1 / 52

บทที่ 8

บทที่ 8. การกำหนดราคา. หลักการกำหนดราคา. หลักการทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ หน่วยธุรกิจได้กำไรสูงสุดถ้ากำหนดราคาและการผลิต ณ ระดับที่ MR = MC แนวทางปฏิบัติ หน่วยธุรกิจทั่วไปไม่ทราบค่า MR และ MC จึงกำหนดราคาด้วยหลักการอื่น. การกำหนดราคาทางทฤษฎี.

Ava
Download Presentation

บทที่ 8

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 8 การกำหนดราคา

  2. หลักการกำหนดราคา • หลักการทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ • หน่วยธุรกิจได้กำไรสูงสุดถ้ากำหนดราคาและการผลิต ณ ระดับที่ MR = MC • แนวทางปฏิบัติ • หน่วยธุรกิจทั่วไปไม่ทราบค่า MR และ MC จึงกำหนดราคาด้วยหลักการอื่น

  3. การกำหนดราคาทางทฤษฎี • ดุลยภาพในการกำหนดราคาและปริมาณผลิตก็คือ สภาวะการผลิตที่ทำให้ผู้ผลิตได้รับกำไรสูงสุด • เงื่อนไขที่จะทำให้ผู้ผลิตได้กำไรสูงสุดก็คือทำการผลิต ณ ระดับที่ MR=MC • ผู้ผลิตในตลาดผูกขาดจะกำหนดได้ทั้งราคาตลาดและปริมาณผลิต

  4. หลักในการวิเคราะห์ด้วยรูปกราฟหลักในการวิเคราะห์ด้วยรูปกราฟ • เส้นรายรับที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ เส้นรายรับหน่วยสุดท้าย(MR) และเส้นรายรับเฉลี่ย (AR) โดยที่เส้น AR เป็นเส้นเดียวกับเส้นอุปสงค์ และรายรับเฉลี่ยก็คือราคาสินค้านั่นเอง • เส้นต้นทุนที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ เส้นต้นทุนหน่วยสุดท้าย(MC) และเส้นต้นทุนเฉลี่ย (AC)

  5. หาระดับปริมาณผลิตที่เหมาะสม ที่ MR=MC • เปรียบเทียบรายรับเฉลี่ยกับต้นทุนเฉลี่ย ณ ระดับการผลิตดุลยภาพ(MR=MC) • ถ้ารายรับเฉลี่ยสูงกว่าต้นทุนเฉลี่ย ส่วนต่างก็คือ กำไรเฉลี่ย(ต่อ 1 หน่วย) • ถ้ารายรับเฉลี่ยต่ำกว่าต้นทุนเฉลี่ย ส่วนต่างก็คือขาดทุนเฉลี่ย(ต่อ 1 หน่วย)

  6. เส้นรายรับที่ใช้ในการวิเคราะห์เส้นรายรับที่ใช้ในการวิเคราะห์ • เส้น AR (เส้นอุปสงค์) มีลักษณะเป็นเส้นทอดลงจากซ้ายไปขวา • เส้น MR เป็นเส้นทอดลงจากซ้ายไปขวาเช่นกัน โดยจะอยู่ใต้เส้น AR และมีความชัน(slope) เป็น 2 เท่าของเส้น AR

  7. เส้น AR และMR รายรับ, ต้นทุน D=AR MR ปริมาณผลิต

  8. เส้นต้นทุนที่ใช้ในการวิเคราะห์เส้นต้นทุนที่ใช้ในการวิเคราะห์ ต้นทุน MC AC ปริมาณผลิต

  9. การกำหนดราคาทางทฤษฎี รายรับ, ต้นทุน MC AC A P B C E AR MR ปริมาณผลผลิต O Q

  10. ปริมาณผลิตที่เหมาะสมที่สุด(MR=MC)อยู่ที่ OQ • ที่ OQรายรับเฉลี่ย (AR) = ระยะ AQ ต้นทุนเฉลี่ย (AC) = ระยะ BQ กำไรเฉลี่ย = ระยะ AB กำไรทั้งหมด = กำไรเฉลี่ย x ปริมาณผลิต(ขาย) = AB x OQ = AB x CB =พื้นที่สี่เหลี่ยม PABC

  11. หลักการกำหนดราคาในทางปฏิบัติหลักการกำหนดราคาในทางปฏิบัติ มี 2 หลักการคือ 1. Cost-Based Pricing เป็นการกำหนดราคาโดยใช้ต้นทุนเป็นหลัก โดยทั่วไปจะใช้วิธี Mark Up หรือ Cost Plus Pricing คือกำหนดราคาโดยบวกเปอร์เซ็นต์เพิ่มขึ้นจากต้นทุน 2. Value-Based Pricing เป็นการกำหนดราคาตามคุณค่าของสินค้า โดยพิจารณาจากราคาที่ผู้บริโภคยินดีจ่ายสูงสุดเป็นหลัก

  12. 1. Cost-Based Pricing การกำหนดราคาด้วยเปอร์เซ็นต์บวกเพิ่ม(Mark Up หรือ Cost Plus Pricing) • ผู้กำหนดราคาต้องตัดสินใจว่าควรได้กำไรคิดเป็นเปอร์เซ็นต์เท่าใดของต้นทุนแปรผันเฉลี่ย (AVC) • บวกเปอร์เซ็นต์ที่กำหนดนั้นเข้าไปในต้นทุนแปรผันเฉลี่ยเพื่อให้ได้ราคาที่ต้องการ

  13. ถ้าต้องการกำไร =M% ของต้นทุนแปรผันเฉลี่ย จะกำหนดราคาได้ดังนี้ P = AVC + M(AVC) โดยที่ • P = ราคาขาย • AVC= ต้นทุนแปรผันเฉลี่ย • M=% บวกเพิ่ม

  14. ตัวอย่างการผลิตสินค้า X เสียต้นทุนแปรผันเฉลี่ย (AVC) = 10 บาท และผู้ผลิตต้องการกำไร 25% ของ AVC ในที่นี้ AVC = 10, M= 25% = 0.25 ดังนั้น ราคาขาย (P) = AVC + M(AVC) = 10 + 0.25(10) = 12.50 บาท

  15. การกำหนดค่า M • การจะพิจารณาว่าค่า M ควรเป็นเท่าใด อาจใช้ข้อมูลของ P และ AVC ในอดีตมาคำนวณ ดังสูตร M = x 100 ถ้าในช่วงก่อน P =15 บาทและ AVC = 11 บาท M =x 100 = 36.36%

  16. ความสัมพันธ์ระหว่างค่า M กับความยืดหยุ่นอุปสงค์ • ถ้ากำหนดให้ AVC คงที่ • กรณีความยืดหยุ่นอุปสงค์ต่อราคามีค่าน้อย แสดงว่าสินค้าค่อนข้างจำเป็น ผู้ผลิตจึงมีโอกาสบวกกำไรได้มาก ค่า M จึงมีแนวโน้มสูง • กรณีความยืดหยุ่นอุปสงค์ต่อราคามีค่ามาก แสดงว่าสินค้าไม่ค่อยจำเป็นนัก ผู้ผลิตจึงมีโอกาสบวกกำไรได้น้อย ค่า M จึงมีแนวโน้มต่ำ

  17. ความสัมพันธ์ระหว่าง M และความยืดหยุ่นอุปสงค์เป็นดังต่อไปนี้ M = x 100 โดย M = เปอร์เซ็นต์บวกเพิ่ม Ed= ความยืดหยุ่นอุปสงค์ต่อราคา

  18. ตัวอย่างถ้า Ed ของสินค้า X = -6 โดย AVC=160 บาท ราคาขายควรกำหนดไว้เท่าใดจึงจะเหมาะสม ขั้นแรก หา M จากสูตร M = x 100 =x 100 = x 100 = 20% หรือ 0.2 จาก P = AVC + M(AVC) ในที่นี้ AVC=160, M=0.2 ดังนั้น P = 160 + 0.2(160) = 192 บาท

  19. ข้อดี ของวิธีนี้ 1. ไม่ต้องหาข้อมูลรายรับและต้นทุนโดยละเอียดเพื่อคำนวณค่า MR และ MC 2. คำนวณง่าย 3. ถ้า AVC ไม่เปลี่ยน ก็ไม่ต้องปรับราคาใหม่ 4. ใช้เป็นเหตุผลเพื่อขอปรับขึ้นราคาสินค้าได้ถ้าหาก AVC สูงขึ้น

  20. ข้อด้อย ของวิธีนี้ 1. ต้นทุนที่ใช้คำนวณเป็นต้นทุนในอดีตและเป็นต้นทุนทางบัญชี (ไม่ได้คิดค่าเสียโอกาส) 2. เนื่องจากใช้ AVC ในการกำหนดราคา จึงแตกต่างจากทฤษฎีที่ใช้ MC 3. ให้ความสำคัญกับต้นทุนมากเกินไปในการกำหนดราคา

  21. 2. Value-Based Pricing • กำหนดราคาตามคุณค่าของสินค้าตามสายตาของผู้ซื้อหรือตามความเต็มใจจ่ายซื้อ (willingness to pay) มีหลายแบบ เช่น 1.การแบ่งแยกราคาขายหรือการตั้งราคาลำเอียง (Price Discrimination) 2.Two part tariff 3.Bundling แต่ในที่นี้จะพิจารณาเฉพาะกรณีการแบ่งแยกราคาขาย

  22. การแบ่งแยกราคาขาย (Price Discrimination) • คือการที่ผู้ผลิต/ขาย ตั้งราคาสินค้าชนิดเดียวกันไว้หลายราคา (แม้ต้นทุนจะเท่ากัน) โดยกำหนดราคาแตกต่างกันไปสำหรับผู้ซื้อแต่ละกลุ่ม เช่น • ตั้งราคาแพงสำหรับกลุ่มรายได้สูง ราคาถูกลงสำหรับกลุ่มที่รายได้ต่ำกว่า • ตั้งราคาสูงกับผู้ใหญ่ ตั้งราคาต่ำสำหรับเด็ก • ตั้งราคาต่ำลงในบางช่วงเวลา

  23. เงื่อนไขการจะแบ่งแยกราคาขายได้ต้องเป็นไปตาม เงื่อนไขต่อไปนี้ 1. ต้องสามารถแบ่งแยกผู้ซื้อหรือกลุ่มผู้ซื้อไม่ให้ซื้อในราคาเดียวกันได้ เพราะถ้าแบ่งไม่ได้ก็จะไม่มีผู้ใดยอมจ่ายราคาสูงกว่ากลุ่มอื่น ตัวอย่างของการแบ่งแยกเช่น • กำหนดราคาตั๋วภาพยนตร์รอบบ่ายโมงวันจันทร์-ศุกร์ต่ำกว่ารอบอื่น • กำหนดราคาตั๋วรถไฟสำหรับเด็กต่ำกว่าผู้ใหญ่

  24. 2. ผู้ซื้อแต่ละคน(หรือแต่ละกลุ่ม)มีค่าความยืดหยุ่นอุปสงค์ต่อราคา(ซึ่งก็พฤติกรรมการตอบสนองต่อการเปลี่ยน แปลงในราคา)ไม่เท่ากัน • ผู้ที่อุปสงค์มีความยืดหยุ่นน้อย แสดงว่าสินค้านั้นจำเป็นสำหรับเขา จึงยอมจ่ายแพงกว่า • ผู้ที่อุปสงค์มีความยืดหยุ่นมาก แสดงว่าสินค้านั้นไม่สู้จำเป็นนัก ผู้ขายจึงไม่อาจตั้งราคาสูงได้

  25. 3. ไม่มีการแข่งขันด้านราคาจากคู่แข่ง เช่นตลาดที่ผลิตสินค้าขายนั้นมีลักษณะเป็นตลาดผูกขาด หรือตลาดผู้ขายน้อยราย (oligopoly) ที่มีการร่วมมือกันผูกขาด (collusion)

  26. การแบ่งแยกราคาขายอาจจำแนกได้เป็น 3 ระดับคือ • การแบ่งแยกราคาขายระดับที่ 1 (First Degree Price Discrimination) • การแบ่งแยกราคาขายระดับที่ 2 (Second Degree Price Discrimination) • การแบ่งแยกราคาขายระดับที่ 3 (Third Degree Price Discrimination)

  27. การแบ่งแยกราคาขายจะทำให้ • มีสินค้าผลิตออกมาขายมากขึ้น ซึ่งเป็นผลดีต่อผู้บริโภค • ผู้ขายได้กำไรสูงกว่าปกติ ส่วนเกินของผู้บริโภค (Consumer Surplus) ลดลงหรือหมดไป • ส่วนที่ถือว่าเป็นความสูญเปล่า (deadweight loss) ลดลงหรือหมดไป

  28. Consumer Surplus = ส่วนต่างระหว่างราคาที่ผู้บริโภคยินดีจ่ายกับราคาที่จ่ายจริง • Deadweight Loss = ส่วนที่สูญเสียเพราะไม่มีการผลิตแม้ว่าผู้บริโภคจะยินดีจ่ายสูงกว่าต้นทุนหน่วยสุดท้าย(MC) ซึ่งผู้ผลิตจะไม่ขาดทุนก็ตาม

  29. ส่วนเกินผู้บริโภค (ราคาที่ยินดีจ่ายอยู่บนเส้น D ซึ่งสูงกว่า OP) ราคา Deadweight loss (ผู้บริโภคยินดีจ่ายซื้อแต่ไม่ผลิตขาย) P MC=AC D=AR MR ปริมาณซื้อ O Q ผลิตที่ MR=MC คือผลิต = OQ ราคาขาย =OP

  30. (ก) การแบ่งแยกราคาขายระดับที่ 1 • ผู้ซื้อแต่ละคนถูกบีบให้ต้องจ่ายราคาสูงสุดเท่าที่จะสามารถจ่ายได้สำหรับสินค้า/บริการนั้น เช่น • แพทย์ในสหรัฐฯ ที่รับรักษาคนไข้ถึงบ้าน จะคิดค่าบริการตามฐานะคนไข้แต่ละคน • บริการส่วนตัวต่าง ๆ เช่นที่ปรึกษากฎหมาย, ที่ปรึกษาทางการเงิน ฯลฯ

  31. การประมูลแบบ Dutch Auction ซึ่งผู้ดำเนินการจะตั้งราคาสูงไว้ก่อนแล้วค่อย ๆ ลดลง คนแรกที่ยอมรับราคาประมูลจะได้สินค้าไป (จ่ายราคาสูงสุดเท่าที่เต็มใจจ่ายได้)

  32. ตัวอย่าง 10 1 (นาย ก) 9 2 (นาย กและ ข) 8 3 (นาย ก, ขและ ค) 7 4 (นาย ก,ข,ค และ ง) ถ้าตั้งราคาเดียว = 7 บาท มีผู้ซื้อ 4 คน รายได้ = 7x4 = 28 บาท

  33. ถ้าแบ่งแยกราคาขายได้ • ขาย(ก) ราคา 10 บาท • ขาย(ข) ราคา 9 บาท • ขาย(ค) ราคา 8 บาท • ขาย(ง) ราคา 7 บาท รวมรายได้ = 10+9+8+7 = 34 บาท

  34. First-degree price discrimination ราคา ราคาที่เต็มใจจ่ายแสดงด้วยเส้น D = ราคาที่จ่ายจริง MC=AC D=AR MR ปริมาณซื้อ O O Q* Q** ถ้าแยกราคาขาย จะผลิต=OQ** ถ้าไม่แยกราคาขาย จะผลิต=OQ*

  35. ต้องการขาย =40 หน่วย ถ้าขายราคาเดียวต้องตั้งราคา =20 ได้รายได้ = พื้นที่ OGCF ถ้าแบ่งแยกราคาขายจะได้รายได้=พื้นที่ OACF ราคา A 60 G C 20 F O ปริมาณซื้อ 40 60

  36. ต้องการขาย = 40 หน่วย • กรณีขายราคาเดียว(ไม่แบ่งแยกราคาขาย) ต้องตั้งราคา 20 บาทจะขายได้หมดและได้รายได้ = 20x40 = 800 บาท หรือพื้นที่ OGCF • กรณีแบ่งแยกราคาขาย เมื่อขาย 40 หน่วยโดยขาย ณ ราคาสูงสุดที่ผู้บริโภคเต็มใจซื้อ (ราคาบนเส้นอุปสงค์) จะได้รายได้เท่ากับพื้นที่ใต้เส้นอุปสงค์ คือพื้นที่ OACF หรือคิดเป็นรายได้ = 1,600 บาท (คิดจากพื้นที่ OGCF + GAC)

  37. พื้นที่ OGCF = ด้านกว้าง x ยาว = 40 x 20 = 800 พื้นที่ GAC = ½ x ฐาน x สูง = ½ x 40 x 40 =800 พื้นที่ OACF = พื้นที่ OGCF + พื้นที่ GAC = 800+800 = 1,600

  38. การแบ่งแยกราคาขายระดับที่ 2 • เป็นการคิดราคาสินค้าเดียวกัน แตกต่างกันตามปริมาณที่ผู้บริโภคแต่ละรายซื้อ • ถ้าซื้อสินค้าเป็นปริมาณมาก จะต้องจ่ายราคาต่ำ • ถ้าซื้อสินค้าเป็นปริมาณน้อย จะต้องจ่ายราคาสูง • เช่นซื้อฟิล์ม 1 ม้วนราคา 100 บาท แต่ถ้าขายเป็นกล่อง(มีฟิล์ม 4 ม้วน)จะขาย 360 บาท คิดเฉลี่ย ม้วน ละ 90 บาท

  39. การแบ่งแยกราคาขายระดับที่ 2 • โดยทั่วไปจะแบ่งสินค้าเป็นกลุ่ม • กลุ่มที่มีปริมาณสินค้ามาก จะตั้งราคาค่อนข้างต่ำ • กลุ่มที่มีปริมาณสินค้าน้อย จะตั้งราคาค่อนข้างสูง

  40. สินค้ากลุ่มที่ 1 มีปริมาณน้อย ขายราคาสูง=P1สินค้ากลุ่มที่ 2 มีปริมาณมากขึ้นขายราคาลดลงเป็นP2 สินค้ากลุ่มที่ 3 มีปริมาณมาก ขายราคา=P3 ราคา P1 P2 MC P3 D=AR MR ปริมาณ กลุ่มที่1 กลุ่มที่2 กลุ่มที่3 Second-degree price discrimination

  41. การแบ่งแยกราคาขายระดับที่ 3 • เป็นการกำหนดราคาสินค้าเดียวกัน แตกต่างกันตามลักษณะอุปสงค์ของลูกค้าแต่ละกลุ่ม เช่น • กำหนดราคาถูกสำหรับขายนักศึกษา • กำหนดราคาพิเศษสำหรับการโดยสารเครื่องบิน แต่มีข้อแม้ว่า จะเปลี่ยนหรือคืนตั๋วไม่ได้ และต้องบินเฉพาะวันที่กำหนดเท่านั้น

  42. ผู้บริโภคกลุ่มที่อุปสงค์มีความยืดหยุ่นน้อย จะตั้งราคาสูง เพราะแสดงว่าสินค้าค่อนข้างจำเป็นสำหรับผู้บริโภคกลุ่มนี้ • ผู้บริโภคกลุ่มที่อุปสงค์มีความยืดหยุ่นมาก จะตั้งราคาได้ต่ำ เพราะแสดงว่าสินค้าไม่ค่อยจำเป็นนักสำหรับผู้บริโภคกลุ่มนี้

  43. การแบ่งแยกราคาขายแบบอื่น ๆ 1.การแบ่งแยกราคาขายข้ามช่วงเวลา (intertemporal price discrimination) • แยกผู้ซื้อที่ลักษณะอุปสงค์ต่างกันเป็นกลุ่ม ๆ • คิดราคาแต่ละกลุ่มต่างกันตามช่วงเวลา โดยกลุ่มที่ต้องการก่อนและอำนาจซื้อสูงจะขายราคาแพง ส่วนกลุ่มที่ไม่รีบร้อนที่จะได้สินค้าหรืออำนาจซื้อต่ำกว่าจะขายให้ช้ากว่าในราคาต่ำลง • ตัวอย่างเช่น นิยายขายดี ภาพยนตร์ เทคโนโลยี

  44. ค่าดูภาพยนตร์ในโรงชั้น 1 แพงกว่าโรงชั้น 2 • นิยายขายดีของต่างประเทศจะพิมพ์ปกแข็งขายราคาแพงก่อน หลังจากนั้นอีก 6 เดือนถึง 1ปีจึงจะพิมพ์เป็นปกอ่อนขายราคาถูกลง • คอมพิวเตอร์รุ่นใหม่จะราคาสูงมาก แต่อีกประมาณ 6 เดือนราคาจะลดลงไปเรื่อย ๆ

  45. 2. การกำหนดราคาตามช่วงการใช้สูงสุด (peak-load pricing) • อุปสงค์สินค้า/บริการบางประเภทจะไม่สม่ำเสมอ บางช่วงเวลาจะมีสูงเป็นพิเศษ • ช่วงเวลาที่มีอุปสงค์มาก(คนแย่งกันซื้อ) ถ้าคิดราคาสูงจะได้กำไรสูงขึ้น • ช่วงเวลาอุปสงค์หนาแน่น การผลิตเพิ่มมักต้นทุนสูงจึงควรกำหนดราคาสูงในช่วงนั้น • ช่วงที่อุปสงค์น้อยคิดราคาต่ำลงกว่าช่วงอุปสงค์มาก

  46. ค่าบริการในสวนสนุกสำหรับวันธรรมดาซึ่งมีคนน้อยจะค่อนข้างต่ำเพื่อดึงดูดลูกค้า แต่ในวันหยุดซึ่งมีคนมากก็จะคิดราคาแพงขึ้น • ค่าบริการโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศ ช่วงหลังเที่ยงคืนซึ่งคนใช้น้อยจะคิดราคาถูกลง

  47. การกำหนดราคาสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ใหม่การกำหนดราคาสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ • สินค้าใหม่ = สินค้าที่แตกต่างไปจากสินค้าอื่นที่มีอยู่ในตลาดมาก่อน หรือไม่เคยมีในตลาดมาก่อน • การตั้งราคาสินค้าใหม่มีปัญหาตรงที่ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับอุปสงค์และสภาวะตลาดมาประกอบการตัดสินใจ • กลยุทธ์การตั้งราคาสินค้าใหม่มี 2 แนวทางคือ • ตั้งราคาสูง (Skimming Pricing) • ตั้งราคาต่ำ (Penetration Pricing)

  48. กลยุทธ์ตั้งราคาสูง • Skimming Pricing = การตั้งราคาสูงเพื่อให้ได้กำไรมากที่สุดโดยเร็ว เป็นการจำกัดกลุ่มผู้ซื้อเฉพาะกลุ่มที่เต็มใจจ่ายราคาสูงได้เท่านั้น • สาเหตุที่ตั้งราคาสูง เพราะเป็นการเริ่มผลิตใหม่โดยยังไม่รู้ความต้องการซื้อแน่นอน จึงต้องผลิตจำนวนน้อยก่อน เมื่อผลิตน้อยต้นทุนต่อหน่วยจึงสูง ทำให้ต้องตั้งราคาสูงด้วย

  49. การจะลดราคาลงในอนาคตหรือไม่ ขึ้นกับว่า • มีคู่แข่งหรือไม่ • ต้องการขยายตลาดหรือไม่ • ถ้าไม่มีคู่แข่งหรือต้องการจำกัดกลุ่มผู้ซื้อเฉพาะกลุ่มรายได้สูงก็จะไม่ลดราคา

  50. สินค้าที่ลักษณะเหมาะกับกลยุทธ์ตั้งราคาสูงคือสินค้าที่ลักษณะเหมาะกับกลยุทธ์ตั้งราคาสูงคือ • Credence Productได้แก่สินค้าที่ผู้ซื้อตัดสินใจซื้อเพราะชื่อเสียงของผู้ผลิตหรือชื่อเสียงของสินค้านั้นเอง เช่นสินค้า brand name ดัง ๆ ทั้งหลาย ซึ่งคนส่วนใหญ่จะเข้าใจว่าการที่ราคาสูงแสดงว่าคุณภาพต้องสูงด้วย • Experience Productได้แก่สินค้าที่ผู้ซื้อจะรู้คุณสมบัติได้ต่อเมื่อซื้อไปใช้แล้ว ถ้าพอใจก็จะซื้อต่อไปแม้จะมีราคาค่อนข้างสูงก็ตาม

More Related