280 likes | 796 Views
การเขียนความเรียงขั้นสูง. การเขียนความเรียงขั้นสูง.
E N D
การเขียนความเรียงขั้นสูงการเขียนความเรียงขั้นสูง
การเขียนความเรียงขั้นสูงการเขียนความเรียงขั้นสูง การเขียนความเรียงขั้นสูง เป็นสาระที่ว่าด้วยการศึกษาค้นคว้าอย่างอิสระในเรื่องที่ผู้เขียนสนใจที่มาจากการที่ผู้เขียนได้เรียนจากสาระการเรียนรู้ เน้นการฝึกกระบวนการค้นคว้าด้วยตนเอง การถ่ายทอด/สื่อความหมาย แนวคิด และข้อมูลเป็นความเรียงทางวิชาการที่มีเนื้อหาเชื่อมโยงอย่างเป็นขั้นเป็นตอน สมเหตุสมผล ที่สละสลวยโดยใช้คำจำนวน ๔,๐๐๐ คำ
เนื้อหาหลัก ๑. การค้นคว้า (research) ได้แก่ ๑.๑ การกำหนดหัวข้อ/ชื่อเรื่อง/ชื่อโครงการ (topic) ๑.๒ การเรียบเรียงหัวข้อเรื่อง (focus) ๑.๓ การค้นหาแหล่งค้นคว้า (search for sources) ๑.๔ การกำหนดโครงร่าง (working outline) ๑.๕ การรวบรวมข้อมูล (assemble sources/materials)
เนื้อหาหลัก (ต่อ) ๒. การเขียน (writing) ได้แก่ ๒.๑ การเขียนชื่อเรื่อง (title page) ๒.๒ การเขียนสาระย่อ (abstract) ๒.๓ สารบัญ (contents page) ๒.๔ การเขียนคำนำ (introduction) ๒.๕ การเขียนเรียบเรียงเนื้อเรื่อง (body development) ๒.๖ การเขียนบทสรุป (conclusion) ๒.๗ การเขียนบรรณานุกรม และเอกสารอ้างอิง (reference) ๒.๘ ภาคผนวก (appendix)
๑. การค้นคว้า (research) ๑.๑ การกำหนดหัวข้อ/ชื่อเรื่อง/ชื่อโครงการ (topic) นิยมตั้งชื่อให้มีความกะทัดรัด ดึงดูดความสนใจจากผู้อ่าน ผู้ชม การกำหนด ชื่อแบบใด ๆ นั้นต้องคำนึงถึงความสามารถที่จะสื่อความหมายถึงวัตถุประสงค์ที่ต้องการศึกษาได้ชัดเจน กล่าวคือต้องเข้าใจปัญหาที่สนใจศึกษาอย่างแท้จริง อันจะนำไปสู่การเข้าใจวัตถุประสงค์ของการศึกษาอย่างแท้จริงด้วย
๑. การค้นคว้า (research) ๑.๒ การเรียบเรียงหัวข้อเรื่อง (focus) ๑) เรียบเรียงหัวข้อเรื่องโดยใช้ภาษาง่าย กระชับ และชัดเจนครอบคลุมปัญหาที่ศึกษา ๒) หัวข้อเรื่องต้องบอกได้ว่าเป็นการศึกษาอะไร กับใคร หรือของใคร ที่ไหน หรือเมื่อไร ๓) หัวข้อเรื่องต้องไม่ยาวจนดูฟุ่มเฟือย อ่านแล้วเข้าใจยาก หรือจับประเด็นไม่ได้ ๔) หัวข้อเรื่องต้องไม่สั้นจนเกินไป อ่านไม่รู้เรื่องว่าทำอะไร ๕) หัวข้อเรื่องควรขึ้นต้นด้วยคำนาม เพื่อให้เกิดความไพเราะสละสลวย ๖) หัวข้อเรื่องควรระบุถึงประเภท หรือวิธีการศึกษา ตัวแปรสำคัญ กลุ่มตัวอย่างหรือกลุ่มเป้าหมายลงไปด้วย
๑. การค้นคว้า (research) ๑.๓ การค้นหาแหล่งค้นคว้า (search for sources) ๑) ค้นคว้าจากหนังสือ วิทยานิพนธ์ หนังสืออ้างอิง เอกสารต่าง ๆ สามารถค้นคว้าได้จาก หอสมุดแห่งชาติ ห้องสมุดสถาบันต่าง ๆ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หนังสือเหล่านี้นับเป็นแหล่งข้อมูลหลักที่สำคัญ ๒) ค้นคว้าจากหนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร วรสาร จุลสาร สิ่งตีพิมพ์เหล่านี้จะให้ข้อมูลที่ทันสมัยทันใจกว่าหนังสือ เพราะผลิตสู่ตลาดเป็นประจำทุกวัน ทุกสัปดาห์ และทุกเดือน ๓) การสัมภาษณ์ผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์นับเป็นวิธีการที่รวดเร็ว และได้ข้อมูลที่ทันสมัยที่สุด นิยมใช้กันมากในยุคแห่งโลกสื่อสารปัจจุบัน ๔) การสนทนากับบุคคลทั่วไป เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็น วิธีนี้จะทำให้ผู้เขียนมีความคิดที่กว้างไกล และช่วยพัฒนาความคิดและระบบความคิดของผู้เรียนด้วย ๕) การบันทึกเหตุการณ์และเรื่องราวต่าง ๆ ที่พบเห็น วิธีนี้เป็นวิธีที่ผู้เขียนสร้างแหล่งข้อมูลขึ้นมาเอง ๖) การเก็บข้อมูลจากสถานที่จริง การได้รายละเอียดของแหล่งข้อมูลจริงจะทำให้ได้เนื้อหาและหลักฐานที่เป็นจริง นับเป็นแหล่งข้อมูลที่มีค่า ๗) ข้อมูลจากสื่อต่าง ๆ เช่นวิทยุกระจายเสียงวิทยุ โทรทัศน์ วีดิทัศน์ ไมโครฟิล์ม ภาพยนตร์ ฯลฯ โดยเฉพาะในปัจจุบันเทคโนโลยีและระบบสื่อสารต่าง ๆ ก้าวหน้าทันสมัยและรวดเร็ว ผู้เรียนอาจค้นคว้าหาข้อมูลได้จากเครื่องมือระบบใหม่ได้ เช่นอินเทอร์เนต
๑. การค้นคว้า (research) ๑.๔ การกำหนดโครงร่าง (working outline) เป็นการวางและจัดลำดับโครงร่างอันเป็นความคิดที่สำคัญของเรื่องที่จะเขียน การกำหนดโครงร่างไว้อย่างดีจะเป็นแนวทางในการเขียน ทำให้งานเขียนสมบูรณ์และมีคุณค่า โครงร่างมี ๒ ประเภท ๑) โครงร่างประเภทหัวข้อ เป็นการเสนอประเด็นความคิดเป็นหัวข้อด้วยคำหรือวลีสั้น ๆ ถ้ามีหัวข้อรอง หัวข้อย่อยควรจัดลำดับให้หัวข้อลดหลั่นกันลงมาด้วยตัวเลข เมื่อจะลงมือเขียนต้องเรียบเรียงความคิดให้เป็นประโยคอีกครั้งหนึ่ง ๒) โครงร่างประเภทประโยค เป็นการเสนอประเด็นความคิดเป็นประโยคที่สมบูรณ์ซึ่งจะเป็นประโยคใจความสำคัญของแต่ละย่อหน้าต่อไป
วิธีการเขียนโครงร่าง วิธีการเขียนโครงร่างทำได้ ๒ วิธี คือ ๑) โครงร่างที่สร้างจากความคิดย่อย ๒) โครงร่างที่สร้างจากความคิดหลัก ๑) โครงร่างที่สร้างจากความคิดย่อย มีขั้นตอนรายละเอียด ดังนี้ ๑.๑) ขั้นตอนการรวบรวมความคิด พิจารณาว่าเรื่องที่จะเขียนนี้มีเนื้อหาอะไรบ้าง คิดได้ก็จดไว้ทุกประเด็นความคิดของเรื่องที่จะเขียนอาจได้มาจากความรู้หรือประสบการณ์เดิม ๑.๒) ขั้นตอนการจัดกลุ่มความคิด คัดเลือกประเด็นที่เกี่ยวกับเรื่องที่จะเขียน จากนั้นนำประเด็นที่เกี่ยวข้องมาจัดกลุ่ม แล้วกำหนดข้อความเป็นหัวข้อใหญ่ให้ครอบคลุมเนื้อหาแต่ละกลุ่มอย่างชัดเจน ๑.๓) ขั้นตอนการจัดลำดับความคิด นำกลุ่มความคิดมาจัดลำดับตามเรื่องราว ตามเหตุผล ตามเวลา ตามเหตุการณ์ก่อน-หลัง ตามลำดับ ความสำคัญ ตามทิศทาง ตามสถานที่ ตามลำดับใกล้-ไกล และตามลำดับจากส่วนใหญ่สู่ส่วนย่อย หรือจากส่วนย่อยสู่ส่วนใหญ่ ๑.๔) ขั้นตอนการทบทวนความคิดและปรับปรุงโครงร่างให้สมบูรณ์ พิจารณาทบทวนว่าโครงร่างที่เขียนไว้นั้นมีประเด็นความคิดครบถ้วนหรือยัง เพียงพอหรือไม่ ถ้ายังก็เพิ่มเติมหรือเสริมความคิดให้ครบถ้วน ซึ่งอาจจะทำได้ทั้งในระดับหัวข้อใหญ่ และหัวข้อย่อย
วิธีการเขียนโครงร่าง ๒) โครงร่างที่สร้างจากความคิดหลัก มีขั้นตอนรายละเอียด ดังนี้ ๒.๑) ขั้นตอนการกำหนดความคิดหลัก ต้องคิดพิจารณาอย่างรอบคอบว่าเรื่องที่จะเขียนควรมีความคิดหลักเป็นเนื้อหาสำคัญอะไรบ้าง แล้วรวบรวมความคิดหลักไว้เป็นข้อ ๆ ๒.๒) ขั้นตอนการขยายความคิดหลัก อาจขยายหรือเพิ่มเติมความคิดย่อยให้มากขึ้น เพื่อจะได้โครงเรื่องที่สมบูรณ์ ทั้งนี้ไม่จำเป็นต้องขยายความคิดหลักทุกหัวข้อก็ได้ ๒.๓) ขั้นตอนการจัดลำดับความคิด นำกลุ่มความคิดมาจัดลำดับตามเรื่องราว ตามเหตุผล ตามเวลา ตามเหตุการณ์ก่อน-หลัง ตามลำดับ ความสำคัญ ตามทิศทาง ตามสถานที่ ตามลำดับใกล้-ไกล และตามลำดับจากส่วนใหญ่สู่ส่วนย่อย หรือจากส่วนย่อยสู่ส่วนใหญ่ ๒.๔) ขั้นตอนการทบทวนความคิดและปรับปรุงโครงร่างให้สมบูรณ์ พิจารณาโครงร่างอีกครั้งหนึ่งว่ามีเนื้อหาสมบูรณ์ และมีโครงร่างเป็นลำดับต่อเนื่องกันหรือยัง เมื่อเห็นว่าสมบูรณ์แล้วก็นำมาขยายโครงร่างเป็นประโยค
๑. การค้นคว้า (research) ๑.๕ การรวบรวมข้อมูล ข้อมูลจากเอกสารใช้วิธีรวบรวมข้อมูลจากการอ่าน ดังนี้ ๑) สำรวจว่าหนังสือและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่ศึกษามีเนื้อหาตรงตามที่ต้องการมากน้อยเพียงใด โดยดูจากสารบัญหรือดรรชนีท้ายเล่ม ๒) อ่านเรื่องที่เลือกไว้โดยจับใจความสำคัญ และทำความเข้าใจเนื้อหานั้น ๆ ๓) บันทึกข้อมูลจากการอ่านอย่างเป็นระเบียบ โดยบันทึกลงในบัตรบันทึก ควรบันทึกแผ่นละหนึ่งหัวข้อเรื่องสิ่งที่ควรบันทึก ได้แก่ หัวเรื่องที่บันทึก แหล่งที่มาของข้อมูล (ควรเขียนตามแบบบรรณานุกรม) แหล่งค้นคว้า และสิ่งที่ได้จากการอ่านซึ่งอาจจะใช้วิธีย่อหรือสรุปสาระ โดยเขียนเป็นสำนวนของผู้บันทึก หากตอนใดสำคัญก็คัดข้อความไว้ หรืออาจสรุปความและแสดงความคิดเห็นประกอบ เช่นวิจารณ์ข้อเท็จจริง โต้แย้ง หรือสนับสนุน ทั้งนี้การบันทึกข้อมูลอย่างเป็นระเบียบจะช่วยให้การเขียนสะดวกและรวดเร็วขึ้น ข้อมูลและบันทึกข้อมูลสนาม มีวิธีการเก็บข้อมูลเฉพาะของแต่ละวิธี เช่น หากเก็บข้อมูลโดยวิธีออกแบบสอบถามก็ต้องสร้างแบบสอบถาม กำหนดผู้ตอบแบบสอบถาม กำหนดวิธีการส่งแบบสอบถาม และการเก็บแบบสอบถามคืน
๑. การค้นคว้า (research) เมื่อรวบรวมข้อมูลแล้วก็จัดระเบียบหรือจำแนกประเภทของข้อมูลออกเป็นกลุ่มต่าง ๆ ตามประเด็นของโครงร่าง คือหัวข้อใหญ่ และหัวข้อย่อยที่วางไว้ ต่อจากนั้นจึงเป็นการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่การทำความเข้าใจข้อมูลนั้น ๆ พิจารณาหาลักษณะร่วมและความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลหรือตีความข้อมูลเพื่อค้นหาความหมาย ถ้าเป็นข้อมูลที่แสดงความคิดเห็นต้องพิจารณาว่าเห็นด้วยหรือไม่ เห็นด้วยอย่างไร อันจะนำไปสู่ข้อสรุปหรือคำตอบของประเด็นปัญหานั้น ๆ หากเป็นข้อมูลสนามที่มีลักษณะเป็นข้อมูลทางปริมาณการวิเคราะห์ข้อมูลต้องใช้สถิติเข้าช่วย แล้วจึงตีความและหาข้อสรุปต่อไป
๒. การเขียน (writing) ๒.๑ การเขียนชื่อเรื่อง (title page)๒.๒ การเขียนสาระย่อ (abstract) สาระย่อต้องมีสาระที่สะท้อนให้เห็นการพูดเกี่ยวกับหัวข้อเรื่องใช้คำไม่เกิน ๓๐๐ คำ มีการพูดเกี่ยวกับหัวข้อเรื่อง ขอบข่ายของการศึกษาค้นคว้า และสรุปผลที่ได้รับอย่างชัดเจน ๒.๓ สารบัญ (contents page) จะต้องลำดับหัวข้อเรื่อง เอกสารอ้างอิง ภาคผนวก และมีเลขหน้ากำกับทุกหัวเรื่อง ๒.๔ การเขียนคำนำ (introduction) ๑) การให้เหตุผลในการเลือกหัวข้อเรื่อง ความสำคัญ และคุณค่าที่ได้รับ ๒) บอกความเป็นมาและความสำคัญของหัวข้อเรื่อง ๓) ระบุหัวข้อค้นคว้าให้ชัดเจน
๒. การเขียน (writing) ๒.๕ การเขียนเรียบเรียงเนื้อเรื่อง (body development) ๑) จัดลำดับเนื้อหาตามรูปแบบโครงร่างที่ถูกต้อง ๒) จัดลำดับเนื้อหาเป็นหัวข้อใหญ่ และหัวข้อย่อยตามธรรมชาติของเนื้อหา ๓) ลำดับความคิดหลัก และความคิดรอง ๒.๖ การเขียนบทสรุป (conclusion) ๑) การสรุปการนำเสนอความคิดรวบยอดที่เกี่ยวเนื่องกับหัวข้อเรื่อง ๒) การอ้างอิงหลักฐานประกอบความคิด ๓) การเสนอแนะและชี้ประเด็นที่ค้นพบ รวมทั้งหัวข้อเรื่อง ประเด็นเรื่องที่ยังไม่ได้ศึกษาค้นคว้าในผลงานชิ้นนี้แต่ควรค่าแก่การค้นคว้าเป็นผลงานเรื่องต่อไป ๔) การเรียบเรียงบทสรุปให้ชัดเจน เชื่อมโยงกับหัวข้อค้นคว้า และสอดคล้องกับการโต้แย้ง ให้เหตุผลหรือคำอธิบายต่าง ๆ ที่ปรากฏในเนื้อเรื่องที่เขียน บทสรุปพูดถึงประเด็นปัญหาที่ยังไม่ได้รับการค้นคว้าหาคำตอบ และมีประเด็น ปัญหาใหม่ ๆ ที่เกิดจากการค้นคว้า
๒. การเขียน (writing) ๒.๗ การเขียนบรรณานุกรม และเอกสารอ้างอิง (reference) เป็นการรวบรวมรายชื่อหนังสือ เอกสาร โสตทัศนูปกรณ์ วัสดุหรือแหล่งข้อมูลอื่น ๆ ที่ใช้อ้างอิงและศึกษาค้นคว้าในการทำรายงานอันจะเป็นประโยชน์ให้แก่ผู้อ่านที่ประสงค์จะค้นคว้าเพิ่มเติม ๒.๘ ภาคผนวก (appendix) เอกสารที่ผู้เขียนสามารถใส่ไว้ในภาคผนวก ได้แก่ ข้อมูลและรายละเอียดต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษาค้นคว้า และผู้เขียนคิดว่าผู้อ่านควรจะทราบ