1 / 17

การโฆษณา + ประชาสัมพันธ์

การโฆษณา + ประชาสัมพันธ์. กธ. 301 ธุรกิจกับสังคมและชุมชน สฤณี อาชวานันทกุล. โฆษณาเพื่อ?. สร้างการรับรู้ของผู้บริโภค โดยการให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ มุ่งไปยังกลุ่มเป้าหมายของผลิตภัณฑ์ เช่น กลุ่มวัยรุ่น กลุ่มคนทำงาน กลุ่มแม่บ้าน

zoe-bowen
Download Presentation

การโฆษณา + ประชาสัมพันธ์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การโฆษณา+ประชาสัมพันธ์การโฆษณา+ประชาสัมพันธ์ กธ. 301 ธุรกิจกับสังคมและชุมชน สฤณี อาชวานันทกุล

  2. โฆษณาเพื่อ? • สร้างการรับรู้ของผู้บริโภค โดยการให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ • มุ่งไปยังกลุ่มเป้าหมายของผลิตภัณฑ์ เช่น กลุ่มวัยรุ่น กลุ่มคนทำงาน กลุ่มแม่บ้าน • สามารถสื่อด้วยวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน เช่น เน้นการทำให้แบรนด์ดูมีคุณค่าเพิ่มขึ้น หรือเน้นโฆษณาตัวสินค้า

  3. ประเภทของโฆษณา • โฆษณาตรง • โฆษณาชนิดประชาสัมพันธ์ เพื่อให้คนสามารถจดจำแบรนด์ได้ เช่น โฆษณา IRPC-ระยอง โฆษณาไทยประกันชีวิต ข้อเสียคือ เมื่อผู้บริโภคดูแล้วไม่สามารถทราบว่าเป็นจริงตามที่อ้างไว้หรือเปล่า • โฆษณาแฝง มักเห็นตามละครซิทคอม เกิดเพราะคนไม่ชอบดูโฆษณา

  4. โฆษณาที่ถูกกฏหมายคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 • มาตรา 22: การโฆษณาจะต้องไม่ใช้ข้อความที่เป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค หรือใช้ข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวม ทั้งนี้ ไม่ว่าข้อความดังกล่าวนั้นจะเป็นข้อความที่เกี่ยวกับแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ หรือลักษณะของสินค้าหรือบริการ ตลอดจนการส่งมอบ การจัดหา หรือการใช้สินค้าหรือบริการ

  5. โฆษณาที่ถูกกฏหมายคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 (ต่อ) • มาตรา 22 (ต่อ): ข้อความดังต่อไปนี้ ถือว่าเป็นข้อความที่เป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรือเป็นข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวม • (1) ข้อความที่เป็นเท็จหรือเกินความจริง • (2) ข้อความที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ไม่ว่าจะกระทำโดยใช้หรืออ้างอิงรายงานทางวิชาการ สถิติ หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอันไม่เป็นความจริงหรือเกินความจริง หรือไม่ก็ตาม • (3) ข้อความที่เป็นการสนับสนุนโดยตรงหรือโดยอ้อมให้มีการกระทำผิดกฎหมายหรือศีลธรรม หรือนำไปสู่ความเสื่อมเสียในวัฒนธรรมของชาติ • (4) ข้อความที่จะทำให้เกิดความแตกแยกหรือเสื่อมเสียความสามัคคีในหมู่ประชาชน • (5) ข้อความอย่างอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง • ข้อความที่ใช้ในการโฆษณาที่บุคคลทั่วไปสามารถรู้ได้ว่าเป็นข้อความที่ไม่อาจเป็นความจริงได้โดยแน่แท้ ไม่เป็นข้อความที่ต้องห้ามในการโฆษณาตาม (1)

  6. อำนาจของคณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณา ถ้าเห็นว่ามีการฝ่าฝืน • มาตรา 27 ในกรณีที่คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณาเห็นว่าการโฆษณาใดฝ่าฝืนมาตรา 22 มาตรา 23 มาตรา 24 (1) หรือมาตรา 25 ให้คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณามีอำนาจออกคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ดังต่อไปนี้ • (1) ให้แก้ไขข้อความหรือวิธีการในการโฆษณา • (2) ห้ามการใช้ข้อความบางอย่างที่ปรากฏในการโฆษณา • (3) ห้ามการโฆษณาหรือห้ามใช้วิธีการนั้นในการโฆษณา • (4) ให้โฆษณาเพื่อแก้ไขความเข้าใจผิดของผู้บริโภคที่อาจเกิดขึ้นแล้วตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณากำหนด • ในการออกคำสั่งตาม (4) ให้คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ โดยคำนึงถึงประโยชน์ของผู้บริโภคประกอบกับความสุจริตใจในการกระทำของผู้กระทำการโฆษณา

  7. อำนาจของคณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณา (ต่อ) • มาตรา 28 ในกรณีที่คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณามีเหตุอันควรสงสัยว่า ข้อความใดที่ใช้ในการโฆษณาเป็นเท็จหรือเกินความจริงตามมาตรา 22 วรรคสอง (1) ให้คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณามีอำนาจออกคำสั่งให้ผู้กระทำการโฆษณาพิสูจน์เพื่อแสดงความจริงได้ • ในกรณีที่ผู้กระทำการโฆษณาอ้างรายงานทางวิชาการ ผลการวิจัย สถิติ การรับรองของสถาบันหรือบุคคลอื่นใด หรือยืนยันข้อเท็จจริงอันใดอันหนึ่งในการโฆษณา ถ้าผู้กระทำการโฆษณาไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าข้อความที่ใช้ในการโฆษณาเป็นความจริงตามที่กล่าวอ้าง ให้คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณามีอำนาจออกคำสั่งตามมาตรา 27 ได้ และให้ถือว่าผู้กระทำการโฆษณารู้หรือควรได้รู้ว่าข้อความนั้นเป็นความเท็จ

  8. สิทธิของผู้ประกอบธุรกิจสิทธิของผู้ประกอบธุรกิจ • มาตรา 29 ผู้ประกอบธุรกิจผู้ใดสงสัยว่าการโฆษณาของตนจะเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้ประกอบธุรกิจผู้นั้นอาจขอให้คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณาพิจารณาให้ความเห็นในเรื่องนั้นก่อนทำการโฆษณาได้ • ในกรณีนี้คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณาจะต้องให้ความเห็นและแจ้งให้ผู้ขอทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณาได้รับคำขอ ถ้าไม่แจ้งภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าคณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณาให้ความเห็นชอบแล้ว

  9. กฎกระทรวง 5: โฆษณาส่งเสริมการขาย กรณีชิงโชค • ข้อความโฆษณาสินค้าหรือบริการที่ระบุหรือประกาศว่าผู้ประกอบธุรกิจจัดให้มีการแถมพกหรือรางวัลด้วยการเสี่ยงโชค ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานตามกฎหมายว่าด้วยการพนันแล้ว หรือข้อความโฆษณาสินค้าหรือบริการที่ระบุหรือประกาศว่าผู้ประกอบธุรกิจจัดให้มีการประกวดชิงรางวัล โดยข้อความโฆษณาดังกล่าว มิได้ระบุรายละเอียดดังที่กำหนดในกฎกระทรวง เป็นข้อความที่เป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค หรือเป็นข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวมตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคฯ • รายละเอียดที่ต้องระบุตามกฎกระทรวง ได้แก่ • (ก) หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข หรือข้อกำหนดในการเสี่ยงโชคหรือในการประกวดชิงรางวัล • (ข) วัน เดือน ปีที่เริ่มต้นและสิ้นสุดของการจัดให้มีการเสี่ยงโชคหรือการประกาศชิงรางวัล เว้นแต่กรณีที่เป็นการโฆษณาทางวิทยุ โทรทัศน์ ข้อความโฆษณาที่กำหนดระยะเวลาเริ่มต้นของการเสี่ยงโชคหรือการประกวดชิงรางวัลนั้น จะให้ปรากฏในส่วนที่เป็นภาพหรือในส่วนที่เป็นเสียงอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ แต่ข้อความโฆษณาที่กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดนั้นจะต้องให้ปรากฏทั้งในส่วนที่เป็นภาพและส่วนที่เป็นเสียง

  10. กฎกระทรวง 5: โฆษณาส่งเสริมการขาย ชิงโชค (ต่อ) • (ค) ประเภทและลักษณะของของแถมพกหรือรางวัล จำนวนและมูลค่าของของแถมพกหรือรางวัลแต่ละสิ่ง หรือมูลค่ารวมในแต่ละประเภท เว้นแต่กรณีที่การโฆษณาทางวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์ ผู้ประกอบธุรกิจจะไม่ระบุมูลค่าของของแถมพกหรือรางวัลแต่ละสิ่ง หรือมูลค่ารวมในแต่ละประเภทก็ได้ แต่ผู้ประกอบธุรกิจจะต้องระบุมูลค่ารวมของแถมพกหรือรางวัลทุกประเภทไว้แทน ในกรณีที่สิ่งซึ่งจัดเป็นของแถมพกหรือรางวัลเป็นสิ่งซึ่งมีมูลค่าที่ผู้บริโภคอาจทราบได้โดยทั่วไป และข้อความโฆษณานั้นได้แสดงให้ผู้บริโภคทราบถึงประเภทและลักษณะของของแถมพกหรือรางวัลไว้โดยชัดแจ้งแล้ว ผู้ประกอบธุรกิจจะไม่ระบุมูลค่าของของแถมพกหรือรางวัลนั้นไว้ก็ได้ • (ง) เขตหรือถิ่นที่มีการจัดให้มีการเสี่ยงโชคหรือการประกวดชิงรางวัล เว้นแต่กรณีที่เป็นการจัดให้มีขึ้นทั่วราชอาณาจักร • (จ) วัน เดือน ปี เวลา และสถานที่ซึ่งก าหนดไว้ส าหรับการท าการเสี่ยงโชคหรือการตัดสินการประกวดชิงรางวัล • (ฉ) สื่อโฆษณาที่จะใช้ในการประกาศรายชื่อผู้ได้รับของแถมพกหรือรางวัลจากการเสี่ยงโชค หรือการประกวดชิงรางวัล

  11. กฎหมายเอื้อมไม่ถึง & “ไม่ใช่เรื่องของกฎหมาย” • สปอตประชาสัมพันธ์ • โฆษณาแฝง โดยเฉพาะ tie-in ประเภทต่างๆ • โฆษณาที่ตอกย้ำค่านิยมที่ไม่ดี หรือความเข้าใจผิดที่แพร่หลายในสังคม

  12. การสื่อสารในยุค mass media

  13. การสื่อสารในยุค my media

  14. New media = digital + interactive

  15. โซเชียลมีเดีย vs. สื่อสารมวลชน สื่อสารมวลชนช่วยสร้างการตระหนักรู้ (awareness) นำไปสู่การพิจารณา (consideration) และขั้นต่อๆ ไป โซเชียลมีเดียช่วยสร้างบทสนทนา (conversation) ความภักดีต่อ “แบรนด์” (loyalty) และการรณรงค์ (advocacy) ซึ่งสร้างการตระหนักรู้

  16. “BRAND” คืออะไร?

  17. สู่แบรนด์ที่ “รับผิดชอบ” ?

More Related