370 likes | 714 Views
ปรัชญาและหลักการ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. ดร. ทองอยู่ แก้วไทรฮะ. 1. การศึกษาในระบบกับการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย. การศึกษาในระบบ. 1. เป็นการจัดการศึกษาที่มีระบบ ระเบียบแบบแผนที่ชัดเจน อยู่ในกรอบและมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ ตามนโยบาย และความต้องการของชาติเป็นหลัก
E N D
ปรัชญาและหลักการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยปรัชญาและหลักการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ดร. ทองอยู่ แก้วไทรฮะ
1 การศึกษาในระบบกับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
การศึกษาในระบบ 1. เป็นการจัดการศึกษาที่มีระบบ ระเบียบแบบแผนที่ชัดเจน อยู่ในกรอบและมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ ตามนโยบาย และความต้องการของชาติเป็นหลัก 2. เน้นการจัดการศึกษาเพื่อถ่ายทอดหรือปลูกฝังเนื้อหา ความรู้ ความเข้าใจ ให้เด็กก่อนเรียนและเด็กในวัยเรียนมีความพร้อมในการเรียนรู้ เพื่อให้มีพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกาย สังคม อารมณ์ และสติปัญญา เพื่อการศึกษาในระดับสูงต่อไป
การศึกษาในระบบ 3. มีหลักสูตร เวลาเรียน จุดมุ่งหมายที่สำคัญเพื่อเตรียม พื้นฐานความรู้เบื้องต้นสำหรับการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นภายในช่วงเวลาที่กำหนดเป็นระยะไปตามพัฒนาการของวัย
การศึกษานอกระบบ 1. เป็นการจัดการศึกษาที่มีระบบ ระเบียบยืดหยุ่นมาก เน้นไปที่สภาพปัญหาความต้องการของผู้เรียนเป็นสำคัญ มีมาตรฐานที่สอดคล้องกับชีวิตและสังคมของผู้ที่อยู่ใน วัยทำงาน ตอบสนองต่อความต้องการของชุมชน และ เป็นพลเมืองที่ดีของชาติ
การศึกษานอกระบบ 2. เน้นการจัดหลักสูตรและระบบการเรียนรู้ที่เน้นเพื่อผู้ที่พ้นวัยเด็กเข้าสู่วัยแห่งการทำงาน สร้างครอบครัวและพัฒนาสมรรถนะที่เหมาะสมให้กับผู้ที่พลาดโอกาสที่จะเรียนในระบบโรงเรียน และผู้ที่ต้องการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง 3. เน้นการศึกษาที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียนที่แตกต่างกันอย่างหลากหลาย โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องอายุ พื้นฐานความรู้ เวลา และสถานที่ รวมทั้งรูปแบบการเรียนรู้
การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่เกิดขึ้นตามวิถีชีวิตที่ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ตามศักยภาพ ความพร้อม และโอกาส จากประสบการณ์ การทำงาน บุคคล ครอบครัว สื่อมวลชน ชุมชน แหล่งความรู้ต่างๆ โดยมีลักษณะที่สำคัญคือ ไม่มีหลักสูตร ไม่มีเวลาเรียนที่แน่นอน ไม่มีการสอน ไม่มีใบประกาศนียบัตรหรือสถานศึกษาที่เป็นทางการ เรียนได้ตลอดเวลาทุกช่วงทุกวัยของชีวิต
2 พัฒนาการ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.)
พัฒนาการ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) 1. ยุคทองคำเปลว 2. ยุคทองโบราณ 3. ยุคทองไม่รู้ร้อน 4. ยุคทองเนื้อแท้
3 ปรัชญา กศน.
ปรัชญา กศน. ดร. โกวิท วรพิพัฒน์ และคณะได้เริ่มนำแนวคิดเรื่อง “คิดเป็น” มาเป็นเป้าหมายสำคัญในการจัดการศึกษาผู้ใหญ่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 เป็นต้นมา เช่น โครงการศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จ โครงการรณรงค์เพื่อการรู้หนังสือแห่งชาติ โครงการการศึกษาประชาชนและการศึกษาต่อเนื่อง เป็นต้น จากนั้นจึงได้มีการประยุกต์มาเป็นปรัชญาของการจัดการศึกษานอกโรงเรียน การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยในปัจจุบัน
ปรัชญา กศน. ปรัชญา “คิดเป็น” อยู่บนพื้นฐานความคิดที่ว่า ความต้องการ ของแต่ละบุคคลไม่เหมือนกัน แต่ทุกคนมีจุดรวมของความต้องการ ที่เหมือนกัน คือทุกคนต้องการความสุข คนเราจะมีความสุขเมื่อ ตัวเราและสังคมสิ่งแวดล้อมผสมกลมกลืนกันได้ โดยปรับตัวเราให้เข้ากับสังคมสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา หรือโดยการปรับสังคมสิ่งแวดล้อมให้เข้ากับตัวเรา หรือปรับทั้งตัวเราและสังคมสิ่งแวดล้อมให้ผสมกลมกลืนกันได้ก็จะมีความสุข
คนที่จะทำได้เช่นนี้ต้องรู้จักคิดรู้จักใช้ปัญญา รู้จักตนเองและธรรมชาติสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างดีจึงจะเรียกได้ว่าเป็น “คนคิดเป็น” นั่นก็คือเป็นผู้ที่รู้จักปัญหาเรื่องทุกข์ รู้จักสาเหตุแห่งทุกข์ซึ่งมีอยู่ในตนและสภาพแวดล้อม รู้จักการวิเคราะห์หาวิธีดับทุกข์จากวิชาการและประสบการณ์ และใช้กลวิธีที่เหมาะสมในการดับทุกข์จึงจะเกิดความสุข ถ้ายังไม่เกิดความสุขก็ต้องย้อนกลับไปพิจารณาข้อมูลทั้งสามด้านคือ วิชาการ ตนเอง และสังคมสิ่งแวดล้อมใหม่อีกครั้งจนกว่าจะพอใจ
กระบวนการเรียนรู้การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตามปรัชญา “คิดเป็น” นี้ ผู้เรียนถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ผู้สอนจะเป็นผู้จัดโอกาส จัดกระบวนการ จัดระบบข้อมูลและแหล่งเรียนรู้ รวมทั้งจัดบรรยากาศที่เหมาะสมในการเรียนรู้ขึ้น กิจกรรมในการเรียนรู้อาจมีแนวทางดังนี้ 1. กระตุ้นให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์จากปัญหาและความต้องการ ของตนเองและชุมชน 2. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ 3. ผู้เรียนเรียนรู้จากการอภิปราย ถกเถียงในประเด็นที่เป็นปัญหา 4. ผู้เรียนเรียนรู้จากกระบวนการกลุ่ม มีการใช้ข้อมูลหลายๆด้าน
5. ผู้เรียนเรียนรู้จากวิถีชีวิต วิถีการทำงาน วิถีชุมชน และภูมิปัญญา 6. ผู้เรียนเรียนรู้จากการทำโครงงาน การเข้าค่าย การศึกษาดูงาน 7. ผู้เรียนเรียนรู้จากการศึกษาวิจัย ศึกษากรณีตัวอย่างที่หลากหลาย 8. ผู้เรียนได้ฝึกการตัดสินใจด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลที่ลึกซึ้งเพียงพอ และเชื่อถือได้ 9. ผู้เรียนรู้จักการใช้เทคนิคกระบวนการต่างๆ เช่น การนำเวทีชาวบ้าน มาเป็นเครื่องมือสำคัญในการศึกษาปัญหาและการคิดแก้ปัญหาของ ตนเองและชุมชน 10. ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รู้จักการตัดสินใจในการแก้ปัญหาบนพื้นฐานของ ข้อมูลที่เพียงพอ ทั้งข้อมูลตนเอง วิชาการ และสังคมสิ่งแวดล้อม และนำไปสู่การปฏิบัติได้
4 หลักการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
หลักการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยหลักการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กลุ่มเป้าหมายของการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยส่วนมากเป็นผู้ใหญ่ที่มีประสบการณ์ มีวุฒิภาวะ มีความรับผิดชอบในการทำงานและการดูแลครอบครัว มีข้อจำกัดและมีประสบการณ์ในด้านลบกับการศึกษาในระบบโรงเรียน การจัดกิจกรรมและกระบวนการเรียนรู้จึงต้องสอดคล้องกับธรรมชาติและความต้องการของผู้เรียนที่ต่างไปจากการจัดให้กับเด็กในวัยเรียน โดยมีหลักการและแนวคิดที่สำคัญดังต่อไปนี้
หลักการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยหลักการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย 1. ต้องคำนึงถึงลักษณะของผู้ใหญ่ที่มีข้อจำกัดด้านร่างกายและจิตใจ เช่น สายตาไม่ดี การได้ยินบกพร่อง มีปมด้อยเรื่องความรู้ที่ต่ำ เป็นต้น การจัดการเรียนรู้ การจัดหลักสูตร ต้องเป็นไปเพื่อไม่ให้เกิดข้อจำกัด เหล่านี้ และสร้างความมั่นใจให้กับผู้เรียนอย่างเต็มที่ 2. ต้องให้โอกาสที่เท่าเทียมกันในการเรียนรู้ไม่ว่าจะเป็นในเขตชนบทหรือในเมือง ในเขตชุมชนหรือถิ่นทุรกันดาร ฐานะดีหรือยากจน หรือผู้พิการ โดยให้โอกาสในการเข้าถึงการศึกษาเรียนรู้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน
3. การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ต้องจัดให้สอดคล้องกับความถนัดและความต้องการของผู้เรียน ให้ผู้เรียนได้พัฒนาศักยภาพและนำประสบการณ์ของตนมาเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเล่าเรียน เพื่อให้สามารถนำการเรียนรู้เหล่านั้นไปใช้ในชีวิตประจำวันของตนได้ 4. การจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ต้องเป็นการจัดการศึกษาที่บูรณาการเข้ากับวิถีชีวิตของผู้เรียน สัมพันธ์สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม วิถีชุมชน และท้องถิ่น การจัดกระบวนการเรียนรู้จึงต้องเป็นไปในลักษณะของการบูรณาการสาระการเรียนรู้ บูรณาการการเรียนการสอน เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงได้
5. การเรียนรู้จากการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย มิได้เกิดขึ้นเฉพาะในห้องเรียนหรือสถาบันการศึกษาเท่านั้น แต่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกแห่ง ในบ้าน ที่ทำงาน ไร่นา ตลาด ศาสนสถาน แหล่งท่องเที่ยว โบราณสถาน สวนสาธารณะ สวนสัตว์ สถานประกอบการ ฯลฯ ครู กศน. จึงต้องสำรวจข้อมูล แหล่งความรู้ในท้องถิ่นที่สามารถให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ได้มากที่สุด ส่งเสริมและสนับสนุนให้แหล่งเรียนรู้เหล่านี้มีศักยภาพและบรรยากาศที่เหมาะสมในการเรียนรู้ของผู้เรียน 6. ครูหรือผู้อำนวยการจัดการเรียนรู้ มิได้จำกัดอยู่ที่ที่ตัวครูในสถาน ศึกษาเท่านั้น การแลกเปลี่ยนความรู้ การถ่ายทอดวิชาความรู้อาจเป็นพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้นำชุมชน ภูมิปัญญาปราชญ์ชาวบ้าน พระ หรือผู้นำศาสนาก็สามารถเป็นครูได้ ทั้งนี้รวมถึงครูที่พูดไม่ได้เช่น อุทยานการศึกษา พืชผักสวนครัว พืชสมุนไพร เป็นต้น
7. การจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ต้องจัดกระบวน การเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้พัฒนาคุณภาพชีวิตโดยการพึ่งพาตนเอง หรือพึ่งพากันเอง มากกว่าที่จะรอรับความช่วยเหลือหรือการสอนสั่งจากบุคคล ภายนอก หรือลอกเลียนแบบจากต่างประเทศโดยไม่คำนึงถึงสภาพปัญหาของตนเองและชุมชน โดยต้องให้ผู้เรียน”คิดเป็น” สามารถดำรงชีวิตในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอได้อย่างเป็นปกติสุข 8. หลักการมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดการศึกษานอกระบบและการเรียนรู้ตามอัธยาศัยเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง ทั้งนี้ต้องให้ชุมชนและประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่ร่วมคิด ร่วมกำหนดนโยบาย ร่วมวาง แผน ปฏิบัติ ส่งเสริมสนับสนุน ติดตามและตรวจสอบเพื่อให้การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเป็นของขุมชน โดยชุมชนอย่างแท้จริง นอกจากนั้นยังต้องส่งเสริมให้ภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ เอกชน
ชุมชน องค์กรประชาชน สถานประกอบการ ฯลฯ เข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ เพื่อให้การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเข้าถึงประชาชนอย่างกว้างขวางและครอบคลุมทุกกลุ่ม เป้าหมาย การจัดตั้งกรรมการสถานศึกษาเป็นตัวอย่างที่ดีของการมีส่วนร่วมของชุมชนที่เห็นได้ชัด
5 ปัญหาและอุปสรรคบางประการในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ปัญหาและอุปสรรคบางประการในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยปัญหาและอุปสรรคบางประการในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย 1. แนวคิดในการจัดการศึกษาและการเรียนรู้เปลี่ยนแปลงไปตาม ความคิดของผู้มีอำนาจโดยไม่สนับสนุนต่อหลักการของการศึกษา นอก ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย 2. มีความไม่เป็นธรรมในการจัดสรรทรัพยากรและการส่งเสริมสนับสนุน การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย 3. ครูและผู้บริหารขาดการฝึกอบรมเสริมสร้างจิตสำนึกและวิญญาณของ คนทำงาน กศน.
4. ความยืดหยุ่นสูง และความไม่ชัดเจนของคนทำงาน และธรรมชาติของ งาน ถ้าไม่ระมัดระวังอาจจะทำให้คุณภาพของงานและของคนทำงาน ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ 5. ขาดเอกภาพในการทำงานแบบเครือข่าย 6. กลุ่มเป้าหมายผู้ด้อยโอกาสและผู้ยากไร้ ผู้พิการ ผู้คนในพื้นที่ห่างไกล ทุรกันดาร เสี่ยงต่อชีวิตและทรัพย์สิน ทำให้ผู้ปฏิบัติงานขาดขวัญและ กำลังใจ ไม่มุมานะอุทิศเวลาให้อย่างเต็มที่