1 / 33

แนวทางการรณรงค์ให้วัคซีน dT ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แนวทางการรณรงค์ให้วัคซีน dT ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. พญ. อรรถยา ลิ้มวัฒนายิ่งยง กลุ่มโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค. โรงแรม กรีน โฮเต็ล แอนด์ รี สอร์ต วันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๕๗. ๑. กำหนดการรณรงค์ เป้าหมายโครงการ และประชากรกลุ่มเป้าหมาย.

adrina
Download Presentation

แนวทางการรณรงค์ให้วัคซีน dT ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. แนวทางการรณรงค์ให้วัคซีน dTในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พญ. อรรถยา ลิ้มวัฒนายิ่งยง กลุ่มโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค โรงแรมกรีนโฮเต็ลแอนด์รีสอร์ต วันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๕๗

  2. ๑. กำหนดการรณรงค์ เป้าหมายโครงการ และประชากรกลุ่มเป้าหมาย กำหนดช่วงเวลาการรณรงค์ • วันที่ 1 ตุลาคม ถึง 30 พฤศจิกายน 2557 • โดย ๑ เดือนแรกเป็นช่วงที่มีการรณรงค์แบบเข้มข้นในเชิงรุก และ ๑ เดือนหลังเป็นช่วงเก็บตก

  3. ๑. กำหนดการรณรงค์ เป้าหมายโครงการ และประชากรกลุ่มเป้าหมาย เป้าหมายของโครงการ • Coverage > 85 % (ในระดับตำบล) ในประชากรอายุ ๒๐ ถึง ๕๐ ปี (ผู้ที่เกิดระหว่างมกราคม ๒๕๐๗ ถึง ธันวาคม ๒๕๓๗) วิธีการคำนวณ • ตัวตั้ง ใช้จำนวนประชาชนที่ได้รับวัคซีนตามกลุ่มเป้าหมายที่ระบุไว้ตามทะเบียนสำรวจ* (โดยไม่ต้องถามประวัติการได้รับวัคซีน) • ตัวหารตามทะเบียนสำรวจ *ในการนี้ไม่นับรวมประชาชนที่ได้รับ dTที่ใช้ทดแทน TT, ไม่นับรวมหญิงตั้งครรภ์และคนที่เคยได้วัคซีนช่วงที่มีการระบาด ที่ได้รับวัคซีนตั้งแต่ ๒ เข็มขึ้นไป/หรือ ได้รับ ๑ เข็มมาในระยะเวลา ๑ ปี

  4. ๑. กำหนดการรณรงค์ เป้าหมายโครงการ และประชากรกลุ่มเป้าหมาย เป้าหมายโครงการ • ได้ข้อมูลสำคัญเพื่อเป็นบทเรียนในการนำไปต่อยอดสำหรับขยายโครงการในภาคอื่นๆ เช่น การยอมรับวัคซีน การบริหารจัดการวัคซีน การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ ปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มหรือลดความครอบคลุม เป็นต้น

  5. ๑. กำหนดการรณรงค์ เป้าหมายโครงการ และประชากรกลุ่มเป้าหมาย ประชากรเป้าหมาย • ประชากรที่มีอายุ ๒๐ ถึง ๕๐ ปี ที่มารับบริการในจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(ผู้ที่เกิดระหว่างมกราคม ๒๕๐๗ ถึง ธันวาคม ๒๕๓๗)ทั้งบุคคลชาวไทยและชาวต่างชาติ  และเพื่อเป็นการกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อโรคคอตีบในชุมชนให้ครอบคลุมมากที่สุด ขอให้เจ้าหน้าที่ฉีดวัคซีน dTแก่กลุ่มเป้าหมายทุกคน ๆ ละ 1ครั้ง

  6. ๒. บทบาทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กรมควบคุมโรค สปสช. สสจ. สคร. เขตบริการสุขภาพ สสอ. รพสต. ชุมชน ชุมชน ชุมชน ชุมชน ชุมชน

  7. การดำเนินงาน ก่อนการรณรงค์ ช่วงที่มีการรณรงค์ หลังการรณรงค์ • การสำรวจประชากรเป้าหมาย • การจัดทำแผนปฏิบัติงานและ • กลไกการติดตามการดำเนินงาน • สถานที่ให้บริการวัคซีน • การจัดเตรียมวัคซีน/อุปกรณ์ต่างๆ • และระบบลูกโซ่ความเย็น • การระดมความร่วมมืออาสาสมัคร • การอบรมอาสาสมัคร • การประชาสัมพันธ์ • จัดเตรียมอุปกรณ์ให้เพียงพอ/พร้อมใช้งาน • กำหนดผังจุดบริการ • กิจกรรม • -การให้สุขศึกษาและประชาสัมพันธ์ • -ชี้แจงประชาชนให้ทราบถึงประโยชน์ • -อาการข้างเคียงจากวัคซีน/แนวทางการดูแล • แจกเอกสารแผ่นพับ • การให้วัคซีน • บันทึกการให้วัคซีนในแบบฟอร์ม • การสังเกตอาการภายหลังได้รับวัคซีน • After Action Review • การรายงานผลการปฏิบัติงาน • การติดตามให้วัคซีนแก่กลุ่มเป้าหมายที่ • พลาดในวันรณรงค์ • การเฝ้าระวังอาการภายหลังได้รับวัคซีน • แนวทางการตอบสนองและประสานงาน • กรณี AEFI ร้ายแรง • After Action Review

  8. ๓. การเตรียมการก่อนการรณรงค์ ๓.๑ การสำรวจประชากรเป้าหมาย • ใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลประชากรของจังหวัด และอาจมอบหมายให้บุคลากรสาธารณสุขในพื้นที่ ตรวจสอบประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จริงอีกครั้ง เพื่อสรุปเป็นรายชื่อทั้งหมดในทะเบียนที่จะใช้รณรงค์ • บุคลากรในพื้นที่จะรับผิดชอบประชากรในพื้นที่ ในกรณีที่มีการขอรับวัคซีนในหน่วยบริการนอกพื้นที่ แต่ละพื้นที่จะประสานตรวจสอบ ยืนยันการได้รับวัคซีน ตามทะเบียนสำรวจของเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ

  9. ๓. การเตรียมการก่อนการรณรงค์ *สำหรับในบางจังหวัดที่เคยมีการรณรงค์ไปแล้ว ในช่วงที่มีการระบาดของโรคคอตีบ ก็มีความจำเป็นที่จะต้องสำรวจประชากรเช่นเดียวกัน เพื่อจะได้ทราบข้อมูลที่เป็นปัจจุบันและสามารถให้การรณรงค์ได้ครอบคลุม ครบถ้วน

  10. ๓.๒ การจัดทำแผนปฏิบัติงานและกลไกติดตามการดำเนินงาน • อย่างน้อย ๑ ถึง ๒ เดือนก่อนรณรงค์ ควรจัดทำแผนปฏิบัติการรณรงค์ให้วัคซีนให้ชัดเจนในภาพรวมและทุกระดับ โดยมีรายละเอียดในเรื่องพื้นที่ที่ดำเนินการ จำนวนกลุ่มเป้าหมาย ระยะเวลาปฏิบัติงาน ผู้รับผิดชอบ การควบคุมกำกับ ตลอดจนวิธีบริการแต่ละพื้นที่ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่เข้าถึงยาก และประชากรที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการได้ง่าย • ควรมีกลไกประสานการดำเนินงานรณรงค์ โดยอาจเป็นรูปแบบคณะทำงานเฉพาะกิจ หรือคณะกรรมการที่มีอยู่แล้ว

  11. ๓.๒ การจัดทำแผนปฏิบัติงานและกลไกติดตามการดำเนินงาน • กระบวนการติดตามอาจกำหนดเป้าหมายความครอบคลุมทุกระยะของการรณรงค์ เช่น มีการกำหนดเป้าหมายทุก ๑ สัปดาห์ในช่วงที่มีการรณรงค์เข้มข้น เช่น อาจกำหนดเป้าหมายความครอบคลุมร้อยละ 30 ในสัปดาห์แรก และร้อยละ 50 ในสัปดาห์ที่ 2 เพื่อให้แต่ละหน่วยงานมีเป้าหมายเดียวกัน และให้มีการรายงานเป้าหมายเพื่อติดตามผลการดำเนินงานทุกสัปดาห์ (ตามความเหมาะสม) จนกว่าจะสิ้นสุดการรณรงค์

  12. ๓.๓ รูปแบบการรณรงค์ • เร่งรัดการดำเนินงานในระยะที่ไม่นานจนเกินไป • ๒ เดือน (๑ เดือนแรกแบบเข้มข้น ๑ เดือนหลังเก็บตก) • เขตเมือง เชิงรุกไปตามแหล่งชุมชนต่างๆ

  13. ๓.๔ สถานที่ให้บริการวัคซีน กรณี เป็นหน่วยบริการเคลื่อนที่ • ควรเป็นที่มีอากาศถ่ายเทดี เป็นบริเวณที่ร่ม มีบริเวณกว้างขวางเพียงพอที่จะรองรับผู้มารับบริการและอาสาสมัครที่มาให้บริการ และควรมีการจัดบริเวณสำหรับปฐมพยาบาลกรณีมีเหตุฉุกเฉิน และบริเวณสังเกตอาการสำหรับผู้มารับบริการภายหลังรับวัคซีน การคมนาคมสะดวกต่อผู้มารับบริการและสะดวกต่อการส่งต่อผู้ป่วยในกรณีฉุกเฉิน มีอุปกรณ์ที่จำเป็นพร้อม ตามมาตรฐานการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค

  14. ๓.๕ การจัดเตรียมวัคซีน ระบบลูกโซ่ความเย็นและวัสดุอุปกรณ์ วัคซีน • การเบิกและการรับวัคซีน การเตรียมอุปกรณ์ระบบลูกโซ่ความเย็นให้ปฏิบัติตามแนวปฏิบัติปกติ ตามมาตรฐานการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค • สสจ.รวบรวมผลการจัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมายและศักยภาพของหน่วยบริการในการเก็บรักษาวัคซีน (โดยเฉพาะความจุและสภาพตู้เย็น) ส่งให้กรมควบคุมโรค

  15. ๓.๕ การจัดเตรียมวัคซีน ระบบลูกโซ่ความเย็นและวัสดุอุปกรณ์ • องค์การเภสัชกรรมจะต้องส่งวัคซีนให้แก่หน่วยบริการภายใน ๑๕ กันยายน ๒๕๕๗ • วัสดุอุปกรณ์อื่นๆ • ให้หน่วยบริการประสานสสจ. ในการเบิกวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อมอย่างน้อย ๑ ถึง ๒ สัปดาห์ ก่อนการรณรงค์ • อุปกรณ์ เช่น เข็มฉีดยา กระบอกฉีดยา พลาสเตอร์ กระติกสำหรับใส่วัคซีน สำลี แอลกอฮอล์ ยาแก้ปวดลดไข้ เป็นต้น

  16. ๓.๖ การระดมความร่วมมือของอาสาสมัครก่อนการรณรงค์ • ประมาณ ๑ ถึง ๒ เดือนก่อนการรณรงค์ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขผู้รับผิดชอบในแต่ละพื้นที่ ควรประสานงานกับหน่วยงานองค์กร และกลุ่มบุคคลในท้องถิ่น เพื่อขอความร่วมมือในการส่งอาสาสมัคร ร่วมสนับสนุนกิจกรรมในวันรณรงค์ รวบรวมรายชื่อให้แน่ชัดเพื่อเตรียมการฝึกอบรม และเตรียมอุปกรณ์ให้เพียงพอ

  17. ๓.๖, ๓.๗ การระดมความร่วมมือ การอบรมแนะนำอาสาสมัคร • บทบาทสำคัญของอาสาสมัครในช่วงที่มีการรณรงค์คือ การให้คำแนะนำชักชวนประชาชนให้มารับบริการวัคซีนและเป็นทีมงานช่วยในการให้บริการวัคซีน • ๓ สัปดาห์ก่อนเริ่มรณรงค์ สสจ. จัดให้มีการประชุมชี้แจงแก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่เป็นผู้รับผิดชอบหลักในแต่ละพื้นที่ • ๑ ถึง ๒ สัปดาห์ก่อนเริ่มโครงการ เจ้าหน้าที่สธ. ที่รับผิดชอบแต่ละพื้นที่ควรจัดการฝึกอบรม พร้อมทั้งมีการสาธิตและซักซ้อมวิธีการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่ร่วมคณะ

  18. ๓.๘ การประชาสัมพันธ์โครงการ • ประสานงานกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ที่เกี่ยวข้องอย่างทั่วถึงในประเด็นรายละเอียดเกี่ยวกับการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์กับประชาชน • ประมาณ ๑ เดือนก่อนการรณรงค์ ควรประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรู้เรื่องการรณรงค์และให้ความร่วมมือในการรับบริการ โดยผ่านทางสื่อมวลชน สื่อชุมชน และสื่อบุคคลทุกช่องทาง * อาจพิจารณาให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่มีอายุ ๒๐ ถึง ๕๐ ปี รับวัคซีนก่อนเริ่มการรณรงค์ จะทำให้สามารถอธิบายแก่กลุ่มเป้าหมายได้ดี และเป็นปัจจัยสำคัญในการยอมรับวัคซีนของกลุ่มเป้าหมาย

  19. กรอบเนื้อหาที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์กรอบเนื้อหาที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์ • ความสำคัญของปัญหาคอตีบ ที่มีอยู่ในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการระบาดใหญ่ของโรคคอตีบในพื้นที่ภาคอีสานตอนล่าง • ผู้ใหญ่สามารถติดเชื้อได้และมีความเสี่ยงเนื่องจากส่วนใหญ่ไม่เคยได้รับภูมิคุ้มกัน • โรคคอตีบเป็นโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน • การให้วัคซีนคอตีบ-บาดทะยักจะเป็นประโยชน์ต่อผู้รับวัคซีน (ป้องกันโรคคอตีบและบาดทะยัก)และการป้องกันโรคแก่ส่วนรวมในวงกว้าง • จะมีการรณรงค์ในระหว่างวันที่ ๒๔ มีนาคม ถึง ๓๐ เมษายน สามารถไปรับบริการได้ตามจุดบริการต่างๆ • สำหรับผู้ที่เคยได้รับวัคซีนป้องกันบาดทะยักแล้ว จะต้องมารับวัคซีนในวันรณรงค์ด้วยเช่นกัน เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรคคอตีบ

  20. ๔. การปฏิบัติงานในวันรณรงค์ • จัดเตรียมอุปกรณ์ให้เพียงพอและพร้อมใช้งาน • กำหนดผังจุดบริการให้มีพื้นที่เพียงพอและสะดวกต่อการปฏิบัติงาน กิจกรรมประกอบด้วย • การให้สุขศึกษาและประชาสัมพันธ์ แจกเอกสารแผ่นพับ ชี้แจงประชาชนให้ทราบถึงประโยชน์ของการรณรงค์ อาการข้างเคียงและแนวทางการดูแล • การให้วัคซีน • บันทึกการให้วัคซีนในแบบฟอร์ม • การสังเกตอาการภายหลังได้รับวัคซีนอย่างน้อย ๓๐ นาที • ให้ยาแก้ปวดลดไข้ สำหรับบรรเทาอาการปวดและลดไข้

  21. การแนะนำล่วงหน้า • การแนะนำล่วงหน้ามีลักษณะคล้ายกับการให้ความรู้หรือการแนะนำโดยตรง แต่ข้อมูลที่ใช้สื่อสารเป็นข้อมูลที่คาดว่าอาจเกิดขึ้นกับผู้รับบริการในอนาคต ตัวอย่างการแนะนำล่วงหน้า • “หลังฉีดวัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก คุณอาจมีไข้ได้นะคะ ส่วนใหญ่ไข้จะขึ้นหลังได้รับวัคซีน ๑ ถึง ๒ ชั่วโมงและเป็นอยู่ไม่เกิน ๒ วัน ให้รับประทานยาลดไข้ บางคนอาจมีอาการปวดบวม แดงร้อน บริเวณที่ฉีดวัคซีน ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดอาการภายใน ๒ ถึง ๖ ชั่วโมง ให้ประคบเย็นและรับประทานยาบรรเทาอาการปวด”

  22. ลักษณะทั่วไปของวัคซีน/รูปแบบการบรรจุลักษณะทั่วไปของวัคซีน/รูปแบบการบรรจุ • รูปแบบหลายโด๊ส ต่อ ๑ ขวด (๑๐ โด๊ส, ๕ ซีซี) วัคซีนมีลักษณะเป็นของเหลวแขวนตะกอนสีเทาขาว (Greyish-white suspension) • ขนาดและวิธีใช้ : 0.5ซีซี ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ • ข้อห้ามใช้ • ผู้ที่มีประวัติการแพ้รุนแรง หรือมีปฏิกิริยารุนแรงภายหลังได้รับวัคซีนชนิดนี้ หรือวัคซีนที่มีส่วนประกอบของท็อกซินบาดทะยัก หรือคอตีบมาก่อน • ผู้ที่มีประวัติแพ้ต่อสารชนิดใดชนิดหนึ่งซึ่งเป็นส่วนประกอบของวัคซีนนี้

  23. การเตรียมวัคซีนและเทคนิคการฉีดการเตรียมวัคซีนและเทคนิคการฉีด • กระบอกฉีดยาขนาด ๑ ซีซี หรือ ๓ ซีซี • ขนาดเข็มฉีดขนาด 23-26 G ยาว ๑-๒ นิ้ว (ในผู้ใหญ่ควรใช้เข็มที่ยาวเพียงพอที่จะลงลึกถึงชั้นกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะผู้รับวัคซีนที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วน)

  24. การฉีดวัคซีน • ดึงผิวหนังให้ตึงเฉียงลง เป็น Z-track จะช่วยลดความเจ็บปวดขณะฉีดได้ เข็มตั้งตรง 90 องศา สังเกตอาการภายหลังได้รับวัคซีนอย่างน้อย 30 นาที

  25. การดูแลรักษาวัคซีนในขณะให้บริการการดูแลรักษาวัคซีนในขณะให้บริการ • ควรให้บริการในที่ร่ม • เก็บวัคซีนในกระติกหรือกล่องโฟมที่มีอุณหภูมิอยู่ในช่วง +2 ถึง +8 องศาเซลเซียส • วางขวดวัคซีนให้ตั้งตรง • ห้ามวางขวดวัคซีนสัมผัสกับ icepack หรือน้ำแข็งโดยตรง • ห้ามปักเข็มคาขวดวัคซีน ในระหว่างรอบริการ • หลังเปิดใช้แล้วไม่ควรเก็บไว้นานเกิน ๘ ชั่วโมง • เปิดกระติกเท่าที่จำเป็นเท่านั้นและปิดฝาให้สนิท

  26. การลงบันทึกและรายงานผลการปฏิบัติงานการลงบันทึกและรายงานผลการปฏิบัติงาน

  27. After Action Review (AAR) • ควรมีการทำ AAR ทุกครั้งหลังออกปฏิบัติงาน เพื่อทบทวนการปฏิบัติงานในแต่ละครั้ง รวบรวมปัญหาอุปสรรคและแนวทางการแก้ไขปัญหาสำหรับครั้งต่อไป และบันทึกสรุปประเด็นสำคัญเพื่อเป็นประโยชน์กับการรณรงค์หรือการทำงานอื่นๆ ต่อไป และนำมาแลกเปลี่ยนใน AAR ที่จะจัดพร้อมกันในระดับจังหวัด

  28. ๕. การปฏิบัติงานหลังวันรณรงค์ • การลงบันทึกและรายงานผลการปฏิบัติงาน • การติดตามให้วัคซีนแก่กลุ่มเป้าหมายที่พลาดวัคซีนในวันรณรงค์ • ผู้รับผิดชอบเขตพื้นที่บริการควรตรวจสอบประชากรกลุ่มเป้าหมายที่มีรายชื่อตามทะเบียนสำรวจและยังไม่ได้รับบริการ วางแผนติดตามและดำเนินการเก็บตกให้วัคซีน ภายใน ๑ สัปดาห์หลังช่วงที่มีการรณรงค์แบบเข้มข้น หรือตามแผนปฏิบัติการของแต่ละพื้นที่

  29. ๕.๓ การเฝ้าระวังอาการภายหลังได้รับวัคซีน ระบบปกติ AEFI

  30. ๕.๔ แนวทางการตอบสนองและประสานงานกรณี AEFI ร้ายแรง • การสื่อสาร • การสื่อสารและดูแลเจ้าหน้าที่ที่เป็นผู้ฉีดวัคซีนแก่ผู้ป่วย • แนวทางการสอบสวนสาเหตุ • กระบวนการสอบสวนทางระบาดวิทยาประกอบด้วย การสอบสวนผู้ป่วยที่รายงาน การค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมในชุมชน รวมผู้ได้รับวัคซีนในรุ่นเดียวกัน การตรวจสอบการบริหารจัดการวัคซีน การตรวจวิเคราะห์วัคซีนในห้องปฏิบัติการ • การสรุปสาเหตุจากคณะผู้เชี่ยวชาญที่กระทรวงสาธารณสุขแต่งตั้งขึ้น • การจัดทำข้อเสนอเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม

  31. After Action Review • วัตถุประสงค์สำคัญเพื่อนำบทเรียนที่ได้จากการดำเนินโครงการนำร่องมาพัฒนาแนวทางการดำเนินงานเพื่อขยายทั่วประเทศ • ผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิกรมควบคุมโรค ผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกกสธ. ทีมงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค สคร. ตัวแทนผู้ปฏิบัติงานในจังหวัดมุกดาหารทุกระดับ

  32. After Action Review • กรอบการอภิปรายในการประชุม • ผลการดำเนินงานในด้านต่างๆ (coverage, cold chain management,การแก้ปัญหาต่างๆ ระหว่างดำเนินงาน, คุณภาพการให้บริการ, อาการข้างเคียงจากการรับวัคซีน) • การวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน สาเหตุของการไม่ได้รับวัคซีน ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานและข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไข ผลผลิต • สรุปผลการดำเนินงานโครงการนำร่องและข้อเสนอเพื่อการพัฒนาและขยายผล

  33. Coming together is a beginning. Keeping together is progress. Working together is success. "I can do things you cannot, you can do things I cannot; together we can do great things.”

More Related