150 likes | 288 Views
การจัดหางานให้คนหางานทำงานในประเทศ กรณีการจัดหา/นำเข้าแรงงานต่างด้าวทำงานกับนายจ้างในประเทศไทย. โดย นายเชิดศักดิ์ วิสุทธิกุล ผู้อำนวยการกองตรวจและคุ้มครองคนหางาน. ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา.
E N D
การจัดหางานให้คนหางานทำงานในประเทศกรณีการจัดหา/นำเข้าแรงงานต่างด้าวทำงานกับนายจ้างในประเทศไทยการจัดหางานให้คนหางานทำงานในประเทศกรณีการจัดหา/นำเข้าแรงงานต่างด้าวทำงานกับนายจ้างในประเทศไทย โดย นายเชิดศักดิ์ วิสุทธิกุล ผู้อำนวยการกองตรวจและคุ้มครองคนหางาน
ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกาความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา • พรบ.จัดหางานฯ พ.ศ.๒๕๒๘ มีสาระสำคัญเป็นการควบคุมการประกอบธุรกิจจัดหางานให้กับคนหางานเพื่อทำงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ • กำหนดมาตรการต่างๆ เพื่อคุ้มครองคนหางานมิให้ถูกหลอกลวงหรือถูกเอาเปรียบ • ม.๔ นิยามคำว่า ”จัดหางาน” ให้หมายความถึงการประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่คนหางานหรือหาลูกจ้างให้แก่นายจ้างโดยจะเรียกหรือรับค่าบริการตอบแทนหรือไม่ก็ได้ และให้หมายรวมถึงการเรียกเงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดเพื่อจัดหางานให้คนหางาน
ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกาความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา • บทนิยามคำว่า “คนหางาน” มิได้จำกัดเฉพาะการจัดหางานให้กับคนหางานที่เป็นคนไทยเท่านั้น แต่มีความหมายครอบคลุมถึงบุคคลใดๆซึ่งประสงค์จะทำงานโดยเรียกหรือรับค่าจ้างเป็นเงินหรือประโยชน์อย่างอื่นด้วย ดังนั้น เมื่อแรงงานต่างด้าวได้เข้ามาในประเทศไทยแล้วและประสงค์จะทำงานโดยเรียกหรือรับค่าจ้างเป็นเงินหรือประโยชน์อย่างอื่น แรงงานต่างด้าวดังกล่าว จึงอยู่ในฐานะ “คนหางาน” ตามมาตรา ๔
ดังนั้น การประกอบธุรกิจเป็นตัวแทนหรือนายหน้าในประเทศไทยเพื่อติดต่อจัดหางานให้กับแรงงานต่าว ด้าวที่เข้ามาในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อโดยตรงกับแรงงานต่างด้าวหรือติดต่อผ่านสำนักงานจัดหางานในต่างประเทศก็ตาม การประกอบธุรกิจดังกล่าวจึงเป็นการจัดหางานตามมาตรา ๔ • จึงสามารถนำบทบัญญัติในหมวด ๒ เกี่ยวกับการจัดหางานในประเทศมาบังคับใช้กรณีดังกล่าวได้
การจดทะเบียน บจ.ในประเทศ ในปัจจุบัน • บริษัทจัดหางานในประเทศทั้งหมด ๔๒๘ แห่ง กทม. ๒๙๔ แห่ง ภูมิภาค ๑๓๔ แห่ง บริษัทจัดหางานในประเทศ กรณีจัดหา/นำเข้าแรงงานต่างด้าว ๒๒๔ แห่ง กทม. ๑๑๑ แห่งภูมิภาค ๑๑๓ แห่งระหว่างดำเนินการ ๖ แห่ง
จำนวน บจ.ในประเทศ (จัดหา/นำเข้าแรงงานต่างด้าว) กรุงเทพฯ ๑๑๑ แห่ง สมุทรสาคร ๒๘ แห่ง ปทุมธานี ๑๕ แห่ง นนทบุรี ๑๐ แห่ง ชลบุรี ๘ แห่ง เชียงใหม่ ๘ แห่ง ตาก ๕ แห่ง สมุทรปราการ ๔ แห่ง สงขลา ๓ แห่ง ระยอง ๓ แห่ง ฉะเชิงเทรา ๓ แห่ง จันทบุรี ๓ แห่ง กระบี่ ๒ แห่ง กาญจนบุรี ๒ แห่ง
การควบคุมผู้รับอนุญาตจัดหางานในประเทศการควบคุมผู้รับอนุญาตจัดหางานในประเทศ • คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้รับอนุญาตจัดหางาน (มาตรา ๙) • ใบอนุญาตใช้ได้ในเขตจังหวัดที่นายทะเบียนระบุไว้ กำหนด ๒ ปี • การต่ออายุใบอนุญาตจัดหางาน • ต้องแสดงใบอนุญาตไว้ ณ ที่เปิดเผย และเห็นได้ง่าย ณ สำนักงานฯ • การจดทะเบียนลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการจัดหางาน • การจัดหาคนหางานจากจังหวัดอื่น นอกจากจังหวัดที่ได้รับอนุญาต
การควบคุมผู้รับอนุญาตจัดหางานในประเทศการควบคุมผู้รับอนุญาตจัดหางานในประเทศ • การจัดทำสมุดทะเบียน การจัดทำและส่งรายงานเกี่ยวกับการจัดหางานประจำเดือน ตามแบบที่อธิบดีกำหนด • การเรียกหรือรับเงินค่าบริการ หรือค่าใช้จ่ายจากคนหางานประกาศกระทรวง เรื่อง กำหนดอัตราค่าบริการและค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากคนหางาน ฉบับที่ ๔ ลงวันที่ ๗ ก.ค. ๒๕๓๘ ให้เรียกหรือรับค่าบริการจากคนหางานได้ไม่เกินอัตราร้อยละ ๒๕ ของค่าจ้างรายเดือนที่คนหางานจะได้รับจากค่าจ้างในเดือนแรก • ออกใบรับค่าบริการและค่าใช้จ่ายตามแบบที่อธิบดีกำหนด
มาตรการเพิ่มเติมในการควบคุม บจ.ในประเทศกรณีจัดหา/นำเข้าแรงงานต่างด้าว • ออกประกาศกระทรวง เรื่อง กำหนดค่าบริการและค่าใช้จ่าย ฯ (กรณีจัดหา/นำเข้าแรงงานต่างด้าว) แยกต่างหากจากประกาศกระทรวงเดิม ที่บังคับใช้กรณีจัดหางานให้คนไทยในประเทศ • ออกกฎกระทรวง เรื่อง กำหนดหลักประกันในการขอรับอนุญาตจัดหางานเฉพาะการจัดหา/นำเข้าแรงงานต่างด้าว ( ปัจจุบันกรณีในประเทศ ๑ แสนบาท กรณีต่างประเทศ ๕ ล้านบาท ) • ออกประกาศกระทรวงกำหนดประเภทธุรกิจที่ห้ามไม่ให้ผู้รับอนุญาตจัดหางานทำควบคู่ไปกับธุรกิจจัดหางาน
การค้ามนุษย์ด้านแรงงานการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน ประเด็นที่ประเทศไทยถูกกล่าวหาในรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ของ กต.สหรัฐอเมริกา • การหลอกลวง/กดขี่แรงงานไทยในประเทศไทย • การหลอกลวง/กดขี่แรงงานไทยที่ไปทำงานในต่างประเทศ • การหลอกลวง/กดขี่แรงงานต่างด้าวในประเทศไทย
รายงานสถานการณ์ค้ามนุษย์ของ กต สหรัฐอเมริกาTip Report 2013 1.ประเทศไทยได้รับการยกเว้นจากการลดระดับลงเป็น tier 3 และ จัดอันดับประเทศไทยอยู่ในระดับ tier 2 watch list เป็นปีที่ 4 ติดต่อกัน เหตุผล : ประเทศไทยมิได้แสดงหลักฐานว่ามีความพยายามเพิ่มขึ้นในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว 2.Tier 3 อาจจะถูกอเมริการะงับการให้ความช่วยเหลือที่มิใช่ด้านมนุษยธรรมและเกี่ยวกับการค้า ดังนั้น จึงต้องยกระดับขึ้น Tier 2 ให้ได้ 3.ใน Trafficking in Persons Report/-2013 ดังกล่าวประเทศไทยถูกตั้งข้อกล่าวหา 15 ประเด็น
ตัวอย่างประเด็นด้านแรงงานที่ประเทศไทยถูกกล่าวหาตัวอย่างประเด็นด้านแรงงานที่ประเทศไทยถูกกล่าวหา • ไทยเป็นประเทศต้นทาง ทางผ่าน และปลายทางของการค้ามนุษย์ด้านแรงงานบังคับและค้ามนุษย์ทางเพศ • แรงงานที่ไม่มีเอกสารยังคงมีความเสี่ยงต่อการตกเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์มากเป็นพิเศษ • มีการจดทะเบียนและออกใบอนุญาตการทำงานในประเทศไทยให้แก่ผู้โยกย้ายถิ่นฐานที่ไม่มีเอกสารกว่า 800,000 คน แต่ล้มเหลวด้านการจัดระบบนายหน้า การลดค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนและการยินยอมให้ลูกจ้างสามารถเปลี่ยนนายจ้างได้
ประเด็นที่ประเทศไทยถูกกล่าวหาประเด็นที่ประเทศไทยถูกกล่าวหา • แรงงานไทยที่มีความจำเป็นทางเศรษฐกิจและต้องการเดินทางไปทำงานต่างประเทศ เป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะถูกหลอกให้กู้หนี้จำนวนมากเพื่อจ่ายเป็นค่านายหน้าและค่าจัดหางาน บางกรณีได้นำที่ดินไปจำนอง ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงที่จะแสวงประโยชน์มากยิ่งขึ้นเมื่อเดินทางไปถึงปลายทางแล้ว แรงงานไทยส่วนใหญ่จะถูกบังคับใช้แรงงาน แสวงหาประโยชน์ทางเพศ หรือเป็นแรงงานขัดหนี้ • รัฐบาลไทยได้เพิกถอนใบอนุญาตบริษัทจัดหางานที่จัดส่งคนหางานไปทำงานต่างประเทศ จำนวน 1 บริษัท และสั่งพักใช้ใบอนุญาตฯจำนวน 43 บริษัท เนื่องจากดำเนินการโดยขัดต่อกฎหมาย อย่างไรก็ตามยังไม่มีบริษัทจัดหางานที่ถูกลงโทษจากการใช้แรงงานบังคับ หรือกระทำการเกี่ยวกับการค้ามนุษย์
ประเด็นที่ประเทศไทยถูกกล่าวหาประเด็นที่ประเทศไทยถูกกล่าวหา • รัฐบาลไทยแสดงความพยายามในระดับหนึ่งในการป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์ แต่ไม่ได้แสดงให้เห็นถึงความพยายามอย่างเพียงพอในการลดความต้องการแรงงานที่ถูกบังคับใช้แรงงานและแสวงหาประโยชน์
เชิดศักดิ์ วิสุทธิกุล ผู้อำนวยการกองตรวจและคุ้มครองคนหางาน 089 – 8713989 Cherdsak_w@yahoo.com