1 / 37

พระราชบัญญัติการฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ. 2545

พระราชบัญญัติการฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ. 2545. เหตุผลในการประกาศใช้. ปรับปรุงพระราชบัญญัติการฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ. 2517 เพื่อให้การคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของประชาชนที่เป็นสมาชิกสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารของคณะกรรมการสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์.

abra-barker
Download Presentation

พระราชบัญญัติการฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ. 2545

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. พระราชบัญญัติการฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ. 2545

  2. เหตุผลในการประกาศใช้ ปรับปรุงพระราชบัญญัติการฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ. 2517 เพื่อให้การคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของประชาชนที่เป็นสมาชิกสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารของคณะกรรมการสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์

  3. ความหมายของการฌาปนกิจสงเคราะห์ความหมายของการฌาปนกิจสงเคราะห์ “การฌาปนกิจสงเคราะห์” หมายความว่า กิจการที่บุคคลหลายคนตกลงเข้าร่วมกันเพื่อทำการสงเคราะห์ซึ่งกันและกันในการจัดการศพ หรือจัดการศพและสงเคราะห์ครอบครัวของบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ตกลงร่วมกันนั้น ซึ่งถึงแก่ความตายและมิได้ประสงค์จะหากำไรหรือรายได้เพื่อแบ่งปันกัน

  4. นายทะเบียนสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์นายทะเบียนสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ นายทะเบียนกลาง (ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว) นายทะเบียนประจำท้องที่ กรุงเทพฯ ประจำท้องที่อื่น

  5. อำนาจหน้าที่นายทะเบียนกลาง(ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว)อำนาจหน้าที่นายทะเบียนกลาง(ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว) 1. ประกาศการจดทะเบียนและการเลิกสมาคมฯ ในราชกิจจานุเบกษา (ม.12 และ ม.51) 2.กำหนดแบบ 2.1 ทะเบียนสมาชิก(ม. 36)

  6. อำนาจหน้าที่ (ต่อ) 2.2กำหนดแบบ (ม.37) - สมุดชำระเงินประจำตัวสมาชิก- บัญชีชำระเงินประจำตัวสมาชิก- บัญชีแสดงฐานะการเงิน- หลักฐานการรับจ่ายเงิน

  7. อำนาจหน้าที่ (ต่อ) 2.3 กำหนดแบบ ตาม ม. 38 - บัญชีรายได้ รายจ่าย - บัญชีงบดุล 2.4 กำหนดแบบคำขอ ตาม ม. 40 เพื่อ - ขอตรวจเอกสารเกี่ยวกับสมาคม - ขอคัดเอกสาร - ขอให้คัดรายการและรับรองสำเนาเอกสาร

  8. อำนาจหน้าที่ (ต่อ) 3. ควบคุม กำกับ ดูแลการฌาปนกิจสงเคราะห์ของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรวิชาชีพซึ่งเป็นนิติบุคคลที่อยู่ภายใต้การกำกับของรัฐ (ม.49 และ ม.50)

  9. นายทะเบียนสมาคมฌาปนกิจประจำท้องที่ มีอำนาจหน้าที่ 1. รับหรือไม่รับจดทะเบียนตั้งสมาคมฯ (ม.10 และ ม.11) 2. รับหรือไม่รับจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของสมาคมฯ (ม. 16) 3. ออกใบแทนใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน (ม. 18) 4.รับหรือไม่รับจดทะเบียนแต่งตั้งหรือเปลี่ยนตัวกรรมการสมาคมฯ (ม. 20)

  10. 5.เข้าร่วมประชุมใหญ่และชี้แจงแสดงข้อคิดเห็นแต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน (ม. 29) 6. สั่งให้เพิกถอนมติของที่ประชุม เมื่อสมาชิกหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ร้องขอ (ม. 42) 7.ร้องทุกข์หรือฟ้องคดีโดยพนักงานอัยการว่าต่างให้สมาคม (ม. 43) 8. ออกคำสั่งเป็นหนังสือ (ม. 44) - ให้ระงับการปฏิบัติที่เป็นเหตุให้เกิดข้อบกพร่อง - ให้แก้ไขข้อบกพร่อง - ให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ - ให้คณะกรรมการหรือกรรมการพ้นจากตำแหน่ง

  11. 9. แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นชั่วคราวแทนคณะกรรมการที่พ้นจากตำแหน่ง (ม. 45) 10. แต่งตั้งสมาชิกเป็นกรรมการแทนกรรมการที่พ้นจากตำแหน่ง (ม. 46) 11. อำนาจในการปฏิบัติงาน (ม. 47) - เข้าไปในสำนักงานของสมาคมฯในเวลากลางวัน - สั่งกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ส่งหรือแสดงบัญชีและเอกสาร - สอบถามกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ หรือเรียกบุคคลดังกล่าวมาสอบถามข้อเท็จจริง

  12. 12. สั่งให้เลิกสมาคมฯ (ม. 51(2) ประกอบ ม. 52) 13. ให้ความเห็นชอบในการตั้งผู้ชำระบัญชีหรือแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีและกำหนดค่าตอบแทนผู้ชำระบัญชี (ม. 56) 14. ตั้งผู้สอบบัญชีเพื่อตรวจสอบงบดุล (ม. 59)

  13. การจัดตั้งสมาคมการฌาปนกิจสงเคราะห์การจัดตั้งสมาคมการฌาปนกิจสงเคราะห์ ผู้เริ่มก่อการจัดตั้งสมาคมฯไม่น้อยกว่า 7 คน (คุณสมบัติตาม กม.กำหนดยื่นคำขอต่อนายทะเบียนสมาคมฯประจำท้องที่ (ม. 10) • เอกสารที่ยื่นจัดตั้งสมาคม อย่างละ 3 ฉบับ • แบบคำขอจดทะเบียนสมาคมฯ (ส.ฌ.1) • แบบประวัติของผู้เริ่มก่อการสมาคมฯ(ส.ฌ. 2) ,รูปถ่าย • ข้อบังคับของสมาคมฯ • สำเนาบัตรประชาชน ทะเบียนบ้านของผู้เริ่มก่อการ • แผนผังที่ตั้งสำนักงาน • เอกสารอื่น ๆ ถ้ามี

  14. นายทะเบียนสมาคมฯ ประจำท้องที่ตรวจสอบเอกสารหลักฐาน (ม.11) กรณีไม่ถูกต้องครบถ้วน นายทะเบียนสั่งให้แก้ไขเปลี่ยนแปลง กรณีถูกต้องครบถ้วน -รับจดทะเบียน -ออกใบสำคัญ(แบบส.ฌ.3) -แก้ไขให้ถูกต้อง -รับจดทะเบียน -ออกใบสำคัญ(แบบส.ฌ.3) ไม่แก้ไขภายใน 30 วัน ไม่รับจดทะเบียนและแจ้งไปยังผู้ขอใน 30 วัน นายทะเบียนกลางประกาศการจดทะเบียนในราชกิจจาฯ (ม. 12) ปลัดกระทรวงฯวินิจฉัยภายใน 60 วัน คำวินิจฉัยเป็นที่สุด ผู้ขอมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งต่อปลัดฯยื่นต่อนายทะเบียน ภายใน 30 วัน

  15. ขั้นตอนการสมัครสมาชิกสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ขั้นตอนการสมัครสมาชิกสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ 1. ผู้สมัครมีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนด (ม. 14) - เป็นผู้บรรลุนิติภาวะ -ไม่เป็นบุคคลล้มละลายหรือไร้ความสามารถ - สุขภาพแข็งแรง 2. เตรียมเอกสารหลักฐาน เช่น - สำเนาบัตรประชาชน - สำเนาทะเบียนบ้าน - ใบรับรองแพทย์

  16. หน้าที่สมาชิกสมาคมฯ • ระบุชื่อผู้จัดการศพและผู้รับเงินสงเคราะห์ในใบสมัครให้ชัดเจน • เข้าร่วมประชุมใหญ่สามัญประจำปี • ออกเสียงลงมติในที่ประชุมใหญ่ของสมาคมฯ • จ่ายเงินค่าบำรุงให้สมาคมฯ เป็นรายเดือนหรือรายปี • จ่ายเงินสงเคราะห์ทุกครั้งเมื่อสมาชิกอื่นเสียชีวิต • จ่ายเงินสงเคราะห์ล่วงหน้าตามข้อบังคับของสมาคม • แจ้งการย้ายที่อยู่ ให้สมาคมฯ ทราบ

  17. การดำเนินกิจการของสมาคม 1. สมาคมฯ ต้องมีคณะกรรมการจำนวนไม่น้อยกว่า 7 คน อย่างน้อยต้องมีตำแหน่ง ดังนี้ (ม.21) - นายกสมาคม 1 คน - เลขานุการ 1 คน - เหรัญญิก 1 คน - ตำแหน่งอื่น ๆ ตามที่สมาคมเห็นสมควร 2. คณะกรรมการ มีวาระการอยู่ในตำแหน่งคราวละ 2 ปี และการพ้นจากตำแหน่งให้เป็นไปตามข้อบังคับของสมาคมฯ

  18. 3. คณะกรรมการของสมาคมฯ มีหน้าที่ดำเนินกิจการ ดังนี้ - จัดทำเอกสารการเงิน - จัดทำทะเบียนสมาชิก - จัดให้มีการประชุมใหญ่ - เรียกเก็บเงินสงเคราะห์และนำไปจ่ายให้แก่ผู้รับ เงินสงเคราะห์ของสมาชิกที่เสียชีวิต - จัดการรักษาทรัพย์สินทั้งหมดของสมาคมเมื่อเลิกสมาคม - เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากดอกเบี้ยเงินฝาก

  19. รายได้ของสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์รายได้ของสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ - เงินค่าสมัคร เรียกเก็บจากสมาชิกได้ในการสมัครครั้งแรก ครั้งเดียว ไม่เกิน คนละ 100 บาท (ม.30 วรรคสอง) - เงินค่าบำรุง ไม่เกินคนละ 5 บาทต่อเดือน หรือ 50 บาทต่อปี (ม.30 วรรคสาม) - เงินอื่น ๆ เช่น ดอกเบี้ย เงินบริจาค

  20. รายได้ของสมาคมฯ (ต่อ) - เงินที่หักจากเงินสงเคราะห์ตาม ม.31 มีดังนี้ - ถ้าสมาชิกไม่เกิน 2,500คน หักได้ไม่เกินร้อยละ 9 - ถ้าสมาชิกเกิน 2,500คน แต่ไม่เกิน 5,000คน หักได้ไม่เกินร้อยละ 8 - ถ้าสมาชิกเกิน 5,000คน แต่ไม่เกิน 10,000คน หักได้ไม่เกินร้อยละ 6 - ถ้าสมาชิกเกิน 10,000คน หักได้ไม่เกินร้อยละ 4

  21. อัตราการเรียกเก็บเงินสงเคราะห์ (ม.30วรรคสี่) - ให้เรียกเก็บได้ตามจำนวนสมาชิกที่ตายตามอัตราที่กำหนดในข้อบังคับ แต่ต้องไม่เกินศพละ ดังนี้ 1) จำนวน 100 บาท สำหรับสมาคมฯ ที่มีสมาชิกไม่เกิน 2,500 คน 2) จำนวน 50 บาท สำหรับสมาคมฯ ที่มีสมาชิกเกิน 2,500 คน แต่ไม่เกิน 5,000 คน 3) จำนวน 30 บาท สำหรับสมาคมฯ ที่มีสมาชิกเกิน 5,000 คน แต่ไม่เกิน 10,000 คน 4) จำนวน 20 บาท สำหรับสมาคมฯ ที่มีสมาชิกเกิน 10,000 คน

  22. การประชุมใหญ่ของสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์การประชุมใหญ่ของสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ - ต้องส่งหนังสือนัดประชุมให้สมาชิกทุกคนก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน (ม.24) - ต้องมีสมาชิกไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมด หรือไม่น้อยกว่า 100คน จึงเป็นองค์ประชุม (ม.25) - สมาชิกคนหนึ่ง มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน (ม. 26) - สมาชิกสามารถมอบฉันทะเป็นหนังสือให้ผู้อื่นซึ่งมิใช่สมาชิกมาประชุม และออกเสียงแทนได้ (ม. 27) - ถ้ากรรมการหรือสมาชิกมีส่วนได้เสียหรือขัดกับประโยชน์ได้เสียของสมาคมฯ จะออกเสียงลงคะแนนในเรื่องนั้นมิได้ (ม.28)

  23. การควบคุมสมาคมฯ - สมาคมฯ ต้องจัดทำทะเบียนสมาชิกตามแบบที่นายทะเบียนกลางกำหนด และต้องส่งสำเนาทะเบียนสมาชิกในส่วนที่เปลี่ยนแปลง ต่อนายทะเบียนทุก 3 เดือน ภายใน 30 วันนับแต่วันสิ้นเดือนนั้น (ม.36) สมาคมฯ ต้องจัดให้มีสมุดชำระเงินประจำตัวสมาชิก บัญชีชำระเงินประจำตัวสมาชิก บัญชีแสดงฐานะการเงิน หลักฐานการรับจ่ายเงิน เก็บรักษาเอกสารประกอบบัญชี และรายงานจำนวนเงินที่มีอยู่ในมือ และในธนาคารต่อนายทะเบียน (ม.37) สมาคมฯ ต้องทำบัญชีรายได้ รายจ่าย และบัญชีงบดุล และส่งสำเนางบดุลที่อนุมัติโดยที่ประชุมใหญ่ต่อนายทะเบียนภายใน 30 วันนับแต่วันที่ที่ประชุมใหญ่อนุมัติ (ม.38)

  24. - ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ที่ได้เรียก หรือได้ประชุม หรือได้ลงมติฝ่าฝืนต่อกฎหมายหรือข้อบังคับของสมาคมฯ (ม. 42) การควบคุมสมาคม(ต่อ) - ให้นายทะเบียนมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้คณะกรรมการหรือกรรมการระงับการปฏิบัติ หรือให้แก้ไข หรือให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราว หรือให้พ้นจากตำแหน่ง ในกรณีที่กระทำ หรืองดเว้นกระทำการในการปฏิบัติหน้าที่จะทำให้เสื่อมเสียประโยชน์ของสมาคมฯ (ม. 44) - ให้นายทะเบียนร้องทุกข์หรือฟ้องคดีได้ ถ้าสมาคมฯ ไม่ดำเนินการกรณีที่กรรมการหรือเจ้าหน้าที่สมาคมฯ ทำให้เกิดความเสียหายแก่สมาคมฯ โดยให้พนักงานอัยการว่าต่างให้ (ม. 43) - ให้นายทะเบียนแต่งตั้งคณะกรรมการชั่วคราวแทนคณะกรรมการที่นายทะเบียนสั่งให้พ้นจากตำแหน่งเพื่อจัดประชุมใหญ่เลือกตั้งคณะกรรมการขึ้นใหม่ทั้งคณะให้เสร็จภายใน 45 วันนับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้ง (ม. 45)

  25. การเลิกสมาคม สมาคมฯ ย่อมเลิกด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง (ม. 51) ดังนี้ - ที่ประชุมใหญ่ลงมติให้เลิก - นายทะเบียนสั่งให้เลิก โดยอาศัยเหตุตาม ม. 52 - ศาลสั่งให้เลิกโดยอาศัยเหตุตาม ม. 54 โดยเมื่อเลิกแล้วให้นายทะเบียนกลางประกาศเลิกในราชกิจจานุเบกษา

  26. การอุทธรณ์การสั่งเลิกสมาคมฯ (ม. 53) ในกรณีที่นายทะเบียนสั่งเลิกสมาคมฯ กรรมการจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งมีสิทธิยื่นอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อนายทะเบียนภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง ให้ปลัดกระทรวงวินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน นับแต่วันยื่นอุทธรณ์ คำวินิจฉัยของปลัดกระทรวงให้เป็นที่สุด

  27. 1. ตั้งผู้ชำระบัญชีตามมติของที่ประชุมใหญ่ของสมาคมฯ 2. เสนอให้นายทะเบียนเห็นชอบ 3. ในกรณีที่ประชุมใหญ่ไม่สามารถตั้งผู้ชำระบัญชี หรือนายทะเบียนไม่เห็นชอบ ให้นายทะเบียนแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีเอง 4. กรณีสมาชิกไม่น้อยกว่าสองในสามร้องขอต่อนายทะเบียน นายทะเบียนจะแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีคนใหม่แทนก็ได้ตามที่เห็นสมควร 5. ให้นายทะเบียนจดทะเบียนผู้ชำระบัญชีและปิดประกาศชื่อไว้ที่สำนักงานและที่ว่าการอำเภอ ภายใน 14 วัน นับแต่วันจดทะเบียนผู้ชำระบัญชี การชำระบัญชี (ม. 56)

  28. การชำระบัญชี (ม.57, 58, 59 ) (ต่อ) 6. ให้ผู้ชำระบัญชีดำเนินการ ดังนี้ 1) ปิดประกาศการเลิกสมาคมฯ ไว้ที่สำนักงานและที่ว่าการอำเภอ และ 2) ประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ หรือวิทยุประจำท้องที่ และ 3) แจ้งเป็นหนังสือให้เจ้าหนี้ทุกคนทราบ 4) เรียกให้คณะกรรมการหรือเจ้าหน้าที่สมาคมส่งมอบทรัพย์สิน สมุดบัญชี และสิ่งอื่นๆ

  29. การชำระบัญชี (ม.57, 58, 59 ) (ต่อ) 5) ทำงบดุลของสมาคมส่งให้ผู้สอบบัญชี 6) ร้องขอให้นายทะเบียนตั้งผู้สอบบัญชี (กรณีจำเป็น) 7) เสนองบดุลต่อที่ประชุมใหญ่เพื่ออนุมัติ 8) เสนองบดุลต่อนายทะเบียน

  30. กรณีมีทรัพย์สินเหลืออยู่หลังจากชำระบัญชี (ม.60) ห้ามแบ่งให้แก่สมาชิกของสมาคม ต้องโอนไปให้แก่สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์อื่น หรือ โอนให้แก่นิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการกุศลสาธารณะตามที่ระบุในข้อบังคับ หรือ โอนตามมติของที่ประชุมใหญ่ ในกรณีที่ไม่ได้ระบุไว้ในข้อบังคับหรือที่ประชุมใหญ่มิได้มีมติไว้ ให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของแผ่นดิน

  31. ทั้งนี้ นอกจากที่กำหนดไว้ดังกล่าวข้างต้นแล้ว ให้นำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วย การชำระบัญชี ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัทจำกัด มาใช้บังคับโดยอนุโลม (ม.55)

  32. การฌาปนกิจสงเคราะห์ของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรวิชาชีพซึ่งเป็นนิติบุคคลที่อยู่ภายใต้การกำกับของรัฐ (การฌาปนกิจสงเคราะห์ภาครัฐ) 1. ให้ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรวิชาชีพซึ่งเป็นนิติบุคคลที่อยู่ภายใต้การกำกับของรัฐ สามารถดำเนินกิจการฌาปนกิจสงเคราะห์ได้เช่นเดียวกับองค์กรเอกชน แต่ต้องปฏิบัติตามระเบียบที่กำหนด (ม. 49)

  33. การฌาปนกิจสงเคราะห์ของหน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจและองค์การวิชาชีพซึ่งเป็นนิติบุคคลที่อยู่ภายใต้การกำกับของรัฐ (ต่อ) 2. ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กำหนดระเบียบเกี่ยวกับการฌาปนกิจสงเคราะห์ภาครัฐ โดยถือว่าเป็นงานที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์การวิชาชีพซึ่งเป็นนิติบุคคล ที่อยู่ภายใต้การกำกับของรัฐ (ม.50)

  34. บทเฉพาะกาล (ม.70, 71) ให้สมาคมที่จดทะเบียนตาม พ.ร.บ. ปี 2517 ถือเป็นสมาคมที่จดทะเบียนตาม พ.ร.บ. นี้ ให้การฌาปนกิจสงเคราะห์ของส่วนราชการ องค์การของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจที่ขึ้นทะเบียนตาม พ.ร.บ. ปี 2517 เป็นการฌาปนกิจสงเคราะห์ภาครัฐตาม พ.ร.บ. นี้

  35. บทเฉพาะกาล (ม.72) กรณีที่รัฐวิสาหกิจใดที่ดำเนินกิจการการฌาปนกิจสงเคราะห์ ได้เปลี่ยนทุนเป็นหุ้นและจัดตั้งเป็นบริษัทจำกัด หากประสงค์จะดำเนินกิจการฌาปนกิจสงเคราะห์ ให้ไปจดทะเบียนดำเนินกิจการในรูปของสมาคมภายใน 60 วัน นับแต่วันจดทะเบียนบริษัท ให้โอนบรรดาสิทธิหน้าที่ และความรับผิดชอบของการฌาปนกิจสงเคราะห์เดิม ไปเป็นของสมาคมที่จดทะเบียนขึ้นใหม่ หากไม่ดำเนินการดังกล่าวภายในกำหนด ให้ถือว่าเป็นการเลิกการฌาปนกิจสงเคราะห์ของรัฐวิสาหกิจนั้น

  36. อัตราค่าธรรมเนียม • คำขอจดทะเบียนสมาคมฯ ฉบับละ 100 บาท • คำขอจดทะเบียนแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อบังคับของสมาคมฯ ฉบับละ 50 บาท • คำขอจดทะเบียนตั้งหรือเปลี่ยนแปลงตัวกรรมการของสมาคมฯ ฉบับละ 50 บาท • คำขอตรวจหรือคัดเอกสารเกี่ยวกับสมาคมฯ ฉบับละ 50 บาท • คำขอเกี่ยวกับสมาคมฯ อย่างอื่น ฉบับละ 25 บาท • ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนสมาคมฯ ฉบับละ 500 บาท • ใบแทนใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนสมาคมฯ ฉบับละ 100 บาท • การรับรองสำเนาเอกสาร ฉบับละ 25 บาท

  37. จบการนำเสนอ โดย... กองนิติการ สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โทร. 0 2306 8688-93 แฟกซ์0 2306 8690 www.m-society.go.th

More Related