1 / 26

การปฏิรูปการเรียนรู้ กับอาจารย์ ยุคใหม่ ( ครูมืออาชีพ : อาชีพครู ) ดร. อมรวิชช์ นาครทรรพ

การปฏิรูปการเรียนรู้ กับอาจารย์ ยุคใหม่ ( ครูมืออาชีพ : อาชีพครู ) ดร. อมรวิชช์ นาครทรรพ 13 มี.ค 49. การศึกษามุ่งสร้าง KBE. สถานภาพอาชีพครู เงินเดือน องค์กรวิชาชีพ มาตรฐานการศึกษา สมศ. กพร. องค์กรภายนอก

zena-kemp
Download Presentation

การปฏิรูปการเรียนรู้ กับอาจารย์ ยุคใหม่ ( ครูมืออาชีพ : อาชีพครู ) ดร. อมรวิชช์ นาครทรรพ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การปฏิรูปการเรียนรู้ กับอาจารย์ ยุคใหม่ (ครูมืออาชีพ : อาชีพครู) ดร. อมรวิชช์ นาครทรรพ 13 มี.ค 49

  2. การศึกษามุ่งสร้าง KBE สถานภาพอาชีพครู เงินเดือน องค์กรวิชาชีพ มาตรฐานการศึกษา สมศ. กพร. องค์กรภายนอก เรียนรู้คู่ปฏิบัติ สหกิจศึกษา การเน้นภาคปฏิบัติ ความร่วมมือ ชุมชน ภาคเอกชน อุดมศึกษาหลากหลาย หลักสูตรระยะสั้น เทียบโอน

  3. คุณลักษณะกำลังคนรุ่นใหม่ • IT Literacy/Communication skills • Learning Skills/Research Skills • Interdisciplinary Understanding • Global Perspectives • Self-awareness/Cultural awareness • Civic Character

  4. ยุทธศาสตร์การเรียนรู้คนยุคใหม่ยุทธศาสตร์การเรียนรู้คนยุคใหม่ - IT-Based - Issue-Based (Interdis Learning/Global Issue) - Research – Based (LearningSkills) - Student- Based (Self-Awareness) - Heritage-Based (Multi-Cultureawareness) - Community- Based

  5. โฉมหน้าครู (ของครู) พันธุ์ใหม่ เป็น Hi-Tech และ Hi-Touch- รู้รอบ/มาจากการเรียนแบบสหวิทยาการ- ครูนักวิจัย/ครูตั้งคำถาม/ครูที่ให้เด็กเรียนรู้คู่วิจัย- ครู Mentor / ครูนักจิตวิทยา- ครูวัฒนธรรม/ครูภูมิปัญญา- ครูชุมชน/ครูนักจัดการความรู้

  6. ฐานคิดการวิจัย - กระบวนการวิจัยกับกระบวนการเรียนรู้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน - กระบวนการเรียนรู้ผ่านการวิจัยมีมาแต่โบราณ - กระบวนการเรียนรู้ผ่านการวิจัยเป็นการสร้างคนเพื่อสร้างความรู้ที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคม - กระบวนการวิจัยเป็นการปฏิรูปการเรียนรู้

  7. การวิจัยในชั้นเรียน ควรมีลักษณะ • เป็นการวิจัยจากปัญหาที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนที่เกี่ยวกับการเรียนการสอน • ทำการวิจัยเพื่อนำผลการวิจัยไปพัฒนาการเรียนการสอน • ทำการวิจัยควบคู่กับการเรียนการสอน คือ สอนไปวิจัยไป แล้วนำผลการวิจัยไปแก้ปัญหาในชั้นเรียน และทำการเผยแพร่ให้เกิดประโยชน์ต่อผู้อื่น

  8. ความสำคัญของการวิจัยในชั้นเรียนความสำคัญของการวิจัยในชั้นเรียน • นักเรียน เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้ ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน จนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจนเป็นที่น่าพอใจ • ครู มีการวางแผนการสอนอย่างเป็นระบบ เลือกวิธีสอนที่เหมาะสม ประเมินผลเป็นระยะ หาทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม • สถานศึกษา ความสัมพันธ์อันดีของคณะครูในสถานศึกษา ช่วยบริหารงานทางวิชาการให้เป็นระบบ มีประสิทธิภาพ ยกระดับมาตรฐานวิชาการสถานศึกษาให้สูงขึ้น

  9. ขอบเขตการทำวิจัยในชั้นเรียนขอบเขตการทำวิจัยในชั้นเรียน • การวิจัยในชั้นเรียน เป็นการวิจัยโดยครูผู้สอนในห้องเรียนทำกับนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างขนาดเล็ก เพื่อแก้ปัญหา หรือพัฒนาการเรียนการสอนในวิชาที่ครูรับผิดชอบ • ขอบเขตให้ความสำคัญกับการคิดค้นพัฒนานวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาอย่างเหมาะสม นวัตกรรมมี ๒ ประเภท • สื่อการเรียนการสอนที่เป็นสิ่งประดิษฐ์ (Invention) • กิจกรรมการพัฒนา หรือเทคนิควิธีสอน (Instruction)

  10. วงจรการทำงานการวิจัยในชั้นเรียน ของ Kemmis วางแผน (Plan) สะท้อนกลับ (Reflecting) ลงมือปฏิบัติ (Act) สังเกต (Observe)

  11. รูปแบบของการวิจัยในชั้นเรียนรูปแบบของการวิจัยในชั้นเรียน • การวิจัยในชั้นเรียนมีลักษณะเฉพาะ เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนางานจัดการเรียนการสอน ดังนั้น รูปแบบจะเป็นแบบการวิจัยและพัฒนา(Research and Development)

  12. กระบวนการการทำวิจัยในชั้นเรียนกระบวนการการทำวิจัยในชั้นเรียน

  13. ๑. การวิเคราะห์ปัญหาการเรียนการสอน • การดำเนินการ : กำหนดปัญหาการเรียนการสอนได้อย่างเฉพาะ เจาะจง และชัดเจน เพื่อนำเสนอเขียนสภาพปัญหาของผู้เรียน และครู ยังสามารถเขียนเป็นวัตถุประสงค์ของการวิจัยได้ด้วย

  14. ๒. การศึกษาแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง • เมื่อได้วัตถุประสงค์แล้ว ควรจะต้องศึกษาแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะวิจัย เพื่อแสดงความต่อเนื่องทางวิชาการ ที่จะทำให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น • การดำเนินการ ได้เทคนิคในการแก้ปัญหาที่สอดคล้องกับหลักการ ทฤษฎี หรืองานวิจัยที่มีผู้ศึกษาไว้แล้ว เพิ่มความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น

  15. ๓. การพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา • นวัตกรรมเป็นรูปแบบ หรือวิธีการแก้ปัญหาที่ครูสร้างขึ้นมาเอง หรือนำเอารูปแบบ หรือวิธีการที่ผู้อื่นทำไว้แล้วมาปรับปรุงให้เหมาะสมกับสภาพปัญหาที่ต้องการ เช่น บทเรียนสำเร็จรูป ชุดการสอน วิธีสอนรูปแบบใหม่ ๆ • การดำเนินการ ได้นวัตกรรมที่คาดว่ามีคุณภาพเหมาะสมที่นำไปใช้ในการแก้ปัญหา

  16. ๔. การออกแบบการวิจัย • เป็นการวางแผนในการวิจัย โดยกำหนดรูปแบบของการทดลองใช้นวัตกรรม การกำหนดประชากร และกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล วิธีรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล มีประเด็นสำคัญ :

  17. การออกแบบการทดลอง จะต้องออกแบบการทดลองให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ สมมุติฐาน โดยคำนึงถึงกลุ่มตัวอย่าง และตัวแปรที่วัด • การดำเนินการ (๑) ได้รูปแบบการทดลอง นวัตกรรมที่เหมาะสม น่าเชื่อถือ เพื่อพิสูจน์ว่า นวัตกรรมนั้นมีประสิทธิภาพ และใช้แก้ปัญหาได้

  18. ๒. การสร้างและพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล จะใช้เครื่องมือชนิดใดย่อมขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการวิจัย และตัวแปรที่จะวัด เช่น แบบทดสอบ แบบสอบถาม ฯลฯ • เมื่อสร้างเครื่องมือวัด (๒) หรือปรับปรุงเครื่องมือที่ผู้อื่นสร้างไว้ จะต้องมีการตรวจสอบคุณภาพก่อนที่จะไปใช้จริง โดยนำไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง เพื่อตรวจสอบความตรง ความเที่ยง

  19. ๕. การทดลองใช้นวัตกรรม • เมื่อครูสร้างนวัตกรรม และสร้างเครื่องมือวัดเสร็จแล้ว ขั้นต่อไป นำเอานวัตกรรมนั้นไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง และเก็บรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์ตามแนวทางที่กำหนด

  20. ๖. การวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล • นำผลจากการทดลองมาวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางสถิติ แล้วสรุปผลข้อมูล โดยการนำเสนอให้เห็นถึงผลของการทดลองอย่างชัดเจน เพื่อสามารถนำนวัตกรรมนั้น ๆ ไปพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป

  21. ๗. การเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียน • เป็นการเขียนรายงานงานวิจัย ตั้งแต่ เริ่มต้น วิเคราะห์และสำรวจปัญหา การพัฒนารูปแบบ การทดลองใช้รูปแบบเพื่อแก้ปัญหา การวิเคราะห์ผล สรุปผล อภิปราย และข้อเสนอแนะ

  22. สรุปกระบวนการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนสรุปกระบวนการจัดทำวิจัยในชั้นเรียน

  23. ๑.วิเคราะห์ปัญหาการเรียนการสอน๑.วิเคราะห์ปัญหาการเรียนการสอน ๓.พัฒนานวัตกรรมที่เกี่ยวข้อง สร้างนวัตกรรม หาประสิทธิภาพ (E1/E2) ๒.ศึกษาแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ๕.ทดลองใช้นวัตกรรม ๔. ออกแบบการวิจัย แผนการวิจัย ประชากร / กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือ (หาคุณภาพ)(IOC) รวบรวม / วิเคราะห์ข้อมูล ๖.วิเคราะห์ และสรุปผล ๗.เขียนรายงานการวิจัย

  24. บทสรุปทางกรอบความคิด • ทำไมถึงทำ • ทำอย่างไร • ทำแล้วมีผลสัมฤทธิ์อย่างไร • ทำแล้วมีประโยชน์อย่างไร

  25. ....สวัสดี...

  26. ใบงานที่ ๑ ให้ตอบคำถามในกระดาษที่แจกให้ • ความหมายของการวิจัยในชั้นเรียน ................ • ความสำคัญของการวิจัยในชั้นเรียน ................ • วงจรการการวิจัยในชั้นเรียน ........................ • กระบวนการของการวิจัยในชั้นเรียน (อธิบายโดยย่อ)

More Related