960 likes | 1.59k Views
หลักการ ออกแบบและ จัดหน้า สิ่งพิมพ์. อ. นิศาชล จำนงศรี 204419 Week1 2/254 6. ข อ บ เ ข ต. การออกแบบและจัดหน้าสิ่งพิมพ์หมายถึง การออกแบบและจัดหน้าสิ่งพิมพ์ที่เป็นสื่อสารมวลชน ดังนี้ หนังสือ นิตยสาร วารสาร หนังสือพิมพ์ จุลสาร แผ่นพับ โปสเตอร์. ความ หมาย.
E N D
หลักการออกแบบและ จัดหน้าสิ่งพิมพ์ อ. นิศาชล จำนงศรี 204419 Week1 2/2546
ขอบเขต • การออกแบบและจัดหน้าสิ่งพิมพ์หมายถึง การออกแบบและจัดหน้าสิ่งพิมพ์ที่เป็นสื่อสารมวลชน ดังนี้ • หนังสือ • นิตยสาร • วารสาร • หนังสือพิมพ์ • จุลสาร • แผ่นพับ • โปสเตอร์
ความหมาย • การออกแบบและจัดหน้าสิ่งพิมพ์ เป็นการเตรียมรูปแบบของสิ่งพิมพ์ก่อนเข้าสู่กระบวนการผลิต เพื่อให้เกิดประโยชน์ใช้สอยตรงตามวัตถุประสงค์การใช้งานมากที่สุด • การออกแบบที่ดีจะช่วยเพิ่มความน่าสนใจ และความสวยงามให้กับสิ่งพิมพ์ ช่วยให้การถ่ายทอดสารสนเทศมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์ • เพิ่มความน่าสนใจให้กับสิ่งพิมพ์ • ช่วยให้สิ่งพิมพ์ง่ายต่อการอ่านและการทำความเข้าใจ • เพื่อสร้างความประทับใจและความทรงจำให้กับ ผู้อ่านในระยะยาว
ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงปัจจัยที่ต้องคำนึงถึง • ประเภทและลักษณะเนื้อหาของสิ่งพิมพ์ • วัตถุประสงค์ในการจัดทำ • กลุ่มเป้าหมาย • ขนาดและรูปแบบมาตรฐานของสิ่งพิมพ์ • ประเภทและคุณลักษณะของกระดาษพิมพ์
ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงปัจจัยที่ต้องคำนึงถึง • ขั้นตอนการออกแบบและจัดหน้าสิ่งพิมพ์ • ขั้นตอนการผลิตสิ่งพิมพ์ • ความสามารถและข้อจำกัดในการทำงานของเครื่องพิมพ์ • หลักการออกแบบและการจัดวางองค์ประกอบในสิ่งพิมพ์
ประเภทและลักษณะเนื้อหาของสิ่งพิมพ์ประเภทและลักษณะเนื้อหาของสิ่งพิมพ์ การออกแบบต้องสัมพันธ์และสอดคล้องกับเนื้อหาที่ นำเสนอ • หนังสือเล่ม • นิตยสารและวารสาร • หนังสือพิมพ์ • สิ่งพิมพ์รูปแบบอื่น ๆ จุลสาร โปสเตอร์ แผ่นพับ แผ่นปลิว
วัตถุประสงค์ในการจัดทำวัตถุประสงค์ในการจัดทำ • วัตถุประสงค์มักขึ้นอยู่กับนโยบายของผู้จัดพิมพ์ และความต้องการของเจ้าของงาน • เพื่อให้ความรู้ • เพื่อแจ้งข่าวสาร • เพื่อความบันเทิง • เพื่อผลทางการค้า ฯลฯ
กลุ่มเป้าหมาย • สิ่งพิมพ์แต่ละประเภทมีกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน • อายุ • อาชีพ • เพศ • การออกแบบต้องคำนึงถึงจิตวิทยาในการรับรู้สารของกลุ่มเป้าหมาย • ตำราเรียนระดับประถมศึกษา / อุดมศึกษา • นิตยสารสำหรับผู้หญิง / ผู้ชาย • วารสารวิชาการ / บันเทิง
ขนาดและรูปแบบมาตรฐานของสิ่งพิมพ์ขนาดและรูปแบบมาตรฐานของสิ่งพิมพ์ • ต้องคำนึงถึงเพื่อให้สอดคล้องกับขนาดของกระดาษมาตรฐาน • เพื่อความประหยัดโดยให้เหลือเศษจากการ ตัดเจียนน้อยที่สุด • กระดาษเป็นปัจจัยหลักในการกำหนดราคาและคุณภาพของสิ่งพิมพ์
ขนาดและรูปแบบมาตรฐานของสิ่งพิมพ์ขนาดและรูปแบบมาตรฐานของสิ่งพิมพ์ • ประเภทของกระดาษมาตรฐาน • กระดาษแผ่น นิยมใช้กับงานพิมพ์ที่มีจำนวนไม่เกินหลายหมื่นชุด มี 2 ขนาด คือ • 43” X 31” (กระดาษหน้ายก) • 33.11” X 46.81” (กระดาษชุด A) • กระดาษม้วน ใช้กับงานพิมพ์ที่มีจำนวนหลาย ๆ หมื่นชุดขึ้นไปวัดจากหน้ากว้างของกระดาษ มีหลายขนาด • 35 “, 31”, 24”
ขนาดและรูปแบบมาตรฐานของสิ่งพิมพ์ขนาดและรูปแบบมาตรฐานของสิ่งพิมพ์ • ยกพิมพ์ กระดาษที่ผ่านการพิมพ์และการพับมาแล้ว โดยกระดาษที่ใช้ในการพิมพ์มีขนาดความกว้างและความยาวเป็นครึ่งหนึ่งของด้านกว้างและด้านยาวกระดาษขนาดมาตรฐาน 43X31” คือมีขนาดเท่ากับ 15.5 X 21.5”
ยกพิมพ์ 15.5” 21.5” เท่ากับหนึ่งหน้า หนังสือพิมพ์ 43” 31”
ขนาดและรูปแบบมาตรฐานของสิ่งพิมพ์ขนาดและรูปแบบมาตรฐานของสิ่งพิมพ์ • หน้ายก จำนวนหน้าทั้งหมดที่ได้จากการพับกระดาษขนาด 15.5 X 21.5” • พับ 1 ครั้ง ได้สิ่งพิมพ์จำนวน 4 หน้า เรียกว่า สิ่งพิมพ์ขนาดสี่หน้ายก (ขนาด 10 1/4 X 15”)
ขนาดและรูปแบบมาตรฐานของสิ่งพิมพ์ขนาดและรูปแบบมาตรฐานของสิ่งพิมพ์ • หน้ายก • พับ 2 ครั้ง ได้สิ่งพิมพ์จำนวน 8 หน้า เรียกว่า สิ่งพิมพ์ขนาดแปดหน้ายก (ขนาด 7 1/2 X 10 1/4”) ประมาณขนาด A4 • พับ 3 ครั้ง ได้สิ่งพิมพ์จำนวน 16 หน้า เรียกว่า สิ่งพิมพ์ขนาดสิบหกหน้ายก (ขนาด 5 X 7 1/2 ”) ขนาด Pocket book
ขนาดและรูปแบบมาตรฐานของสิ่งพิมพ์ขนาดและรูปแบบมาตรฐานของสิ่งพิมพ์ • สิ่งพิมพ์ที่ไม่ได้เย็บเล่มและมีลักษณะเป็นแผ่นพิมพ์ขนาดใหญ่ เช่น โปสเตอร์ ไม่นิยมเรียกเป็นหน้ายก แต่เรียกตามขนาดของกระดาษที่ใช้พิมพ์ เช่น โปสเตอร์ขนาดตัดสอง หรือขนาดตัดสี่
ขนาดและรูปแบบมาตรฐานของสิ่งพิมพ์ขนาดและรูปแบบมาตรฐานของสิ่งพิมพ์ • ขนาดตัด • ขนาดตัดหนึ่ง คือ สิ่งพิมพ์ที่ได้จากการพิมพ์บนกระดาษมาตรฐาน 31 x 43” • ขนาดตัดสอง คือ สิ่งพิมพ์ที่ได้จากการพิมพ์บนกระดาษที่มีขนาดเป็นครึ่งหนึ่งของขนาดมาตรฐาน 31 x 43” คือ มีขนาด 21.5 x 31”
ขนาดตัด ย. 31” ก. 31” ขนาดตัดหนึ่ง ขนาดตัดสอง ก. 21.5” ย. 43” ขนาด ตัดสี่ ย. 21.5” ก. 15.5”
31” ขนาดตัด ขนาดตัดสอง ขนาดตัดหนึ่ง 43” ขนาดตัดสี่ (ยกพิมพ์)
ขนาดและรูปแบบมาตรฐานของสิ่งพิมพ์ขนาดและรูปแบบมาตรฐานของสิ่งพิมพ์ • กระดาษชุด A (31.1” X 46.81”) ได้แก่ A0- A10 • กระดาษสำเร็จ A1 (23 1/2 x 33 1/4”) นิยมใช้พิมพ์กระดาษปิดผนัง • กระดาษสำเร็จ A2 (16 1/2 x 23 1/4”) ใช้พิมพ์โปสเตอร์แผ่นใหญ่ • กระดาษสำเร็จ A3 (11 3/4 x 16 1/2”) ใช้พิมพ์โปสเตอร์แผ่นเล็ก
ขนาดและรูปแบบมาตรฐานของสิ่งพิมพ์ขนาดและรูปแบบมาตรฐานของสิ่งพิมพ์ • กระดาษสำเร็จ A4 (8 1/4 x 11 3/4”) ใช้พิมพ์หนังสือเล่ม นิตยสาร วารสาร สิ่งพิมพ์ทั่วไป • กระดาษสำเร็จ A5 (5 1/2 x 8 1/4”) ใช้เรียกขนาดหนังสือฉบับกระเป๋า (Pocket book) • กระดาษสำเร็จ A6 (4 1/4 x 5 1/2”) ใช้เรียกขนาดกร์าดอวยพร
ขนาดและรูปแบบมาตรฐานของสิ่งพิมพ์ขนาดและรูปแบบมาตรฐานของสิ่งพิมพ์ • กระดาษสำเร็จ A7 (2 3/4 x 4 1/4”) ใช้เรียกขนาดสมุดบันทึก สมุดฉีก นามบัตร และการ์ดขนาดต่างๆ • กระดาษสำเร็จ A8 ( 2 x 2 3/4”) • กระดาษสำเร็จ A9 (1 1/2 x 2”) • กระดาษสำเร็จ A10 (1 x 1 1/2”) • ขนาด A1 จะมีขนาดเป็นสองเท่าของ A2 และ A2 จะเป็น 2 เท่าของ A3 ไล่ไปตามลำดับ
ขนาดกระดาษชุด A A0 A2 A1 A3 A4 A5 A6 A7
ประเภทและคุณลักษณะของกระดาษพิมพ์ประเภทและคุณลักษณะของกระดาษพิมพ์ • มีผลต่อราคา • การเลือกใช้หมึกพิมพ์ • การมองเห็นภาพ/สี
ประเภทและคุณลักษณะของกระดาษพิมพ์ • เกรน (Grain) แนวการจัดเรียงตัวของเส้นใยที่ใช้ในการทำกระดาษ • การพับตามแนวเกรนจะเรียบกว่าการพับแนวขวางเกรน • กระดาษในแนวขวางเกรนจะแข็งกว่าในแนวตามเกรน • ให้แนว MD ขนานกับแนวสันเล่ม เพื่อให้เปิดง่าย
ประเภทและคุณลักษณะของกระดาษพิมพ์ • น้ำหนักมาตรฐาน (Basis weight)คือ น้ำหนักเป็นกรัมต่อตารางเมตรของกระดาษ เช่น 70 กรัม/ตารางเมตร หมายความว่า กระดาษ 1 ตารางเมตรหนัก 70 กรัม
ประเภทและคุณลักษณะของกระดาษพิมพ์ประเภทและคุณลักษณะของกระดาษพิมพ์ • ชนิดของกระดาษ จำแนกตามผิวหน้า • กระดาษเคลือบผิว • กระดาษไม่เคลือบผิว
ประเภทและคุณลักษณะของกระดาษพิมพ์ประเภทและคุณลักษณะของกระดาษพิมพ์ • กระดาษเคลือบผิว • กระดาษที่ได้รับการเพิ่มคุณสมบัติด้านความ ขาวสว่าง ความเรียบ ความทึบแสง ราคาแพง นิยมใช้จัดทำสิ่งพิมพ์ที่ต้องการคุณภาพ ความประณีต สวยงาม ราคาแพง นิตยสารต่าง ๆ • กระดาษอาร์ต
ประเภทและคุณลักษณะของกระดาษพิมพ์ • กระดาษไม่เคลือบผิว • มีคุณสมบัติน้อยกว่ากระดาษเคลือบผิวด้านสี ความขาวสว่าง ความคงทน ความเรียบ แต่ถูกกว่า ใช้จัดพิมพ์สิ่งพิมพ์ที่ไม่ต้องการคุณภาพสูงนัก ไม่จำเป็นต้องเก็บนาน และสามารถจำหน่ายในราคาถูก เช่นหนังสือพิมพ์ หนังสือราคาถูกอื่น ๆ • กระดาษปรู๊ฟ กระดาษปอนด์ กระดาษโรเนียว
ประเภทและคุณลักษณะของกระดาษพิมพ์ • กระดาษแต่ละประเภทมีคุณสมบัติในการดูดซึมหมึกต่างกัน • มีผลต่อความคมชัดของภาพ • ผิวหน้าของกระดาษและลักษณะการแห้งตัวของหมึกพิมพ์บนกระดาษมีผลต่อการมองเห็นภาพสีและการกำหนดเปอร์เซ็นต์การใช้สี
ประเภทและคุณลักษณะของกระดาษพิมพ์ • กระดาษเคลือบผิวดูดซึมหมึกได้น้อยกว่า หมึกแห้งช้า แต่ให้ความคมชัดของเม็ดสกรีนที่ปรากฏบนกระดาษ ทำให้ภาพที่ปรากฏมีความคมชัดด้วย • เม็ดสกรีน คือ จุดที่ปรากฏบนภาพพิมพ์ ใช้ในการแยกน้ำหนักของภาพต้นฉบับ (tone) ให้ปรากฏเป็นจุดขนาดต่าง ๆ กัน
ขั้นตอนการออกแบบและจัดหน้าสิ่งพิมพ์ขั้นตอนการออกแบบและจัดหน้าสิ่งพิมพ์ • การกำหนดรูปแบบและขนาด • การทำร่างหยาบ (Rough layout) • การทำแบบร่างสมบูรณ์ หรือแบบร่างละเอียด (Comprehensive layout) • การทำแบบจำลองของสิ่งพิมพ์สำเร็จ หรือ ดัมมี่ (Dummy)
หนังสือ วารสาร นิตยสาร หนังสือพิมพ์ จุลสาร แผ่นพับ โปสเตอร์ รูปแบบหัวจดหมาย ซองจดหมาย การกำหนดรูปแบบและขนาด • เป็นการหารูปแบบเฉพาะตัวของสิ่งพิมพ์ที่จะออกแบบ เช่น
การทำร่างหยาบ (Rough layout) • เป็นการแปลงรูปแบบความคิดจากข้อแรกสู่รูปแบบที่มองเห็นได้ • มักทำขนาดเล็กว่าของจริงแต่ได้สัดส่วนทั้งรูปร่างและขนาด • อาจทำหลายขนาดเผื่อเลือก • เลือกทำเฉพาะส่วนประกอบที่สำคัญ เช่น หน้าปก หน้าที่ขึ้นบทใหม่ • ควรมีการกำหนดตำแหน่งตัวอักษรและภาพประกอบโดยใช้ตัวอักษรสมมติ (Blind text)
การทำแบบร่างสมบูรณ์ หรือแบบร่างละเอียด (Comprehensive layout) • เป็นการทำร่างหยาบให้สมบูรณ์ขึ้น • มักทำเป็นขนาดเท่าของจริง และใช้วัสดุที่จะใช้ในงานจริง • มีการกำหนดลักษณะ ขนาด และแบบตัวพิมพ์ (typeface)และภาพประกอบ • มีการกำหนดช่วงบรรทัดหรือช่องว่างระหว่างบรรทัด • มีการกำหนดรายละเอียดและเทคนิคพิเศษอื่น ๆ เช่น การกำหนดสี
การทำดัมมี่ (Dummy) • เป็นการทำรูปแบบจำลองของสิ่งพิมพ์สำเร็จเพื่อใช้ควบคุมการพับและการจัดหน้า • นิยมทำในขนาดย่อส่วน • ควรทำแบบละเอียดเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานและ ผู้ออกแบบสื่อความหมายตรงกัน
การทำดัมมี่ (Dummy) • รายละเอียดที่ควรกำหนด ได้แก่ • ขนาดสิ่งพิมพ์ • การลำดับเลขหน้า • การลำดับเนื้อหา • ขนาดและแบบอักษร • จำนวนสีที่ใช้
การทำดัมมี่ (Dummy) • จำนวน ขนาด และรูปแบบของคอลัมน์ในแต่ละหน้า • ตำแหน่งการจัดวางข้อความและภาพประกอบ • การจัดวางตัวอักษร • การเน้นหัวเรื่อง การจัดวางย่อหน้า • ลักษณะการพับ • การเก็บเล่ม / การเข้าเล่ม • รายละเอียดอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการจัดทำสิ่งพิมพ์
ขั้นตอนการผลิตสิ่งพิมพ์ขั้นตอนการผลิตสิ่งพิมพ์ แบ่งเป็น 3 ขั้นตอนใหญ่ • งานก่อนพิมพ์ (Prepress Work) • งานพิมพ์ (Press Work) • งานทำสำเร็จ (Finish or After Press Work)
งานก่อนพิมพ์ (Prepress Work) • ประกอบด้วย • การเรียงพิมพ์ • การพิสูจน์อักษร • การทำอาร์ตเวอร์ค • การถ่ายฟิล์ม • การวางรูปแบบฟิล์ม • การเตรียมแม่พิมพ์
งานพิมพ์ (Press Work) • ได้แก่ ขั้นตอนการถ่ายทอดภาพและข้อความจากแม่พิมพ์ลงบนวัสดุพิมพ์โดยใช้เครื่องพิมพ์ • ระบบการพิมพ์ที่ใช้ในปัจจุบัน มี 4 ระบบ คือ • ระบบการพิมพ์พื้นนูน • ระบบการพิมพ์พื้นราบ • ระบบการพิมพ์พื้นลึก • ระบบการพิมพ์ซิลค์สกรีน (พื้นฉลุลายผ้า)
งานพิมพ์ (Press Work) • ระบบการพิมพ์พื้นนูน(Relief Printing) ระบบการพิมพ์ที่แม่พิมพ์มีส่วนที่จะใช้พิมพ์เป็นภาพนูนสูงขึ้นมาจากพื้นแม่พิมพ์ ส่วนที่นูนสูงขึ้นมาเมื่อได้รับหมึกแล้วจะสามารถพิพม์ลงบนกระดาษได้โดยตรง มี 2 ระบบ • ระบบเลตเตอร์เพรส(Letterpress) • ระบบเฟลกโซกราฟฟี(Flexography)
งานพิมพ์ (Press Work) • ระบบเลตเตอร์เพรส (Letterpress) • แม่พิมพ์จะหล่อขึ้นด้วยโลหะผสม (alloy) การเรียงพิมพ์จัดทำโดยการนำตัวอักษรมาเรียงกันทีละตัวจนได้ข้อความตามต้องการ แล้วนำไปใช้พิมพ์บน เครื่องพิมพ์ได้โดยตรง • เมื่อคลึงหมึกลงไป หมึกจะสัมผัสเฉพาะส่วนที่สูงขึ้นมาเท่านั้น เมื่อกดกระดาษที่จะใช้พิมพ์ลงไป หมึกจะติดกับกระดาษพิมพ์ เกิดเป็นภาพพิมพ์โดยตรง
งานพิมพ์ (Press Work) • ระบบเลตเตอร์เพรส (Letterpress) • เครื่องพิมพ์ชนิดแท่นพลาเทน (Platen press) • เครื่องพิมพ์ชนิดแท่นนอน ( Flat-bed cylinder press) • เครื่องพิมพ์ชนิดโรตารี (Web-fed rotary letter press)