310 likes | 1.52k Views
ค่าเสื่อมราคาและภาษีรายได้. อ. เฉลิมเกียรติ วงศ์วนิชทวี. วัตถุประสงค์การเรียน (Learning Objectives). 1. มีความรู้ความเข้าใจถึงแนวคิดและวิธีการคิดค่าเสื่อมราคาแบบต่างๆ 2. มีความรู้ความเข้าใจถึงภาษีรายได้และ ความแตกต่างระหว่างการวิเคราะห์ก่อนเสียภาษีกับหลังเสียภาษีรายได้ .
E N D
ค่าเสื่อมราคาและภาษีรายได้ค่าเสื่อมราคาและภาษีรายได้ อ. เฉลิมเกียรติ วงศ์วนิชทวี 153-301 Engineering Economy
วัตถุประสงค์การเรียน (Learning Objectives) 1. มีความรู้ความเข้าใจถึงแนวคิดและวิธีการคิดค่าเสื่อมราคาแบบต่างๆ 2. มีความรู้ความเข้าใจถึงภาษีรายได้และ ความแตกต่างระหว่างการวิเคราะห์ก่อนเสียภาษีกับหลังเสียภาษีรายได้ 153-301 Engineering Economy
เนื้อหาในบทนี้ (Chapter Contents) 9.1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับค่าเสื่อมราคา 9.2. วิธีการคิดค่าเสื่อมราคาแบบต่างๆ 9.4. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษี 9.5. การวิเคราะห์หลังเสียภาษีรายได้ 153-301 Engineering Economy
9.1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับค่าเสื่อมราคา • ค่าเสื่อมราคา คือ อะไร 153-301 Engineering Economy
การพิจารณาค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามพระราชกฤษฎีกาฯ ว่าด้วยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 145) พ.ศ.2527 ค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา เป็นรายจ่ายที่เกิดขึ้นจากการที่กิจการมีทรัพย์สิน หรือรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน (Capital Expenditure) ซึ่งกิจการสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการวางแผนภาษีอากรตามหลักเกณฑ์วิธีการ เงื่อนไข และอัตราที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาฯ ว่าด้วยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 145) พ.ศ.2527 และคำสั่งกรมสรรพกร ที่ ป.3/2527 ลงวันที่ 36 กรกฎาคม 2527 153-301 Engineering Economy
9.2. วิธีการคิดค่าเสื่อมราคาแบบต่างๆ ตามที่ได้กล่าวมาแล้วว่าวิธีการคิดคำนวณค่าเสื่อมราคามีหลากหลายวิธี และสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ประเภทที่ 1 เป็นประเภทที่ใช้ช่วงระยะเวลาของช่วงเสื่อมราคาเป็นตัวหารเพื่อแบ่งส่วนของต้นทุนหักด้วยมูลค่าซากเป็นค่าเสื่อมราคาแต่ละปีโดยไม่รวมผลของดอกเบี้ย การคำนวณค่าเสื่อมราคาประเภทนี้ ได้แก่ วิธีเส้นตรง (Straight Line Method), วิธีผลบวกจำนวนปีอายุการใช้ทรัพย์สิน (Sum of the Year’s Digit Method), วิธียอดคงเหลือลดลง (Declining Balance Method / The Constant Percentage of Declining-Book-Value Method), วิธียอดลดลงคงเหลือลดลงทวีคูณ (Double Declining Balance Method) 153-301 Engineering Economy
ประเภทที่ 2 เป็นประเภทที่ใช้ช่วงระยะเวลาของช่วงเสื่อมราคาเป็นตัวหารเพื่อแบ่งส่วนของต้นทุนหักด้วยมูลค่าซากเป็นค่าเสื่อมราคาแต่ละปีโดยรวมผลของดอกเบี้ย การคำนวณค่าเสื่อมราคาประเภทนี้ ได้แก่ วิธีทุนจม (Sunk cost) ซึ่งไม่มีการใช้กันในประเทศไทย ในตำราต่างประเทศก็กล่าวว่าวิธีนี้ได้ถูกยกเลิกแล้วจึงไม่เป็นที่นิยมใช้กัน ประเภทที่ 3 เป็นประเภทที่ใช้สัดส่วนของจำนวนต่างๆ เช่น จำนวนหน่วยผลิตแต่ละปี/จำนวนหน่วยผลิตตลอดช่วงการใช้งาน จำนวนวันที่ทำงานแต่ละปี/จำนวนวันที่ทำงานทั้งหมดตลอดช่วงการใช้งาน จำนวนเงินได้ต่อปี/จำนวนเงินที่ได้ตลอดช่วงอายุการใช้งาน โดยค่าเสื่อมราคาจะเท่ากับสัดส่วนนี้คูณกับต้นทุนหักด้วยมูลค่าซาก เงินได้หน่วยผลิตแต่ละปีหารด้วยช่วงระยะเวลาของช่วงเสื่อมราคาเป็นตัวหารเพื่อแบ่งส่วนของต้นทุนหักด้วยมูลค่าซากเป็นค่าเสื่อมราคาแต่ละปีโดยรวมผลของดอกเบี้ย 153-301 Engineering Economy
วิธีเส้นตรง (Straight Line Method) วิธีเส้นตรง (Straight Line) (SL)นี้สมมติกำหนดให้ค่าเสื่อมราคาในแต่ละปีเท่ากัน หรือ มูลค่าสินทรัพย์ได้ถูกแบ่งเพื่อใช้งานเท่าๆ กันทุกปี ค่าเสื่อมราคาในแต่ละปี(t = 1,2,…,n) ได้จากราคาเริ่มต้น(P) ลบด้วย มูลค่าซาก(SV) หารด้วย อายุการใช้งาน(n) สามารถสร้างเป็นสูตรคำนวณได้ดังนี้ มูลค่าตามบัญชีในแต่ละปี 153-301 Engineering Economy
ตัวอย่างที่ 9.1 เครื่องจักรมีราคาเริ่มต้น 50,000 บาท อายุใช้งาน 5 ปี มูลค่าซากเท่ากับ 10,000 บาท จงหาค่าเสื่อมราคาและมูลค่าตามบัญชีในแต่ละปี ใช้วิธีเส้นตรง 153-301 Engineering Economy
วิธีผลบวกจำนวนปีอายุการใช้ทรัพย์สิน(Sum of the Year’s Digit Method) การคิดค่าเสื่อมราคาแบบวิธีนี้(SYD) ค่าเสื่อมในแต่ละปีจะไม่เท่ากัน โดยปีแรกๆ จะมีค่าเสื่อมราคาสูงกว่าปีท้ายๆ โดยการคิดค่าเสื่อมนี้จะใช้การรวมของ เลขจำนวนปีของอายุการใช้งาน มาบวกรวมกัน ค่าเสื่อมในแต่ละปี มูลค่าตามบัญชีในแต่ละปี 153-301 Engineering Economy
ตัวอย่างที่ 9.2 เครื่องจักรมีราคาเริ่มต้น 50,000 บาท อายุใช้งาน 5 ปี มูลค่าซากเท่ากับ 10,000 บาท จงหาค่าเสื่อมราคาและมูลค่าตามบัญชีในแต่ละปี ใช้วิธีผลบวกจำนวนปีอายุการใช้ทรัพย์สิน 153-301 Engineering Economy
วิธียอดคงเหลือลดลง(Declining Balance Method / The Constant Percentage of Declining-Book-Value Method)และ วิธียอดลดลงคงเหลือลดลงทวีคูณ(Double Declining Balance Method) วิธีการคิดค่าเสื่อมราคานี้(DB,DDB)รู้จักกันในอีกชื่อว่า วิธีเปอร์เซ็นคงที่ของมูลค่าตามบัญชีลดลง ซึ่งมีค่าเสื่อมในปีแรกๆสูงและปีถัดไปก็จะลดลงเรื่อยๆ เป็นการคิดค่าเสื่อมราคาในอัตราเร่ง คือ คิดอัตราค่าเสื่อมราคาแต่ละปีเป็น R เท่าของวิธีเส้นตรง แต่คิดจากยอดที่ลดลงตามลำดับ หรือราคาตามบัญชี โดยที่ R มีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 1 ค่าคงที่นี้อาจกำหนดให้เป็นเปอร์เซ็นต์เช่น 150% ก็จะมีค่า R = 1.5/n ในวิธีนี้ใช้ R = 2/n เมื่อ 200% ของยอดคงเหลือลดลง ซึ่งจะเรียกวิธีนี้ว่า วิธียอดลดลงคงเหลือลดลงทวีคูณ (Double Declining Balance Method) (ซึ่งเป็นค่าสูงสุดที่ยอมให้ตามกฎหมายไทย) 153-301 Engineering Economy
ค่าเสื่อมในแต่ละปี มูลค่าตามบัญชีในแต่ละปี จากความสัมพันธ์ของสูตรด้านบน เห็นได้ว่าไม่มีส่วนของมูลค่าซาก(SV) ซึ่งมีค่าเท่ากับ ซึ่งอาจจะใช้สูตรดังกล่าวในการหาค่า สัดส่วน R ในกรณีให้มูลค่าซากสำหรับวิธีDB 153-301 Engineering Economy
ตัวอย่างที่ 9.3 เครื่องจักรมีราคาเริ่มต้น 50,000 บาท อายุใช้งาน 5 ปี มูลค่าซากเท่ากับ 10,000 บาท จงหาค่าเสื่อมราคาและมูลค่าตามบัญชีในแต่ละปี วิธียอดคงเหลือลดลงแบบที่มีมูลค่าซากเกี่ยวข้อง และสร้างตารางเปรียบเทียบโดยคอมพิวเตอร์พร้อมทั้งวาดกราฟเปรียบเทียบ 153-301 Engineering Economy
ตัวอย่างที่ 9.4 เครื่องจักรมีราคาเริ่มต้น 50,000 บาท อายุใช้งาน 5 ปี มูลค่าซากเท่ากับ 10,000 บาท จงหาค่าเสื่อมราคาและมูลค่าตามบัญชีในแต่ละปี วิธียอดคงเหลือลดลงแบบ DDB (ที่ไม่มีมูลค่าซากเกี่ยวข้อง) 153-301 Engineering Economy
วิธีการเร่งคืนทุนแบบปรับปรุง (Modified Accelerated Cost Recovery System) (MACRS) วิธีการคิดค่าเสื่อมราคานี้ได้มีการนำเสนอในช่วงปี คศ. 1980 ที่สหรัฐอเมริกา ที่มีการเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่เกี่ยวกับระบบการจัดเก็บภาษีเงินได้และการคิดค่าเสื่อมราคาแบบใหม่ 153-301 Engineering Economy
9.4. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษี ภาษีอากรสามารถแบ่งใหญ่ได้เป็น 2 ประเภทคือ ภาษีทางตรง และภาษีทางอ้อม ภาษีทางตรง (Direct Tax) หมายถึง ภาษีที่ผู้มีรายได้ต้องมีหน้าที่เสียภาษีต้องแบกรับภาระไว้เองไม่อาจจะผลักภาระดังกล่าวไปยังบุคคลอื่นได้ เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีทรัพย์สิน เป็นต้น ภาษีทางอ้อม (Indirect Tax) หมายถึง ภาษีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่ต้องแบกรับภาระการจ่ายภาษีไว้เอง โดยผลักภาระดังกล่าวไปให้แก่บุคคลอื่น เช่น การซื้อรถยนต์ สินค้าอุปโภค บริโภคต่างๆ ผู้ขายได้มีการบวกภาษีไปแล้วในราคาสินค้า ที่เห็นชัดๆภาษีประเภทนี้ได้แก่ ภาษีการค้า ภาษีสรรพสามิต ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นต้น 153-301 Engineering Economy
9.5. การวิเคราะห์หลังเสียภาษีรายได้ 153-301 Engineering Economy
ตัวอย่างที่ 9.5 ร้าน SMEด่วนการส่ง บริการ รับส่งเอกสารตามบริษัทต่างๆ มีผลประกอบการในหนึ่งปีดังต่อไปนี้ รายได้ของธุรกิจ 65,000 บาท ค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน 8,000 บาท ค่าใช้จ่าย 18,500 บาท อัตราภาษีที่ต้องเสียสำหรับธุรกิจนี้ 20 % อัตราผลตอบแทนของการลงทุนก่อนการเสียภาษีเท่ากับ 11% จงหา กระแสเงินสดก่อนการเสียภาษี(CFBT) และ กระแสเงินสดหลังการเสียภาษี(CFAT) 153-301 Engineering Economy
ตัวอย่างที่ 9.6 (ปรับปรุงจากตัวอย่างข้อที่ 9.1) เครื่องจักรอุตสาหกรรมมีราคาเริ่มต้น 50,000 บาท อายุใช้งาน 5 ปี มูลค่าซากเท่ากับ 10,000 บาท ให้ผลตอบแทนเป็นเงินก่อนการหักภาษี(CFBT) เป็นเงินปีละ 30,000 บาท จงเปรียบเทียบผลกระทบของการคำนวณค่าเสื่อมราคาตามวิธีเส้นตรง วิธีผลบวกจำนวนปีอายุการใช้ทรัพย์สิน และ วิธียอดคงเหลือลดลงแบบที่มีมูลค่าซากเกี่ยวข้อง โดยสมมติใช้อัตราภาษีเงินได้เท่ากับ 37% 153-301 Engineering Economy
จากตารางทั้งสามให้อัตราผลตอบแทนแตกต่างกันออกไปคือจากตารางทั้งสามให้อัตราผลตอบแทนแตกต่างกันออกไปคือ ทั้งสามวิธีจะมีจำนวนของค่าค่าเสื่อมราคา กำไรสุทธิ ภาษีเงินได้ เท่ากัน แต่จะให้อัตราผลตอบแทนต่างกันเนื่องจากการจ่ายภาษีนั้นเป็นการกระจายจ่ายมากหรือน้อย แต่ความเป็นจริงแล้วถ้ามีรายได้ที่แปรผันอาจทำให้ค่าของอัตราผลตอบแทนเปลี่ยนแปลงไปได้เช่นกัน 153-301 Engineering Economy