1 / 66

หลักการถนอมและแปรรูปอาหารเบื้องต้น

หลักการถนอมและแปรรูปอาหารเบื้องต้น. อาจารย์เมทินี มาเวียง สาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี metinee@agri.ubu.ac.th. ถนอมอาหาร ( Food Preservation ).

abia
Download Presentation

หลักการถนอมและแปรรูปอาหารเบื้องต้น

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. หลักการถนอมและแปรรูปอาหารเบื้องต้นหลักการถนอมและแปรรูปอาหารเบื้องต้น อาจารย์เมทินี มาเวียง สาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี metinee@agri.ubu.ac.th

  2. ถนอมอาหาร ( Food Preservation) • หมายถึง การเก็บรักษาอาหารโดยวิธีต่าง ๆ ให้อยู่ในสภาพที่ใกล้เคียงกับของสดมากที่สุด แต่ยังคงคุณลักษณะทางคุณภาพซึ่งเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค

  3. การแปรรูปอาหาร ( Food Processing) • หมายถึง การนำอาหารมาผ่านกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีลักษณะตามต้องการ มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค และบริโภคได้อย่างปลอดภัย อีกทั้งยังเป็นการเตรียมอาหารให้เหมาะกับการบริโภค และอาจช่วยให้สามารถเก็บรักษาอาหารไว้ได้ระยะหนึ่งด้วย

  4. ความสำคัญของการถนอมอาหารความสำคัญของการถนอมอาหาร • ช่วยบรรเทาความขาดแคลนอาหาร เช่นการเก็บรักษา และแปรรูปอาหารในยามสงคราม เกิดภัยธรรมชาติ เกิดภาวะแห้งแล้งผิดปกติ • ช่วยให้เกิดการกระจายอาหาร เพราะในบางประเทศไม่สามารถผลิตอาหารให้เพียงพอต่อความต้องการของประชากรได้ จึงจำเป็นต้องอาศัยอาหารจากแหล่งผลิตอื่น • ช่วยให้มีอาหารบริโภคนอกฤดูกาล เช่นเมื่อพ้นฤดูการผลิตของผลิตผลเกษตรนั้นๆ ไปแล้ว ก็ยังสามารถนำผลิตภัณฑ์ที่เก็บไว้มาบริโภคได้ • ใช้อาหารเหลือให้เกิดประโยชน์ เช่น ในกระบวนการแปรรูปผลผลิตการเกษตรจะมีวัตถุดิบเหลือทิ้ง ซึ่งเราสามารถนำส่วนที่เหลือนั้นมาแปรรูปเก็บไว้เป็นอาหารได้

  5. ความสำคัญของการถนอมอาหารความสำคัญของการถนอมอาหาร • ช่วยให้เกิดความสะดวกในการขนส่ง โดยที่อาหารไม่เน่าเสีย สามารถพกพาไปที่ห่างไกลได้ • ช่วยยืดอายุการเก็บอาหารไว้ให้ได้นาน เพราะอาหารที่ผ่านการแปรรูปเพื่อการถนอมอาหารไว้จะมีอายุการเก็บที่ยาวนานกว่าอาหารสด • ช่วยเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร และลดปัญหาผลผลิตล้นตลาด

  6. จุดมุ่งหมายของการถนอมอาหารจุดมุ่งหมายของการถนอมอาหาร 1. ป้องกันหรือยืดเวลาการย่อยสลายอาหารที่เกิดจากจุลินทรีย์ เช่น1.1 รักษาอาหารให้ปลอดเชื้อ1.2 กำจัดจุลินทรีย์ที่มีอยู่ออกไป เช่น การล้างหรือกรองออก1.3 ลดการเจริญและกิจกรรมของจุลินทรีย์ เช่น ใช้อุณหภูมิต่ำ ทำให้แห้ง หรือเก็บอาหารไว้ในสภาวะไร้ออกซิเจน1.4 ทำลายจุลินทรีย์ เช่น การให้ความร้อน การฉายรังสี 2. ป้องกันหรือยืดเวลาการสลายตัวที่เกิดขึ้นเองของอาหาร2.1 ทำลายหรือยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ในอาหาร2.2 เติมสารเคมี เช่น เติมสารป้องกันการเกิดออกซิเดชั่นในอาหาร 3. ป้องกันความเสียหายของอาหารจากแมลง

  7. วิธีการถนอมอาหาร • การถนอมอาหารโดยใช้ความร้อนHeat • การถนอมอาหารโดยใช้ความเย็นLow Temperature • การถนอมอาหารโดยการทำให้แห้งDrying • การถนอมอาหารโดยการหมักดองFermentation • การถนอมอาหารโดยการใช้สารเคมี Chemicals

  8. หลักการถนอมอาหาร • การถนอมอาหารโดยการใช้รังสี Radiation (FoodIrradiation) • การถนอมอาหารโดยการรมควัน Woodsmoke Process • การใช้หลายๆวิธีร่วมกัน (Combination)เช่น ใช้ความร้อนแล้วนำมาเก็บเย็น • วิธีอื่น ๆ เช่น การทำข้น (concentration), การผ่านเยื่อกรองหรือแผ่นกรอง (membrane & filtration)

  9. 1. การถนอมอาหารโดยใช้ความร้อน(Food Preservation byHeat) • ความร้อนจะสามารถทำลายจุลินทรีย์ และเอนไซม์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติในอาหารได้ แต่ก็จะทำให้โปรตีนเปลี่ยนสภาพไปด้วย

  10. ลักษณะของการใช้ความร้อนลักษณะของการใช้ความร้อน

  11. การใช้ความร้อนระดับพลาสเจอร์ไรซ์ (pasteurization) • เป็นกระบวนการให้ความร้อนที่ไม่รุนแรง โดยอุณหภูมิที่ใช้จะต่ำกว่า 100 oC เพื่อยืดอายุของผลิตภัณฑ์อาหารให้นานหลายวัน • เช่น นม น้ำผลไม้ • วิธีนี้สามารถใช้ในการถนอมอาหารได้ โดยการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ และทำลายจุลินทรีย์ที่มีความทนทานต่อความร้อนต่ำ เช่น แบคทีเรียที่ไม่สร้างสปอร์ ยีสต์ และรา และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคุณค่าของอาหารน้อยที่สุด

  12. การใช้ความร้อนระดับพลาสเจอร์ไรซ์ แบ่งได้ 2 วิธี • Low temperature long time (LTLT) เป็นวิธีที่ให้ความร้อนต่ำประมาณ 63 oC นาน 30 นาที แล้วทำให้เย็นทันที • High temperature short time (HTST) เป็นวิธีที่ให้ความร้อนสูงประมาณ 72 oC นาน 15 วินาที แล้วทำให้เย็นทันที

  13. การใช้ความร้อนระดับสเตอริไลซ์ (sterilization) • เป็นการทำให้อาหารปราศจากเชื้อโรคที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค และทำลายจุลินทรีย์ หรือสปอร์ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดการเน่าเสีย ซึ่งสามารถที่จะเจริญเติบโตในอาหารได้ที่อุณหภูมิในการเก็บรักษาตามปกติ และไม่ต้องแช่เย็น • โดยความร้อนในการสเตอริไลซ์จะสูงกว่าจุดเดือด คือประมาณ100-130 oC • วิธีนี้จึงเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูง เช่น การทำอาหารกระป๋อง การสเทอริไลซ์น้ำนมโดยกระบวนการ UHT - Ultra High Temperature)โดยจะใช้อุณหภูมิ 135-150 oCเป็นเวลา1-4วินาที

  14. Commercial sterility คือการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ในระดับการค้า ซึ่งหมายถึงการใช้ความร้อนในกระบวนการแปรรูปอาหารที่สามารถทำลายเชื้อ และ สปอร์ของ C. botulinum

  15. การผลิตอาหารกระป๋อง (canning)

  16. ขั้นตอนการทำอาหารกระป๋อง (8 ขั้นตอน) • การเตรียมวัตถุดิบ • การล้าง ลวก (blanching) • การบรรจุ (filling) • การไล่อากาศ (exhausting) • การปิดผนึก (seaming) hermetically seal

  17. ขั้นตอนการทำอาหารกระป๋องขั้นตอนการทำอาหารกระป๋อง • การฆ่าเชื้อ (cooker) • ต้มในน้ำเดือด • ใช้หม้อฆ่าเชื้อ (retort)still retorts, agitation retorts, pouch canning • การทำให้เย็น (cooling) • การปิดฉลากและบรรจุหีบห่อ (labeling & packing)

  18. ขนาดกระป๋องที่นิยมใช้ในประเทศไทยในปัจจุบันขนาดกระป๋องที่นิยมใช้ในประเทศไทยในปัจจุบัน

  19. Thermal processing • Inactivate microbes causingspoilageorillness • hasnoresidual effect, so recontamination must be prevented • Thermal destruction is exponential and is measured by thedecimal reduction time: D

  20. การหาค่าความต้านทานความร้อนการหาค่าความต้านทานความร้อน • ในการศึกษาหาค่าความต้านทานความร้อนของจุลินทรีย์ จะใช้พารามิเตอร์ D-value เป็นตัวบอกค่าความต้านทานความร้อน โดยความหมายของ D-value คือ ระยะเวลาที่มีผลทำให้จำนวนจุลินทรีย์ลดลงจากเดิมร้อยละ 90 หรือปริมาณสารเริ่มต้นลดลงจากเดิมร้อยละ 90 ที่ระดับอุณหภูมิหนึ่งๆ ซึ่งพูดอีกนัยนึงก็คือ เป็นเวลาที่ทำให้จุลินทรีย์เริ่มต้นหรือปริมาณสารเริ่มต้นลดลงไป 1log-cycle http://www.geocities.com/oowen10/thermal_proc/thermal_resistance.htm

  21. D-value (Decimal reduction time) • หมายถึง ระยะเวลาเป็นนาทีที่ใช้ในการทำลายหรือลดจำนวนแบคทีเรียลง 90 % หรือ 1 log cycle reduction จากแบคทีเรียตั้งต้นภายใต้อุณหภูมิที่กำหนดเฉพาะ

  22. การตายของจุลินทรีย์เนื่องจากความร้อน เป็นระบบต่อเนื่องเมื่ออุณหภูมิและ/หรือ เวลาเพิ่มขึ้น โดยพบว่าเชื้อจุลินทรีย์มีลักษณะการตายในลำดับอนุกรมเรขาคณิต • เขียนในกระดาษ semilog ที่พลอทระหว่างจำนวนจุลินทรีย์ใน log scale และเวลา ในสเกลธรรมดา ได้เป็นเส้นตรง

  23. เมื่อเราพลอทอัตราการรอดชีวิตของเชื้อจุลินทรีย์เป้าหมายบนกระดาษ semilog จะได้กราฟแสดงความสัมพันธ์ที่เรียกว่า "Survivor curve" หรือเรียกว่า"Thermal death time curve" ปกติจะได้กราฟเส้นตรง

  24. "Survivor curve" หรือเรียกว่า "Thermal death time curve" D = 10 min

  25. 2. การถนอมอาหารโดยใช้ความเย็น(Food Preservation byLow Temperature) • เป็นการลดอุณหภูมิของอาหารลงให้ต่ำกว่า 10 oC เพื่อทำให้กระบวนการ metabolism การเจริญของจุลินทรีย์รวมทั้งกิจกรรมของเอนไซม์เกิดได้ช้า จึงเป็นการยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ ชะลอการเน่าเสีย และลดอัตราการเปลี่ยนแปลงทางเคมีทำให้สามารถยืดอายุการเก็บรักษาอาหารได้ระยะหนึ่ง

  26. อุณหภูมิในการถนอมอาหารโดยใช้ความเย็น แบ่งเป็น 2 ระดับ 2.1 การแช่เย็น (chilling) 2.2 การแช่เยือกแข็ง (freezing)

  27. 2.1 การแช่เย็น (chilling) • เป็นกรรมวิธีที่ควบคุมอุณหภูมิของอาหารไว้ที่อุณหภูมิ -1 oC ถึง 8 oC เพื่อลดอัตราการเกิดปฏิกิริยาทางชีวเคมี และการเปลี่ยนแปลงเนื่องจาก จุลินทรีย์ วิธีนี้จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคุณค่าทางโภชนาการ และคุณสมบัติทางประสาทสัมผัสน้อยที่สุด โดยมักจะใช้การแช่เย็นควบคู่กับกรรมวิธีแปรรูปอื่นๆ เช่น การหมัก การฉายรังสี • การแช่เย็น (Chilling)bacterial growth ช้าลง,enzyme reaction ช้า • ควบคุมความชื้น, อุณหภูมิ การหมุนเวียนของอากาศ จะยืดอายุการเก็บได้นานขึ้น เป็นการเก็บชั่วคราวเท่านั้น

  28. 2.2 การแช่เยือกแข็ง (freezing) • การแช่เยือกแข็งเป็นกรรมวิธีการลดอุณหภูมิของอาหารให้ต่ำลงกว่าจุดเยือกแข็ง • โดยส่วนของน้ำจะเปลี่ยนสภาพไปเป็นผลึกน้ำแข็ง การตรึงน้ำกับน้ำแข็ง และผลจากความเข้มข้นของตัวทำละลายในน้ำที่ยังไม่แข็งตัวจะทำให้ค่า water activity ของอาหารลดลง จุลินทรีย์จึงไม่สามารถนำน้ำมาใช้ในการเจริญได้ สำหรับอาหารที่นิยมแช่เยือกแข็ง ได้แก่ อาหารทะเล เช่น กุ้ง เนื้อปู

  29. การแช่เยือกแข็ง (Freezing) • โดยทั่วไปจะเก็บรักษาอาหารแช่เยือกแข็งไว้ที่ -18oCหรือต่ำกว่า • รักษาสี กลิ่น รส คุณค่าทางอาหารได้ดี แต่เนื้อสัมผัสได้ปานกลาง • เป็นการเก็บอาหารที่ อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งของอาหาร เหมาะสำหรับเก็บอาหารระยะยาว • แบคทีเรียส่วนใหญ่ไม่เติบโต • เอนไซม์ยังทำงานได้ช้าๆ ต้อง ลวก ชุบใน SO2, sulfite,น้ำตาล, น้ำเชื่อม, แช่กรด เช่น citric, ascorbic acid, etc.. ก่อนเก็บเย็น

  30. วิธีการแช่เยือกแข็ง • การแช่เยือกแข็งโดยใช้อากาศเย็นจัด (Air Freezing) • การแช่เยือกแข็งแบบสัมผัสแผ่นโลหะเย็นจัด (Plate Freezing) • การแช่เยือกแข็งแบบจุ่มในของเหลวเย็นจัด (Liquid-Immersion Freezing หรือ Direct--Immersion Freezing) • การแช่เยือกแข็งแบบไครโอจินิก (Cryogenic Freezing)

  31. 3. การถนอมอาหารโดยการทำให้แห้ง (Food Preservation byDrying) • หมายถึง การกำจัดน้ำส่วนใหญ่ที่อยู่ในอาหารออกจากอาหาร ซึ่งจะมีผลให้กระบวนการ metabolism และการเจริญของจุลินทรีย์เกิดได้ช้าลง ทั้งยังเป็นการลดอัตราเร็วของปฏิกิริยาการหืนของไขมันเนื่องจากปฏิกิริยา hydrolysis

  32. วิธีการทำแห้ง • 3.1 การทำให้อาหารแห้งโดยอาศัยธรรมชาติ เป็นการอาศัยแหล่งความร้อนจากแสงอาทิตย์หรือผึ่งลม วิธีนี้นิยมใช้ในประเทศแถบร้อนเขตศูนย์สูตร เพราะต้นทุนต่ำ ทำได้ง่าย แต่ผลิตภัณฑ์ที่ได้จะมีคุณภาพต่ำ เนื่องจากไม่สามารถควบคุมอัตราเร็วในการทำแห้งได้ • 3.2 การทำให้อาหารแห้ง โดยอาศัยวิธีกลเข้าช่วย วิธีนี้เป็นการนำหลักการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้าช่วย เช่น การ ใช้เมมเบรน การระเหย และการอบ การทำให้แห้งโดยวิธีกลต้องหาสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการถนอมอาหารแต่ละชนิด เพื่อให้มีการสูญเสียคุณค่าทางโภชนาการน้อยที่สุด การทำให้แห้งส่วนใหญ่จะอาศัยหลักการนำความร้อน และการพาความร้อน การแผ่รังสี ซึ่งวิธีนี้จะสามารถควบคุมสภาวะแวดล้อมได้ เช่น อุณหภูมิ ความชื้น ทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีคุณภาพสม่ำเสมอ

  33. ชนิดของเครื่องอบแห้ง • Cabinet dryer • Tunnel drying • Drum drying • Spray drying • Freeze dryer • Vacuum dryer

  34. Cabinet dryer

  35. Tunnel drying

  36. Drum drying

  37. Spray drying

  38. Freeze dryer

  39. Vacuum dryer

  40. 4. การถนอมอาหารโดยการหมักดอง (Food Preservation byFermentation) • เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นเนื่องจากจุลินทรีย์ย่อยสลายคาร์โบไฮเดรตหรือสารอื่น ภายใต้สภาวะที่มีหรือไม่มีอากาศ ซึ่งจะแตกต่างจากการถนอมอาหารอื่นที่มีวัตถุประสงค์ในการทำลายจุลินทรีย์ และเอนไซม์ธรรมชาติในอาหาร การหมักดองจะทำให้ pH ของอาหารลดต่ำลง ซึ่งจะเป็นการป้องกันไม่ให้เชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคเจริญได้

  41. Fermentation technologyแยกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้ • Bacteria Fermentation • Yeast fermentation • Mold & Enzyme fermentation

  42. Bacteria Fermentation • Lactic acid bacteria • picklesมักใช้แตงกวา แต่ผักอย่างอื่นก็ได้ เช่น กระเจี๊ยบเขียว แตงโมอ่อน ส่วนผสม มี น้ำเกลือ (Brine) • Sauerkrautมักทำจาก cabbage • Acetic acid bacteria เช่น ทำ vinegar • Other fermenting bacteria เช่น Gouda หรือ Swiss cheeses Proteolytic bacteria ในอุตสาหกรรมชอคโกแลต โกโก้

  43. Yeast fermentation • yeast breads • beverage  alcoholic drinks = wine, beer

  44. Mold & Enzyme fermentation • ใน mold มี enzyme ย่อย cellulose ซึ่งร่างกายมนุษย์ไม่สามารถย่อยได้ • Mold fermentation เช่น ในการผลิต soy sauce หรือในการบ่ม blue cheese • Enzyme fermentation จะเกี่ยวข้องกับ mold fermentation เช่น sucrase จะย่อยโมเลกุลของ sucrose ในกระบวนการ yeast fermentation ในการผลิตใบชา จะหมัก โดย enzyme oxidation ทำให้สี กลิ่น ต่างกัน

  45. 5. การถนอมอาหารโดยการใช้สารเคมี (Food Preservation byChemicals) • มีจุดประสงค์เพื่อยึดอายุการเก็บรักษาอาหาร โดยมีผลยับยั้งการเน่าเสียเนื่องจากจุลินทรีย์ สารเคมีที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ ได้แก่ เกลือ น้ำตาล กรด สารกันเสีย สารกันหืน

  46. 6. การถนอมอาหารโดยการใช้รังสี(Food Preservation byRadiation or FoodIrradiation) • การฉายรังสีอาหารเป็นวิธีการถนอมอาหารที่ต้องการเลี่ยงการใช้ความร้อน เนื่องจากความร้อนสามารถเปลี่ยนแปลงสมบัติด้านประสาทสัมผัสของอาหารนั้นๆ ได้ รังสีชนิดที่แตกตัวได้ (ionizing radiation) ที่มีช่วงคลื่นสั้น • สามารถที่จะยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ การทำงานของเอนไซม์ และการเจริญเติบโตของไข่ และตัวอ่อนของแมลงได้ดี ทั้งยังสามารถป้องกันการงอกของผัก และผลไม้ • โดยยังคงคุณค่าทางโภชนาการ เนื้อสัมผัส และรสชาติของอาหารได้ดี

  47. ฉลากเครื่องหมายอาหารฉายรังสีหรือเรดูรอนฉลากเครื่องหมายอาหารฉายรังสีหรือเรดูรอน

  48. รังสีที่ใช้ในการถนอมอาหารมี 4 ชนิดคือ • รังสีแกมมา (gamma radiation) • รังสีเอกซ์ (x- radiation) • อิเล็กตรอนกำลังสูง (high speed electron) • รังสีเหนือม่วง (Ultra violet irradiationUV)

  49. Cobalt 60, Gamma Facility

  50. Electronic Beam Facility (E-Beam)

More Related