560 likes | 1.37k Views
ระบบศาลไทย. อาจารย์สุรชัย อุฬารวงศ์ สำนักวิชากฎหมาย มหาวิทยาลัยราช ภัฏ เชียงราย. อำนาจอธิปไตย. อำนาจอธิปไตยนั้นได้แบ่งออกเป็น 3 ทาง. ประเภทของศาลตามรัฐธรรมนูญ. ศาลรัฐธรรมนูญ. ศาลรัฐธรรมนูญ. ตุลาการประจำศาลรัฐธรรมนูญ 9 คน. ประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 1 คน.
E N D
ระบบศาลไทย อาจารย์สุรชัย อุฬารวงศ์ สำนักวิชากฎหมาย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
อำนาจอธิปไตย อำนาจอธิปไตยนั้นได้แบ่งออกเป็น 3 ทาง
ประเภทของศาลตามรัฐธรรมนูญประเภทของศาลตามรัฐธรรมนูญ
ศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการประจำศาลรัฐธรรมนูญ 9คน ประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 1คน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอื่น 8คน - ผู้พิพากษาในศาลฎีกา 3 คน - ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด2 คน - ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ 2 คน - ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์/ รัฐประศาสนศาสตร์/สังคมศาสตร์อื่น 2 คน การนั่งพิจารณาและการทำคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญต้องประกอบด้วยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่น้อยกว่า 5 คน
อำนาจหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยคดีของศาลรัฐธรรมนูญ(ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550)
อำนาจหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยคดีของศาลรัฐธรรมนูญ (ต่อ)(ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550)
อำนาจหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยคดีของศาลรัฐธรรมนูญ (ต่อ)(ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550)
อำนาจหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยคดีของศาลรัฐธรรมนูญ (ต่อ)(ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550)
อำนาจหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยคดีของศาลรัฐธรรมนูญ (ต่อ)(ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550)
อำนาจหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยคดีของศาลรัฐธรรมนูญ (ต่อ)(ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550)
1. ศาลแพ่ง 2.ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ 3.ศาลแพ่งธนบุรี 4.ศาลอาญา 5.ศาลอาญากรุงเทพใต้ 6.ศาลอาญาธนบุรี 7.ศาลจังหวัด 8.ศาลแขวง และ 9.ศาลยุติธรรมอื่น (ศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลแรงงาน ศาลล้มละลาย ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ และศาลภาษีอากร) 1. ศาลอุทธรณ์ และ 2. ศาลอุทธรณ์ภาค ( 9 ภาค)
ศาลชั้นต้น • ศาลที่คู่ความเริ่มต้นฟ้องร้องคดีกัน • ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาชี้ขาดตัดสินคดีแพ่งและคดีอาญาในศาลชั้นต้น หลังจากนั้นจึงจะมีการอุทธรณ์หรือฎีกาต่อไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา คู่ความจะไปฟ้องร้องเริ่มต้นคดีที่ศาลฎีกาหรือศาลอุทธรณ์ทีเดียวไม่ได้ เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษ เช่น พระราชบัญญัติพรรคการเมือง, พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และในศาลชั้นต้นนั้นมีหลายศาล และมีหลายประเภทด้วยกัน • ศาลชั้นต้นเป็นศาลที่มีความสำคัญ และมีความสลับซับซ้อนมาก แม้ศาลชั้นต้นจะเป็นศาลที่เริ่มต้นพิจารณาพิพากษาคดี และคำพิพากษาไม่เสร็จเด็ดขาดถึงที่สุด • ศาลแต่ละศาลมีอำนาจหน้าที่แตกต่างกัน องค์คณะของผู้พิพากษาก็แตกต่างจากศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา ในบางกรณีใช้องค์คณะผู้พิพากษาคนเดียวก็เพียงพอในการพิจารณาคดี บางกรณีต้องใช่องค์คณะผู้พิพากษาอย่างน้อย 2 คนขึ้นไปและเมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาคดีแล้ว จึงนำไปคดีสู่ศาลอุทธรณ์และหรือศาลฎีกาต่อไป
ศาลเยาวชนและครอบครัว • ศาลเยาวชนและครอบครัวเป็นศาลยุติธรรมชั้นต้นตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม (พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 8 วรรคท้าย) • ศาลเยาวชนและครอบครัวนั้น หมายถึงศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัด หรือแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลจังหวัด (มาตรา 4) • กำหนดให้จัดตั้งศาลเยาวชน และครอบครัวกลางขึ้นในกรุงเทพมหานคร และศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดอีกหลายแห่ง (มาตรา 8) • ศาลเยาวชนและครอบครัวทั้งหมดเป็นศาลยุติธรรมชั้นต้นถือว่าสังกัดในศาลยุติธรรม
ศาลเยาวชนและครอบครัว (ต่อ) • มาตรา 11 กำหนดให้ศาลเยาวชน และครอบครัวมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีดังต่อไปนี้ (1) คดีอาญาที่มีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด (2) คดีอาญาที่ศาลซึ่งมีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดาได้โอนมาตาม มาตรา 61 วรรคหนึ่ง (3) คดีครอบครัว (4) คดีที่ศาลจะต้องพิพากษาหรือสั่งเกี่ยวกับตัวเด็กและเยาวชนตามบทบัญญัติของกฎหมายซึ่งบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของศาลเยาวชนและครอบครัว
ศาลแรงงาน • ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน และวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ตามมาตรา 10 ได้บัญญัติไว้ว่า “ให้ศาลแรงงานสังกัดอยู่ในกระทรวงยุติธรรมและให้นำบทบัญญัติแห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาใช้บังคับแก่ศาลแรงงานโดยอนุโลม” • ศาลแรงงานมีอยู่ 2 ชั้นศาล ได้แก่ .... และ ...
ศาลแรงงาน (ต่อ) • ศาลแรงงาน หมายถึง ศาลแรงงานกลาง ศาลแรงงานภาค ศาลแรงงานจังหวัด (มาตรา 3) • คดีที่ศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งมี 3 ประเภท (1) คดีแรงงานทั่วไป ตามมาตรา 8 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ (2) คดีเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง (3) คดีแรงงานตามแนวคำวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลาง
ศาลล้มละลาย • ศาลล้มละลาย หมายถึง ศาลล้มละลายกลางและศาลล้มละลายภาค (พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 3) • มาตรา 11 บัญญัติว่า “ให้ศาลล้มละลายเป็นศาลชั้นต้นตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม และนำบทบัญญัติแห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาใช้บงคับแก่ศาลล้มละลายโดยอนุโลม” • ศาลล้มละลายเป็นศาลชั้นต้นสังกัดศาลยุติธรรมตามความหมายของมาตรา 2 และมาตรา 18 แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรม • เงื่อนไขในฟ้องคดีต่อศาลล้มละลาย (มาตรา 7) คือ “ลูกหนี้ที่มีหนี้สินล้นพ้นตัวอาจถูกศาลพิพากษาให้ล้ม ละลายได้ ถ้าลูกหนี้นั้นมีภูมิลำเนาในราชอาณาจักร หรือประกอบธุรกิจในราชอาณาจักร ไม่ว่าด้วยตนเองหรือโดยตัวแทนในขณะที่มีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลาย หรือภายในกำหนดหนึ่งปีก่อนนั้น”
ศาลล้มละลาย (ต่อ) • มูลเหตุการฟ้องคดีล้มละลายประกอบด้วย เงื่อนไข 2 ประการคือ(1) ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวคือลูกหนี้มีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน(2) ก.ลูกหนี้มีภูมิลำเนาในราชอาณาจักรหรือข.ลูกหนี้ประกอบธุรกิจในราชอาณาจักรไม่ว่าด้วยตนเอง หรือตัวแทนในขณะที่ยื่นคำฟ้องหรือคำร้องขอให้ล้มละลายหรือภายในกำหนด 1 ปีก่อนนั้น
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ • พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 11 บัญญัติว่า “ให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเป็นศาลชั้นต้นตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม และให้นำบทบัญญัติแห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาใช้บังคับแก่ศาลทรัพย์สินทางปัญญา และการค้าระหว่างประเทศโดยอนุโลม” • ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเป็นศาลในสังกัดศาลยุติธรรมที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติและกฎหมายอื่น
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ (ต่อ) • มาตรา 7 กำหนดให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจ พิจารณาพิพากษาคดี ดังต่อไปนี้
ศาลภาษีอากร • ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 12 กำหนดให้ศาลภาษีอากรเป็นศาลยุติธรรมชั้นต้นตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม และให้นำบทบัญญัติแห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาใช้บังคับโดยอนุโลม • ศาลภาษีอากรจึงเป็นศาลชั้นต้นและถือว่าเป็นศาลในกลุ่มศาลยุติธรรมตามความหมายในมาตรา 2 และมาตรา 18 แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรม • มาตรา 7 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากร ฯ กำหนดให้ศาลภาษีอากรมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งในเรื่อง ต่อไปนี้
ศาลอุทธรณ์ • ศาลชั้นกลางที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้น • เมื่อศาลชั้นต้นในเขตกรุงเทพมหานคร ศาลจังหวัด ศาลแขวง และศาลอื่น ๆที่ตั้งอยู่ในจังหวัดต่างๆทั่วราชอาณาจักร พิจารณาพิพากษาคดีต่างๆ แล้ว ตามปกติคู่ความที่แพ้คดีหรือไม่พอใจคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้น มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคแล้วแต่กรณี • กรณีที่กฎหมายห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงเฉพาะคดีที่มีโทษเบา หรือมีทุนทรัพย์น้อย หรือมีกฎหมายบัญญัติให้อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา • ศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาคมีเขตอำนาจในการพิจารณา พิพากษาคดีแพ่ง และคดีอาญา ตามเขตอำนาจของแต่ละชั้นศาล อำนาจศาลอุทธรณ์ ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 22 • ศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาคมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง และคดีอาญาทั้งปวงในเขต อำนาจของตนโดยไม่จำกัดว่ามีโทษจำคุกหนักเท่าใด และไม่จำกัดว่าคดีแพ่งจะมีทุนทรัพย์มากน้อย เพียงใด
ศาลอุทธรณ์ (ต่อ) • พระธรรมนูญศาลยุติธรรมบัญญัติให้ศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาคมีอำนาจดังต่อไปนี้
ศาลอุทธรณ์ (ต่อ) • ศาลอุทธรณ์ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา จำแนกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร แต่ปัจจุบันตั้งอยู่ในจังหวัดที่ศาลอุทธรณ์ภาคนั้นๆ มีเขตอำนาจ องค์คณะในศาลอุทธรณ์ หรือศาลอุทธรณ์ภาคที่จะมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีได้ ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 27 ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อย 3 คน กล่าวคือ หากการนั่งพิจารณาพิพากษาคดีของศาลอุทธรณ์ หรือศาลอุทธรณ์ภาคในคดีใด ที่นั่งไม่ครบองค์คณะ การพิจารณาคดีในเรื่องนั้นก็จะเสียไปไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลฎีกา • เป็นศาลสูงสุดที่มีอยู่ศาลเดียว • เป็นศาลที่รับคดีที่อุทธรณ์มาจากศาลอุทธรณ์ • ศาลฎีกามีเพียงศาลเดียวตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร มีเขตอำนาจคลอบคลุมศาลอุทธรณ์และศาลชั้นต้นทุกศาลทั่วราชอาณาจักร • รับฎีกาคดีที่ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เว้นแต่คดีบางประเภทซึ่งกฎหมายบัญญัติไว้ โดยเฉพาะว่าเมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งแล้ว ให้อุทธรณ์ไปยังศาลฎีกาโดยตรง เช่น คดีศาลแรงงาน คดีศาลภาษีอากร และคดีบางประเภทโจทก์ต้องเริ่มต้นเสนอคำฟ้องต่อศาลฎีกาโดยตรง เช่น คดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 219 วรรค 4 • เมื่อศาลอุทธรณ์ศาลใดศาลหนึ่ง มีคำพิพากษาหรือคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว หากคู่ความไม่พอใจก็มีสิทธิ์อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่ง ของศาลอุทธรณ์ไปยังศาลฎีกา แต่สิทธิที่จะฎีกานี้ ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายว่าด้วยการฎีกา ซึ่งบัญญัติอยู่ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและวิธีพิจารณาความอาญา
เหตุที่ต้องมีศาลฎีกา • เพื่อตรวจสอบคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ • ศาลฎีกาเป็นผู้วินิจฉัยเป็นครั้งสุดท้าย เพราะในบางกรณีศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาแตกต่างกัน
การแบ่งส่วนราชการในศาลฎีกาการแบ่งส่วนราชการในศาลฎีกา • “ศาลฎีกา ศาลอุทธรณ์ และศาลชั้นต้น อาจแบ่งส่วนราชการเป็นแผนกหรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น และจะให้มีอำนาจในคดีประเภทใดหรือคดีในท้องที่ใด ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของแต่ละศาลนั้นแยกต่างหากโดยเฉพาะก็ได้ โดยออกเป็นประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม....” (มาตรา 4 พระธรรมนูญศาลยุติธรรม) • มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ศาลที่มีคดีความมาก ๆ แบ่งแยกเป็นแผนกตามประเภทของคดี • เพื่อจัดให้ผู้พิพากษาแต่ละคนทำงานคดีตามแผนกที่ตนถนัดหรือมีความรู้ความชำนาญเฉพาะ • เพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีเป็นไปโดยละเอียดถี่ถ้วนรวดเร็ว และถูกต้องเป็นแนวเดียวกัน
แผนกคดีพิเศษในศาลฎีกาแผนกคดีพิเศษในศาลฎีกา
การดำเนินงานในศาลฎีกาการดำเนินงานในศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 219 วรรคสี่ มีวิธีพิจารณาคดีอาญาเป็นพิเศษโดยเฉพาะซึ่งองค์คณะผู้พิพากษาในแผนกนี้ประกอบด้วย ผู้พิพากษาศาลฎีกาจำนวน 9 คน ที่คัดเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ขึ้นนั่งพิจารณาคดีเช่นเดียวกับศาลชั้นต้น แต่การพิจารณาคดีจะแตกต่างจากวิธีการพิจารณาที่ใช้ในคดีทั่วไปเนื่องจากเป็นระบบไต่สวน ซึ่งศาลมีอำนาจไต่สวนหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควรตามวิธีพิจารณาคดีที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2542 รวมทั้งอำนาจตั้งผู้ไต่สวนอิสระ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 275 วรรคสี่
ตุลาการและองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีตุลาการและองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดี ศาลปกครองสูงสุด ศาลปกครองชั้นต้น ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 12 • ตุลาการ ประกอบด้วย ประธานศาลปกครองสูงสุด รองประธานศาลปกครองสูงสุด ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุด และตุลาการศาลปกครองสูงสุด ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542มาตรา 54 • องค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีต้องมีตุลาการในศาลปกครองสูงสุดอย่างน้อย 5 คน ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542มาตรา 17 • ตุลาการ ประกอบด้วย อธิบดีศาลปกครองชั้นต้น รองอธิบดีศาลปกครองชั้นต้น ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองชั้นต้น ตุลาการศาลปกครองชั้นต้น ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 54 • องค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีต้องมีตุลาการในศาลปกครองชั้นต้นอย่างน้อย 3 คน
อำนาจพิจารณาพิพากษา • พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 กำหนดให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ คำสั่ง หรือการกระทำอื่นใดเนื่องจากกระทำโดยไม่มีอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น หรือโดยไม่สุจริต หรือมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติไม่เป็นธรรมหรือมีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็น หรือสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควรหรือเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ (2) คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร (3) คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครองหรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
อำนาจพิจารณาพิพากษา (ต่อ) (4) คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง (5) คดีที่มีกฎหมายกำหนดให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐฟ้องคดีต่อศาลเพื่อบังคับให้บุคคลต้องกระทำหรือละเว้นกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด (6) คดีพิพาทเกี่ยวกับเรื่องที่มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครอง แต่เรื่องดังต่อไปนี้ไม่อยู่ในอำนาจศาลปกครอง การดำเนินการเกี่ยวกับวินัยทหาร การดำเนินการของคณะกรรมการตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลแรงงาน ศาลภาษีอากร ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ศาลล้มละลาย หรือศาลชำนัญพิเศษอื่น
อำนาจพิจารณาพิพากษา (ต่อ) • คดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด โดยมาตรา 11 กำหนดให้ศาลปกครองสูงสุดมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี ดังต่อไปนี้ (1) คดีพิพาทเกี่ยวกับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทตามที่ที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดประกาศกำหนด (2) คดีพิพาทเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของพระราชกฤษฎีกาหรือกฎที่ออกโดยคณะรัฐมนตรี หรือโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี (3) คดีที่มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ในอำนาจศาลปกครองสูงสุด (4) คดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น
ศาลทหาร (ต่อ) • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 228 ให้ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาซึ่งผู้กระทำผิดเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารและคดีอื่น ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ
ศาลทหาร (ต่อ) • ศาลทหารชั้นต้น ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 7 แบ่งออกเป็น ศาลจังหวัดทหาร ศาลมณฑลทหาร ศาลทหารกรุงเทพ และศาลประจำหน่วยทหาร • พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 13 ให้ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาวางบทลงโทษผู้กระทำผิดต่อกฎหมายทหารหรือกฎหมายอื่นในทางอาญา ในคดีซึ่งผู้กระทำผิดเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารในขณะกระทำผิด และมีอำนาจสั่งลงโทษบุคคลใด ๆ ที่กระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แต่ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 14 เป็นคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร 1) คดีที่บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกับบุคคลที่มิได้อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำผิดด้วยกัน 2) คดีที่เกี่ยวพันกับคดีที่อยู่ในอำนาจศาลพลเรือน 3) คดีที่ต้องดำเนินในศาลเยาวชนและครอบครัว 4) คดีที่ศาลทหารเห็นว่าไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร
ศาลทหาร (ต่อ) • สำหรับบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 16 ได้แก่ (1) นายทหารชั้นสัญญาบัตรประจำการ (2) นายทหารชั้นสัญญาบัตรนอกประจำการ เฉพาะเมื่อกระทำผิดต่อคำสั่งหรือข้อบังคับตามกฎหมายอาญาทหาร (3) นายทหารประทวนและพลทหารกองประจำการ หรือประจำการ หรือบุคคลที่รับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร (4) นักเรียนทหารตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด (5) ทหารกองเกินที่ถูกเข้ากองประจำการ ซึ่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารได้รับตัวไว้เพื่อให้เข้ารับราชการประจำการอยู่ในหน่วยทหาร (6) พลเรือนที่สังกัดอยู่ในราชการทหาร เมื่อกระทำผิดในหน้าที่ราชการทหารหรือกระทำผิดอย่างอื่นเฉพาะในหรือบริเวณอาคาร ที่ตั้งหน่วยทหาร ที่พักร้อน พักแรม เรือ อากาศยาน หรือยานพาหนะใด ๆ ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ทหาร (7) บุคคลที่ต้องขัง หรืออยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารโดยชอบด้วยกฎหมาย (8) เชลยศึก หรือชนชาติศัตรูซึ่งอยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร
อำนาจพิจารณาพิพากษาของแต่ละศาลอำนาจพิจารณาพิพากษาของแต่ละศาล • ศาลจังหวัดทหาร มาตรา 19 ให้มีอำนาจพิจารณาคดีอาญาได้ทุกบทกฎหมาย เว้นแต่คดีที่จำเลยมียศทหารชั้นสัญญาบัตร • ศาลมณฑลทหารและศาลประจำหน่วยทหาร มาตรา 21 ให้มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาได้ทุกบทกฎหมาย เว้นแต่คดีที่จำเลยมียศทหารชั้นนายพลหรือเทียบเท่า • ศาลทหารกรุงเทพ มาตรา 22 ให้มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลทหารกลาง • องค์คณะตุลาการที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี มีดังนี้ ศาลทหารชั้นต้น มีตุลาการ 3 นาย ประกอบด้วยนายทหารชั้นสัญญาบัตร 2 นาย ตุลาการพระธรรมนูญ 1 นาย เป็นองค์คณะ ตามมาตรา 26 และมาตรา 27 ศาลทหารกลางมีตุลาการ 5 นาย ประกอบด้วยนายทหารชั้นนายพล 1 หรือ 2 นาย นายทหารชั้นนายพัน นายนาวา หรือนายนาวาอากาศขึ้นไป 1 หรือ 2 นาย ตุลาการพระธรรมนูญ 2 นาย ตามมาตรา 28 ศาลทหารสูงสุดมีตุลาการ 5 นาย ประกอบด้วยนายทหารชั้นนายพล 2 นาย และตุลาการพระธรรมนูญ 3 นาย ตามมาตรา 29