1 / 27

ผู้จัดทำโครงงาน

ผู้จัดทำโครงงาน. เด็กหญิงมณีรัตน์ เสนศรี เด็กหญิงอำ ภาวรรณ น้ำนวล เด็กหญิงกุล นิษฐ์ จันทร์ หงษา. คุณครูที่ปรึกษาโครงงาน. คุณครูจตุพร คำแก้ว. โรงเรียนบ้านสำโรงเกียรติ. โครงงานสุขภาพ เรื่อง. ฉลาดกิน ฉลาดคิด พิชิตโลกร้อน ด้วย LCA. ที่มาและความสำคัญ.

Download Presentation

ผู้จัดทำโครงงาน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ผู้จัดทำโครงงาน เด็กหญิงมณีรัตน์ เสนศรี เด็กหญิงอำภาวรรณ น้ำนวล เด็กหญิงกุลนิษฐ์ จันทร์หงษา

  2. คุณครูที่ปรึกษาโครงงานคุณครูที่ปรึกษาโครงงาน คุณครูจตุพร คำแก้ว

  3. โรงเรียนบ้านสำโรงเกียรติโรงเรียนบ้านสำโรงเกียรติ โครงงานสุขภาพ เรื่อง ฉลาดกิน ฉลาดคิด พิชิตโลกร้อน ด้วย LCA

  4. ที่มาและความสำคัญ สาเหตุของการทำโครงงานสุขภาพในครั้งนี้เนื่องจาก เรามองว่า • ประเทศชาติจะเจริญได้ก็ด้วยการมีพลเมืองที่มีคุณภาพ สุขภาพคือสิ่งที่สะท้อนถึงคุณภาพของพลเมืองได้ จิตใจที่แจ่มใส ย่อมอยู่ในร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ เราจึงต้องดูแลรักษาสุขภาพของตนเองให้แข็งแรงสมบูรณ์ • โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มีความสำคัญต่อสุขภาพ ส่งผลต่อการดำรงชีวิตเพราะเราต้องใช้อาหารมาบำรุงร่างกายเพื่อการดำรงอยู่ โดยเฉพาะในวัยเรียน อาหารมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ หากรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย การเรียนรู้ย่อมดีตามไปด้วย แต่เรากลับพบปัญหาว่า • นักเรียนบางส่วนรับประทานอาหารไม่ถูกหลักโภชนาการ นิยมรับประทานอาหาร กึ่งสำเร็จรูปซึ่งนอกจากจะส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายแล้วยังแฝงไปด้วยการใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลืองและทำลายสิ่งแวดล้อมเพราะมีกระบวนการผลิตที่ซับซ้อนหลายขั้นตอน • ส่วนหนึ่งมาจากการไม่ตระหนักถึงผลที่เกิด จึงคิดว่าน่าจะมีกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักเรียนเห็นความสำคัญต่อการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายไปพร้อมๆกับการดูแลใส่ใจสิ่งแวดล้อม โดยนำหลักคิดพอเพียงมาใช้ในการทำโครงงานเพื่อนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีโครงงานนี้จึงเกิดขึ้นภายใต้ชื่อ ฉลาดกิน ฉลาดคิด พิชิตโลกร้อน ด้วย LCA

  5. วัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์ของการทำโครงงานครั้งนี้เพื่อ 1.ส่งเสริมการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย 2.สร้างทัศนคติที่ดีต่อการดูแลใส่ใจสุขภาพของตนเอง 3.สร้างความตระหนักต่อการดูแลใส่ใจสิ่งแวดล้อม 4.น้อมนำหลักคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่วิถีชีวิต

  6. ขอบเขตการศึกษา • ในการทำโครงงานครั้งนี้เราได้กำหนดขอบเขตของการศึกษา โดยใช้นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – มัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านสำโรงเกียรติ ใช้ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม 2553 – 15 กันยายน 2553 สถานที่คือ โรงเรียนบ้านสำโรงเกียรติ

  7. ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1.นักเรียนรู้จักเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย 2.นักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่อการดูแลใส่ใจสุขภาพของตนเอง 3.นักเรียนมีความตระหนักต่อการดูแลใส่ใจสิ่งแวดล้อม 4.ได้น้อมนำหลักคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่วิถีชีวิต

  8. กรอบแนวคิด • กรอบแนวคิดที่ใช้ในการทำโครงงานครั้งนี้ก็คือ

  9. LCA(Life Cycle Assessment)การประเมินวัฏจักรชีวิต LCA คือ การประเมินวัฏจักรชีวิต (Life Cycle Assessment:) คือ กระบวนการวิเคราะห์และประเมินค่าผลกระทบของผลิตภัณฑ์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดช่วงชีวิตของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่การสกัดหรือการได้มาซึ่งวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การขนส่งและการแจกจ่าย การใช้งานผลิตภัณฑ์ การใช้ใหม่ / แปรรูป และการจัดการเศษซากของผลิตภัณฑ์หลังการใช้งาน ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า พิจารณาผลิตภัณฑ์ตั้งแต่เกิดจนตาย (Cradle to Grave) โดยมีการระบุถึงปริมาณพลังงานและวัตถุดิบที่ใช้ รวมถึงของเสียที่ปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมและการประเมินโอกาสที่จะส่งผลกระทบ ต่อระบบนิเวศและสุขอนามัยของชุมชน เพื่อที่จะหาวิธีการในการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด

  10. การประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์การประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก ดังนี้ 1.การ บ่งชี้และระบุปริมาณของภาระทางสิ่งแวดล้อม (Environmental loads)ในทุกกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง/ที่เกิดขึ้นตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ เช่น พลังงานและวัตถุดิบที่ถูกใช้ การปล่อยของเสียและการแพร่กระจายของมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม 2.การประเมินและการหาค่าของผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (Environmental Impacts)ที่มีโอกาสเกิดขึ้น โดยพิจารณาจากปริมาณภาระทางสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่ถูกบ่งชี้มาในขั้นตอนแรก 3.การ ประเมินหาโอกาสในการปรับปรุงทางสิ่งแวดล้อม และใช้ข้อมูลที่มีการแสดงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของกิจกรรมเหล่านี้เป็น องค์ประกอบในการตัดสินใจ

  11. ขั้นตอนการดำเนินงาน เราใช้ขั้นตอนในการดำเนินงานดังนี้ • ประชุมเพื่อร่วมกันค้นหาปัญหา • วางแผนในการเลือกโครงงาน • ศึกษาข้อมูลจากแหล่งความรู้ต่างๆ • รวบรวมข้อมูลจากการศึกษาค้นคว้า • จัดระบบข้อมูลจากการศึกษาค้นคว้า • ร่วมกันพิจารณากิจกรรมที่จะนำมาใช้ในโครงงาน • ค้นหาปัญหาขณะทำกิจกรรมและดำเนินการแก้ไข • สรุปความรู้ที่ได้แล้วนำมาจัดทำเอกสารเผยแพร่ความรู้ • สำรวจความพึงพอใจของผู้ที่ได้รับการเผยแพร่ • นำเสนอข้อมูลจากการศึกษาค้นคว้ามาสรุปและรายงานผลการดำเนินงาน

  12. วิธีการดำเนินการ • การดำเนินการแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมการ • ร่วมกันค้นหาประเด็นปัญหา • จัดเตรียมเอกสาร • ประสานงานแจ้งครู ขั้นที่ 2 ขั้นปฏิบัติการ แบ่งออกเป็น -ระยะก่อนการพัฒนา - ดำเนินการภายในโรงเรียนโดยนักเรียนกลุ่มแกนนำส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียน - สำรวจข้อมูลของนักเรียนเพื่อรวบรวมข้อมูล

  13. วิธีการดำเนินการ • ระยะดำเนินการพัฒนาและปรับปรุง - นำผลจากการสำรวจข้อมูลพฤติกรรมการบริโภคอาหารมากำหนดแนวทางในการจัดกิจกรรมและกำหนดเวลาในการดำเนินกิจกรรม โดยกิจกรรมย่อย 3 กิจกรรมดังนี้ คือ 1. กินอาหารดีมีชัยไปกว่าครึ่ง 2. กิจกรรมชวนกันอ่อนหวาน 3.กิจกรรมกระตุกต่อมคิด พิชิตโลกร้อนด้วย LCA ขั้นที่ 3 ขั้นสรุปและประเมินผล สรุปผลการดำเนินกิจกรรมโครงงานแก่คุณครูที่ปรึกษา และบุคลากรที่เกี่ยวข้องภายในโรงเรียน

  14. ผลการดำเนินงาน จากผลการดำเนินงานโครงงานฉลาดกิน ฉลาดคิด พิชิตโลกร้อนด้วย LCA พบว่า กิจกรรมย่อย 3 กิจกรรม 1. กินอาหารดีมีชัยไปกว่าครึ่ง 2. กิจกรรมชวนกันอ่อนหวาน 3.กิจกรรมกระตุกต่อมคิด พิชิตโลกร้อนด้วย LCA

  15. กิจกรรม กินอาหารดีมีชัยไปกว่าครึ่ง 1.ดำเนินการจัดทำแบบสอบถาม เพื่อสำรวจอาหารที่นักเรียนนิยมรับประทาน โดยทำการสำรวจตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 – มัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 300 ฉบับ 2. นำอาหารจากการสำรวจมาหาพลังงานสารอาหารและวิเคราะห์ส่วนประกอบของอาหารแต่ละชนิด 3. นำอาหารมาแยกประเภทเป็น อาหารกึ่งสำเร็จรูป อาหารจานเดียว เครื่องดื่มพร้อมดื่ม 4. นำอาหารที่แยกประเภทมาวิเคราะห์ถึงสารเคมีที่มีในอาหารที่ส่งผลต่อร่างกาย และสารอาหารที่ได้รับจากแต่ละชนิด 5.นำผลที่ได้ไปเผยแพร่โดยการประชาสัมพันธ์เสียงตามสายในช่วงพักกลางวันและออกรณรงค์ตาม ชั้นเรียนชี้ให้เห็นถึงโทษการรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์

  16. กิจกรรม กินอาหารดีมีชัยไปกว่าครึ่ง • สำรวจข้อมูลอาหารและรณรงค์การรับประทานอาหารดีมีประโยชน์ โดยการสำรวจ อาหารที่นักเรียนชอบรับประทานแล้วนำมาหาพลังงานและคุณค่าทางสารอาหารที่มี และนำอาหารทั้ง 2 ชนิดมาเปรียบเทียบถึงคุณประโยชน์

  17. กิจกรรม ชวนกันอ่อนหวาน 1. คิดสูตรเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพเสนอต่อฝ่ายโภชนาการเพื่อจำหน่าย โดยใช้ความหวาน 10 % 2. รณรงค์ชักชวนเพื่อนๆน้องๆหลีกเลี่ยงอาหารกรุบกรอบและเครื่องดื่มที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกายและหันมาดื่มน้ำสมุนไพรเพื่อสุขภาพ 5 ชนิดได้แก่ 1. น้ำมะนาว 2. น้ำใบเตย 3. น้ำตะไคร้ 4. น้ำขิง 5. น้ำอัญชัน 3.สำรวจความพึงพอใจต่อสูตรน้ำสมุนไพรจากนักเรียน 100 คน

  18. กิจกรรมกระตุกต่อมคิด พิชิตโลกร้อนด้วย LCA ออกรณรงค์เยี่ยมชั้นเรียนเพื่อชวนน้องๆร่วมกันทำ LCA ในฐานะที่เป็นผู้บริโภคใช้ ข้อมูลเพื่อประกอบการการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์และร่วมใส่ใจสิ่งแวดล้อม โดยระบุตัวอย่างผลิตภัณฑ์มาวิเคราะห์จำนวน 10 ชนิด คือ

  19. ประโยชน์ที่ได้รับ 1.รู้จักวิธีการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย 2.มีทัศนคติที่ดีต่อการดูแลใส่ใจสุขภาพของตนเอง 3.มีความตระหนักต่อการดูแลใส่ใจสิ่งแวดล้อม 4.สามารถน้อมนำหลักคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่วิถีชีวิต

  20. สรุปและอภิปรายผล การทำโครงงานครั้งนี้สามารถสรุปได้ว่า • ผู้เข้าร่วมมีความสนใจและให้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นอย่างดี ทุกกิจกรรมล้วนมุ่งให้ผู้เข้าร่วมตระหนักและเห็นถึงการให้ความสำคัญต่อการดูแลเอาใจใส่สุขภาพตนเองและสอดแทรกแนวคิดการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมเข้าไปในกิจกรรม อันนำไปสู่การเห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น • จากการทำโครงงานครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า การดูแลรักษาสุขภาพด้วยการเลือกรับประทานอาหารที่ดีมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต คุณภาพของอาหารไม่ได้ขึ้นอยู่กับราคา แต่ขึ้นอยู่กับคุณค่าของสารอาหารที่มี การเลือกรับประทานอาหารในปัจจุบันอาจไม่ใช่แค่เพื่อประโยชน์ต่อร่างกายตนเองแต่ต้องคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสิ่งที่ ทุกคนในสังคมต้องร่วมกันตระหนักและรับผิดชอบ

  21. การทำงานภายใต้หลักคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงการทำงานภายใต้หลักคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ความพอประมาณ พอประมาณในเรื่องเวลาในการทำกิจกรรมโดยใช้เวลาให้คุ้มค่า วางแผนการทำงานโดยระบุเวลาที่ชัดเจนและแบ่งเวลาในการทำงานให้พอดีกับงานและไม่รบกวนเวลาเรียน ความมีเหตุผล กำหนดกิจกรรมโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ และผลที่จะเกิดขึ้น กิจกรรมที่กำหนดขึ้นต้องไม่ยากและซับซ้อนจนเกินไป เพื่อให้สามารถปฏิบัติได้จริง การมีภูมิคุ้มกันที่ดี การทำงานโครงงานนี้ก่อให้เกิดความตระหนักต่อการดูแลรักษาตนเอง รอบคอบในการพิจารณาเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ คิดวิเคราะห์และเชื่อมโยงถึงความเกี่ยวพันกันของอาหารกับสิ่งแวดล้อม เห็นคุณค่าของตนเองและนำไปสู่การเห็นคุณค่าของผู้อื่น เกิดความตระหนักต่อการเป็นพลเมืองที่ดีที่รักตัวเองและสิ่งแวดล้อม เงื่อนไขความรู้ ความรู้เกี่ยวกับการประเมินวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ LCA การคำนวณหาคุณค่าสารอาหาร หลักการเลือกซื้ออาหารที่มีประโยชน์ เงื่อนไขคุณธรรม ความประหยัด ความอดทน ความสะอาด หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มิติสังคม เกิดการตระหนักต่อการดูแลรักษาสุขภาพตนเองและผู้อื่น คำนึงถึงส่วนรวม เกิดเป็นสังคมรักสุขภาพ มิติเศรษฐกิจ การดูแลตนเองให้แข็งแรงช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษาตัว การซื้ออาหารที่มีในท้องถิ่น ช่วยลดการใช้พลังงาน และช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม มิติวัฒนธรรม เกิดเป็นค่านิยมในการดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง พร้อมๆกับค่านิยมการมีจิตสาธารณะ มิติสิ่งแวดล้อม เกิดแนวร่วมในการร่วมกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมผ่านวิถีชีวิตประจำวัน

  22. ข้อเสนอแนะ • จากการจัดทำโครงงานมีข้อเสนอแนะ ดังนี้ 1.ควรขยายผลกิจกรรมให้มีความยั่งยืนโดยการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปีการศึกษา 2.ควรมีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการส่งเสริมให้นักเรียนมีความตระหนักและใส่ใจสุขภาพและใส่ใจสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น

  23. อาหารจานเดียว สะท้อนโลกได้ทั้งใบ

  24. โรงเรียนบ้านสำโรงเกียรติโรงเรียนบ้านสำโรงเกียรติ โครงงานอาชีพ เรื่อง

More Related