1 / 47

International Telecommunication Management

International Telecommunication Management. Chapter 3: ระบบโทรคมนาคมไทยและสากล (1). Agenda. โทรคมนาคมไทย การจัดสรรคลื่นความถี่ ศูนย์ข้อมูลและวิจัยเศรษฐกิจโทรคมนาคม International Tele communication Union : ITU. 2. โทรคมนาคมไทย. 3. โทรคมนาคมไทย. 4. โทรคมนาคมไทย.

adonia
Download Presentation

International Telecommunication Management

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. International Telecommunication Management Chapter 3:ระบบโทรคมนาคมไทยและสากล (1)

  2. Agenda • โทรคมนาคมไทย • การจัดสรรคลื่นความถี่ • ศูนย์ข้อมูลและวิจัยเศรษฐกิจโทรคมนาคม • International Tele communication Union: ITU 2

  3. โทรคมนาคมไทย 3

  4. โทรคมนาคมไทย 4

  5. โทรคมนาคมไทย • ตัวอย่างใบอนุญาตกิจการโทรคมนาคมไทย 5

  6. โทรคมนาคมไทย • ตัวอย่างใบอนุญาตกิจการโทรคมนาคมไทย 6

  7. โทรคมนาคมไทย • ตัวอย่างใบอนุญาตกิจการโทรคมนาคมไทย 7

  8. โทรคมนาคมไทย 8

  9. โทรคมนาคมไทย Cell Phone Market Broadband Market 9

  10. คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม • คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช) • คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (กสท) • คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค) 10

  11. คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม 1 2 11

  12. การจัดสรรคลื่นความถี่การจัดสรรคลื่นความถี่ 12

  13. การจัดสรรคลื่นความถี่การจัดสรรคลื่นความถี่ • อดีต : การจัดสรรคลื่นความถี่ => แบบมาก่อนได้ก่อน (First Come First Serve)  • มีความต้องการใช้คลื่นความถี่น้อยกว่าปริมาณคลื่นความถี่ที่มีอยู่ • ปัจจุบัน : คลื่นความถี่ที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจหรือผลประโยชน์ในทางพาณิชย์สูง (เช่น 3G) • วิธีการประกวดคุณสมบัติ • วิธีการประมูล : อาศัยกลไกตลาด (Market based Mechanism) ได้รับการยอมรับมากที่สุดในนานาชาติ 13

  14. การจัดสรรคลื่นความถี่การจัดสรรคลื่นความถี่ • วัตถุประสงค์ของการจัดสรรคลื่นความถี่ • การจัดสรรคลื่นความถี่อย่างมีประสิทธิภาพ (Efficient Allocation) : ให้มูลค่าคลื่นความถี่มากที่สุด โดยพิจารณาจากผลตอบแทนในอนาคตของบริษัทที่คาดหวังหากได้รับการจัดสรรคลื่นความถี่ • สถานะทางการเงิน ความสามารถในการคิดค้นบริการใหม่ๆ และลักษณะของคู่แข่ง • การใช้งานคลื่นความถี่อย่างมีประสิทธิภาพ (Efficient Use of Spectrum): สร้างโครงข่ายอย่างรวดเร็ว • การส่งเสริมการแข่งขันในตลาด (Market Competition): ให้บริการในราคาต่ำที่สุด • ความโปร่งใส (Transparency): เป็นธรรม ได้รับการยอมรับจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและสาธารณะ 14

  15. การจัดสรรคลื่นความถี่การจัดสรรคลื่นความถี่ • ตัวอย่าง วัตถุประสงค์ในการจัดสรรคลื่นความถี่สำหรับการให้บริการโทรศัพท์เลื่อนที่ 3G 15

  16. การจัดสรรคลื่นความถี่การจัดสรรคลื่นความถี่ • ตัวอย่าง วัตถุประสงค์ในการจัดสรรคลื่นความถี่สำหรับการให้บริการโทรศัพท์เลื่อนที่ 3G

  17. การจัดสรรคลื่นความถี่การจัดสรรคลื่นความถี่ • การประมูล (Auction) • ข้อเสนอในการประมูลส่วนใหญ่อยู่ในรูปตัวเงิน แต่ในบางกรณีเป็นการประมูลด้วยข้อเสนอในเรื่องของพื้นที่การให้บริการ หรือค่าบริการที่ต่ำที่สุด • New Zealand, USA • หน้าที่ของหน่วยงานกำกับดูแล: การเลือกใช้วิธีการประมูลที่เหมาะสมการกำหนดกติกาในการประมูล • ผู้ประมูล: ยื่นประมูลเพื่อให้ชนะการประมูล • ต้นทุนและงบประมาณของบริษัท ต้นทุนและการบริการของบริษัทรายอื่น ความสนใจของผู้บริโภค และการทำงานและสภาพตลาดหุ้น 17

  18. ข้อพิจารณาเบื้องต้นสำหรับการประมูลข้อพิจารณาเบื้องต้นสำหรับการประมูล • ชนิดของการประมูล • การประมูลใบอนุญาตแบบเปิดเผยราคาประมูล (Open Binding) • การประมูลใบอนุญาตแบบปิดราคาประมูล (Sealed Binding) • การนำใบอนุญาตมาประมูลพร้อมกันทีเดียว (Simultaneous Binding) • การนำใบอนุญาตมาประมูลทีละใบอนุญาต (Sequential Binding) 18

  19. ข้อพิจารณาเบื้องต้นสำหรับการประมูลข้อพิจารณาเบื้องต้นสำหรับการประมูล • ประเด็นที่ต้องพิจารณา • ผู้ประมูลมีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับมูลค่าของคลื่นความถี่ในการนำไปใช้ให้บริการหรือไม่ • มีผู้ประมูลที่เป็นผู้ประกอบการรายเดิมที่มีอำนาจทางการตลาดหรือไม่ และจำเป็นต้องป้องกันการฮั้วประมูล หรือส่งเสริมผู้ประกอบการรายใหม่เข้าสู่ตลาดหรือไม่ • ใบอนุญาตหรือคลื่นความถี่ที่นำมาประมูลมีความแตกต่างกันหรือไม่ 19

  20. การประมูลแบบเปิดเผยและปิดราคาการประมูลแบบเปิดเผยและปิดราคา • การประมูลแบบเปิดเผยและปิดราคา • ข้อดีของการประมูลแบบเปิดเผยราคาในการประมูลที่เกิดขึ้นหลายรอบ • กระบวนการประมูลจะเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับมูลค่าที่ผู้ประมูลให้กับใบอนุญาตทำให้ผู้ประมูลสามารถปรับเปลี่ยนการยื่นประมูลตามข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้นได้ • คลื่นความถี่จะถูกจัดสรรให้กับผู้ยื่นประมูลที่ประเมิรมูลค่าคลื่นสูงสุด • ข้อเสีย • ความไม่เท่าเทียมกันของผู้ยื่นประมูล อาจเป็นเหตุให้ผู้ยื่นประมูลที่มีศักยภาพไม่อยากเข้าร่วมการประมูลหากเห็นว่ารายอื่นมีความเป็นไปได้ที่จะชนะมากกว่าเนื่องจากรู้ว่าสามารถยื่นประมูลได้สูงกว่าเสมอ 20

  21. การประมูลแบบเปิดเผยและปิดราคาการประมูลแบบเปิดเผยและปิดราคา • ข้อดีของการประมูลแบบปิดราคาซึ่งมีโอกาสในการยื่นประมูลรอบเดียว • การลดข้องสัยในการเกิดการฮั้วประมูลซึ่งการประมูลแบบเปิดเผยราคาอาจทำให้ผู้ประมูลส่งสัญญาณผ่านการยื่นประมูล ทำให้เกิดการฮั้วประมูลขึ้น • กระตุ้นให้บริษัทที่อ่อนแอกว่าเข้าร่วมการประมูล เนื่องจากมีโอกาสชนะประมูลอยู่บ้าง • ข้อเสีย • ผู้ประมูลไม่สามารถปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การประมูลของตนตามข้อมูลราคาได้ • ผู้ประกอบการรายเดิมจะชนะการประมูลได้ต้องยื่นประมูลในราคาที่สูงมาก ดังนั้นจึงอาจทำให้เกิด “winner’s curse” ขึ้น และคลื่นความถี่อาจจะไม่ได้ถูกจัดสรรให้กับผู้ประมูลที่ประเมินมูลค่าไว้สูงสุด 21

  22. การประมูลแบบเปิดเผยและปิดราคาการประมูลแบบเปิดเผยและปิดราคา นิยม : การประมูลแบบเปิดเผยราคา ข้อดีเรื่องการเปิดเผยราคามีมากกว่าความเสี่ยงเรื่องการฮั้วประมูล 22

  23. การประมูลแบบพร้อมเพรียงกันและการประมูลแบบเป็นลำดับการประมูลแบบพร้อมเพรียงกันและการประมูลแบบเป็นลำดับ • ข้อดีของการประมูลแบบพร้อมเพรียงกัน • การส่งเสริมการแข่งขันที่เท่าเทียมกัน ผู้ที่มีความพร้อมในการให้บริการสามารถเข้าตลาดได้พร้อมกัน ทำให้ไม่มีข้อได้เปรียบเสียเปรียบในช่วงเวลาการเข้าตลาด • ผู้ประมูลไม่จำเป็นต้องกำหนดกลยุทธ์เพื่อประกันการได้รับใบอนุญาตเป็นรายแรกทำให้เกิดการจัดสรรที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และลดโอกาสในการเกิด winner’s curse • ข้อเสีย • จำกัดข้อมูลและการตอบสนองต่อข้อมูลสำหรับผู้ประมูล โดยทำให้ผู้ประมูลต้องคาดเดาถึงราคาประมูลในอนาคตเมื่อจะกำหนดราคาประมูลในปัจจุบัน • ผู้ประมูลไม่สามารถปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การประมูลของตนตามข้อเสนอราคาได้ • ผู้ประมูลอาจประเมินมูลค่าของใบอนุญาตสูงกว่ามูลค่าที่แท้จริง • ผู้ประกอบการรายเดิมที่มีความแข็งแกร่งจะพยายามเข้าสู่ตลาดเป็นรายแรก (การแข่งขันที่ไม่เท่าเทียมกัน การผูกขาด) 23

  24. รูปแบบการประมูลมาตรฐานรูปแบบการประมูลมาตรฐาน • การประมูลแบบปิดราคาและใช้ราคาแรก (First-Price Sealed Bid) • ผู้ประมูลจะยื่นประมูลในราคาที่เป็นอิสระต่อกัน โดยแต่ละรายไม่เห็นราคาของกันและกัน • ผู้ชนะการประมูล คือ ผู้ที่ยื่นประมูลสูงสุดและจ่ายราคาที่ตนยื่นประมูล • สาธารณรัฐ เชค และ กรีซ 24

  25. รูปแบบการประมูลมาตรฐานรูปแบบการประมูลมาตรฐาน • การประมูลแบบปิดราคาและใช้ราคาที่สอง (Second-Price Sealed Bid) • Vickrey Auction : William Vickey เสนอรูปแบบนี้เป็นคนแรก • มีลักษณะเดียวกับการประมูลแบบปิดราคาและใช้ราคาแรก แต่ผู้ชนะจะจ่ายราคาที่ผู้ยื่นประมูลสูงสุดลำดับที่สองยื่นประมูล หรือราคาที่สอง • ยื่นประมูลตามมูลค่าของตนอย่างแท้จริง ไม่ต้องสนใจกลยุทธ์ของคู่แข่ง • New Zealand • ผู้ประมูลที่ให้มูลค่าสูงสุดหรือมีต้นทุนต่ำสุดมักจะเป็นผู้ชนะการประมูล 25

  26. รูปแบบการประมูลมาตรฐานรูปแบบการประมูลมาตรฐาน • การประมูลแบบเปิดราคาและเพิ่มราคาประมูลในแต่ละรอบ (Ascending Open Bids) • English Auction • ผู้ประมูลจะเพิ่มราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ จนเหลือผู้ประมูลเพียงรายเดียว • ผู้ประมูลจะชนะการประมูลที่ราคาสุดท้าย • การประมูลคลื่นความถี่ในปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนมาจาก English Auction 26

  27. รูปแบบการประมูลมาตรฐานรูปแบบการประมูลมาตรฐาน • การประมูลแบบเปิดราคาและลดราคาประมูลในแต่ละรอบ (Open Descending Bids) • Dutch Auction • ตรงข้ามกับ English Auction • ผู้ดำเนินการประมูลจะเปิดประมูลในราคาที่สูง จากนั้นจะลดราคาลงเรื่อยๆ • ผู้ประมูลที่ประกาศยอมรับราคาปัจจุบันจะเป็นผู้ชนะการประมูล และจ่ายค่าประมูล ณ ราคาที่ตนยอมรับ 27

  28. รูปแบบการประมูลมาตรฐานรูปแบบการประมูลมาตรฐาน • การนำรูปแบบมาตรฐานมาผสมกัน • ใช้ English Auction ในการประมูลจนกว่าจำนวนผู้ประมูลจะลดลงจนมีจำนวนมากกว่าใบอนุญาตหนึ่งราย • การประมูลจะจบลงด้วย First-Price Sealed Bid • ผู้เสนอราคาสูงสุดเป็นผู้ได้รับใบอนุญาต • Anglo-Dutch Auction 28

  29. รูปแบบการประมูลคลื่นความถี่รูปแบบการประมูลคลื่นความถี่ • Simultaneous Multiple Round Ascending Auction (SMRA) • การประมูลใบอนุญาตทุกใบพร้อมกันแบบหลายรอบ ปรับเปลี่ยนมาจาก Simultaneous Ascending Auction ที่ USA ใช้เป็นประเทศแรก พัฒนามาจาก English Auction • ไม่มีรูปแบบตายตัว เปลี่ยนแปลงตามผู้ดำเนินการประมูล และความต้องการ • สินค้าที่จะนำมาประมูลจะถูกนำมาประมูลพร้อมกันทีเดียว ตลาดจะปิดจนกว่าสินค้าทั้งหมดถูกขายไป 29

  30. รูปแบบการประมูลคลื่นความถี่รูปแบบการประมูลคลื่นความถี่ • Simultaneous Multiple Round Ascending Auction (SMRA) • การยื่นประมูลมี 2 รูปแบบ • กระบวนการแบบต่อเนื่อง (Continuous Time) ผู้ประมูลสามารถยื่นประมูลในเวลาใดได้เรื่อยๆ โดยการยื่นประมูลแต่ละครั้งจะทำใหกิดผู้ชนะชั่วคราว และจะประกาศผลทันที • กระบวนการที่แบ่งเป็นรอบๆ (Discrete Time) การประมูลจะดำเนินการไปเรื่อยๆ ตามลำดับ โดยผู้ประมูลจะยื่นประมูลตามกำหนดเวลา จากนั้นจะประกาศผลการประมูล และผู้ชนะชั่วคราวพร้อมๆกันกับราคาประมูลรอบต่อไป 30

  31. รูปแบบการประมูลคลื่นความถี่รูปแบบการประมูลคลื่นความถี่ • Simultaneous Multiple Round Ascending Auction (SMRA) • ผู้ดำเนินการประมูลจะกำหนดส่วนเพิ่มของราคาประมูล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การประมูลสิ้นสุดลงในเวลาที่เหมาะสม • ผู้ประมูลต้องยื่นราคาเพิ่มขึ้นอย่างน้อยเท่ากับราคาขั้นต่ำที่กำหนดของแต่ละรอบ 31

  32. รูปแบบการประมูลคลื่นความถี่รูปแบบการประมูลคลื่นความถี่ • Simultaneous Multiple Round Ascending Auction (SMRA) 32

  33. รูปแบบการประมูลคลื่นความถี่รูปแบบการประมูลคลื่นความถี่ • Simultaneous Multiple Round Ascending Auction (SMRA) 33

  34. รูปแบบการประมูลคลื่นความถี่รูปแบบการประมูลคลื่นความถี่ • Simultaneous Multiple Round Ascending Auction (SMRA) 34

  35. กสทช. ใช้ข้อมูลจากแหล่งใด มาจัดการโทรคมนาคมไทย?

  36. ห้องสมุดศูนย์ข้อมูลและวิจัยเศรษฐกิจ โทรคมนาคม • ฐานข้อมูลของสหภาพโทรคมนาคมระหว่าง ประเทศ (ITU) • ฐานข้อมูลสมาคมจีเอ็ส เอ็ม (GSMA) • ฐานข้อมูลขององค์การเพื่อ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) • ฐานข้อมูลห้องโทรคมนาคมของ สถาบันวิศวกรรมไฟฟ้าและวิศวกรรม อิเล็กทรอนิกส์นานาชาติ (IEEE) • ฐานข้อมูลโทรคมนาคมของบริษัท ไอดีซี รีเสิร์ช จำกัด (IDC) • ฐานข้อมูลโทรคมนาคมของบริษัท โอวุ่ม รีเสิร์ซ จำกัด (OVUM) • ฐานข้อมูล ของบริษัท ฟอร์ท แอนด์ ซัลลิวัน จำกัด (Frost&Sullivan) • ฐานข้อมูลเศรษฐกิจ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

  37. ฐานข้อมูลตัวชี้วัดโทรคมนาคมของสหภาพโทรคมนาคม ระหว่างประเทศ (ITU) • รายการดัชนีชี้วัดกิจการโทรคมนาคม (ICT Indicators) • ข้อมูลดัชนีรายการการพัฒนาด้านสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT Development Index : IDI) • รายงานดัชนีราคาค่าบริการโทรคมนาคม (ICT Price Basket: IPB) • จำนวนผู้ใช้บริการโทรศัพท์ จำนวนผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตของแต่ละประเทศ

  38. ฐานข้อมูลกิจการโทรคมนาคมของสมาคมจีเอ็สเอ็ม (GSM) • สมาคมการค้าผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ GSM ซึ่งมีผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมเป็นสมาชิก ประมาณ 800 รายทั่วโลก กว่า 200 บริษัท ประกอบไปด้วยผู้ผลิตอุปกรณ์โปรแกรม • การบริการด้านข้อมูลของสมาคมจีเอ็สเอ็มนั้น เป็นการให้บริการโดยผ่านตัวแทนคือบริษัท Wireless Intelligence • ซึ่งทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ของผู้ประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในทุกระบบ เช่น GSM CDMA TDMA PHS iDEN • จัดทำบทวิเคราะห์และพยากรณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่ในอนาคต • Wireless Intelligence ยังให้บริการแก่ลูกค้าทั่วโลก ซึ่งข้อมูลที่ Wireless Intelligence ได้จัดทำขึ้น ประกอบด้วย ข้อมูลที่มีความหลากหลายมากกว่า 5 ล้านข้อมูล โดยมีการปรับปรุง (update) เป็นรายวันรายงานบทวิเคราะห์อุตสาหกรรมโทรศัพท์ และรวบรวมข่าวสารที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมโทรศัพท์มือถือ

  39. ฐานข้อมูลขององค์การเพื่อ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) • องค์กรระหว่างประเทศที่มีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศสมาชิก • โดยการปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารจัดการส่งเสริมการค้าเสรีและให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาทั้งในประเทศอุตสาหกรรมและประเทศกำลังพัฒนา • ในปัจจุบัน OECD ถือเป็นองค์กรวิจัยที่มีคุณภาพที่สุดองค์กรหนึ่งของโลก เป็นแหล่งรวมข้อมูลวิจัยต่างๆ ให้ประเทศสมาชิกสามารถปรึกษา ค้นคว้า

  40. International Tele communication Union • สหภาพโทรคมนาคม ระหว่างประเทศ (International Tele communication Union: ITU) • ITU ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1932: สหภาพโทรเลขระหว่างประเทศ (International Teegraph Union) • ค.ศ. 1947 ITU ได้กลายมาเป็น องค์การชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ โดยมีสำนักงานใหญ่ ตั้งอยู่ที่นครเจนีวาประเทศสวิสเซอร์แลนด์ และมีสำนักงานภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร • ประเทศ สมาชิก (Member States) จำนวน 192 ประเทศ • สมาชิกประเภทองค์กรทั้ง ภาครัฐ เอกชน รวมถึงนักวิชาการ (Sector Members) อีกกว่า700 ราย

  41. International Tele communication Union • ITU เป็นองค์กรที่มีความเกี่ยวข้องกับ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาเครือข่าย และการให้บริการด้านโทรคมนาคมของ นานาประเทศทั่วโลกการส่งเสริมความ ร่วมมือระหว่างประเทศเกี่ยวกับกิจการ โทรคมนาคมและการพัฒนาเทคโนโลยี อุตสาหกรรมโทรคมนาคม และการ บริหารจัดการทรัพยากรคลื่นความถี่วิทยุ • ITU ประกอบไปด้วยหน่วยงานหลัก 3 หน่วยงาน หรือที่เรียกว่า“Sector” ได้แก่ • Radiocommunication Sector (ITU-R) • Telecommunication Standardization Sector (ITU-T) • Telecommunication Development Sector (ITU-D)

  42. International Tele communication Union • ITU-R เป็นหน่วยงานซึ่งมีบทบาทในการบริหารคลื่นความถี่วิทยุ (radio-frequency spectrum) ในระดับสากล และทำหน้าที่บริหารวงโคจรดาวเทียม (satellite orbit) อีกทั้งยังพัฒนามาตรฐานระบบวิทยุสื่อสาร • การใช้คลื่นความถี่อย่างมีประสิทธิภาพ • ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด แต่ความต้องการใช้ทรัพยากรดังกล่าวมีเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องอันเป็นผลมาจากการขยายตัวของกิจกรรมและบริการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบวิทยุสื่อสาร • โทรศัพท์พื้นฐาน โทรศัพท์เคลื่อนที่ กิจกรรมวิทยุสมัครเล่น การวิจัยด้านอวกาศ การโทรคมนาคมฉุกเฉิน การอุตุนิยมวิทยาระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลกผ่านดาวเทียม (GPS)

  43. International Tele communication Union • ITU-R จะเป็นหน่วยงานที่ให้คำแนะนำทั้งในด้านคุณลักษณะทางเทคนิคและกระบวนการทำงานของอุปกรณ์ไร้สาย ตลอดจนคำแนะนำในการบริหารคลื่นวิทยุของแต่ละประเทศให้มีความสอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และยังทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานและจดบันทึกการใช้คลื่นความถี่วิทยุของโลกเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการรบกวนซึ่งกันและกัน (harmful interference) และนำคลื่นความถี่วิทยุมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด • ITU-R ยังเป็นผู้ออกข้อบังคับวิทยุสากล (Radio Regulations: RR) โดยมาจากข้อตกลงร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกผ่านที่ประชุม World Radio Communication Conferences (WRCs) ซึ่งมีการจัดขึ้นทุกๆ 3 หรือ 4 ปี เพื่อทบทวนและ/หรือเปลี่ยนแปลง RR เพื่อให้ประเทศสมาชิกใช้เป็นแนวทางและหลักปฏิบัติในการใช้งานคลื่นความถี่วิทยุและวงโคจรดาวเทียมเพื่อลดการรบกวนความถี่วิทยุระหว่างกันให้น้อยที่สุด • ITU-R มีสำนักเลขาธิการ เรียกว่าสำนักการสื่อสารวิทยุ (Radiocommunication Bureau: BR)

  44. International Tele communication Union • ITU-T มีหน้าที่กำกับดูแลให้มีการกำหนดมาตรฐานให้ครอบคลุมทุกส่วนของโทรคมนาคม ทั้งในด้านมาตรฐานอุปกรณ์ และบริการโทรคมนาคม มาตรฐานโครงสร้างการดำเนินงานในกิจการโทรคมนาคม รวมถึงแนวทางการคำนวณค่าธรรมเนียมและหลักการทางด้านบัญชีสำหรับการให้บริการโทรคมนาคมในระดับสากล ทั้งนี้ เพื่อให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีและบริการให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และป้องกันมิให้ผู้บริโภคเสียประโยชน์จากการใช้อุปกรณ์โทรคมนาคม • มาตรฐานโทรคมนาคมของ ITU-T นั้นจะถูกกำหนดโดยผู้เชี่ยวชาญต่างๆ ซึ่งจะมาจากคณะทำงานแขนงต่างๆ อาทิ ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัย นักวิจัยจากภาครัฐและเอกชน หน่วยงานกำกับดูแล ของประเทศต่างๆ เป็นต้น • ITU-T มีสำนักงานเลขาธิการ สำนักมาตรฐานโทรคมนาคม (Telecommunication Standardization Bureau: TSB)

  45. International Tele communication Union • ITU-D ได้ถูกจัดตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1992 โดยมีภารกิจหลักที่มุ่งเน้นการส่งเสริมให้มวลมนุษยชาติเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานด้านการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT infrastructure) อย่างเท่าเทียม พอเพียง และด้วยค่าใช้จ่ายที่ยอมรับได้ • ITU-D จะให้ความช่วยเหลือประเทศสมาชิกทางด้านเทคนิค บุคคลากร และเงินทุนในการพัฒนาระบบ ICT และสนับสนุนในการขยายผลให้ประเทศสมาชิกได้รับประโยชน์จาก ICT • ITU-D มีหน้าที่ในการนำแนวทางการพัฒนาโทรคมนาคมมาปรับใช้กับประเทศที่กำลังพัฒนาและประเทศด้อยพัฒนาโดยการจัดการศึกษาและกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้ความรู้ในการพัฒนาเทคโนโลยีโทรคมนาคม โดยที่จะเป็นการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศต่อไป นอกจากนี้ ITU-D ยังมีหน้าที่ช่วยเหลือในการพัฒนาเครือข่ายโทรคมนาคมของประเทศกำลังพัฒนาและประเทศด้อยพัฒนาให้มีโอกาสในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบสารสนเทศและการสื่อสาร • ITU-D มีสำนักเลขาธิการเรียกว่าสำนักพัฒนาโทรคมนาคม (Telecommunication Development Bureau : BDT)

  46. อนาคตโทรคมนาคมไทย (2553) • http://archive.voicetv.co.th/content/23705/%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%95%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2

  47. References • เศรษฐพร คูศรีพิทักษ์, สุดารัตน์ แก้วงาม, ปุณย์สิรี ฉัตรจินดา,กสทช. กสท. กทค. กับการทำหน้าที่, กสทช.2554. • พูลศิริ นิลกิจศรานนท์, จิตสถา ศรีประเสริฐสุข, สมพร อมรชัยนพคุณ, ปุณย์สิรี ฉัตรจินดา, พรรณิภา สีใส, วีณา จ่างเจริญ ,เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการประมูลคลื่นความถี่, กสทช.2554. • บทเรียนการเปิดเสรีโทรคมนาคมและการประเมินผลการปฏิรูประบบโทรคมนาคมไทย, สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. • คัคนางค์ จามักริก, ทฤษฏีเกมกับการกำหนดอัตราค่าบริการโทรคมนาคม , กสทช.2554. • อนาคตโทรคมนาคมไทย, VOICEtv, 26 ตุลาคม 2553. • วิเคราะห์ตลาดโทรคมนาคม TELECOM STATUS, สำนักงานคณะกรรมการกิจการ กระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ, พฤศจิกายน 2554. • วิเคราะห์ตลาดโทรคมนาคม TELECOM STATUS, สำนักงานคณะกรรมการกิจการ กระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ, ธันวาคม 2554. 47

More Related