360 likes | 879 Views
บทที่ 3. ทฤษฎีการเมืองตะวันตกที่สำคัญ. 3.5 สังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ และลัทธิของเหมา เจ๋อ ตง. คำถามที่ท้าทายให้คุณตอบ. แนวคิดเรื่องสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์แตกต่างกันอย่างไร ? คาร์ล มาร์กซ์นำแนวคิดทางปรัชญาจากใครมาประยุกต์ใช้ในการสร้างแนวคิดทางการเมืองแบบคอมมิวนิสต์ขึ้น ?
E N D
บทที่ 3 ทฤษฎีการเมืองตะวันตกที่สำคัญ 3.5 สังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ และลัทธิของเหมา เจ๋อ ตง
คำถามที่ท้าทายให้คุณตอบคำถามที่ท้าทายให้คุณตอบ • แนวคิดเรื่องสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์แตกต่างกันอย่างไร ? • คาร์ล มาร์กซ์นำแนวคิดทางปรัชญาจากใครมาประยุกต์ใช้ในการสร้างแนวคิดทางการเมืองแบบคอมมิวนิสต์ขึ้น ? • จุดประสงค์สูงสุดของแนวคิดทางการเมืองแบบคอมมิวนิสต์คือ อะไร ? • แนวคิดทางการเมืองแบบคอมมิวนิสต์ส่งผลกระทบต่อโลกอย่างไร และมีผู้นำแนวคิดของมาร์กซ์ไปใช้ในทางปฏิบัติอย่างไรบ้าง ? • เลนินและเหมา เจ๋อ ตง ได้ประยุกต์แนวคิดทางการเมืองแบบคอมมิวนิสต์ไปใช้ในโลกตะวันตกและโลกตะวันออกอย่างไรบ้าง ?
วัตถุประสงค์เพื่อให้นิสิตวัตถุประสงค์เพื่อให้นิสิต • ได้เรียนรู้ความเหมือนและความแตกต่างระหว่างแนวคิดเรื่องสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ • ได้เข้าใจอุดมการณ์สูงสุดของปรัชญาการเมืองแบบคอมมิวนิสต์ • ได้ตระหนักให้เห็นถึงความสำคัญของปรัชญาการเมืองที่มีผลกระทบต่อวิถีชีวิตของปัจเจกชน • ได้เข้าใจแนวทางในการแปรปรัชญาภาคบริสุทธิ์ไปสู่ภาคปฏิบัติทางการเมืองในโลกแห่งความเป็นจริง
Karl Marx& Friedrich Engels Karl Marx: 1818 - 1883
Karl Marx เขาถือลัทธิสสารนิยมแบบปฏิพัฒนา คิดว่าเรื่องเหนือธรรมชาติหรือศาสนาเป็นยาเสพย์ติดมอมเมาประชาชน (Religion is the opium of the people) กล่าวคือ เป็นเครื่องมือที่คนมีอำนาจใช้สำหรับแยกสามัญชนออกไว้ต่างหาก มอมเมาให้พอใจกับฐานะของตนโดยอาศัยศรัทธาต่อศาสนาเป็นเครื่องล่อใจ ซึ่งเป็นไปตามหลักปฏิพัฒนานั่นเอง คือ ศาสนาทำให้มีการแบ่งแยกในสังคมออกจากกัน ในที่สุดเมื่อประชาชนรู้เท่าทันจะเลิกนับถือศาสนาแล้วร่วมใจกันยืนหยัดต่อสู้ ลบล้างความเหลื่อมล้ำในสังคม
ลัทธิสสารนิยมแบบปฏิพัฒนา (Dialectic Materialism) คือถือว่าในสสารมีพลังพัฒนาตัวเองตามกฎปฏิพัฒนาการของเฮเก็ล คือจะต้องวางตัวให้ขัดแย้งกัน เพื่อจะได้หาทางประนีประนอมกันแล้วส่วนรวมก็จะก้าวหน้าเมื่อประนีประนอมกันได้แล้ว จะต้องวางตัวให้ขัดแย้งกันต่อไปอีกเพื่อจะได้ก้าวหน้าต่อไปอีก Hegel : 1770 - 1840
ลัทธิสสารนิยมแบบปฏิพัฒนา (ต่อ) (Dialectic Materialism) ปัจจุบันสสารก้าวหน้ามาถึงขั้นเป็นมนุษย์อยู่ร่วมกันเป็นสังคม แง่ที่กำลังขัดแย้งกันอยู่ในเวลาก็คือ แง่เศรษฐกิจระหว่างนายทุนกับลูกจ้าง ประนีประนอมกันได้เมือไหร่ก็จะมีความก้าวหน้าของโลกและจะมีความขัดแย้งเกิดขึ้นมาใหม่ การขัดแย้งทุกครั้งเป็นเครื่องหมายของความก้าวหน้าของสสารส่วนรวม
แนวคิดในเรื่องสังคมนิยมเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยเพลโต้เขียนเรื่องอุตมรัฐ และ เซอร์ โธมัส มอร์ เขียนเรื่อง ยูโทเปีย สังคมนิยมมี 2 แบบ คือ 1. สังคมนิยมแบบอุดมคติ (Utopian Socailism) 2. สังคมนิยมแบบประชาธิไตย (Democratic Socialism) ส่วนแนวคิดแบบคอมมิวนิสต์เป็นแนวคิดที่เกิดจากแนวคิดของคาร์ล มาร์กซ์ (Karl Mark, ค.ศ.1818-1883) จุดประสงค์ ต้องการทำลายแนวคิดแบบประชาธิปไตย ที่มีลักษณะเป็นเหมือนปลาใหญ่กินปลาเล็ก จึงต้องการสร้างสังคมที่ปราศจากชนชั้น
คอมมิวนิสต์ (Communist) คำว่า'คอมมิวนิสต์' (Communist) เริ่มมีขึ้นราว ปี พ.ศ. 2377-2382 พวกสมาคมลับที่จะปฏิวัติฝรั่งเศสคิดขึ้น หมายถึง "การรวมกันของบรรดาทรัพย์สิน เป็นของกลางร่วมกันทั้งหมด" (Community of goods) โดยเห็นว่าความไม่เท่าเทียมกันของ ความสุขสมบูรณ์และความยากจนของมนุษย์ ส่วนใหญ่เกิดจากการที่ต่างคนต่างเป็นเจ้าของทรัพย์สิน ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกัน
คอมมิวนิสต์ (ต่อ) คอมมิวนิสต์ เป็นลัทธิขบวนการปฏิวัติที่พยายามจะเลิกล้างลัทธิทุนนิยมและจัดตั้งสังคมใหม่ โดยให้ถือว่าทรัพย์สินทั้งหมด เป็นของส่วนรวม การดำเนินการเศรษฐกิจจะเป็นไปตามแผนการ และอยู่ในความควบคุมจัดการของส่วนรวม โดยแบ่งส่วนเฉลี่ยทรัพย์แก่ทุกคนตามหลักการที่ว่า "แต่ละคนทำงานตามความสามารถของตนแต่ละคนได้รับสิ่งที่ตนต้องการ"
จุดประสงค์หลักของคอมมิวนิสต์จุดประสงค์หลักของคอมมิวนิสต์ 1. มุ่งก่อตั้งสังคมไร้ชนชั้น 2. เครื่องมือการผลิตต้องกระจายไป 3. การแลกเปลี่ยนทุกชนิดต้องเป็นของประชาคม 4. รัฐซึ่งเป็นเครื่องมือกดขี่ประชาชนจะต้องสลายไป 5. ถ้ายังไปไม่ถึงอุดมการณ์นั้น ให้เรียกว่า “สังคมนิยม” หรือ เผด็จการของชนชั้นกรรมาชีพ
หลักคอมมิวนิสต์ ได้แก่ แต่ละคนทำงานตามความสามารถของเขา และรับปันผลผลิตจากสังคมนิยมตามความจำเป็นของเขา จุดแข็งของคอมมิวนิสต์ คือการดึงปัญญาชนเข้ามามีบทบาท แล้วถ่ายทอดสู่ชนชั้นแรงงานระดับล่าง ความจริงแล้วลัทธินี้ก็คือ กลุ่มแนวคิดที่เข้ามาแทนที่ช่องว่างอันเกิดมาจากการสลายตัวขององค์กรทางศาสนานั่นเอง
ความเหมือนและความแตกต่างระหว่างสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ความเหมือนและความแตกต่างระหว่างสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ ความเหมือน คือ ประชาคมหรือรัฐเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต แต่ยังไม่มีผู้ใดค้นพบวิธีที่จะให้ประชาคมเข้าทำการควบคุม จึงต้องมี รัฐ ไว้เพื่อทำหน้าที่บริการแทนไปก่อน ความแตกต่าง สังคมนิยม ถือว่าพวกเขาสามารถก่อตั้งและดำรงระบบของพวกตนเอาไว้ด้วยวิถีประชาธิปไตย ซึ่งคอมมิวนิสต์ไม่เชื่อว่าจะเป็นไปได้และกล่าวหาสังคมนิยมว่าเป็นพวกประนีประนอมกับนายทุน
วิภาษวิธีของเฮเกล Spirit (Synthesis) ระบบคอมมิวนิสต์ (สังคมที่ไร้ชนชั้น) Nature (Anti Thesis) Idea (Thesis) ระบบประชาธิปไตย ความขัดแย้งระหว่างนายทุนกับกรรมกร
สังคมคอมมิวนิสต์ ยุคนายทุน กรรมกร (ทาสชนะศักดินากลายมาเป็นนายทุน) (การต่อสู้ระหว่างนายทุนกับกรรมกร) ยุคศักดินา (การต่อสู้ระหว่างทาสกับศักดินา) ยุคทาส
ความสัมพันธ์ทางการผลิตของสังคมในแต่ละยุคความสัมพันธ์ทางการผลิตของสังคมในแต่ละยุค
พลังการผลิต ความสัมพันธ์ทางการผลิต ศาสนา กฎหมาย การเมือง ศิลปะ ปรัชญา ศีลธรรม โครงสร้างส่วนล่าง โครงสร้างส่วนบน
Lenin, Vladimir Ilyich (1870-1924) Karl Marx (1818-1883) ตะวันตก ตะวันออก Mao Tse-tung (1893 - 1976)
Puyi (1907 – 1994) The last Emperor of China Tsar Nicholas II (1868 – 1918) The last Emperor of Russia
สังคมนิยม แนวความคิดของลัทธิสังคมนิยมได้เกิดขึ้นก่อน คริศตศักราช กล่าวคือ เพลโตได้วาดมโนภาพไว้ว่า สรรพสิ่ง ทั้งปวงเป็นของกลางเพื่อให้คนทุกชั้นได้บริโภค วิวัฒนาการของสังคมนิยมได้เริ่มตั้งแต่การขยายตัวของอุตสาหกรรมในระบบทุนนิยมในปลายคริสตศตวรรษที่ 18 และตอนต้นคริสตศตวรรษที่ 19
สังคมนิยม (ต่อ) กล่าวคือผู้ใช้แรงงานหรือกรรมกรซึ่งไม่มีทั้งความรู้และทรัพย์สินได้รับความทุกข์ยากและมีความยากจนข้นแค้นเป็นอย่างมาก นักสังคมนิยมจึงได้แสวงหาวิธีการที่จะสร้างสังคมใหม่ที่ปราศจากความอยุติธรรมและความไม่เท่าเทียมกัน นักคิดเหล่านี้เสนอแนะให้มนุษย์ช่วยเหลือซึ่งกันและกันโดยให้พิจารณาถึง ผู้ยากจนเป็นกรณีพิเศษ
ประเภทของสังคมนิยม 1. สังคมนิยมแบบอุดมคติ (Utopian Socialism) 2. สังคมนิยมแบบประชาธิปไตย (Democratic Socialism)
เหมา เจ๋อ ตง (Mao Tse-tung) ผู้นำจีนลูกชาวนา เกิดเมื่อ วันที่ 26 ธันวาคม 1893 เขาได้ศึกษางานเขียนของคารล์ มาร์กซ์ ที่มหาวิทยาลัย ได้ช่วยก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์และต่อมาได้เป็นผู้นำพรรค เหมาได้รับการสนับสนุนจากคนยากจนและได้ก่อตั้งกองทัพขึ้นเพื่อปลดแอกประชาชนจากระบบการปกครองที่กดขี่ประชาชน เหมา เจ๋อ ตง Mao Tse-tung (1893 - 1976)
เหมา เจ๋อ ตง (Mao Tse-tung) (ต่อ) หลังจากการปราชัยของญี่ปุ่นต่อสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพของเหมาได้ขับไล่นายพล เจียง ไคเช็คไปอยู่ไต้หวันแล้ว เขาได้ขึ้นปกครองจีน ในปี ค.ศ. 1946 เหมาได้รับเลือกเป็นประธานของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ภายใต้การนำของเขาวิถีชีวิตของชาวจีนได้เปลี่ยนไปและจีนก็ได้เป็นประเทศผู้นำในวงการเมืองระหว่างประเทศ เขาถึงแก่กรรม ในปี ค.ศ. 1976 วันที่ 9 กันยายน สิริรวมอายุได้ 83 ปี
V.S. Kai-shek Chiang(1887-1975) Mao Tse-tung (1893 - 1976)
ทฤษฎีการปฏิวัติของเหมาทฤษฎีการปฏิวัติของเหมา มีลักษณะเด่นอยู่ที่การกำหนดแนวทางและวิธีการให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ที่เป็นอยู่ในสังคมจีน ซึ่งเหมาเรียกว่าเป็นสังคม “กึ่งศักดินากึ่งอาณานิคม” การปฏิวัติให้ความสำคัญกับชาวนามากกว่ากรรมกร เพราะศูนย์อำนาจการปฏิวัติอยู่ในชนบท ซึ่งตรงกันข้ามกับทฤษฎีการปฏิวัติของเลนิน แต่อย่างไรก็ตามการปฏิวัติก็ยังต้องมีฝ่ายกรรมาชีพหรือพรรคคอมมิวนิสต์เป็นผู้นำ
สรุป • คาร์ล มาร์กซ์รับแนวความคิดจากเฮเก็ลในเรื่องจิตนิยมแบบปฏิพัฒนา โดยประยุกต์ให้เป็นสสารนิยมแบบปฏิพัฒนาโดยมีจุดประสงค์เพื่อทำให้กรรมกรได้ปลดแอกตัวเองจากลัทธิประชาธิปไตยแบบทุนนิยม • จุดประสงค์สูงสุดของคอมมิวนิสต์คือการที่รัฐซึ่งเป็นเครื่องมือแห่งการกดขี่ที่ทรงพลังที่สุดจะต้องสลายตัวไป • เลนินได้นำแนวคิดของมาร์กซ์ไปประยุกต์ใช้โดยการปรับเปลี่ยนให้กรรมกรในรัสเซียเป็นเครื่องมือในการล้มล้างสถาบันกษัตริย์ • เหมา เจ๋อ ตง ได้นำแนวคิดของมาร์กซ์ไปประยุกต์ใช้โดยการปรับเปลี่ยนให้ชาวนาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาระบบคอมมิวนิสต์ในจีน