460 likes | 643 Views
แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต. หัวข้อ. แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต เทคโนโลยีสารสนเทศกับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในอนาคต การปฏิรูปการทำงานกับการใช้ข่าวสารบนฐานเทคโนโลยีในอนาคต การปฏิบัติตนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสน เทส.
E N D
แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคตแนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต
หัวข้อ • แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต • เทคโนโลยีสารสนเทศกับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในอนาคต • การปฏิรูปการทำงานกับการใช้ข่าวสารบนฐานเทคโนโลยีในอนาคต • การปฏิบัติตนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทส
แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคตแนวโน้มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต • ระบบคอมพิวเตอร์ • ฮาร์ดแวร์ • เท็บเล็ต(tablet) • สมาร์ทโฟน(smartphone) • ซอฟต์แวร์ • Software as a Service (SaaS) • โมบายแอพพลิเคชั่น (mobile application) • คลาวด์คอมพิวติ้ง(cloud computing)
แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคตแนวโน้มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต • ฮาร์ดแวร์ • 1) แท็บเล็ต(tablet) ได้รับความนิยมมาตั้งปี พ.ศ. 2554 และจะได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องและสูงขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งไอเพด(iPadของ Apple) และ คินเดิ้ล (Kindle ของ Amazon) ซึ่งส่วนมากใช้สำหรับการเข้าไปอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) โดยการเชื่อมต่อการพัฒนาของออนไลน์มาเก็ตเพลส (online market place) ของ Amazon หรือ iStoreของ Apple ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงเนื้อหา (content) ต่างๆ และสามารถซื้อได้สะดวกขึ้น นอกจากนี้ยังมีคาดการณ์ว่าในอนาคตจะมีการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์แบบแท็บเล็ตมากกว่าเครื่องเน็ตบุ๊ก(netbook) ด้วยศักยภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตที่สามารถประมวลผลที่สูงกว่าและมีอุปกรณ์เสริม เช่น คีย์บอร์ดที่มีที่เสียบแท็บเล็ตสำหรับผู้ที่ไม่ชอบเวิลชัวร์คีบรอด (visual keyboard) และแบตเตอรี่พกพาเพื่อยืดเวลาการใช้งานอุปกรณ์ และด้วยขนาดของแท็บเล็ตที่มีขนาดเบาทำให้สะดวกในการพกพา และมีหน้าจอที่แสดงผลแบบสัมผัสซึ่งสะดวกต่อการใช้งานอีกด้วย ทั้งนี้รัฐบาลมีนโยบายที่จะแจกเครื่องแท็บเล็ตให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาทั่วประเทศประมาณ 900,000 เครื่องเพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการเรียนการสอน ซึ่งจะทำให้เป็นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศยกระดับคุณภาพการศึกษาของประเทศ จึงทำให้ในอนาคตจะมีการใช้แท็บเล็ตมากขึ้นและใช้กันอย่างแพร่หลายในทุกอุตสาหกรรม
แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคตแนวโน้มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต • ฮาร์ดแวร์ • 2) สมาร์ทโฟน(smartphone) คือ โทรศัพท์มือถือ หรือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ มีระบบปฏิบัติการระดับสูงในตัว มีความยืดหยุ่นในการใช้งานสูง สามารถติดตั้งโปรแกรมได้หลากหลาย ซึ่งปัจจุบันมีสมาร์ทโฟนที่ผลิตออกมากกว่า 300 รุ่นในตลาด ซึ่งมีราคาตั้งแต่ 5,000 บาทขึ้นไป ที่ได้รับความนิยมมากคือ ไอโฟน(iPhone) ซัมซุงกาแล็กซี่เท็บ(Sumsung Galaxy Tab) และโนเกีย (Nokia) เป็นต้น จากการเปิดตัวของระบบปฏิบัติการแอนดรอย์(androids) ที่เริ่มแพร่หลาย จึงทำให้การเข้าถึงผู้ใช้ผ่านแอพพลิเคชั่น (application) ต่างๆ ทาง สมาร์ทโฟนได้ง่ายขึ้น ในรูปแบบเรียลไทม์ (real time) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้โมบายแอพพลิเคชั่น (mobile application) เพื่อสร้างอรรถประโยชน์โดยตรงผ่านรูปแบบที่น่าสนใจ ซึ่งปัจจุบันแอพพลิเคชั่นที่ดึงดูดความสนใจของคนไทยได้มากที่สุดเกี่ยวข้องกับการถ่ายรูปและสามารถเชื่อมโยงกับเครือข่ายสังคมออนไลน์ (online social network) เช่น แอพพลิเคชั่นอินสตราแกรม (Instagram) ในเฟซบุค(Facebook) เป็นต้น
แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคตแนวโน้มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต จากภาพเป็นการนำเสนอการใช้โทรศัพท์มือถือของคนทั่วโลก พบว่าในปัจจุบันนี้มีการเปลี่ยนแปลงวิถีการใช้โทรศัพท์มือถือเชื่อมโยงการสืบค้นข้อมูลข่าวสารและสื่อต่างๆ ซึ่งมีผลกระทบต่อพฤติกรรมของผู้ใช้ดังนี้ (Online Market Trend, 2012) 1) ปัจจุบันนี้ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือโดยเฉลี่ยวันละมากกว่า 7.2 ชั่วโมงซึ่งคิดเป็น 27% ของเวลาใน 1 วัน 2) มีการใช้โทรศัพท์มือถือในสถานที่ต่างๆ เช่น 67% พิมพ์บนบนเตียงนอน 47% ใช้สำหรับการฆ่าเวลาในการรอคอยบางสิ่ง 39% ขณะดูโทรทัศน์ 25% สื่อสารกับผู้อื่น 22% ใช้ระหว่างอยู่กับครอบครัว 19% ในห้องน้ำ 15% ระหว่างการชอปปิ้ง และ 15% ในงานเลี้ยงสังสรรค์ต่างๆ เป็นต้น 3) การใช้โทรศัพท์มือถือในลักษณะต่างๆ ขึ้นอยู่กับเพศด้วย เช่น ใช้สำหรับ เล่นเว็บไซต์โชเชียลมีเดีย(social media), สร้างความบันเทิง (entertainment), เล่นเกม (games), ค้นหาข้อมูล (general Information and search) และส่งอีเมล์ เพศหญิงมีการใช้มากกว่าสำหรับการชอปปิ้ง (shopping) และค้นหาข้อมูลในท้องถิ่น (local search) มากกว่าเพศชาย
แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคตแนวโน้มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต จากภาพเป็นการนำเสนอการใช้โทรศัพท์มือถือของคนทั่วโลก พบว่าในปัจจุบันนี้มีการเปลี่ยนแปลงวิถีการใช้โทรศัพท์มือถือเชื่อมโยงการสืบค้นข้อมูลข่าวสารและสื่อต่างๆ ซึ่งมีผลกระทบต่อพฤติกรรมของผู้ใช้ดังนี้ (Online Market Trend, 2012) 4) การโฆษณาประชาสัมพันธ์ พบว่าในปัจจุบันการโฆษณาผ่านทางโทรศัพท์มือถือมีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคมากกว่า 48% ทางคอมพิวเตอร์และเว็บไซต์ 47% และทางโทรทัศน์ 46% 5) โทรศัพท์มือถือมีผลกระทบต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคในการซื้อสินค้าและบริการมากขึ้น ซึ่งพบว่า 42% ใช้การโฆษณาบนโทรศัพท์มือถือ 23% นำเสนอข้อมูลที่ให้ทางเลือกที่ดีกว่า 26% ช่วยในการค้นหาข้อมูล และ 14% ซื้อสินค้าและบริการผ่านทางโทรศัพท์มือถือ
แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคตแนวโน้มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต 1.2 ซอฟต์แวร์ แนวโน้มของซอฟต์แวร์ในอนาคตจะมีลักษณะเป็น SaaS ที่ใช้สำหรับองค์กรธุรกิจ และ โมบายแอพพลิเคชั่นสำหรับผู้บริโภค ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ 1.2.1 Software as a Service (SaaS)คือ การใช้ซอฟต์แวร์แอพพลิเคชั่นเหมือนกับการรับบริการ ซึ่งไม่ต้องมีการลงทุนซื้ออุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ใดๆ แต่สามารถใช้งานซอฟต์แวร์ได้ตามที่ต้องการ ซึ่ง SaaSเป็นอีกทางหนึ่งของการใช้ซอฟต์แวร์ธุรกิจโดยไม่ต้องทุน เพียงแต่เสียค่าใช้จ่ายเป็นรายเดือนหรือรายปี ซึ่งทำให้องค์กรประหยัดค่าใช้ในการติดตั้งซอฟต์แวร์ ซื้อลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ค่าใช้จ่ายของเจ้าหน้าที่ดูแลและค่าใช้อื่นๆอีกมากมาย ลักษณะของซอฟต์แวร์ประเภท SaaSโดยทั่วไปจะทำงานผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตด้วยโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ (web browser) SaaSเป็นแนวโน้มที่กำลังมาแรง ตัวอย่างของการประสบความสำเร็จอย่างงดงาม คือ saleforce.com เป็นต้น
แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคตแนวโน้มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต 1.2.2 โมบายแอพพลิเคชั่น (mobile application) สำหรับผู้บริโภคจะมีการเติบโตเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากมีอัตราการใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ อย่างโทรศัพท์มือถือและแท็บเล็ตที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้วิเคราะห์ถึงสภาพการณ์ และแนวโน้มตลาดโมบายล์แอพพลิเคชั่นในประเทศไทยพบว่าจะมีการเติบโตแบบก้าวกระโดด ด้วยปัจจัยดังต่อไปนี้ (ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, 2554) 1) การขยายตัวของตลาดสมาร์ทโฟน เนื่องจากคุณสมบัติอันโดดเด่นของสมาร์ทโฟนในการเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ต และสามารถลงแอพพลิเคชั่นต่างๆได้อย่างและสะดวก จึงทำให้เกิดความต้องการสูงในการพัฒนาแอพพลิเคชั่นเพื่อสร้างบริการใหม่ๆ ในการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันได้ดี 2) การขยายตัวของตลาดแท็บเล็ต ถึงแม้ว่าฟังก์ชั่นการทำงานโดยทั่วไปของแท็บเล็ตจะมีความคล้ายคลึงกันกับสมาร์ทโฟน แต่ด้วยความเร็วในการประมวลผลข้อมูลที่สูงกว่า และขนาดของหน้าจอแสดงผลที่ใหญ่ขึ้น ประกอบกับความสามารถในการใช้งานแอพพลิเคชั่นที่ถูกพัฒนาสำหรับสมาร์ทโฟนได้ ทำให้ผู้ใช้เริ่มให้ความสนใจในการใช้งานแท็บเล็ตในวงกว้างมากยิ่งขึ้น โดยแท็บเล็ตยังถูกนำมาประยุกต์ใช้ในด้านธุรกิจ และการศึกษาอีกด้วย จึงทำให้มีการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นเพิ่มมากขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการใช้งานของผู้บริโภค
แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคตแนวโน้มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต 3) การเปิดให้บริการ 3G เชิงพาณิชย์ ซึ่งได้ว่านับเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าธุรกิจบริการโทรคมนาคมสู่ยุคการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูง และคาดว่าจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาบริการและแอพพลิเคชั่นใหม่ๆที่ต้องอาศัยการสื่อสารความเร็วสูงด้วย 4) ราคาจำหน่ายโทรศัพท์มือถือที่ถูก โมบายแอพพลิเคชั่นที่จำหน่ายผ่านร้านแอพพลิเคชั่นออนไลน์จะมีทั้งแบบฟรีและแบบที่ต้องชำระเงิน โดยแอพพลิชั่นแบบฟรีในตลาดโลกมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 36.2 ในขณะที่แบบที่ต้องชำระเงินจะมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 63.8 ซึ่งด้วยราคาของโมบายแอพพลิเคชั่นที่ไม่แพงมากนักจึงมีความต้องการของผู้ใช้ที่จะใช้เพิ่มขึ้น 5) ช่องทางการจัดจำหน่ายที่เข้าถึงง่าย โมบายแอพพลิเคชั่นจะถูกขายออนไลน์ผ่านช่องทางการจัดจำหน่ายที่เรียกว่า “ร้านแอพพลิเคชั่นออนไลน์” (online application store) โดยผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้ง่ายบนสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต ประกอบกับการจัดหมวดหมู่แอพพลิเคชั่นที่ง่ายแก่การค้นหา และระบบการชำระเงินที่สะดวกรวดเร็ว เป็นต้น
แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคตแนวโน้มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต
แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคตแนวโน้มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต 1.3 คลาวด์คอมพิวติ้ง(cloud computing)เป็นแนวโน้มที่กำลังได้รับความนิยม ซึ่งเป็นแนวคิดสำหรับแพลตฟอร์ม (platform) ของระบบคอมพิวเตอร์ในยุคหน้า เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ผู้ใช้ในการลดภาระด้านการลงทุนในเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งการใช้งานในระดับองค์กรธุรกิจ (corporate users) และ ผู้ใช้ระดับส่วนบุคคล (individual users) โดยเป็นหลักการนำทรัพยากรของระบบสารสนเทศ ทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์มาแบ่งปันในรูปแบบการให้บริการ (Software As A Services: SaaS) ในระดับการประมวลผลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง หรือติดตั้งซอฟต์แวร์ระบบ ตลอดจนซอฟต์แวร์แอพพลิเคชั่นจำนวนมาก เพื่อการทำงานที่ซับซ้อน แต่สามารถใช้บริการประมวลผล และแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ จากผู้ให้บริการระบบประมวลผลคลาวด์และชำระค่าบริการตามอัตราการใช้งานที่เกิดขึ้นจริงภาพที่ 10.3 แสดงการทำงานของระบบคลาวด์คอมพิวติ้งที่มีการจัดเก็บและประมวลผลผ่านระบบคลาวด์ สามารถรองรับการทำงานระบบคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคตแนวโน้มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต
แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคตแนวโน้มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต 2. ระบบสื่อสารโทรคมนาคม 2.1 เครือข่ายสังคมออนไลน์ (online social network) หมายถึง เว็บไซต์ที่ให้บริการผู้ใช้ให้สามารถสร้างเว็บ โฮมเพจของตน เขียนเว็บบล็อก โพสต์รูปภาพ วีดีโอ ดนตรี เพลง รวมถึงการแชร์ความคิด และสามารถเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์อื่นๆ เพื่อค้นหาข้อมูลที่สนใจได้ ซึ่งปัจจุบันมีการแสดงข้อมูลอันดับความนิยมเข้าชมเว็บไซต์ประจำสัปดาห์สิ้นสุดเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 ในกลุ่มอุตสาหกรรม “Computer and Internet – Social Networking and Forum” มีรายละเอียดดังนี้
แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคตแนวโน้มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต
แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคตแนวโน้มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต 2.2 โซเชียลคอมเมิรซ์ (Social Commerce) คือ การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ในการค้าขาย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) เป็นการนำโซเชียลมีเดีย(social media) และสื่อออนไลน์แบบต่างๆ มาช่วยในการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ขายกับผู้ซื้อ ช่วยในการขายสินค้าออนไลน์ต่างๆ ผ่านทางเว็บไซต์ ในอนาคตโซเซียลคอมเมริซ์จะกลายเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดอีกรูปแบบหนึ่งที่มาแรงในธุรกิจออนไลน์ เพราะกระแสความนิยมของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันใช้เครือข่ายสังคม (social network) ด้วยเทคโนโลยี WEB 2.0 ที่ทำให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร การรับรู้สินค้าและบริการจากเพื่อนๆ โดยการตลาดแบบบอกต่อ (virtual marketing) ซึ่งผู้ขายไม่จำเป็นต้องโฆษณามาก เนื่องจากผู้ซื้อได้รับข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการจากเพื่อนๆ ที่อยู่ในเครือข่ายสังคมของเขานั่นเอง ทำให้ผู้บริโภคจะมีอำนาจการต่อรองสูง สามารถเลือกสินค้าโดยการจับตัวเป็นกลุ่ม ทำให้มีกำลังการซื้อจำนวนมาก และสามารถต่อรองกับผู้ผลิตสินค้าได้เป็นอย่างดี โดยไม่จำเป็นต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง ทำให้ธุรกิจสามารถสร้างกำไรได้มากขึ้นอีกด้วย
แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคตแนวโน้มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต 3. แนวโน้มอื่นๆ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แก่ แนวโน้มด้านข้อมูล การวิเคราะห์ธุรกิจ(business analytics) กรีนไอที(green IT) มาตรฐานไอทีและการรักษาความปลอดภัย (IT standard and IT security) และ สมาร์ทซิตี้(smart city) และ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ 3.1 แนวโน้มด้านข้อมูล บริษัทฮิตาชิ ดาต้าซิสเต็มส์ ได้คาดการแนวโน้มด้านข้อมูล ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 มีดังนี้ 3.1.1 ความมีประสิทธิภาพของระบบจัดเก็บข้อมูล (storage efficiency) จะมีมากขึ้น เช่น การใช้ระบบจัดเก็บข้อมูลเสมือนจริง (virtual storage) การจัดสรรพื้นที่แบบจำกัดตามการใช้งานจริง และการเก็บข้อมูลถาวร (archiving) เป็นต้น 3.1.2 จะมีการผสมผสานระบบเข้าด้วยกัน (consolidation to convergence) โดยการผสานรวมเซริฟเวอร์(sever) ระบบจัดเก็บข้อมูล เครือข่าย และแอพพิเคชั่น โดยอาศัยแอพพลิเคชั่นโปรแกรมมิ่ง (Application Programming Interface :APIs) ซึ่งจะช่วยจำกัดภาระงาน (workload) ให้กับระบบจัดเก็บข้อมูล ทำให้เครื่องเซิร์ฟเวอร์และหน่วยความจำมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายให้กับองค์กรอีกด้วย
แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคตแนวโน้มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต 3.1.3 ข้อมูลขนาดใหญ่ (big data) หรือเรียกว่า “บิ๊กดาต้า” นั้นจะมีการเติบโตมากขึ้นซึ่งองค์กรจะต้องหาวิธีการจัดการกับบิ๊กดาต้าที่จะเกิดขึ้น 3.1.4 การย้ายข้อมูลแบบเสมือน (virtualization migration) การย้ายข้อมูลของอุปกรณ์แบบต้องหยุดระบบจะถูกแทนที่ด้วยความสามารถใหม่ของระบบเสมือนจริงที่ถูกย้ายข้อมูลโดยไม่จำเป็นต้องรีบูต(reboot) ระบบใหม่ 3.1.5 การปรับใช้ระบบคลาวด์(cloud acquisition) การปรับใช้ระบบคลาวด์ ทั้งในแบบบริการตนเอง แบบจ่ายเท่าที่ใช้งานและความต้องการ จะเข้ามามีแทนที่วงจรการปรับใช้ผลิตภัณฑ์ปัจจุบันที่มีระยะเวลาระหว่าง 3-5 ปี เนื่องจากมีการบูรณาการระบบสารสนเทศเข้าด้วยกัน
แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคตแนวโน้มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต 3.2 การวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจ (Business Analytics :BA) เมื่อมีข้อมูลจำนวนมากองค์กรจำเป็นต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูลก่อนนำไปใช้ในเชิงการตลาดและการตัดสินใจ สำหรับ BA ซึ่งเติบโตจาก BI (Business Intelligence: BI) ด้วยเครื่องมือที่มีความชาญฉลาดสูงขึ้น ช่วยให้สามารถกลั่นกรองข้อมูลและวิเคราะห์ธุรกิจจากข้อมูลที่มีอยู่และนำไปสู่ความก้าวหน้า หรือสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจ เนื่องจากการวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจ คือ สิ่งสำคัญในการกำหนดแนวทางการปรับปรุงแผนธุรกิจ ตัวอย่างการใช้ BA ในภาคการผลิต จะทำให้สามารถวางแผนการผลิตและการขายได้อย่างแม่นยำ ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจสามารถเป็นตัวสนับสนุนที่สำคัญที่จะสร้างความสำเร็จให้กับผู้ผลิตจากการคาดการณ์ที่ดีจะให้ผลตอบแทนการลงทุน (Return Of Investment :ROI) ได้มากขึ้น ทั้งนี้ธุรกิจที่มีแนวโน้มในการลงทุนด้าน BA ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิต สถาบันการเงินและธนาคาร และธรุกิจค้าปลีก เป็นต้น
แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคตแนวโน้มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต 3.3 กรีนไอที (Green IT) ในอนาคตแนวโน้มของสินค้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจะต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ที่เรียกว่า “กรีนไอที” (green IT) เพราะค่านิยมของผู้บริโภคใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ซึ่งอุปกรณ์ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจำเป็นที่จะต้องออกแบบให้ประหยัดพลังงาน กินกระแสไฟฟ้าน้อย เกิดความร้อนน้อย ซึ่งในอนาคตจะมีการพัฒนา “กรีนพีซี” (green PC) ซึ่งสามารถตอบโจทย์ในเรื่องของความสะดวกสบายในการใช้งาน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ทั้งนี้ในอนาคตเทคโนโลยีสารสนเทศที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะอยู่ในเงื่อนไขหลักของการจัดซื้อ ทั้งนี้ปัจจุบันยังไม่มีข้อบังคับเรื่องคาร์บอนเครดิต (carbon credit) การประหยัดพลังงาน การปล่อยก๊าซออกสู่สภาพแวดล้อมก็ตาม แต่กรีนไอทีจะเป็นเงื่อนไข 1 ใน 6 เงื่อนไขแรกที่องค์กรจะนำมาใช้พิจารณาการจัดซื้ออย่างแน่นอน เพราะการช่วยประหยัดพื้นที่และประหยัดพลังงาน ซึ่งจะโยงไปสู่การประหยัดเวลา ต้นทุนการปฏิบัติการ และการบำรุงรักษาที่จะช่วยลดต้นทุนการจัดจ้างและอบรมบุคลากรต่อไป
แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคตแนวโน้มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต 3.4 ความปลอดภัยและมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Security and IT Standard) ความปลอดภัยสารสนเทศเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อองค์กร และในอนาคตจำเป็นต้องให้ความสำคัญมากขึ้น ซึ่งระบบรักษาความปลอดภัยต้องมีความฉลาดในการทำงานได้ซับซ้อนมากขึ้นเพื่อให้รองรับกับภัยคุกคามที่มีการพัฒนาตัวเองให้เก่งกว่าเดิมอยู่เวลา ตั้งแต่โครงสร้างพื้นฐาน ระบบเครือข่าย รวมถึงข้อมูลการใช้งานต่างๆ รวมถึงมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT standard) เป็นเครื่องมือที่สร้างความน่าเชื่อถือ ดังนั้นองค์กรจำให้ความสำคัญกับการได้รับรองมาตรฐานสากลต่างๆ มากขึ้น โดยเฉพาะมาตรฐาน ISO ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น ISO/IEC20000 (International Standard for IT Service Management), ISO/IEC 27001:2005 (Information Security Management Systems: ISMS) , ISO/IEC 270003 (Implementation Guidance) ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับการพัฒนาระบบ ISMS นอกจากนี้ยังมีมาตรฐานสากลอื่นๆ อีก เช่น ITIL (Information Technology Infrastructure Library) แนวปฏิบัติในการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ, CoBIT แนวปฏิบัติในการพัฒนาระบบการกำกับดูแลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงธรรมาภิบาลเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Governance) ซึ่งทุกมาตรฐานองค์กรจะให้ความสำคัญมากขึ้นเพื่อสร้างให้เกิดความเชื่อมั่นต่อและการเตรียมความพร้อมองค์กรเพื่อรับการเปิดเสรีทางธุรกิจในประชาคมอาเซียน หรือ AEC 2015 (ASEAN Economic Community 2015) อีกด้วย
แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคตแนวโน้มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต 3.5 สมาร์ทซิตี้ (Smart City)ในอนาคตประเทศไทยจะมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อพัฒนาจังหวัดหรือเมืองในรูปแบบของอัจฉริยะ ซึ่งในปัจจุบันได้มีจังหวัดนครนายกเป็นจังหวัดนำร่อง โดยได้มีการจัดทำโครงการ สมาร์ทโพวินส์(smart province) คือ การนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ทั่วทั้งจังหวัด ตั้งแต่ระดับเมือง อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ซึ่งใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน • ระยะที่ 1 จะเกิดขึ้นในปีแรก โดยเริ่มจากการลงโครงสร้างพื้นฐานด้านเครือข่ายการสื่อสาร และมีการใช้อินเทอร์เน็ตไวไฟ (wifi) ฟรี ซึ่งจะเกิดการใช้งานในองค์รวม • ระยะที่ 2 จะเริ่มขึ้นในปีที่สอง คือ เกิดห้องปฏิบัติการ (management cockpit) ซึ่งจะเป็นศูนย์บัญชาการกลางของจังหวัด และในอนาคตจะขยายไปสู่ศูนย์บัญชาการในระดับอำเภอ และระดับตำบล โดยจะเกิดข้อมูลในองค์รวมทั้งหมด เกิดการวางแผน เกิดเป้าหมายเกิดระบบภูมิสารสนเทศ (GIS) หรือแผนที่อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะช่วยด้านการบริหารจังหวัดในภาพรวม • ระยะที่ 3 ประชาชนจะได้ใช้บริการภาครัฐในรูปแบบของ One Stop Service โดยสามารถใช้บัตรประชาชนเข้าถึงทุกบริการของภาครัฐนอกจากนี้การใช้บริการบางประเภทประชาชนไม่ต้องเดินทางไปสำนักงานแต่สามารถใช้บริการบน Cloud Service ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต • ระยะที่ 4 เป็นการประเมินผลแผนปฏิบัติและโครงการต่างๆ ภายใต้นโยบายสมาร์ทโพวินส์ โดยทำการสรุปภาพรวมของระบบต่างๆ รวมถึงแนวทางการปรับปรุงและพัฒนาระบบสารสนเทศให้ดีขึ้น และนำไปสู่การขยายผลให้กับจังหวัดอื่นๆ
แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคตแนวโน้มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต 4. นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในอีก 5 ปี ข้างหน้า บริษัทไอบีเอ็ม (IBM) ได้นำเสนอ IBM Give in Five 5 นวัตกรรมล้ำยุคที่คาดว่าจะเปลี่ยนแปลงชีวิตของเรา รวมถึงนำเสนอเทคโนโลยีใหม่ๆ ในอีก 5 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2556-2560) ดังนี้ 4.1 การสร้างพลังงานขึ้นเองเพื่อใช้ภายในบ้านคือ การที่ทุกคนสามารถสร้างพลังงานเพื่อใช้ภายในบ้านขึ้นเองได้ การเคลื่อนไหวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเดิน ขี่จักรยาน และสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัว เช่น ความร้อนจากคอมพิวเตอร์จะสามารถสร้างพลังงาน ซึ่งสามารถเก็บรวบรวมและนำพลังงานสะอาดนี้มาใช้งานภายในบ้าน สถานที่ทำงาน และเมืองต่างๆ ตัวอย่างเช่น อุปกรณ์ขนาดเล็กหรือแบตเตอรี่ที่ต่อเข้ากับซี่ล้อจักรยานจะสามารถเก็บรวบรวมพลังงานที่เกิดขึ้นในทุกรอบของการหมุนของแป้นจักรยานและเมื่อกลับถึงบ้านสามารถถอดอุปกรณ์ดังกล่าว และเสียบปลั๊กเพื่อดึงพลังงานนั้นมาใช้สำหรับอุปกรณ์ต่างๆ ตั้งแต่หลอดไฟไปจนถึงเตาไมโครเวฟ และอุปกรณ์ทางด้านเทคโนโลยีทั้งหมด เป็นต้น
แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคตแนวโน้มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต 4.2 มนุษย์จะใช้เสียงพูด ใบหน้าและดวงตาแทนรหัสผ่าน ในอนาคตเราจะไม่ต้องใช้รหัสผ่านอีกต่อไป เพราะข้อมูลทางไบโอเมตริก (biometric) เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับเค้าโครงใบหน้า การสแกนม่านตา และไฟล์เสียงพูด จะถูกประกอบเข้าด้วยกันผ่านทางซอฟต์แวร์ เพื่อสร้างรหัสผ่านออนไลน์ ซึ่งในอนาคตเราเพียงแต่เพียงไปถอนเงินที่ตู้เอทีเอ็มอย่างปลอดภัย เพียงแต่พูดชื่อหรือมองเข้าไปในเซ็นเซอร์ (sensor) ขนาดเล็กที่สามารถรับรู้ความแตกต่างม่านตาของแต่ละคนได้ ก็จะทำธุรกรรมได้อย่าง สะดวกและปลอดภัย 4.3 มนุษย์สามารถใช้สมองสั่งงานแลปทอป(laptop) และโทรศัพท์มือถือได้ในขณะนี้ได้มีนักวิทยาศาสตร์ในสาขาชีวสารสนเทศ หรือไบโออินฟอร์เมติกส์(Bioinformatics) กำลังทำการค้นคว้าวิธีการเชื่อมโยงสมองของคนเข้ากับอุปกรณ์ต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ หรือสมาร์ทโฟน รวมถึงการออกแบบชุดหูฟังที่มีเซ็นเซอร์พิเศษสำหรับอ่านคลื่นไฟฟ้าสมอง รวมถึงสีหน้า ระดับความตื่นเต้น การมีสมาธิจดจ่อและความคิดของบุคคล โดยที่ไม่จำเป็นต้องขยับร่างกาย ภายใน 5 ปีข้างหน้ามีการพยากรณ์ว่ายอดจำหน่ายอุปกรณ์พกพาจะอยู่ที่ 5,600 ล้านเครื่อง ดังนั้นระบบโมบายจะก่อให้เกิดโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัย พร้อมบริการมากมายบนโทรศัพท์มือถือซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการครอบคลุมถึงเรื่องการทำธุรกรรมของธนาคาร การแพทย์ และการศึกษา
แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคตแนวโน้มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต 4.4 ทุกคนสามารถเข้าข้อมูลต่างๆ ได้ทุกทีทุกเวลาด้วยเทคโนโลยีโมบายในช่วง 5 ปีต่อจากนี้ ช่องว่างระหว่างผู้ที่มีข้อมูลและผู้ที่ไม่มีข้อมูลจะลดน้อยลงเป็นอย่างมาก เนื่องจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีโมบาย ซึ่งในประเทศอินเดีย บริษัทไอบีเอ็มใช้เทคโนโลยีเสียงพูดและอุปกรณ์พกพาเพื่อช่วยให้ชาวชนบทที่ไม่รู้หนังสือสามารถถ่ายทอดข้อมูลผ่านทางข้อความที่บันทึกไว้ในโทรศัพท์ และการเข้าถึงข้อมูลได้อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ซึ่งทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนชาวอินเดียดีขึ้น ทำให้สามารถตรวจสอบรายงานสภาพอากาศ รู้ว่าจะมีแพทย์เดินทางเข้ามารักษาเมื่อไร และยังสามารถตรวจสอบระดับราคารับซื้อสินค้าและพืชผลทางการเกษตรได้อีกด้วย สำหรับชุมชนที่ขยายใหญ่ขึ้นจะสามารถใช้เทคโนโลยีโมบายเพื่อรองรับการเข้าถึงข้อมูลสำคัญ และปรับปรุงการให้บริการแก่ประชาชน โดยอาศัยโซลูชั่น (solution) และรูปแบบธุรกิจใหม่ๆ เช่น โมบายคอมเมริร์ซ (mobile commerce) และบริการทางการแพทย์ระยะไกล
แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคตแนวโน้มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต 4.5 คอมพิวเตอร์จะคัดกรองข้อมูลสำคัญให้สอดคล้องกับความต้องการและพฤติกรรมของผู้ใช้ ในอีก 5 ปีข้างหน้าจะการใช้เทคโนโลยีระบบวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์ (real time) เพื่อกลั่นกรองและผนวกข้อมูลจากทุกแง่มุมของชีวิต ตั้งแต่ข่าวสาร ไปจนถึงกีฬา การเมือง หรือแม้แต่กระทั่งเทคโนโลยีที่ผู้ใช้ชื่นชอบ และจะตัดโฆษณาที่ผู้รับข้อมูลไม่พึงประสงค์ออกไป พร้อมกับนำเสนอและแนะนำข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภคอย่างแท้จริง สรุป ทั้งหมดเป็นนวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ ดังนั้นนักศึกษาจำเป็นที่จะต้องทราบและศึกษาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีอยู่เสมอเพื่อให้สามารถปรับใช้กับการดำเนินชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
เทคโนโลยีสารสนเทศกับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในอนาคตเทคโนโลยีสารสนเทศกับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในอนาคต • เทคโนโลยีสารสนเทศกับความรับผิดชอบต่อสังคม 1.1 ความรับผิดชอบต่อสังคมระดับบุคคล ประกอบด้วย 3 สิ่งได้แก่ การเป็นผู้รับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้น การปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และการตัดสินใจที่วางใจได้ ซึ่งจะเป็นพฤติกรรมที่บุคคลแสดงออก ทั้งนี้ความรับผิดชอบต่อสังคมด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แก่ 1.1.1 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีจริยธรรม และถูกต้องตามกฎหมายที่ได้กำหนด 1.1.2 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างสร้างสรรค์ และเป็นมิตรที่ดีกับคนอื่น 1.1.3 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อก่อให้เกิดความรักสามัคคีในหมู่คณะ 1.1.4 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสร้างกิจกรรมทางสังคมที่เป็นประโยชน์ เช่น การช่วยเหลือผู้ประสบภัย การบริจาค หรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับข้องจิตอาสา 1.1.5 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รักษาสิ่งแวดล้อม และคำนึงถึงการประหยัดพลังงาน
เทคโนโลยีสารสนเทศกับความรับผิดชอบต่อสังคและสิ่งแวดล้อมในอนาคตเทคโนโลยีสารสนเทศกับความรับผิดชอบต่อสังคและสิ่งแวดล้อมในอนาคต 1.2 ความรับผิดชอบต่อสังคมระดับองค์กร (Corporate Social Responsibility: CSR) หมายถึงการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการใส่ใจดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชนและสังคม ภายใต้หลักจริยธรรม การกำกับดูแลที่ดี (good governance) เพื่อนำไปสู่การดำเนินธุรกิจที่ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมนั้น องค์กรจะต้องตอบสนองต่อประเด็นด้านสังคม และสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งที่การให้ประโยชน์กับคน ชุมชน และสังคมนอกจากนั้นยังต้องคำนึงถึงบทบาทขององค์กรภาคธุรกิจที่ต้องปฏิบัติอย่างสอดคล้องกับความคาดหวังของสังคมโดยจะต้องทำด้วยความสมัครใจ และบุคลากรทุกคนในองค์กรจะต้องมีบทบาทเกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่างๆ ที่ตอบแทนในสิ่งที่ดีงามสู่สังคมอย่างจริงจัง
เทคโนโลยีสารสนเทศกับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในอนาคตเทคโนโลยีสารสนเทศกับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในอนาคต 2. เทคโนโลยีสารสนเทศกับสิ่งแวดล้อม 2.1 เป้าหมายของกรีนไอที 2.1.1 การออกแบบจากแหล่งกำเนิดไปยังแหล่งกำเนิดการใช้งานของสิ่งต่างๆ ก็จะเป็นวัฎจักรของผลิตภัณฑ์ โดยการสร้างผลิตภัณฑ์ให้สามารถนำกลับมาใช้งานใหม่ได้ (recycle) 2.1.2 การลดข้อมูล เป็นการลดทิ้งและมลพิษ โดยการเปลี่ยนรูปแบบของการนำไปสร้างผลิตภัณฑ์และการบริโภค 2.1.3 พัฒนาสิ่งใหม่ๆ เป็นการพัฒนาเพื่อเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นการนำซากสัตว์มาเป็นเชื้อเพลิงหรือทางเคมี แต่ก็อาจทำให้สุขภาพและสภาพแวดล้อมเสียหายได้ 2.1.4 ความสามารถในการดำรงชีวิต สร้างศูนย์กลางทางด้านเศรษฐศาสตร์ให้เหมาะสมกับเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม ความเร็วในการพัฒนาและสร้างอาชีพใหม่เพื่อปกป้องโลก 2.1.5 พลังงาน ต้องรับรู้ข่าวสารทางด้านเทคโนโลยีสีเขียวรวมไปถึงการพัฒนาของเชื้อเพลิง ความหมายใหม่ของการกำเนิดพลังงาน และผลของพลังงาน 2.1.6 สภาพสิ่งแวดล้อม นำไปสู่การค้นหาสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อค้นหาสิ่งที่บรรลุและวิธีที่ทำให้เกิดการกระทบกับสภาพแวดล้อมน้อยที่สุด
เทคโนโลยีสารสนเทศกับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในอนาคตเทคโนโลยีสารสนเทศกับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในอนาคต 2.2 ตัวอย่างของกรีนไอที ตัวอย่างของกรีนไอทีได้ถูกนำมาใช้ในอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ในอนาคตจะต้องถูกออกแบบมาเพื่อให้คำนึงสิ่งแวดล้อมซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ 2.2.1 กรีนคอมพิวเตอร์(green computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรอื่นๆ ประกอบไปด้วยพลังงานหน่วยประมวลผลศูนย์กลางที่มีประสิทธิภาพ (ซีพียู) เครื่องเซิร์ฟเวอร์ และอุปกรณ์เสริมเพื่อลดการทำงานของทรัพยากรและการจัดการเรื่องการสิ้นเปลืองของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Waste) ซึ่งมีแนวโน้มการลดพลังงาน ดังนี้ 1) ให้ซีพียูและอุปกรณ์เสริมต่างๆ ที่ไม่ได้ใช้งาน ลดการใช้พลังงานลง 2) ลดพลังงานและการจ่ายไปให้แก่อุปกรณ์เสริมที่ไม่ได้ใช้งานนาน เช่น เครื่องพิมพ์เลเซอร์ 3) ให้หันมาใช้จอภาพหรือมอนิเตอร์ในแบบ Liquid-Crystal-Display (LCD) แทนการใช้มอนิเตอร์ Cathode-Ray-Tube (CRT)
เทคโนโลยีสารสนเทศกับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในอนาคตเทคโนโลยีสารสนเทศกับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในอนาคต 4) ถ้าเป็นไปได้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กมากกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เดสก์ทอป เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์เดสก์ทอปจะกินไฟและใช้พลังงานมากกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก 5) ใช้ฟีเจอร์ Power-Management ให้ปิดการทำงานของฮาร์ดดิสก์ และหน้าจอมอนิเตอร์หากไม่ได้มีการใช้งานติดต่อกันนานๆ หลายนาที 6) ใช้กระดาษให้น้อยที่สุด และถ้าเป็นไปได้ก็ให้นำกระดาษกลับมาใช้งานหมุนเวียนอีก 7) ลดการใช้พลังงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์เวิร์กสเตชัน เซิร์ฟเวอร์ เน็ตเวิร์กและข้อมูลส่วนกลาง
เทคโนโลยีสารสนเทศกับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในอนาคตเทคโนโลยีสารสนเทศกับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในอนาคต 2.2.2กรีนดาต้าเซ็นเตอร์(green data center) กรีนดาต้าเซ็นเตอร์ หรือ ศูนย์ข้อมูลกลางสีเขียว คือ การใช้งานทางด้านการจัดเก็บข้อมูล การจัดการทางด้านข้อมูลและการแพร่กระจายของข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในเครื่องจักร อุปกรณ์ไฟฟ้าและระบบคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบมาเพื่อให้พลังงานสูงสุดแต่มีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมน้อยสุด ทั้งการออกแบบการคำนวณจะเน้นศูนย์ข้อมูลกลางสีเขียวรวมถึงเทคโนโลยี ขั้นสูงและด้วยกลยุทธ์การออกแบบที่ใช้อุปกรณ์ที่แผ่กระจายแสงได้น้อยๆ อย่างการปูพรม การออกแบบที่สนับสนุนสภาพแวดล้อม และลดการสิ้นเปลืองโดยการนำกลับมาใช้งานอีก เป็นต้น
เทคโนโลยีสารสนเทศกับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในอนาคตเทคโนโลยีสารสนเทศกับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในอนาคต 3. สภาพแวดล้อมที่ได้รับผลกระทบจากการใช้งานระบบไอที เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานอยู่นี้ก่อให้เกิดปัญหาต่อสภาพแวดล้อม แต่พอเครื่องคอมพิวเตอร์หมดอายุการใช้งานกลายเป็น “ขยะคอมพิวเตอร์” หรือ “ขยะอิเล็กทรอนิกส์” ซึ่งอุปกรณ์บางอย่างก็ไม่สามารถย่อยสลายได้ ก่อมลพิษทางด้านอากาศ สิ่งแวดล้อมให้แก่โลกอีกด้วย ส่วนประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น ก็มีทั้งที่ประกอบไปด้วย พลาสติก อะลูมิเนียม สังกะสี และอื่นๆ ปัจจุบันมีผู้ใช้งานได้คิดประดิษฐ์นำเอาไม้ไผ่เข้ามาเป็นส่วนประกอบกับอุปกรณ์เครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น คีย์บอร์ด หน้าจอมอนิเตอร์ เมาส์ หรือเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก เพื่อลดปัญหาการย่อยสลายของขยะอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเราจะต้องช่วยกันใช้เทคโนโลยีเพื่อเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และภาวะโลกร้อนที่กำลังทำลายสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเราก่อให้เกิดปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติตามมา ซึ่งในอนาคตเราจะต้องคำนึงถึงการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ (energy efficiency) ซึ่งการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อประมวลผลข้อมูลจะต้องคำนึงถึงการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ หรือร่องรอยคาร์บอน (carbon footprint) จะเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากในอนาคต เมื่อความต้องการด้านพลังงานสูงขึ้น และประเทศต่างๆ เริ่มบังคับใช้ภาษีคาร์บอนโดยฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กรจะต้องเข้ามามีส่วนในการรับภาระด้านพลังงานนี้ด้วย
การปฏิรูปการทำงานกับการใช้ข่าวสารบนฐานเทคโนโลยีในอนาคตการปฏิรูปการทำงานกับการใช้ข่าวสารบนฐานเทคโนโลยีในอนาคต • การปฏิรูปการทำงานกับการใช้ข่าวสารบนฐานเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต 1.1 การปฏิรูปรูปแบบการทำงานขององค์กร เทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดการปฏิรูปรูปแบบของการทำงาน เช่น การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสื่อสารกันในองค์กรด้วย อีเมล์ กรุ๊ปแวร์(groupware) หรือแม้แต่กระทั่งเครือข่ายสังคมออนไลน์ อย่างเฟซบุค ที่ทำให้การส่งข้อมูลข่าวสารของพนักงานไม่จำเป็นต้องเดินหนังสืออีกต่อไป ลดการใช้กระดาษที่ต้องพิมพ์ข่าวสารแจก และสามารถส่งข้อมูลข่าวสารเป็นจำนวนมากไปถึงบุคคลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้รูปแบบการทำงานแบบ “เวอร์ช่วลออฟฟิศ” (virtual office) คือ สามารถทำงานได้ ไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่ไหน เวลาใดก็ตาม ด้วยอุปกรณ์สื่อสารประเภทใดก็ได้ที่สะดวกในการใช้ติดต่อสื่อสาร (anywhere anytime any device) โดยแนวโน้มการทำงานจะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่ต้องมีพื้นที่ในสำนักงานให้พนักงานเข้าไปนั่งประจำที่เพื่อทำงาน (Work place) มาเป็นการทำงานจากที่ใดก็ได้ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ใดในออฟฟิศ หรือเป็นที่อื่นภายนอกออฟฟิศ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐที่สนับสนุนให้หน่วยงาน ข้าราชการทำงานที่บ้าน เพื่อลดการใช้พลังงาน ทำให้หลายองค์กรตระหนักถึงแนวคิด และวิธีการทำงานที่ให้พนักงานทำงานจากที่บ้านผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือทีเรียกว่า เวอร์ช่วลออฟฟิศ ให้ได้ประสิทธิภาพเทียบเท่าหรือมากกว่าการเข้ามาทำงานในสำนักงาน
การปฏิรูปการทำงานกับการใช้ข่าวสารบนฐานเทคโนโลยีในอนาคตการปฏิรูปการทำงานกับการใช้ข่าวสารบนฐานเทคโนโลยีในอนาคต 1.2 มีการจัดการเชิงกลยุทธ์ เทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาใช้ในการสนับสนุนการจัดการเชิงกลยุทธ์ขององค์กรเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ซึ่งในอนาคตการแข่งขันแต่ละอุตสาหกรรมจะทวีความรุนแรงทั้งภายในประเทศและนอกประเทศ ซึ่งมีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจเป็นอย่างยิ่ง องค์กรจะต้องปรับตัวและอยู่รอด (survival) รวมถึงการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการแข่งขันที่มุ่งเน้นกันที่ความรวดเร็ว ความแม่นยำ และทันต่อเหตุการณ์ เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน นอกจากนี้คู่แข่งขันมีมากขึ้นไม่จำกัดเฉพาะในประเทศเท่านั้น แต่คู่แข่งจากต่างชาติมีศักยภาพสูงทั้งทางด้านการเงินและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ได้เข้ามาท้าทายในเกือบทุกอุตสาหกรรม ดังนั้นการบริหารจัดการองค์กรจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนรูปแบบ เพราะรูปแบบการบริหารแบบเดิมที่มุ่งเน้นให้ความสนใจเฉพาะการบริหารงานภายในองค์กร โดยมองข้ามไม่สนใจต่อสภาพแวดล้อมภายนอกที่เปลี่ยนไป อาจจะทำให้เกิดอุปสรรคต่อการดำเนินงานและล้มเหลวในที่สุด ดังนั้นผู้บริหารในยุคโลกภิวัฒน์จึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับบริบทของสิ่งแวดล้อมที่การเปลี่ยนแปลงบูรณาการเข้ากับการจัดการเชิงกลยุทธ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ (Strategic Information Systems: SIS) ซึ่งเป็นอาวุธที่สำคัญในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับองค์กร
การปฏิรูปการทำงานกับการใช้ข่าวสารบนฐานเทคโนโลยีในอนาคตการปฏิรูปการทำงานกับการใช้ข่าวสารบนฐานเทคโนโลยีในอนาคต 1.3 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการทำงาน เพื่อให้การทำงานคล่องตัวและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น การใช้ระบบสารสนเทศต่างๆ ในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นระบบประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลงข้อมูล (Transaction Processing Systems :TPS) เป็นระบบสารสนเทศพื้นฐานขององค์กรทางธุรกิจที่ใช้สนับสนุนการทำงานของผู้ปฏิบัติการ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems: MIS) ที่ให้บริการให้ผู้บริหารเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการของผู้บริหาร และระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems: DSS) สนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารเป็นต้น จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีสารจะช่วยเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงคุณภาพของการที่จำนะมาประยุกต์ใช้หลายๆ ด้าน ซึ่งจะเป็นเครื่องมือช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพและลดค่าใช้จ่าย ซึ่งแน่นอนว่าเทคโนโลยีสารสนเทศยังคงเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการทำงานและเพิ่มความสำคัญมากขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต
การปฏิรูปการทำงานกับการใช้ข่าวสารบนฐานเทคโนโลยีในอนาคตการปฏิรูปการทำงานกับการใช้ข่าวสารบนฐานเทคโนโลยีในอนาคต 1.4) การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสร้างคุณค่าให้กับองค์กรในอนาคตเทคโนโลยีสารสนเทศจะถูกนำมาใช้เพื่อสร้างคุณค่า (value) ให้กับองค์กร เช่น ใช้ในการสนับสนุนการทำงานเป็นทีมด้วยการสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่เปิดโอกาสให้พนักงานสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และความรู้แก่กันและกัน เพื่อพัฒนาสินค้าและบริการที่ตอบสนองความพึงพอใจแก่ลูกค้าให้มากที่สุด เป็นต้น
การปฏิรูปการทำงานกับการใช้ข่าวสารบนฐานเทคโนโลยีในอนาคตการปฏิรูปการทำงานกับการใช้ข่าวสารบนฐานเทคโนโลยีในอนาคต 2. การปรับตัวขององค์กรเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้นว่าปัจจุบันความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศได้มีบทบาท ที่สำคัญต่อวิถีชีวิตและสังคมของมนุษย์ เทคโนโลยีสารสนเทศได้สร้างการเปลี่ยนแปลงและสร้างโอกาสให้แก่องค์กร เช่น เปลี่ยนโครงสร้างความสัมพันธ์และการแข่งขันในอุตสาหกรรม ปรับโครงสร้างการดำเนินงานขององค์กรเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและบริการ เป็นต้น เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดรูปแบบใหม่ใน การติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ทำให้มีการพัฒนาและกระจายตัวของภูมิปัญญา ซึ่งต้องอาศัยบุคคลที่มีความรู้และความเข้าใจในการใช้งานเทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ ปัจจุบันองค์กรในประเทศไทยได้มีการตื่นตัวที่จะนำเทคโนโลยีเหล่านี้มา ใช้งานมากขึ้น เพื่อที่จะทำให้เราติดตามความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยีได้ทัน และสามารถใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ในการแข่งขัน
การปฏิรูปการทำงานกับการใช้ข่าวสารบนฐานเทคโนโลยีในอนาคตการปฏิรูปการทำงานกับการใช้ข่าวสารบนฐานเทคโนโลยีในอนาคต 2.1 ทำความเข้าใจต่อบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อธุรกิจปัจจุบันเพื่อให้สามารถนำความรู้ต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้กับงานที่กำลังทำอยู่ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและศักยภาพในการแข่งขันขององค์การ เช่น การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์มาช่วยในการสร้างระบบลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relationship Management: CRM) เพื่อเป็นการรักษาลูกค้าและสร้างความจงรักภักดีขอลูกค้าให้มีต่อสินค้าและบริการขององค์กร เป็นต้น 2.2 วางแผนพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อให้การดำเนินการสร้างหรือพัฒนาระบบสารสนเทศเป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์กรภายใต้งบประมาณและระยะเวลาที่กำหนดไว้ การวางแผนถือเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะระบบสารสนเทศจะประกอบด้วยระบบย่อยอื่น ๆ อีกมาก ซึ่งจะต้องสัมพันธ์กันและใช้เวลาในการพัฒนาให้สมบูรณ์ และจำเป็นจะต้องมีการจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Infrastructure) ที่จำเป็น เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟแวร์ ระบบเครือข่าย ให้มีพร้อมรองรับการใช้การ
การปฏิรูปการทำงานกับการใช้ข่าวสารบนฐานเทคโนโลยีในอนาคตการปฏิรูปการทำงานกับการใช้ข่าวสารบนฐานเทคโนโลยีในอนาคต 2.3 พัฒนาระบบสารสนเทศเกี่ยวข้องกับการจัดการข้อมูลหรือความรู้ขององค์กรนักวิเคราะห์ระบบและผู้ใช้จะศึกษาหรือพิจารณาถึงข้อมูลและข่าวสารต่าง ๆ ที่องค์กรต้องการและใช้ในการดำเนินงานอยู่เป็นประจำ เพื่อที่จะทำการรวบรวม และจัดระเบียบเก็บไว้ในระบบสารสนเทศ และเมื่อมีความต้องการข้อมูล ก็สามารถเรียกออกมาใช้ได้ทันที โดยการพัฒนาระบบต้องให้ความสำคัญกับภาพรวมและความสอดคล้อง ในการใช้งานสารสนเทศขององค์กรเป็นสำคัญ ทั้งนี้บางองค์กรจำเป็นต้องพัฒนาระบบองค์ความรู้ (Knowledge Based Systems: KBS) เพื่อจัดเก็บองค์ความรู้ขององค์กรสามารถใช้เป็นฐานในการพัฒนาและสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ได้ 2.4 พัฒนาศักยภาพของบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้มีความพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี โดยอาจจะมีการต้องมีการจัดการฝึกอบรมการใช้ระบบสารสนเทศหรือเทคโนโลยีใหม่ๆให้กับบุคลากรขององค์กร เพื่อให้สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กรได้อย่างคุ้มค่า และเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน
การปฏิบัติตนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทศการปฏิบัติตนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทศ 1. แนวคิดสำคัญในศตวรรษที่ 21 แนวคิดสำคัญในศตวรรษที่ 21 ที่นักศึกษาจำเป็นจะต้องทราบและมีความรู้พื้นฐานเหล่านี้เป็นพื้นฐานเพื่อให้สามารถประกอบอาชีพได้อย่างมี “สัมมาชีพ” เป็นพลเมืองที่ดีของสังคมและมีความสุขในชีวิต คือ 1.1 จิตสำนึกต่อโลก คือ ความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อมและโลกใบนี้ โดยจะต้องมีความรู้และมีแนวคิดในการดำรงชีวิตที่ถูกต้อง มีจิตสำนึกต่อโลก มีคุณธรรมจริยธรรม มีจิตอาสา รักษาสิ่งแวดล้อม เป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม รวมถึงความสามารถที่จะต้องเรียนรู้และทำงานรวมกับคนจากวัฒนธรรมที่หลากหลาย และสามารถสื่อสารด้วยภาษาต่างประเทศได้ 1.2 ความรู้พื้นฐานด้านการเงิน เศรษฐกิจ ธุรกิจ และการเป็นผู้ประกอบการ คือ ทักษะใหม่ที่จำเป็น เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากทางด้านเศรษฐกิจ เช่น จะต้องมีการวางแผนการออมและการลงทุนหลังเกษียณ ของตนเอง วิกฤตการณ์ที่เพิ่งขึ้นในภาคธนาคาร ธุรกิจสินเชื่อและการจำนอง รวมถึงภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่มีผลกระทบในหลายๆ ประเทศ เป็นการตอกย้ำความสำคัญของความรู้ความเข้าใจว่าพลังทางเศรษฐกิจมีผลต่อชีวิตของผู้คนมากมายเพียงใด การตัดสินผิดพลาดทางด้านการเงินอาจจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตได้ ซึ่งในการทำงานนั้นจะต้องเรียนรู้ว่าจะปรับตัวและทำประโยชน์ให้กับองค์กรได้อย่างไร และต้องรู้จักนำวิธีคิดแบบผู้ประกอบการมาใช้ในชีวิตเมื่อตระหนักถึงโอกาส ความเสี่ยง และรางวัลแล้ว จะสามารถเพิ่มผลงาน เพิ่มทางเลือกในอาชีพ และจัดการกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างสุขุม
การปฏิบัติตนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทศการปฏิบัติตนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทศ 1. แนวคิดสำคัญในศตวรรษที่ 21 1.3 ความรู้พื้นฐานด้านพลเมือง คือ ความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย สิทธิและหน้าที่ของการเป็นพลเมืองที่ดี เพื่อที่จะได้ปฏิบัติตามสิทธิและหน้าที่ของตนเอง ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่นและไม่ขัดต่อกฎหมายบ้านเมือง 1.4 ความรู้พื้นฐานด้านสุขภาพ คือ ความรู้เกี่ยวกับสุขอนามัยเพื่อจะได้มีสุขภาพที่แข็งแรง ทำให้ดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างปกติสุข ซึ่งควรมีความรู้เกี่ยวกับ การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การมีอารมณ์ที่แจ่มใสเบิกบาน และการพักผ่อนนอนหลับ เป็นต้น 1.5 ความรู้พื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อม คือ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ลักษณะภูมิอากาศ ภูมิประเทศ ภาวะโลกร้อน ภัยพิบัติทางธรรมชาติ และการรักษาสิ่งแวดล้อม
การปฏิบัติตนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทศการปฏิบัติตนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทศ 2. ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมเป็นพื้นฐานที่มีความจำเป็นในการทำงานในอนาคต ซึ่งประกอบด้วย 2.1 ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม คือ การคิดนอกรอบ มีการใช้จินตนาการสร้างสรรค์นวัตกรรมขึ้นมา ตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจน คือ สตีฟจ็อบส์(Steve Jobs) ผู้ที่เป็น “ตำนาน” ของการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนานวัตกรรมของ Apple 2.2 การคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ไขปัญหา คือ ความสามารถในการคิดเชิงวิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์ และสามารถคิดแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งในอนาคตนักศึกษาจำเป็นที่จะต้องมีทักษะการคิด หรือลักษณะจิต 5 ประการ ดังนี้ 1) จิตเชี่ยวชาญ (discipline mind) 2) จิตสังเคราะห์ (synthesizing mind) 3) จิตสร้างสรรค์ (creative mind) 4) จิตเคารพ (respect mind) และ5) จิตรู้จริยธรรม (ethical mind) ซึ่งทั้ง 5 ลักษณะจิตจำเป็นต้องรับการฝึกฝนและขัดเกลาอย่างต่อเนื่อง 2.3 การสื่อสารและการร่วมมือทำงาน คือ ทักษะในการสื่อสาร ฟัง พูด อ่าน เขียน และการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การปฏิบัติตนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทศการปฏิบัติตนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทศ 3. ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยีนั้น เป็นทักษะและความรู้ที่นักศึกษาจำเป็นที่จะต้องฝึกฝนและเรียนรู้ เพื่อให้มีสามารถปฏิบัติตนเพื่อรองรับต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีในกระแสโลกาภิวัฒน์ ซึ่งจำเป็นต้องมี 3.1 ความรู้พื้นฐานด้านสารสนเทศ คือ สามารถพัฒนา จัดเก็บ สืบค้น และแพร่กระจายสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการทำงานและดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3.2 ความรู้พื้นฐานด้านสื่อ มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการใช้สื่อ ซึ่งมีอยู่มากมายในโลกปัจจุบัน และจะเพิ่มมากขึ้นในโลกอนาคต ต้องรู้เท่าทันสื่อ และใช้สื่อเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงานได้ 3.3 ความรู้พื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นทักษะที่สำคัญ ที่นักศึกษาจะต้องมีความสามารถในการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ระบบการสื่อสาร อย่างถูกต้อง และอย่างชาญฉลาด
การปฏิบัติตนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทศการปฏิบัติตนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทศ 4. ทักษะชีวิตและการทำงาน เป็นทักษะใหม่ที่ความสำคัญในการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข ซึ่งประกอบด้วย 4.1 ความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัว 4.2 ความริเริ่มและการชี้นำตนเอง เป็นสิ่งที่มีความสำคัญเนื่องจากเป็นทักษะที่ต้องพัฒนาให้ตัวเราสามารถดำเนินชีวิตไปในทางที่ถูกต้อง 4.3 ทักษะทางสังคมและการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม เนื่องจากในอนาคตการทำงานมิได้อยู่เพียงแต่ภายในประเทศเท่านั้น แต่การทำงานในอนาคตจะเปิดกว้างมากทั้งในระดับภูมิภาคอาเซียนและระดับโลก ดังนั้นนักศึกษาจำเป็นที่จะต้องมีการฝึกฝนทักษะทางสังคม และการเรียนรู้และทำงานข้ามวัฒนธรรมของต่างประเทศได้ 4.4 การเพิ่มผลผลิตและความรู้รับผิด คือ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มผลผลิตให้กับองค์กร รวมถึงการรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้ทำขึ้น 4.5 ความเป็นผู้นำและความรับผิดชอบ ประการสุดท้ายคือ จะต้องฝึกความเป็นผู้นำและมีความรับชอบต่อหน้าที่ของตนเองที่ได้รับมอบหมาย และความรับผิดชอบต่อสังคม