110 likes | 271 Views
แบบฟอร์มโครงร่างโครงงาน โครงร่างเพื่อเสนอขอทำโครงงานคอมพิวเตอร์ ( Computer Project ). ชื่อโครงงาน วัดดังในจังหวัดลำพูน. ผู้รับผิดชอบ. น.ส . สุพรรษา วงค์ คม ชั้น ม .5 / 3 เลขที่ 12 น.ส . อัญชัญ ตันวังผาง ชั้น ม .5 / 3 เลขที่ 29
E N D
แบบฟอร์มโครงร่างโครงงาน โครงร่างเพื่อเสนอขอทำโครงงานคอมพิวเตอร์ ( Computer Project) ชื่อโครงงาน วัดดังในจังหวัดลำพูน
ผู้รับผิดชอบ น.ส.สุพรรษาวงค์คม ชั้น ม.5/3 เลขที่ 12 น.ส.อัญชัญ ตันวังผาง ชั้น ม.5/3 เลขที่ 29 นาย พัฒนพงษแสนไชย ชั้น ม.5/3 เลขที่ 34 น.ส.พหฤทัย ขุนใหญ่ ชั้น ม.5/3 เลขที่ 36
ที่มาและความสำคัญ ประเทศไทยถือว่าเป็นเมืองที่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติและคนในประเทศจำนวนมากและนักท่องเที่ยวถือว่าเป็นการสร้างเศรษฐกิจของประเทศที่ดี นำเงินเขามาสู่ประเทศจำนวนมากและประเทศไทยก็เป็นเมืองพุทธศาสนาจะมีวันสำคัญเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า จึงทำให้ทุกคนเข้าวัดเพื่อมาทำบุญและแต่ละจังหวัดจะมีวัดจำนวนมากจึงทำให้เวลาถึงวันสำคัญทางพุทธศาสนานักท่องเที่ยวจะไปทำบุญวัดดังของแต่ละจังหวัดรวมถึงลำพูนของเราด้วย ก็เป็นสถานที่สำคัญเหมือนกัน เนื่องจากเมืองลำพูนเป็นเมืองเล็กๆ เป็นเมืองเก่าแก่มีวัดมากมายทุกทิศในจังหวัดและวัดแต่ละวัดจะมีวัฒนธรรมแตกต่างกันออกไปตามทีอยู่ของวัดนั้นๆจึงมีผู้ไม่ค่อยรู้จักมากนักแต่ให้ผู้ที่สนใจได้รับรู้ความเป็นมาเพื่อที่จะช่วยอนุรักษ์สืบไป ดังนั้นพวกเราเห็นว่าวัดในจังหวัดลำพูนของตัวเองนั้นไม่เป็นที่รู้จักมากนั้นจึงจัดทำเว็บไซด์ขึ้นเพื่อที่จะทำให้ผู้ที่สนใจและนักท่องเที่ยวได้มาแวะชมแวะเที่ยวทำบุญกันใน 10 วัดดังในจังหวัดลำพูน
วัตถุประสงค์ เพื่อที่จะทำให้ทุกคนทั้งที่อยู่ต่างจังหวัด และ ต่างประเทศ นักท่องเที่ยว ได้รับรู้เกี่ยวกับ 10 วัดดังในจังหวัดลำพูน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1 มีนักท่องเที่ยวและนักทำบุญมาสักระมากขึ้น 2 ส่งเสริมวัฒนธรรมการท่องเที่ยว3อนุรักษ์วัดให้คนรุ่นหลังได้รู้ถึงที่มาและความสำคัญ ปัญหาและแนวทางแก้ไข มีเวลาไม่พอที่ดำเนินงานในครั้งนี้มากเท่าไหร่
ประวัติโดยย่อของแต่ล่ะวัดประวัติโดยย่อของแต่ล่ะวัด
วัดจามเทวี หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า วัดกู่กุด ตั้งอยู่ริมถนนจามเทวี ตำบลในเมือง สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ. 1298 เป็นฝีมือช่างละโว้ ลักษณะพระเจดีย์เป็นสี่เหลี่ยมแบบพุทธคยาในประเทศอินเดีย แต่ละด้านมีพระพุทธรูปยืนปางประทานพรอยู่เป็นชั้นๆ ภายในเจดีย์บรรจุอัฐิของพระนางจามเทวีปฐมกษัตริย์แห่งนครหริภุญไชย ตามตำนานเล่าว่าเจ้าอนันตยศและเจ้ามหันตยศ ราชโอรสของพระนางจามเทวีได้สร้างขึ้น เพื่อบรรจุอัฐิของพระนางเมื่อปี พ.ศ. 1298 เดิมมียอดห่อหุ้มด้วยทองคำ ต่อมาจะเป็นสมัยใดไม่ทราบชัด ยอดพระเจดีย์หักหายไปชาวบ้านจึงเรียกว่า กู่กุด หรือมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า พระเจดีย์สุวรรณจังโกฏ นอกจากนั้นยังมี รัตนเจดีย์ ซึ่งตั้งอยู่ทางขวาของวิหาร สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 17 โดยพระยาสรรพสิทธิ์ ฐานล่างสุดเป็นรูป 8 เหลี่ยม มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 4.40 เมตร สูงจรดยอด 11.50 เมตร องค์เจดีย์เป็นรูปสี่เหลี่ยม แต่ละเหลี่ยมเจาะเป็นซุ้ม ประดิษฐานพระพุทธรูปยืน ก่ออิฐถือปูนทั้งองค์
วัดต้นแก้วสร้างขึ้นเมื่อ พุทธศักราช ๑๘๒๕ ตามประวัติวัดแจ้งว่า สร้างประมาณพุทธศักราช ๒๓๔๙ โดยสันนิษฐานว่าย้ายมาจากวัดดอนแก้ว ซึ่งเป็นวัดที่สร้างสมัยพระนางเจ้าจามเทวี เริ่มสร้างเมืองลำพูน ที่ย้ายมาเนื่องจากวัดดอนแก้วเป็นวัดใหญ่ขาดการดูแลรักษาจึงผุพังไปตามกาล เวลา พระอธิการกัณฑ์ จึงได้ย้ายมาสร้างวัดต้นแก้วขึ้นใหม่ โดยมีแม่เฟย พร้อมดัวยผู้มีจิตศรัทธาช่วยกันก่อสร้างวัด ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. ๑๘๓๐ การบริหารและการปกครองอยู่ในอำนาจของเจ้าอาวาส มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนามมามีทั้งหมด ๑๐ รูป คือ รูปที่ ๑ พระอธิการกัณฑ์ รูปที่ ๒ พระอธิการอินจัย รูปที่ ๓ พระอธิการอิ่นคำ รูปที่ ๔ พระอธิการทองสุข รูปที่ ๕ พระมหาสม ใหญ่พงษ์ รูปที่ ๖ พระอธิการคำ เขื่อนเรือง รูปที่ ๗ พระอธิการทองดี สิงคลิง รูปที่ ๘ พระอธิการบุญชุม บวรธมโม รูปที่ ๙ พระอธิการผจญ อคฺคธมโม รูปที่ ๑๐ พระครูไพศาลธีลคุณ จนถึงปัจจุบัน
วัดมหาวันวนาราม ตั้งอยู่ใกล้คูเมือง ด้านทิศตะวันตก ถ.จามเทวี ในเขตเมืองลำพูนวัดมหาวันวนารามสร้างขึ้นในสมัยพระนางจามเทวีครองหริภุญไชย พระนางจามเทวีนั้นเดิม อยู่ที่อาณาจักรละโว้ เมื่อฤาษีวาสุเทพสร้างหริภุญไชยขึ้น พระนางจามเทวีได้เสด็จมาปกครองเป็น ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรหริภุญไชย เมื่อพระนางจามเทวีเสด็จมาหริภุญไชยนั้นได้พาไพร่พลที่มีความรู้สาขาต่างๆ พร้อมพระสงฆ์ ประมาณ 500 องค์มาด้วย รวมทั้งอัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญอีก 2 องค์ คือ พระแก้วขาว (พระเสตัง คมณี) และพระศิลาดำ (พระพุทธสิกขิ) เมื่อถึงหริภุญไชย พระนางจามเทวีโปรดให้สร้างวัดมหาวัน เพื่อให้เป็นที่จำพรรษาของพระสงฆ์และนำพระศิลามาประดิษฐานไว้ด้วย (ส่วนพระแก้วขาวนั้นพระเจ้าเม็งรายแห่งล้านนาได้อัญเชิญไปเป็นพระพุทธรูปประจำพระองค์ และประดิษฐานไว้ที่วัดเชียงมั่น ใน จ.เชียงใหม่ จนถึงปัจจุบัน) ต่อมาหริภุญไชยเกิดสงครามกับขุนลัวะวิลังขะ พระฤาษีจึงใช้พระศิลาดำเป็นต้นแบบสร้าง พระเครื่องแจกจ่ายชาวเมืองเพื่อใช้ออกศึก พระเครื่องส่วนที่เหลือบรรจุไว้ในเจดีย์ที่วัดมหาวัน ต่อมา ในยุคหลัง เมื่อเจดีย์บรรจุพระปรักหักพังลง ชาวบ้านจึงพบพระเครื่องที่เก็บไว้ต่างนำกันไปบูชาและ พบกับอิทธิปาฏิหารย์ต่างๆ พระเครื่องเหล่านี้คือ พระรอดมหาวันที่โด่งดังนั่นเอง
วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ในรัชสมัยของพญาอาทิตยราชกษัตริย์แห่งราชวงศ์จามเทวีวงศ์ โดยที่แห่งนี้ เคยเป็นพระราชฐานของพระองค์ซึ่งพระราชทานอุทิศถวายให้เป็นวัดพระธาตุฯ เพื่อเป็นพุทธบูชาหลังจากที่พระบรมสารีริกธาตุได้ปรากฏ ให้พระองค์ได้ทอดพระเนตรในบริเวณดังกล่าว มวลสารผงจากองค์พระบรมธาตุหริภุญชัยใช้ทำพระสมเด็จจิตรลดา
พระนางจามเทวี เป็นสตรีซึ่งปรากฏพระนามในเอกสารต่างๆ ซึ่งระบุว่าทรงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรหริภุญชัย อันเป็นอาณาจักรโบราณในภาคเหนือของประเทศไทยปัจจุบัน