1 / 26

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์. เครื่องราชอิสริยาภรณ์. หมายความว่าเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้างเผือกหรือเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทยตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องราชอิสริยาภรณ์ มงกุฎไทยแล้วแต่กรณี

adolph
Download Presentation

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เครื่องราชอิสริยาภรณ์เครื่องราชอิสริยาภรณ์ • เครื่องราชอิสริยาภรณ์. หมายความว่าเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้างเผือกหรือเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทยตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องราชอิสริยาภรณ์ มงกุฎไทยแล้วแต่กรณี • เครื่องราชอิสริยาภรณ์เป็นเครื่องหมายแห่งเกียรติยศ ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่ผู้กระทำความดีความชอบเป็นประโยชน์แก่ราชการหรือสาธารณชนโดยการพิจารณาเสนอขอพระราชทานของรัฐบาล เพื่อเป็นบำเหน็จความชอบและเครื่องหมายเชิดชูเกียรติยศอย่างสูง แก่ผู้ได้รับพระราชทาน

  2. ในการพิจารณาเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่บุคคลใด ให้พิจารณาโดยรอบคอบว่าบุคคลนั้นได้กระทำความดีความชอบเป็นประโยชน์แก่ราชการหรือสาธารณชนจนถึงขนาดควรได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์โดยมิใช่พิจารณาแต่เพียงตำแหน่ง ระดับ ชั้น ชั้นยศ หรือครบกำหนดระยะเวลาที่จะขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ได้เท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อให้บุคคลที่ได้รับพระราชทานรู้สึกภาคภูมิใจในเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับพระราชทานอย่างแท้จริง และเพื่อให้เครื่องราชอิสริยาภรณ์เป็นเครื่องหมายเชิดชูเกียรติยศอย่างสูงด้วย • บุคคลที่พึ่งได้รับการพิจารณาเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้ เป็นผู้มีสัญชาติไทย เป็นผู้ประพฤติดีและปฏิบัติงานราชการหรือปฏิบัติงานที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนด้วยความอุสาหะ ซื่อสัตย์และเอาใจใส่ต่อหน้าที่อย่างดียิ่งและเป็นผู้ไม่เคยมีพระบรมราชานุญาตให้เรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หรือต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ

  3. ชนิดของเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญราชอิสริยาภรณ์ชนิดของเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญราชอิสริยาภรณ์ • เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก • เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งมงกุฎไทย • เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ • เหรียญจักรพรรดิมาลา

  4. ชั้นที่ 7 เหรียญเงินมงกุฎไทย (ร.ง.ม.) • ชั้นที่ 7 เหรียญเงินช้างเผือก (ร.ง.ช.) • ชั้นที่ 6 เหรียญทองมงกุฎไทย (ร.ท.ม.) • ชั้นที่ 6 เหรียญทองช้างเผือก (ร.ท.ช.) • ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.) • ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์ช้างเผือก (บ.ช.) • ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย (จ.ม.) • ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.) • ชั้นที่ 3 ตรีตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.) • ชั้นที่ 3 ตรีตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.) • ชั้นที่ 2 ทวีติยภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.) • ชั้นที่ 2 ทวีติยภรณ์มงกุฎไทย (ท.ช.) • ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.) • ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.) • ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ และ (ม.ว.ม.) • ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.) ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ชั้นสายสะพาย

  5. การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้ข้าราชการการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้ข้าราชการ

  6. การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ลูกจ้างประจำของส่วนราชการการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ลูกจ้างประจำของส่วนราชการ ใช้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎ ไทย พ.ศ.2536 คุณสมบัติต้องเป็นลูกจ้างประจำของส่วนราชการตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พ.ศ.2537 ต้องเป็นลูกจ้างประจำที่มีชื่อและลักษณะงานเป็นลูกจ้างประจำโดยตรงหมวดฝีมือหรือลูกจ้างที่มีชื่อและลักษณะเหมือนข้าราชการต้องปฏิบัติงานติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 8 บริบูรณ์

  7. นับตั้งแต่เริ่มจ้างถึงวันก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา 60 วัน (บรรจุเข้ารับราชการภายในวันที่ 6 ตุลาคมของปีที่เสนอขอ) ต้องเป็นผู้ประพฤติดีและปฏิบัติราชการหรืองานที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนด้วยความอุตสาหะ ซื่อสัตย์ และเอาใจใส่ต่อหน้าที่อย่างดียิ่ง และเป็นผู้ไม่เคยมีพระบรมราชานุญาตให้เรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์หรือต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ กรณีผู้เสนอขอพระราชทานฯถูกลงโทษทางวินัยในปีใดให้เพิ่มกำหนดระยะเวลาการขอพระราชทานอีก 1 ปี ยกเว้นโทษภาคทัณฑ์

  8. หลักเกณฑ์การได้รับค่าจ้าง ซึ่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎ ไทย พ.ศ.2536 บัญชี 15 กำหนดเป็น 2 กรณี คือกรณีได้รับค่าจ้างตั้งแต่อัตราเงินเดือนขั้นต่ำของข้าราชการพลเรือนระดับ 3 แต่ไม่ถึงขั้นต่ำระดับ 6 และกรณีได้รับค่าจ้างตั้งแต่อัตราเงินเดือนขั้นต่ำระดับ 6 ขึ้นไปนั้น แต่เนื่องจากปัจจุบันประเภทตำแหน่งและอัตราเงินเดือนของข้าราชการ

  9. ได้เปลี่ยนแปลงไปตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 จึงให้เทียบเคียงเงินค่าจ้างของลูกจ้างกับเงินเดือนข้าราชการประเภทวิชาการ ดังนี้ 1. ลูกจ้างประจำซึ่งตามหลักเกณฑ์เดิมกำหนดให้ได้รับค่าจ้างตั้งแต่ขั้นต่ำของข้าราชการระดับ 3 แต่ไม่ถึงขั้นต่ำระดับ 6 ให้เทียบเคียงกับอัตราเงินเดือนข้าราชการระดับปฏิบัติการ แต่ไม่ถึงขั้นต่ำระดับชำนาญการโดยเริ่มต้นขอพระราชทาน บ.ม. เลื่อนได้จนถึง จ.ม. 2. ลูกจ้างประจำซึ่งตามหลักเกณฑ์เดิมกำหนดให้ได้รับค่าจ้างตั้งแต่อัตราขั้นต่ำของข้าราชการระดับ 6ขึ้นไป ให้เทียบเคียงกับอัตราเงินเดือนขั้นต่ำของข้าราชการระดับ ชำนาญการ ขึ้นไป โดยเริ่มขอพระราชทาน บ.ช. เลื่อนได้จนถึง จ.ช.

  10. หลักเกณฑ์การพิจารณาเสนอขอพระราชทานเครื่องอิสริยาภรณ์ให้แก่พนักงานราชการหลักเกณฑ์การพิจารณาเสนอขอพระราชทานเครื่องอิสริยาภรณ์ให้แก่พนักงานราชการ • 1. เป็นพนักงานราชการตามสัญญาจ้างของส่วนราชการตามระเบียบ สำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ.2547 • 2. เป็นพนักงานราชการที่มีชื่อและลักษณะงานเป็นพนักงานที่เทียบเท่ากับลูกจ้างประจำหมวดฝีมือขึ้นไป ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยลูกจ้างประจำของส่วนราชการ • 3. พนักงานราชการทั่วไปต้องมีเวลาปฏิบัติงานติดต่อกันมาเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ นับตั้งแต่วันเริ่มจ้างจนถึงวันก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่ขอพระราชทานไม่น้อยกว่า 60 วัน (ทำสัญญาจ้างครั้งแรกก่อน วันที่ 6 ตุลาคม 2550 และสัญญาจ้างติดต่อกันทุกปีต้องไม่ขาดแม้แต่วันเดียว) โดยมีเงื่อนไขและระยะการเลื่อนชั้นตราดังนี้

  11. 3.1 พนักงานราชการกลุ่มงานบริการ และกลุ่มงานเทคนิคขอพระราชทานครั้งแรก บ.ม. เลื่อนชั้นตราได้ถึง จ.ช .(การเลื่อนชั้นตราตามลำดับชั้นต้องมีเวลาในแต่ละชั้นตราไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์) • 3.2 พนักงานราชการกลุ่มงานบริหารทั่วไป ขอพระราชทานครั้งแรก บ.ช. เลื่อนชั้นตราได้ ถึง ต.ม. (การเลื่อนชั้นตราตามลำดับชั้นต้องมีเวลาในแต่ละชั้นตราไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์) • 3.3 พนักงานราชการกลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะ ขอพระราชทานครั้งแรก จ.ม. เลื่อนชั้นตราได้ถึง ต.ช. (การเลื่อนชั้นตราตามลำดับชั้นตราต้องมีเวลาในแต่ละชั้นตราไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์) • 3.4 พนักงานราชการกลุ่มงานเชี่ยวชาญเฉพาะ ขอพระราชทานครั้งแรก จ.ช. เลื่อนชั้นตราได้ ถึง ท.ม. (การเลื่อนชั้นตราตามลำดับชั้นต้องมีเวลาในแต่ละชั้นตราไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์)

  12. 4. เป็นผู้ประพฤติดี และปฏิบัติงานราชการด้วยความอุตสาหะ ซื่อสัตย์ และเอาใจใส่ต่อหน้าที่อย่างดียิ่ง • 5. พนักงานราชการที่ถูกดำเนินการทางวินัยและทางอาญาระหว่างปีที่เสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้งดการขอไว้จนกว่ากรณีหรือคดีจะถึงที่สุดเว้นแต่โทษภาคทัณฑ์

  13. การปรับราคาชดใช้แทนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ไม่สามารถส่งคืนตามกฎหมายการปรับราคาชดใช้แทนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ไม่สามารถส่งคืนตามกฎหมาย • ขณะนี้ถือปฏิบัติตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร 0508/ว (ท) 1359 ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2554 ส่งสำเนาประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ประกาศลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2554 กำหนดราคาชดใช้แทนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ไม่สามารถส่งคืนตามกฎหมาย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2554 – 2556 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2554 เป็นต้นไป (จะทำทุก 3 ปี ) • กฎหมายว่าด้วยเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญราชการที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันได้บัญญัติให้ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หรือเหรียญราชการต้องส่งคืนชั้นรองเมื่อได้เลื่อนชั้นตราสูงขึ้น หรือผู้รับมรดกของผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์วายชนม์ ซึ่งมีหน้าที่ต้องส่งคืน

  14. แต่ถ้าไม่สามารถส่งคืนได้จะต้องชดใช้ราคาเครื่องราชอิสริยาภรณ์ นั้น * เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ยกตัวอย่าง บ.ม. (บุรุษ) 2,838.- บาท บ.ม. (หญิง) 3,000.- บาท

  15. ขอจบคำบรรยาย ขอบคุณค่ะ

More Related