1 / 28

เครื่องตรวจจับโลหะ ผู้ทำโครงงาน นาย ภุชงค์ เพชรลูก เลขที่ 23 ม.6/3

เครื่องตรวจจับโลหะ ผู้ทำโครงงาน นาย ภุชงค์ เพชรลูก เลขที่ 23 ม.6/3 น.ส. รัชฎาภรณ์ นา ไทย เลขที่ 31 ม.6/3 นาย ไตรภพ แซ่ เจี้ยง เลขที่ 32 ม.6/3 น.ส. อารี รัตน์ รัต นคช เลขที่ 34 ม.6/3 น.ส. ศิ ริ ขวัญ คำ วงค์ เลขที่ 37 ม.6/3 น.ส.สุวิมล ใน สระ เลขที่ 39 ม.6/3.

zena-kemp
Download Presentation

เครื่องตรวจจับโลหะ ผู้ทำโครงงาน นาย ภุชงค์ เพชรลูก เลขที่ 23 ม.6/3

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เครื่องตรวจจับโลหะ ผู้ทำโครงงาน นาย ภุชงค์ เพชรลูกเลขที่ 23 ม.6/3 น.ส. รัชฎาภรณ์นาไทย เลขที่ 31 ม.6/3 นาย ไตรภพ แซ่เจี้ยง เลขที่ 32 ม.6/3 น.ส. อารีรัตน์ รัตนคช เลขที่ 34 ม.6/3 น.ส. ศิริขวัญ คำวงค์ เลขที่ 37 ม.6/3 น.ส.สุวิมล ในสระ เลขที่ 39 ม.6/3

  2. ปรึกษาโครงงานนางผุสดี อินทรวสุ โรงเรียนพนมเบญจา อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ สังกัดเขตพื้นที่การศึกษากระบี่

  3. บทคัดย่อ วงจรตรวจจับโลหะ เป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่ง ที่มีประโยชน์มากสำหรับตำรวจ ทหารผู้รักษาความปลอดภัย หรือสำหรับช่างก่อสร้าง ถ้าเป็นตำรวจหรือผู้รักษาความปลอดภัย ใช้ตรวจสอบการพกพาอาวุธ เช่น ปืน มีด หรือวัตถุที่เป็นโลหะ เวลาที่ต้องการเจาะฝาผนังที่เป็นคอนกรีตจะต้องตรวจดูก่อนว่ามีเหล็กเส้นในฝาผนังนั้นหรือไม่ วงจรนี้สามารถตรวจจับโลหะได้ทุกชนิด เช่น ทองแดง เงิน อลูมิเนียม เป็นต้น

  4. คำนำ รายงานโครงงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา การงานอาชีพและเทคโนโลยี จัดทำขึ้นเพื่อฝึกทักษะให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ศึกษานำไปใช้ประโยชน์เพื่อให้เกิดผลงานที่มีคุณภาพที่สุดออกสู่สังคม สามารถ คณะผู้จัดทำโครงงาน

  5. กิตติกรรมประกาศ การทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ประเภทสิ่งประดิษฐ์ เครื่องตรวจจับโลหะ ที่กลุ่มข้าพเจ้าคิดประดิษฐ์ขึ้น ได้รับความร่วมมือจากสมาชิกในกลุ่มทุกคนเป็นอย่างดี และได้รับคำปรึกษาหารือกับคุณครูที่ปรึกษาโครงงาน ทำให้โครงงานนี้สำเร็จไปได้ด้วยดี ทั้งนี้กลุ่มของข้าพเจ้าขอขอบพระคุณ ครูธวัฒน์ธิเดช เดชอรัญ ครูผู้ช่วยกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการเขียนแบบชิ้นงาน ครูกุศล บัวเกตุ และครูทุกท่านในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่คอยให้คำปรึกษา และแนะนำการทำโครงงาน >>>>>ต่อ

  6. ท่านรองผู้อำนวยการโรงเรียน นายธีระยุทธ ทองใบใหญ่ ที่ให้คำชี้แนะในการพัฒนาตรวจจับโลหะ และท่านผู้อำนวยการโรงเรียนพนมเบญจา นายนรายณ์ นาคปนทอง ที่ให้การสนับสนุนการทำโครงงานครั้งนี้ไว้เป็นอย่างสูง ณ โอกาสนี้ คณะผู้จัดทำโครงงาน

  7. บทที่ 1 บทนำ ที่มาและความสำคัญของโครงงาน วงจรตรวจจับโลหะ เป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่ง ที่มีประโยชน์มากสำหรับตำรวจ ทหารผู้รักษาความปลอดภัย หรือสำหรับช่างก่อสร้าง ถ้าเป็นตำรวจหรือผู้รักษาความปลอดภัย ใช้ตรวจสอบการพกพาอาวุธ เช่น ปืน มีด หรือวัตถุที่เป็นโลหะ เวลาที่ต้องการเจาะฝาผนังที่เป็นคอนกรีตจะต้องตรวจดูก่อนว่ามีเหล็กเส้นในฝาผนังนั้นหรือไม่

  8. วัตถุประสงค์ 1. เพื่อประดิษฐ์เครื่องตรวจจับโลหะ 2. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของเครื่องตรวจจับโลหะ 3. สามารถนำไปใช้ในการตรวจจับโลหะได้ ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า การทำโครงงานเครื่องตรวจจับโลหะเป็นการศึกษาประสิทธิภาพของสิ่งประดิษฐ์ที่ใช้สำหรับตรวจจับโลหะเพื่อ และสิ่งต้องสงสัยว่าเป็นอาวุธ การทดสอบประสิทธิภาพ ทดสอบที่โรงเรียนพนมเบญจา อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่

  9. นิยามศัพท์ เครื่องตรวจจับโลหะหมายถึง เครื่องมือที่ประดิษฐ์ขึ้นมา เพื่อนำไปใช้ในการตรวจวัตถุที่เป็นโลหะ

  10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. เครื่องตรวจจับโลหะสามารถนำมาใช้ตรวจจับโลหะหรือวัตถุที่เป็นโลหะได้ 2. สามารถตรวจพบวัตถุที่เป็นโลหะที่ซ่อนอยู่ได้ 3. ช่วยลดระยะเวลาในการตรวจค้น ตรวจจับวัตถุที่เป็นโลหะ

  11. บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง แผนภาพวงจร(Circuit Diagrams)

  12. การเขียนแผนภาพวงจร(Drawing circuit diagrams) วิธีการเขียนวงจรไม่ได้ยากเลยแต่ต้องฝึกการเขียนให้เรียบร้อยสะอาดตาจนชำนาญ  การเขียนวงจรมีความจำเป็นและมีประโยชน์มากสำหรับวิทยาศาสตร์และอิเล็กทรอนิกส์  เพราะอย่างน้อยหากเราออกแบบวงจร ก็แน่นอนว่าต้องเขียนวงจรเอง เพื่อให้เขียนวงจรได้ดีควรทำตามคำแนะนำดังนี้: ให้แน่ใจว่าเราใช้ สัญลักษณ์ ของอุปกรณ์แต่ละตัวถูกต้อง ใช้เส้นตรงเขียนเป็นเส้นต่อวงจร (ควรใช้ไม้บรรทัด) ใส่จุดกลม () ที่จุดต่อระหว่างสาย เขียนบอกค่ากำกับที่ตัวอุปกรณ์ เช่น ตัวต้านทาน ตัวเก็บประจุ ขั้วบวก (+)ของแหล่งจ่ายไฟต้องไว้ข้างบน และขั้วลบ (-) อยู่ข้างล่าง  ขั้วลบใส่ค่า 0V (ศูนย์โวลท์)

  13. รูปแบบการเขียนแผนภาพวงจรรูปแบบการเขียนแผนภาพวงจร ทั้งแบบที่ถูกต้องและแบบที่ผิด

  14. ไฟฟ้าคืออะไร ไฟฟ้าคือประจุที่ไหลรอบวงจร นำพลังงานจากแบตเตอรี่(หรือแหล่งจ่ายกำลัง)ไปยังอุปกรณ์ที่เป็นภาระ(Load) เช่น หลอดไฟ มอเตอร์ กระแสไฟฟ้าจะไหลได้ก็ต่อเมื่อมีการต่อครบวงจร จากแบตเตอรี่ผ่านสายไปยังภาระและย้อนกลับมาที่แบตเตอรี่อีกแผนภาพด้านขวาแสดงวงจรแบตเตอรี่อย่างง่าย ประกอบด้วย สาย สวิทช์ และหลอดไฟ สวิทช์ทำหน้าที่ตัดต่อหรือปิดเปิดวงจรเมื่อสวิทช์ถูกตัดหรือเปิด(open)วงจรจะขาดตอน-ไฟฟ้าไม่สามารถไหลได้หลอดจะดับเมื่อสวิทช์ถูกต่อหรือปิด(closed) วงจรจะครบสมบูรณ์ - ไฟฟ้าจะไหล นำพลังงานจากแบตเตอรี่ไปยังหลอดไฟ ทำให้หลอดติด เราสามารถมองเห็น ได้ยิน รู้สึก ของผลที่เกิดจากการไหลของไฟฟ้า ดังเช่นหลอดติด กริ่งดัง หรือมอเตอร์หมุน -แต่เราไม่สามารถมองเห็นตัวไฟฟ้า จึงไม่อาจรู้ได้ว่ามันไหลไปทางไหน **ในภาษาไทยคำว่าเปิดสวิทช์(เปิดไฟ)หมายถึงสวิทช์ถูกต่อหรือปิด(closed) และปิดสวิทช์(ปิดไฟ)หมายถึงสวิทช์ถูกตัดหรือเปิด(open)**

  15. ไฟฟ้าไหลไปทางไหน เราพูดว่าไฟฟ้าไหลจากขั้วบวก (+) ของแบตเตอรี่ไปยังขั้วลบ (-) ของแบตเตอรี่  เราสามารถจินตนาการว่าอนุภาคของประจุบวกสีแดงไหลในทิศทางรอบวงจรดังรูป การไหลของประจุไฟฟ้าแบบนี้เรียกว่ากระแสแบบธรรมดา(conventional current)หรือตามธรรมเนียมที่ใช้กันมา ทิศทางการไหลนี้จะใช้ในเรื่องของอิเล็กทรอนิกส์ตลอด  เป็นสิ่งหนึ่งที่คุณจะต้องจดจำและใช้  เพื่อทำความเข้าใจการทำงานของวงจร อย่างไรก็ตามนี่ไม่ใช่คำตอบทั้งหมด เพราะความจริงอนุภาคที่เคลื่อนที่นั้นเป็นประจุลบและมันจะไหลในทิศทางตรงกันข้าม โปรดอ่านต่อไป

  16. อิเล็กตรอน เมื่อไฟฟ้าถูกค้นพบ  นักวิทยาศาสตร์ได้พยายามทดลองเพื่อให้รู้ว่าไฟฟ้าไหลไปทางไหนในวงจร แต่ในตอนนั้นเขาพบว่ามันเป็นไปไม่ได้ที่จะค้นหาทิศทางการไหล เขารู้ว่าประจุไฟฟ้ามีสองชนิดคือ บวก (+) และลบ (-)  และตัดสินใจว่าไฟฟ้าคือประจุบวกไหลจาก + ไป -  เขารู้ว่านี่เป็นการเดาแต่ก็ตัดสินใจอย่างนั้น และรู้ทุกอย่างในเวลานั้นว่าสามารถอธิบายได้หากไฟฟ้าเป็นประจุลบ จะไหลอีกทิศทางหนึ่งคือจาก - ไป +   อิเล็กตรอนถูกค้นพบในปี 1897 และพบว่ามีประจุลบ การเดาเรื่องไฟฟ้าในตอนต้นๆนั้นจึงผิดพลาด  เพราะความจริงไฟฟ้าในตัวนำคือการไหลของอิเล็กตรอน (ประจุลบ) จาก - ไป + ในช่วงแรกที่มีการค้นพบอิเล็กตรอน ก็ยังเชื่อมั่นอยู่ว่าไฟฟ้าไหลจาก + ไป - (กระแสแบบธรรมดา) และโชคดีที่ไม่เกิดปัญหาในความคิดเรื่องไฟฟ้าทำนองนี้  เพราะว่า ประจุบวกไหลไปข้างหน้ามีค่าเท่ากันกับประจุลบไหลไปข้างหลังเพื่อป้องกันการสับสนคุณต้องใช้กระแสแบบธรรมดา  เมื่อพยายามทำความเข้าใจการทำงานของวงจร ต้องนึกอยู่เสมอว่าอนุภาคประจุบวกไหลจาก + ไป -

  17. กฎของโอห์ม(Ohm's Law) ถ้าจะให้มีกระแสไหลผ่านความต้านทาน จะต้องมีแรงดันคร่อมตัวต้านทาน  กฎของโอห์มแสดงความสัมพันธ์ระหว่างแรงดัน(V) กระแส (I) และความต้านทาน (R) สามารถเขียนแสดงความสัมพันธ์ได้ 3 อย่างคือ: V = I × Rหรือ  I = V/ Rหรือ  R =V/I ในเมื่อ: V = แรงดัน หน่วยเป็นโวลท์ (V)I  = กระแสหน่วยเป็นแอมป์(A)R = ความต้านทานหน่วยเป็นโอห์ม () หรือ: V = แรงดัน หน่วยเป็นโวลท์  (V)I  = กระแสหน่วยเป็นมิลลิแอมป์ (mA)R = ความต้านทานหน่วยเป็นกิโลโอห์ม  (k)

  18. สามเหลี่ยม VIR กฎของโอห์มเราสามารถใช้สามเหลี่ยม VIR ช่วยในการจำกฎของโอห์มทั้งสาม   โดยให้เขียน V, I และ R เป็นสามเหลี่ยมดังรูปเหลืองขวามือ ถ้าจะคำนวณหาแรงดันV: ให้วางนิ้วทับ Vที่เหลือจะมองเห็น I R ดังนั้นสมการก็คือ V = I × R ถ้าจะคำนวณกระแสI: ให้วางนิ้วทับ Iที่เหลือจะมองเห็น V อยู่เหนือ R ดังนั้นสมการก็คือ I = V/R ถ้าจะคำนวณความต้านทานR: ให้วางนิ้วทับ Rที่เหลือจะมองเห็น V อยู่เหนือ I ดังนั้นสมการก็คือ R = V/I

  19. บทที่ 3 การดำเนินการประดิษฐ์ วัสดุ อุปกรณ์ ตัวต้านทาน R1 1k8Ω R9 4k Ω R2 20k Ω R10 1k Ω R3 27 Ω R11,R14 5k Ω R4 2k2 Ω R12 120k Ω R5,R6 220k Ω R13 300k Ω R7 56k Ω R15 680k Ω R8 100k Ω

  20. ตัวต้านทานปรับค่าได้ VR1 = 10k Ω or 103 ตัวเก็บประจุชนิดอิเล็กทรอไลต์ C1 = 0.0012uF C2 = 0.022uF C3,C4 = 0.0015uF

  21. ทรานซีสเตอร์ TR1,TR2 = 0.0012uF TR3,TR5-TR7 = C458,C828,C945,C1815 TR4 = C9012 ไดโอด D1,D2 = 1N4148

  22. 2. ขั้นตอนการประดิษฐ์ ลงอุปกรณ์และการต่ออุปกรณ์ภายนอกแสดงไว้ในรูป การประกอบวงจรควรจะเริ่มจากอุปกรณ์ที่มีความสูงที่น้อยที่สุดก่อน เพื่อความสวยงามและการประกอบที่ง่าย โดยให้เริ่มจากไดโอดตามด้วยตัวต้านทานและไล่ความสูงไปเรื่อยๆ สำหรับอุปกรณ์ที่มีขั้วต่างๆ เช่น ไดโอด, คาปาซิสเตอร์แบบอิเล็กทรอไลต์ เป็นต้น ควรใช้ความระมัดระวังในการประกอบวงจร ก่อนการใส่อุปกรณ์เหล่านี้ต้องให้ขั้วที่แผ่นวงจรพิมพ์กับตัวอุปกรณ์ให้ตรงกัน เพราะถ้าหากใส่กลับขั้วแล้อาจจะทำให้อุปกรณ์หรือวงจรเสียหายได้

  23. วิธีการดูขั้วและการใส่อุปกรณ์นั้นได้แสดงไว้ในรูป ในการบัดกรีให้ใช้หัวแร้งขนาดไม่เกิด 40 วัตต์ และใช้ตะกั่วบัดกรีที่มีอัตราส่วนของดีบุกและตะกั่วอยู่ระหว่าง 60/40 รวมทั้งจะต้องมีน้ำยาประสานอยู่ภายในตะกั่วด้วย หลังจากที่ได้อุปกรณ์แล้วบัดกรีเรียบร้อยแล้วให้ทำการตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง เพื่อให้เกิดความมั่นใจแก่ตัวเอง แต่ถ้าเกิดใส่อุปกรณ์ผิดตำแหน่ง ควรใช้ที่ดูดตะกั่วหรือลวดซับตะกั่ว เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดกับลายวงจรพิมพ์ได้

  24. 3. งบประมาณ ในการประดิษฐ์เครื่องตรวจจับโลหะใช้งบประมาณทั้งสิ้น 400 บาท

  25. บทที่ 4 ผลการทดสอบเครื่องตรวจจับโลหะ เมื่อทำการจ่ายไฟเข้าวงจรแล้ว ให้ทำการหมุนโวลุ่มไปทางขวามือสุด LED จะติดพร้อมมีเสียงที่ไดนามิคบัซเซอร์ ให้ค่อยๆ หมุนโวลุ่มมาทางซ้ายมือจนกระทั้ง LED 1 และเสียงจะหยุดดังไปเมื่อทดลองได้ดังที่กล่าวแล้ว แสดงว่าใช้ได้ การปรับจะต้องปรับให้ห่างกับวัตถุที่เป็นโลหะด้วย

  26. บทที่ 5 สรุปผล และข้อเสนอแนะ วิเคราะห์ และสรุปผลการทดสอบ ใช้แหล่งจ่ายไฟขนาด 9 โวลท์ดีซี,กินกระแสสูงสุดประมาณ 40 มิลลิแอมป์มีโวลุ่มไว้สำหรับปรับความไวในการตรวจจับวัตถุ,ระยะห่างในการตรวจจับสูงสุดประมาณ 50 เซนติเมตร และมีขนาดไม่ใหญ่มากนัก (3.01x1.71นิ้ว) เครื่องสามารถตรวจจับวัตถุที่เป็นโลหะได้โดยจะส่งเสียงดัง

  27. ประโยชน์ของเครื่องตรวจจับโลหะประโยชน์ของเครื่องตรวจจับโลหะ 1. ใช้ในการตรวจจับโลหะ 2. สามารถใช้ในการหาวัตถุอันตราย เช่น ปืน , มีด 3. ใช้ในการตรวจสอบเหล็กเส้นในฝาผนัง ข้อเสนอแนะ 1. ชนิดงานยังเป็นชนิดงานสำหรับทดสอบอยู่ ความสามารถในการตรวจจับวัตถุจึงด้วยกว่าเครื่องตรวจจับที่มีจำหน่ายในท้องตลาด 2. ต้องมีการปรับปรุงรูปทรงชองเครื่องตรวจจับ

  28. จบการนำเสนอ

More Related