ดังนั้น ในกรณีเป็นหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมยึดสินสมรสเพื่อชำระหนี้ตาม คำพิพากษาได้ แม้จะฟ้องสามีหรือภริยาแต่เพียงฝ่ายเดียว ฎ 2725/2528 และ ฎ 3478/2528 แต่จะยึดสินส่วนตัวของสามีหรือภริยาที่มิได้ถูกฟ้องเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาด้วยไม่ได้ ฎ 1652/2523 ,445/2540 2) ไม่เป็นหนี้ร่วมของสามีภริยา ป.พ.พ. มาตรา1488 ฝ่ายที่ก่อหนี้ขึ้นต้องรับผิดเป็นส่วนตัวและให้ชำระหนี้ด้วยสินส่วนตัวของฝ่ายนั้นก่อน เมื่อไม่พอจึงให้ชำระด้วยสินสมรสของฝ่ายนั้น ตาม ป.พ.พ.มาตรา1488 แต่คู่สามีหรือภริยาที่ไม่ได้ก่อหนี้ ไม่มีสิทธิร้องขัดทรัพย์ ได้แต่ขอให้กันส่วนตามมาตรา 287 ฎ 541/2509 ,2515/2531 ,679/2532 3. ทรัพย์สินของบุตรผู้เยาว์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ที่จะยึดและเอาขายทอดตลาดได้ตามมาตรา 282 วรรคสอง คือ ก.) เป็นทรัพย์สินซึ่งตามกฎหมายอาจถือได้ว่าเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ข.) เป็นทรัพย์สินซึ่งตามกฎหมายอาจถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่อาจบังคับเอาชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้

  27. เสนอ ผบช. • คำสั่งยึดหรือคำสั่งอายัดทรัพย์ • คำสั่งแต่งตั้งเจ้าพนักงานยึด และอายัดทรัพย์ • ประกาศยึดทรัพย์

  28. คำสั่ง (ระบุชื่อหน่วยงานที่ออกคำสั่ง) ที่(ระบุเลขที่ที่ออกคำสั่ง) / (ระบุเลขปี พ.ศ. ที่ออกคำสั่ง) เรื่อง แต่งตั้งเจ้าพนักงานยึด และอายัดทรัพย์สิน ด้วย (ระบุชื่อหน่วยงานที่ออกคำสั่ง) ได้รับรายงานว่า (ระบุยศ ชื่อ ชื่อสกุล เจ้าหน้าที่ ผู้ต้องชดใช้เงิน) ไม่ชำระเงินค่าสินไหมทดแทน กรณี (ระบุพฤติการณ์โดยย่อที่เจ้าหน้าที่ทำให้หน่วยงานราชการเสียหาย) เป็นเงิน....................................บาท (...........................................................) อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๓ และข้อ ๕ แห่งระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยการใช้มาตรการบังคับทางปกครองโดยการยึด หรืออายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินตามมาตรา ๕๗ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.๒๕๓๙ พ.ศ. ๒๕๕๑ (กรณีมอบอำนาจให้ระบุคำสั่งมอบอำนาจไว้ด้วย ) จึงแต่งตั้งให้ ๑.(ระบุยศ ชื่อ ชื่อสกุลและหรือตำแหน่งของผู้ที่ได้รับแต่งตั้ง) ๒.........................…................................................................. ๓.........................…................................................................. ฯลฯ (ให้แต่งตั้งตามจำนวนที่เหมาะสม) เป็นผู้ทำการยึด อายัดทรัพย์สินให้คุ้มกับเงินค่าสินไหมทดแทน พร้อมทั้งค่าธรรมเนียมค่าใช้จ่ายในการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่รายดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่.............เดือน...................พ.ศ................ ลงชื่อ.…(ลายมือชื่อผู้ออกคำสั่ง)...... (ระบุชื่อ..ชื่อสกุล..ของผู้ออกคำสั่ง) (ตำแหน่ง) ( ระบุตำแหน่งของผู้ออกคำสั่ง)

  29. คำสั่ง (ระบุชื่อหน่วยงานที่ออกคำสั่ง) ที่ (ระบุเลขที่ที่ออกคำสั่ง)/(ระบุเลขปี พ.ศ.ที่ออกคำสั่ง) เรื่อง ให้ยึดทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่ ด้วย (ระบุยศ.ชื่อ.ชื่อสกุล.เจ้าหน้าที่ผู้ต้องชดใช้เงิน) ดำรงตำแหน่ง(ระบุตำแหน่งเจ้าหน้าที่ผู้ต้องชดใช้เงิน) ไม่ชำระเงินค่าสินไหมทดแทน กรณี (ระบุพฤติการณ์โดยย่อที่เจ้าหน้าที่ทำให้หน่วยงานราชการเสียหาย) เป็นเงิน......................บาท (.............................................................) ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๓ และข้อ ๕ แห่งระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยการใช้มาตรการบังคับทางปกครองโดยการยึด หรืออายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินตามมาตรา ๕๗ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.๒๕๓๙ พ.ศ.๒๕๕๑(กรณีมอบอำนาจให้ระบุคำสั่งมอบอำนาจไว้ด้วย) จึงให้ยึดทรัพย์สินของ (ระบุยศ.ชื่อ.ชื่อสกุล.เจ้าหน้าที่ผู้ต้องถูกยึดทรัพย์สิน) ให้คุ้มกับเงินค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวข้างต้น พร้อมทั้งเงินค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินรายนี้ อนึ่งหากท่านประสงค์จะอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งนี้ ให้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งต่อ........ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่...................เดือน.................พ.ศ.................. ลงชื่อ.…(ลายมือชื่อผู้ออกคำสั่ง)...... (ระบุชื่อ..ชื่อสกุล..ของผู้ออกคำสั่ง) (ตำแหน่ง) ( ระบุตำแหน่งของผู้ออกคำสั่ง)

  30. ประกาศ (ระบุชื่อหน่วยงานที่ออกประกาศ) เรื่อง ให้ยึดทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่ ด้วย (ระบุยศ.ชื่อ.ชื่อสกุล.เจ้าหน้าที่ผู้ต้องชดใช้เงิน) ไม่ชำระเงินค่าสินไหมทดแทน กรณี (ระบุพฤติการณ์โดยย่อที่เจ้าหน้าที่ทำให้หน่วยงานราชการเสียหาย) เป็นเงินจำนวน..............................บาท (............................................................) อาศัยอำนาจตามข้อ ๓ แห่งระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยการใช้มาตรการบังคับทางปกครองโดยการยึด หรืออายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินตามมาตรา ๕๗ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.๒๕๓๙ พ.ศ.๒๕๕๑ (กรณีมอบอำนาจให้ระบุคำสั่งมอบอำนาจไว้ด้วย) ให้ยึดทรัพย์ของเจ้าหน้าที่ดังกล่าวข้างต้น ดังมีรายการต่อไปนี้ 1. 2. ฉะนั้น ถ้าผู้ใดจะคัดค้านการยึดทรัพย์สินรายนี้ ก็ให้ยื่นคำคัดค้านต่อผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย)ก่อนการขายทอดตลาดทรัพย์สินดังกล่าว ประกาศ ณ วันที่...........เดือน..........................พ.ศ........ ลงชื่อ.…(ลายมือชื่อผู้ออกคำสั่ง)... (ระบุชื่อ..ชื่อสกุล..ของผู้ออกคำสั่ง) (ตำแหน่ง) ( ระบุตำแหน่งของผู้ออกคำสั่ง)

  31. คำสั่ง (ระบุชื่อหน่วยงานที่ออกคำสั่ง) ที่ (ระบุเลขที่ที่ออกคำสั่ง)/(ระบุเลขปี พ.ศ.ที่ออกคำสั่ง) เรื่อง ให้อายัดทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่ ด้วย (ระบุยศ.ชื่อ.ชื่อสกุล. ดำรงตำแหน่ง ของเจ้าหน้าที่ผู้ต้องชดใช้เงิน)ไม่ชำระเงินค่าสินไหมทดแทนกรณี (ระบุพฤติการณ์โดยย่อที่เจ้าหน้าที่ทำให้หน่วยงานราชการเสียหาย)เป็นเงินจำนวน..........................บาท (................................................. ) ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามข้อ ๓ และข้อ ๕ แห่งระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยการยึดหรืออายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สิน ตามมาตรา ๕๗ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.๒๕๓๙ พ.ศ.๒๕๕๑ (กรณีมอบอำนาจให้ระบุคำสั่งมอบอำนาจไว้ด้วย) ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (หรือถ้ามีผู้รับมอบอำนาจให้ระบุตำแหน่งผู้รับมอบอำนาจ) จึงแจ้งมายัง (ชื่อบุคคลภายนอกซึ่งต้องรับผิดเพื่อการชำระเงินหรือส่งมอบสิ่งของ) เพื่ออายัดทรัพย์สินดังต่อไปนี้ ๑...................................................................................................................................... ๒...................................................................................................................................... ๓...................................................................................................................................... อนึ่งหากท่านประสงค์จะอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งนี้ ให้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งต่อ........ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่.............เดือน...................พ.ศ................ ลงชื่อ.…(ลายมือชื่อผู้ออกคำสั่ง).... (ระบุชื่อ..ชื่อสกุล..ของผู้ออกคำสั่ง) (ตำแหน่ง) ( ระบุตำแหน่งของผู้ออกคำสั่ง)

  32. อุทธรณ์คำสั่งยึด / อายัดทรัพย์สิน เห็นชอบกับอุทธรณ์ ไม่เห็นชอบกับอุทธรณ์ บช.พิจารณาอุทธรณ์ให้เสร็จภายใน 30 วัน เพิกถอนคำสั่ง ยึด / อายัด ทรัพย์สิน เสนอ ตร. เพื่อนำเรียนนายกรัฐมนตรีพิจารณา การอุทธรณ์ไม่เป็นเหตุให้ทุเลาการบังคับทางปกครอง

  33. เจ้าพนักงานยึด/อายัด แจ้งคำสั่งอายัดให้บุคคลภายนอก ปิดประกาศยึดฯ ไว้ที่สถานที่ที่ยึด/ ทรัพย์ที่จะยึดตั้งอยู่ - ระเบียบ ตร. ฯ ข้อ 13 - ระเบียบ ตร. ฯ ข้อ 46

  34. ยึดทรัพย์ บุคคลภายนอก ส่งมอบทรัพย์สิน เก็บรักษาทรัพย์เพื่อ รอการขายทอดตลาด ชะลอการขายทอดตลาด (ดุลพินิจ)

  35. การคัดค้านการยึดทรัพย์สินการคัดค้านการยึดทรัพย์สิน เจ้าพนักงานงดการขายทอดตลาดไว้ก่อน บุคคลภายนอก อ้างว่าเจ้าหน้าที่ไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สินที่ยึด ผบช.พิจารณา มีมูล ถอนการยึด ไม่มีมูล ยกคำร้อง

  36. การคัดค้านการอายัดทรัพย์สินการคัดค้านการอายัดทรัพย์สิน บุคคลภายนอกโต้แย้งหนี้ที่เรียกร้อง ผบช.พิจารณา มีมูล ถอนการอายัด ไม่มีมูล มีหนังสือเตือนให้บุคคลภายนอกปฏิบัติ ฟ้องคดี

  37. การขายทอดตลาด ตร./ ผบช. แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อจัดการ ขายทอดตลาด กรรมการอย่างน้อย 3 คน ประธานกรรมการ ตำแหน่ง ผกก.ขึ้นไป

  38. คำสั่ง (ระบุชื่อหน่วยงานที่ออกคำสั่ง) ที่ (ระบุเลขที่ที่ออกคำสั่ง)/(ระบุเลขปี พ.ศ.ที่ออกคำสั่ง) เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการขายทอดตลาด ด้วย (ระบุชื่อหน่วยงานที่ออกคำสั่ง) ได้ทำการยึด/อายัดทรัพย์สินของ (ระบุยศ..ชื่อ.. ชื่อสกุล..ดำรงตำแหน่งของเจ้าหน้าที่ผู้ต้องชดใช้เงิน) ตามประกาศ(ระบุหน่วยงานที่ออกประกาศ)ที่.........../.............ลงวันที่................... อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๓ และข้อ ๕ แห่งระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยการใช้มาตรการบังคับทางปกครองโดยการยึด หรืออายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินตามมาตรา ๕๗ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.๒๕๓๙ พ.ศ. … (กรณีมอบอำนาจให้ระบุคำสั่งมอบอำนาจไว้ด้วย) ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (หรือถ้ามีผู้รับมอบอำนาจให้ระบุตำแหน่งผู้รับมอบอำนาจ) จึงแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการขายทอดตลาดประกอบด้วย ๑. (ระบุยศ ชื่อ ชื่อสกุลของผู้ที่ได้รับแต่งตั้ง)ตำแหน่ง (ไม่ต่ำกว่า ผกก. หรือเทียบเท่า) เป็น ประธานกรรมการ ๒.........................…................................................................. ตำแหน่ง.....................เป็น กรรมการ ๓.........................…................................................................. ตำแหน่ง..................... เป็น กรรมการ/เลขานุการ เป็นผู้ทำการขายทอดตลาดทรัพย์สิน ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่.............เดือน...................พ.ศ................ ลงชื่อ.…(ลายมือชื่อผู้ออกคำสั่ง)...... (ระบุชื่อ..ชื่อสกุล..ของผู้ออกคำสั่ง) (ตำแหน่ง) ( ระบุตำแหน่งของผู้ออกคำสั่ง)

  39. ประกาศ ( ระบุชื่อหน่วยงานที่ออกประกาศ ) เรื่อง ขายทอดตลาดทรัพย์สิน ด้วย (ระบุชื่อหน่วยงานที่ออกประกาศ) จะดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์สินของ.................เจ้าหน้าที่ผู้ไม่ชำระเงินค่าสินไหมทดแทน ในวันที่..........................เวลา...................น. ณ.............................................ทรัพย์สินที่จะขายมีรายการ ดังนี้ 1……………… 2……………… คำแถลงประกอบประกาศ ๑. คณะกรรมการจัดการขายทอดตลาดไม่รับรองและไม่รับผิดชอบในเรื่องการรอนสิทธิ ค่าภาษีอากรต่างๆ จำนวน เนื้อที่ การบอกประเภททรัพย์เป็นหน้าที่ของผู้ซื้อจะต้องระวังตรวจสอบเอง ถ้าผู้ซื้อสงสัยประการใด ขอทราบรายละเอียดและหลักฐานได้ที่......................................โทร.........................................ในวันและเวลาราชการ ๒. เมื่อตกลงราคาแล้วผู้ซื้อจะต้องชำระเงินทันที เว้นแต่ทรัพย์สินซึ่งมีราคาตั้งแต่ ๑๐,๐๐๐ บาทขึ้นไป คณะกรรมการจัดการขายทอดตลาดอาจผ่อนผันให้ผู้ซื้อวางมัดจำไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๕ ของราคาทรัพย์สินที่ซื้อโดยผู้ซื้อต้องทำสัญญาขายทอดตลาด เพื่อใช้เงินที่เหลือให้เสร็จสิ้นภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ซื้อ ๓. การซื้อทรัพย์สินประเภทซึ่งผู้ยึดถือครอบครองจะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานตามกฎหมายเสียก่อน ผู้ซื้อต้องวางเงินมัดจำไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๕ ของราคาซื้อ และผู้ซื้อต้องนำใบอนุญาตมาแสดงภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ซื้อ พร้อมทั้งชำระเงินที่เหลือให้ครบถ้วน ๔. ถ้าผู้ซื้อไม่ชำระเงินหรือวางเงินมัดจำตามสัญญา คณะกรรมการจัดการขายทอดตลาดสามารถนำทรัพย์สินออกขายทอดตลาดซ้ำอีก ถ้าได้เงินสุทธิไม่คุ้มราคาและค่าขายทอดตลาดครั้งก่อน ผู้ซื้อจะต้องรับผิดในส่วนที่ขาด ๕. เงินมัดจำที่ผู้ซื้อได้วางไว้ร้อยละ ๒๕ นั้น หากผู้ซื้อไม่นำเงินที่เหลือมาชำระให้เสร็จภายในกำหนดเวลา ผู้ซื้อไม่มีสิทธิได้รับเงินมัดจำคืน ๖. ผู้ซื้อต้องเป็นฝ่ายเสียหรือนำส่งค่าภาษีอากรใด ๆ รวมทั้งค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ในการโอนทรัพย์สินนั้นเอง ๗. ในกรณีที่คณะกรรมการจัดการขายทอดตลาดเห็นว่าทรัพย์สินที่ขายทอดตลาดได้ราคาต่ำเกินสมควร คณะกรรมการจัดการขายทอดตลาดมีสิทธิที่จะยกเลิกการขายทอดตลาดนั้นได้ ประกาศ ณ วันที่............................................................ ลงชื่อ.................................................................. (................................................................) ประธานคณะกรรมการการขายทอดตลาด

  40. คำสั่งขายทอดตลาด เจ้าพนักงาน จัดทำประกาศคำสั่งขายทอดตลาด ส่งประกาศให้เจ้าหน้าที่ผู้ต้องชดใช้และผู้มีส่วนได้เสีย ปิดประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ สถานที่ที่จะขาย - สถานที่ที่ทรัพย์ตั้งอยู่ - ระเบียบ ตร. ฯ ข้อ 53-54 - ระเบียบ ก.ต.ช.

  41. กำหนดการขายทอดตลาด ที่ดิน หรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ทรัพย์สินอื่นๆ กำหนดวันขายไม่น้อยกว่า 30 วัน แต่ไม่เกิน 90 วัน นับแต่วันที่ลงประกาศขายทอดตลาด กำหนดวันขายไม่น้อยกว่า 20 วัน แต่ไม่เกิน 30 วัน นับแต่วันที่ลงประกาศขายทอดตลาด

  42. การคัดค้านการขายทอดตลาดการคัดค้านการขายทอดตลาด คณะกรรมการฯ ดำเนินการขายทอดตลาดไม่ถูกต้องตามระเบียบฯ เช่น มิได้ส่งประกาศขายทอดตลาดให้แก่เจ้าหน้าที่ หรือผู้มีส่วนได้เสีย ผบช. อาจสั่งให้เพิกถอนการขายทอดตลาดได้ แต่ต้องไม่ช้ากว่า 15 วันนับแต่ทราบการขายทอดตลาด

  43. การถอนการบังคับทางปกครองการถอนการบังคับทางปกครอง • เจ้าหน้าที่วางเงินต่อเจ้าพนักงานครบถ้วน • 1. ค่าสินไหมทดแทน ดอกเบี้ย • 2. ค่าธรรมเนียม ค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่าย • ผบช. มีคำสั่งให้ถอนการบังคับ • - ไม่ใช่ทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่ • ฯลฯ

  44. การขายทอดตลาด สมบูรณ์เมื่อผู้ทอดตลาดตกลง โดยวิธีเคาะไม้หรือ แสดงกิริยาอย่างใดอย่างหนึ่ง

  45. ภายหลังขายทอดตลาด 1.ผู้ซื้อไม่ชำระเงินตามสัญญา ให้เอาทรัพย์นั้นออกขายทอดตลาดซ้ำอีก 2.ทรัพย์สินประเภทสังหาริมทรัพย์ ราคาไม่เกิน 10,0000 บาทให้ชำระเงินทันทีส่งมอบทรัพย์สินไปได้ ราคาเกิน 10,000 บาท วางมัดจำอย่างน้อย 25% และชำระที่เหลือภายใน 15 วัน หากไม่ชำระให้ริบมัดจำ 3.ทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ที่ต้องจดทะเบียน ให้คณะกรรมการแจ้งแก่พนักงานเจ้าหน้าที่นั้นๆ จัดการโอนหรือ แก้ทะเบียนให้

  46. รับ - จ่ายเงิน เสนอ ผบช. เพื่อสั่งยุติการดำเนินการ

  47. กองคดีปกครองและคดีแพ่งกองคดีปกครองและคดีแพ่ง 1. กลุ่มงานคดีปกครอง โทร.0 2205 3561 - 2 2. กลุ่มงานคดีแพ่ง โทร. 0 2205 3563 - 4 3. กลุ่มงานที่ปรึกษา โทร. 0 2205 3555 – 6

More Related