1 / 18

แนวทางในการบริหารทรัพย์สินและหนี้สิน กรณีสถาบันการเงินเปรียบเทียบกับ หลักประกันของศาล

แนวทางในการบริหารทรัพย์สินและหนี้สิน กรณีสถาบันการเงินเปรียบเทียบกับ หลักประกันของศาล. PL : Performing Loan. จำนวน 1,262,748 บัญชี วงเงิน 628,580.89 ล้านบาท. (ข้อมูล ณ 30 มิถุนายน 2555). การให้สินเชื่อของสถาบันการเงิน.

Download Presentation

แนวทางในการบริหารทรัพย์สินและหนี้สิน กรณีสถาบันการเงินเปรียบเทียบกับ หลักประกันของศาล

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. แนวทางในการบริหารทรัพย์สินและหนี้สินกรณีสถาบันการเงินเปรียบเทียบกับหลักประกันของศาลแนวทางในการบริหารทรัพย์สินและหนี้สินกรณีสถาบันการเงินเปรียบเทียบกับหลักประกันของศาล

  2. PL : Performing Loan จำนวน 1,262,748 บัญชี วงเงิน 628,580.89 ล้านบาท (ข้อมูล ณ 30 มิถุนายน 2555)

  3. การให้สินเชื่อของสถาบันการเงินการให้สินเชื่อของสถาบันการเงิน สถาบันการเงินแต่ละแห่งมีวัตถุประสงค์ในการให้สินเชื่อแตกต่างกันไป อาจจะให้สินเชื่อในทางธุรกิจ หรือเพื่อที่อยู่อาศัย ซึ่งสถาบันการเงินมีความต้องการที่จะได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้จนครบถ้วนทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยที่ได้มีการให้สินเชื่อไป ซึ่งในการให้สินเชื่ออาจจะเป็นการให้สินเชื่อโดยมีหลักประกันเป็นทรัพย์สินหรือโดยใช้บุคคลค้ำประกันก็ได้ ส่วนศาลมีการกำหนดวงเงินเพื่อเป็นประกันในการปล่อยตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยชั่วคราว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นายประกันต้องพาตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยมาศาล หากนายประกันไม่สามารถพาผู้ต้องหาหรือจำเลยมาศาลได้ ก็จะบังคับเอากับหลักประกันที่นายประกันนำมามอบให้กับศาลไว้ เพื่อเป็นการชดเชยกับการที่ไม่ได้ตัวจำเลยมาขึ้นศาลเพื่อดำรงกระบวนการยุติธรรมให้สามารถดำเนินการได้ต่อไป

  4. หลักประกันของสถาบันการเงินหลักประกันของสถาบันการเงิน 1. ประเภททรัพย์สินที่รับเป็นหลักประกัน ทรัพย์สินที่รับเป็นหลักประกันของสถาบันการเงิน อาจจะเป็น ที่ดิน ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ห้องชุด สิทธิการเช่า บุคคลค้ำประกัน เป็นต้น คล้ายๆ กับหลักประกันในการปล่อยตัวชั่วคราวของศาล แต่อาจจะมีมากกว่า 2. วิธีการประเมินมูลค่า การให้สินเชื่อของสถาบันการเงินมีการประเมินมูลค่าหลักประกันที่ผู้กู้นำมาจำนอง โดยใช้บุคลากรภายในของสถาบันการเงินเอง หรือใช้ผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินจากภายนอกเพื่อให้ทราบมูลค่าตลาดที่แท้จริงของทรัพย์สิน แตกต่างไปจากศาลซึ่งใช้ราคาของกรมธนารักษ์ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการประเมินเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์ในการกำหนดจำนวนค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเท่านั้น

  5. การทำสัญญาผูกพัน มีการทำสัญญากู้ยืมเงิน และสัญญาค้ำประกันด้วยบุคคลหรือสัญญาจำนองที่ดินสิ่งปลูกสร้าง คล้ายๆ กับศาล โดยศาลก็มีการให้ นายประกันทำสัญญาประกันกำหนดวงเงินประกันเอาไว้เช่นเดียวกัน หากนายประกันไม่สามารถพาตัวจำเลยมาขึ้นศาลได้ ศาลก็จะบังคับไปตามสัญญาประกัน

  6. NPL : Non-Performing Loan จำนวน 147,998 บัญชี วงเงิน 60,501.89 ล้านบาท (ข้อมูล ณ 30 มิถุนายน 2555)

  7. หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ในการให้สินเชื่อของสถาบันการเงินนั้น จะมีสินเชื่อส่วนหนึ่งที่ผู้กู้ผิดสัญญากู้เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ จะมีการจัดชั้นหนี้ตามเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของสถาบันการเงินนี้ เปรียบเทียบได้กับการที่นายประกันผิดสัญญาประกันของศาล โดยศาลเป็นเจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเรียกร้องเอากับนายประกัน เป็นเหตุให้ศาลต้องบังคับเอากับหลักประกันซึ่งในปัจจุบันมีจำนวนประมาณ 10,000 ล้านบาท การบริหารที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้นี้ สถาบันการเงินอาจจะขายหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ออกไปแต่สถาบันการเงินต้องมีการกันสำรองหนี้ส่วนที่ขาดไปด้วย ศาลจะสามารถขายสิทธิที่จะเรียกร้องเอากับนายประกันเพื่อให้ผู้รับซื้อหนี้ไปดำเนินการกับนายประกันต่อได้หรือไม่

  8. การบังคับเอากับหลักประกันกรณีผิดสัญญาการบังคับเอากับหลักประกันกรณีผิดสัญญา ในกรณีที่ผู้กู้ผิดสัญญากู้ สถาบันการเงินจะต้องมีการฟ้องบังคับจำนอง เอาทรัพย์สินที่มาจำนองเป็นประกันการกู้เงินออกขายทอดตลาด แตกต่างไปจากศาล ซึ่งหากนายประกันผิดสัญญาประกัน ไม่ต้องมีการฟ้องคดี ศาลสามารถบังคับคดีเอาทรัพย์สินที่นำมาเป็นประกัน ขายทอดตลาดได้ทันที

  9. NPA : Non-Performing Asset จำนวน 25,064 บัญชี วงเงิน 8,773.48 ล้านบาท (ข้อมูล ณ 30 มิถุนายน 2555)

  10. ทรัพย์สินรอการขาย (NPA) ในการเอาทรัพย์สินซึ่งเป็นหลักประกันการกู้ยืมเงินออกขายทอดตลาด สถาบันการเงินจะดูแลการขาย หากมีบุคคลภายนอกซื้อทรัพย์ได้ในราคาที่สมควร สถาบันการเงินจะไม่คัดค้านการขาย เนื่องจากสถาบันการเงินมีวัตถุประสงค์ที่จะได้รับชำระหนี้คืนจนครบถ้วนเท่านั้น หากมีการขายต่ำกว่าราคาที่สถาบันการเงินกำหนด สถาบันการเงินจะเข้าสู้ราคาและซื้อทรัพย์สินมาเป็นทรัพย์สินของธนาคาร โดยธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดระยะเวลาในการถือครองเอาไว้ ซึ่งสถาบันการเงินจะต้องดำเนินการจำหน่ายออกไปในระยะเวลาที่กำหนด เนื่องจากสถาบันการเงินไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อมุ่งค้าหากำไร กรณีของศาลหากนายประกันผิดสัญญาประกัน ศาลสามารถบังคับดคีโดยนำเอาทรัพย์สินออกขายทอดตลาดได้ในทันที แต่ศาลไม่สามารถเข้าสู้ราคาและซื้อทรัพย์สินมาเป็นของศาลและนำมาบริหารจัดการเหมือนกับทรัพย์ NPA ของสถาบันการเงิน

  11. วิธีการบริหารทรัพย์สินรอการขาย (NPA) ของสถาบันการเงิน(กรณีตัวอย่างของธนาคารอาคารสงเคราะห์) จ้างบริษัทสำรวจทรัพย์ เพื่อให้ทราบถึงรายละเอียดของทรัพย์ สภาพทรัพย์ และการครอบครอง จ้างบริษัทดูแลทรัพย์ เพื่อให้มีการดูแลรักษาไม่ให้มีสภาพรกร้าง เช่น มีการตัดหญ้ารอบบริเวณบ้าน ใส่กุญแจบ้าน ดูแลไม่ให้มีการบุกรุก หรือมีทรัพย์สินหาย หากมีผู้บุกรุก ก็จะมีการขับไล่ นำทรัพย์ NPA ออกขาย เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์ของ ธปท. โดยมีวิธีการขายดังนี้ ขายตรง ตั้งตัวแทนขาย (นายหน้า) จัดมหกรรมขายเอง ออกขายในงาน Event ต่าง ๆ จัดโปรโมชั่นเพื่อกระตุ้นยอดขาย

  12. Receivables under Litigation(หนี้ส่วนขาด) • หนี้ส่วนขาด จำนวน 53,050 บัญชี วงเงิน 12,803.90 ล้านบาท • Write off ไปแล้ว จำนวน 31,170 บัญชี • วงเงิน 10,390.44 ล้านบาท (ข้อมูล ณ 30 มิถุนายน 2555)

  13. การติดตามหนี้ส่วนขาด หากเอาทรัพย์สินที่นำมาเป็นประกันการกู้ยืมเงินออกขายทอดตลาดแล้วยังมีหนี้ส่วนขาดเท่าใด สถาบันการเงินจะติดตามเอาจากทรัพย์สินอื่นๆของลูกหนี้ วิธีการติดตามหนี้ส่วนขาดของสถาบันการเงิน (ในกรณีนี้เป็นตัวอย่างการดำเนินการของธนาคารอาคารสงเคราะห์) เมื่อบังคับจำนองเอาทรัพย์ออกขายทอดตลาด หากมีหนี้ส่วนขาด ธอส. จะดำเนินการติดตามหนี้ส่วนขาดจากลูกหนี้ วิธีการตามหนี้ส่วนขาดของ ธอส. จะใช้บริษัทตามหนี้เอกชนเข้ามารับงานติดตาม หนี้ โดยมีค่าจ้างประมาณ ร้อยละ 30-40 โดยจ่ายให้เมื่อเรียกเก็บหนี้ส่วนขาด ได้แล้ว บริษัทติดตามหนี้ส่วนขาดในท้องตลาดมีประมาณ 100 กว่าบริษัท คล้าย ๆ กับศาลซึ่งหากบังคับเอาจากทรัพย์สินที่นำมาเป็นประกันการปล่อยตัวชั่วคราวแล้วไม่พอ จะติดตามเอาจากนายประกัน

  14. ข้อเสนอแนะ ในการบริหารจัดการหลักประกันทั้งที่มีคุณภาพและด้อยคุณภาพ มูลค่าประมาณ 10,000 ล้านบาทของศาลนั้น สามารถดำเนินการได้ดังนี้ 1. การรับรู้มูลค่าตลาดที่แท้จริงของหลักประกัน กรณีที่ใช้บุคคลค้ำประกัน ศาลใช้ข้าราชการเป็นผู้ค้ำประกันโดยอาจจะพิจารณาจากใบรับรองเงินเดือน จากประสบการณ์ในการวิเคราะห์สินเชื่อของ ธอส. ข้าราชการมักจะเหลือเงินเดือนประมาณ 1ใน 3 ที่จะสามารถผ่อนชำระได้ ดังนั้น ศาลอาจจะพิจารณาจากเงินเดือนคงเหลือสุทธิมาประกอบการพิจาณา อาจจะช่วยให้การบังคับชำระหนี้จากนายประกันได้ครบถ้วนมากขึ้น กรณีที่ใช้ทรัพย์สินประเภทที่ดินเป็นหลักประกัน การรับรู้มูลค่าที่ดินโดยใช้ราคาจากกรมธนารักษ์นั้น อาจจะไม่สะท้อนมูลค่าที่แท้จริงของที่ดิน เนื่องจากการประเมินราคาของกรมธนารักษ์นั้นมีวัตถุประสงค์ในการใช้เป็นทุนทรัพย์ในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเท่านั้น และบัญชีประเมินราคาของกรมธนารักษ์จะประกาศใช้ทุก 4 ปี ในช่วงต้นของการประกาศใช้ราคาประเมินอาจจะใกล้เคียงกับมูลค่าตลาด แต่ในช่วงกลางถึงช่วงท้ายของระยะเวลาในการประกาศใช้อาจจะไม่สะท้อนมูลค่าตลาดแล้ว และวิธีการประเมินราคาของกรมธนารักษ์นั้น ใช้วิธีการประเมินรายแปลงและประเมินในภาพรวมแบบแบ่งพื้นที่ออกเป็น Block และ Zone ซึ่งที่ดินทั่วประเทศมีประมาณ 28 ล้านแปลง มีเพียงในจังหวัดใหญ่ๆและในเขตเมืองเท่านั้นที่มีการประเมินรายแปลง ส่วนใหญ่ยังเป็นการประเมินแบบ Block Zone อยู่

  15. ข้อเสนอแนะ (ต่อ) ดังนั้น หากศาลรับรู้มูลค่าตลาดที่แท้จริงของที่ดินฯตั้งแต่แรกรับเข้าเป็นหลักประกันก็อาจจะทำให้ศาลได้สามารถบังคับเอาจากหลักประกันได้ครบถ้วนมากขึ้น กล่าวคือหากมูลค่าที่แท้จริงของหลักประกันต่ำไป ศาลอาจจะเรียกเอาหลักประกันเพิ่มให้ครบจำนวนตามมูลค่าการประกันที่ศาลกำหนดและกรณีที่มูลค่าหลักประกันต่ำกว่าที่ควรอาจจะทำให้นายประกันทิ้งประกัน ไม่พยายามติดตามตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยมาขึ้นศาล การรับรู้มูลค่าตลาดที่แท้จริงของทรัพย์สินประเภทที่ดินหรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง สามารถดำเนินการได้ ดังนี้ จ้างบริษัทประเมินเอกชนเป็นผู้ประเมินราคา ใช้ฐานข้อมูลในการเปรียบเทียบและวิเคราะห์มูลค่าตลาดปัจจุบัน ของหลักประกันเปรียบเทียบกับราคาประเมินของกรมธนารักษ์

  16. ข้อเสนอแนะ (ต่อ) 2. การขายทอดตลาด ในขั้นตอนของการขายทอดตลาด สถาบันการเงินและศาลมีการขายทอดตลาดที่กรมบังคับคดีเหมือนกัน นอกจากการขายทอดตลาดเป็นรายๆตามปกติแล้ว สถาบันการเงินจะร่วมมือกับกรมบังคับคดีจัดมหกรรมการขายทอดตลาดทั้งในกทม.และในพื้นที่ภูมิภาค โดยเป็นการขายเฉพาะทรัพย์บังคับคดีของสถาบันการเงินนั้นเท่านั้น ไม่มีการขายของรายอื่นๆด้วย ทำให้มีผู้สนใจเข้าประมูลมากขึ้น ซึ่งศาลอาจจะขอความร่วมมือกับกรมบังคับคดีจัดมหกรรมการขายทอดตลาดตามเงื่อนไขที่กำหนด เช่น มีการจัดประเภททรัพย์ที่จะขาย เกรดของทรัพย์ที่จะขาย หรือกำหนดตามกลุ่มที่ตั้งหลักประกันที่จะขาย เป็นต้น

  17. ข้อเสนอแนะ (ต่อ) 3. การติดตามหนี้ส่วนขาด สถาบันการเงินจะใช้บริษัทเอกชนในการติดตามหนี้ส่วนขาด ซึ่งศาลสามารถจะดำเนินการได้เช่นเดียวกัน โดยอาจจะต้องมีการดำเนินการในเรื่องงบประมาณในการจ้าง และอาจจะต้องระมัดระวังในเรื่องภาพลักษณ์ของศาลในการดำเนินการในเรื่องนี้ด้วย

  18. ข้อเสนอแนะ (ต่อ) 4. การเตรียมข้อมูลทรัพยากรและบุคลากร ในการดำเนินการตามข้อเสนอแนะดังกล่าวนี้ ศาลอาจจะต้องมีการเตรียมบุคลากรเอาไว้ เช่น อาจจะต้องมีการให้ความรู้แก่เจ้าพนักงานของศาลที่จะทำหน้าที่วิเคราะห์เปรียบเทียบเรื่องการประเมินราคาหลักประกันให้มีความรู้ในเรื่องการประเมิน หรือมีความรู้ในเรื่องระบบฐานข้อมูล เป็นต้น รวมทั้งในเรื่องงบประมาณในการดำเนินการที่เกี่ยวข้องด้วย

More Related