1 / 73

มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 43 “ การรวมกิจการ ”

มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 43 “ การรวมกิจการ ”. อาจารย์ อรพรรณ ยลระบิล ผศ. กอบแก้ว รัตนอุบล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ที่มา : สมาคมการบัญชีไทย. เหตุผลของการรวมธุรกิจ. ประหยัดต้นทุน ลดความเสี่ยง ดำเนินงานได้ต่อเนื่องไม่หยุดชะงัก หลีกเลี่ยงการเข้าดำเนินงานโดยกิจการอื่น

Lucy
Download Presentation

มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 43 “ การรวมกิจการ ”

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 43“การรวมกิจการ” อาจารย์ อรพรรณ ยลระบิล ผศ. กอบแก้ว รัตนอุบล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่มา : สมาคมการบัญชีไทย มหาวิยาลัยธรรมศาสตร์

  2. มหาวิยาลัยธรรมศาสตร์

  3. เหตุผลของการรวมธุรกิจเหตุผลของการรวมธุรกิจ • ประหยัดต้นทุน • ลดความเสี่ยง • ดำเนินงานได้ต่อเนื่องไม่หยุดชะงัก • หลีกเลี่ยงการเข้าดำเนินงานโดยกิจการอื่น • ความต้องการในสินทรัพย์ไม่มีตัวตน • ประโยชน์ด้านภาษี มหาวิยาลัยธรรมศาสตร์

  4. รูปแบบของการรวมธุรกิจรูปแบบของการรวมธุรกิจ • การควบกิจการตามกฎหมาย • Merger • Consolidation • การซื้อหุ้นสามัญ มหาวิยาลัยธรรมศาสตร์

  5. บริษัท ก บริษัท ก บริษัท ข การควบกิจการ(Merger) • การที่กิจการหนึ่งโอนสินทรัพย์สุทธิให้กับอีกกิจการหนึ่ง โดยกิจการที่โอนเป็นฝ่ายเลิกกิจการ ส่วนกิจการที่รับโอนดำเนินการต่อไปและมีขนาดใหญ่ขึ้น มหาวิยาลัยธรรมศาสตร์

  6. บริษัท ก บริษัท ค บริษัท ข การรวมกิจการ (Consolidation) • การที่กิจการที่มารวมกันโอนสินทรัพย์สิทธิไปให้กิจการใหม่ โดยกิจการที่มารวมกันเลิกกิจการไป มหาวิยาลัยธรรมศาสตร์

  7. การซื้อหุ้น(Stock Acquisition) • การรวมธุรกิจโดยการซื้อหุ้นที่มีสิทธิออกเสียง (หุ้นสามัญ) ของบริษัทที่ต้องการรวมธุรกิจเพื่อให้มีสิทธิควบคุมการบริหารงานในบริษัทที่ถูกซื้อหุ้น • สิทธิควบคุม หมายถึง อำนาจในการกำหนดนโยบายการเงินและการดำเนินงานของบริษัทที่ถูกซื้อหุ้น(โดยทั่วไปเกิดขึ้นเมื่อบริษัทใหญ่ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 50%) • หุ้นของบริษัทย่อยส่วนที่เหลือซึ่งถือโดยผู้ถือหุ้นอื่น เรียกว่าส่วนได้เสียของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย(Minority Interest) มหาวิยาลัยธรรมศาสตร์

  8. การซื้อหุ้น (ต่อ) บริษัท ก บริษัท ก บริษัทใหญ่ (Parent Company) บริษัทในเครือ (Affiliated Company) ควบคุม บริษัท ข บริษัท ข บริษัทย่อย(Subsidiary Company) มหาวิยาลัยธรรมศาสตร์

  9. สรุปรูปแบบและลักษณะการรวมธุรกิจสรุปรูปแบบและลักษณะการรวมธุรกิจ การรวมธุรกิจ รูปแบบการรวมธุรกิจ การควบกิจการ การซื้อหุ้น การซื้อธุรกิจ ลักษณะการรวมธุรกิจ การรวมส่วนได้เสีย มหาวิยาลัยธรรมศาสตร์

  10. ลักษณะของการรวมธุรกิจลักษณะของการรวมธุรกิจ • โดยเนื้อหาแล้วการรวมธุรกิจสามารถแยกได้เป็น 1. การซื้อธุรกิจ 2. การรวมส่วนได้เสีย มหาวิยาลัยธรรมศาสตร์

  11. มหาวิยาลัยธรรมศาสตร์

  12. การซื้อธุรกิจ • การซื้อธุรกิจจะเกิดขึ้นเมื่อกิจการหนึ่งเข้าควบคุมอีกกิจการหนึ่งทำให้สามารถระบุได้ว่ากิจการใดเป็นผู้ซื้อ • ในกรณีที่กิจการหนึ่งซื้อหุ้นทุนที่มีสิทธิออกเสียงในอีกกิจการหนึ่งเกินกว่ากึ่งหนึ่งให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ซื้อมีอำนาจควบคุมกิจการที่ซื้อมา มหาวิยาลัยธรรมศาสตร์

  13. การซื้อธุรกิจ • สถานการณ์ที่ชี้ให้เห็นว่ากิจการหนึ่งเป็นผู้ซื้อ • มูลค่ายุติธรรมของกิจการหนึ่งสูงกว่าอย่างเป็นสาระสำคัญ • รวมธุรกิจโดยการแลกเปลี่ยนหุ้นสามัญกับเงินสด • การรวมธุรกิจทำให้ผู้บริหารของกิจการหนึ่งเข้าครอบงำการเลือกผู้บริหารของอีกกิจการหนึ่ง มหาวิยาลัยธรรมศาสตร์

  14. การซื้อธุรกิจ • กรณีที่การซื้อหุ้นไม่ถึงกึ่งหนึ่ง จะถือเป็นการซื้อธุรกิจถ้า • มีอำนาจในการออกเสียงเกินกว่ากึ่งหนึ่งตามข้อตกลงที่มีอยู่กับผู้ลงทุนอื่น • มีอำนาจตามกฎหมายหรือตามข้อตกลงในการกำหนดนโยบายทางการเงินและการดำเนินงาน • มีอำนาจในการแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการหรือผู้บริหาร มหาวิยาลัยธรรมศาสตร์

  15. การรวมส่วนได้เสีย • หมายถึง การรวมธุรกิจที่ผู้ถือหุ้นของกิจการแต่ละกิจการที่มารวมกันได้ร่วมกันควบคุมสินทรัพย์สุทธิและการดำเนินงานทั้งหมด หรือเกือบทั้งหมดของกิจการที่รวมแล้วเพื่อร่วมรับประโยชน์และความเสี่ยงที่จะเกิดจากกิจการที่รวมแล้วต่อไปในลักษณะที่ไม่สามารถระบุได้ว่าฝ่ายใดเป็นผู้ซื้อ มหาวิยาลัยธรรมศาสตร์

  16. การรวมส่วนได้เสีย (ต่อ) • ลักษณะสำคัญ: • กิจการที่มารวมกันมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมในการควบคุมสินทรัพย์สุทธิ • ไม่สามารถระบุว่ากิจการใดเป็นผู้ซื้อ • กิจการแลกเปลี่ยนหุ้นสามัญที่มีสิทธิออกเสียงเสมอภาคกัน เพื่อร่วมรับความเสี่ยงและประโยชน์จากการรวมกิจการ มหาวิยาลัยธรรมศาสตร์

  17. การรวมส่วนได้เสีย (ต่อ) • การร่วมรับความเสี่ยงและประโยชน์จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ: • กิจการนำหุ้นสามัญส่วนใหญ่มาแลกเปลี่ยนกันหรือมารวมกัน • มูลค่ายุติธรรมของกิจการไม่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ • หลังจากรวมธุรกิจแล้ว ผู้ถือหุ้นของแต่ละกิจการจะต้องคงไว้ซึ่งสัดส่วนการถือครองหุ้นสามัญในกิจการที่รวมแล้วตามสัดส่วนเดิมหรือใกล้เคียงกับสัดส่วนเดิมที่มีอยู่เดิมระหว่างกันก่อนการรวมกิจการ มหาวิยาลัยธรรมศาสตร์

  18. มหาวิยาลัยธรรมศาสตร์

  19. วิธีซื้อ • การรวมธุรกิจที่ถือเป็นการซื้อธุรกิจต้องปฏิบัติตามวิธีซื้อ • นับจากวันที่ซื้อ ผู้ซื้อจะต้อง • รวมผลการดำเนินงานของธุรกิจที่ซื้อมาไว้ในงบกำไรขาดทุน • รับรู้สินทรัพย์และหนี้สินที่ระบุได้ของธุรกิจที่ซื้อ(รวมถึงรายการที่ไม่เคยรับรู้ในงบการเงินมาก่อน) พร้อมทั้งค่าความนิยมหรือค่าความนิยมติดลบที่เกิดจากการซื้อธุรกิจไว้ในงบดุล มหาวิยาลัยธรรมศาสตร์

  20. วิธีซื้อ • ผู้ซื้อจะต้องบันทึกต้นทุนการซื้อธุรกิจด้วยราคาทุน • ราคาทุน หมายถึง จำนวนเงินสด รายการเทียบเท่าเงินสดหรือมูลค่ายุติธรรมของสิ่งตอบแทนซึ่งผู้ซื้อมอบให้ ณ วันที่มีการแลกเปลี่ยน เพื่อแลกเปลี่ยนกับการควบคุมในสินทรัพย์สุทธิของผู้ขาย ต้นทุนการซื้อธุรกิจรวมถึง รายจ่ายที่เกี่ยวข้องโดยตรงทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการซื้อธุรกิจ มหาวิยาลัยธรรมศาสตร์

  21. วิธีซื้อ- ตัวอย่างที่ 1 • วันที่ 1 ก.ค. 25X1 บริษัท ก ซื้อกิจการบริษัท ข โดยการออกหุ้นสามัญ 100,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท สำหรับสินทรัพย์สุทธิของบริษัท ข มูลค่ายุติธรรมของหุ้นสามัญของบริษัท ก ในวันนั้นเท่ากับ 16 บาทต่อหุ้น • ค่าใช้จ่ายทางตรงในการรวมธุรกิจประกอบด้วยค่าธรรมเนียมที่ปรึกษา 80,000 บาท มหาวิยาลัยธรรมศาสตร์

  22. วิธีซื้อ-ตัวอย่างที่ 1 (ต่อ) • บันทึกการออกหุ้นสามัญ 100,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท มูลค่ายุติธรรมหุ้นละ 16 บาทในการรวมธุรกิจกับบริษัท ข โดยวิธีซื้อ มหาวิยาลัยธรรมศาสตร์

  23. วิธีซื้อ-ตัวอย่างที่ 1 (ต่อ) • บันทึกค่าใช้จ่ายในการรวมกิจการกับบริษัท ข โดยเป็นค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ดำเนินการและที่ปรึกษาในการรวมกิจการ 80,000 บาท จะนำไปรวมกับบัญชีเงินลงทุนในบริษัท ข ต้นทุนทั้งหมดในการซื้อบริษัท ข จึงเท่ากับ 1,680,000 บาท มหาวิยาลัยธรรมศาสตร์

  24. วิธีซื้อ-ตัวอย่างที่ 1 (ต่อ) • ตามวิธีซื้อ บริษัทที่ซื้อจะต้องบันทึกต้นทุนทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการซื้อกิจการอื่นไว้ในบัญชีเงินลงทุนโดยไม่ต้องคำนึงว่าบริษัทที่ถูกซื้อจะล้มเลิกกิจการหรือยังคงดำเนินต่อไปโดยมีความสัมพันธ์กันในลักษณะของบริษัทใหญ่และบริษัทย่อย • ถ้าบริษัท ข ล้มเลิกกิจการไป สินทรัพย์สุทธิของบริษัท ข ก็จะถูกบันทึกไว้ในสมุดบัญชีของบริษัท ก ตามมูลค่ายุติธรรม ณ วันที่ซื้อ ส่วนเกินของเงินลงทุนที่จ่ายซื้อกับมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์สุทธิ จะถูกบันทึกไว้ในบัญชีค่าความนิยม(Goodwill) บัญชีเงินลงทุนในบริษัทข จะปิดพร้อมกับการรับโอนสินทรัพย์และหนี้สินต่าง ๆ ตามมูลค่ายุติธรรม มหาวิยาลัยธรรมศาสตร์

  25. วิธีซื้อ-ตัวอย่างที่ 1 (ต่อ) • บันทึกการโอนบัญชีเงินลงทุนในบริษัท ข จำนวน 1,680,000 บาทและรับโอนสินทรัพย์และหนี้สินต่าง ๆ ตามมูลค่ายุติธรรมและบันทึกส่วนเกินไว้ในบัญชีค่าความนิยม มหาวิยาลัยธรรมศาสตร์

  26. วิธีซื้อ- ตัวอย่างที่ 1 (ต่อ) • ถ้าบริษัท ก และบริษัท ข ดำเนินการต่อไปในฐานะบริษัทใหญ่และบริษัทย่อย บริษัท ก ก็ไม่จำเป็นต้องล้างบัญชีเงินลงทุนและรับโอนสินทรัพย์สุทธิของบริษัท ข มายังสมุดบัญชีของตน แต่การกระจายเงินลงทุนจะเกิดขึ้นเมื่อถึงกระบวนการจัดทำงบการเงินรวม มหาวิยาลัยธรรมศาสตร์

  27. การกำหนดมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์และหนี้สินการกำหนดมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์และหนี้สิน มหาวิยาลัยธรรมศาสตร์

  28. การกำหนดมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์และหนี้สินการกำหนดมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์และหนี้สิน มหาวิยาลัยธรรมศาสตร์

  29. กรณีราคาทุนที่จ่ายซื้อสูงกว่ามูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์สุทธิกรณีราคาทุนที่จ่ายซื้อสูงกว่ามูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์สุทธิ • สินทรัพย์และหนี้สินต่าง ๆ จะถูกรับโอนมาในมูลค่ายุติธรรม ส่วนเกินของราคาทุนที่สูงกว่ามูลค่ายุติธรรมจะถือเป็นค่าความนิยม (Goodwill)ซึ่งจะต้องตัดจำหน่ายด้วยวิธีเส้นตรงให้หมดภายในระยะเวลาที่สินทรัพย์นั้นให้ประโยชน์ แต่ต้องไม่เกิน 20 ปี ยกเว้นกรณีผู้ซื้อสามารถอธิบายปัจจัยที่กำหนดอายุการให้ประโยชน์เกินกว่า 20 ปีได้อย่างมีเหตุผล • ผู้ซื้อจะต้องแสดงค่าความนิยมในงบดุล ด้วยราคาทุนหักค่าตัดจำหน่ายสะสมและค่าเผื่อการด้อยค่า มหาวิยาลัยธรรมศาสตร์

  30. กรณีมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์สุทธิสูงกว่าราคาทุนที่จ่ายซื้อกรณีมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์สุทธิสูงกว่าราคาทุนที่จ่ายซื้อ • ผลต่างที่เกิดขึ้นเรียกว่า ค่าความนิยมติดลบ(Negative goodwill) • ผู้ซื้อต้องรับรู้ส่วนของค่าความนิยมติดลบที่สัมพันธ์กับผลขาดทุนและค่าใช้จ่ายในอนาคตเป็นรายได้ในงบกำไรขาดทุน เมื่อผู้ซื้อรับรู้ผลขาดทุนและค่าใช้จ่ายนั้น มหาวิยาลัยธรรมศาสตร์

  31. กรณีมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์สุทธิสูงกว่าราคาทุนที่จ่ายซื้อกรณีมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์สุทธิสูงกว่าราคาทุนที่จ่ายซื้อ • ผลขาดทุนและค่าใช้จ่ายในอนาคตคือรายการที่เป็นไปตามข้อกำหนดทุกข้อต่อไปนี้ • เป็นผลขาดทุนและค่าใช้จ่ายที่ผู้ซื้อคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต • ต้องระบุอยู่ในแผนการซื้อธุรกิจของผู้ซื้อ • สามารถวัดมูลค่าได้อย่างน่าเชื่อถือ • ไม่ถือเป็นหนี้สินที่ระบุได้ ณ วันที่ซื้อ มหาวิยาลัยธรรมศาสตร์

  32. กรณีมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์สุทธิสูงกว่าราคาทุนที่จ่ายซื้อกรณีมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์สุทธิสูงกว่าราคาทุนที่จ่ายซื้อ • ผู้ซื้อต้องรับรู้ส่วนของค่าความนิยมติดลบที่ไม่สัมพันธ์ผลขาดทุนและค่าใช้จ่ายในอนาคตเป็นรายได้ในงบกำไรขาดทุน ดังต่อไปนี้ • รับรู้จำนวนค่าความนิยมติดลบที่ไม่สูงกว่ามูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่ไม่เป็นตัวเงินที่ระบุได้โดยใช้จำนวนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของอายุการใช้งานและอายุการให้ประโยชน์ • รับรู้จำนวนค่าความนิยมติดลบที่สูงกว่ามูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่ไม่เป็นตัวเงินที่ระบุได้เป็นรายได้ทันที มหาวิยาลัยธรรมศาสตร์

  33. กรณีมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์สุทธิสูงกว่าราคาทุนที่จ่ายซื้อกรณีมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์สุทธิสูงกว่าราคาทุนที่จ่ายซื้อ • ผู้ซื้อต้องจัดประเภทค่าความนิยมติดลบเป็นสินทรัพย์เช่นเดียวกับการจัดประเภทค่าความนิยม แต่ต้องแสดงเป็นรายการหักจากสินทรัพย์ในงบดุล มหาวิยาลัยธรรมศาสตร์

  34. วิธีซื้อ-ตัวอย่างที่ 2 • บริษัท ก ซื้อสินทรัพย์สุทธิของบริษัท ข ในการรวมธุรกิจตามวิธีซื้อ เมื่อวันที่ 27 ธ.ค. 25X3 • สินทรัพย์และหนี้สินของบริษัท ข ณ วันนี้แสดงตามราคาตามบัญชีและมูลค่ายุติธรรมดังนี้ มหาวิยาลัยธรรมศาสตร์

  35. มหาวิยาลัยธรรมศาสตร์

  36. วิธีซื้อ-ตัวอย่างที่ 2 (ต่อ) • กรณีที่ 1: ค่าความนิยม (ราคาทุนที่จ่ายซื้อสูงกว่ามูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์สุทธิ) • บริษัท ก จ่ายเงินสด 400,000 บาท และออกหุ้นสามัญ 50,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท และมูลค่ายุติธรรมหุ้นละ 20 บาท สำหรับสินทรัพย์สุทธิของบริษัท ข มหาวิยาลัยธรรมศาสตร์

  37. กระจายราคาทุนที่จ่ายซื้อบริษัท ข ให้กับสินทรัพย์และหนี้สิน มหาวิยาลัยธรรมศาสตร์

  38. วิธีซื้อ-ตัวอย่างที่ 2 (ต่อ) • กรณีที่ 2:ค่าความนิยมติดลบ (มูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์สูงกว่าราคาทุนที่จ่ายซื้อ) • บริษัท ก ออกหุ้นสามัญ 40,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท มูลค่ายุติธรรมหุ้นละ 20 บาท และออกตั๋วเงินจ่าย 10% ระยะเวลา 5 ปี มูลค่า 200,000 บาท สำหรับสินทรัพย์ สุทธิของบริษัท ข มหาวิยาลัยธรรมศาสตร์

  39. กระจายราคาทุนที่จ่ายซื้อบริษัท ข ให้กับสินทรัพย์และหนี้สิน มหาวิยาลัยธรรมศาสตร์

  40. การรวมส่วนได้เสีย (Pooling of interests) • การรวมธุรกิจที่ผู้ถือหุ้นของกิจการแต่ละกิจการที่มารวมกันได้ร่วมกันควบคุมสินทรัพย์สุทธิและการดำเนินงานทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมดของกิจการที่รวมแล้ว เพื่อร่วมรับความเสี่ยงและประโยชน์ที่จะเกิดจากกิจการที่รวมแล้วต่อไปในลักษณะที่ไม่สามารถระบุได้ว่าฝ่ายใดเป็นผู้ซื้อ มหาวิยาลัยธรรมศาสตร์

  41. ส่วนของผู้ถือหุ้นในการรวมส่วนได้เสียส่วนของผู้ถือหุ้นในการรวมส่วนได้เสีย • Assets and liabilities will be recorded at book value. (no goodwill) • (Assets + Liabilities)separate companies = (Assets + Liabilities)surviving (combined) company So must the total equities!!! • กิจการที่รวมแล้วต้องนำผลต่างระหว่าง (1) จำนวนที่บันทึกของหุ้นทุนที่ออกบวกจำนวนสิ่งตอบแทนในรูปของเงินสดหรือสินทรัพย์อื่นและ (2) จำนวนที่บันทึกของหุ้นทุนที่ได้มาไปปรับปรุงกับส่วนของเจ้าของ มหาวิยาลัยธรรมศาสตร์

  42. วิธีรวมส่วนได้เสีย-ตัวอย่างที่ 3 • สมมติว่า บริษัท ก และบริษัท ข ตกลงรวมกิจการกันโดยวิธี Mergerและวิธี Consolidation และบันทึกการรวมธุรกิจโดยวิธีรวมส่วนได้เสีย (Pooling of Interests Method) ส่วนของเจ้าของก่อนการรวมธุรกิจมีดังนี้ มหาวิยาลัยธรรมศาสตร์

  43. วิธีรวมส่วนได้เสีย-ตัวอย่างที่ 3 (ต่อ) • กรณีที่ 1: Merger Paid-in Capital > Stock Issued • บริษัท ก ออกหุ้นสามัญ 5,000 หุ้น เพื่อแลกกับสินทรัพย์สุทธิของบริษัท ข มหาวิยาลัยธรรมศาสตร์

  44. วิธีรวมส่วนได้เสีย-ตัวอย่างที่ 3 (ต่อ) • กรณีที่ 2:Merger Paid-in Capital = Stock Issued • บริษัท ก ออกหุ้นสามัญ 7,000 หุ้น เพื่อแลกกับสินทรัพย์สุทธิของบริษัท ข มหาวิยาลัยธรรมศาสตร์

  45. วิธีรวมส่วนได้เสีย-ตัวอย่างที่ 3 (ต่อ) • กรณีที่ 3: Merger Paid-in Capital < Stock Issued • บริษัท ก ออกหุ้นสามัญ 9,000 หุ้น เพื่อแลกกับสินทรัพย์สุทธิของบริษัท ข มหาวิยาลัยธรรมศาสตร์

  46. วิธีรวมส่วนได้เสีย-ตัวอย่างที่ 3 (ต่อ) • กรณีที่ 4:Consolidation Paid-in Capital > Stock Issued • บริษัท ค ออกหุ้นสามัญ 15,000 หุ้น ให้บริษัท ก 10,000 หุ้นและให้บริษัท ข 5,000 หุ้น เพื่อแลกกับสินทรัพย์สุทธิ มหาวิยาลัยธรรมศาสตร์

  47. วิธีรวมส่วนได้เสีย-ตัวอย่างที่ 3 (ต่อ) • กรณีที่ 5: Consolidation Paid-in Capital > Stock Issued • บริษัท ค ออกหุ้นสามัญ 17,000 หุ้น ให้บริษัท ก 11,000 หุ้นและให้บริษัท ข 6,000 หุ้น เพื่อแลกกับสินทรัพย์สุทธิ มหาวิยาลัยธรรมศาสตร์

  48. วิธีรวมส่วนได้เสีย-ตัวอย่างที่ 3 (ต่อ) • กรณีที่ 6: Consolidation Paid-in Capital < Stock Issued • บริษัท ค ออกหุ้นสามัญ 19,000 หุ้น ให้บริษัท ก 12,000 หุ้นและให้บริษัท ข 7,000 หุ้น เพื่อแลกกับสินทรัพย์สุทธิ มหาวิยาลัยธรรมศาสตร์

  49. วิธีรวมส่วนได้เสีย-ตัวอย่างที่ 3 (ต่อ) มหาวิยาลัยธรรมศาสตร์

  50. หุ้นที่ถือระหว่างบริษัทที่มารวมกันหุ้นที่ถือระหว่างบริษัทที่มารวมกัน • การบัญชีสำหรับหุ้นที่ถือระหว่างบริษัทที่มารวมกัน ขึ้นอยู่กับว่าหุ้นดังกล่าวเป็นหุ้นของบริษัทที่คงอยู่หรือไม่ • ถ้าเป็นการลงทุนซื้อหุ้นของบริษัทคงอยู่โดยบริษัทอื่น หุ้นจำนวนนี้จะต้องถูกไถ่ถอนและคืนให้แก่บริษัทที่คงอยู่ในลักษณะของหุ้นทุนซื้อคืนของกิจการรวม • ในทางตรงกันข้ามถ้าเป็นการลงทุนซื้อหุ้นในบริษัทอื่นโดยบริษัทที่คงอยู่ หุ้นจำนวนนี้จะต้องถูกไถ่ถอนในการรวมธุรกิจ มหาวิยาลัยธรรมศาสตร์

More Related