E N D
ความสำคัญและคุณค่าวรรณกรรมความสำคัญและคุณค่าวรรณกรรม
วรรณกรรมเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์ ชาติที่เจริญแล้วทุกชาติจะต้องมีวรรณกรรมเป็นของตัวเอง และวรรณกรรมจะมีมากหรือน้อย ดีหรือเลวก็แล้วแต่ความเจริญงอกงามแห่งจิตใจของชนในชาตินั้นๆ วรรณกรรมเป็นเครื่องชี้ให้รู้ว่าชาติใดมีความเจริญทางวัฒนธรรมสูงแค่ไหนและยุคใดมีความเจริญสูงสุด ยุคใดมีความเสื่อมทรามลง เพราะฉะนั้นวรรณกรรมแต่ละชาติ จึงเป็นเครื่องชี้วัดได้ว่า ยุคใดจิตใจของประชาชนในชาติ มีความเจริญหรือเสื่อมอย่างไร
อิทธิพลของวรรณกรรมที่มีต่อมนุษย์อิทธิพลของวรรณกรรมที่มีต่อมนุษย์ • จากตัวละครที่ปรากฏในวรรณกรรม • จากการสร้างพฤติการณ์และสถานการณ์ใน วรรณกรรม • จากภาษา สัญลักษณ์ และมโนภาพ • จากความคิดในวรรณกรรม
คุณค่าของวรรณกรรม • คุณค่าทางอารมณ์ แรงบันดาลใจที่เกิดขึ้นจากผู้ประพันธ์แล้วถ่ายโยงมายังผู้อ่าน ซึ่งผู้อ่านจะตีความวรรณกรรมนั้น ๆ ออกมาซึ่งอาจจะตรงหรือคล้ายกับผู้ประพันธ์ก็ได้ เช่น อารมณ์โศก อารมณ์รัก อารมณ์โกรธ เคียดแค้น เป็นต้น โดยวรรณกรรมจะเป็นเครื่องขัดเกลาอัธยาศัย และกล่อมเกลาอารมณ์ให้หายความหมักหมม คลายความกังวล และความหมกมุ่น หนุนจิตใจให้เกิดความผ่องแผ้วทำให้รู้สึกชื่นบาน และร่าเริงในชีวิต
คุณค่าทางปัญญา วรรณกรรมแทบทุกเรื่องผู้อ่านจะได้รับความคิด ความรู้เพิ่มขึ้นไม่มากก็น้อย มีผลให้สติปัญญาแตกฉานทั้งทางด้านวิทยาการ ความรู้รอบตัว ความรู้เท่าทันคน ความเห็นอกเห็นใจต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตัวละครในเรื่องให้ข้อคิดต่อผู้อ่านขยายทัศนคติให้กว้างขึ้น บางครั้งก็ทำให้ทัศนคติที่เคยผิดพลาดกลับกลายเป็นถูกต้อง
คุณค่าทางศีลธรรม วรรณกรรมเรื่องหนึ่ง ๆ อาจจะมีคติหรือแง่คิดอย่างหนึ่งแทรกไว้ อาจจะเป็นเนื้อเรื่องหรือเป็นคติคำสอนระหว่างบรรทัด ซึ่งวรรณกรรมแต่ละเรื่องให้แง่คิดไม่เหมือนกัน บางที่ผู้อ่านที่อ่านอย่างผิวเผิน จะตำหนิตัวละครในเรื่องนั้นว่า กระทำผิดศีลธรรมไม่ส่งเสริมให้คนมีศีลธรรม แต่ถ้าพิจารณาและติดตามต่อไปผู้อ่านก็จะพบว่า ใครก็ตามที่ไม่อยู่ในศีลธรรมก็จะต้องประสบความทุกข์ยาก ความล้มเหลว และความเกลียดชังจากสังคม อาจจะเป็นเพราะกรรมของแต่ละคน บางคนประกอบกรรมมา ต่างกรรมต่างวาระแต่อาจจะพบจุดจบในกรรมอันเดียวกันก็ได้
คุณค่าทางวัฒนธรรม วรรณกรรมทำหน้าที่ผู้สืบต่อวัฒนธรรมของชาติจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง เป็นสายใยเชื่อมโยงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนในชาติ ในวรรณกรรมมักจะบ่งบอกคติของคนในชาติไว้ เช่น วรรณกรรมสมัยสุโขทัยจะทำให้เราทราบว่าคติของคนไทยสมัยสุโขทัยนิยมการทำบุญให้ทาน การสาปแช่งคนบาปคนผิด มักจะสาปแช่งมิให้พระสงฆ์รับบิณฑบาตรจากบุคคลผู้นั้น ดังนี้เป็นต้น วรรณกรรมของชาติมักจะเล่าถึงประเพณีนิยม คติชีวิต การใช้ถ้อยคำภาษา การดำรงชีวิตประจำวัน การแก้ปัญหาสังคม อาหารการกิน ที่อยู่อาศัย เสื้อผ้า เป็นต้น เพื่อให้คนรุ่นหลังมีความรู้เกี่ยวกับคนรุ่นก่อนๆและเข้าใจวิถีชีวิตของคนรุ่นก่อน
คุณค่าทางประวัติศาสตร์คุณค่าทางประวัติศาสตร์ การบันทึกทางประวัติศาสตร์ที่มุ่งจดแต่ข้อเท็จจริงไม่ช้าก็อาจจะเบื่อหน่ายหลงลืมได้ อย่างไรก็ตาม วรรณกรรมถือเป็นกระจกเงาสะท้อนภาพในอดีตของแต่ละชาติได้อย่างดีที่สุด เรื่องราวที่เป็นประวัติศาสตร์หลายเรื่อง ศึกษาได้จากวรรณกรรมไม่มากก็น้อย
คุณค่าทางการใช้ภาษา เพราะการเขียนเป็นการถ่ายทอดความคิด เป็นการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร เพื่อรสชาติทางภาษา เพื่อจูงใจเพื่อความติดใจและประทับใจ ทำให้ผู้อ่านสามารถสังเกต จดจำนำไปใช้ก่อให้เกิดการใช้ภาษาที่ดี เพราะการเห็นแบบอย่างทั้งที่ดี และบกพร่องทั้งการใช้คำ การใช้ประโยค การใช้โวหาร เป็นต้น
http://blog.eduzones.com/winny/3619 • http://www.enfe.go.th/enfe_2548/thai/thai05/thai51010.html • http://www.mwit.ac.th/~saktong/learn4/44.pdf ที่มา