1 / 118

บทที่ 2 แนวคิดหลักของการพยาบาล

บทที่ 2 แนวคิดหลักของการพยาบาล. อ.ดร.จันทร์ทิรา เจียรณัย. เค้าโครงเนื้อหา. ตอนที่ 1 ขอบเขตวิชาชีพพยาบาล ลักษณะงานพยาบาล จรรยาบรรณวิชาชีพ การพิทักษ์สิทธิผู้ป่วย ตอนที่ 2 ภาวะสุขภาพ การเจ็บป่วยและการพยาบาล ภาวะสุขภาพและการเจ็บป่วย การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะเจ็บป่วยวิกฤต

adele
Download Presentation

บทที่ 2 แนวคิดหลักของการพยาบาล

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 2แนวคิดหลักของการพยาบาล อ.ดร.จันทร์ทิรา เจียรณัย

  2. เค้าโครงเนื้อหา • ตอนที่ 1 ขอบเขตวิชาชีพพยาบาล • ลักษณะงานพยาบาล • จรรยาบรรณวิชาชีพ • การพิทักษ์สิทธิผู้ป่วย • ตอนที่ 2 ภาวะสุขภาพ การเจ็บป่วยและการพยาบาล • ภาวะสุขภาพและการเจ็บป่วย • การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะเจ็บป่วยวิกฤต • การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง • การพยาบาลประคับประคอง

  3. วัตถุประสงค์ เมื่อศึกษาบทที่ 2 จบแล้วนักศึกษาสามารถ 1. มีความรู้ ความเข้าใจในขอบเขตของวิชาชีพพยาบาล 2. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะสุขภาพ การเจ็บป่วยและแนวคิดการพยาบาลผู้ป่วย

  4. แนวคิดขอบเขตวิชาชีพพยาบาลแนวคิดขอบเขตวิชาชีพพยาบาล • วิชาชีพพยาบาลเป็นวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการดูแลมนุษย์โดยการประยุกต์ใช้ องค์ความรู้จากทฤษฎีไปสู่การปฏิบัติ • เป็นวิชาชีพที่ต้องได้รับการศึกษาหรือฝึกฝน มีค่านิยมและจรรยาบรรณวิชาชีพ มีอิสระในการทำงานและมีความยึดมั่นผูกพันต่อวิชาชีพ (Chitty, 2001) และมีเอกสิทธิ์ (Autonomy) ที่ถูกต้องตามกฎหมายที่ได้รับความเชื่อถือ • วิชาชีพพยาบาล หมายถึง วิชาชีพที่ให้บริการเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมในด้านสุขภาพทั้งในระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชน ในภาพที่มีสุขภาพดีหรือเจ็บป่วยเพื่อให้การดูแลช่วยเหลือ ฟื้นฟูสภาพ ป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพ รวมทั้งการช่วยเหลือแพทย์ทำการรักษาโรค ทั้งนี้ต้องอาศัยความรู้เฉพาะทางการพยาบาลในการปฏิบัติงาน (Ellis & Hartley, 2002)

  5. ขอบเขตวิชาชีพพยาบาล เรื่องที่ 1ลักษณะงานพยาบาล • นิยามศัพท์เกี่ยวข้อง • คุณลักษณะเฉพาะของวิชาชีพพยาบาล • สมรรถนะวิชาชีพพยาบาล เรื่องที่ 2 จรรยาบรรณวิชาชีพ เรื่องที่ 3 การพิทักษ์สิทธิผู้ป่วย • แนวคิดเกี่ยวกับสิทธิ • สิทธิมนุษยชน • สิทธิของผู้ป่วย • บทบาทพยาบาลในการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วย

  6. ลักษณะงานพยาบาล • พยาบาลเป็นบุคลากรด้านสุขภาพที่มีบทบาทสำคัญในการให้การพยาบาลที่ครอบคลุมองค์ประกอบของงานบริการสาธารณสุขทุกระดับ ทั้งบทบาทด้านการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การบำบัดรักษาพยาบาล และการช่วยฟื้นฟูสภาพ ทั้งในสถานพยาบาลและในชุมชน ผู้รับบริการมุ่งหวังที่จะได้รับการตอบสนองความต้องการที่มีคุณภาพ ซึ่งในทีมสุขภาพนั้นวิชาชีพ • พยาบาลนับเป็นวิชาชีพที่มีความสำคัญในการดูแล ช่วยเหลือรวมทั้งพิทักษ์สิทธิผู้ป่วยและช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้รับบริการได้รับบริการที่มีมาตรฐาน • ดังนั้นเพื่อทำความเข้าใจในลักษณะงานของพยาบาลที่ชัดเจนพยาบาลจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนิยามที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและการประกอบวิชาชีพ คุณลักษณะของพยาบาลและสมรรถนะของพยาบาล

  7. นิยามศัพท์เกี่ยวข้อง • "การพยาบาล"การกระทำต่อมนุษย์เกี่ยวกับการดูแลและการช่วยเหลือเมื่อเจ็บป่วย การฟื้นฟูสภาพ การป้องกันโรค และการส่งเสริมสุขภาพ รวมทั้งการช่วยเหลือแพทย์กระทำการรักษาโรค ทั้งนี้ โดยอาศัยหลักวิทยาศาสตร์และศิลปะการพยาบาล • "การประกอบวิชาชีพการพยาบาล"การปฏิบัติหน้าที่การพยาบาลต่อบุคคล ครอบครัว และชุมชน โดยกระทำการสอน การแนะนำ การให้คำปรึกษาและการแก้ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยบรรเทาอาการของโรค การลุกลามของโรค และการฟื้นฟูสภาพการกระทำตามวิธีที่กำหนดไว้ในการรักษาโรคเบื้องต้นและการให้ภูมิคุ้มกันโรค ช่วยเหลือแพทย์กระทำการรักษาโรคโดยใช้กระบวนการพยาบาล

  8. นิยามศัพท์เกี่ยวข้อง • “ผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาล"บุคคลซึ่งได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลจากสภาการพยาบาล • “การผดุงครรภ์"การกระทำเกี่ยวกับการดูแลและการช่วยเหลือหญิงมีครรภ์ หญิงหลังคลอด และทารกแรกเกิด รวมถึงการตรวจ การทำคลอด การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันความผิดปกติในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอด รวมทั้งการช่วยเหลือแพทย์กระทำการรักษาโรค ทั้งนี้โดยอาศัยหลักวิทยาศาสตร์และศิลปะการผดุงครรภ์

  9. นิยามศัพท์เกี่ยวข้อง • “การประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์"การปฏิบัติหน้าที่การผดุงครรภ์ต่อหญิงมีครรภ์หญิงหลังคลอด ทารกแรกเกิดและครอบครัว โดยการกระทำต่อร่างกายและจิตใจของหญิงมีครรภ์ หญิงหลังคลอดและทารกแรกเกิด เพื่อป้องกันความผิดปกติในระยะตั้งครรภ์ระยะคลอด และระยังหลังคลอด การตรวจ การทำคลอด และการวางแผนครอบครัวช่วยเหลือแพทย์กระทำการรักษาโรค • "ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์"บุคคลซึ่งได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์จากสภาการพยาบาล

  10. ใบประกอบวิชาชีพ

  11. ใบประกอบวิชาชีพ

  12. ใบประกอบวิชาชีพ

  13. คุณลักษณะเฉพาะของวิชาชีพพยาบาลคุณลักษณะเฉพาะของวิชาชีพพยาบาล • เป็นการบริการแก่สังคม ช่วยเหลือ และสนับสนุนให้มนุษย์ดำรงรักษาสุขภาพอนามัยที่ดี และความเป็นอยู่ที่ดีในสังคม ซึ่งต้องอาศัยทั้งหลักศิลปะและวิทยาศาสตร์ในการปฏิบัติงาน และความรับผิดชอบต่อตนเองและวิชาชีพ • เป็นการปฏิบัติต่อมนุษย์โดยตรง และเป็นการปฏิบัติต่อธรรมชาติของบุคคลที่มีความแตกต่างกัน ดังนั้น กระบวนการพยาบาลจึงเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการที่จะรวบรวมปัญหา เผชิญปัญหาและแก้ไข โดยพื้นฐานความเข้าใจในลักษณะของบุคคลที่มีความแตกต่างกัน

  14. คุณลักษณะเฉพาะของวิชาชีพพยาบาลคุณลักษณะเฉพาะของวิชาชีพพยาบาล • เป็นการปฏิบัติหน้าที่ต้องเข้าไปมีส่วนร่วมกับผู้ป่วย / ประชาชน / ชุมชน ดังนั้นสิ่งสำคัญในการปฏิบัติ คือ การเข้าไปสัมผัสรับรู้ ข้อมูล ข่าวสาร ประสบการณ์ชีวิต ความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติ รวมทั้งวัฒนธรรมของชุมชน สังคม ซึ่งต้องใช้ความรู้ความสามารถในหลายๆ ด้านเพื่อให้เข้าถึงสิ่งเหล่านี้ และมีส่วนร่วมในการทำงาน ออกความเห็นและการตัดสินใจ มีความคิดสร้างสรรค์ รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม • มีความเป็นอิสระควบคุมนโยบายและกิจกรรมการปฏิบัติของตนได้

  15. คุณลักษณะเฉพาะของวิชาชีพพยาบาลคุณลักษณะเฉพาะของวิชาชีพพยาบาล • มีองค์ความรู้ของวิชาชีพตนเอง มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยการวิจัยอย่างเป็นระบบ • ผู้ประกอบวิชาชีพยึดถือปฏิบัติการบริการด้วยจิตวิญญาณ ด้วยความเอื้ออาทร รับผิดชอบต่อตนเอง งานและวิชาชีพ มีการควบคุมลักษณะของการปฏิบัติอยู่เสมอ • มีจรรยาบรรณวิชาชีพเป็นแนวทางการพิจารณาตัดสินใจและการปฏิบัติของผู้ประกอบวิชาชีพ • มีองค์กรวิชาชีพที่ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนามาตรฐานวิชาชีพและการประกอบวิชาชีพ

  16. สมรรถนะวิชาชีพพยาบาล (Competency) • พฤติกรรมที่เกิดจากผลรวมของความสามารถด้านความรู้ ทักษะ เจตคติ ความชำนาญ แรงจูงใจและคุณลักษณะของบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ทำให้บุคคลนั้นสามารถปฏิบัติกิจกรรมได้สำเร็จ หรือคุณลักษณะเชิงพฤติกรรมที่ทำให้บุคลากรในองค์กรปฏิบัติงานได้ผลงานที่โดดเด่นกว่าคนอื่นๆ ในสถานการณ์ที่หลากหลายและได้ผลงานดีกว่าผู้อื่น • สมรรถนะวิชาชีพพยาบาล หมายถึง พฤติกรรมการแสดงออกถึงความสามารถของพยาบาลวิชาชีพที่เกี่ยวกับความรู้ ความสามารถ ทักษะ เจตคติ ตลอดจนบุคลิกลักษณะในการปฏิบัติการพยาบาลอย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับความต้องการของสังคม ตามขอบเขตหน้าที่รับผิดชอบของพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานที่ได้กำหนดไว้และผู้รับบริการปลอดภัย • และต้องอาศัยช่วงเวลาเพื่อเรียนรู้และสั่งสมประสบการณ์ จนสามารถพัฒนาทักษะความชำนาญในการทำงานให้พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ จากพยาบาลจบใหม่ที่สามารถเรียนรู้งานในระดับง่ายไม่ยุ่งยากไปสู่พยาบาลผู้เชี่ยวชาญ (novice to expert)

  17. สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ • สมรรถนะด้านจริยธรรม จรรยาบรรณและกฎหมาย • สมรรถนะด้านการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ • สมรรถนะด้านคุณลักษณะเชิงวิชาชีพ • สมรรถนะด้านภาวะผู้นำ การจัดการและการพัฒนาคุณภาพ • สมรรถนะด้านวิชาการและการวิจัย • สมรรถนะด้านการสื่อสารและสัมพันธภาพ • สมรรถนะด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศและการนำเสนอ • สมรรถนะเชิงสังคม

  18. จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ (Code of Ethics) • จรรยาบรรณวิชาชีพถือเป็นเอกภาพของวิชาชีพที่ครอบคลุมการปฏิบัติหน้าที่ทางจริยธรรมสำหรับพยาบาลในทุกด้าน ทุกสถานที่และทุกตำแหน่งหน้าที่ • การประกาศจรรยาบรรณวิชาชีพจึงเป็นการแสดงออกในความรับผิดชอบทางจริยธรรมของพยาบาลและเป็นหลักในการประกอบวิชาชีพให้มีมาตรฐานเดียวกัน และยังเป็นการสื่อสารที่ช่วยให้ผู้รับบริการและทีมสหสาขาวิชาชีพได้ทราบถึงจรรยาบรรณที่พยาบาลยึดถือในการประกอบวิชาชีพ • และแสดงถึงความมุ่งมั่นของพยาบาลในการประกอบวิชาชีพ ซึ่งเปรียบประดุจเครื่องมือประเมินผลพฤติกรรมของพยาบาลในการปฏิบัติวิชาชีพโดยผู้ใช้บริการ ผู้ร่วมงาน และผู้เกี่ยวข้อง รวมทั้งใช้สำหรับการประเมินผลตนเอง

  19. จรรยาบรรณวิชาชีพของสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยจรรยาบรรณวิชาชีพของสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย • จรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลต่อประชาชน • จรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลต่อสังคมและประเทศชาติ • จรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลต่อวิชาชีพ • จรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลต่อผู้ร่วมวิชาชีพและผู้ประกอบวิชาชีพอื่น • จรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลต่อตนเอง

  20. การพิทักษ์สิทธิผู้ป่วยการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วย • สำหรับมนุษย์ทุกคนต่างต้องการที่จะมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ แม้แต่เมื่อเกิดการเจ็บป่วยที่ต้องเข้ารับการรักษาในสถานบริการสุขภาพในทุกๆ ระดับ บุคคลและครอบครัวต่างต้องการการปฏิบัติที่อย่างมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี มีความเป็นบุคคล • การพิทักษ์สิทธิผู้ป่วยจึงนับว่าเป็นบทบาทอิสระที่พยาบาลสามารถที่จะช่วยรับรองและคุ้มครองผู้รับบริการหรือเป็นการรักษาผลประโยชน์ รวมทั้งช่วยให้ผู้รับบริการรับรู้ถึงความมีคุณค่าแห่งตนได้ และถือเป็นจริยธรรมของพยาบาล (Reid, 1995) ที่ควรปฏิบัติแก่ผู้รับบริการทุกคนอย่างเสมอภาค ในส่วนนี้จะได้อธิบายแนวคิดเกี่ยวกับสิทธิพอสังเขป สิทธิมนุษยชน สิทธิของผู้ป่วยและบทบาทพยาบาลในการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วย

  21. สิทธิของผู้ป่วย(Patient’s Rights) • ประกาศสิทธิของผู้ป่วย • สิทธิของผู้ป่วย 10 ประเด็นเป็นประเด็นสำคัญที่ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องทำความเข้าใจและวิเคราะห์ว่าในบทบาทของผู้ประกอบวิชาชีพในแต่ละสาขานั้น โดยอิสระในวิชาชีพของตนเองและส่วนที่เกี่ยวข้องมีบทบาทอะไรบ้างในการปฏิบัติงานในวิชาชีพของตนเองที่พึงปฏิบัติ พึงละเว้น และสนองตอบสิทธิของผู้ป่วยในประเด็นต่างๆ

  22. สิทธิของผู้ป่วย 10 ประเด็น • ข้อ 1 ผู้ป่วยทุกคนมีสิทธิพื้นฐานที่จะได้รับบริการด้านสุขภาพ ตามบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ • ข้อ 2ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะรับบริการจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ เนื่องจากความแตกต่างด้านฐานะ เชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา สังคม ลัทธิการเมือง เพศ อายุ และลักษณะของความเจ็บป่วย • ข้อ 3 ผู้ป่วยที่ขอรับบริการด้านสุขภาพมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลอย่างเพียงพอและเข้าใจชัดเจน จากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเลือกตัดสินใจในการยินยอมหรือไม่ยินยอมให้ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพปฏิบัติต่อตน เว้นแต่เป็นการช่วยเหลือรีบด่วนหรือจำเป็น • ข้อ 4ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายถึงชีวิตมีสิทธิที่จะได้รับการช่วยเหลือรีบด่วนจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยทันทีตามความจำเป็นแก่กรณี โดยไม่คำนึงว่าผู้ป่วยจะร้องขอความช่วยเหลือหรือไม่ • ข้อ 5 ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบชื่อ สกุล และประเภทของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพที่เป็นผู้ให้บริการแก่ตน

  23. สิทธิของผู้ป่วย 10 ประเด็น • ข้อ 5 ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบชื่อ สกุล และประเภทของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพที่เป็นผู้ให้บริการแก่ตน • ข้อ 6 ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะขอความเห็นจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพอื่นที่มิได้เป็นผู้ให้บริการ แก่ตน และมีสิทธิในการขอเปลี่ยนผู้ให้บริการและสถานบริการได้ • ข้อ 7 ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับการปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง จากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยเคร่งครัด เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากผู้ป่วยหรือการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย • ข้อ 8 ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลอย่างครบถ้วนในการตัดสินใจเข้าร่วม หรือถอนตัวจากการเป็นผู้ถูกทดลองในการทำวิจัยของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ • ข้อ 9 ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเฉพาะของตนที่ปรากฏในเวชระเบียนเมื่อร้องขอ ทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวต้องไม่เป็นการละเมิดสิทธิส่วนตัวของบุคคลอื่น • ข้อ 10 บิดา มารดาหรือผู้แทนโดยชอบธรรมอาจใช้สิทธิแทนผู้ป่วยที่เป็นเด็กอายุยังไม่เกินสิบแปดปีบริบูรณ์ผู้บกพร่องทางกายหรือจิต ซึ่งไม่สามารถใช้สิทธิด้วยตนเองได้

  24. บทบาทพยาบาลในการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วยบทบาทพยาบาลในการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วย ข้อ 1 ผู้ป่วยทุกคนมีสิทธิพื้นฐานที่จะได้รับบริการด้านสุขภาพ ตามบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ • 1.ให้การพยาบาลอย่างครอบคลุมทั้งร่างกาย จิตสังคม • 2.ให้การพยาบาลตามมาตรฐานการพยาบาล • 3.ให้การต้อนรับผู้ป่วยทุกรายด้วยอัธยาศัยอันดี ให้คำแนะนำเรื่องสถานที่ กำหนดการและการปฏิบัติตัวในหอผู้ป่วยด้านการมอบหมายผู้รับผิดชอบในแต่ละเวร ทำหน้าที่ปฐมนิเทศผู้ป่วยและญาติเมื่อแรกรับ • 4.ตรวจเยี่ยมที่เตียงผู้ป่วยจากทีมสุขภาพอย่างสม่ำเสมอให้กดกริ่งเรียกเมื่อผู้ป่วยมีความไม่สุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ • 5.สอนและให้คำแนะนำการปฏิบัติตนแก่ผู้ป่วยทุกรายอย่างต่อเนื่องตั้งแต่แรกรับจนกระทั่งกลับบ้าน • 6.ป้องกันผู้ป่วยไม่ให้เกิดการติดเชื้อและให้การฟื้นฟูร่างกายผู้ป่วยเพื่อไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน • 7.จัดทำคู่มือปฏิบัติงานเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับบุคลากรพยาบาลในแต่ละหอผู้ป่วย • 8.ประสานงานช่วยเหลือในกรณีผู้ป่วยไม่มีเงินชำระค่ารักษาพยาบาล

  25. บทบาทพยาบาลในการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วยบทบาทพยาบาลในการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วย ข้อ 2 ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะรับบริการจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ เนื่องจากความแตกต่างด้านฐานะ เชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา สังคม ลัทธิการเมือง เพศ อายุ และลักษณะของความเจ็บป่วย • 1.ปฏิบัติการพยาบาลตามมาตรฐานการพยาบาลโดยไม่เลือกปฏิบัติว่าจะเป็นผู้ป่วยพิเศษหรือสามัญ • 2.ไม่เลือกปฏิบัติต่อผู้ป่วยตามลักษณะของความเจ็บป่วยที่ขัดต่อความเชื่อ เจตคติ/ทัศนคติของพยาบาลผู้ดูแล เช่น ผู้ป่วยที่ทำแท้งโดยเจตนา ผู้ป่วยกินยาฆ่าตัวตาย เป็นต้น บุคลากรทีมสุขภาพทุกคนต้องปฏิบัติต่อผู้ป่วยด้วยความสุภาพ ปราศจากอคติและเป็นไปตามมาตรฐานการพยาบาลเช่นเดียวกันกับการปฏิบัติต่อผู้ป่วยที่มาด้วยสาเหตุความเจ็บป่วยอื่นๆ

  26. บทบาทพยาบาลในการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วยบทบาทพยาบาลในการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วย • ข้อ 3 ผู้ป่วยที่ขอรับบริการด้านสุขภาพมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลอย่างเพียงพอและเข้าใจชัดเจน จากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเลือกตัดสินใจในการยินยอมหรือไม่ยินยอมให้ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพปฏิบัติต่อตน เว้นแต่เป็นการช่วยเหลือรีบด่วนหรือจำเป็น • 1.ให้ข้อมูลด้านการรักษาแก่ผู้ป่วยและญาติในขอบเขตวิชาชีพอย่างชัดเจน • 2.เปิดโอกาสให้ซักถามก่อนให้ผู้ป่วยเซ็นยินยอมรับการรักษา • 3.ติดต่อประสานงานในกรณีที่ผู้ป่วยต้องการพบแพทย์ผู้รับผิดชอบ • 4.ให้โอกาสผู้ป่วยแสดงความเห็นและเข้าร่วมปรึกษากับทีมสุขภาพก่อนที่จะตัดสินใจเลือกวิธีการรักษา • 5.ให้โอกาสผู้ป่วยเลือกรูปแบบหรือวิธีการพยาบาลที่ผู้ป่วยจะได้รับ • 6.อธิบายให้ผู้ป่วยทราบทุกครั้งก่อนให้การรักษาพยาบาล • 7.บอกวิธีการสังเกตอาการที่อาจจะเกิดอันเป็นผลจากการให้การรักษาพยาบาล • 8.ตรวจสอบข้อมูลการรับรู้ของผู้ป่วยว่าเข้าใจถูกต้องด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย • 9.รับฟังปัญหา ความคิดเห็นความต้องการและตอบข้อซักถามของผู้ป่วยด้วยใจที่ปราศจากอคติโดยไม่แสดงสีหน้าหรือท่าทางรำคาญ

  27. บทบาทพยาบาลในการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วยบทบาทพยาบาลในการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วย • ข้อ 4 ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายถึงชีวิตมีสิทธิที่จะได้รับการช่วยเหลือรีบด่วนจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยทันทีตามความจำเป็นแก่กรณี โดยไม่คำนึงว่าผู้ป่วยจะร้องขอความช่วยเหลือหรือไม่ • 1.เมื่อพบผู้ป่วยอยู่ในภาวะเสี่ยงต่ออันตรายต้องให้ความช่วยเหลือโดยไม่มีข้อแม้ใดๆ ทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม การช่วยเหลือรีบด่วนจะต้องคำนึงถึงความจำเป็นแก่กรณีด้วย มิใช่แฝงไว้ด้วยประโยชน์ทางด้านการเงิน • 2.หน่วยงานต้องมีการเตรียมความพร้อมของอุปกรณ์การช่วยเหลือชีวิตให้พร้อมปฏิบัติการเสมอ • 3.จัดให้มีการทบทวนปรับปรุงขั้นตอนวิธีการช่วยชีวิตอย่างสม่ำเสมอเพื่อสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยได้ทันเวลา • 4.จัดให้มีผู้รับผิดชอบการช่วยเหลือผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะฉุกเฉินในหน่วยงานอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา

  28. บทบาทพยาบาลในการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วยบทบาทพยาบาลในการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วย • ข้อ 5 ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบชื่อ สกุล และประเภทของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพที่เป็นผู้ให้บริการแก่ตน • 1.ทำความเข้าใจร่วมกันระหว่างบุคลากรในทีมสุขภาพถึงบทบาทและหน้าที่รับผิดชอบ • 2.แนะนำตัวและบุคลากรทีมสุขภาพที่เกี่ยวข้องแก่ผู้ป่วยและญาติก่อนให้บริการตามความเหมาะสม • 3.สร้างวัฒนธรรมในการแนะนำตนเองทุกครั้งก่อนให้การพยาบาล • 4.ปักหรือติดบัตร ชื่อ – นามสกุล ตำแหน่งที่ถูกต้องของบุคลากรทุกประเภทให้มองเห็นได้ชัดเจนและอ่านง่าย • 5.ในหอผู้ป่วยนอก/ผู้ป่วยใน/ผู้ป่วยฉุกเฉิน มีแผนภูมิแสดงสายงานบังคับบัญชาพร้อมติดรูป ชื่อ – สกุลและตำแหน่งไว้หน้าหน่วยงาน • 6.ในหอผู้ป่วยนอก/ผู้ป่วยใน/ผู้ป่วยฉุกเฉิน เขียนชื่อ – สกุลของแพทย์ บุคลากรพยาบาลและประเภทของผู้ประกอบวิชาชีพอื่นที่รับผิดชอบในแต่ละเวรไว้ในสถานที่ที่มองเห็นเด่นชัด • 7.ในหอผู้ป่วยในให้ติดป้ายชื่อแพทย์เจ้าของไข้ไว้ทุกเตียงและหน้าห้องผู้ป่วยทุกห้อง • 8.หอผู้ป่วยนอกติดป้ายชื่อแพทย์เวรที่ออกตรวจที่หน้าห้องตรวจโรค/โต๊ะตรวจโรคให้ผู้ป่วยมองเห็นเด่นชัด

  29. บทบาทพยาบาลในการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วยบทบาทพยาบาลในการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วย • ข้อ 6 ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะขอความเห็นจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพอื่นที่มิได้เป็นผู้ให้บริการ แก่ตน และมีสิทธิในการขอเปลี่ยนผู้ให้บริการและสถานบริการได้ • 1.เป็นตัวแทนผู้ป่วยและญาติในการเรียกร้องสิทธิ หากผู้ป่วยได้รับบริการที่ไม่มีคุณภาพ • 2.ให้การพยาบาลผู้ป่วยอย่างดีแม้ผู้ป่วยจะปฏิเสธรับการรักษาจากหน่วยงานของท่าน • 3.ให้ความช่วยเหลือประสานงานเมื่อผู้ป่วยแจ้งความจำนงขอเปลี่ยนผู้ให้บริการหรือสถานบริการ • 4.ให้ข้อมูลผู้ป่วยในการเลือกผู้ให้บริการหรือสถานบริการที่ผู้ป่วยประสงค์จะถูกส่งไปรักษาต่อโดยใจที่ปราศจากอคติและคำนึงถึงประโยชน์ของผู้ป่วยเป็นสำคัญ • 5.แจ้งให้ผู้ป่วยหรือญาติทราบว่าผู้ป่วยสามารถจะกลับมารับบริการจากหน่วยงานของท่านได้ตลอดเวลาโดยจะไม่เกิดผลกระทบใดๆ ในการรักษาพยาบาล • 6.ให้ผู้ป่วยหรือญาติที่มีสิทธิในการดูแลผู้ป่วยลงนามในเอกสารว่าไม่สมัครอยู่หลังจากได้รับคำบอกกล่าวของแพทย์และพยาบาลและเข้าใจถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นอย่างละเอียดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการฟ้องร้องว่าละเลยทั้งที่อยู่ในภาวะอันตราย

  30. บทบาทพยาบาลในการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วยบทบาทพยาบาลในการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วย • ข้อ 7 ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับการปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง จากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยเคร่งครัด เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากผู้ป่วยหรือการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย • 1.ผู้ป่วยทุกรายได้รับการรักษาความลับเกี่ยวกับข้อมูลการเจ็บป่วยของตน เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากผู้ป่วยหรือเมื่อเจ้าพนักงานต้องปฏิบัติตามหน้าที่ • 2.อภิปรายข้อมูลผู้ป่วยเฉพาะผู้ร่วมทีมสุขภาพและเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาลเท่านั้น • 3.ไม่นำเรื่องผู้ป่วยมาถกเถียงหรือวิจารณ์ให้ผู้อื่นได้ยินโดยเฉพาะในที่สาธารณะ • 4.จัดสถานที่ที่เหมาะสมในการให้คำปรึกษาหรือคำแนะนำแก่ผู้ป่วย • 5.ไม่วางแฟ้มประวัติหรือเขียนชื่อโรคไว้ที่ปลายเตียง/หน้าห้องผู้ป่วยเพราะข้อมูลความเจ็บป่วยอาจมีผลเสียหายต่อผู้ป่วยหรือครอบครัว • 6.ไม่ตอบข้อมูลด้านการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยทางโทรศัพท์หรือพิจารณาตรวจสอบให้แน่ใจก่อนให้ข้อมูล • 7.จัดเก็บรายงานผู้ป่วยไว้เป็นสัดส่วนและทบทวนระเบียบการหยิบยืมแฟ้มประวัติ/เวชระเบียนผู้ป่วยเมื่อมีการส่งไปให้คำปรึกษา/การส่งต่อหรือการนำไปเพื่อใช้ในการศึกษา • 8.จัดทำระเบียบการขอสำเนาเวชระเบียนของผู้ป่วยหรือการแจ้งข้อมูลของผู้ป่วยต่อบุคคลที่สามเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติแก่บุคลากรในหน่วยงานและป้องกันการนำความลับของผู้ป่วยไปใช้ในทางเสื่อมเสียแก่ผู้ป่วยหรือครอบครัว

  31. บทบาทพยาบาลในการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วยบทบาทพยาบาลในการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วย • ข้อ 8 ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลอย่างครบถ้วนในการตัดสินใจเข้าร่วม หรือถอนตัวจากการเป็น ผู้ถูกทดลองในการทำวิจัยของ ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ • 1.จัดตั้งคณะกรรมการหรือหน่วยงานในโรงพยาบาลทำหน้าที่รับผิดชอบการวิจัย/การทดลองที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ข้อมูลที่เป็นของผู้ป่วยเพื่อไม่ให้ผู้ป่วยได้รับอันตรายหรือถูกละเมิดสิทธิส่วนบุคคล • 2.ให้ข้อมูลรายละเอียดที่ช่วยให้ผู้ป่วยตัดสินใจเข้าร่วมการวิจัย/ทดลองและเคารพการตัดสินใจของผู้ป่วย • 3.ชี้แจงให้ผู้ป่วยทราบว่าผู้ป่วยมีสิทธิที่จะตอบรับหรือปฏิเสธการเข้าร่วมการวิจัย/ทดลองโดยยืนยันว่าจะไม่มีผลใดๆ ต่อคุณภาพการรักษาพยาบาลและการดูแลที่จะได้รับ • 4.บอกให้ผู้ป่วยทราบถึงวัตถุประสงค์ วิธีการ ระยะเวลา ขอบเขตการวิจัย/การทดลองอย่างชัดเจน • 5.อธิบาย ตอบข้อข้องใจ ให้ข้อมูลภาวะแทรกซ้อนหรืออันตรายที่อาจเกิดขึ้นตลอดจนวิธีการปฏิบัติตนระหว่างหรือหลังทำการวิจัย/ทดลอง • 6.ไม่เปิดเผยชื่อ ที่อยู่ ข้อมูลของผู้ป่วยที่เข้าร่วมการวิจัย/ทดลอง

  32. บทบาทพยาบาลในการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วยบทบาทพยาบาลในการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วย • ข้อ 9 ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเฉพาะของตนที่ปรากฏในเวชระเบียนเมื่อร้องขอ ทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวต้องไม่เป็นการละเมิดสิทธิส่วนตัวของบุคคลอื่น • 1.หน่วยงานจัดประชุมและหาข้อตกลงร่วมกันถึงแนวทางปฏิบัติในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลว่าข้อมูลใดเปิดเผยได้ ข้อมูลใดเปิดเผยไม่ได้และใครเป็นผู้รับผิดชอบในการให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยและญาติ • 2.ผู้ป่วยมีสิทธิจะทราบและขอดูผลการวินิจฉัยโรค ผลการตรวจร่างกายและผลการตรวจทางห้องทดลองของตนได้ • 3.กรณีแพทย์วินิจฉัยว่าผู้ป่วยป่วยเป็นโรคร้ายแรงหรือต้องให้การรักษาพยาบาลด้วยวิธีพิเศษที่อาจเสี่ยงต่อภาวะสุขภาพ ด้านร่างกายหรือจิตใจ พยาบาลควรประเมินความพร้อมของผู้ป่วยก่อนแจ้งข้อมูล • 4.อธิบายให้ผู้ป่วยทราบข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย • 5.ผู้ป่วยสามารถเป็นผู้ขอข้อมูลเองหรือมอบหมายให้ผู้อื่นกระทำแทนตามวิธีทางกฎหมายได้ • 6.ตรวจสอบการยินยอมให้เปิดเผยข้อมูลของผู้ป่วยต่อบุคคลที่สาม เช่น การสมัครงาน การประกันชีวิตหรือการประกันสุขภาม • 7.ไม่นำเรื่องราวของผู้ป่วยไปเปิดเผยต่อสื่อมวลชน ถ้าจำเป็นต้องไม่เปิดเผยชื่อผู้ป่วยหรือปิดส่วนของใบหน้าที่จะทำให้ผู้อื่นจำได้ โดยต้องได้รับความยินยอมจากผู้ป่วยก่อนเช่นกัน

  33. บทบาทพยาบาลในการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วยบทบาทพยาบาลในการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วย • ข้อ 10 บิดา มารดาหรือผู้แทนโดยชอบธรรมอาจใช้สิทธิแทนผู้ป่วยที่เป็นเด็กอายุยังไม่เกิน 18 ปีบริบูรณ์ ผู้บกพร่องทางกายหรือจิต ซึ่งไม่สามารถใช้สิทธิด้วยตนเองได้ • 1.ให้ข้อมูลรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยที่ยังอายุไม่เกิน 18 ปีบริบูรณ์/ผู้บกพร่องทางกายหรือจิต และเปิดโอกาสบิดา มารดาหรือผู้แทนโดยชอบธรรมตัดสินใจเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลและเคารพการตัดสินใจของผู้ตัดสินใจ

  34. กรณีศึกษา1 • หญิงไทยคู่ อายุ 59 ปี ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น breast cancer stage 4 (มะเร็งเต้านมระยะสุดท้าย) รับไว้ในโรงพยาบาล ครั้งนี้ด้วยภาวะไข้สูงและความดันเลือดต่ำ สภาพร่างกายของผู้ป่วยเปราะบางมากและการพยากรณ์โรคไม่ดี ท่านเคยพูดคุยกับผู้ป่วยทราบว่า ผู้ป่วยเข้าใจและทำใจได้หากต้องเสียชีวิต แต่ไม่ได้บันทึกไว้ในเวชระเบียน. สามีซึ่งอยู่ดูแลผู้ป่วยในระยะ 10 ปีหลัง แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส บอกท่านถึงความปรารถนาของผู้ป่วยที่ต้องการเสียชิวิตโดยสงบ ไม่ขอรับการใส่ท่อช่วยหายใจ และการนวดหัวใจในกรณีหัวใจหยุดเต้น. ในขณะที่ความดันเลือดของผู้ป่วยตกไปที่ 70/40 มิลลิเมตรปรอท บุตรชายของผู้ป่วยซึ่งปัจจุบันย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย เดินทางมาถึง ขัดแย้งกับสามีผู้ป่วยอย่างรุนแรงและร้องขอให้ท่านทำปฏิบัติการกู้ชีวิตท่านเป็นผู้ดูแลรักษา มีแนวทางปฏิบัติตนอย่างไร

  35. กรณีศึกษา 2 • นายชนะ อายุ 62 ปี เกิดอาการ anaphylactic shock (ช็อคจากการแพ้ยา) หลังได้รับการฉีดยา ceftriaxone เพื่อรักษาภาวะปอดบวม เวชระเบียนระบุไว้แน่ชัดว่าผู้ป่วยมีประวัติแพ้ยากลุ่ม penicillins อย่างรุนแรง เมื่อ 1 ปีก่อน  แพทย์เป็นผู้สั่งการรักษา กระทำพลาดครั้งนี้ด้วยเลินเล่อมิได้ตรวจสอบประวัติดังกล่าว มีแนวทางปฏิบัติตนอย่างไร?

  36. กรณีศึกษา 3 • เด็กชาย อายุ 14 ปี ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว แพทย์แนะนำให้เข้ารับยาเคมีบำบัดในโรงพยาบาล. ผู้ปกครองของเด็กไม่เชื่อถือในวิทยาการแพทย์และกลัวบุตรเสียชีวิตจากการรับ ยาเคมี แสดงความจำนงขอนำบุตรชายไปรักษากับหมอพระที่จังหวัดตาก โดยไม่ฟังคำทัดทานของทีมแพทย์ผู้รักษา. ท่านเป็นผู้ดูแลรักษา มีแนวทางปฏิบัติตนอย่างไร?

  37. กรณีศึกษา 4 • นายชาติชาย อายุ 37 ปี สมรสแล้วมีบุตร 2 คน ตรวจเลือดไวรัสเอดส์เป็นผลบวก ร้องขอให้พยาบาลเก็บข้อมูลนี้ไว้เป็นความลับไม่บอกแม้แต่ภรรยาของเขา ท่านเป็นพยาบาลผู้ดูแลรักษา มีแนวทางปฏิบัติตนอย่างไร?

  38. กรณีศึกษา 5 • ผู้ป่วยท่านหนึ่งนับถือศาสนาอิสลาม และได้รับการรักษาตัวในโรงพยาบาลของรัฐแห่งหนึ่งซึ่งห้องที่เธออยู่เป็นห้อง รวมมีผู้ป่วยประมาณ 14 เตียง จนกระทั่งวันหนึ่งเธอรักษาตัวจนดีขึ้นและสามารถลุกลงจากเตียงได้ เธอได้ลงจากเตียงแล้วทำการนมัสการต่อพระเจ้า (นมาซ) ที่ข้างเตียงของตัวเอง และในขณะนั้นมีพยาบาลผู้ให้การดูแลเข้ามาเห็นเข้า เธอห้ามผู้ป่วยไม่ให้ปฏิบัติเช่นนั้น เพราะในห้องนั้นมีผู้ป่วยอยู่รวมหลายคน ผู้ป่วยไม่ควรทำอะไรแปลกไปจากคนอื่นๆ ผู้ป่วยจึงให้เหตุผลว่าการนมัสการต่อพระเจ้าของเธอไม่ได้ส่งเสียงดังรบกวน ผู้อื่นแต่อย่างไร เธอควรมีสิทธิตามความเชื่อทางศาสนาและเธอก็ควรนมัสการพระเจ้าตามแบบของเธอ ได้จากสถานการณ์ดังกล่าวสามารถสรุปประเด็นปัญหาทางจริยธรรมและจรรยาบรรณได้ดังต่อไปนี้ประเด็นที่หนึ่ง คือ ควรหรือไม่ที่จะให้ผู้ป่วยทำตามความเชื่อทางศาสนาของตัวเองประเด็นที่สอง คือ บทบาทของพยาบาลควรห้ามผู้ป่วยหรือไม่ประเด็นที่สาม คือ ระหว่างสิทธิผู้ป่วยกับความเป็นระเบียบของโรงพยาบาลสิ่งใดควรคำนึงถึงมากกว่ากัน

  39. กรณีศึกษา 6 • สถานการณ์ นายสิระ อายุ 35 ปี มีอาการปวดท้องมาก อาเจียน มารับการรักษาที่โรงพยาบาล เวลา 01.30น. แพทย์ให้การวินิจฉัยว่าเป็นไส้ติ่งอักเสบ ต้องได้รับการผ่าตัดด่วน • นายสิระ รู้สึกกลัวการผ่าตัดมาก เพราะในชีวิตนี้ไม่เคยเจ็บป่วย และไม่เคยต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมาก่อน ในระหว่างที่เตรียมนายสิระเพื่อส่งห้องผ่าตัด พยาบาลจตุพรบอกให้นายสิระถอดเครื่องประดับทั้งหมดในร่างกายออก • นายสิระขอร้องไม่ให้เอาด้ายสายสินที่ข้อมือออก เพราะเพิ่งได้รับการผูกข้อมือมาจากพระที่นับถือมาก และบอกว่าให้ผูกติดข้อมือไว้ตลอด เนื่องจากกำลังมีเคราะห์หนัก พยาบาลจตุพรบอกนายสิระว่าไม่ได้ เพราะผู้ป่วยก่อนผ่าตัดทุกรายต้องถอดเครื่องประดับทั้งหมดในร่างกายออก ทำให้นายสิระรู้สึกตกใจและวิตกกังวลใจเป็นอย่างมาก ข้อมูลเพิ่มเติม ผู้ป่วยก่อนผ่าตัดทุกรายควรต้องถอดเครื่องประดับทั้งหมดในร่างกายออกทั้งหมด ด้วยเหตุผลดังนี้ 1. อาจไม่สะดวกในการให้การรักษาพยาบาล 2. อาจเป็นสื่อไฟฟ้าถ้าเครื่องประดับนั้นเป็นโลหะ 3. อาจสูญหายได้ ควรฝากญาติไว้ • ประเด็นอภิปราย1. หากท่านเป็นพยาบาลจตุพร ท่านจะตัดสินใจอนุญาตให้นายสิระเอาด้ายสายสินไว้ที่ข้อมือหรือไม่ 2. ท่านใช้หลักการทางจริยธรรมวิชาชีพข้อใดประกอบการตัดสินใจตอบคำถามข้อ 13. จากคำตอบข้อ 1 จงเรียงลำดับขั้นตอนการปฏิบัติที่เหมาะสม

  40. แนวคิดภาวะสุขภาพ การเจ็บป่วยและการพยาบาล • ภาวะสุขภาพของบุคคลขึ้นอยู่กับความสามารถของบุคคลที่มีปฏิสัมพันธ์อย่างเหมาะสมต่อสิ่งแวดล้อม ความสามารถอันนั้นได้แก่ ปฏิกิริยาตอบสนอง (human response) และการปรับตัวของบุคคล (Human adaptation) • ภาวะสุขภาพจึงเป็นความต้องการสูงสุดของบุคคล สุขภาพดีจะช่วยให้กระบวนการเจริญเติบโต พัฒนาการทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคมเป็นไปได้ด้วยดี • บุคคลจึงต้องมีการเรียนรู้และดูแลตนเองเพื่อให้เกิดสุขภาพดีอยู่ตลอดเวลาโดยการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมและสร้างศักยภาพของบุคคลในการดูแลตนเอง • ส่วนความเจ็บป่วยเป็นสภาวะที่ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงหน้าที่ปกติทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคมเป็นภาวะที่บุคคลรู้สึกว่ามีสุขภาพไม่ดี

  41. โครงเนื้อหา เรื่องที่ 1ภาวะสุขภาพและการเจ็บป่วย ความหมายของสุขภาพ ความหมายการเจ็บป่วย เรื่องที่ 2 การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะเจ็บป่วยวิกฤต ลักษณะของผู้ป่วยวิกฤต ขอบเขตความรับผิดชอบของพยาบาลผู้ดูแลผู้ป่วยวิกฤต การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต การพยาบาลครอบครัวของผู้ป่วยวิกฤต เรื่องที่ 3 การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง ลักษณะของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผลกระทบจากภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง เรื่องที่ 4 การพยาบาลประคับประคอง แนวคิดเกี่ยวกับความตาย หลักการดูแลแบบประคับประคอง การพยาบาลแบบประคับประคอง แนวคิดภาวะสุขภาพ การเจ็บป่วยและการพยาบาล

  42. วัตถุประสงค์ • เข้าใจความหมายของสุขภาพและการเจ็บป่วย • บอกลักษณะและการตอบสนองของผู้ป่วยวิกฤตได้ถูกต้อง • บอกขอบเขตความรับผิดชอบในการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตได้ถูกต้อง • วางแผนการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตได้ถูกต้องเหมาะสม • บอกลักษณะและการตอบสนองของผู้ป่วยเรื้อรังได้ถูกต้อง • อธิบายผลกระทบของการเจ็บป่วยเรื้อรังต่อผู้ป่วยและครอบครัวได้ • วางแผนการพยาบาลผู้ป่วยเรื้อรังได้ถูกต้องเหมาะสม • เข้าใจแนวคิดเกี่ยวกับความตายและใกล้ตาย • อธิบายปฏิกิริยาของผู้ป่วยและญาติต่อภาวะใกล้ตายได้ถูกต้อง • วางแผนการพยาบาลแบบประคับประคองแก่ผู้ป่วยและครอบครัวได้ถูกต้องเหมาะสม

  43. แนวคิดเกี่ยวกับสุขภาพแนวคิดเกี่ยวกับสุขภาพ “สุขภาพ” (Health) “สภาวะที่ปราศจากโรคและสามารถใช้พละกำลังของตนเอง ได้เต็มความสามารถ” (Nightingale, 1860)

  44. แนวคิดเกี่ยวกับสุขภาพแนวคิดเกี่ยวกับสุขภาพ “สุขภาพ” (Health) “Health is state of complete physical, mental and social well-being and not merely the absence of disease or infirmity” สภาวะที่มีความสมบูรณ์ของร่างกาย จิตใจ และสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มิใช่เพียงแต่ปราศจากโรค และความพิการเท่านั้น (World health Organization: WHO, 1947)

  45. แนวคิดเกี่ยวกับสุขภาพแนวคิดเกี่ยวกับสุขภาพ “สุขภาพ” (Health) “ความสุขปราศจากโรค ความสบาย ความมีอนามัยดี” (พจนานุกรมเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ. 2530)

  46. แนวคิดเกี่ยวกับสุขภาพแนวคิดเกี่ยวกับสุขภาพ “สุขภาพ” (Health) “สุขภาพดี หมายถึง สภาวะที่ร่างกายมีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ปราศจากโรคและความพิการใดๆ” (World health Organization: WHO, 1986)

  47. แนวคิดเกี่ยวกับสุขภาพแนวคิดเกี่ยวกับสุขภาพ “สุขภาพ” (Health) “สุขภาวะที่สมบูรณ์และเชื่อมโยงกันเป็นองค์รวมอย่างสมดุลทั้งทางกาย ทางจิต ทางสังคม และทางจิตวิญญาณ สุขภาพมิได้หมายถึงเฉพาะความไม่พิการ และการไม่มีโรคเท่านั้น” (พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ ในมาตราที่ 3)

  48. ความเจ็บป่วย (illness) • สภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงหน้าที่ปกติทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ • ซึ่งอาจจะเปลี่ยนด้านใดด้านหนึ่ง หรือหลายๆ ด้านรวมกัน • ทำให้บุคคลทำหน้าที่บกพร่องหรือทำหน้าที่ได้น้อยลงกว่าปกติ • เป็นภาวะที่บุคคลรู้สึกว่ามีสุขภาพไม่ดี

  49. ความเจ็บป่วย (illness) • ความเจ็บป่วยอาจไม่เกี่ยวข้องกับการเป็นโรคก็ได้ • อาจมีสาเหตุเริ่มแรกจากความผิดปกติของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย หรือความผิดปกติของจิตใจ • การบ่งชี้ถึงสภาวะความเจ็บป่วยและการมีสุขภาพดีนั้นบางครั้งไม่เด่นชัด ยกเว้นในรายที่เจ็บป่วยมากๆ มีอาการรุนแรง • บุคคลที่มีความเจ็บป่วยไม่ว่าจะเป็นทางด้านใดด้านหนึ่งจะมีผลกระทบด้านอื่นๆ ตามมา

  50. ความเจ็บป่วย (illness) • ในโลกนี้น้อยคนนักที่จะมีสุขภาพดีมาก • คนส่วนมากมักจะมีความบกพร่องทางสุขภาพบ้างไม่มากก็น้อย • แต่ถ้าหากบุคคลนั้นพอใจในสภาพการณ์ที่เป็นอยู่และสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข ก็ถือได้ว่ามีสุขภาพดี

More Related