1 / 27

โดย ชลทิชา นารอง

MARC. (Machine Readable Cataloging). โดย ชลทิชา นารอง. บรรณารักษ์ชำนาญการ 8 สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ความหมายของ MARC. MARC เป็นคำย่อที่มาจาก MA chine- R eadable C ataloging คือการลงรายการให้เครื่องคอมพิวเตอร์อ่านได้.

ziva
Download Presentation

โดย ชลทิชา นารอง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. MARC (Machine Readable Cataloging) โดย ชลทิชา นารอง บรรณารักษ์ชำนาญการ 8 สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

  2. ความหมายของ MARC MARC เป็นคำย่อที่มาจาก MAchine-Readable Cataloging คือการลงรายการให้เครื่องคอมพิวเตอร์อ่านได้ Machine Readable หมายถึงการที่เครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถอ่านและตีความข้อมูลที่ลงรายการไว้ในระเบียน Cataloging คือ การลงรายการบรรณานุกรมของสิ่งพิมพ์ โสตทัศนวัสดุ และวัสดุการศึกษาต่าง ๆ ซึ่งในระบบมือก็คือรายการที่อยู่ในรูปของบัตรรายการ อันประกอบด้วยรายละเอียดทางบรรณานุกรมของวัสดุที่ลงรายการตามหลักเกณฑ์การลงรายการ Anglo American Cataloging Rules, 2nd Edition (AACR2) รายการหลักและรายการเพิ่มต่าง ๆ หัวเรื่อง และเลขเรียกหนังสือ ดังนั้น MARC จึงหมายถึง การลงรายการบรรณานุกรมของหนังสือ โสตทัศนวัสดุ และสื่อต่าง ๆ ในรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถอ่านได้

  3. ความสำคัญ MARC เป็นรูปแบบที่ห้องสมุดพัฒนาขึ้นเพื่อให้ได้รับประโยชน์ จากคอมพิวเตอร์ให้ได้มากที่สุด แม้ว่าศักยภาพของคอมพิวเตอร์ในการจัดเก็บข้อมูลได้จำนวนมากและทำงานที่ซับซ้อนได้อย่างรวดเร็วจะช่วยให้ห้องสมุดสามารถปรับปรุงและขยายบริการได้มากขึ้น แต่คอมพิวเตอร์ก็เป็นเพียงปัจจัยหนึ่งของระบบการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ ศักยภาพดังกล่าวจะไร้ซึ่งประโยชน์หากไม่มีส่วนที่เป็นสารนิเทศหรือฐานข้อมูลและไม่มีชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้ในการประมวลผลสารนิเทศ เครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมเป็นเรื่องของบริษัทผู้ผลิตที่จะพัฒนาเพื่อจำหน่ายแต่ฐานข้อมูลเป็นความรับผิดชอบของห้องสมุด การใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ได้มากน้อยเพียงใด ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับรูปแบบการลงรายการหรือโครงสร้างของระเบียน รูปแบบการลงรายการให้เครื่องคอมพิวเตอร์อ่านได้จึงได้รับการพัฒนาเพื่อช่วยห้องสมุดในการพัฒนา ใช้ และบำรุงรักษาฐานข้อมูลทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ ห้องสมุดได้ใช้ประโยชน์จากระบบห้องสมุดอัตโนมัติได้อย่างเต็มที่

  4. ความสำคัญ (ต่อ) องค์ประกอบสำคัญของการออกแบบรูปแบบการลงรายการให้ เครื่องคอมพิวเตอร์อ่านได้ที่ช่วยเพิ่มคุณค่าให้กับระเบียนที่เครื่องอ่านได้มี 2 ประการ ประการแรก คือ โครงสร้างของระเบียนหรือรูปแบบ การนำข้อมูลเข้าเป็นระเบียนคอมพิวเตอร์ เช่น ลำดับของข้อมูล ความยาวของเขตข้อมูลและการแบ่งเป็นเขตข้อมูลย่อย ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ครอบคลุม ครบถ้วน ละเอียด ยืดหยุ่น ที่เป็นพื้นฐานสำหรับห้องสมุดสามารถนำไปใช้ในงานต่างๆ ได้ และทำให้ห้องสมุดสามารถขยายบริการด้วยการพัฒนาขีดความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมได้โดยไม่ต้องบันทึกข้อมูลใหม่หรือเปลี่ยนแปลงโครงสร้างใหม่ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนระบบคอมพิวเตอร์และโปรแกรม ทำให้สามารถพัฒนาระบบได้โดยไม่ต้องเสียเงินเพิ่มในการพัฒนาฐานข้อมูล

  5. ความสำคัญ (ต่อ) องค์ประกอบของการออกแบบที่สำคัญประการที่สอง คือ ความเป็นมาตรฐานที่สามารถใช้ได้กับทุกห้องสมุด ทำให้ห้องสมุดสามารถทำรายการร่วมกันได้ แลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ และโปรแกรม ที่พัฒนาสำหรับห้องสมุดหนึ่ง ๆ สามารถใช้ได้กับทุกห้องสมุด บริษัทที่ พัฒนาโปรแกรมสำเร็จรูปสามารถออกแบบโปรแกรมให้ห้องสมุดใช้งานได้ในระบบออนไลน์และวัตถุประสงค์อื่นๆ หากไม่มีมาตรฐาน การลงรายการ บริษัทต้องออกแบบโปรแกรมให้ใช้ได้เฉพาะกับโครงสร้างระเบียนของแต่ละห้องสมุด ห้องสมุดจะต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก นับได้ว่าการพัฒนารูปแบบการลงรายการให้เครื่องคอมพิวเตอร์อ่านได้เป็นองค์ประกอบสำคัญต่อความเจริญก้าวหน้าด้านการใช้คอมพิวเตอร์ในงานห้องสมุด

  6. จากบัตรรายการสู่ MARC ถ้าจะพูดให้ง่ายขึ้น MARC ก็คือการลงรายการบรรณานุกรมของหนังสือ โสตทัศนวัสดุและสื่อต่างๆ ตามหลักการลงรายการ แบบ AACR2 (Anglo American Cataloging Rules ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2) เหมือนการลงรายการในบัตรรายการ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสืบค้น ซึ่งรายละเอียดในการลงรายการก็เหมือนการลงรายการในรูปของบัตรรายการ แต่การลงรายการให้เครื่องอ่านได้เป็นการลงรายการในรูปแบบที่มีโครงสร้าง ดังนี้ 1. มีการแบ่งข้อมูลทางบรรณานุกรมของหนังสือ โสตทัศนวัสดุและสื่อต่างๆ ออกเป็นส่วนๆ เรียกเขตข้อมูล (Field) เช่น เขตข้อมูลผู้แต่ง ชื่อเรื่อง เป็นต้น 2. มีการกำหนดชื่อเขตข้อมูลให้เครื่องรู้จัก ด้วยการใช้หมายเลข แทนชื่อเขตข้อมูลเรียก Tag หรือหมายเลขเขตข้อมูล โดยใช้หมายเลข 001-999 เป็นเขตข้อมูลสำหรับลงข้อมูล เช่น ชื่อผู้แต่งกำหนดให้อยู่ในเขตข้อมูลหมายเลข 100 ชื่อหนังสือ กำหนดให้อยู่ในเขตข้อมูลหมายเลข 245 เป็นต้น

  7. จากบัตรรายการสู่ MARC (ต่อ) 3. ในแต่ละเขตข้อมูลมีการแบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนย่อยๆ เรียก Subfield หรือเขตข้อมูลย่อย เช่น ในเขตข้อมูลผู้แต่ง มีเขตข้อมูลย่อย a สำหรับลงรายการชื่อผู้แต่ง เขตข้อมูลย่อย q สำหรับลงรายการชื่อเต็ม เขตข้อมูลย่อย d สำหรับลงรายการปีเกิด ปีตาย 4. มีการลงรายการตัวบ่งชี้ (Indicator) ซึ่งเป็นรหัส 2 ตัว ที่อาจเป็นตัวอักษรหรือตัวเลขก็ได้ ไว้ข้างหน้าของแต่ละเขตข้อมูล สำหรับประมวลผลต่าง ๆ เช่น ในเขตข้อมูลหมายเลข 245 ที่เป็นชื่อเรื่อง มีตัวบ่งชี้ตัวที่ 2 แสดงจำนวนตัวอักขระที่ไม่ต้องการให้เรียงเป็นตัวบ่งชี้บอกให้โปรแกรมทราบว่าจะต้องเริ่มต้นเรียงจากอักขระตัวใด เป็นต้น

  8. เขตข้อมูล 008

  9. เขตข้อมูล 008 (ต่อ)

  10. ตัวอย่าง

  11. กลุ่มเขตข้อมูล

  12. กลุ่มเขตข้อมูล (ต่อ)

  13. กลุ่มเขตข้อมูล (ต่อ)

  14. กลุ่มเขตข้อมูล (ต่อ)

  15. กลุ่มเขตข้อมูล (ต่อ)

  16. กลุ่มเขตข้อมูล (ต่อ)

  17. กลุ่มเขตข้อมูล (ต่อ)

  18. กลุ่มเขตข้อมูล (ต่อ)

  19. กลุ่มเขตข้อมูล (ต่อ)

  20. กลุ่มเขตข้อมูล (ต่อ)

  21. กลุ่มเขตข้อมูล (ต่อ)

  22. กลุ่มเขตข้อมูล (ต่อ)

  23. กลุ่มเขตข้อมูล (ต่อ)

  24. กลุ่มเขตข้อมูล (ต่อ)

  25. กลุ่มเขตข้อมูล (ต่อ)

  26. เอกสารอ้างอิง สุวันนา ทองสีสุกใส. MARC 21 สำหรับระเบียนหนังสือ/ เอกสาร . ขอนแก่น : สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น, 2543.

  27. จบการนำเสนอคะ

More Related