710 likes | 802 Views
การปกป้องคุ้มครองเด็ก. โดย นางสาวพัชรี ศรีงาม นักสังคมสงเคราะห์ปฏิบัติการ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดจันทบุรี. ขอขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ. ประเด็นการนำเสนอ. 1. สถานการณ์ด้านเด็ก 2. แนวคิด/กฎหมาย และมุมมองในการคุ้มครองเด็ก
E N D
การปกป้องคุ้มครองเด็กการปกป้องคุ้มครองเด็ก โดย นางสาวพัชรี ศรีงาม นักสังคมสงเคราะห์ปฏิบัติการ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดจันทบุรี ขอขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ
ประเด็นการนำเสนอ 1. สถานการณ์ด้านเด็ก 2. แนวคิด/กฎหมาย และมุมมองในการคุ้มครองเด็ก 3. มาตรการในการคุ้มครองเด็ก 4. กลไกในการคุ้มครองเด็ก 5. กระทรวง พม. กับการทำงานคุ้มครองเด็ก 6. บทส่งท้าย
เด็กและเยาวชน 1,715,447 คน ใช้ยาเสพติด!!
พร้อมจะโกงหากมีโอกาส • มีความรู้และสนใจเรื่องศาสนาน้อย
การกระทำรุนแรงต่อเด็กและสตรีในครอบครัวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นการกระทำรุนแรงต่อเด็กและสตรีในครอบครัวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
มีความรู้ต่ำกว่ามาตรฐาน เมื่อเทียบกับ ค่ามาตรฐานหรือประเทศอื่นๆ
เด็กในภาคอีสานขาดไอโอดีนเด็กในภาคอีสานขาดไอโอดีน เด็กอ้วนเกินมาตรฐาน
การใช้อินเตอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์เพิ่มมากขึ้นการใช้อินเตอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์เพิ่มมากขึ้น
สถานการณ์ด้านเด็กในจังหวัดจันทบุรีข้อมูลการให้บริการของศูนย์ OSCC
สถานการณ์ด้านเด็กในจังหวัดจันทบุรีข้อมูลการให้บริการของศูนย์ OSCC (ต่อ)
2. แนวคิด /กฎหมาย /มุมมองในการคุ้มครองเด็ก 2.1 อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก 2.2 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2.3 พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 2.4 มุมมองในการคุ้มครองเด็ก
2.1 อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก(Convention on the Rights of the Child) กำหนดสิทธิพื้นฐานของเด็กไว้ 4 ประการ คือ • 1.สิทธิที่จะมีชีวิตรอด เป็นสิทธิที่จะได้รับการเลี้ยงดูทั้งทางร่างกาย จิตใจ ตลอดจนที่อยู่อาศัยให้เกิดความปลอดภัย และต้องได้รับการดูแลด้านสุขภาพจากบริการทางการแพทย์ • 2.สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา เด็กทุกคนต้องได้รับสิทธิรับการศึกษาที่ดี ได้รับโภชนาการที่เหมาะสม
2.1 อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (ต่อ) • 3.สิทธิที่จะได้รับความคุ้มครอง เป็นสิทธิที่เด็กทุกคนจะได้รับความคุ้มครองให้รอดพ้นจากการทารุณทุกรูปแบบ เช่น การทำร้าย การนำไปขาย ใช้แรงงานเด็ก หรือแสวงหาประโยชน์มิชอบจากเด็ก • 4.สิทธิที่ในการมีส่วนร่วม มีสิทธิที่จะแสดงออกและแสดงความคิดเห็นต่อสังคมในเรื่องที่มีผลกระทบกับเด็ก • ประเทศไทยก็รับหลักการดังกล่าวมาบัญญัติเป็นกฎหมายภายใน ชื่อว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546
2.2 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย • มาตรา ๕๓ เด็ก เยาวชน และบุคคลในครอบครัว มีสิทธิได้รับความคุ้มครองโดยรัฐจากการใช้ความรุนแรงและการปฏิบัติอันไม่เป็นธรรม • มาตรา ๘๐ รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชนส่งเสริมความเสมอภาคของหญิงและชาย เสริมสร้างและพัฒนาความเป็นปึกแผ่นของครอบครัวและความเข้มแข็งของชุมชน รัฐต้องสงเคราะห์คนชรา ผู้ยากไร้ ผู้พิการ หรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและพึ่งตนเองได้
2.3 พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546
เหตุผลในการประกาศใช้ พ.ร.บ. • กำหนดขั้นตอนและปรับปรุงวิธีการปฏิบัติต่อเด็กให้เหมาะสม • เด็กได้รับการอุปการะเลี้ยงดู อบรมสั่งสอน และมีพัฒนาการที่เหมาะสม • ส่งเสริมความมั่นคงของสถาบันครอบครัว • ป้องกันมิให้เด็กถูกทารุณกรรม ตกเป็นเครื่องมือในการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ หรือถูกเลือกปฏิบัติไม่เป็นธรรม • ปรับปรุงวิธีการส่งเสริมความร่วมมือในการคุ้มครองเด็กระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนให้เหมาะสมยิ่งขึ้น • เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
สาระสำคัญของพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กสาระสำคัญของพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก การปฏิบัติต่อเด็ก ควรคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดที่จะเกิดกับเด็ก ไม่มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม การสงเคราะห์ การกำหนดสถานที่อยู่ของเด็กที่ต้องการให้การช่วยเหลือ โดยต้องมีการสืบเสาะและพินิจเกี่ยวกับตัวเด็กและครอบครัวเพื่อหาวิธีการสงเคราะห์หรือคุ้มครองที่เหมาะสม
การคุ้มครองสวัสดิภาพ การจัดการกับตัวเด็กที่ถูกกระทำความรุนแรง หรืออยู่ในกลุ่มเสี่ยง ที่ต้องการได้รับการคุ้มครอง สถานที่รับดูแลเด็ก การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดตั้งสถานรับเลี้ยง สถานแรกรับ สถานสงเคราะห์ สถานคุ้มครองสวัสดิภาพและสถานพัฒนาและฟื้นฟู การส่งเสริมพฤติกรรม การส่งเสริมพฤติกรรมของนักเรียนนักศึกษาที่มีความประพฤติปฏิบัติดีเพื่อเป็นตัวอย่าง
กองทุนคุ้มครองเด็ก เป็นเงินสนับสนุนในการสงเคราะห์ คุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก และส่งเสริมพฤติกรรม โดยมีคณะกรรมการบริหารกองทุนเป็นผู้บริหารจัดการ บทกำหนดโทษ มีการกำหนดโทษแก่บุคคลที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติต่างๆของ พรบ.ฉบับนี้
กลุ่มเป้าหมาย เด็กที่จะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายนี้ คือ บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส ได้แก่ (๑) เด็กที่พึงได้รับการสงเคราะห์ (มาตรา ๓๒(๑)-(๘)) และเด็กซึ่งกระทำผิดหรือต้องหาว่ากระทำผิด หรือเด็กซึ่งได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดทางอาญาที่ศาล พนักงานอัยการ หรือพนักงานสอบสวนเห็นจำต้องได้รับการสงเคราะห์(กฎกระทรวงฯ พ.ศ. ๒๕๔๙) (๒) เด็กที่พึงได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพ (มาตรา ๔๐ (๑)-(๓)) และเด็กที่ต้องหาว่ากระทำผิดกฎหมายแต่อายุไม่ถึงเกณฑ์ต้องรับโทษทางอาญา เด็กที่ศาลหรือผอ.สถานพินิจฯ ส่งมารับการคุ้มครองสวัสดิภาพ เด็กที่ประกอบอาชีพที่น่าจะเกิดอันตรายแก่ร่างกายและจิตใจ หรือประกอบอาชีพในบริเวณที่เสี่ยงอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ และเด็กที่อาศัยอยู่กับบุคคลที่มีพฤติกรรมที่น่าสงสัยว่าประกอบอาชีพไม่สุจริตหรือหลอกลวงประชาชน(กฎกระทรวงฯ พ.ศ. ๒๕๔๙) (๓) เด็กนักเรียนและนักศึกษา (หมวด ๗ มาตรา ๖๓-๖๖)
การปฏิบัติต่อเด็ก • มาตรา 23 ผู้ปกครองต้องให้การอุปการะเลี้ยงดู อบรม สั่งสอน และพัฒนาเด็กตามสมควรแก่ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม แต่ทั้งนี้ต้องไม่ต่ำกว่ามาตรฐานขั้นต่ำตามที่กำหนดในกฎกระทรวง • มาตรา 24 ปลัดกระทรวง ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้อำนวยการเขต นายอำเภอ ปลัดอำเภอ ผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ หรือผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กที่อยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ไม่ว่าเด็กจะมีหรือไม่มีผู้ปกครองก็ตาม รวมทั้งมีอำนาจและหน้าที่ดูแลตรวจสอบสถานรับเลี้ยงเด็กฯ และให้มีอำนาจหน้าที่ เช่นเดียวกับพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.นี้
บทบาทพนักงานเจ้าหน้าที่บทบาทพนักงานเจ้าหน้าที่ • เข้าไปในเคหสถาน สถานที่ใดๆ หรือยาพาหนะใดๆ • ซักถามเด็กเมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าเด็กจำต้องได้รับการสงเคราะห์ หรือคุ้มครองสวัสดิภาพ • มีหนังสือเรียกผู้ปกครองของเด็ก..ส่งเอกสารหรือหลักฐานเกี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่ ความประพฤติ สุขภาพ และความสัมพันธ์ในครอบครัว • เข้าไปในสถานที่อยู่อาศัยของผู้ปกครอง สถานที่ประกอบการของนายจ้าง สถานศึกษา • มอบตัวเด็กให้แก่ผู้ปกครองพร้อมกับแนะนำ ตักเตือน • ทำรายงานเกี่ยวกับตัวเด็ก
เด็กที่พึงได้รับการสงเคราะห์เด็กที่พึงได้รับการสงเคราะห์ (๑) เด็กเร่ร่อน หรือเด็กกำพร้า (๒) เด็กที่ถูกทอดทิ้งหรือพลัดหลง ณ ที่ใดที่หนึ่ง (๓) เด็กที่ผู้ปกครองไม่สามารถอุปการะเลี้ยงดูได้ด้วยเหตุใดๆ เช่น ถูกจำคุก กักขัง พิการ ทุพพลภาพ เจ็บป่วยเรื้อรัง ยากจน เป็นผู้เยาว์ หย่า ถูกทิ้งร้าง เป็นโรคจิตหรือโรคประสาท (๔) เด็กที่ผู้ปกครองมีพฤติกรรมหรือประกอบอาชีพไม่เหมาะสม อันอาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทางร่างกายหรือจิตใจของเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแล (๕) เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูโดยมิชอบ ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำหรือแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ ถูกทารุณกรรม หรือตกอยู่ในภาวะอื่นใดอันอาจเป็นเหตุให้เด็กมีความประพฤติเสื่อมเสียในทางศีลธรรมอันดีหรือเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ (๖) เด็กพิการ (๗) เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก และเด็กซึ่งกระทำผิดหรือต้องหาว่ากระทำผิด หรือเด็กซึ่งได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดทางอาญาที่ศาล พนักงานอัยการ หรือพนักงานสอบสวนเห็นจำต้องได้รับการสงเคราะห์(กฎกระทรวงฯ พ.ศ. ๒๕๔๙)
การสงเคราะห์เด็ก (ม. ๓๓) • ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ พิจารณาให้การสงเคราะห์ตามวิธีการที่เหมาะสม ดังนี้ (๑) ให้ความช่วยเหลือเด็กและครอบครัวหรือบุคคลที่อุปการะเลี้ยงดู (๒) มอบเด็กให้อยู่ในความอุปการะของบุคคลที่เหมาะสมและยินยอมเลี้ยงดู ตามระยะเวลาที่เห็นสมควร แต่ต้องไม่เกิน ๑ เดือน (๓) ดำเนินการเพื่อให้เด็กได้เป็นบุตรบุญธรรม (๔) ส่งเด็กเข้ารับการอุปการะในครอบครัวอุปถัมภ์หรือสถานรับเลี้ยงเด็กที่เหมาะสมและยินยอมรับเด็ก (๕) ส่งเด็กเข้ารับการอุปการะในสถานแรกรับ หรือสถานสงเคราะห์ (๖) ส่งเด็กเข้าศึกษา ฝึกอาชีพ หรือบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพ
ข้อควรระวัง • การให้การสงเคราะห์ด้วยการส่งเด็กเข้ารับการอุปาระในครอบครัวอุปถัมภ์ สถานรับเลี้ยงเด็ก สถานแรกรับ สถานสงเคราะห์ สถานพัฒนาและฟื้นฟู หรือสถานที่ทางศาสนา “ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง” • ความยินยอม ต้องทำเป็นหนังสือตามแบบที่กำหนด หรือทำด้วยวาจาต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคน • ถ้าผู้ปกครองไม่ให้ความยินยอม หรือไม่อาจให้ความยินยอมได้ “ให้ปลัดกระทรวง หรือผู้ว่าราชการจังหวัด มีอำนาจส่งเด็กเข้าสถานที่ดังกล่าวได้ แต่ต้องฟังรายงานความเห็นของผู้เชี่ยวชาญทางสังคมสงเคราะห์และแพทย์ก่อน และมีอำนาจกำหนดระยะเวลา ตลอดจนย่นหรือขยายระยะเวลาในการให้เด็กอยู่ในสถานที่ดังกล่าว
การคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก (๑) เด็กที่พึงได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพ (มาตรา ๔๐) - เด็กที่ถูกทารุณกรรม - เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด (๒) ให้ผู้พบเห็นหรือประสบพฤติการณ์ที่น่าเชื่อว่า มีการกระทำทารุณกรรมเด็ก ให้รีบแจ้ง พนักงานเจ้าหน้าที่ โดยพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าตรวจค้น และมีอำนาจแยกตัวเด็กจากครอบครัว เพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพโดยเร็ว (๓) จัดให้มีการตรวจรักษาทางร่างกายและจิตใจทันที ถ้าเห็นสมควรสืบเสาะและพินิจ ก็อาจส่งตัวเด็กไปสถานแรกรับก่อนได้ หรือถ้าจำเป็นต้องให้การสงเคราะห์ก็ให้การสงเคราะห์ ถ้าจำเป็นต้องพื้นฟูสภาพจิตใจก็ให้ส่งเด็กไปสถานพัฒนาและฟื้นฟู โดยให้กระทำได้ไม่เกิน ๗ วัน ถ้าจำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือพนักงานอัยการจะยื่นคำขอต่อศาลเพื่อขยายระยะเวลาได้ซึ่งการขยายเวลารวมแล้วไม่เกิน ๓๐ วัน(มาตรา ๔๒)
(๓) กรณีมีการฟ้องคดีอาญาผู้กระทำผิดและเชื่อว่าผู้ถูกฟ้องจะทารุณกรรมเด็กอีก ศาลมีอำนาจกำหนดมาตรการคุมความประพฤติ ห้ามเข้าเขตกำหนด หรือห้ามเข้าใกล้ตัวเด็กในระยะที่ศาลกำหนดและจะสั่งทำทัณฑ์บนตาม ม.๔๖ และ ม.๔๗ แห่งประมวลกฎหมายอาญา หากยังไม่ฟ้องคดีอาญา แต่มีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าจะมีการทารุณกรรมเด็กอีก “ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ ยื่นคำขอต่อศาลเพื่อออกคำสั่งมิให้กระทำ โดยกำหนดมาตรการคุมความประพฤติและเรียกประกันด้วยก็ได้” และยังมีอำนาจออกคำสั่งให้ตำรวจจับกุมผู้ที่จะทารุณกรรมเด็กมากักขังไว้มีกำหนด “ครั้งละไม่เกิน ๓๐ วัน” (๔) กรณีพนักงานเจ้าหน้าที่ พบหรือได้รับแจ้งว่า พบเด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำ มีอำนาจดำเนินการ
ข้อห้ามสำหรับเด็ก (มาตรา ๔๕) - ห้ามซื้อสุรา หรือบุหรี่ - ห้ามเสพสุรา หรือบุหรี่ - ห้ามเข้าไปในสถานที่เฉพาะเพื่อการจำหน่ายสุรา หรือบุหรี่ - เข้าไปในสถานที่เฉพาะเพื่อการเสพสุรา หรือบุหรี่ ถ้าฝ่าฝืน - พนักงานเจ้าหน้าที่สอบถามเพื่อทราบข้อมูลเกี่ยวกับเด็ก - มีหนังสือเรียกผู้ปกครองมาร่วมประชุมปรึกษาหารือ - ว่ากล่าวตักเตือน - ให้ทำทัณฑ์บน - มีข้อตกลงร่วมกันเกี่ยวกับวิธีการและระยะเวลาในการจัดให้เด็กทำงานบริการสังคมหรือทำงานสาธารณะประโยชน์ และ - วางข้อกำหนดให้ผู้ปกครองต้องปฏิบัติ หรือวางข้อกำหนดอื่นใด เพื่อแก้ไขหรือป้องกันมิให้เด็กกระทำผิดอีก
การส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษาการส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา (๑) โรงเรียนและสถานศึกษาต้องจัดให้มีการส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา ตามมาตรา ๖๓ (๒) พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจ ตามมาตรา ๖๕ มาตรา ๖๖ และมาตรา ๖๗
กลไกหลักในการขับเคลื่อนระบบงานกลไกหลักในการขับเคลื่อนระบบงาน • คณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ • คณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัด • คณะกรรมการคุ้มครองเด็กกรุงเทพมหานคร
บทบาทคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติบทบาทคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ • เสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบาย แผนงาน งบประมาณและมาตรการในการสงเคราะห์ คุ้มครองเด็ก/การออกกฎกระทรวงและระเบียบ • วางระเบียบโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลังเกี่ยวกับกองทุน • วางระเบียบเกี่ยวกับวิธีการดำเนินการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก • วางหลักเกณฑ์ในการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ • ให้คำปรึกษา แนะนำ และประสานงาน รวมทั้งมีอำนาจเข้าไปตรวจสอบในสถานรับเลี้ยงเด็ก • ติดตามประเมินผล และตรวจสอบการดำเนินงาน
คณะอนุกรรมการภายใต้บอร์ดชาติ • คณะอนุกรรมการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก • คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบคุ้มครองเด็ก • คณะอนุกรรมการพัฒนามาตรฐานกลไก เพื่อการสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก • คณะอนุกรรมการประเมินและติดตามผลการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก • คณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนตั้งครรภ์ไม่พร้อม
บทบาทคณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัดบทบาทคณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัด • เสนอความเห็นต่อคณะกรรมการ เกี่ยวกับ นโยบาย แผนงาน งบประมาณ และมาตรการ • ให้คำปรึกษา แนะนำ และประสานงาน รวมทั้งมีอำนาจเข้าไปตรวจสอบในสถานรับเลี้ยงเด็ก สถานแรกรับ สถานสงเคราะห์ สถานคุ้มครอง • กำหนดแนวทางการสงเคราะห์ คุ้มครองสวัสดิภาพ และส่งเสริมความประพฤติเด็ก /จัดหาทุนเพื่อการสงเคราะห์ • ตรวจสอบหรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องมาชี้แจง • เรียกเอกสาร หรือพยานหลักฐานใดๆ หรือขอคำชี้แจง • ติดตาม ประเมินผล และตรวจสอบการดำเนินงาน
คณะอนุกรรมการภายใต้บอร์ดจังหวัดคณะอนุกรรมการภายใต้บอร์ดจังหวัด • คณะอนุกรรมการด้านนโยบายและแผน • คณะอนุกรรมการด้านสหวิชาชีพ • คณะอนุกรราการส่งเสริมความประพฤติ นักเรียน นักศึกษา • คณะอนุกรรมการคุ้มครองเด็กในระดับอำเภอ ตำบล
2.4 มุมมองระบบคุ้มครองเด็ก
มุมมองระบบคุ้มครองเด็กในระดับสากลมุมมองระบบคุ้มครองเด็กในระดับสากล • การทำงานในเชิงระบบ และเป็นองค์รวมมากยิ่งขึ้น • เน้นการทำงานเชิงรุก และการป้องกันมากกว่าเข้าแทรกแซงในเชิงตั้งรับ หลังจากเกิดเหตุความรุนแรง หรือการละเมิดขึ้นแล้ว • เน้นการทำงานกับครอบครัวทั้งหมด ไม่เฉพาะกับเด็กผู้เสียหาย • พัฒนาศักยภาพของพ่อแม่ในการดูแลคุ้มครองเด็กที่เหมาะสม • การดูแลในรูปแบบครอบครัวทดแทน
มุมมองระบบคุ้มครองเด็กในประเทศไทยมุมมองระบบคุ้มครองเด็กในประเทศไทย • สถานการณ์และความจำเป็น • ข้อมูลปัญหาเด็กในสังคมยังไม่มีการจัดเก็บ อย่างเป็นระบบ • ลักษณะการช่วยเหลือยังเน้นการสงเคราะห์รายบุคคล
มุมมองระบบคุ้มครองเด็กในประเทศไทย (ต่อ) • การดำเนินงานคุ้มครองเด็กมีความหลากหลายสูง • การคุ้มครองเด็กกลุ่มเป้าหมายพิเศษ • การสร้างเครื่องมือในการทำงาน • การทำงานคุ้มครองเด็กในระดับชุมชนท้องถิ่นยังไม่มีความชัดเจน
3. มาตรการในการคุ้มครองเด็ก • ตัวบทกฎหมาย 88 มาตรา+1 บทเฉพาะกาล • กฎกระทรวงภายใต้พระราชบัญญัติฯ 8 ฉบับ • ประกาศภายใต้พระราชบัญญัติฯ 2 ฉบับ • ระเบียบภายใต้พระราชบัญญัติฯ 14 ฉบับ
ตัวบทกฎหมาย • หมวด 1 คณะกรรมการคุ้มครองเด็ก • หมวดที่ 2 การปฏิบัติต่อเด็ก • หมวดที่ 3 การสงเคราะห์เด็ก • หมวดที่ 4 การคุ้มครอง สวัสดิภาพเด็ก • หมวดที่ 5 ผู้คุ้มครอง สวัสดิภาพเด็ก • หมวดที่ 6 สถานรับเลี้ยง แรกรับ สงเคราะห์ คุ้มครอง พัฒนาและฟื้นฟู • หมวดที่ 7 การส่งเสริมความประพฤตินักเรียน นักศึกษา • หมวดที่ 8 กองทุนคุ้มครองเด็ก • หมวดที่ 9 บทลงโทษ • บทเฉพาะกาล
กฎกระทรวง 8 ฉบับ • กำหนดเด็กที่อยู่ในสภาพจำต้องได้รับการสงเคราะห์ พ.ศ. 2549 • การกระทำใดเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของเด็กหรือเลือกปฏิบัติ • มาตรฐานขั้นต่ำในการอุปการะเลี้ยงดู อบรมสั่งสอน และพัฒนาเด็ก • เงื่อนไขในการขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสถานรับเลี้ยงเด็ด • การจัดระบบงานและกิจกรรมแก่นักเรียน นักศึกษา และผู้ปกครอง • การว่ากล่าวตักเตือน ทำทัณฑ์บนและจัดให้เด็กทำงานบริการสังคม • การขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสถาน แรกรับ คุ้มครอง พัฒนาและฟื้นฟู • อัตราค่าธรรมเนียมสำหรับการจัดตั้งสถานรับเลี้ยงเด็ก แรกรับ คุ้มครอง พัฒนาและฟื้นฟู
ประกาศ 2 ฉบับ • กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการแต่งตั้งหรือถอดถอนผู้ปกครองสวัสดิภาพของสถานแรกรับ สถานสงเคราะห์ สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ และสถานพัฒนาและฟื้นฟู พ.ศ.2549 • ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียน และนักศึกษา
ระเบียบภายใต้พระราชบัญญัติ 14 ฉบับ • วิธีดำเนินการของสถาน 5 สถาน (สถานรับเลี้ยงเด็ก สถานแรกรับ สถานสงเคราะห์ สถานคุ้มครองสวัสดิภาพและ สถานพัฒนาและฟื้นฟู ) • วิธีการให้การสงเคราะห์เด็ก พ.ศ. 2547 • การกำหนดแบบบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ • การลงโทษเด็ก พ.ศ. 2548 • การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียน และนักศึกษา • การลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. 2548 • การบริหารกองทุน การพิจารณาอนุมัติการจ่ายเงินฯ พ.ศ. 2548
ระเบียบภายใต้พระราชบัญญัติ 14 ฉบับ • วิธีการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กที่ถูกทารุณกรรม หรือถูกเลี้ยงดูโดยมิชอบ พ.ศ. 2548 และ 2552 • หลักเกณฑ์การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ • หลักเกณฑ์การแต่งตั้งพนง.จนท.ส่งเสริมความประพฤตินักเรียน นักศึกษา • วิธีการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กที่ต้องหาว่ากระทำผิดฯและอายุยังไม่ถึงเกณฑ์ต้องรับโทษทางอาญา พ.ศ. 2551 • การรับเงิน จ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การจัดหาผลประโยชน์กองทุน • วิธีการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด พ.ศ. 2553
4. กลไกการคุ้มครองเด็กโดยจัดระบบเชื่อมโยง โรงพยาบาล องค์กรชุมชน โรงเรียน และสถานีตำรวจ
พนักงานเจ้าหน้าที่/ Case Manager มีตำแหน่งเป็นการเฉพาะทั้งหน่วยงานภาครัฐบาลและเอกชน ทำหน้าที่ Case Manager เป็นแกนเชื่อมประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับ จัดระบบการติดตามตรวจสอบคุณภาพการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ มี Supervisor สำหรับพนักงานเจ้าหน้าที่ ทบทวนการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่ละกรณี (Case Review) ทุกสามเดือน
หน่วยงานบริหารจัดการดูแลพนักงานเจ้าหน้าที่หน่วยงานบริหารจัดการดูแลพนักงานเจ้าหน้าที่ มีหน่วยงานระดับกรมขึ้นไปปฏิบัติหน้าที่ความรับผิดชอบแบบเบ็ดเสร็จในตัว ทั้งระดับนโยบายและปฏิบัติ จัดทำเครื่องมือต่างๆให้พนักงานเจ้าหน้าที่ คู่มือภาคปฏิบัติสำหรับพนักงานเจ้าหน้าที่ด้านต่างๆ บันทึกข้อตกลงระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เครือข่ายต่างๆให้มีการทำ Case Conference ร่วมกัน