410 likes | 696 Views
บทบาทภารกิจของสำนักงานยุติธรรมจังหวัดนำร่องในด้านการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน. โดย นายพิทยา จินาวัฒน์ อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ อดีตรองปลัดกระทรวงยุติธรรม อดีตที่ปรึกษาด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด สำนักงานปปส. โครงสร้าง/หัวข้อการบรรยาย.
E N D
บทบาทภารกิจของสำนักงานยุติธรรมจังหวัดนำร่องในด้านการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน โดย นายพิทยา จินาวัฒน์ อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ อดีตรองปลัดกระทรวงยุติธรรม อดีตที่ปรึกษาด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดสำนักงานปปส.
โครงสร้าง/หัวข้อการบรรยายโครงสร้าง/หัวข้อการบรรยาย ๑. ทำไมการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนในจังหวัด/พื้นที่ ต้องดำเนินงานโดยสำนักงานยุติธรรมจังหวัด ๒. บทบาทภารกิจของกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพที่สำคัญคืออะไร ๓. อะไรคือนโยบายของกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในการดำเนินงานในภูมิภาค พื้นที่ ๔. บทบาทภารกิจของสำนักงานยุติธรรมจังหวัดนำร่องในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในจังหวัด มีอะไรบ้าง ๕. สรุป
๑. ทำไมการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนในจังหวัด/พื้นที่จำเป็นต้องดำเนินงานโดยสำนักงานยุติธรรมจังหวัดฯ • ปัญหาการละเมิดสิทธิเสรีภาพและสิทธิมนุษยชนในปัจจุบัน เกิดขึ้นในจังหวัด พื้นที่มาก ทั้งเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ โดยองค์กรธุรกิจ โดยประชาชนผู้มีสถานภาพทางสังคม เศรษฐกิจฯที่ดีกว่า และโดยนักการเมือง(ท้องถิ่นและระดับชาติ) เช่น การซ้อม/ทรมานผู้ต้องหา,การอุ้มหาย, การปล่อยน้ำเสียหรือของเสียจากโรงงานสู่แหล่งน้ำ,การทวงหนี้นอกระบบโดยวิธีรุนแรง, พ่อค้าไปซื้อผลผลิตการเกษตรจากเกษตรกรแล้วไม่ชำระหนี้ตามข้อตกลง, การปิดถนนสาธารณะเนื่องจากชาวบ้านไม่พอใจนโยบาย การดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐหรือ นโยบายรัฐบาล • สาเหตุที่สำคัญเกิดจาก - ผู้ละเมิดไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือใช้วิธีการที่ไม่เหมาะสม เกิดความไม่พอใจฯ - ประชาชนขาดความรู้ในการปกป้องสิทธิเสรีภาพ หรือมีความรู้ที่ไม่ถูกต้อง หรือมีความรู้แต่ต้องการใช้วิธีที่ไปละเมิดสิทธิผู้อื่นเพื่อให้เกิดผลกระทบเชิงกว้าง เพื่อให้ผู้บริหารระดับสูงหรือ/และรัฐบาลให้ความสนใจ - หน่วยงานรัฐที่มีหน้าที่ในการให้ความรู้ ป้องกัน ป้องปรามการละเมิดสิทธิฯของประชาชน ไม่ปฏิบัติหน้าที่อย่างถูกต้องและจริงจัง เพราะมีผลประโยชน์ หรือเกรงใจฯ - ภาคประชาสังคมยังไม่สามารถผนึกกำลังกับองค์กรภาคีช่วยเหลือประชาชนที่ถูกละเมิด
ประเทศไทยมีพันธะกรณีที่ต้องปฏิบัติตามอนุสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน ๗ ฉบับจากอนุสัญญาซึ่งมีอยู่ ๙ ฉบับ และถูกตรวจสอบโดยสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, NGO, องค์กรระหว่างประเทศฯ • เนื่องจากกรมคุ้มครองสิทธิฯ ไม่มีหน่วยงานของกรมฯตั้งอยู่ในภูมิภาค/จังหวัด ในการประสานงานกับองค์กรภาคีทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาสังคมและให้บริการแก่ประชาชนในพื้นที่ ในขณะที่กรมฯส่วนใหญ่ของกระทรวงฯมีหน่วยงานของตนตั้งและปฏิบัติงานในระดับภาคและ/หรือจังหวัดเพื่อทำภารกิจดังกล่าว • กระทรวงยุติธรรมและกรมคุ้มครองสิทธิฯ ไม่มีนโยบายที่จะจัดตั้งหน่วยงานของกรมคุ้มครองสิทธิฯ ในจังหวัด (สนง.คุ้มครองสิทธิฯจังหวัด) เพราะต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก • กรมฯจึงจำเป็นต้องขอความร่วมมือจากหน่วยงาน/กรมฯในสังกัดของกระทรวงยุติธรรมที่ตั้งอยู่ในจังหวัด ช่วยดำเนินงานในด้านส่งเสริม/ป้องกัน คุ้มครองและเยียวยาผู้ถูกละเมิดสิทธิฯ เนื่องจากอยู่สยจ.ตั้งอยู่ในจังหวัด ใกล้ชิดกับปัญหา รู้ความต้องการของประชาชน รู้จักพื้นที่ รู้ข้อมูลทรัพยากร ทุนทางสังคมในพื้นที่ รู้จักองค์กรภาคี เครือข่ายฯต่างๆ
๒. แนะนำบทบาทภารกิจของกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
ประวัติการจัดตั้งกรมฯประวัติการจัดตั้งกรมฯ • กระทรวงยุติธรรมแยกตัวจากศาล เมื่อปี ๒๕๔๔ • มีหน่วยงานบังคับคดี คุมประพฤติ สถานพินิจและคุ้มครองเด็ก ติดมาด้วย • ตั้งกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ในปี ๒๕๔๕ ตามรัฐธรรมนูญฯปี ๒๕๔๐ พันธกิจ • ทำหน้าที่ส่งเสริม คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน • โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน • ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และหลักการสิทธิมนุษยชน • เพื่อให้ประชาชนได้รับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ • มีความสมานฉันท์ และมีหลักประกันด้านสิทธิและเสรีภาพในระดับสากล 6
วิสัยทัศน์กรม เป็นองค์กรในการส่งเสริม คุ้มครองและ สร้างหลักประกันสิทธิและเสรีภาพและสิทธิมนุษยชน อย่างบูรณาการและมีนวัตกรรมสู่ความเป็นสากล พันธกิจ ทำหน้าที่ส่งเสริม คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพโดยการมีส่วนร่วม ของทุกภาคส่วนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และหลักการสิทธิมนุษยชน เพื่อให้ประชาชนได้รับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ มีความสมานฉันท์ และมีหลักประกันด้านสิทธิและเสรีภาพในระดับสากล 7
กรอบนโยบาย/กฎหมายที่สำคัญกรอบนโยบาย/กฎหมายที่สำคัญ • นโยบายรัฐบาล • นโยบายกระทรวง • แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ • กรอบทิศทางการทำงานของกรมฯ • กฎหมาย/ระเบียบที่เกี่ยวข้อง • - รัฐธรรมนูญฯ ปี 2550 • - พ.ร.บ. ค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ.2544 • - พ.ร.บ. คุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ.2546 • - ระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยกองทุนยุติธรรม พ.ศ. 2553 • - มติครม.ที่เกี่ยวข้องกับแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ • - สนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน ได้แก่ กติกาสากลว่าด้วยสิทธิพลเมือและสิทธิทางการเมืองง(ICCPR), ต่อต้านการทรมาน(CAT), ขจัดการเลือกปฏิบัติ(CERD), คุ้มครองบุคคลมิให้ถูกบังคับให้สูญหาย(ICPD) ฯลฯ
ข้อมูลประชากรกลุ่มเป้าหมายของการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและสิทธิมนุษยชนข้อมูลประชากรกลุ่มเป้าหมายของการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและสิทธิมนุษยชน - เจ้าหน้าที่รัฐ - ภาคประชาสังคม
ประชากรกลุ่มเป้าหมาย/ลูกค้าของกรมคุ้มครองสิทธิฯประชากรกลุ่มเป้าหมาย/ลูกค้าของกรมคุ้มครองสิทธิฯ
ส่งเสริม วิสัยทัศน์ : เป็นองค์กรในการส่งเสริม คุ้มครองและ สร้างหลักประกันสิทธิและเสรีภาพและสิทธิมนุษยชน อย่างบูรณาการและมีนวัตกรรมสู่ความเป็นสากล คุ้มครอง สร้างหลักประกัน บูรณาการและมีนวัตกรรมสู่ความเป็นสากล พันธกิจ : ทำหน้าที่ส่งเสริม คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และหลักการสิทธิมนุษยชน เพื่อให้ประชาชนได้รับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ มีความสมานฉันท์ และมีหลักประกันด้านสิทธิและเสรีภาพในระดับสากล ส่งเสริม คุ้มครอง การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน มีความสมานฉันท์ มีหลักประกันในระดับสากล 11
วัตถุประสงค์สูงสุด • ปชช.รู้เข้าใจสิทธิเสรีภาพและสิทธิมนุษยชน ปกป้องสิทธิฯตนเอง ไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่น ไม่ละเมิดก.ม. • เจ้าหน้าที่รัฐฯ ปฏิบัติหน้าที่โดยชอบ ไม่ละเมิดกม. • ชุมชนสังคมสมานฉันท์ ประเทศไทยได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ วิสัยทัศน์ : เป็นองค์กรในการส่งเสริม คุ้มครองและสร้างหลักประกันสิทธิและเสรีภาพ และสิทธิมนุษยชน อย่างบูรณาการ และมีนวัตกรรมสู่ความเป็นสากล พันธกิจ : ทำหน้าที่ส่งเสริม คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และหลักการสิทธิมนุษยชน เพื่อให้ประชาชนได้รับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ มีความสมานฉันท์ และมีหลักประกันด้านสิทธิและเสรีภาพในระดับสากล ยกระดับความรู้ด้านสิทธิเสรีภาพและสิทธิมนุษยชน ขยายเครือข่ายและพันธมิตรด้านสิทธิเสรีภาพและสิทธิมนุษยชน ปรับปรุงระบบส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและสิทธิมนุษยชน พัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการ กรมฯ ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ร่วมกับองค์กรภาคีและเครือข่ายเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์
ประเด็นยุทธศาสตร์กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพประเด็นยุทธศาสตร์กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 ยกระดับความรู้ด้านสิทธิเสรีภาพและสิทธิมนุษยชน ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 ขยายเครือข่ายและพันธมิตรด้านสิทธิเสรีภาพและสิทธิมนุษยชน ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 ปรับปรุงระบบส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและสิทธิมนุษยชน ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการ
แผนงาน/โครงการที่สำคัญของกรมฯ ในปี 2555 1.โครงการเชิงนโยบาย/ Flagship -สชง. ขยายความช่วยเหลือผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญาในพื้นที่ส่วนภูมิภาค 9 จังหวัดนำร่อง -กสร.ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างความสมานฉันท์ในชุมชนผ่าน อปท. เครือข่าย และยุติธรรมจังหวัด -กสส. ขับเคลื่อนแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติฉบับที่ 2 จัดทำแผนสิทธิฯ ฉบับที่ 3
แผนงาน/โครงการที่สำคัญของกรมฯ ในปี 2555 2.โครงการตามภารกิจกรมฯ -จัดทำแผนยุทธศาสตร์ของกองทุนยุติธรรม รองรับการเป็นกองทุนหมุนเวียน เพื่อช่วยผู้ได้รับความเดือดร้อน และไม่ได้รับความเป็นธรรม เป้าหมาย 4,000 ราย (กพส.) -โครงการจัดวางแนวทางการเผยแพร่ เรื่องสิทธิเสรีภาพและสิทธิมนุษยชน ไปยังกลุ่มเป้าหมายต่างๆ (กสร. และกอง/สำนักที่เกี่ยวข้อง) -ศูนย์สิทธิมนุษยชน จัดทำเป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องสิทธิมนุษยชนแก่ทุกภาคส่วน (กสส.) -การดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ รับผิดชอบอนุสัญญา 3 ฉบับ (กสส.)จากอนุสัญญา 7 ฉบับที่ประเทศไทยมีพันธกรณี -ศูนย์คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ เป็นการดำเนินงานเชิงรุกทั่วประเทศ (กพส.) -โครงการสายด่วนคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ เพิ่มช่องทางการรับความช่วยเหลือ เยียวยาจากทั่วประเทศ (กพส.)
แผนงาน/โครงการที่สำคัญของกรมฯ ในปี 2555 3.งานประจำที่สำคัญของกรมฯ -การช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญา เป้าหมาย 2,000 ราย (สชง.) -การคุ้มครองสิทธิ์ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในทุกกรณี (กพส.) # ผู้ต้องขังจากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง (8 เรือนจำ 57 ราย) # ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ทางการเมือง กรณีทรัพย์สินเสียหาย (พื้นที่ 4 แห่ง 700 ราย) # ผู้ต้องขังคดีความมั่นคงจังหวัดชายแดนภาคใต้ (150 ราย) -ยุติธรรมเคลื่อนที่ เป็นการช่วยเหลือประชาชนตามกฎหมายเชิงรุก เป้าหมายในเขต กทม. 5 ครั้ง ส่วนภูมิภาค 75 จังหวัด (กพส.) -ส่งเสริมสิทธิผู้ต้องหาในการสอบสวนคดีอาญา ตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตร 134/1 จำนวน 6,240 คดี (กพส.)
โครงสร้างกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพโครงสร้างกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ รองอธิบดี - 2 ผู้เชี่ยวชาญ - 3 สำนักงานเลขานุการกรม กองพิทักษ์สิทธิและเสรีภาพ กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กองส่งเสริมการระงับข้อพิพาท กลุ่มตรวจสอบภายใน กองส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพ สำนักบริหารงานยุติธรรม สังกัด ศอ.บต. สำนักงานคุ้มครองพยาน คลินิกยุติธรรมทั่วประเทศ สำนักงานช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญา เป็นการแบ่งส่วนราชการภายใน
ข้อมูลพื้นฐาน ด้านอัตรากำลัง กรอบอัตราข้าราชการเดิมจำนวน 116 อัตรา ได้รับจัดสรรอัตรากำลังตามมติ ครม. เพิ่มเติมเมื่อเดือน มกราคม 2554 จำนวน 20 อัตรา เพื่อสนับสนุนงานด้านแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติฉบับที่ 2 ปัจจุบันอยู่ระหว่างการสรรหา
รายงานงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553-2555
ภารกิจการดำเนินงานคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพภารกิจการดำเนินงานคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กรอบก.ม./นโยบาย : รัฐธรรมนูญฯ ปี ๒๕๕๐ อนุสัญญาสิทธิมนุษยชน ต่างประเทศ (กรรมาธิการสิทธิมนุษยชนฯและอนุสัญญาด้านสิทธิมนุษยชน) เมือง ต้นน้ำ ปลายน้ำ เผยแพร่/พัฒนาเครือข่าย/ระงับข้อพิพาท/คุ้มครองพยาน/ช่วยเหลือผู้เสียหาย,ผู้ต้องหา/เยียวยาเหยื่อ/จำเลยผู้บริสุทธิ์ในคดีอาญา ชนบท ประชาชนผู้ด้อยโอกาสที่เดือดร้อน
ตัวแบบการดำเนินงานคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพตัวแบบการดำเนินงานคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอเพื่อพิจารณา ปัญหา อุปสรรค : ทรัพยากรไม่ได้สัดส่วนกับภารกิจ - ภารกิจหลากหลาย ครอบคลุมต้นน้ำ/ปลายน้ำ, รากหญ้าทั่วประเทศ - ข้อจำกัดด้านทรัพยากร มีการเข้าออกของบุคลากรสูง และงบประมาณ - กรมไม่มีหน่วยงานในภูมิภาค ต้องอาศัย สำนักงานยุติธรรมจังหวัด เป็นหน่วยปฏิบัติ ซึ่งยังมีข้อจำกัดเนื่องจากเป็นโครงสร้างไม่เป็นทางการ ไม่มีอัตรากำลังจริง แนวทางการลดอุปสรรค,ข้อจำกัด -การเสริมสร้างขีดความสามารถของ สำนักงานยุติธรรมจังหวัด. -การสนับสนุนทรัพยากร(คน,งบประมาณ)ให้ได้สัดส่วนกับภารกิจ - การสนับสนุนจากฝ่ายการเมืองและผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงยุติธรรมในภารกิจที่สำคัญ (การส่งเสริม,ขับเคลื่อนแผนสิทธิฯ, ...)
คุ้มครองคน คุ้มครองสิทธิ สร้างวิถีชีวิตแห่งความเป็นธรรม
๓. นโยบายของกรมฯในการดำเนินงานส่งเสริม คุ้มครองสิทธิฯ • ยึดนโยบายของรัฐบาล และนโยบายของกระทรวงยุติธรรมเป็นหลัก - นโยบายของรัฐบาล(นายกรัฐมนตรี นส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) - นโยบายของกระทรวงยุติธรรม (รมต.ยธ. พล.ต.อ ประชา พรหมนอก) • นโยบายกระทรวงยุติธรรมด้านสำนักงานยุติธรรมจังหวัดนำร่อง - ปี ๒๕๔๘ : กระทรวงยธ. ตั้งสำนักงานยุติธรรมจังหวัด อยู่ในสป.ยธ - ปี ๒๕๕๔ : มีสยจ.นำร่องใน ๕ จังหวัด คือ ชม.,ขก.,ฉช.,สฎ.,ปน. - ปี ๒๕๕๕ : เพิ่มอีก ๕ จังหวัด คือ นฐ.,อย.,พล.,นม.,อด. มีอัตราขรก. ในสยจ.นำร่อง จังหวัดละ ๕ อัตรา รวม ๒๕ อัตรา ใช้ IT ช่วย • เสริมด้วยนโยบายของกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ - ตามที่กำหนดไว้ในแผนยุทธศาสตร์แม่บทฯ ๔ ปี - แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ ๒ - นโยบายและแนวทางการดำเนินงานของกรมฯในปี ๒๕๕๕-๒๕๕๖
นโยบายและภารกิจของกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพเพื่อการขับเคลื่อนงานของสยจ.ในระดับจังหวัดและพื้นที่นโยบายและภารกิจของกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพเพื่อการขับเคลื่อนงานของสยจ.ในระดับจังหวัดและพื้นที่ ๑. ส่งเสริมหรือป้องกันปัญหา และการเฝ้าระวังปัญหาเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาท มิให้ความขัดแย้งขยายตัวออกไปจนนำไปสู่การฟ้องคดี หรือเกิดความรุนแรง ขึ้น เพื่อลดภาระในการเยียวยาแก่ผู้ได้รับผลกระทบเชิงลบ (ทำงานด้านต้นน้ำมากขึ้น ควบคู่ไปกับทำงานด้านปลายน้ำ) ๒. เน้นการทำงานร่วมกับองค์กรภาคี (ทั้งภาครัฐ เอกชน)และเครือข่ายภาคประชาสังคมมากขึ้น เพื่อลดปัญหาข้อจำกัดทางด้านทรัพยากรของกระทรวงยุติธรรม และกรมคุ้มครองสิทธิฯ และเพื่อให้ปชช.ได้รับการปกป้อง เยียวยาอย่างครอบคลุมและทันท่วงที ๓. สร้างและพัฒนาขีดความสามารถของเครือข่ายภาคประชาสังคม (ซึ่งมีความใกล้ชิดกับประชาชน) เพิ่มมากขึ้น เพื่อช่วยในการป้องกัน คุ้มครองสิทธิฯของประชาชนได้อย่างใกล้ชิด รวดเร็วมากขึ้น
๔. ทำงานเชิงรุก เพื่อให้บริการแก่ปชช.ผู้เดือดร้อนให้ครอบคลุม มีจำนวนมากขึ้น (ปัจจุบันช่วยเหลือได้ประมาณ ๒๕%) ด้วยความโปร่งใส ประชาชนสามารถติดตามความคืบหน้าของการยื่นเรื่องได้ ๕. บูรณาการการดำเนินงาน ทั้งในด้านข้อมูล, วิชาการ, แผนฯ, ติดตามประเมินผล, เพื่อการส่งเสริม/ป้องกัน, เฝ้าระวัง, คุ้มครองและเยียวยาฯในระดับแนวข้างและแนวดิ่ง ๖. สนับสนุนให้สำนักงานยุติธรรมจังหวัด มีขีดความสามารถในการดำเนินงานให้บริการแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายในเบื้องต้น อย่างครบวงจร ทั้งในด้านการส่งเสริม/ป้องกัน การรับเรื่องราวร้องทุกข์และการให้คำปรึกษาแนะนำ/ช่วยเหลือประชาชนทางกม. การสนับสนุนกองทุนยุติธรรม การคุ้มครองพยานในคดีอาญาฯ การจัดหาทนายความให้ผู้ต้องหาคดีอาญา(ที่มีโทษรุนแรงและอายุไม่เกิน ๑๘ ปีฯ)ในชั้นสอบสวนที่ไม่มีทนายความฯ และการเยียวยาผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญาฯ ๗. การขับเคลื่อนแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ ๒ (๒๕๕๒-๒๕๕๖) ประเมินผลแผนฯฉบับที่ ๒ และเตรียมการจัดทำแผนฯฉบับที่ ๓ และให้มีการบูรณาการการดำเนินงานตามแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกับแผนคุ้มครองสิทธิเสรีภาพฯของกรมฯ ให้เป็นที่เข้าใจในระหว่างผู้ปกิบัติงานขององคืกรภาคีและเครือข่าย
๔. บทบาทและภารกิจของสำนักงานยุติธรรมจังหวัดนำร่องในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ๑. การ “ส่งเสริม/ป้องกันปัญหา”การละเมิดสิทธิฯของประชาชน โดย - เผยแพร่ความรู้เรื่องสิทธิและเสรีภาพ สิทธิมนุษยชน (มีความรู้แล้วจะได้ปกป้องสิทธิฯของตน ไม่ละเมิดสิทธิฯผู้อื่น และไม่ละเมิดกม. รวมทั้งมีจิตอาสาที่จะช่วยผู้อื่น ช่วยสังคมต่อไป) ผ่านสื่อต่างๆแก่กลุ่มเป้าหมายต่างๆ (เน้นแกนนำองค์กรภาคี เจ้าหน้าที่รัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สื่อมวลชน สื่อท้องถิ่นฯ) โดยการประสานความร่วมมือกับ องค์กรภาคีและเครือข่าย - สนับสนุนการจัดกิจกรรมของหน่วยปฏิบัติที่มีขีดความสามารถ (เช่น อปท.ฯ )เพื่อสนับสนุนสิทธิมนุษยชนในกลุ่มเป้าหมายบางกลุ่ม เช่น กลุ่มเด็ก คนพิการ ในจังหวัด พื้นที่
๒. การ “เฝ้าระวังปัญหา”การละเมิดสิทธิฯในพื้นที่ โดยอาศัยเครือข่ายอาสาสมัคร องค์กรพัฒนาเอกชน ภาคประชาสังคม สถาบันวิชาการฯช่วยกันติดตาม เฝ้าระวังปัญหา ก่อนที่จะเกิดการละเมิดสิทธิฯขึ้น - ในกลุ่มเป้าหมายของหน่วยงานที่มีความเสี่ยงในการไปละเมิดสิทธิของประชาชน คือ หน่วยงานที่ปฏิบัติงานด้านการรักษาความมั่นคง ด้านบังคับใช้กม. คือ ตำรวจ ทหาร ฝ่ายปกครองฯ และหน่วยงานบังคับโทษ คือ กรมราชทัณฑ์ กรมพินิจและคุ้มครองเด็กฯ - ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการถูกละเมิด คือ กลุ่มผู้ต้องขัง/โทษ ผู้ใช้ยาฯที่เข้าสู่ระบบบังคับบำบัดรักษาฯ - ในพื้นที่เป้าหมายที่มีความเสี่ยง เช่น ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้, ในเรือนจำฯ
๓. การสร้างและพัฒนาเครือข่ายภาคประชาสังคมในจังหวัดและพื้นที่ เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการป้องกัน เฝ้าระวัง คุ้มครองและเยียวยาประชาชนฯ - จัดเวที/ประชุมเครือข่ายอาสาสมัครฯ(ของกระทรวงยธ.,ของกรมต่างๆ เช่น อาสาฯพิทักษ์ยุติธรรม,อาสาคุมประพฤติ,อาสาฯคุ้มครองสิทธิฯ และอาสาสมัครของหน่วยงานอื่นๆเช่น อสม.,อาสาคุ้มครองผู้บริโภค,ฯ) เพื่อหารือ ซักซ้อมความเข้าใจเพื่อไปปฏิบัติงานในการป้องกัน เฝ้าระวัง ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท คุ้มครองและเยียวยาผู้ถูกละเมิดสิทธิฯ - สนับสนุนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ งบประมาณฯแก่อาสาสมัครเพื่อพัฒนาขีดความสามารถของเครือข่ายฯให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
๔. การช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อนในจังหวัด/พื้นที่ โดย - รับเรื่องราวร้องทุกข์จากประชาชน - ให้คำปรึกษาแนะนำเรื่องก.ม. - สนับสนุนกองทุนยุติธรรมแก่ประชาชนผู้เดือดร้อน (คลินิกยุติธรรม) - การช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้เสียหายและจำเลยคดีอาญาที่เป็นผู้บริสุทธิ์ (โดยเป็นฝ่ายเลขานุการของอนุกรรมการกลั่นกรองคำขอความช่วยเหลือทางการเงินฯ ในบางจังหวัดนำร่องในระดับภาค เช่น ชม.,ขก.,ฉช./อย.,สข./ปน.)
๕. การสนับสนุนการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทในจังหวัด พื้นที่ ขององค์กรภาคีและเครือข่าย โดยใช้กลไกของส่วนราชการต่างๆเช่น กรมการปกครอง กรมการพัฒนาชุมชนฯ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม, กรมคุ้มครองสิทธิฯ (มีศูนย์ไกล่เกลี่ยฯอยู่ทุกตำบล และอาสาสมัครระงับข้อพิพาทที่ได้รับการฝึกอบรมหลักสูตรการจัดการกับความขัดแย้งมาแล้ว) ๖.การรับคำขอเรื่องการคุ้มครองพยานคดีอาญา และการทำงานร่วมกับหน่วยงานในกระทรวงยุติธรรม (เช่น DSI, สำนักงานปปส.,ปปง.,ปปท.)ในการคุ้มครองพยานคดีอาญาเชิงรุก ๗. การสนับสนุนทนายความแก่ผู้ต้องหาในคดีอาญา (คดีความผิดที่มีโทษสูง ผู้ต้องหาอายุไม่เกิน ๑๘ ปีฯ) ที่ไม่มีทนายความในชั้นสอบสวนฯ ๘. อื่นๆ
ปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้สยจ.ประสบความสำเร็จในการดำเนินงานปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้สยจ.ประสบความสำเร็จในการดำเนินงาน • การสนับสนุนจากกระทรวงฯและกรมฯในส่วนกลางที่ดีในเรื่อง ข้อมูล วิชาการ ทรัพยากร การพัฒนาบุคคลากรฯ • การมีระบบงาน กระบวนการทำงาน ระหว่างส่วนกลางกับสยจ.ที่คล่องตัว, มีการแบ่ง/มอบอำนาจที่ชัดเจน, มีการมาเยี่ยม นิเทศงานอย่างสม่ำเสมอ • การสนับสนุนจากหน่วยงานของกรมฯในสังกัดกระทรวงยุติธรรมในภูมิภาค จังหวัด • มีทีมงานที่ดี : ผู้บริหาร ข้าราชการ พรก. จ้างเหมา • เจ้าหน้าที่ของสยจ.มีทัศนคติที่ดีต่องาน ต่อประชาชน ต่อองค์กรภาคีและเครือข่ายภาคประชาสังคม มีความรู้ ความสามารถในภาพรวมที่ดี มีแนวทาง สไตล์การทำงานเชิงรุก เก่งประสานกับองค์กรภาคีฯ เป็นผู้บริหารการเปลี่ยนแปลงที่ดี เป็นนักวาง/พัฒนาระบบงานฯ
๕. สรุป • ปัญหาการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน ยังมีขนาดและความรุนแรงอยู่มาก มีสาเหตุจากปัจจัยต่างๆ เช่น ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การบริหาร เทคโนโลยีฯ และส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน ภาพลักษณ์ของประเทศ กระทรวงยุติธรรมฯ • การแก้ไขปัญหาดังกล่าวต้องเริ่มตั้งแต่ - การส่งเสริม/ป้องกันปัญหาฯ โดยให้ข้อมูลข่าวสาร การศึกษาแก่ประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐ ภาคประชาสังคม เอกชน ให้มีความตระหนักในเรื่องสิทธิฯ จะได้ปกป้องสิทธิฯของตนเอง ไม่ไปละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น ไม่ละเมิดกม.มีจิตอาสาช่วยเหลือผู้อื่น - การสร้างหลักประกันแก่ประชาชนทางกฎหมาย การบริหารจัดการ - การเฝ้าระวังปัญหา และเข้าไปประสานงาน หรือช่วยป้องกัน ลดการขยายตัวของปัญหา - การรับเรื่องราวร้องทุกข์ การให้คำปรึกษาแนะนำทางกม. การสนับสนุน อำนวยการระงับข้อพิพาทแต่เนิ่นๆ
- การคุ้มครองสิทธิฯและเยียวยาผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิฯ โดยผู้กระทำผิด โดยรัฐ และองค์กรอื่น(เอกชนฯ) เช่น การคุ้มครองพยานคดีอาญา การช่วยเหลือทางการเงินและอื่นๆ แก่ผู้เสียหายและจำเลยคดีอาญาที่เป็นผู้บริสุทธิ์ • รัฐบาลและกระทรวงยุติธรรม มีนโยบายที่จะให้ประชาชนเข้าถึงและได้รับความเป็นธรรม ได้รับความคุ้มครองเรื่องสิทธิเสรีภาพฯ โดยมอบหมายให้หน่วยงานในกระทรวงฯร่วมกันดำเนินงานตามบทบาทภารกิจของกรมฯและทำงานอย่างบูรณาการ เชิงรุก โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน • สำนักงานยุติธรรมจังหวัด เป็นหน่วยงานของกระทรวงยุติธรรม ที่ตั้งอยู่ในจังหวัด มีภารกิจในการดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงฯ และเป็นตัวแทนของกระทรวงฯ ในการประสานความร่วมมือกับองค์กรภาคีในจังหวัดพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงและได้รับความเป็นธรรม รวมทั้งการส่งเสริม/ป้องกัน คุ้มครองสิทธิและเยียวยาผู้ถูกละเมิดในจังหวัด ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนมีความเสมอภาค ได้รับความเป็นธรรม
คุ้มครองคน คุ้มครองสิทธิ สร้างวิถีชีวิตแห่งความเป็นธรรม