1 / 28

การเกิดแผ่นดินไหว

การรายงานการเกิดแผ่นดินไหว

Download Presentation

การเกิดแผ่นดินไหว

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Forensic odontologists Identify tsunami victims in Phuket,Thailand By Woranat Pramkrathok ID 51312320

  2. นายวรนาท พราหมณ์กระโทก • ประกาศนียบัตรเวชระเบียน (เวชสถิติ) วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขกาญจนาภิเษก จ.นนทบุรี • วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเวชระเบียน มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา จ.นครปฐม

  3. สึนามิ !!!

  4. สึนามิ คืออะไร • คลื่นสึนามิ คือ คลื่นหรือกลุ่มคลื่นที่มีจุดกำเนิดอยู่ในเขตทะเลลึก ซึ่งมักปรากฏหลังแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ แผ่นดินไหวใต้ทะเล ภูเขาไฟระเบิด ดินถล่ม แผ่นดินทรุด หรืออุกกาบาตขนาดใหญ่ตกลงในทะเล คลื่นสึนามิสามารถเข้าทำลายพื้นที่ชายฝั่ง ทำให้เกิดการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินได้

  5. ลักษณะของคลื่นสึนามิ • คลื่นสึนามิแตกต่างจากคลื่นธรรมดามาก ตัวคลื่นนั้นสามารถเดินทางได้เป็นระยะทางไกล โดยไม่สูญเสียพลังงานและสามารถเข้าทำลายชายฝั่งที่อยู่ห่างไกลจากจุดกำเนิดหลายพันกิโลเมตรได้

  6. ลักษณะของคลื่นสึนามิ • คลื่นสึนามิจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วตั้งแต่ 500 ถึง 1,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง อย่างไรก็ตาม เมื่อเข้าสู่ชายฝั่งที่มีความลึกลดลง คลื่นจะมีความเร็วลดลงและเริ่มก่อตัวเป็นคลื่นสูง โดยอาจมีความสูงมากกว่า 30 เมตรได้

  7. สึนามิ ในประเทศไทย • 26 ธันวาคม 2547 เวลาประมาณ 07.58 น. ได้เกิดแผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันตกของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย วัดความรุนแรงได้ถึง 9 ริกเตอร์ ทำให้มีผู้เสียชีวิตและสูญหายเกือบ 3 แสนรายคลื่นสึนามิได้ถาโถมเข้าถล่มและคร่าชีวิตผู้คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ใกล้กับจุดเกิดแผ่นดินไหว เช่น อินโดนีเซีย, ไทยและพื้นที่ชายฝั่งทางตะวันตกเฉียงเหนือของมาเลเซีย ไปจนถึงพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลออกไปในบังกลาเทศ, อินเดีย, ศรีลังกา, หมู่เกาะมัลดีลฟ์, และประเทศในแถบ แอฟริกาตะวันออกบางประเทศ

  8. สึนามิ ในประเทศไทย • สำหรับประเทศไทย จังหวัดที่อยู่ชายฝั่งทะเล อันดามันได้รับความเสียหายเนื่องมาจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สึนามิรวม 6 จังหวัด คือ ระนอง, ภูเก็ต, พังงา, กระบี่, ตรังและสตูล รวม 25 อำเภอ 95 ตำบล 407 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อนมากกว่า 5 หมื่นคน

  9. สึนามิ ในประเทศไทย • ผู้เสียชีวิตรวม 5,395 ราย (คนไทย 1,906 ราย, ต่างชาติ 1,953 ราย, ไม่ระบุ 1,536 ราย) • ผู้บาดเจ็บรวม 8,457 คน (คนไทย 6,065 คน, ต่างชาติ 2,392 คน) • ผู้สูญหายรวม 2,822 คน (คนไทย 1,924 คน, ต่างชาติ 898 คน)

  10. นิติทันตวิทยากับการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลผู้ประสบภัยสึนามิ ในจังหวัดภูเก็ต วรนาท พราหมณ์กระโทก รหัส 51312320

  11. บทคัดย่อ นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์สึนามิในประเทศไทย ในเดือนธันวาคม 2547 ผู้ประสบภัยชาวต่างชาติมากกว่า 92 % สามารถพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลได้ โดยผู้เสียชีวิตเหล่านี้ประมาณ 80 % ถูกพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลโดยข้อมูลทางทันตกรรม ซึ่งเป็นอัตราประสบผลสำเร็จอย่างสูงของการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคล ซึ่งสร้างความประหลาดใจให้แก่ผู้เชี่ยวชาญทางนิติวิทยาศาสตร์อย่างมาก

  12. บทนำ หลังจากเหตุการณ์สึนามิในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นำมาซึ่งความพยายามที่ใหญ่ที่สุดในการค้นหาผู้ประสบภัย หน่วยงานพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลนานาชาติ ได้ส่งทีมเข้าทำงานที่ภูเก็ตซึ่งประกอบไปด้วย เจ้าหน้าที่ตำรวจ, นักนิติทันตวิทยา, แพทย์, ผู้เชี่ยวชาญด้านลายนิ้วมือและผู้เชี่ยวชาญด้าน DNA

  13. บทนำ โดยทำการเก็บข้อมูลผู้ประสบภัยจำนวน 4,280 ศพ รอบๆ ภูเก็ต โดย แพทย์, ตำรวจและนักนิติทันตวิทยา ข้อมูลจากศพรวมถึงการตรวจร่างกาย การชันสูตรศพ ตัวอย่าง DNA ลายนิ้วมือ ลักษณะส่วนบุคคลและรายละเอียดสภาพฟันและ ทำการหาข้อมูลก่อนตายเพื่อนำมาเปรียบเทียบกับข้อมูลจากศพที่เก็บได้ คือ สภาพฟัน ลายพิมพ์นิ้วมือและ DNA

  14. เหตุผลที่ใช้ฟันและลักษณะในช่องปากในการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลเหตุผลที่ใช้ฟันและลักษณะในช่องปากในการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคล • ฟันเป็นอวัยวะของร่างกายที่มีความคงทนและแข็งที่สุด ถูกทำลายได้ยาก • การเรียงตัวของฟันและรูปร่างของฟันในแต่ละคนไม่เหมือนกัน อันเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละคน • ลักษณะของโพรงประสาทฟัน ความยาวของฟันและลักษณะของกระดูกที่รองรับรากฟัน การขึ้นของฟัน การสึกของฟันของแต่ละคนแตกต่างกัน เป็นไปตามลักษณะของอายุ การใช้งานและอาชีพ

  15. เหตุผลที่ใช้ฟันและลักษณะในช่องปากในการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลเหตุผลที่ใช้ฟันและลักษณะในช่องปากในการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคล • การได้รับการรักษาฟันที่อยู่ในช่องปากของแต่ละคน เช่น การอุดฟัน การถอนฟัน การรักษารากฟัน การใส่ฟันปลอมในช่องปากในรูปแบบต่างๆ ของแต่ละบุคคลไม่เหมือนกัน • ลักษณะของกระดูกขากรรไกรและความสัมพันธ์ของกระดูกขากรรไกรบนและล่างของแต่ละคนเป็นลักษณะเฉพาะของบุคคล

  16. วิธีการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลจากฟันวิธีการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลจากฟัน 1.เก็บข้อมูลทางด้านทันตกรรมของผู้เสียชีวิต - ตรวจฟันอย่างละเอียดทุกซี่และบันทึกเป็น ข้อมูลไว้ โดยใช้แบบฟอร์มตามมาตรฐานสากล - เอกซเรย์ฟันในช่องปาก - ถอนฟันเพื่อสำรองไว้ในการตรวจ DNA - บันทึกข้อมูลทั้งหมดลงคอมพิวเตอร์

  17. วิธีการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลจากฟันวิธีการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลจากฟัน 2.เก็บข้อมูลทางทันตกรรมก่อนเสียชีวิตจากญาติหรือทันตแพทย์ของผู้เสียชีวิตหรือสูญหาย - ข้อมูลการรักษาฟันในแต่ละซี่และการใส่ฟันปลอม - ลักษณะการเรียงตัวของฟันหรือลักษณะเด่นของแต่ละบุคคล เช่น ฟันเก ฟันปลอมหรือการจัดฟัน

  18. วิธีการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลจากฟันวิธีการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลจากฟัน 2.เก็บข้อมูลทางทันตกรรมก่อนเสียชีวิตจากญาติหรือทันตแพทย์ของผู้เสียชีวิตหรือสูญหาย - ข้อมูลการเอกซเรย์ฟัน - ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ของทันตแพทย์ในกรณีที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม - บันทึกข้อมูลทางทันตกรรมก่อนเสียชีวิตลงแบบฟอร์มที่กำหนดแล้วนำมาบันทึกลงคอมพิวเตอร์

  19. วิธีการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลจากฟันวิธีการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลจากฟัน 3.เปรียบเทียบข้อมูลทางทันตกรรมก่อนเสียชีวิตกับข้อมูลจากศพที่ตรวจได้ โดยใช้คอมพิวเตอร์ในการสืบค้น ถ้าข้อมูลทางทันตกรรมก่อนเสียชีวิตเพียงพอและสามารถเปรียบเทียบได้กับข้อมูลจากศพที่ตรวจได้ ก็สามารถระบุได้ว่าศพที่มีข้อมูลตรงกันนั้นเป็นใคร

  20. อัตราส่วนการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลจากฟันอัตราส่วนการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลจากฟัน • พิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลวันที่ 28 มี.ค. 2548 • จำนวนผู้ประสบภัยที่พิสูจน์ได้ 951 ราย • ทันตกรรม 837 ราย (88%) • FingerPrint 57 ราย (6%) • DNA 3 ราย (0.3%) • อื่นๆ 54 ราย (6%)

  21. อัตราส่วนการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลจากฟันอัตราส่วนการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลจากฟัน • พิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลวันที่ 29 ก.ค. 2548 • จำนวนผู้ประสบภัยที่พิสูจน์ได้ 2,020 ราย • ทันตกรรม 1,097 ราย (54%) • FingerPrint 367 ราย (18%) • DNA 24 ราย (1%) • อื่นๆ 532 ราย (26%)

  22. อัตราส่วนการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลจากฟันอัตราส่วนการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลจากฟัน • พิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลวันที่ 13 พ.ย. 2548 • จำนวนผู้ประสบภัยที่พิสูจน์ได้ 2,679 ราย • ทันตกรรม 1,105 ราย (41%) • FingerPrint 670 ราย (25%) • DNA 27 ราย (1%) • อื่นๆ 877 ราย (33%)

  23. ผลการศึกษา การพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลโดยใช้ข้อมูลทาง ทันตกรรมเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูง, กระบวนการตรวจสอบรวดเร็วและเชื่อถือได้ ซึ่งหน่วยงานพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลนานาชาติ อาจนำมาใช้เป็นเป็นแนวทางใหม่สำหรับการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลของผู้ประสบภัยพิบัติต่างๆ ในภายภาคหน้าต่อไป

  24. Sawasdee Thank you for your attention.

  25. ถาม-ตอบ

More Related