1 / 36

การเงิน การธนาคาร และนโยบายการเงิน

การเงิน การธนาคาร และนโยบายการเงิน. Finance and Banking Financial Policy. การแลกเปลี่ยน ( Exchange ). ในสมัยก่อนการแลกเปลี่ยนทำในลักษณะของการแลกสินค้าต่อสินค้า เช่น ผัก 3 กระบุง กับไก่ 1 ตัว หรือ ไก่ 10 ตัว แลกหมู 1 ตัว หรือ แร่ X 1 กก. กับ แร่ Y 2 กก.

albert
Download Presentation

การเงิน การธนาคาร และนโยบายการเงิน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การเงิน การธนาคาร และนโยบายการเงิน Finance and Banking Financial Policy

  2. การแลกเปลี่ยน ( Exchange ) • ในสมัยก่อนการแลกเปลี่ยนทำในลักษณะของการแลกสินค้าต่อสินค้า เช่น ผัก 3 กระบุง กับไก่ 1 ตัว หรือ ไก่ 10 ตัว แลกหมู 1 ตัว หรือ แร่ X 1 กก. กับ แร่ Y 2 กก. • ปัญหาที่เกิดคือ หน่วยในการแลกสินค้าและบริการ เช่น ไก่ 1 ตัว จะแลก แร่ X ได้เท่าไร หรือ หมู 3 ตัวแลกผักได้กี่กระบุง เป็นต้น • นอกจากนี้อัตราส่วนที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนก็จะมีเท่ากับ Cn , 2 • ปัญหาที่ตามมาอีกคือ ความต้องการไม่ตรงกัน คือ คนที่มีแร่ X อาจไม่ต้องการหมู หรือคนที่มีหมูอาจไม่ต้องการแลกกับผัก • จากเหตุผลนี้จึงเกิด ตลาด และ เงิน เพื่อเป็นสถานที่แลกเปลี่ยนและเป็นสื่อกลาง

  3. การใช้เงินแลกเปลี่ยนทำให้อัตราแลกเปลี่ยนมีค่าน้อยลง เหลือเท่ากับ n คือทุกสินค้าเทียบกับหน่วยเงิน เช่น ผัก 1 กระบุง เท่ากับ เงิน 4 หน่วย หรือ ไก่ 1 ตัว เท่ากับเงิน 12 หน่วย และหมู 1 ตัว เท่ากับเงิน 120 หน่วย เป็นต้น เงิน ( Money ) คือ สิ่งใดไก็ได้ อาจเป็นก้อนหิน แร่ธาตุ ที่สังคมยอมรับโดยทั่วไปขณะใดขณะหนึ่งในแต่ละเขตหรือพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ โดยใช้ชำระค่าสินค้าและบริการทั้งยังใช้เพื่อการชำระหนี้ในอนาคต

  4. ประเภทของเงิน • เงินที่เป็นสิ่งของหรือสินค้า ( Commodity Money ) เช่น ขนสัตว์ หนังสัตว์ ใบชา ยาสูบ • เงินเหรียญที่มีค่าโดยตัวมันเองแบบเต็มตัว ( Full Bodied Coins ) เช่น แร่เงิน ทอง • เงินเหรียญที่มีค่าแบบไม่เต็มตัว ( Token Money ) เช่น โลหะที่มีมูลค่าเท่ากับ 1 บาท แต่เนื้อโลหะนั้นมีต้นทุนไม่ถึง 1 บาท • เงินกระดาษ ( Paper Money ) • เงินฝากกระแสรายวัน ( Demanded Deposit )

  5. คุณสมบัติที่พึงประสงค์ของเงิน ( กายภาพ ) • ต้องมีความคงทนถาวร เพื่อรองรับกับการเปลี่ยนมือ • แบ่งแยกเป็นหน่วยย่อยๆได้ • สามารถพกพาได้สะดวก ไม่เป็นที่สะดุดตา • สามารถระบุค่าอย่างชัดเจน ปัจจุบัน เหรียญ ออกโดย กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ธนบัตร ออกโดย ธนาคารแห่งประเทศไทย เงินฝากกระแสรายวัน โดย ธนาคารพาณิชย์

  6. หน้าที่ของเงิน • เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ( Medium of Exchange ) • เป็นมาตรฐานในการวัดค่า ( Standard of Value ) • เป็นมาตรฐานในการชำระหนี้ภายหน้า ( Standard of Deferred Payment ) • เป็นเครื่องเก็บรักษามูลค่า ( Store of Value )

  7. ปริมาณเงิน ( Money Supply ) • ปริมาณเงิน คือ จำนวนเงินที่คิดเป็นมูลค่า ที่อยู่ในระบบเศรษฐกิจ สามารถแบ่งความหมายได้ในหลายระดับ โดยนิยามดังนี้ • ปริมาณเงินตามความหมายแคบ ( M1 ) หมายถึงปริมาณของทรัพย์สินทางการเงินที่ใช้ในการแลกเปลี่ยน คือ ธนบัตร เหรียญในมือประชาชน ( ไม่รวมธนาคารพาณิชย์ ) และเงินฝากรายวัน ( เงินฝากเผื่อเรียก ) ของภาคเอกชน ( ไม่รวมที่เงินที่อยู่ในมือของธนาคารกลางและกระทรวงการคลัง )

  8. ปริมาณเงินตามความหมายกว้าง ( M2 ) หมายถึง ปริมาณเงินตามความหมายแคบ ( M1 ) และสินทรัพย์ทางการเงินที่ให้ผลตอบแทนเป็นเงินโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย นั่นคือ เงินฝากประจำและเงินฝากออมทรัพย์ของภาคเอกชน ( รวมรัฐวิสาหกิจ )ที่ฝากไว้ที่ธนาคารพาณิชย์ ที่นับรวมเพราะเบิกมาใช้เมื่อไรก็ได้ • ปริมาณเงินตามความหมายกว้างมาก ( M3 ) หมายถึง ปริมาณเงินตามความหมายกว้าง ( M2 ) รวมกับตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทเงินทุนที่ถือโดยภาคเอกชน • เงินฝากออมทรัพย์ เงินฝากประจำ ตั๋วสัญญาใช้เงิน ต่างกันอย่างไร ???

  9. Money Supply • M1 = Money / Coins + Demanded Deposit • M2 = M1 + Fixed Deposit + Saving Deposit • M2a = M2 + P/N Note • M3 = Money / Coins + Demanded Deposit + Fixed Deposit + Saving Deposit + P/N Note

  10. เงินฝากออมทรัพย์ เงินฝากประจำ ตั๋วสัญญาใช้เงิน ต่างกันอย่างไร ??? ถ้าผู้กู้และผู้ให้กู้สามารถตกลงกันได้ ในเรื่องปริมาณเงินที่ให้กู้ ระยะเวลา ดอกเบี้ย ก็ไม่มีปัญหา แต่บางครั้ง ก็เกิดปัญหาเพราะความต้องการไม่ตรงกัน จึงเกิดระบบธนาคาร

  11. Bank เงินฝาก เงินฝาก เงินกู้ เงินกู้ สมุดเงินฝาก P/N Note สัญญา สัญญา บริษัทเงินทุน

  12. ตลาดการเงิน ( Financial Market ) • ตลาดการเงิน คือ ตลาดที่อำนวยความสะดวกในการโอนเงินจากหน่วยเศรษฐกิจที่มีเงินออมไปยังหน่วยเศรษฐกิจที่ต้องการเงินออมเพื่อไปลงทุนในอนาคต • ตลาดเงิน คือ ตลาดที่มีการระดมทุนและการให้สินเชื่อระยะสั้นที่ไม่เกิน 1 ปี • ตลาดทุน คือ ตลาดที่มีการระดมเงินออมระยะยาวและให้สินเชื่อระยะยาวตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป

  13. ตลาดเงิน ( Money Market ) • สามารถแบ่งเป็นตลาดเงินในระบบ ( เช่น ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ ธนาคารกลาง ) และตลาดเงินนอกระบบ ( เช่น การกู้ยืมโดยไม่มีกฎหมายรับรอง ) • กิจกรรมสำคัญ คือ การกู้ระหว่างธนาคาร การกู้โดยตรง การเบิกเงินเกินบัญชี การซื้อขายตราสารการเงินระยะสั้น • ตราสารที่อยู่ในตลาดเงิน เช่น ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตั๋วเงินคลัง ตราสารการค้า • บริษัทเงินทุน และ บริษัทหลักทรัพย์ต่างกันอย่างไร ???

  14. ตลาดทุน ( Capital Market ) • สถาบันการเงิน ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ธกส. ธอส. ออมสิน บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สหกรณ์ออมทรัพย์ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ สหกรณ์การเกษตร ที่ให้สินเชื่อระยะยาวเกิน 1 ปี • ตราสาร คือ หุ้นกู้ หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ พันธบัตรรัฐบาลและเอกชน ( ตราสารเหล่านี้ต่างกันอย่างไร??? ) • ตลาดแรกและตลาดรองต่างกันอย่างไร ???

  15. ตลาดแรก ผู้ลงทุน ผู้ลงทุน ผู้ลงทุน เงินทุน บริษัทที่ต้องการเงินทุน หุ้นสามัญ เงิน หุ้นสามัญ ตลาดรอง หุ้นสามัญ เงิน ตลาดหลักทรัพย์

  16. ความสำคัญของตลาดการเงินความสำคัญของตลาดการเงิน • เป็นแหล่งระดมทุนจากผู้มีเงินออมไปยังผู้ที่ต้องการเงินทุน • มีการจัดสรรเงินทุนอย่างมีประสิทธิภาพ • รักษาอัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ • สร้างความมั่นคงให้กับระบบเศรษฐกิจ

  17. ธนาคารพาณิชย์ • สาหตุที่พิจารณาธนาคารพาณิชย์เป็นหลักเพราะเป็นสถาบันการเงินที่มีเงินทุนอยู่เป็นสัดส่วนที่มากที่สุดเมื่อเทียบกับสถาบันการอื่นๆ เช่น บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนรวม บริษัทประกันภัย • ธนาคารพาณิชย์สามารถสร้างเงินฝากได้ โดยมีข้อกำหนดบางประการเช่นการกันสำรองตามกฎหมาย ( Legal Reserve Requirement ) • สำรองตามกฎหมาย 20% หมายความว่า ถ้าธนาคารพาณิชย์มีเงินฝากกระแสรายวัน 100 บาท จะต้องกันสำรองไว้ 20 บาท

  18. การสร้างเงินฝาก • เงินฝากขั้นแรก ( Primary Deposit ) คือ เงินสดที่มีผู้นำมาฝากเข้าบัญชีกระแสรายวันที่ ธพ. • เงินฝากขั้นต่อไป ( Derivative Deposit ) คือเงินฝากที่เกิดจากการให้ลูกค้าของธนาคารกู้ยืม คือ กู้จากธนาคารแล้วฝากเงินต่อไป • อัตราเงินสดสำรองตามกฎหมาย คือ อัตราเงินสดสำรองที่ต้องดำรง ( Legal Reserve Ratio ) เป็นอัตราขั้นต่ำที่ธนาคารกลางกำนหดให้ทุน ธพ. ต้องทำตาม

  19. เงินสดสำรองตามกฎหมาย หรือ เงินสดสำรองที่ต้องดำรง ( Legal Reserve Requirement ) คือจำนวนเงินสดที่ ธพ. ต้องดำรงเมื่อเทียบกับเงินฝากกระแสรายวัน โดยเงินจำนวนนี้ต้องฝากไว้กับธนาคารกลาง • เงินสดสำรองทั้งสิ้น ( Cash Reserve ) คือ เงินสดทั้งสิ้นที่ ธพ. มีอยู่ ซึ่งได้แก่เงินสดสำรองที่ต้องดำรง รวมกับ เงินสดสำรองส่วนเกิน • เงินสดสำรองส่วนเกิน ( Excess Reserve ) คือเงินสดที่เหลือทั้งสิ้นหลังจากที่หักเงินสดสำรองที่ต้องดำรงออกไปแล้ว ซึ่งส่วนนี้ ธพ.สามารถนำไปใช้ประโยชน์

  20. ตัวอย่าง • สมมติธนาคารพาณิชย์ มีเงินฝากกระแสรายวันทั้งสิ้น 100 ล้านบาท และระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ( Bank of Thailand: BOT ; www.bot.or.th ) กำหนดว่า ธนาคารพาณิชย์ต้องดำรงเงินฝากไว้ 7% ซึ่งในปัจจุบันธนาคารมีเงินสดสำรองทั้งสิ้น 15 ล้านบาท ดังนั้นแสดงว่าธนาคารนั้นมีเงินสดสำรองส่วนเกินอยู่ 8 ล้านบาท • เงินสดที่ต้องดำรง คือ 7% ของ 100 ล้าน คือ 7 ล้านบาท • เงินสดสำรองทั้งสิ้น 15 ล้าน แสดงว่ามีส่วนเกินอยู่ 8 ล้านบาท • จะเกิดอะไรหาก ธปท. เพิ่มอัตราสำรอง และกระทบอย่างไรต่อปริมาณเงินในระบบ ???

  21. กระบวนการสร้างเงินฝากกระบวนการสร้างเงินฝาก • เริ่มจากเงินฝากขั้นแรก เข้ามาที่ธนาคารแล้วถูกหักสำรอง เหลือเท่าไรให้ลูกค้ากู้ต่อ เมื่อลูกค้ากู้ไปฝากกับธนาคารก็จะเกิดกระบวนการนี้ต่อไปเรื่อยๆ แต่ปริมาณที่ให้กู้ได้จะลดลงเรื่อยๆ แต่ปริมาณเงินทั้งระบบจะเพิ่มขึ้น • ธนาคารสามารถสร้างเงินสูงสุดได้ต่อเมื่อ ผู้กู้ต้องฝากเงินต่อกับธนาคารไม่ได้เบิกเป็นเงินสด ธนาคารมีส่วนเกินสำรองตามที่กฎหมายต้องการเท่าไรต้องปล่อยกู้จนหมด อัตราสำรองต้องไม่เกิน 100%

  22. สมมติ มีผู้ฝากเงิน 100 บาท และอัตราสำรอง 10% กันสำรอง 10 + 9 เงินฝาก 100 + 90 ก ข ง ค ปล่อยกู้ 90 ฝาก 100 ฝาก 90 กันสำรอง 10 เงินฝาก 100 ปล่อยกู้ 81 ฝาก 72.9 ปล่อยกู้ 72.9 ฝาก 81 กันสำรอง 10 + 9 + 8.1 + 7.29 เงินฝาก 100 + 90 + 81 + 72.9 กันสำรอง 10 + 9 + 8.1 เงินฝาก 100 + 90 + 81 แล้วหากเป็นอย่างนี้ต่อไปเรื่อยๆ ปริมาณเงินฝากจะเป็นเท่าไร

  23. จากเงื่อนไขข้างต้น สามารถคำนวณปริมาณเงินฝากสูงสุดที่ธนาคารสามารถสร้างได้ ตามสูตร M คือ เงินฝากรวม D คือ เงินฝากที่ธนาคารสร้างขึ้น P คือ เงินฝากขั้นแรก R คือ อัตราสำรองตามกฎหมาย A คือ เงินสดสำรองส่วนเกิน

  24. จากตัวอย่าง • เงินฝากขั้นต้น ( P ) มีค่าเท่ากับ 100 บาท • อัตราสำรองตามกฎหมาย ( R ) มีค่าเท่ากับ 10% ( 0.10 ) • เงินสดสำรองส่วนเกินเริ่มต้น ( A ) มีค่าเท่ากับ 90 บาท

  25. ข้อสังเกต • การปรับเปลี่ยนอัตราสำรอง ส่งผลกระทบต่อปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ • ถ้าอัตราสำรองสูงขึ้นปริมาณเงินในระบบจะลดลง ในทางกลับกันหากอัตราสำรองลดลงปริมาณเงินในระบบก็จะเพิ่มขึ้น • สาเหตุที่สนใจที่อัตราสำรองเพราะเป็นนโยบายทางการเงินตัวหนึ่งที่ใช้ควบคุมปริมาณเงินในระบบ • อัตราสำรองปัจจุบันมีค่าเท่าไร ???

  26. การทำลายเงินฝาก • ธนาคารจะทำลายเงินฝากโดยการเรียกเงินกู้กลับคืนเมื่อเงินสดสำรองส่วนเกินลดลง เช่น อาจเกิดจากการที่ ธปท. ปรับเปลี่ยนนโยบายเรื่องอัตราสำรองตามกฎหมาย • ธนาคารอาจลดเงินฝากเท่ากับเงินสดสำรองส่วนเกินที่ลดลง หรืออาจกำหนดเป็นนโยบายอื่นๆ เช่น ทำลายเงินฝากเป็ 80 เปอร์เซ็นต์ของเงินสดสำรองที่ลดลง

  27. ตัวอย่าง • ธนาคารมีเงินฝากขั้นต้น 1 ล้านบาท อัตราสำรองขณะนั้น คือ 10% ถ้าธนาคารนี้มีนโยบายปล่อยกู้โดยให้มีเงินสดสำรองเกินอยู่ 20 ล้านบาทหากต่อมาธนาคารแห่งประเทศไทยขึ้นอัตราเงินสดสำรองเป็น 11% ธนาคารจะต้องทำลายเงินฝากเท่าไร โดยสมมติให้ธนาคารธนาคารทำลายเงินฝากเท่ากับเงินสดส่วนเกินที่ลดลง

  28. ธนาคารในไทย • ธนาคารพาณิชย์ไทย • ธนาคารต่างชาติ • ธนาคารที่ตั้งขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ • สถาบันการเงินอื่นๆ • จำนวน ประเภทและข้อจำกัดการทำธุรกรรม ความแตกต่าง???

  29. ดุลยภาพในตลาดเงิน • ปริมาณในที่นี้คือ ปริมาณเงินในระบบ ( Money Supply ) และราคาของเงินก็คือผลตอบแทนจากการใช้เงิน นั่นือ ดอกเบี้ย ( Interest ) • ดุลยภาพ คือ จุดที่อุปสงค์ต่อการถือเงินมีค่าเท่ากับอุปทานของเงิน • อุปสงค์ต่อการถือเงิน ( Demand for Money ) คือ ปริมาณเงินทั้งสิ้นที่ระบบเศรษฐกิจต้องการถือไว้ในขณะใดขณะหนึ่ง ซึ่งขึ้นกับการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันและอัตราดอกเบี้ย ( เพื่อลงทุน และ เก็งกำไร ) อีกส่วนกันไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน • อุปทานของเงิน ( Money Supply ) คือปริมาณเงินตามนิยาม มักใช้ M2 ไม่ขึ้นกับอัตราดอกเบี้ย ( เส้นอุปทาน จะมีหน้าตาอย่างไร??? ) แต่ขึ้นกับนโยบายการเงิน

  30. Demand and Supply of Money ราคา / อัตราดอกเบี้ย ปริมาณเงิน Supply Demand

  31. Change in Supply of Money ราคา / อัตราดอกเบี้ย S* S R* R Demand M* M ปริมาณเงิน

  32. หน้าที่ของธนาคารกลาง • เป็นนายธนาคารของธนาคารพาณิชย์ • เป็นนายธนาคารของรัฐบาล • ออกธนบัตร ( ธนาคารกลางไม่ออกเหรียญ ) • เป็นผู้ให้กู้ยืมแหล่งสุดท้ายของธนาคารพาณิชย์ • กำกับ ดูแล การดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ให้เป็นตามนโยบาย • เป็นผู้ควบคุมปริมาณเงินผ่าน นโยบายการเงิน

  33. นโยบายการเงิน ( Monetary Policy ) • นโยบายการเงิน คือ การดูแลปริมาณเงินและสินเชื่อเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจ เช่น การรักษาเสถียรภาพของราคา ส่งเสริมการจ้างงาน การรักษาความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การรักษาดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ การกระจายรายได้ที่เป็นธรรม • แบ่งนโยบายได้เป็น 2 ประเภท คือ นโยบายการเงินแบบเข้มงวด (ทำให้ปริมาณเงินลดลง ) และ นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย ๖ ทำให้ปริมาณเงินเพิ่มขึ้น ) • ในแต่ละนโยบายควรใช้เมื่อใด ???

  34. เครื่องมือของนโยบายการเงินเครื่องมือของนโยบายการเงิน • การควบคุมทางปริมาณหรือโดยทั่วไป • การซื้อขายหลักทรัพย์ ซึ่งก็คือ พันธบัตรรัฐบาล ( Open-market Operation ) • อัตรารับช่วงซื้อลด ( Rediscount Rate ) • อัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน ( Bank Rate ) • เงินสำรองที่ต้องดำรง ( Reserve Requirement )

  35. ธนาคารกลาง เหตุใดธนาคารพาณิชย์จึงซื้อหลักทรัพย์ในรูปพันธบัตร เงิน ธนาคารพาณิชย์ พันธบัตรรัฐบาล ธนาคารพาณิชย์อาจขายพันธบัตรคืน ขึ้นกับอัตรารับช่วงซื้อลด และส่งผลอย่างไรต่อปริมาณเงินในระบบ

  36. การควบคุมเครดิตทางคุณภาพด้วยวิธีเลือกสรร • เครดิต เช่น เครดิตเพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์ เครดิตเพื่อการบริโภค เครดิตเพื่อซื้อบ้านและที่ดิน • การชักชวนให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติตาม

More Related