490 likes | 2.64k Views
รังสีเอกซ์. เสนอ. นางยุพวรรณ ตรีรัตน์วิชชา. จัดทำโดย. นางสาว ปัทมา จามะรีย์ นางสาวสุดารัตน์ ปัดถา นางสาวพรพรรณ ธงชัย . รังสีเอกซ์.
E N D
เสนอ • นางยุพวรรณ ตรีรัตน์วิชชา
จัดทำโดย • นางสาว ปัทมา จามะรีย์ • นางสาวสุดารัตน์ ปัดถา • นางสาวพรพรรณ ธงชัย
รังสีเอกซ์ รังสีเอ็กซ์คือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีความยาวคลื่นประมาณ 0.01-100 อังสตรอม เดินทางเป็นเส้นตรงเช่นเดียวกับแสง โดยสามารถผ่านสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงประการใด ทำให้เกิดความดำบนฟิลม์ถ่ายรูปได้เช่นเดียวกับแสง แต่สามารถผ่านทะลุวัตถุได้มากกว่าแสง เช่น สามารถผ่านทะลุไม้ เนื้อหนังมนุษย์ สัตว์ โลหะบางๆ ได้ ทำให้แก๊ซเกิดการแตกตัว และยังทำให้เนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิตที่ได้รับรังสีเอ็กซ์ เกิดการเปลี่ยนแปลงได้
ประวัติรังสีเอกซ์ ในเดือนเมษายนปี 1887 Nikola Tesla ได้เริ่มทำการศึกษารังสีเอกซ์โดยใช้ท่อสุญญากาศแรงเคลื่อนไฟฟ้าสูงที่เขาคิดค้นขึ้นเองโดยหลักการของ เทสลาที่ได้พัฒนาท่อเอกซเรย์ขึ้นมา ในปัจจุบันกระบวนการที่รังสีเอกซเรย์ถูกปลดปล่อยออกมานั้นเกิดจากการเร่งประจุเช่นอิเล็กตรอนในวิ่งผ่านสสารบางชนิด ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 1895 Wilhelm Conrad Roentgen นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ได้เริ่มทำการศึกษาและวิจัยรังสีเอกซ์ขณะทำการทดลองกับท่อสุญญากาศ
ในปี 1985 Thomas Edison ก็ได้ทำการศึกษาผลของวัสดุหลายประเภทที่เรืองแสงได้ด้วยรังสีเอกซ์ และได้พบ calcium tungstate ซึ่งเป็นวัสดุที่ดีที่สุด ในเดือนมีนาคม ปี 1896 ได้ริเริ่มพัฒนากล้องตรวจอวัยวะภายในด้วยเงารังสีเอกซ์บนจอเรืองแสง (fluoroscope) ซึ่งมีใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน
เครื่องกำเนิดรังสีเอ็กซ์เครื่องกำเนิดรังสีเอ็กซ์
เครื่องกำเนิดรังสีเอ็กซ์ประกอบด้วยหลอดสูญญากาศ ภายในมีขั้วไฟฟ้าสองขั้ว ไส้หลอด(Filament)ต่อกับขั้วลบเป็นขดลวดลักษณะเหมือนกับขดลวดของหลอดไฟ อีกด้านหนึ่งเป็นเป้า ( Target )ทำด้วยโลหะที่มีเลขมวลสูง เช่น ทังสเตน หรือโมลิบดินัมต่อกับขั้วบวก ทั้งขั้วลบและขั้วบวกต่อกับแหล่งจ่ายไฟตรงที่มีแรงเคลื่อนไฟฟ้าสูงกว่า 20 กิโลโวลต์ เมื่อให้กระแสไหลผ่านไส้หลอด จะทำให้อิเล็คตรอนหลุดออกจากไส้หลอด ขั้วบวกจะดึงดูดอิเล็คตรอนเข้ามา ทำให้อิเล็คตรอนมีพลังเพิ่มมากขึ้น เมื่อพุ่งเข้ากระทบขั้วบวกซึ่งต่อกับเป้า พลังงานจำนวนนี้จะถูกเปลี่ยนออกมาในรูปรังสีเอ็กซ์และความร้อน
รูปแสดงลักษณะการเกิดรังสีเอกซ์รูปแสดงลักษณะการเกิดรังสีเอกซ์
ประโยชน์ของรังสีเอ็กซ์ประโยชน์ของรังสีเอ็กซ์ 1.ทางด้านการแพทย์ 1.1 นำมาใช้ทางด้านวินิจฉัยโรคโดยการนำรังสีเอ็กซ์มาใช้ในการถ่ายอวัยวะภายในของร่างกาย เช่น ปอด กระเพาะ กระดูก เป้นต้น เพื่อใช้พิจารณาประกอบอาการของโรค
1.2 นำมาใช้ทางด้านการรักษาโรค เช่น Teletherapy ซึ่งเป็นการรักษาโรค โดยเฉพาะมะเร็ง โดยการฉายรังสีเอ็กซ์หรือแกมม่าลงบนตัวคนไข้ ซึ่งรังสีเอ็กซ์ที่ใช้รักษามะเร็งนั้น มีค่าแรงดันหลอดต่างๆกัน แบ่งเป็นช่วงๆ ดังนี้ 30-50 กิโลโวลต์ เรียกว่า Context x-ray ใช้รักษามะเร็งของผิวหนัง 50-150 กิโลโวลต์ เรีกว่า Superficial x-ray ใช้รักษามะเร็งผิวหนัง 150-300 กฺโลโวลต์ เรียกว่า Deepx-ray ใช้รักษามะเร็งในอวัยวะที่อยู่ลึกลงไปในร่างกาย 2-40 ล้านโวลต์ เรียกว่า Megavoltage x-ray เป็นรังสีเอ็กซ์ที่เกิดจากเครื่องเร่งอนุภาดลิเนียร์ ใช้ในการรักษาโรคมะเร็งได้ทุกชนิด
2.ทางด้านอุตสาหกรรม 2.1 ใช้วัดความหนาของวัตถุ เช่นแผ่นอลูมิเนียม 2.2 ตรวจสภาพในเนื้อโลหะ การหล่อโลหะ เชื่อมโลหะซึ่งอาจมีข้อบกพร่องเกิดตำหนิภายในซึ่งเราไม่สามารถมองเห็นได้ เช่น มีรอยร้าว โพรงอากาศหรือเชื่อมไม่ติด
3. ในทางคมนาคม ใช้ในการตรวจหาอาวุธหรือระเบิดในกระเป๋าเดินทางโดยไม่ต้องเปิดกระเป๋า
การป้องกันอันตรายจากรังสีการป้องกันอันตรายจากรังสี 1.Time คือใช้เวลาให้น้อยที่สุดเมื่ออยู่กับรังสี 2.Distance คือ ระยะทางโดยความแรงของรังสีจะเป็นสัดส่วนผกผันกับกำลังสองของระยะทาง โดยถ้าระยะทางมาก ความแรงของรังสีจะน้อยและถ้าระยะทางน้อยความแรงของรังสีก็จะมาก ดังนั้นเวลาทำงานหรืออยู่ใกล้กับรังสี จะต้องอยู่ห่างจากแหล่งกำเนิดรังสีให้มากที่สุด 3.Shielding คือเครื่องกำบังรังสี โดยเมื่อจะเข้าใกล้กับแหล่งกำเนิดรังสี จะต้องใช้เครื่องกำบังรังสีโดยเครื่องกำบังรังสีจะต้องทำมาจากวัตถุที่มีน้ำหนักอะตอมมากเช่น ตะกั่ว เป็นต้น
คำถาม 1. รังสีเอ็กซ์คืออะไร คำตอบ รังสีเอกซ์เป็นเครื่องแม่เหล็กไฟฟ้าขนาดความถี่สูงประมาณ 0.01-100 อังสตรอม 2.ในปัจจุบันได้มีการริเริ่มกล้องตรวจอวัยวะภายในด้วยเงาของรังสีใดบนแสง คำตอบ รังสีเอกซ์
3. จงยกตัวอย่างประโยชน์ของรังสีเอกซ์มาอย่างน้อย 2 ข้อ คำตอบ 1.ด้านการแพทย์ 2.ด้านอุตสาหกรรม 3.ด้านการคมนาคม
ขอขอบคุณข้อมูลจาก • http://ra-phy2.comyr.com/?page_id=49 • และฟิสิกส์ราชมงคล