E N D
โครงงานเรื่อง...ปุ๋ยฟื้นฟูสภาพดินจัดทำโดย1.ด.ญ.จุฑามาศ ไชยช่วย เลขที่ 12 2.ด.ญ.อรวรรณ สิ้นขุนทด เลขที่ 18 3.ด.ญ.ศิรินภา รวมธรรม เลขที่ 204.ด.ช.ธุดงห์ ทองเจียว เลขที่ 55. ด.ช.กิตติศักดิ์ ขันธุลา เลขที่ 1ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1ครูที่ปรึกษาโครงงานคุณครูดนุภัค เชาว์ศรีกุลโรงเรียนสมเด็จพระญาณสังวรสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 จังหวัดศรีสะเกษและยโสธร
1.กำหนดปัญหาหรือความต้องการ1.กำหนดปัญหาหรือความต้องการ กลุ่มต้นกล้วยได้ไปสำรวจบริเวณแปลงสาธิตการเกษตรของโรงเรียนสมเด็จพระญาณสังวรพบว่า ดินเป็นดินทราย ไม่อุ้มน้ำ พืชมีลำต้นเล็กแคระแกรน ใบมีสีเขียวปนสีเหลือง จุดมุ่งหมาย เพื่อเพิ่มธาตุอาหารให้กับดินบริเวณแปลงสาธิตการเกษตร
2.รวบรวมข้อมูล กลุ่มต้นกล้วยได้รวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ดังนี้ 1.สัมภาษณ์จากนายประยูร ทองบ่อ เกี่ยวกับเรื่องปุ๋ย วันที่(15/2/54) 2.ศึกษาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต ดังนี้ 2.1 การผลิตปุ๋ยคอก 2.2 การผลิตปุ๋ยหมัก 2.3 การผลิตปุ๋ยชีวภาพ 3.ศึกษาจากหนังสือ 108 สูตรการผลิตปุ๋ยชีวภาพ
4.เลือกวิธีการ • กลุ่มต้นกล้วยได้ศึกษาข้อมูลการฟื้นฟูสภาพดินพบว่า มีหลายวิธี เช่น การปลูกพืชหมุนเวียน การปลูกหญ้าแฝก การปลูกพืชคลุมดิน การทำปุ๋ยเป็นต้น ดังนั้น กลุ่มของพวกเราจึงเลือกการทำปุ๋ยเนื่องจากเป็นวิธีที่ทำได้ด้วยตนเอง ส่วนผสมหาได้ง่าย มีในท้องถิ่น และประหยัดเวลากว่าวิธีอื่นๆ
5.การปฏิบัติโครงงาน 1. ปุ๋ยคอก1.1 ส่วนผสม มูลสัตว์ รำ กากน้ำตาล แกลบและน้ำ 1.2 ขั้นตอนการผลิต 1.ผสมมูลสัตว์แกลบเผา และรำเข้าด้วยกัน 2.นำปุ๋ยน้ำชีวภาพและกากน้ำตาลผสมน้ำ รดกองปุ๋ยให้ทั่วให้มีความชื้น 3.เกลี่ยกองปุ๋ยบนพื้นให้หนาไม่เกิน 15 ซ.ม. คลุมด้วยกระสอบทิ้งไว้นาน 3-5 วัน ไม่ต้องกลับกองปุ๋ย
ตารางบันทึกผลการทำปุ๋ยคอกตารางบันทึกผลการทำปุ๋ยคอก
5.การปฏิบัติโครงงาน 2.ปุ๋ยพืชสด 1.นำเศษพืชผักมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ 2.รดน้ำลงไปหลังจากใส่เศษผักที่ต้นไม้
ตารางบันทึกผลการทำปุ๋ยพืชสดตารางบันทึกผลการทำปุ๋ยพืชสด
5.การปฏิบัติโครงงาน 3. ปุ๋ยน้ำสกัดชีวภาพ 1.ใช้เศษพืชผัก ผลไม้ หรือเศษอาหารที่ยังไม่เน่า นำมาบดให้เป็นชิ้นเล็กๆใส่ภาชนะมีฝาปิด 2.ใส่กากน้ำตาลลงไป 1 ใน 3 ของน้ำหมัก ส่วนผสมเช่น เศษพืชผัก กากน้ำตาล และน้ำ 3.นำของหนักวางทับไว้แล้วปิดฝาทิ้งไว้ 5-7 วัน จะมีของเหลวสีน้ำตาลไหลออกมานั่นคือ น้ำสกัดชีวภาพกรอกใส่ขวดปิดฝาให้สนิท พร้อมที่จะนำมาใช้
ตารางบันทึกผลการทำปุ๋ยน้ำสกัดชีวภาพตารางบันทึกผลการทำปุ๋ยน้ำสกัดชีวภาพ
6.ปรับปรุงแก้ไข กลุ่มของพวกเราได้ใช้มูลไก่เป็นส่วนผสมในการผลิตปุ๋ยคอกพบว่า มูลไก่มีความเค็มมากและมีกลิ่นเหม็น กลุ่มของพวกเราจึงเปลี่ยนจากมูลไก่เป็นมูลวัว
7.สรุปผลการทดลอง ผลการทดลองผลิตปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสด และปุ๋ยน้ำสกัดชีวภาพ พบว่า ปุ๋ยทั้งสามชนิดสามารถทำให้ผักบุ้งจีนมีลำต้นแข็งแรง ใบสีเขียวมีขนาดใหญ่ แต่ปุ๋ยที่สามารถเพิ่มแร่ธาตุให้แก่ดินได้ดีคือ ปุ๋ยน้ำสกัดชีวภาพเพราะทำให้ผักบุ้งจีนมีลำต้นสูงกว่าปุ๋ยคอก และปุ๋ยพืชสด
การคำนวณต้นทุนการผลิต(ปุ๋ยน้ำสกัดชีวภาพ)การคำนวณต้นทุนการผลิต(ปุ๋ยน้ำสกัดชีวภาพ) หมายเหตุ: ปุ๋ยน้ำสกัดชีวภาพ 1 ขวดมีปริมาตรสุทธิ 500 ซีซี
เสียงสะท้อนจากผู้เรียนเสียงสะท้อนจากผู้เรียน 1.ได้ทำงานร่วมกับเพื่อนๆ เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ 2.ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย 3.ปุ๋ยที่ผลิตสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง 4.ได้เรียนรู้วิธีการทำปุ๋ยผ่านการปฏิบัติจริงในรูปแบบกระบวนการเทคโนโลยี
บรรณานุกรม วิธีการทำปุ๋ยพืชสด(ออนไลน์). ม.ป.ป.(อ้างเมื่อ 10 มกราคม 2554). จากhttp://www.doae.go.th/library/html/detail/pui/pui3.htm นายประยูร ทองบ่อ การทำปุ๋ย(สัมภาษณ์). อาชีพค้าขาย,เกษตรกร สูตรการทำปุ๋ยคอก(ออนไลน์). ม.ป.ป.(อ้างเมื่อ 10มกราคม 2554). • จากhttp://www.thaibizcenter.com/knowledgecenter.asp?kid=2615