1 / 41

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3. อาหารและสารเสพติด. โภชนาการของ เด็กวัยเรียน. อาหาร. อาหารและสารเสพติด. สารอาหาร. สารเสพติด และผลต่อร่างกาย. อาหารกับสุขภาพ. อาหาร. อาหาร.

aiko-tran
Download Presentation

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. หน่วยการเรียนรู้ที่3 อาหารและสารเสพติด

  2. โภชนาการของเด็กวัยเรียนโภชนาการของเด็กวัยเรียน • อาหาร อาหารและสารเสพติด • สารอาหาร • สารเสพติด • และผลต่อร่างกาย • อาหารกับสุขภาพ

  3. อาหาร

  4. อาหาร อาหาร (food) หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่รับประทานเข้าสู่ร่างกายแล้วไม่เป็นพิษและ มีประโยชน์ต่อร่างกาย เป็นแหล่งพลังงานที่ช่วยในการดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวันและให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย

  5. อาหารจะถูกย่อยให้มีโมเลกุลขนาดเล็ก จนสามารถดูดซึมเข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือด ซึ่งเลือดจะนำสารอาหารไปยังเซลล์ต่างๆ ของร่างกาย ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นในเซลล์ ทำให้สารอาหารแตกตัวให้พลังงาน คาร์บอนไดออกไซด์ และน้ำ ซึ่งต้องอาศัยออกซิเจน โดยกระบวนการนี้ เรียกว่า กระบวนการหายใจแบบใช้ออกซิเจน พลังงานที่ได้จากอาหาร สารอาหาร ออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ พลังงาน

  6. พลังงานที่ร่างกายต้องการเพื่อกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ขึ้นอยู่กับประเภท ของกิจกรรมที่ทำ พลังงานที่ร่างกายต้องการ

  7. การหาค่าพลังงานจากอาหาร สามารถหาได้ในรูปของพลังงานความร้อน โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า บอมบ์แคลอรีมิเตอร์ (bomb calorimeter) • ค่าพลังงานความร้อนมีหน่วยเป็นจูล (Joule: J) หรือกิโลจูล(kilojoule : kJ) • การวัดค่าปริมาณความร้อนในอาหาร นิยมวัดเป็น แคลอรี • 1 แคลอรี หมายถึง พลังงานความร้อน ที่ทำให้น้ำ 1 กรัม มีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 1 องศาเซลเซียส

  8. สารอาหาร

  9. สารอาหาร สารอาหาร (nutrients) คือ สารเคมีที่เป็นส่วนประกอบในอาหาร เมื่อเรารับประทานอาหารเข้าไป สารอาหารจะถูกเผาผลาญให้เกิดเป็นพลังงานและความร้อน เพื่อนำไปใช้ในกิจกรรมต่างๆ ของร่างกาย

  10. สารอาหารที่ให้พลังงาน คาร์โบไฮเดรต • เป็นสารอาหารในรูปของแป้งและน้ำตาล • พบมากในข้าว ขนมปัง ผัก ผลไม้ นม และผลิตภัณฑ์จากนม • คาร์โบไฮเดรต 1 กรัม ให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี • คาร์โบไฮเดรตที่ร่างกายใช้ไม่หมด จะถูกเปลี่ยนเป็นไขมันสะสมไว้ในร่างกาย

  11. ประเภทของคาร์โบไฮเดรตประเภทของคาร์โบไฮเดรต 1. น้ำตาล : มีรสหวาน ละลายน้ำได้ • น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว ได้แก่ กลูโคส ฟรักโทส และกาแล็กโทส • น้ำตาลโมเลกุลคู่ ได้แก่ ซูโครส แล็กโทส และมอลโทส 2. พวกที่ไม่ใช่น้ำตาล : ไม่มีรสหวาน • เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีโมเลกุลเชิงซ้อน เรียกว่า พอลิแซ็กคาไรด์ หรือน้ำตาลโมเลกุลใหญ่ • เกิดจากโมเลกุลของน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวจำนวนมากมาเกาะกัน เช่น แป้ง เซลลูโลส ไกลโคเจน

  12. การทดสอบแป้ง :ใช้สารละลายไอโอดีนหยดลงบนอาหาร ถ้าอาหารนั้นมีแป้งเป็นส่วนประกอบ จะเปลี่ยนสีสารละลายไอโอดีนจากสีน้ำตาลเป็น สีม่วงเข้มเกือบดำ หรือม่วงแกมน้ำเงิน • การทดสอบน้ำตาล : ใช้สารละลายเบเนดิกซ์ หยดลงในอาหาร แล้วนำไปต้มในน้ำเดือด หากเกิดตะกอนสีส้ม สีเหลือง หรือสีอิฐ แสดงว่าอาหารนั้น มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ การตรวจสอบคาร์โบไฮเดรต

  13. โปรตีน • เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่มีโมเลกุลใหญ่ ประกอบด้วยหน่วยย่อยที่เรียกว่า กรดอะมิโน มาเรียงต่อกันจำนวนมาก • โปรตีน 1 กรัม ให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี กรดอะมิโน แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้ 1.กรดอะมิโนที่จำเป็น: เป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์เองได้ และจำเป็นต้องได้รับจากอาหารที่รับประทานเข้าไป 2.กรดอะมิโนที่ไม่จำเป็น :เป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ขึ้นได้จากอาหารที่สะสมในร่างกาย

  14. ใช้การทดสอบที่เรียกว่า การทดสอบไบยูเรต โดยการเติมสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์และสารละลายคอปเปอร์ (II) ซัลเฟตลงในอาหาร ถ้าสารละลายเปลี่ยนจากสีฟ้าเป็นสีม่วง หรือสีชมพูอมม่วง แสดงว่าอาหารนั้นมีโปรตีนอยู่ การตรวจสอบโปรตีน

  15. ไขมัน • เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเยื่อหุ้มเซลล์และฮอร์โมนบางชนิด • เป็นสารที่ให้พลังงานสูงเมื่อเทียบกับสารอาหารอื่นในปริมาณเท่ากัน โดยไขมัน 1 กรัม ให้พลังงาน 9 กิโลแคลอรี • ช่วยในการดูดซึมสารที่ละลายได้ในไขมันเข้าสู่ร่างกาย • ป้องกันไม่ให้เกิดการสูญเสียน้ำออกจากร่างกายมากเกินไป

  16. ประเภทของไขมัน 1. ไขมันอิ่มตัว พบมากในเนื้อสัตว์ที่มีสีแดง มันสัตว์ หนังสัตว์ เครื่องในสัตว์ ไข่แดง กุ้ง ปู หอย นม ซึ่งหากร่างกายได้รับปริมาณมาก จะทำให้มีโอกาส เสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ 2. ไขมันไม่อิ่มตัว พบมากในวัว เต้าหู้ เห็ด และน้ำมันพืช ยกเว้น น้ำมันมะพร้าว และน้ำมันปาล์ม เป็นไขมันที่ช่วยลดการดูดซึม ไขมันอิ่มตัว และช่วยป้องกันโรคหลอดเลือด หัวใจตีบ

  17. ทำได้โดยการนำอาหารไปแตะหรือถูกับกระดาษสีขาว แล้วยกกระดาษให้แสงส่องผ่าน ถ้ากระดาษเป็นมัน และมีลักษณะโปร่งแสง แสดงว่าอาหารนั้นมีไขมันอยู่ การตรวจสอบไขมัน

  18. สารอาหารที่ไม่ให้พลังงาน • ร่างกายต้องการวิตามินในปริมาณน้อย แต่ร่างกายจะขาดวิตามินไม่ได้ • วิตามินแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ - วิตามินที่ละลายได้ในไขมัน ได้แก่ วิตามินเอ ดี อี และเค - วิตามินที่ละลายได้ในน้ำ ได้แก่ วิตามินบี และซี วิตามิน

  19. เป็นสารอาหารที่ไม่ให้พลังงาน แต่ร่างกายจะขาดไม่ได้ • เป็นส่วนประกอบของอวัยวะและกล้ามเนื้อต่างๆ ในร่างกาย เช่น กระดูก ฟัน เลือด • เป็นส่วนประกอบของสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโต เช่น ฮอร์โมน เอนไซม์ แร่ธาตุ

  20. ร่างกายมนุษย์มีน้ำเป็นส่วนประกอบประมาณร้อยละ 70 ของน้ำหนักตัว • ถ้าร่างกายขาดน้ำจะทำให้อุณหภูมิของร่างกายสูง เกิดตะคริว หมดแรง หน้ามืด วิงเวียน จนอาจเสียชีวิตได้ • แต่ละวันเราควรดื่มน้ำอย่างน้อย 6-8 แก้ว • โดยทั่วไปมนุษย์จะขาดน้ำได้ไม่เกิน 7 วัน น้ำ

  21. เส้นใยอาหาร • เป็นส่วนของอาหารที่ได้จากพืช • ช่วยลดน้ำหนัก • ป้องกันโรคริดสีดวงทวาร • ช่วยลดระดับไขมันในเลือด • ป้องกันการดูดซึมสารก่อมะเร็งในลำไส้

  22. อาหารกับสุขภาพ

  23. ความสำคัญของอาหารต่อสุขภาพความสำคัญของอาหารต่อสุขภาพ ผลทางร่างกาย • ทำให้ร่างกายเจริญเติบโตได้ตามเกณฑ์ • ทำให้ร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง มีสุขภาพดี • ทำให้มีอายุยืนยาว ผลทางอารมณ์และสติปัญญา • ส่งผลให้มีพัฒนาการทางด้านอารมณ์ • และสติปัญญาเป็นไปอย่างปกติ

  24. แนวทางการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพแนวทางการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ • รับประทานอาหารที่สะอาดและปลอดภัย • รับประทานอาหารประเภทไขมันในปริมาณที่เหมาะสม • รับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารอย่างสม่ำเสมอ • ระมัดระวังการรับประทานอาหารที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง

  25. โภชนาการของเด็กวัยเรียนโภชนาการของเด็กวัยเรียน

  26. การขาดสารอาหาร การขาดโปรตีน • ปัญหาการขาดโปรตีนพบมากในวัยทารกถึงวัยรุ่น เรียกอาการของโรคขาดโปรตีนว่า โรคตานขโมย • ทำให้การเจริญเติบโตของร่างกายบกพร่อง ภูมิต้านทานโรคต่ำ อ่อนแอ เฉื่อยชา เบื่ออาหารกระสับกระส่าย เหนื่อยง่าย น้ำหนักลด ผิวกร้าน

  27. การขาดแร่ธาตุ • ขาดธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัส : ร่างกายแคระแกร็น กระดูกและฟัน ไม่แข็งแรง เป็นโรคกระดูกอ่อน เลือดแข็งตัวช้า • ขาดธาตุแมกนีเซียม :เกิดความผิดปกติเกี่ยวกับการย่อยอาหาร และการทำงานของระบบประสาท • ขาดธาตุโซเดียมและธาตุคลอรีน : มีอาการเบื่ออาหาร • ขาดธาตุโพแทสเซียม: อาจมีอาการอัมพาต กล้ามเนื้อแขนขาไม่มีแรง • ขาดธาตุเหล็ก:เป็นโรคโลหิตจาง เม็ดเลือดแดงมีขนาดเล็กกว่าปกติ • ขาดธาตุไอโอดีน : ป่วยเป็นโรคคอพอก โรคคอพอกเนื่องจากขาดธาตุไอโอดีน

  28. การขาดวิตามิน • ขาดวิตามินเอ :ทำให้เกิดโรคตาฟาง ตาอักเสบ จนถึงตาบอดได้ • ขาดวิตามินบีหนึ่ง : เกิดโรคเหน็บชา โรคประสาทชา กล้ามเนื้อล้า และปวดเมื่อย • ขาดวิตามินบีสอง :ร่างกายอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร เกิดโรคปากนกกระจอก • ขาดวิตามินบีห้า : ทำให้เกิดโรคเพลลากรา ผิวหนังอักเสบแดง ท้องเสีย อาเจียน โรคปากนกกระจอก เนื่องจากขาดวิตามินบีสอง

  29. ขาดวิตามินบีหก:มีอาการอักเสบตามผิวหนัง หงุดหงิดและนอนไม่หลับ • ขาดวิตามินบีสิบสอง :จะทำให้เกิดโรคโลหิตจางอย่างรุนแรงและประสาทเสื่อม • ขาดวิตามินซี :เกิดโรคลักปิดลักเปิด โลหิตจาง บาดแผลหายช้า • ขาดวิตามินดี :เกิดโรคกระดูกอ่อน กระดูกเปราะและหักง่าย • ขาดวิตามินเค: ทำให้เลือดแข็งตัวช้ากว่าปกติ โรคลักปิดลักเปิดเนื่องจากขาดวิตามินซี

  30. การบริโภคอาหารเกินความต้องการการบริโภคอาหารเกินความต้องการ การบริโภคอาหารเกินความต้องการของร่างกายจะมีผลทำให้เกิดภาวะที่ร่างกายสะสมไขมันไว้มากเกินไป เรียกว่า โรคอ้วน ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลายชนิด และอาจทำให้ประสิทธิภาพในการทำกิจกรรมและการเรียนลดลง การป้องกันการบริโภคอาหารเกินความต้องการ • ควรรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ • รับประทานอาหารให้ครบทั้ง 3 มื้อ • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ • หลีกเลี่ยงอาหารประเภททอด • หลีกเลี่ยงอาหารประเภทที่มีไขมันมาก

  31. สารเสพติดและผลต่อร่างกายสารเสพติดและผลต่อร่างกาย

  32. ความหมายของสารเสพติด ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ได้กำหนดไว้ว่า ยาเสพติดให้โทษ หมายความว่า สารเคมีหรือวัตถุชนิดใดๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใดๆ แล้วทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสำคัญ ดังนี้ • ต้องเพิ่มขนาดการเสพเรื่อยๆ • มีอาการถอนยาเมื่อขาดยา • มีความต้องการเสพทั้งร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงอยู่ตลอดเวลา • สุขภาพโดยทั่วไปทรุดโทรมลง

  33. ประเภทของสารเสพติด สารเสพติดที่แบ่งตามแหล่งที่เกิด • สารเสพติดจากธรรมชาติ ได้แก่ ฝิ่น กัญชา กระท่อม มอร์ฟีน และเฮโรอีน • สารเสพติดสังเคราะห์ เช่น ยาบ้า ยาอี ทินเนอร์ สารเสพติดที่แบ่งตามพระราชบัญญัติสารเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 • ประเภทที่ 1 สารเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรงที่ไม่มีการนำมาใช้ในทางการแพทย์ และเสี่ยงต่อการติดยาในระดับรุนแรง เช่น ยาบ้า ยาอี • ประเภทที่ 2 สารเสพติดให้โทษทั่วไปที่มีประโยชน์ในการรักษาในระดับน้อยจนถึงมาก และเสี่ยงต่อการติดยาของประชาชนในระดับที่พึงระวัง เช่น มอร์ฟีน โคเคน โคเคอีน

  34. ประเภทที่ 3 สารเสพติดให้โทษที่มีสารเสพติดในประเภทที่ 2 เป็นส่วนผสมอยู่ด้วย ทำให้เกิดการเสี่ยงต่อการติดยาของประชากรน้อย แต่ยังคงเป็นอันตรายและมีประโยชน์ในการรักษา เช่น ยาแก้ไอผสมโคเคอีน • ประเภทที่ 4 สารเคมีที่ใช้ในการผลิตสารเสพติดให้โทษในประเภทที่ 1 หรือประเภทที่ 2 เช่น อาเซติคแอนไฮไดรด์ • ประเภทที่ 5 สารเสพติดให้โทษที่มิได้อยู่ในประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 4 เช่น กัญชา กระท่อม เห็ดขี้ควาย

  35. สารเสพติดที่แบ่งตามการออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทสารเสพติดที่แบ่งตามการออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท • ประเภทกดประสาท เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน สารระเหยแบบสเปรย์ • ประเภทกระตุ้นประสาท เช่น ยาบ้า โคเคน ยาอี ยาเลิฟ กระท่อม • ประเภทหลอนประสาท เช่น เห็ดขี้ควาย แอลเอสดี ยาเค • ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน เช่น กัญชา ยาบ้าออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท สารระเหยออกฤทธิ์กดประสาท

  36. สาเหตุที่ทำให้ติดสารเสพติดสาเหตุที่ทำให้ติดสารเสพติด • ผู้เสพต้องการบรรเทาความเจ็บปวดทางกาย • ความคึกคะนอง • จากสิ่งแวดล้อม เช่น แหล่งชุมชนแออัด • ถูกชักชวน • อยากทดลอง อยากรู้อยากเห็น • ถูกหลอกลวง

  37. ผลของสารเสพติดต่อร่างกายผลของสารเสพติดต่อร่างกาย ด้านอารมณ์และพฤติกรรม • เริ่มทำตัวเหินห่าง เก็บตัว ขาดเรียน หงุดหงิด โกรธง่าย กระสับกระส่ายก้าวร้าว เซื่องซึม ไม่มีสมาธิ เบื่ออาหาร ด้านสุขภาพร่างกาย • สุขภาพร่างกายจะเริ่มทรุดโทรม อ่อนเพลีย น้ำหนักลด กล้ามเนื้อแขน ขาอ่อนแรง เสียการทรงตัว ภูมิคุ้มกันต่ำ

  38. แนวทางการป้องกันตนเองจากสารเสพติดแนวทางการป้องกันตนเองจากสารเสพติด • ไม่มั่วสุมกับผู้ติดสารเสพติด • รู้จักเลือกคบเพื่อนที่ดี • ไม่ทดลองเสพสารเสพติดทุกชนิด • ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใส • เชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่ ผู้ปกครองหรือครูอาจารย์ • เมื่อมีปัญหาควรปรึกษาพ่อแม่ ผู้ปกครองหรือครูอาจารย์ • เมื่อพบหรือทราบเบาะแสของแหล่งที่มีการค้าสารเสพติดให้แจ้งหน่วยงานที่รับผิดชอบทราบทันที

  39. สรุปทบทวนประจำหน่วยการเรียนรู้ที่ 3 • อาหารคือ สิ่งที่รับประทานเข้าสู่ร่างกายแล้วไม่เป็นพิษ และมีประโยชน์ต่อร่างกาย • คาร์โบไฮเดรต พบมากในข้าว ขนมปัง นม และผลิตภัณฑ์จากนม ซึ่งการตรวจสอบหาคาร์โบไฮเดรต ทำได้ 2 วิธี คือ การทดสอบแป้งและการทดสอบน้ำตาล • โปรตีน พบมากในอาหารพวกเนื้อสัตว์ นม ไข่ ซึ่งการตรวจสอบหาโปรตีนใช้การทดสอบไบยูเรต • ไขมัน เป็นสารอาหารที่ให้พลังงานสูงเมื่อเทียบกับสารอาหารอื่นในปริมาณที่เท่ากัน ซึ่งการตรวจสอบสารอาหารพวกไขมัน ทำได้โดยการนำอาหารไปแตะหรือถูกับกระดาษสีขาว แล้วยกกระดาษให้แสงส่องผ่าน • วิตามิน แร่ธาตุ และน้ำ เป็นสารอาหารที่ไม่ให้พลังงาน และร่างกายต้องการในปริมาณเพียงเล็กน้อย แต่จะขาดไม่ได้ • สารเสพติดให้โทษ คือ สารเคมีหรือวัตถุชนิดใดๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจโดยต้องการเพิ่มขนาดการเสพขึ้นเรื่อยๆ

More Related