300 likes | 710 Views
ประกาศหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายเงินค่าตอบแทน ตามผลการปฏิบัติงาน ของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข. ให้การจ่ายค่าตอบแทนตามประกาศฉบับนี้ โดยใช้วิธีการดำเนินการตามคู่มือค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน แนบท้ายประกาศนี้
E N D
ประกาศหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายเงินค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน ของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ให้การจ่ายค่าตอบแทนตามประกาศฉบับนี้ โดยใช้วิธีการดำเนินการตามคู่มือค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน แนบท้ายประกาศนี้ ให้โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป ซึ่งถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ฯ (ฉบับที่ ๗) ใช้วิธีการจ่ายค่าตอบแทนตามประกาศฯ ฉบับนี้แทน กรณีโรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต) และโรงพยาบาลที่ได้รับค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายตามความแตกต่างของระดับพื้นที่(หลักเกณฑ์ ฉบับที่ 6) ที่มีความพร้อมที่จะจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงานตามประกาศฉบับนี้ ให้เสนอคำขออนุมัติในหลักการเพื่อดำเนินการตามประกาศฉบับนี้ นายไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
หลักการจ่ายค่าตอบแทนที่เหมาะสมสำหรับกำลังคนด้านสาธารณสุขหลักการจ่ายค่าตอบแทนที่เหมาะสมสำหรับกำลังคนด้านสาธารณสุข
หลักการของเงื่อนไขการเบิกจ่ายเงินหลักการของเงื่อนไขการเบิกจ่ายเงิน 1. รพ. ที่งานมาก เงินมาก ดำเนินการได้เลย 2. รพ. ที่มีงานมาก เงินน้อยให้ดำเนินการขออนุมัติ ควรมีคณะกรรมการที่จะทำหน้าที่กำหนดนิยามของ “งานมาก งานน้อย” และ “ เงินมาก เงินน้อย”
วงเงินที่เบิกจ่าย • แหล่งเงินจากเงินบำรุง • จากการบริการ • จากกองทุนต่าง ๆ • หลักการ : วงเงินที่นำมาจ่ายจะต้องมากพอที่จะกระตุ้นให้เกิดการทำงาน และไม่ดึงเงินออกมาจากระบบจนมากเกินไป โดยอาจจะกำหนดเพดานสูงสุดสำหรับบุคคลภายในวงเงินรวมที่กำหนดไว้
ตัวอย่างการคำนวณวงเงินที่เบิกจ่ายตัวอย่างการคำนวณวงเงินที่เบิกจ่าย • คำนวณแบบที่ 1 กรณี Labour cost น้อยกว่าร้อยละ 50 ของรายรับสามารถจัดสรรเงิน p4p แต่รวมกับค่าใช้จ่ายบุคลากรแล้วจะต้องไม่เกินร้อยละ 50 ของรายรับ • คำนวณแบบที่ 2รายได้ทั้งหมดของหน่วยบริการ ให้หักค่าใช้จ่ายประจำด้านบุคลากรและค่าดำเนินการไว้ก่อน ส่วนที่เหลือคิดเป็น 100% มากำหนดเป็นค่าตอบแทน P4P และหักไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 เป็นงบพัฒนาและการลงทุน
การกำหนดค่าคะแนนประกันผลการปฏิบัติงานขั้นต่ำการกำหนดค่าคะแนนประกันผลการปฏิบัติงานขั้นต่ำ 1. การกำหนดค่าคะแนนประกันผลการปฏิบัติงานขั้นต่ำสำหรับการปฏิบัติงานในเวลาราชการ - คิดตามฐานเงินเดือน - คิดตามอัตรากลางที่กำหนด 2.การกำหนดค่าคะแนนประกันผลการปฏิบัติงานขั้นต่ำสำหรับการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ
การคิดค่าคะแนนผลการปฏิบัติงาน(work point system) 1. การคิดค่าคะแนนผลการปฏิบัติงาน ตามปริมาณภาระงาน - มี 5 รูปแบบ ให้เลือกใช้ตามบริบทของโรงพยาบาล 2. การคิดค่าคะแนนผลการปฏิบัติงาน ตามคุณภาพงาน - รายบุคคล - รายหน่วยงาน 3. การคิดค่าคะแนนผลการปฏิบัติงาน สำหรับงานบริหาร เจ้าหน้าที่ที่จะได้รับค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน จะต้องมีค่าคะแนนตามผลการปฏิบัติงานสูงกว่าค่าคะแนนประกันผลการปฏิบัติงานขั้นต่ำที่กำหนด
1. การคิดค่าคะแนนผลการปฏิบัติงาน ตามปริมาณภาระงาน มี 5 รูปแบบ ได้แก่ 1.1 การคิดค่าคะแนนแบบ Activity Based Approach Activity base approachเป็นการกำหนดค่าคะแนนรายกิจกรรมของ ทุกงาน โดยคำนึงถึง เวลาที่ใช้ในการทำงานนั้นๆ คะแนนต่อเวลาของแต่ละวิชาชีพ และคะแนนความยากง่าย บุคลากรต้องเก็บข้อมูลการปฏิบัติงานทุกงานโดยละเอียด
1.2 การคิดค่าคะแนนแบบ Apply Activity With Time Based Approach Apply activity baseเป็นการปรับการเก็บข้อมูลให้ง่ายขึ้น เป็นลักษณะเหมารวมเช่น ไม่เก็บข้อมูลรายกิจกรรมของพยาบาล แต่เก็บข้อมูลการจำแนกประเภทผู้ป่วยแล้วปรับเป็นคะแนนให้แทน เป็นต้น
1.3 การคิดค่าคะแนนแบบ Result Based Approach By DRG-RW RW P4P = RW - ต้นทุนบริการ Result Base approach by DRG-RWเป็นการนำ DRG มาปรับใช้กับกิจกรรมของแพทย์ จึงเก็บข้อมูลเฉพาะผู้ป่วย ไม่ต้องเก็บข้อมูลกิจกรรมละเอียด RW P4P = RW - Material cost Base rate per RW • ใช้กับการดูแลผู้ป่วยใน ผู้ป่วยนอก และกิจกรรมอื่นๆ ใช้วิธี Activity base approach หรือ Apply Activity with time base approach • ใช้ได้เฉพาะแพทย์เท่านั้น
1.4 การคิดค่าคะแนนแบบ Job Evaluation by Modified Hay-Guide Chart Job Evaluation byModified Hay-Guide Chartประเมินค่างานจากการเปรียบเทียบปัจจัยการปฏิบัติงาน 2 ด้าน ได้แก่ องค์ประกอบด้านประสบการณ์ : ระดับความรู้ทางวิชาการ, การจัดการ, มนุษยสัมพันธ์, สภาพการปฏิบัติงาน องค์ประกอบด้านความรับผิดชอบ : ระดับความรับผิดชอบต่อผลสำเร็จ, ความยากง่าย, การมีส่วนร่วม,ลักษณะงาน ปริมาณภาระงาน = จำนวนหน่วยบริการของงาน x เวลามาตรฐาน x ระดับค่างานจากการเปรียบเทียบ เป็นวิธีที่เหมาะกับทุกวิชาชีพ ขณะนี้มีเกณฑ์ที่จัดทำเสร็จแล้วสำหรับ พยาบาล เภสัชกร และทันตแพทย์
ตัวอย่างคะแนน Job Evaluation byModified Hay-Guide Chart
1.5 การคิดค่าคะแนนแบบ Pieces Rate Payment PiecesRate paymentเป็นการจ่ายค่าตอบแทนตามปริมาณงานโดยการมอบหมายงานให้ทำให้สำเร็จเป็นชิ้นงานในระยะเวลาที่กำหนดเหมาะกับงานที่มีลักษณะเป็นชิ้นงาน สามารถจัดทำให้แล้วเสร็จเป็นครั้งๆ ไปได้แก่ งานสนับสนุน งานบริหาร งานโครงการที่มีระยะเวลากำหนดชัดเจน เป็นต้น
แบบผสม การจ่ายค่าตอบแทนตามปริมาณภาระงาน สามารถเลือกใช้ระบบการคิดค่าคะแนนผสมผสานได้หลายวิธี เช่น 1. ใช้วิธี Result baseapproach by DRG-RW สำหรับแพทย์ และใช้วิธี Job evaluation by Modified Hay-Guide Chart สำหรับวิชาชีพ พยาบาล เภสัชกร ทันตแพทย์ ในส่วนของงานบริหารใช้วิธี Work piece เป็นต้น หรือ 2. ใช้วิธี Result baseapproach by DRG-RW สำหรับแพทย์ บุคลากรอื่นใช้วิธี Activity base หรือ Apply Activity base เป็นต้น
2. การคิดค่าคะแนนผลการปฏิบัติงาน ตามคุณภาพงาน การวัดคะแนนคุณภาพงาน (Quality Point) หลักการคิดค่าคะแนนคุณภาพต้องคำนึงถึง ผลงานคุณภาพทั้งเป็นรายหน่วยงาน ทีมงาน ทีมคร่อมสายงาน และรายบุคคล กำหนดจัดเก็บค่าคะแนนเป็นรายกิจกรรมหรือ วัดตาม KPI ของโรงพยาบาลและของหน่วยงาน ค่าคะแนนปฏิบัติงานตามคุณภาพ (Quality point) ที่ได้ อาจนำมาจัดสรรเพิ่มเติมจากค่าคะแนนปฏิบัติงานตามปริมาณงานที่เก็บได้ หรืออาจนำมาเป็นตัวคูณกับค่าคะแนนผลการปฏิบัติงานตามปริมาณงานที่เก็บได้
3. การคิดค่าคะแนนผลการปฏิบัติงาน สำหรับงานบริหาร เป็นการสร้างแรงจูงใจในการรับภาระงานทางการบริหารเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากงานบริการตามปกติ ทำให้เกิดปัญหาสำหรับผู้ปฏิบัติงานตำแหน่งหัวหน้ากลุ่ม จึงจำเป็นต้องมีการกำหนดค่าตอบแทนสำหรับผู้บริหารแต่ละระดับ นอกเหนือจากค่าตอบแทนสำหรับงานบริการ **น่าจะไม่รวมถึงตำแหน่งที่มีหน้าที่บริหารอย่างเดียว??
สัดส่วนการเบิกจ่ายระหว่างวิชาชีพสัดส่วนการเบิกจ่ายระหว่างวิชาชีพ • สัดส่วน Activity point : Quality Point ปรับตามบริบทของโรงพยาบาล • นำคะแนนรวมทั้ง รพ. มาจัดสรร ข้อดี ยุติธรรม ข้อเสีย ความจริงมีความแตกต่างระหว่างวิชาชีพ+ฝ่าย, ไม่เหมาะกับ รพ.ขนาดใหญ่ • แยกงบให้แต่ละฝ่าย ข้อดี ลดความได้เปรียบเสียเปรียบในระหว่างฝ่าย ข้อเสีย ประสิทธิภาพการทำงานของแต่ละฝ่ายไม่เท่ากัน • แยกงบตามกลุ่มวิชาชีพ เช่น คิดแพทย์แยกจากวิชาชีพอื่น ข้อดี เหมาะสำหรับโรงพยาบาลใหญ่ • ผสม
การจัดกระบวนการภายใน / การมีส่วนร่วม การตรวจสอบ • คณะกรรมการพิจารณาค่าคะแนนผลการปฏิบัติงาน • คณะกรรมการตรวจสอบค่าคะแนนผลการปฏิบัติงาน • การประเมินผล • การบริหารผลการปฏิบัติงาน • การตรวจสอบ • การมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่
การอภิบาลระบบ กำกับและประเมินผล 1. ต้องมีการกำหนดข้อควรตระหนักสำหรับผู้บริหารในการวางระบบการจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน 2. รพ.ต้องส่งแผนเงินบำรุงที่มีประมาณการรายจ่ายของ P4P ที่ชัดเจน เพื่อใช้ประกอบการติดตามกำกับ ส่งให้กลุ่มประกันของสสจ.และสป. (เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับการรายงานการเงินในระบบปกติ) 3. การ Monitor & Evaluation ให้ สสจ. และ CFO เขต เป็นผู้ติดตามกำกับ 4. ควรมีระบบรายงานส่งให้ส่วนกลางเป็นผู้ประเมินในช่วง 3-5 ปีแรก เป็นรายงวดๆละ 6 เดือน (จากนั้นก็ให้เขตดูแลต่อไป) รายงานประกอบด้วย ข้อมูล process indicator และ output indicator เช่น งบที่ใช้รวม, งบเฉลี่ยต่อบุคลากร, CMI, total RW, ค่าเฉลี่ยต่อpoint, ข้อมูล Output เช่น ผลงาน Quality ของหน่วยงาน 5. หน่วยงานภายนอก เช่น สวปก. เป็นผู้ประเมิน คุณภาพ ประสิทธิภาพ ขวัญกำลังใจ