1 / 59

สมัยรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 4 – รัชกาลปัจจุบัน

สมัยรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 4 – รัชกาลปัจจุบัน. ( พ . ศ 2394 - ปัจจุบัน ). พระมหากษัตริย์ตั้งแต่รัชกาลที่ 4- รัชกาลปัจจุบัน. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2394-2411 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2411-2453 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2453-2468

Download Presentation

สมัยรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 4 – รัชกาลปัจจุบัน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สมัยรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 4 –รัชกาลปัจจุบัน (พ.ศ2394 - ปัจจุบัน)

  2. พระมหากษัตริย์ตั้งแต่รัชกาลที่ 4-รัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ.2394-2411 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพ.ศ.2411-2453 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพ.ศ.2453-2468 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ.2468-2477 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พ.ศ.2477-2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พ.ศ.2489- ปัจจุบัน

  3. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

  4. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

  5. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

  6. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

  7. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล

  8. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

  9. ตำแหน่งพระราชวังบวรสถานมงคล(วังหน้า)ตำแหน่งพระราชวังบวรสถานมงคล(วังหน้า) • สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทเจ้า • สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ • สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ • พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว • สมเด็จกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ • สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฏราชกุมาร

  10. การทำนุบำรุงบ้านเมืองและการขนามนามราชธานีการทำนุบำรุงบ้านเมืองและการขนามนามราชธานี • รัชกาลที่ 4ทรงทำพิธียกเสาหลักเมืองใหม่ และทรงขนานนามราชธานีใหม่ว่า กรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพนพรัตนราชธานีบุรีรมย์ อุดมนิเวศนมหาสถานอมรพิมานอวตารสถิต สักกทัตติยะวิษณุกรรมประสิทธิ์ โปรดให้บูรณะปฏิสังขรณ์และก่อสร้างเพิ่มเติมขึ้นในพระบรมมหาราชวัง ขยายพระนครให้กว้างออกไปกว่าเดิมด้วยการขุดคลองชั้นนอก คือคลองผดุงกรุงเกษม มีการสร้างป้อมเรียงรายเป็นระยะ มีการสร้างถนนเลียบคลอง คือเจริญกรุง บำรุงเมือง เฟื่องนคร นอกจากนี้ยังมีการสร้างสะพานและสร้างตึกแถวสมัยใหม่ริมถนนที่สร้างขึ้นใหม่ด้วย

  11. การทำนุบำรุงบ้านเมือง(ต่อ)การทำนุบำรุงบ้านเมือง(ต่อ) นอกจากนี้รัชกาลที่ 4ยังโปรดให้สร้างพระราชวังเพิ่มเติมขึ้นทั้งในพระนครและ หัวเมือง ในพระนครคือ พระราชวังสราญรมย์ พระราชวังสวนสระปทุม(พร้อมวัดคือวัดปทุมวนาราม) ที่หัวเมืองคือ พระนครคีรี ที่จังหวัดเพชรบุรี พระนารายณ์ราชนิเวศน์ที่จังหวัดลพบุรี และ พระราชวังบางปะอินที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รัชกาลที่ 5โปรดให้มีการก่อสร้างเพิ่มเติมขึ้นในพระบรมมหาราชวัง ที่สำคัญคือพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระที่นั่งบรมพิมาน สร้างพระราชวังแห่งใหม่ที่สวนดุสิต ได้แก่พระที่นั่งวิมานเมฆ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระที่นั่งอนันตสมาคม นอกจากนี้ยังโปรดให้สร้างพระราชวังพญาไท และวังที่ประทับของพระเจ้าลูกเธอยาเธออีกหลายแห่งเช่น วังบางขุนพรหม ฯลฯ

  12. การทำนุบำรุงบ้านเมือง(ต่อ)การทำนุบำรุงบ้านเมือง(ต่อ) นอกจากนี้ยังโปรดให้ขยายพระนครให้กว้างออกไปทางด้านเหนือ โดยการขุดคลองเปรมประชากร บูรณะถนนเดิม สร้างถนนสายใหม่หลายสาย(ในรัชกาลที่ 5 ถือเป็นยุคแห่งการสร้างถนน) ที่สำคัญ คือ ถนนราชดำเนินนอก ราชดำเนินกลาง ถนนเยาวราช มีสร้างสะพานอีกจำนวนมาก เช่นสะพานผ่านพิภพลีลา ผ่านฟ้าลีลาศ เป็นต้น

  13. การทำนุบำรุงบ้านเมือง (ต่อ) รัชกาลที่ 6การทำนุบำรุงบ้านเมืองและการก่อสร้างต่างๆ นิยมแบบตะวันตกมากกว่าสมัยใดๆ แต่การก่อสร้างในพระบรมมหาราชวังยังคงถือตามแบบประเพณีไทย หลังจากนั้นมากรุงเทพฯ มีความเจริญรุ่งเรืองมาโดยตลอด และยังเป็นมหานครที่รุ่งเรืองของไทยเป็นศูนย์กลางแห่งความเจริญของประเทศสืบมาจนถึงปัจจุบัน

  14. การเมืองการปกครอง(รัชกาลที่4-รัชกาลปัจจุบัน)การเมืองการปกครอง(รัชกาลที่4-รัชกาลปัจจุบัน) มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งใหญ่ 2 ครั้ง ครั้งแรกในรัชกาลที่ 5 ครั้งที่สองรัชกาลที่ 7

  15. การเปลี่ยนแปลงการปกครองในรัชกาลที่ 5 มีรากฐานมาแต่ในสมัยรัชกาลที่ 4โดยมีวัตถุประสงค์ให้ประเทศเจริญก้าวหน้า และเพื่อป้องกันประเทศจากการแสวงหาอาณานิคมของชาติตะวันตก คือยกเลิกการปกครองแบบเดิม ทรงตั้งสภาแผ่นดิน 2 สภา คือสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินและสภางคมนตรี และตั้งกระทรวงขึ้น 12กระทรวงมีเสนาบดีเป็นผู้กำกับประจำกระทรวง

  16. การเปลี่ยนแปลงการปกครอง(ต่อ)การเปลี่ยนแปลงการปกครอง(ต่อ) นอกจากนี้รัชกาลที่ 5ยังโปรดให้มีการชำระกฎหมายใหม่ และโปรดให้ตั้งโรงเรียนกฎหมายขึ้น โปรดให้เลิกทาส โปรดให้มีการจัดการทหารแบบใหม่ตามแบบยุโรป มีพระราชบัญญัติเกณฑ์ทหาร ทรงตั้งโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าขึ้น โปรดให้จัดตั้งตำรวจนครบาลและตำรวจภูธรเพื่อดูแลความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง

  17. การเปลี่ยนแปลงการปกครองในรัชกาลที่ 7 หลังจากที่เกิดสงครามโลก เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกส่งผลกระทบมาถึงประเทศไทยด้วย รัชกาลที่ 7 ทรงพิจารณาแก้ไขเหตุการณ์ต่างๆ แต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จ เกิดกลุ่มบุคคลรวมตัวกันที่เรียกว่า คณะราษฎร์ ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นการปกครองแบบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475

  18. การปกครองประเทศตามระบบประชาธิปไตยแบ่งเป็น 3 ส่วน • การปกครองส่วนกลางมีกระทรวงทบวงกรมมีรัฐมนตรีเป็นผู้บริหารดูแลแต่ละกระทรวงแบ่งงานออกเป็นกรมกองมีข้าราชการบริหารตามลำดับ • การปกครองส่วนภูมิภาคแบ่งออกเป็นจังหวัดต่างๆมีผู้ว่าราชการเป็นผู้บริหารดูแลแต่ละจังหวัดแบ่งออกเป็นอำเภอตำบลหมู่บ้าน • การปกครองส่วนท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนจังหวัดเทศบาลสุขาภิบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นการกระจายอำนาจจากส่วนกลางลงสู่ท้องถิ่นแต่ทั้งหมดนี้รัฐบาลส่วนกลางมีอำนาจปกครองครอบคลุมทั่วประเทศ

  19. การติดต่อต่างประเทศ ในสมัยนี้มีการติดต่อกับชาติตะวันตกมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อังกฤษ ฝรั่งเศส รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสต่างประเทศ คือ สิงคโปร์-ชวาอินเดีย-พม่า และยุโรป 2 ครั้ง

  20. การติดต่อต่างประเทศ(ต่อ)การติดต่อต่างประเทศ(ต่อ) รัชกาลที่ 6ทรงนำประเทศเข้าร่วมฝ่ายพันธมิตรในสงครามโลก รัชกาลที่ 8เกิดสงครามอินโดจีน สงครามเอเชียมหาบูรพา และ สงครามโลกครั้งที่สอง รัชกาลที่9การติดต่อต่างประเทศเป็นไปด้วยดีมาโดยตลอด พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯประเทศต่างๆเพื่อเจริญสัมพันธไมตรี รัฐบาล ไทยขอเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ ทำให้ ไทยได้รับประโยชน์ในด้านการพัฒนาประเทศหลายประการ

  21. เศรษฐกิจ • รัชกาลที่ 4มีการเปิดการค้าเสรี ทำให้ระบบเศรษฐกิจขยายตัวอย่างรวดเร็วมีระบบเงินตราใหม่ มีการจัดตั้งโรงกษาปต์ผลิตเงินเหรียญ บาท สลึง เฟื้องแทนเงินพดด้วง • รัชกาลที่ 5ยกเลิกการเก็บภาษีแบบเก่า มีการจัดตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ทำหน้าที่รวบรวมรายได้ของแผ่นดิน ต่อมายกฐานะเป็นกระทรวงการคลังนอกจากนี้ยังทรงช่วยการทำมาหากินของราษฎรด้วย โดยจัดตั้งหน่วยงาน เช่นกรมทดน้ำ กรมป่าไม้ กรมโลหะกิจฯลฯ และที่สำคัญมีการจัดตั้งธนาคารสำหรับเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนภายในราชอาณาจักร

  22. เศรษฐกิจ (ต่อ) • ในรัชกาลที่ 7ไทยต้องเผชิญกับความผันแปรทางเศรษฐกิจมาโดยตลอด เนื่องจากเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก แต่ประเทศไทยก็ผ่านปัญหาต่างๆมาได้โดยตลอด จนกระทั่งรัชกาลปัจจุบัน ไทยก็ยังเป็นประเทศหนึ่งในโลกที่ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ และจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา แต่อยู่ในฐานะที่เจริญกว่าประเทศในเอเชียอีกหลายประเทศ รัฐบาลที่บริหารประเทศต้องสร้างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติขึ้น เริ่มใช้ครั้งแรกในปีพ.ศ.๒๕๐๔ ปัจจุบันเป็นช่วงการใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ ๙

  23. การศึกษาและศิลปวิทยาการสมัยใหม่การศึกษาและศิลปวิทยาการสมัยใหม่ • รัชกาลที่ 4 มีพวกหมอศาสนาตั้งโรงเรียนขึ้นเพื่อสอนหนังสือเด็กไทยหลายแห่ง • รัชกาลที่ 5 โปรดให้ แต่งหนังสือสำหรับใช้สอน และจัดตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวัง ตั้งโรงเรียนมหาดเล็กโรงเรียนหลวงสำหรับราษฎรแห่งแรกคือที่วัดมหรรณพราม โรงเรียนสอนวิชาชีพต่างๆ ตั้งกรมศึกษาธิการดูแลการศึกษาโดยเฉพาะ ต่อมายกฐานะเป็นกระทรวงธรรมการ

  24. ในรัชกาลที่ 5 มีการแต่งหนังสือแบบเรียนขึ้นสำหรับใช้สอนเรียกว่า แบบเรียนหลวง ประกอบด้วย มูลบทบรรพกิจ วาหนิตกร อักษรประโยค สังโยคพิธาน ไวพจน์พิจารณ์ พิศาลการันต์ การศึกษาและศิลปะวิทยาการสมัยใหม่(ต่อ)

  25. การศึกษาและศิลปะวิทยาการสมัยใหม่(ต่อ)การศึกษาและศิลปะวิทยาการสมัยใหม่(ต่อ) • การติดต่อกับชาวตะวันตก ทำให้ศิลปะวิทยาการสมัยใหม่แพร่หลาย เข้ามา และมีผลดีต่อการพัฒนาบ้านเมืองเป็นอย่างมาก เช่น รัชกาลที่ 4 เริ่มมีสื่อสิ่งพิมพ์ทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษออก เผยแพร่ รัชกาลที่ 5 มีการสร้างถนนหนทาง การจัดการเดินรถราง สร้างทางรถไฟ สายแรกคือ กรุงเทพ-นครราชสีมา มีการจัดตั้งกรมไปรษณีย์-โทรเลข กรมทดน้ำ โรงพยาบาล

  26. การศึกษาและศิลปวิทยาการสมัยใหม่(ต่อ)การศึกษาและศิลปวิทยาการสมัยใหม่(ต่อ) ในรัชกาลที่ 5มีการจัดตั้งหอสมุดสำหรับประชาชน และเปิดพิพิธภัณฑ์ให้คนทั่วไปเข้าชม ทำให้คนไทยในยุคนี้มีความรู้ กว้างขวางมากขึ้นกว่าแต่ก่อน และเริ่มสงสัยในความรู้เดิมที่สั่งสอนกันมา ทำให้ความศรัทธาในพระสงฆ์น้อยลง บทบาทของพระสงฆ์ลดลงมาก แต่ความเชื่อถือในโชคลางยังปรากฏอยู่ และสืบมาจนปัจจุบัน

  27. สังคมไทย ประเพณีและวัฒนธรรม การแต่งกาย มีการออกกฎหมายประกาศห้ามแต่งกายไม่สมควร การเข้าเฝ้าเป็นทางการ โปรดให้ทำตามแบบตะวันตก แต่ถ้าเป็นการภายในให้เป็นตามแบบประเพณีเดิมคือหมอบกราบ ยกเลิกการโกนผมไว้ทุกข์ทั้งแผ่นดินเมื่อพระมหากษัตริย์เสด็จสวรรคต มีการสร้างบ้านเรือนริมถนนหนทาง การก่อสร้างต่างๆทั้งของหลวง และราษฎรนิยมตามแบบตะวันตก สถานะทางสังคม เมื่อมีการเลิกทาส ไพร่มีสถานะเป็นคนสามัญทั่วไป เข้ารับราชการได้

  28. สังคมไทย ประเพณีและวัฒนธรรม(ต่อ) ครอบครัว ในสังคมถือว่าพ่อบ้านคือผู้นำครอบครัว มีภริยาหลายคนไม่ เสียหาย เพราะเป็นสิ่งเชิดหน้าชูตาแสดงถึงฐานะ แต่ในรัชกาลที่ 6 ทรงออกกฎหมายให้มีภริยาได้ครั้งละ 1คน ถ้าจะเปลี่ยนแปลงต้อง หย่าร้างก่อนตามธรรมเนียมตะวันตก การใช้ศักราช เดิมใช้จุลศักราชตามแบบสมัยอยุธยา ในรัชกาลที่5 ทรงเปลี่ยนเป็นรัตนโกสินทร์ศกหรือ ร.ศ. และในรัชกาลที่ 6ทรง เปลี่ยนเป็นพุทธศักราช หรือ พ.ศ.

  29. สังคมไทย ประเพณีและวัฒนธรรม(ต่อ) การใช้คำนำหน้าสตรีและเด็ก เดิมสตรีมีคำนำหน้าว่า อำแดง รัชกาลที่ 6 ทรงเปลี่ยนให้ใช้คำว่านางสาวและนางแทน ส่วนเด็กนั้น ให้เรียกเด็กชายและเด็กหญิงนำหน้าชื่อ และโปรดให้ออก พระราชบัญญัตินามสกุลขึ้นด้วย ต่อมาหลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว สังคมประเพณี ไทยแบบเดิมก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย มีการปรับปรุงพื้นฐานสังคมและ วัฒนธรรมไทยให้สอดคล้องกับระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย

  30. การศาสนาและศิลปวัฒนธรรมการศาสนาและศิลปวัฒนธรรม พระราชกรณียกิจที่สำคัญของพระมหากษัตริย์ไทยคือการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนามีการสร้างวัดและบำรุงรักษาวัดที่มีมาแต่ก่อนให้เป็นศูนย์กลางแห่งจิตใจและศูนย์รวมแห่งชุมชนในทุกๆด้านเพราะวัดทำหน้าที่เป็นทั้งสถานศึกษาสถานพยาบาลที่พักคนเดินทางหรือที่พบปะสังสรรค์ของผู้คนในสังคมและยังเป็นบ่อเกิดแห่งศิลปกรรมทุกประเภทที่แสดงให้เห็นถึงค่านิยมภูมิปัญญาการสร้างสรรค์ของคนในชุมชนนั้นๆวัดมีความผูกพันกับคนในชุมชนมากในสมัยรัตนโกสินทร์พระพุทธศาสนาลัทธิหินยานอย่างลังกาวงศ์เจริญรุ่งเรืองเป็นศาสนาหลักของบ้านเมืองมาโดยตลอด

  31. วัดพระศรีรัตนศาสดารามในพระบรมมหาราชวังวัดพระศรีรัตนศาสดารามในพระบรมมหาราชวัง

  32. วัดพระศรีรัตนศาสดารามในพระบรมมหาราชวังวัดพระศรีรัตนศาสดารามในพระบรมมหาราชวัง

  33. พระบรมมหาราชวัง

  34. พระบรมมหาราชวัง

  35. พระบรมมหาราชวัง

  36. บรมบรรพต(ภูเขาทอง)

  37. บรมบรรพต(ภูเขาทอง)

  38. วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร

  39. วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร จ.นครปฐม

  40. พระร่วงโรจนฤทธิ์ที่ปฐมเจดีย์

More Related