1 / 40

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสำนักงาน และสำนักงานอัตโนมัติ

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสำนักงาน และสำนักงานอัตโนมัติ. โครงสร้างสำนักงาน. การทำงานหรือการดำเนินงานใด ๆ สิ่งที่ขาดไม่ได้และจำเป็นต้องมีก็คือ สำนักงานเพื่อประโยชน์สำหรับการ ทำงาน ไม่ว่าจะเป็นศูนย์รวมในการติดต่องาน สำนักงานนั้นเป็นหน่วยงานหรือเป็นศูนย์สำหรับปฏิบัติงานทางด้านเอกสาร

Pat_Xavi
Download Presentation

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสำนักงาน และสำนักงานอัตโนมัติ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสำนักงานและสำนักงานอัตโนมัติความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสำนักงานและสำนักงานอัตโนมัติ

  2. โครงสร้างสำนักงาน การทำงานหรือการดำเนินงานใด ๆ สิ่งที่ขาดไม่ได้และจำเป็นต้องมีก็คือ สำนักงานเพื่อประโยชน์สำหรับการ ทำงาน ไม่ว่าจะเป็นศูนย์รวมในการติดต่องาน สำนักงานนั้นเป็นหน่วยงานหรือเป็นศูนย์สำหรับปฏิบัติงานทางด้านเอกสาร อาจจะเปรียบเทียบได้ว่าสำนักงานเป็นกองบัญชาการในการทำ งานใด ๆ สำนักงานจะมีโครงสร้างของแต่ละสำนักงานนั้น ๆ เพื่อเป็นการกำหนดหรือบ่งบอกถึงลักษณะ ระบบการทำงานหรือสายการดำเนินงานภายในสำนักงานว่ามีลักษณะอย่างไรบ้าง โครงสร้างของสำนักงานมักจะจัดทำ ขึ้นมาในรูปแบบของแผนภูมิที่รู้จักกันดีว่า Organization Chart หรืออาจเรียกว่าแผนภูมิองค์กร แผนภูมิการจัดองค์กร แผนภูมิการบริหาร ก็ได้

  3. ความหมายของสำนักงาน • สำนักงานหมายถึง หน่วยที่มีการปฏิบัติงานอย่างมีระบบ เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริง หรือข้อมูลต่าง ๆ ในการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ • สำนักงาน ยังเป็นสถานที่ตั้งของหน่วยซึ่ง ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการควบคุมการงานของธุรกิจ • สำนักงาน เป็นสถานที่ซึ่งมีการจัดทำ เอกสาร และการปฏิบัติงานเกี่ยวกับเอกสารต่าง ๆ • สำนักงาน มักจะถูกจัดให้เป็นศูนย์ปฏิบัติงานเอกสาร ศูนย์ความจำ แหล่งอำ นวยความสะดวก พบปะ ติดต่อ ประสานงานระหว่างผู้มาติดต่อและผู้ที่ทำ งานอยู่ในสำ นักงาน

  4. ความสำคัญของสำนักงาน สิ่งหนึ่งที่ควรรู้และเข้าใจ ก็คือ หน้าที่ของสำนักงาน คือ 1. เป็นศูนย์ในการติดต่อประสานงานต่าง ๆ ซึ่งจะจัดให้มีการบริการและการควบคุม 2. เป็นสถานที่จัดระบบและวิธีปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพ และยังสามารถที่จะร่วมมือประสานงานกับหน่วยงานอื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี 3. เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ซึ่งเป็นข้อมูลที่เป็นจริง ครบถ้วน และเชื่อถือได้

  5. โครงสร้างสำนักงานอัตโนมัติโครงสร้างสำนักงานอัตโนมัติ ความหมายของสำนักงานอัตโนมัติ มีการกล่าวถึงสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation) และสำนักงานแบบ ใหม่ (Modern Office) กันอย่างมาก 1. สำนักงานแบบใหม่ (Modern Office) หมายถึง การจัดสำนักงานให้ทันสมัยโดย มีอุปกรณ์และเครื่องใช้สำ นักงาน ตลอดจนเครื่องอำ นวยความสะดวกต่าง ๆ ให้เหมาะ แก่การปฏิบัติงาน 2. สำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation) หมายถึง สำนักงานที่อาศัยระบบ คอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสารเข้ามาช่วยในการเก็บรักษา ค้นหา จัดระบบ และ แจกจ่ายข้อมูลในสำนักงาน

  6. ความสำคัญของสำนักงานอัตโนมัติความสำคัญของสำนักงานอัตโนมัติ สำนักงานอัตโนมัติ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ไม่นาน หลังจากที่เทคโนโลยีต่าง ๆ ของ ระบบคอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสารต่าง ๆ ได้มีการพัฒนามาถึงขั้นที่สามารถ เชื่อมต่อเข้าหากันได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ ในลักษณะที่เป็นเครือข่าย และ สิ่งที่จะสามารถสังเกตเห็นได้ง่ายก็ คือ ในระบบสำ นักงานอัติโนมัติโดยส่วนใหญ่ แล้วจะไม่ค่อยมีเรื่องของการใช้กระดาษเข้ามาเกี่ยวข้องในการทำงาน และสาเหตุที่ สำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำ ให้เกิดการตื่นตัวในเรื่องของสำ นักงานอัติโนมัตินี้ ก็คือ • ค่าใช้จ่ายทางด้านแรงงาน ที่ต้องใช้จ่ายในสำนักงานเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ • ต้นทุนของสินค้าและบริการก็สูงขึ้น • ประสิทธิภาพในการทำ งานลดลงไม่ทันกับอัตราการขยายตัวทางธุรกิจ

  7. ลักษณะของสำนักงานอัตโนมัติลักษณะของสำนักงานอัตโนมัติ การรับข้อมูลเข้าในสำ นักงานอัตโนมัติ จะใช้การบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ลงในอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ซึ่งสามารถทำ การเพิ่มเติม แก้ไข ตรวจทาน ข้อมูลที่ป้อนได้ ตลอดเวลา ซึ่งไม่จำ เป็นต้องใช้กระดาษในการเก็บข้อมูลต่าง ๆ เลย การจัดการประมวลผลข้อมูล เป็นการนำ เอาข้อมูลที่ได้ทำ การป้อนไว้แล้วในขั้น ตอนแรกและเก็บเอาไว้ในสื่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเทป หรือแผ่นดิสก์ แล้วนำ เอาข้อ มูลเหล่านั้นมาประมวลผลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ การเตรียมข้อมูลออก เป็นการส่งข้อมูลที่ได้จากการประมวลผล เพื่อนำ ไปใช้งาน ต่าง ๆ ด้วยอุปกรณ์สื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ระบบโทรคมนาคม ไม่ว่าจะเป็น สายเคเบิล สายโทรศัพท์ สายโทรทัศน์ หรือดาวเทียม การส่งข้อมูลออก ความสามารถในการส่งข้อมูลออกนี้จะทำ ได้ดีกว่า นอกจากจะ สามารถเก็บและเรียกใช้ข้อมูลได้แล้วยังสามารถส่งข้อมูลต่าง ๆ ในรูปของ สัญญาณดิจิตอลไปตามสื่อกลางต่าง ๆ ที่เรียกว่า ระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์

  8. Office Automation

  9. Office Automationis.. • กระบวนการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) มาประยุกต์ใช้ในงานสำนักงาน • โดยการรวบรวมนำเครื่องมืออัตโนมัติและเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ตลอดจนมีระบบการติดต่อสื่อสารด้านอิเล็กทรอนิกส์ มาประกอบกันทำให้เกิดงานในสำนักงานกลายเป็นงานอัตโนมัติ • มีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ลดเวลา ประหยัดค่าใช้จ่าย (ในระยะยาว) เพิ่มความเร็ว และสร้างความได้เปรียบในเชิงการแข่งขันเพื่อประโยชน์ สูงสุดของสำนักงาน • ตัวอย่างเครื่องมืออัตโนมัติที่เป็นพื้นฐานในสำนักงานอัตโนมัติ ได้แก่ เครื่องถ่ายเอกสาร โทรสาร ระบบโทรศัพท์ การประชุมทางไกลคอมพิวเตอร์

  10. สาเหตุที่ทำให้มีการตื่นตัวในเรื่องสำนักงานอัตโนมัติสาเหตุที่ทำให้มีการตื่นตัวในเรื่องสำนักงานอัตโนมัติ องค์กรให้ความสนใจกับสำนักงานอัตโนมัติด้วยเหตุผล 3 ประการคือ • ประการที่หนึ่ง กิจกรรมทางธุรกิจได้เพิ่มความซับซ้อนมากขึ้น • ประการที่สอง เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้พัฒนามากขึ้น • ประการที่สาม ค่าใช้จ่ายในสำนักงานเพิ่มขึ้น

  11. สาเหตุที่ทำให้มีการตื่นตัวในเรื่องสำนักงานอัตโนมัติสาเหตุที่ทำให้มีการตื่นตัวในเรื่องสำนักงานอัตโนมัติ • ประการที่หนึ่ง : การเพิ่มความซับซ้อนของกิจกรรมทางธุรกิจ ธุรกิจโดยทั่วไปมีความซับซ้อนอยู่แล้ว แต่ปัจจุบันความซับซ้อนยิ่งเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้เพราะธุรกิจได้รับอิทธิพลของ • เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ • การแข่งขันกันในตลาดโลก • เทคโนโลยีที่ใช้ในการทำธุรกิจซับซ้อนขึ้น • ช่วงเวลาที่กำหนดในการทำกิจกรรมลดลง

  12. สาเหตุที่ทำให้มีการตื่นตัวในเรื่องสำนักงานอัตโนมัติสาเหตุที่ทำให้มีการตื่นตัวในเรื่องสำนักงานอัตโนมัติ • ประการที่สอง :เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้พัฒนามากขึ้น • คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมีขนาดเล็กแต่ศักยภาพสูง • หน่วยเก็บข้อมูลสามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้น โดยใช้เนื้อที่เพียงเล็กน้อย • การประมวลผลทำได้รวดเร็ว • มีการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ตัวอื่นๆ ในระบบเครือข่าย • ผู้ใช้มีความเข้าใจถึงวิธีใช้งาน

  13. สาเหตุที่ทำให้มีการตื่นตัวในเรื่องสำนักงานอัตโนมัติสาเหตุที่ทำให้มีการตื่นตัวในเรื่องสำนักงานอัตโนมัติ • ประการที่สาม :ค่าใช้จ่ายในสำนักงานเพิ่มขึ้น • เมื่อมีการขยายธุรกิจ กิจการทำงานตามระบบดั้งเดิม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจ้างบุคลากร • การจ้างบุคลากรเข้ามาทำงานหนึ่งคน องค์กรจะต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเป็นต้นว่า ค่าจ้าง ค่าสวัสดิการ ค่าพื้นที่ที่ใช้ในการทำงาน • ค่าใช้จ่ายเหล่านี้เป็นค่าใช้จ่ายที่ทำให้ต้นทุนของสินค้าสูงขึ้น

  14. อุปกรณ์สำนักงานที่เชื่อมต่อเป็นเครือข่ายอุปกรณ์สำนักงานที่เชื่อมต่อเป็นเครือข่าย อดีต • ต้องมีตู้เก็บเอกสาร เก็บแฟ้มข้อมูล มีเครื่องคิดเลข กระดาษ ดินสอ • การทำงานก็มีแบบฟอร์มต่าง ๆ ที่ต้องกรอก ต้องประมวลผลหรือคิดคำนวณ การส่งเอกสารกระทำโดยเด็กส่งหนังสือ • การสรุปผลหรือทำรายงานยุ่งยากเสียเวลา เช่น การสรุปยอดขายหรือทำบัญชีต้องมีการกรอกข้อมูล คิดคำนวณตัวเลขเป็นจำนวนมาก

  15. อุปกรณ์สำนักงานที่เชื่อมต่อเป็นเครือข่ายอุปกรณ์สำนักงานที่เชื่อมต่อเป็นเครือข่าย ปัจจุบัน • มีอุปกรณ์สำนักงานช่วยอำนวยความสะดวกมากมาย มีเครื่องพิมพ์ที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วย เรียกว่า เวิร์ดโปรเซสเซอร์ • ส่วนที่ก้าวหน้าขึ้นไป เรียกว่า เดสท๊อปพับปลิชเชอร์มีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการคิดคำนวณและประมวลผลเก็บข้อมูล เช่น ฟลอปปี้ดิสก็ ฮาร์ดดิสก์ • ข้อมูลที่จัดเก็บสามารถเรียกมาใช้สรุปผล สร้างรายงาน ทำกราฟ การส่งข้อมูลข่าวสารระหว่างกันก็ทำในรูปการสื่อสารข้อมูล

  16. E-Office

  17. อุปกรณ์สำนักงานที่เชื่อมต่อเป็นเครือข่ายอุปกรณ์สำนักงานที่เชื่อมต่อเป็นเครือข่าย ปัจจุบัน • ระบบการทำงานจึงเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายอย่าง ซึ่งสามารถผนวกเข้าหากันเป็นระบบเดียวกันได้ • อุปกรณ์สำนักงานเหล่านี้ ได้แก่ โทรศัพท์ โทรสาร คอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ หรือเชื่อมโยงเข้ากับระบบตรวจสอบต่าง ๆ เช่น ตรวจวัดอุณหภูมิความชื้น ระบบรักษาความปลอดภัย ระบบการนับจำนวน • การเชื่อมโยงเหล่านี้ก็เพื่อให้มีการส่งถ่าย หรือรับข้อมูลได้อย่างอัตโนมัติ

  18. การสื่อสารข้อมูล : ความจำเป็นของธุรกิจในปัจจุบัน • สำนักงานแห่งหนึ่งที่พนักงานทุกคนทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ • ผู้จัดการฝ่ายขายต้องการรู้ข้อมูลข่าวสารของการขายสินค้าแต่ละตัวว่ามีแนวโน้มการขายเป็นอย่างไร มียอดการขายแต่ละเดือนเพิ่มขึ้นเท่าไร • ผู้จัดการฝ่ายขายต้องส่งข้อมูลการสั่งสินค้าให้กับฝ่ายผลิตเพื่อเตรียมการผลิตให้ตรงกับความต้องการ • การติดต่อสื่อสารทางด้านข้อมูลจึงเกิดขึ้นในกลไกขององค์กร ทั้งแนวราบและแนวระดับ เพื่อให้การดำเนินการขององค์กรเป็นไปอย่างดี

  19. การสื่อสารข้อมูล : ความจำเป็นของธุรกิจในปัจจุบัน • ภายในสำนักงานต้องมีอุปกรณ์สื่อสารหลายอย่างประกอบกัน เริ่มต้นไปที่ระบบโทรศัพท์การสื่อสารด้วยเสียงผ่านชุมสายโทรศัพท์กลาง หรือภายในสำนักงานมีตู้ชุมสายโทรศัพท์ขนาดเล็กที่เรียกว่า PABX • การสื่อสารด้านสายโทรศัพท์ยังรวมไปถึงการใช้กับเครื่องโทรสาร หรือสื่อสารข้อมูลผ่านโมเด็ม มีเทเล็กซ์ไว้ส่งข้อมูลตัวอักษรระหว่างกัน มีระบบเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่ายภายใน (Intranet)

  20. PABX

  21. Intranet

  22. สาเหตุที่ต้องมีการแก้ไขปรับปรุงระบบสำนักงานเดิมสาเหตุที่ต้องมีการแก้ไขปรับปรุงระบบสำนักงานเดิม • งานเอกสารที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ • ค่าแรงที่เพิ่มขึ้น • ประสิทธิภาพของพนักงานลดลง • ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในการนำเครื่องมือทันสมัยเข้ามาในสำนักงาน

  23. ข้อดีของสำนักงานอัตโนมัติข้อดีของสำนักงานอัตโนมัติ • สนับสนุนเป้าหมายและวัตถุประสงค์ขององค์กร เนื่องจากความเป็นอัตโนมัติจะใช้ให้บุคลากรในสำนักงานทำงานได้อย่างมีประสิทธิผล จึงทำให้องค์กรของพวกเขาบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ • เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ผลงานของผู้ปฏิบัติงานเพิ่มขึ้นสัมพันธ์กับชั่วโมงการทำงาน • ทำให้ผลกำไรขององค์กรมากขึ้นอันเนื่องมาจากค่าใช้จ่ายลดลง และผลผลิตมากขึ้น • เพิ่มความรวดเร็วในการสร้าง การคำนวณ การจัดเก็บข้อมูล และเวลาในการกระจายข่าวสาร • ช่วยลดปัญหาในการขาดแคลนแรงงาน เนื่องจากความเป็นอัตโนมัติส่งเสริมประสิทธิภาพ และเพิ่มความสามารถของมนุษย์

  24. ข้อดีของสำนักงานอัตโนมัติข้อดีของสำนักงานอัตโนมัติ • ช่วยให้การตัดสินใจของผู้บริหารดีขึ้น ผู้บริหารจะได้รับข้อมูลข่าวสารที่ตรงประเด็น รวดเร็ว ทำให้มีทางเลือกในการแก้ปัญหามากขึ้น • ช่วยให้คุณภาพของผลผลิตดีขึ้น นั่นคือความถูกต้อง และความทันสมัยของข้อมูลข่าวสารมีมากขึ้น • ช่วยให้การควบคุมการปฏิบัติงานของสำนักงานดีขึ้น เนื่องจากผู้บริหารได้รับข้อมูลที่ละเอียด และถูกต้อง ซึ่งคำนวณจากเครื่องคอมพิวเตอร์โดยอัตโนมัติ • การเชื่อมต่อของคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย ทำให้ผู้ใช้สามารถติดต่อกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ • คุณภาพการทำงานดีขึ้น งานมีความน่าสนใจและท้าทายมากขึ้น งานที่ทำซ้ำๆ จะให้ระบบทำแทน

  25. ข้อดีของสำนักงานอัตโนมัติข้อดีของสำนักงานอัตโนมัติ • องค์กรสามารถจัดบริการใหม่ให้แก่ลูกค้า เช่น การให้ลูกค้าสั่งสินค้าทางอินเตอร์เน็ตหรือการให้ลูกค้าสามารถเข้าใช้ฐานข้อมูลขององค์กร เพื่อตรวจสอบสถานะของการสั่งสินค้าทำให้องค์กรประสบผลสำเร็จในการแข่งขัน เนื่องจากการทำงานเป็นไปด้วยความรวดเร็ว และระบบอัตโนมัติทำให้การทำรายการต่างๆ มีประสิทธิภาพมากกว่า • เพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารภายในองค์กรมากขึ้นรวมทั้งการลดการประชุมทั้งนี้เพราะมีการใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ และการประชุมทางไกล ซึ่งจะทำให้ลดการเดินทางลง ลดการใช้โทรศัพท์ เพราะการสื่อสารทำได้โดยผ่านเครือข่ายภายในองค์กร • ประหยัดสถานที่จัดเก็บเอกสาร • เพิ่มความสะดวก รวดเร็วในการจัดเก็บ รวบรวมค้นคว้าข้อมูล ข่าวสารของหน่วยงาน • ลดขั้นตอน/เจ้าหน้าที่ในการจัดทำสืบค้น สำเนาและการทำลายเอกสาร

  26. ข้อดีของสำนักงานอัตโนมัติข้อดีของสำนักงานอัตโนมัติ • ลดภาระกิจในการเดินทางไปประชุมด้วยวิธีการเดิมมาเป็นการประชุมฝ่ายคอมพิวเตอร์ • ลดปัญหาการจัดทำ จัดเก็บ เอกสารซ้ำซ้อนโดยใช้หลักการสำนักงานปราศจากเอกสาร(Paperless office/Turn around documentation) • สามารถช่วยในการตรวจสอบ ติดตาม สั่งงานได้อย่างสะดวกรวดเร็ว • ป้องกันการทุจริต • ช่วยสอบทานเอกสาร การปฏิบัติงานได้โดยง่าย

  27. ข้อเสียของสำนักงานอัตโนมัติข้อเสียของสำนักงานอัตโนมัติ • การพัฒนาระบบสำนักงานอัตโนมัติต้องเกี่ยวข้องกับบุคคล/หน่วยงาน หลายฝ่าย การประสานงานประสานข้อมูล ประสานข้อตกลง ต้องใช้เวลา และความพยายามในการกำหนดเปลี่ยนแปลง แก้ไขให้ยอมรับ โดยส่วนรวมค่อนข้างยากและใช้เวลา • การพัฒนาระบบงานต้องใช้เวลาอันยาวนาน ซึ่งเทคโนโลยีซอฟต์แวร์ และฮาร์ดแวร์ เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา • ต้องใช้เงิน งบประมาณ ทรัพยากรต่างๆ อย่างต่อเนื่องและยาวนาน อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสถานภาพการเงิน แรงงานของหน่วยงานได้

  28. ข้อเสียของสำนักงานอัตโนมัติข้อเสียของสำนักงานอัตโนมัติ • ข้อมูลที่รวมไว้เป็นหมวดหมู่ และบางส่วนกระจัดกระจายไปอยู่ที่หน่วยต่างๆ (Distributed database) เป็นเป้าหมายต่อการโจมตีเพื่อล้วงความลับ การควบคุม ความปลอดภัยของข้อมูลเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงในขั้นตอนการออกแบบ และกระทั่งขั้นตอนการปฏิบัติงานประจำ • การเปลี่ยนวิถีปฏิบัติงานไปสู่วิธีการใหม่ อาจต้องมีการฝึกอบรมความรู้ บุคลากรเปลี่ยนตำแหน่งงาน หรือถึงมีการเปลี่ยนแปลงหน่วยงานใหม่ (Reorganization) ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวมักจะพบกับการต่อต้าน ต้องใช้เวลาในการนำเสนอเพื่อให้บุคลากรยอมรับ นานยิ่งขึ้น ยิ่งมีการเปลี่ยนแปลงมากเท่าใด โอกาสเสี่ยงในความล้มเหลวจะสูงแต่จะได้ผลตอบแทน (Benefit) สูงเช่นกัน

  29. การประยุกต์ใช้ OA • POS (Point-Of-Sale) เป็นจุดขายมักจะพบตามร้านค้าปลีก ในระบบ Laser Scanner ซึ่งจะช่วยอ่านสินค้า ราคา และรายละเอียดอื่นเพื่อตรวจสอบและแสดงผลให้เกิดการซื้อขายสินค้าอย่างคล่องตัว ลักษณะเดียวกับการใช้ Bar Code ที่กล่าวตอนต้น ปัจจุบันมีใช้มากขึ้นตามการพัฒนาของระบบคลังสินค้า (Logistics) • ATM (Automated Teller Machine) เป็นส่วนที่นิยมใช้ในการฝากถอนและบริการชำระค่าสาธารณูปโภค โดยใช้รหัสผ่านของแต่ละคน ถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบการโยกย้ายเงินทุนทางอิเล็กทรอนิกส์ (EFTS) ส่วนใหญ่ใช้กับสถาบันการเงินและธนาคารพานิชย์ • DSS (Decision Support System) บางครั้งเรียกว่า EIS (Executive Information System) จะรวบรวมข้อมูลจากแหล่งภายในและภายนอกบริษัทเข้ามาอยู่ในแฟ้มข้อมูลเพื่อช่วยในการตัดสินใจ

  30. Point-Of-Sale

  31. การประยุกต์ใช้ OA • CASE (Computer-Aided Software Engineering) ใช้ช่วยงานเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์อัตโนมัติซึ่งจะช่วยให้งานทำได้รวดเร็วและมีคุณภาพพัฒนาดีขึ้น • หุ่นยนต์ (Robots) เป็นเครื่องจักรกลอัตโนมัติสำหรับใช้ในงานซ้ำซ้อน เช่น การประกอบชิ้นส่วนการซ่อมแซมอุปกรณ์ เป็นต้น ประโยชน์ที่เห็นไก้ชัด คือ การใช้ช่วยทำงานที่เสี่ยงอันตรายในโรงงาน สารเคมี นิวเคลียร์ หรือในอวกาศ การทำงานที่ละเอียด รวดเร็ว เพิ่มผลผลิต ไม่เบื่อหน่าย และเกิดความยืดหยุ่น ปัจจุบันมีบทบาทและถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายทั้งในอุตสาหกรรมและระบบธุรกิจ

  32. การดูแลและรักษาความปลอดภัยระบบ OA • ป้องกันสื่อแม่เหล็กจากการวางหรือเก็บไม่เหมาะสม และ Hard Disk ต้องป้องกันจากฝุ่นและการแตกหักทางกายภาพ • จัดทำการสำรองข้อมูล เพื่อควบคุมตามจุดประสงค์ โดยมีแผ่นต้นฉบับและแผ่นสำเนาแล้วจัดเก็บต้นฉบับในที่สมควรและปลอดภัยจากการโจรกรรมและไวรัสทางคอมพิวเตอร์ โดยก่อนใช้ทุกครั้งควรตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลด้วยวิธีการต่างๆ เช่น • ตรวจเช็คจากระบบตรวจสอบภายในคอมพิวเตอร์ • ทดสอบโปรแกรมคอมพิวเตอร์อย่างระมัดระวัง • ตรวจสอบความสมบูรณ์และความถูกต้องของข้อมูลก่อนนำข้อมูลเข้าระบบคอมพิวเตอร์

  33. การดูแลและรักษาความปลอดภัยระบบ OA • จัดตั้งวิธีรักษาความปลอดภัยเพื่อป้องกันการเข้าระบบ โดยไม่ได้รับอนุญาต เช่น • Passwords เป็นรหัสผ่านด้วยคำเฉพาะ สัญลักษณ์ หรือรหัสอื่น • Encryption การแย่งใช้ข้อมูลจากจุดหนึ่งไปถึงอีกจุดหนึ่งป้องกันข้อมูลลับรั่วไหล • Call-back จัดระบบโดยกำหนดให้คอมพิวเตอร์ตรวจสอบกลับว่าผู้ร้องขอข้อมูลมีอำนาจผ่านเข้ามาจริงหรือไม่ • Key & Card มีกุญแจพิเศษหรือการ์ดแม่เหล็กคล้ายบัตร ATM • คุณลักษณะของแต่ละคน เช่น เสียงพูด ลายนิ้วมือ เป็นต้น • ใช้การดูแลรักษาและตรวจวัดระบบรักษาความปลอดภัย เพื่อป้องกันข้อมูลภายใน Internal Memory เช่น อาจเกิดกรณีกระแสไฟฟ้าขัดข้อง ควรติดตั้งระบบป้องกันพลังงานหยุดชะงัก หรือติดตั้งระบบไฟสำรองฉุกเฉิน (UPS)

  34. การดูแลและรักษาความปลอดภัยระบบ OA • ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์รวมทั้งหมั่นคอยดูแลและติดตามความเคลื่อนไหวในการทำงานของระบบเป็นระยะๆ เพื่อสังเกตความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงานหรือไวรัสชนิดใหม่ๆ ที่ถูกปล่อยออกมาทำลายระบบ • ปัญหาอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ที่มีเพิ่มขึ้นในโลกธุรกิจเป็นปัญหาระดับชาติโดยการแอบเข้าไปในระบบผู้อื่นแล้วนำข้อมูลกลับมาขายหรือดำเนินการผิดกฏหมายใดๆ ทางธุรกิจต่อระบบคอมพิวเตอร์เรื่องนี้เป็นปัญหาใหญ่ซึ่งต้องมีกฎหมายรองรับชัดเจน และในขณะที่อยู่ในระหว่างป้องกันตัวเอง ผู้บริหารสำนักงานควรป้องกันข้อมูลโดยการสำรองเก็บตลอดจนเพิ่มระบบรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด

  35. แนวโน้มการพัฒนาของระบบสำนักงานอัตโนมัติในประเทศไทยแนวโน้มการพัฒนาของระบบสำนักงานอัตโนมัติในประเทศไทย • โครงสร้างพื้นฐานในการสื่อสารข้อมูลเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาสำนักงานอัตโนมัติ • ประเทศที่พัฒนาแล้วจะต้องมีโครงสร้างพื้นฐานที่ดี • คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ประกอบมีประสิทธิภาพสูงขึ้นและมีราคาถูกลง • การแข่งขันกันในทางธุรกิจนั้น ผู้ที่ให้บริการลูกค้าได้รวดเร็ว ผู้ที่มีข้อมูลข่าวสารพร้อมจะเป็นผู้ที่จะทำธุรกิจต่อไปได้

  36. แนวโน้มการพัฒนาของระบบสำนักงานอัตโนมัติในประเทศไทยแนวโน้มการพัฒนาของระบบสำนักงานอัตโนมัติในประเทศไทย • ด้านซอฟต์แวร์จะพบว่าแนวโน้มของตลาดโลกจะใช้โปรแกรมที่พัฒนาบนวินโดว์มากขึ้น ปรับปรุงให้ใช้ได้กับภาษาไทย • ความสามารถของซอฟต์แวร์เหล่านั้นได้พัฒนาประสิทธิภาพให้สูงขึ้นและใช้งานได้ง่าย และสนับสนุนการทำงานทั้งที่เป็นส่วนบุคคลและกลุ่มบุคคล • สำหรับซอฟต์แวร์ประยุกต์มีบริษัทต่างๆ ผลิตซอฟต์แวร์ประยุกต์ออกมาจำหน่ายในท้องตลาดมากมาย โดยเฉพาะโปรแกรมทางด้านทรัพยากรมนุษย์การผลิตซอฟต์แวร์ออกสู่ตลาดมากๆ ก็เป็นทางหนึ่งที่จะกระตุ้นให้สำนักงานต่างๆ พยายามที่จะปรับสำนักงานให้เป็นสำนักงานอัตโนมัติมากขึ้น

  37. ระบบสารสนเทศของ OA แบ่งเป็น 4 ประเภท • ระบบการจัดการด้านเอกสาร(Document Management System: DMS) • การประมวลผลคำ (Word Processing) • การประมวลภาพ (Image Processing) • การจัดพิมพ์แบบตั้งโต๊ะ (Desktop Publishing) • การผลิตเอกสารหลายชุดหรือการทำสำเนา (Reprographics) • การเก็บรักษา (Archival Storage)

  38. ระบบสารสนเทศของ OA แบ่งเป็น 4 ประเภท (ต่อ) • ระบบการจัดการด้านข่าวสาร (Message Handling System: MHS) • โทรสาร (Facsimile) • E-mail • Voice mail

  39. ระบบสารสนเทศของ OA แบ่งเป็น 4 ประเภท (ต่อ) 3. ระบบการประชุมทางไกล (Teleconferencing System:TS) • การประชุมด้วยภาพและเสียง (Video Conferencing) • การประชุมด้วยเสียง (Audio Conferencing) • การประชุมด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer Conferencing) • โทรทัศน์ภายใน (In-House Television) • ระบบสื่อสารทางไกล (Telecommuting)

  40. ระบบสารสนเทศของ OA แบ่งเป็น 4 ประเภท (ต่อ) 4. ระบบสนับสนุนสำนักงาน (Office Support System : OSS) • คอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบ (Computer Aided Design: CAD) • การนำเสนอ (Presentation) • กระดานข่าวสาร (Bulletin Board) • โปรแกรมเครือข่ายกลุ่ม (Groupware) • ระบบการจัดระเบียบงาน (Desktop Organizer)

More Related