620 likes | 1.11k Views
ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน. ระรินทิพย์ ศิโรรัตน์ รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หลักสูตรฝึกอบรมความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม 2555 เวลา 13.00 - 16.00 น. ณ สถาบันการต่างประเทศเทวะ วงศ์ว โรปการ. ความหมายของตราสัญลักษณ์อาเซียน.
E N D
ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ระรินทิพย์ ศิโรรัตน์ รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หลักสูตรฝึกอบรมความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม 2555 เวลา 13.00 - 16.00 น. ณ สถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการ
ความหมายของตราสัญลักษณ์อาเซียนความหมายของตราสัญลักษณ์อาเซียน สีน้ำเงิน สันติภาพและความมั่นคง สีแดง ความกล้าหาญและก้าวหน้า สีเหลือง ความเจริญรุ่งเรือง สีขาว ความบริสุทธิ์ รวงข้าว 10 ต้น คือ 10 ประเทศรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว วงกลม แสดงถึงความเป็นเอกภาพ วันอาเซียน 8 สิงหาคมที่มา: กรมอาเซียน
สมาชิกผู้ก่อตั้งปี 1967 • ไทย • มาเลเซีย • อินโดนีเซีย • ฟิลิปปินส์ • สิงคโปร์ ASEAN Factsheet สมาชิกเพิ่มเติม + บรูไน ดารุสซาลาม ปี 1984 + เวียดนาม ปี 1995 + ลาว ปี 1997 + พม่า ปี 1997 + กัมพูชา ปี 1999 ที่มา: กรมอาเซียน ประชากร - 600 ล้านคน พื้นที่- 4.5 ล้าน ตาราง กม. ศาสนาหลัก- อิสลาม พุทธ คริสต์ ฮินดู GDP รวม 1.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ การค้ารวม 1.8 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ
ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) • ลงนาม Bali Concord IIปี 2003 ระบุการจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี 2020 หรือ พ.ศ. 2563 ประกอบด้วย 3 เสาหลัก - ประชาคมการเมือง-ความมั่นคง (ASEAN Political-Security Community: APSC) - ประชาคมเศรษฐกิจ (ASEAN Economic Community: AEC) - ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม (ASEAN Socio-Cultural Community: ASCC) • เร่งรัดการจัดตั้งประชาคมให้เร็วขึ้นจากปี 2563 เป็น 2558 • การใช้กฎบัตรอาเซียนตั้งแต่ 15 ธ.ค. 2551 ที่มา: กรมอาเซียน
กลไกระดับอาเซียน การประชุมสุดยอดอาเซียนหรือประชุมผู้นำอาเซียน (ASEAN Summit) คณะมนตรีประสานงานอาเซียน (ASEAN Coordinating Council: ACC) คณะมนตรีประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (APSC/SOM) คณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC/SEOM) คณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASCC/SOCA) ความร่วมมือเฉพาะด้านระดับรัฐมนตรี และ ระดับ จนท. อาวุโส ความร่วมมือเฉพาะด้านระดับรัฐมนตรี และ ระดับ จนท. อาวุโส ความร่วมมือเฉพาะด้านระดับรัฐมนตรี และระดับ จนท. อาวุโส 19สาขาการประชุม และ 2 กลไกสิทธิมนุษยชน โดยมีสำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat-ASEC) เป็นฝ่ายเลขาฯ
การประชุม รมต./จนท.อาวุโส (19 สาขา ) ภายใต้ ASCC
กลไกพิเศษด้านสิทธิมนุษยชนกลไกพิเศษด้านสิทธิมนุษยชน • กฎบัตรอาเซียนข้อ 14 ระบุให้มีการจัดตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียน เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการและวัตถุประสงค์หลักของกฎบัตรในเรื่องการส่งเสริมคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน • AICHR (ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights) จึงได้จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม 2552 ประกอบด้วยผู้แทนประเทศละ 1 คน รวม 10 คน สำหรับผู้แทนไทยคือ นางสาวศรีประภา เพ็ชรมีศรี อาจารย์ มหาวิทยาลัยมหิดล) • ภายใต้แผนงานการจัดตั้ง ASCC ภายใต้เป้าหมายความยุติธรรมและสิทธิ ระบุให้มีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการอาเซียนด้านการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก • ACWC (ASEAN Commission on the Promotion and Protection of the Rights of Women and Children) จึงได้มีการจัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนเมษายน 2553 ผู้แทนประเทศละ 2 คน (ด้านสิทธิเด็ก 1 คน และด้านสิทธิสตรี 1 คน) รวมเป็น 20 คน สำหรับผู้แทนไทยได้แก่ นางสายสุรี จุติกุล (ด้านสิทธิเด็ก) และนางกานดา วัชราภัย (ด้านสิทธิสตรี)
ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASCC) คุณลักษณะและองค์ประกอบของ ASCC • เป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง • เป็นสังคมที่รับผิดชอบ เอื้ออาทรและแบ่งปัน Caring and Sharing Society • มีเอกภาพเป็นหนึ่งเดียวกัน โดยใช้อัตลักษณ์ร่วมกัน • ประชาชนมีคุณภาพชีวิต และได้รับสวัสดิการที่ดีขึ้น • ประชาชนเข้าใจกัน เป็นเพื่อนบ้านที่ดีต่อกัน
เป้าหมายหลัก A. การพัฒนามนุษย์ มี 7 เป้าหมาย 61 มาตรการ B. การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม มี 7 เป้าหมาย 94 มาตรการ C. สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม มี 3 เป้าหมาย 28 มาตรการ D. ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม มี 11 เป้าหมาย 98 มาตรการ E. การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน มี 4 เป้าหมาย 50 มาตรการ F. การลดช่องว่างทางการพัฒนา
คณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASCC) การประชุม รมต. สาขาต่างๆ การประชุม จนท.อาวุโส สาขาต่างๆ รวม 19สาขา A การพัฒนามนุษย์
B การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม C ความยุติธรรมและสิทธิ
D ส่งเสริมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
E การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน
F การลดช่องว่างทางการพัฒนา
ผลกระทบเชิงบวกของการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนด้านสังคมและวัฒนธรรมผลกระทบเชิงบวกของการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนด้านสังคมและวัฒนธรรม • เกิดความร่วมมือระดับภูมิภาคในประเด็นสำคัญต่าง ๆ เช่น การส่งเสริมคุ้มครองสิทธิสตรี เด็ก ผู้พิการ, การแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ, การช่วยเหลือกันในยามที่ประเทศสมาชิกเกิดภัยพิบัติ, การกระชับสัมพันธ์และติดต่อกันของประชาชน ผ่านการท่องเที่ยว, กิจกรรมแลกเปลี่ยนภายใต้ Sectoral Bodies ต่าง ๆ • ข้อได้เปรียบเชิงภูมิศาสตร์ทำให้ไทยมีโอกาสเป็น Hub ในด้านต่าง ๆ เช่น การศึกษา การรักษาทางการแพทย์ สปา
ผลกระทบเชิงบวกของการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนด้านสังคมและวัฒนธรรม (ต่อ) • เปิดโอกาสให้สถานศึกษาของรัฐและเอกชนในทุกระดับสามารถจัดการเรียนการสอน หรือมีเครือข่ายเชื่อมโยงในภูมิภาคอาเซียนได้ • ความต้องการแรงงานที่มีทักษะฝีมือตามข้อตกลง (MRA) เป็นโอกาสให้สามารถผลิตผู้จบการศึกษาสายวิชาชีพที่กำหนดตามกรอบความร่วมมือเศรษฐธิจประชาคมอาเซียน (7+1 วิชาชีพ) • มีฐานทรัพยากรธรรมชาติที่มีความอุดมสมบูรณ์และมีความหลากหลายทางชีวภาพ มีศักยภาพในการแข่งขันทางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
ผลกระทบเชิงบวกของการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนด้านสังคมและวัฒนธรรม (ต่อ) • ชุมชนและภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดตั้งและขับเคลื่อนการเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ควบคู่ไปกับการทำงานของภาครัฐ • เป็นการขยายโอกาสให้ภาครัฐและภาคธุรกิจมีส่วนร่วมในการสร้างประชาคมอาเซียนและร่วมรับผิดชอบต่อสังคม
ผลกระทบเชิงบวกของการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนด้านสังคมและวัฒนธรรม (ต่อ) • ภาคเอกชนไทยรายใหญ่มีศักยภาพและความพร้อมในการผลิตสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (green product) หรือสินค้าที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ • ประชาชนอาเซียนจะได้รับรู้ข่าวสาร และเรียนรู้เกี่ยวกับประเทศสมาชิกอื่นๆ ได้สะดวกรวดเร็วขึ้นผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ โดยเฉพาะ ASEAN Channel ส่งผลกระชับความเข้าใจที่ดีต่อกันได้มากขึ้น
ผลกระทบเชิงลบของการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนด้านสังคมและวัฒนธรรมผลกระทบเชิงลบของการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนด้านสังคมและวัฒนธรรม • กฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อมของไทย ในบางเรื่องเข้มงวดกว่าประเทศอื่นในอาเซียน ทำให้มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมไม่เท่าเทียมกัน อาจก่อให้เกิดความเสียเปรียบในด้านการค้าและลงทุน และอาจทำให้ไทยสูญเสียฐานการผลิตและการลงทุนให้กับประเทศอาเซียนอื่นๆ • ผลกระทบจากทัศนคติ อคติ ความเชื่อ ค่านิยมของประชาชนที่มีอยู่เดิม
ผลกระทบเชิงลบของการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนด้านสังคมและวัฒนธรรม (ต่อ) • ระบบคุ้มครองทางสังคมของไทยยังไม่ครอบคลุมถึงแรงงานนอกระบบรวมทั้งสมาชิกที่เป็นเด็ก • ความสามารถภาษาอังกฤษที่ต่ำกว่า ทำให้เกิดการเสียเปรียบในด้านการแข่งขันในเรื่องการหางาน การประกอบการ รวมถึงการเจรจาเพื่อรักษาจุดยืนของไทย และผลประโยชน์ของประเทศ • ปัญหาภัยคุกคามต่าง ๆ ที่เกิดจากการเคลื่อนย้ายแรงงาน เช่น โรคติดต่อ ยาเสพติด การค้ามนุษย์ • ภาคบริการของไทย เช่น การศึกษา การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ อาจได้รับผลกระทบจากประเทศที่มีกำลังทุนสูงกว่า
ผลกระทบเชิงลบของการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนด้านสังคมและวัฒนธรรม (ต่อ) • ปัญหาเด็กถูกละเมิดสิทธิจะทวีความรุนแรงและซับซ้อนมากขึ้น อันเนื่องมาจากความอ่อนแอของสถาบันครอบครัว • สตรี เด็ก เยาวชน และผู้พิการบางกลุ่มยังไม่สามารถเข้าถึงบริการของภาครัฐ และขาดโอกาสในการพัฒนาศักยภาพเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
การเป็น Focal Point ของ ASEAN Socio-Cultural Community (ASCC) • คณะรัฐมนตรี มีมติเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2554 รับทราบคำสั่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2554 มอบหมายให้ พม. เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก ทั้งในระดับหัวหน้าคณะผู้แทน และระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสของคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASCC) • นายกรัฐมนตรี ได้ลงนามในคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2555
ภารกิจสำคัญที่ พม. ต้องดำเนินการในฐานะ Focal Point ของ ASCC • ประสานและติดตามการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยที่จะมุ่งไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนด้านสังคมและวัฒนธรรม • กำหนดทิศทาง/ลำดับความสำคัญเร่งด่วนของไทยในการผลักดันให้เกิดความร่วมมือภายใต้แผน ASCC • เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเพื่อเข้าร่วมประชุม ASCC ทั้งระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส (SOCA-Senior Officials Committee for ASCC) และระดับรัฐมนตรี (ASCC Council Meeting) ปีละ 2 ครั้ง • เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมร่วมสามเสาหลัก (JPM: Joint Preparatory Meeting for the ASEAN Coordinating Council) ปีละ 1-2 ครั้ง
ความคืบหน้าด้านการศึกษาความคืบหน้าด้านการศึกษา • ส่งเสริมให้มีการสอนวิชา ASEAN Studies ในทุกระดับ และ ศธ. ได้จัดทำ Source book on ASEAN เพื่อเป็นสื่อการเรียนการสอนสำหรับ ป. 1 - 6 • ศธ. กำลังเร่งดำเนินการเกี่ยวกับการถ่ายโอนหน่วยกิตข้ามประเทศระดับมหาวิทยาลัย • ไทยกำลังริเริ่มให้ทุนการศึกษาแก่ประเทศสมาชิกประเทศละ 5 ทุน จะเริ่มดำเนินการในปีหน้า ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยชินวัตร ในสาขาเศรษฐศาสตร์ กฎหมายระหว่างประเทศ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ความคืบหน้าด้านแรงงาน • มีความคืบหน้าในการจัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงาน ตามโครงการ ASEAN Guidelines on the Development of National Framework for Skills Recognition Arrangement เช่น ไทยได้พัฒนามาตรฐานฝีมือแรงงานไปแล้ว 22 สาขาอาชีพ • ออกปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิแรงงานอพยพ
ความคืบหน้าด้านสาธารณสุขความคืบหน้าด้านสาธารณสุข • ให้ความสำคัญต่อความร่วมมือในการควบคุมโรคระบาดต่าง ๆ • ให้ทุกวันที่ 15 มิถุนายนของปีเป็นวันไข้เลือดออกอาเซียน • ออกปฏิญญาว่าด้วยเรื่องพันธกิจเรื่องเอดส์ (Zero new infections, Zero Discrimination และ Zero AIDS-Related Deaths)
ความคืบหน้าด้านภัยพิบัติและสิ่งแวดล้อมความคืบหน้าด้านภัยพิบัติและสิ่งแวดล้อม • เร่งรัดการให้สัตยาบันความตกลงของการจัดตั้ง AHA Centre • ไทยเสนอให้อาเซียนใช้ประโยชน์จาก ICT เพื่อการพยากรณ์อากาศ การเตือนภัยล่วงหน้า และการกระจายข้อมูลให้ถึงชุมชนท้องถิ่น และให้มีเครือข่ายบริหารจัดการน้ำเพื่อป้องกันอุทกภัยในอาเซียน • เพิ่มความร่วมมือเพื่อแก้ปัญหาหมอกควัน โดยมีเป้าหมายลดอัคคีภัยในบริเวณลุ่มน้ำโขงให้เหลือน้อยกว่า 50,000 จุดในปี 2558
ความคืบหน้าด้านสิทธิ • จัดตั้งคณะกรรมาธิการอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก (ACWC) • ประกาศทศวรรษเพื่อคนพิการอาเซียน • อาเซียนได้ออกปฏิญญาว่าด้วยการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิแรงงานข้ามชาติ แต่มีความก้าวหน้าช้ามากในการร่างกรอบตราสารฯ • ยังคงมีประเด็นที่น่าเป็นห่วงสำหรับแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย เนื่องจากกฎหมายไทยยังครอบคลุมไม่ถึง และได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการศึกษาปัญหาเรื่องแรงงานต่างด้าว • อาเซียนต้องผลักดันให้กลไกสิทธิมนุษยชน กลไกที่ 3 คือ คณะกรรมาธิการอาเซียนว่าด้วยการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิแรงงานต่างด้าว
ความคืบหน้าในการดำเนินงานของ ACWC • คณะกรรมาธิการได้จัดประชุมไปแล้ว 5 ครั้ง • เห็นชอบประเด็นหัวข้อสำคัญสำหรับแผนงาน 5 ปี จำนวน 13 หัวข้อ อาทิการขจัดความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก สิทธิของเด็กในการเข้าร่วมในกิจกรรมที่มีผลต่อเด็ก การค้าสตรีและเด็ก การมีส่วนร่วมของสตรีในทางการเมืองและการตัดสินใจต่างๆ ธรรมาภิบาลและประชาธิปไตย การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิสตรีและเด็กที่พิการ ระบบการคุ้มครองเด็ก สิทธิในการได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพของเด็กวัยก่อนประถมศึกษา เป็นต้น
ความคืบหน้าในการดำเนินงานของ ACWC (ต่อ) • แผนงานระยะ 5 ปี (2554-2559) ได้ยกร่างเสร็จเรียบร้อยแล้ว และคณะกรรมาธิการอยู่ในระหว่างการจัดทำข้อเสนอโครงการภายใต้หัวข้อหลักที่กำหนดไว้ในแผน 5 ปี โดยเฉพาะตามแผนระยะ 3 ปีแรก • ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดประชุม ACWC สมัยพิเศษ ระหว่างวันที่ 4-5 ธันวาคม 2555 ณ กรุงเทพฯ เพื่อให้คณะกรรมาธิการฯ นำเสนอโครงการใหม่หรือโครงการที่แก้ไข เพื่อให้แผนการดำเนินงานระยะ 5 ปี มีโครงการรองรับและประมาณการค่าใช้จ่าย เพื่อจะได้สรุปเสนอ AMMSWD ต่อไป
ความคืบหน้าด้านอัตลักษณ์อาเซียนความคืบหน้าด้านอัตลักษณ์อาเซียน • Declaration on ASEAN Unity in Cultural Diversity: towards Strengthening ASEAN Community (ช่วงการประชุมสุดยอดครั้งที่ 19) • การจัดทำ E-Book (โดย วธ.)สิ่งพิมพ์ซึ่งเป็นผลผลิตจากกิจกรรม/โครงการที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนวัฒนธรรมอาเซียน จำนวน ๖๔ ผลงาน • กิจกรรมส่งเสริมส่งเสริมความตระหนักรู้ในการเป็นพลเมืองอาเซียน โดยใช้มิติทางศิลปะและวัฒนรรม อาทิ ASEAN City of Culture, ASEAN Arts Festival, กิจกรรมนำร่องการจัดงานแสดงผลงาน/ผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมสร้างสรรค์ของประเทศอาเซียนและประเทศคู่เจรจา เป็นต้น
การเตรียมความพร้อมของไทยด้านการศึกษาการเตรียมความพร้อมของไทยด้านการศึกษา • จัดทำแผนการศึกษา 2554-2558 เน้นยุทธศาสตร์เสริมสร้างความตระหนักและค่านิยมร่วมในการเป็นพลเมืองอาเซียนให้กับสังคมทุกระดับ ยุทธศาสตร์การเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ ยุทธศาสตร์การเคลื่อนย้ายพรมแดนและการจัดการศึกษาที่ตอบสนองตลาดแรงงาน และยุทธศาสตร์สนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรรายสาขาอื่นๆ เช่น การศึกษาด้านสิทธิมนุษยชน การศึกษาเพื่อป้องกัน HIV/AIDS • การเผยแพร่ความรู้ ข้อมูลข่าวสาร และสร้างความตระหนักรู้และเจตคติที่ดีเกี่ยวกับอาเซียนให้บุคลากร นักเรียน นักศึกษา ประชาชน และพัฒนาศักยภาพให้คนไทยมีทักษะที่เหมาะสมในการเป็นพลเมืองอาเซียน
การเตรียมความพร้อมของไทยในการพัฒนาศักยภาพของคนไทยด้าน ICT • อบรมด้าน ICT เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมแก่ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส • โครงการสร้างองค์ความรู้ด้านระบบเตือนภัยพิบัติของพื้นที่เสี่ยงภัยและสร้างเครือข่ายศูนย์เตือนภัยพิบัติ • ส่งเสริมพัฒนาบุคลากรด้าน ICT • สร้าง Web Portal สำหรับเด็กและเยาวชนอาเซียน และสตรีอาเซียน
การเตรียมความพร้อมของไทยการสร้างการตระหนักรู้และอัตลักษณ์อาเซียนการเตรียมความพร้อมของไทยการสร้างการตระหนักรู้และอัตลักษณ์อาเซียน • การผลิตสื่อนิทรรศการเคลื่อนที่ (Mobile Exhibition) สำหรับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดทั่วประเทศ • การผลิตรายการสารคดีโทรทัศน์ชุด “มรดกอาเซียน มรดกโลก” • การผลิตสื่อ Animation ประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมอาเซียนผ่านทางเว็บไซต์และสื่อโทรทัศน์
การเตรียมความพร้อมของไทยการสร้างการตระหนักรู้และอัตลักษณ์อาเซียน (ต่อ) • จัดสัมมนาสื่อมวลชน/นักประชาสัมพันธ์ – สื่อมวลชนสัญจรทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงอาสาสมัครประชาสัมพันธ์ทั่วปท. • จัดตั้งโทรทัศน์ภาคภาษาอังกฤษ • จัดทำเว็บไซต์ภาษาอังกฤษ • การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อต่างๆ ทุกประเภท • โครงการแลกเปลี่ยนผู้สื่อข่าว/ผู้ผลิตรายการข่าวอาเซียน • ค่ายเยาวชน สัปดาห์อาเซียน นิทรรศการสัญจร
การเตรียมความพร้อมของไทยด้านสวัสดิการสังคมและการพัฒนาการเตรียมความพร้อมของไทยด้านสวัสดิการสังคมและการพัฒนา • พัฒนาโครงสร้างระบบคุ้มครองเด็กเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคม • การจัดตั้งคณะกรรมการภาคประชาชนสำหรับเสาหลักที่ 3 • ส่งเสริมสิทธิการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนไทยในการเข้าสู่ประชาคม • ศึกษาผลกระทบและแนวทางป้องกันปัญหาจากการรวมตัวเป็นประชาคม • พัฒนาศักยภาพสตรีเรื่องประกอบการโดยใช้ IT • ส่งเสริมภาคธุรกิจเอกชนเรื่อง CSR • รณรงค์เรื่องเยาวชนต้านภัยยาเสพติด
อุปสรรคและข้อท้าทาย • ปัญหาความไม่ไว้วางใจจากประเทศเพื่อนบ้าน จากภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ และจากทัศนคติของคนไทยที่มีต่อประเทศเพื่อนบ้าน • ความตระหนักในเรื่องประชาคมอาเซียนของข้าราชการ และประชาชนไทย • การส่งเสริมให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดตั้งและขับเคลื่อนการเป็นประชาคมอาเซียน