1 / 31

หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงานของ

หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงานของ ลูกจ้างชั่วคราวเงินนอกงบประมาณ (เงินบำรุง) กลุ่มวิชาชีพ. สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2554. หนังสือที่ สธ.0201.034 /ว.101 ลว. 7 เมย.54 และ ว.142 ลว.24 พค.54. ถือปฏิบัติตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2554 เป็นต้นไป.

zia-beck
Download Presentation

หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงานของ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงานของหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงานของ ลูกจ้างชั่วคราวเงินนอกงบประมาณ (เงินบำรุง) กลุ่มวิชาชีพ สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2554 หนังสือที่ สธ.0201.034 /ว.101 ลว. 7 เมย.54 และ ว.142 ลว.24 พค.54

  2. ถือปฏิบัติตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2554 เป็นต้นไป

  3. วัตถุประสงค์ • เพื่อใช้เป็นเครื่องมือให้ ผบ. ในการปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงาน และนำผลการประเมินเพื่อประกอบการพิจารณา • 1. ปรับค่าจ้างและค่าตอบแทนอื่นๆ • 2.การพัฒนาและการแก้ไขปรับปรุงการปฏิบัติงาน • 3. การให้ออกจากราชการ • 4.การบริหารงานบุคคลอื่นๆ

  4. การพิจารณาผลการปฏิบัติราชการการพิจารณาผลการปฏิบัติราชการ • 1. ผลสัมฤทธิ์ของงาน ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 • -ปริมาณผลงาน • -คุณภาพผลงาน • -ความรวดเร็วหรือความตรงต่อเวลา • -การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า • 2. พฤติกรรมการปฏิบัติงาน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 • -การมุ่งผลสัมฤทธิ์ • -การบริการที่ดี • -การสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ • -การยึดมั่นในความถูกต้อง ชอบธรรม จริยธรรม • -การทำงานเป็นทีม

  5. องค์ประกอบผล สัมฤทธิ์ของงาน ผลลัพธ์ หรือ ผลผลิต ที่ควรทำได้ ( what ) • ประเมินด้วยตัวชี้วัด • และค่าเป้าหมายที่ตก • ลงไว้ ประเมินโดยอ้างอิง นิยามสมรรถนะ ที่สะท้อนพฤติกรรมที่มุ่งหวัง องค์ประกอบ พฤติกรรม ทำอย่างไรจึงทำให้เกิด ผลลัพธ์ หรือ ผลงาน (how)

  6. รอบการประเมิน ปีละ 2 รอบ • รอบที่ 1 : 1 ตุลาคม - 31 มีนาคม ของปีถัดไป • รอบที่ 2 : 1 เมษายน - 30 กันยายน

  7. กำหนดให้มีการกำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ ของงานที่ชัดเจน ระหว่าง • ผู้ประเมินและผู้รับการประเมิน • เช่น - ผลงานที่กำหนดในการมอบหมายงาน หรือ แผนงานโครงการ • - ภารกิจที่ได้รับมอบหมาย • - ผลผลิต หรือผลลัพธ์ ที่คาดหวัง จากการปฏิบัติงาน • และตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงาน

  8. 9. เมื่อเสร็จสิ้นการประเมินผลการปฏิบัติงานให้ผู้บังคับบัญชา ซึ่งเป็นผู้ประเมินแจ้ง ผลการประเมินให้ลูกจ้างชั่วคราวดังกล่าว ได้รับทราบและให้คำปรึกษาแนะนำเพื่อแก้ไข ปรับปรุงการปฏิบัติงานให้ดีขึ้น

  9. ให้หัวหน้าหน่วยบริการแต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองการประเมินผลการปฏิบัติงาน ซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้ (1) หัวหน้าหน่วยบริการ เป็นประธาน (2) หัวหน้ากลุ่ม/ฝ่าย เป็นกรรมการ (3) ผู้ปฏิบัติงานด้านงานบุคคล เป็นกรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการกลั่นกรองการประเมินผลการปฏิบัติงาน มีหน้าที่ในการกลั่นกรอง การประเมินผลการปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมจากการใช้ดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาหรือ ผู้ประเมินก่อน ที่จะเสนอผลการประเมินต่อหัวหน้าหน่วยบริการ

  10. 10. ลูกจ้างชั่วคราวเงินนอกงบประมาณ (เงินบำรุง) ผู้ใด ซึ่งผู้บังคับบัญชาได้ประเมินผลการปฏิบัติงานแล้วมีค่าเฉลี่ย ของผลการประเมินติดต่อกัน 2 ครั้ง ต่ำกว่าระดับดี ให้ผู้บังคับบัญชาทำความเห็นเสนอ ผู้มีอำนาจสั่งจ้างเพื่อพิจารณาเลิกจ้างต่อไป พร้อมกับแจ้งให้ ลูกจ้างชั่วคราวดังกล่าวทราบภาย ในเจ็ดวันนับตั้งแต่วันทราบผลการประเมินผลการปฏิบัติงาน

  11. 11. กรณีที่จะมีการจ้างงานต่อเนื่องในลักษณะงานเดิมหรือลักษณะงานใหม่ ให้นำผลการประเมินการปฏิบัติงานมาประกอบการพิจารณา โดยผู้ได้รับการพิจารณาให้จ้างงานต่อเนื่องได้ จะต้องมีผลการประเมินการปฏิบัติงานโดยเฉลี่ย 2 ครั้ง ไม่ต่ำกว่าระดับดี ทั้งนี้ ให้ผู้บังคับบัญชาทำความเห็นเสนอผู้มีอำนาจจ้างพิจารณาสั่งจ้างต่อไป

  12. ตารางต่อ

  13. หลักเกณฑ์และวิธีการปรับขั้นค่าจ้างลูกจ้างชั่วคราวหลักเกณฑ์และวิธีการปรับขั้นค่าจ้างลูกจ้างชั่วคราว เงินนอกงบประมาณ (เงินบำรุง) กลุ่มวิชาชีพ สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2554

  14. ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการปรับขั้นค่าจ้างให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการปรับขั้นค่าจ้าง ลูกจ้างชั่วคราวเงินนอกงบประมาณ (เงินบำรุง) กลุ่มวิชาชีพ สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 เป็นต้นไป บริหารลูกจ้าง

  15. ให้ผู้บังคับบัญชาและผู้ได้รับมอบหมายประเมินผลให้ผู้บังคับบัญชาและผู้ได้รับมอบหมายประเมินผล การปฏิบัติงานบนพื้นฐานของผลสำเร็จและผลสัมฤทธิ์ ของงานเป็นหลัก เพื่อใช้ในการประเมินปรับขั้นค่าจ้างไม่น้อยกว่าปีละ 1 ครั้ง ตามแบบประเมินที่กำหนด

  16. การปรับขั้นค่าจ้างของลูกจ้างชั่วคราวเงินนอกงบประมาณ (เงินบำรุง) ให้ปรับปีละ 1 ครั้งคือวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี เฉพาะกรณีที่เป็นการจ้างงานที่มีลักษณะต่อเนื่อง โดยหน่วยบริการจัดทำเป็นคำสั่งจ้างและกำหนดอัตราค่าจ้าง ตามผลการประเมินการปฏิบัติงานในข้อ 3 สำหรับบัญชีโครงสร้างค่าจ้างให้เป็นไปตามที่ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขกำหนด กรณีที่หน่วยบริการกำหนดต้องไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างท้ายบัญชีนี้

  17. การปรับขั้นค่าจ้างตามหลักเกณฑ์นี้ให้คำนวณการปรับขั้นค่าจ้างตามหลักเกณฑ์นี้ให้คำนวณ เป็นอัตราร้อยละจากฐานค่าจ้างเดิมก่อน การปรับขั้นค่าจ้างในปีนั้น แต่ไม่เกินร้อยละ 6 และให้ปรับได้ไม่เกินขั้นสูงของอัตราค่าจ้างที่ กำหนด

  18. ลูกจ้างชั่วคราวอาจได้รับการพิจารณาปรับขั้นค่าจ้างเป็นพิเศษ โดยผู้บังคับบัญชาได้พิจารณาผลการประเมินการปฏิบัติงานตามข้อ 3 แล้ว เห็นว่าอยู่ในเกณฑ์ระดับดีเด่นหรือดีมากอาจได้รับการปรับค่าจ้างเป็นพิเศษ ในอัตราร้อยละ 3 - 6ทั้งนี้ ผู้ได้รับการประเมินผลการปฏิบัติงาน ในระดับดีเด่นหรือดีมาก ต้องมีสัดส่วนได้ไม่เกินร้อยละ 15 ของจำนวนลูกจ้างชั่วคราว ที่มีอยู่ณ วันที่ 1 กันยายน

  19. ในกรณีนี้ หน่วยบริการอาจกำหนดวงเงินเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสม แต่ไม่เกินร้อยละ 4

  20. ลูกจ้างชั่วคราวที่ได้รับการพิจารณาปรับขั้นค่าจ้างในรอบปีที่แล้วมาต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ดังนี้ลูกจ้างชั่วคราวที่ได้รับการพิจารณาปรับขั้นค่าจ้างในรอบปีที่แล้วมาต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ดังนี้ (1) ปฏิบัติงานตามหน้าที่ของตนด้วยความสามารถและอุตสาหะ จนเกิดผลดีหรือความก้าวหน้าแก่ทางราชการ ซึ่งผู้บังคับบัญชาได้พิจารณาผลการประเมินการปฏิบัติงานตามข้อ 3 แล้ว เห็นว่าอยู่ในเกณฑ์ระดับดี (2) ต้องไม่ถูกสั่งลงโทษทางวินัยหรือถูกศาลพิพากษาในคดีอาญาให้ลงโทษในความผิด จนถึงวันออกคำสั่งจ้าง(1 ตุลาคม) (3) ต้องไม่ขาดราชการโดยไม่มีเหตุอันควร (4) ต้องไม่ลาหรือมาทำงานสายเกินจำนวนครั้งที่หน่วยงานกำหนด โดยคำนึงถึงลักษณะงานและสภาพท้องที่อันเป็นที่ตั้งของแต่ละหน่วยงาน ซึ่งอนุโลมตามที่ถือปฏิบัติกับข้าราชการ ลูกจ้างประจำ หรือพนักงานราชการในตำแหน่งที่มีลักษณะเช่นเดียวกันก็ได้

  21. (5) ต้องมีเวลาปฏิบัติงานครบ 12 เดือน โดยมีวันลาไม่เกิน 30 วันทำการ(ลาป่วยและลากิจส่วนตัว) แต่ไม่รวมถึงการลาดังต่อไปนี้ (ก) ลาคลอดบุตรไม่เกิน 90 วัน (ข) ลาพักผ่อน (ค) ลาเพื่อรับราชการทหารในการเรียกพลเพื่อตรวจสอบ เพื่อฝึกวิชาทหารเข้ารับการระดมพล หรือเพื่อทดลองความพรั่งพร้อม ปีหนึ่งไม่เกิน 60 วัน (6) กรณีได้รับการจ้างงานใหม่ ต้องมีเวลาปฏิบัติราชการดังนี้ (6.1) มีเวลาปฏิบัติราชการในปีที่แล้วมาไม่น้อยกว่า 8 เดือน (6.2) ได้รับการจ้างงานในวันที่ 2 หรือวันเปิดทำการแรกของเดือนกุมภาพันธ์ เนื่องจากวันที่ 1 หรือวันถัดไปของเดือนดังกล่าวตรงกับวันหยุดราชการ

  22. ลูกจ้างชั่วคราวอาจได้รับการพิจารณาปรับขั้นค่าจ้างเป็นพิเศษ โดยผู้บังคับบัญชาได้พิจารณาผลการประเมินการปฏิบัติงานตามข้อ 3 แล้ว เห็นว่าอยู่ในเกณฑ์ระดับดีเด่นหรือดีมากอาจได้รับการปรับค่าจ้างเป็นพิเศษในอัตราร้อยละ 3 - 6ทั้งนี้ ผู้ได้รับการประเมินผลการปฏิบัติงานในระดับดีเด่นหรือดีมาก ต้องมีสัดส่วนได้ไม่เกินร้อยละ 15 ของจำนวนลูกจ้างชั่วคราวที่มีอยู่ณ วันที่ 1 กันยายน และต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ประการใดประการหนึ่ง ดังนี้ (1) ปฏิบัติงานตามหน้าที่ได้ผลดีเด่นหรือดี มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล อันก่อให้เกิดประโยชน์และผลดียิ่งต่อทางราชการ จนถือเป็นตัวอย่างที่ดีได้ (2) ปฏิบัติงานโดยมีความคิดริเริ่มในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อทางราชการเป็นพิเศษ

  23. (3) ปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่มีสถานการณ์ตรากตรำเสียงอันตรายมากหรือมีการต่อสู้ที่เสี่ยงต่อความปลอดภัยของชีวิตเป็นพิเศษ (4) ปฏิบัติงานที่มีภาระหน้าที่หนักเกินกว่าความรับผิดชอบของตำแหน่งจนเกิดประโยชน์ต่อทางราชการเป็นพิเศษ และปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่ของตนเป็นผลดีด้วย (5) ปฏิบัติงานตามตำแหน่งหน้าที่ด้วยความตรากตรำ เหน็ดเหนื่อย ยากลำบากเป็นพิเศษและงานนั้นได้ผลดียิ่งเป็นประโยชน์ต่อทางราชการและสังคม

  24. ในกรณีที่มีการคำนวณเพื่อปรับขั้นค่าจ้าง หากคำนวณแล้วมีเศษไม่ถึงห้าบาทให้ปรับเพิ่มเป็นห้าบาท

  25. บัญชีค่าจ้างขั้นต่ำ – ขั้นสูง ลูกจ้างชั่วคราว กลุ่มวิชาชีพ

  26. บัญชีค่าจ้างขั้นต่ำ – ขั้นสูง ลูกจ้างชั่วคราว กลุ่มวิชาชีพ (ต่อ) หมายเหตุสายงานที่ได้รับใบอนุญาต ประกอบวิชาชีพจะได้รับเพิ่มเงิน พตส. ตามระเบียบ ที่ กพ.กำหนด

  27. บัญชีค่าจ้างขั้นต่ำ – ขั้นสูง ลูกจ้างชั่วคราว กลุ่มวิชาชีพ (ต่อ) หมายเหตุสายงานที่ได้รับใบอนุญาต ประกอบวิชาชีพจะได้รับเพิ่มเงิน พตส. ตามระเบียบ ที่ กพ.กำหนด

  28. บัญชีค่าจ้างขั้นต่ำ – ขั้นสูง ลูกจ้างชั่วคราว กลุ่มวิชาชีพ (ต่อ) หมายเหตุสายงานที่ได้รับใบอนุญาต ประกอบวิชาชีพจะได้รับเพิ่มเงิน พตส. ตามระเบียบ ที่ กพ.กำหนด

  29. บัญชีค่าจ้างขั้นต่ำ – ขั้นสูง ลูกจ้างชั่วคราว กลุ่มวิชาชีพ (ต่อ) หมายเหตุสายงานที่ได้รับใบอนุญาต ประกอบวิชาชีพจะได้รับเพิ่มเงิน พตส. ตามระเบียบ ที่ กพ.กำหนด

  30. ขอบคุณ สวัสดี

More Related