1 / 28

สถานการณ์ ที่มาและความสำคัญ

การจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาทักษะ เกษตรกรผู้เพาะปลูกถั่วอะซูกิ Knowledge Management of Development Skills for Azuki Agriculturists. สถานการณ์ ที่มาและความสำคัญ.

yule
Download Presentation

สถานการณ์ ที่มาและความสำคัญ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาทักษะเกษตรกรผู้เพาะปลูกถั่วอะซูกิKnowledge Management of Development Skills for AzukiAgriculturists

  2. สถานการณ์ ที่มาและความสำคัญ การเกษตรเป็นภาคเศรษฐกิจพื้นฐานของไทยเนื่องจากกระบวนการผลิตสินค้าเกษตร มีบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการใช้ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศ นอกจากนั้นภาคการเกษตรยังมีบทบาทต่อเศรษฐกิจส่วนรวมหลายประการ เช่น เป็นอาหารและเป็นวัตถุดิบพื้นฐานของอุตสาหกรรมหลายประเภท และมีบทบาทต่อธุรกิจอื่นๆที่มีความสัมพันธ์กับการเกษตรตั้งแต่การค้า และการผลิตปัจจัยการผลิต ไปจนถึงการส่งออกสินค้าเกษตร

  3. มูลนิธิโครงการหลวงเป็นอีกหนึ่งองค์กรที่มีผลผลิตเป็นสินค้าเกษตร มูลนิธิโครงการหลวงได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อปีพ.ศ.2512 เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเล็งเห็นถึงปัญหาการปลูกฝิ่นของชาวเขา จึงทรงมีพระราชดำริว่า ถ้าจะให้ชาวเขาเลิกปลูกฝิ่นก็ต้องหาพืชอื่นที่ขายได้ราคาดีกว่าและมีความเหมาะสมที่จะปลูกในที่สูง มาให้ชาวเขาปลูกทดแทนเป็นรายได้เสียก่อน จึงจะสามารถเลิกปลูกฝิ่นได้ พืชทดแทนที่โครงการหลวงได้นำเข้ามาทำการทดลองปลูกบนที่สูงมีหลายชนิด ทั้งพันธุ์ไม้ ผลไม้ พืชเมืองหนาวต่างๆมีจำหน่ายตลอดปี สามารถส่งออกต่างประเทศ ลดการนำเข้าจากต่างประเทศได้อีกทางหนึ่ง

  4. ถั่วอะซูกิ เป็นพืชที่มูลนิธิโครงการหลวงกำลังส่งเสริมให้มีการพัฒนา เพิ่มผลผลิตส่งให้ตลาด และสามารถขยายตลาดเติบโตได้ในอีก 4-5 ปีข้างหน้า ซึ่งเป็นพืชใหม่และเป็นพืชตระกูลถั่วที่ยังไม่ได้เข้าอยู่ในระบบตลาดเหมือนถั่วชนิดอื่นๆ ถั่วอะซูกินั้นถูกนำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่นใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมการผลิตแป้งถั่ว ผลผลิตถั่วอะซูกิที่ได้นำไปจำหน่ายให้แก่บริษัทญี่ปุ่น เพื่อนำไปใช้ในอุตสาหกรรม เช่น ทำอาหารโดยการแปรรูปเป็นแป้งถั่วเพื่อทำไส้ขนม อุตสาหกรรมเครื่องสำอางและยา เป็นต้น ประโยชน์ในทางการเกษตร คือ ช่วยปรับปรุงบำรุงดิน

  5. จากการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญทำให้ทราบว่า ปัจจุบันเกษตรกรมีความรู้ความชำนาญ ประสบการณ์มากน้อยไม่เท่ากัน ทำให้ความสามารถในการผลิตถั่วอะซูกิได้ผลผลิตที่แตกต่างกัน มีทั้งเกษตรกรที่มีผลผลิตต่อไร่สูง และเกษตรกรที่มีผลผลิตต่อไร่ต่ำ ทำให้รายได้จากการขายน้อย หรือขาดทุน เกษตรกรบางรายเป็นหนี้เนื่องจากการลงทุนที่ค่อนข้างสูง แต่ผลผลิตที่ได้ไม่เป็นไปตามคาด พื้นที่ที่มีการปลูกถั่วอะซูกิในความรับผิดชอบของมูลนิธิโครงการหลวงมี 4 แห่งคือ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปางอุ๋ง, ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนแปะ, ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแกน้อย, ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองเขียว ซึ่งแต่ละพื้นที่มีสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน กลุ่มเกษตรกรเป็นชาวเขาชนเผ่าต่างกัน มีขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมในการเพาะปลูกไม่เหมือนกัน

  6. แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง - แนวคิดข้อมูลเบื้องต้นถั่วอะซูกิ มูลนิธิโครงการหลวงได้ทำการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ถั่วอะซูกิพันธุ์เดิมชื่อ Erimo ซึ่งเป็นพันธุ์ถั่วอะซูกิพันธุ์ดีที่นำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี พ.ศ. 2539 โดยมูลนิธิโครงการหลวง เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรบนที่สูงปลูกเป็นการค้า แต่เนื่องจากถั่วอะซูกิพันธุ์ Erimo ที่นำเข้ามาปลูกเป็นครั้งแรกของประเทศไทยได้แสดงออกของความแปรปรวนของลักษณะพันธุกรรม เช่น อายุออกดอก ความสูงของลำต้น สีดอก สีฝัก ฯลฯ จึงได้ทำการคัดเลือกพันธุ์จากประชากรของถั่วพันธุ์ Erimoเพื่อพัฒนาเป็นอะซูกิสายพันธุ์ใหม่ สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ดินควรเป็นดินร่วนเหนียว มีการระบายน้ำดี มีความอุดมสมบูรณ์สูงระดับความเป็นกรด-เบส(pH) เท่ากับ 6.0-6.8 พื้นที่ปลูกควรมีความสูงจากน้ำทะเลประมาณ 600-1,200 เมตร ในช่วงการเจริญเติบโตควรมีปริมาณน้ำเพียงพอโดยเฉพาะในระยะการออกดอก ติดฝัก อุณหภูมิในช่วงฤดูปลูกประมาณ 15-25 องศาเซลเซียส

  7. - แนวคิดการเกษตรแบบยั่งยืน การเกษตรแบบยั่งยืนคือ การเกษตรที่เกื้อกูลทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม ขณะที่สามารถรักษาปรับปรุงสภาพแวดล้อม เน้นหลักการผลิตที่เหมาะสมกับระบบนิเวศโดยใช้ทรัพยากรในการผลิตอย่างประหยัดไม่ส่งผลเสียต่อสภาพแวดล้อมทั้งระยะสั้นและระยะยาว

  8. - แนวคิดการจัดการความรู้ ดร.ณพศิษฏ์ จักรพิทักษ์ ได้ให้นิยามคำว่า การจัดการความรู้ หมายถึง การบริหารจัดการองค์กรโดยเน้นการใช้ความรู้และประสบการณ์ของคนทำงาน รวมทั้งสาร สนเทศที่จำเป็นต้องใช้ในการทำงานเพื่อเพิ่มผลผลิตแก่องค์กรให้สามารถแข่งขันได้ในอุตสาหกรรมนั้นๆเพื่อการดำรงอยู่ขององค์กรและชีวิตและครอบครัวของพนักงานร่วมกัน และได้แบ่งกระบวนการจัดการความรู้ไว้ 6 กิจกรรม ดังนี้ 1) การตรวจสอบและระบุหัวข้อความรู้ 2) การสร้างกรอบแนวคิดในการบริหาร 3) การวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้ 4) การสร้างระบบสารสนเทศในการจัดการความรู้ 5) การจัดกิจกรรมในการจัดการความรู้ 6) การวัดประเมินผลการจัดการความรู้

  9. - มาตรฐาน ISO 12207 งานวิจัยนี้นำมาตรฐาน ISO 12207 มาปรับเป็นแนวทางในกระบวนการที่จะทำการวิจัยที่เป็นการเพิ่มทักษะคน จะประกอบไปด้วย กิจกรรม และงานที่จำเป็นต้องทำสำหรับกระบวนการนั้นๆ ในงานวิจัยนี้ได้เลือกดำเนินการ 15 กิจกรรม เพื่อการหาองค์ความรู้ การเลือกเครื่องมือ/สื่อ กิจกรรมที่เหมาะสมในการจัดการความรู้

  10. ทบทวนวรรณกรรม อุทัยวรรณ ภู่เทศ,(2551) ได้ศึกษากระบวนการจัดการความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารเคมีในการเพาะปลูกของเกษตรกร โดยเครื่องมือที่ใช้เป็นการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสนทนากลุ่ม เข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน เพื่อให้ได้พฤติกรรมการใช้สารเคมีทั้งก่อนและหลัง พบว่าพฤติกรรมของเกษตรกร7 ขั้นตอน คือ การรับความรู้จากภายนอก การเป็นบุคคลเรียนรู้ การเชื่อมความรู้ภายนอกเข้ากับภูมิปัญญาดั้งเดิมของชุมชน การทดลองปฏิบัติจริง การเลือกสรรความรู้ที่สามารถประยุกต์ใช้ได้ การจัดแหล่งเรียนรู้สำหรับบุคคลภายนอก และการจัดเก็บข้อมูล

  11. พร้อมทั้งมีการนำวิธี IPM ที่เน้นการบริหารจัดการสภาพการเพาะปลูกให้มีความเหมาะสมทั้งการเลือกใช้เมล็ดพันธุ์ การจัดการดิน น้ำ ปุ๋ยให้พอเหมาะ ลดการใช้ปุ๋ยเคมี เพื่อการจัดการระบบนิเวศที่สมดุล ลดการใช้สารเคมี

  12. วันธะนา สานุสิทธิ์, (2553) ได้ศึกษาทำการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนเชิงเปรียบเทียบของการปลูกข้าวโดยใช้สารเคมีและสารชีวภาพของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว โดยการสัมภาษณ์เกษตรกรจำนวน 125 ราย พบว่าเกษตรกรที่ใช้สารเคมี มีต้นทุนรวมเฉลี่ยทั้งหมดไร่ละ 7,450 บาท ผลผลิตต่อไร่ 70ถัง/ไร่ ขายได้กิโลกรัมละ 8.40 บาท เกษตรกรขาดทุนสุทธิไร่ละ 1,990 บาท และต้นทุนการปลูกข้าวโดยใช้สารชีวภาพมีต้นทุนรวมเฉลี่ยทั้งหมดไร่ละ 4,600 บาท ผลผลิตต่อไร่ 60ถัง/ไร่ ขายได้กิโลกรัมละ 10 บาท เกษตรกรได้กำไรสุทธิไร่ละ 1,400 บาท สาเหตุของการขาดทุนของเกษตรกรที่ใช้สารเคมี คือมีการใช้แรงงานคนในครัวเรือนมากทำให้ต้นทุนที่ไม่เป็นตัวเงินสูง แต่รายรับที่ได้จากการขายข้าวโดยใช้สารเคมีไร่ละ 5,460 บาท แต่เกษตรกรที่ใช้สารชีวภาพมีรายรับจากการขายข้าวไร่ละ 6,000 บาท

  13. สริตา อยู่พุ่ม, (2548) ได้ทำการวิเคราะห์ปฏิกิริยาร่วมระหว่างพันธุกรรมและสภาพแวดล้อมของถั่วอะซูกิ ที่ได้ทำการทดลองในสภาพแวดล้อมต่างกัน 4 แห่งคือ สถานีวิจัยและศูนย์ฝึกอบรมการเกษตรแม่เหียะ สถานีเกษตรหลวงปางดะ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองเขียว และศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนแปะ โดยใช้สายพันธุ์ถั่วอะซูกิที่คัดเลือกจากพันธุ์ Erimoโดยวิธี line selection จำนวน 18 สายพันธุ์ ผลจากการวิเคราะห์ความแปรปรวนรวมของทุกสภาพแวดล้อม พบความแตกต่างของสายพันธุ์ในลักษณะน้ำหนัก 100 เมล็ดซึ่เกิดจากความแตกต่างของสายพันธุ์ต่อสภาพแวดล้อม ส่วนสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการปลูกถั่วอะซูกิครั้งนี้คือ สถานีเกษตรหลวงปางดะ รองลงมาได้แก่ สถานีวิจัยและศูนย์ฝึกอบรมการเกษตรแม่เหียะ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนแปะ และศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองเขียวตามลำดับ ถั่วอะซูกิทุกสายพันธุ์รวมทั้งสายพันธุ์ Erimoมีเสถียรภาพในการให้ผลผลิตเฉลี่ยไม่ต่างกัน และมีความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมแบบทั่วไป

  14. ขอบเขตของข้อมูล 1.1 สำนักงานโครงการหลวงเชียงใหม่, ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปางอุ๋ง, ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนแปะ, ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแกน้อย, ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองเขียว 1.2 เจ้าหน้าที่ในสำนักงานโครงการหลวงเชียงใหม่, เจ้าหน้าที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปางอุ๋ง, เจ้าหน้าที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนแปะ, เจ้าหน้าที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแกน้อย, เจ้าหน้าที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองเขียว ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านวิธีการเพาะปลูก ดูแลถั่วอะซูกิ 1.3 กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกถั่วอะซูกิในเขตพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปางอุ๋ง, ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนแปะ, ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแกน้อย, ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองเขียว

  15. วิธีวิจัยตามมาตรฐาน ISO 12207 1.การศึกษาและเก็บความต้องการ (ENG1 : Requirement Elicitation) - ศึกษาข้อมูลถั่วอะซูกิเบื้องต้น,วิธีการเพาะปลูกดูแล,ข้อมูลเกษตรกร,ปริมาณผลผลิตของเกษตรกร - สัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญและเกษตรกรผู้ที่มีประสบการณ์ Best Practice

  16. 2.การวิเคราะห์ความต้องการของระบบการจัดการความรู้ (ENG2 : System Requirement Analysis) - วิเคราะห์เพื่อเลือกเครื่องมือ/สื่อ ที่เหมาะสมในการจัดการความรู้แก่เจ้าหน้าที่และเกษตรกร 3.การวิเคราะห์ความต้องการของซอฟต์แวร์ (ENG3 : Software Requirement Analysis) - วิเคราะห์หาความรู้,วิธีการที่ต้องการ มาประกอบกับเครื่องมือ/สื่อ ที่ใช้ในการจัดการความรู้ให้เหมาะสม

  17. 4.การออกแบบซอฟต์แวร์ (ENG4 : Software Design) - ทำการสร้างเครื่องมือ/สื่อ ที่ได้วิเคราะห์มาแล้วว่าเหมาะสมกับการจัดเก็บ เผยแพร่ต่อเจ้าหน้าที่และเกษตรกร 5.การสื่อสารในองค์กร (MAN1 : Organization Alignment) - ประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจให้แก่เจ้าหน้าที่และเกษตรกร ได้ทราบถึงจุดประสงค์ของการจัดการความรู้

  18. 6.การจัดการองค์กร (MAN2 : Organization Management) - วิเคราะห์เจ้าหน้าที่และเกษตรกรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ เพื่อทำการคิดกิจกรรมที่เหมาะสมในการจัดการความรู้กับกลุ่มเป้าหมาย 7.การจัดการโครงการ (MAN3 : Project Management) - กำหนดและจัดทำแผนโครงการ ตารางกิจกรรมในการดำเนินการจัดการความรู้ โดยประเมินเวลาและทรัพยากรที่มีอยู่

  19. 8.การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (RIN1 : Human Resource Management) - วิเคราะห์แนวทางในการบริหารกำลังคนที่มีอยู่ ขอบเขตหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมการจัดการความรู้ 9.การฝึกอบรม (RIN2 : Training) -ทำกิจกรรมการจัดการความรู้ให้กับเจ้าหน้าที่และเกษตรกร โดยศึกษา ทัศนคติ ความต้องการ วิธีการที่เหมาะกับการวางแผนอบรม

  20. 10.การจัดการความรู้ (RIN3 : Knowledge Management) -รวบรวมข้อมูล เอกสารที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมและการดำเนินงานต่างๆ เพื่อสนับสนุนการทำกิจกรรมในครั้งต่อไป 11.การจัดการโครงสร้างพื้นฐาน (RIN4 : Infrastructure) -สำรวจโครงสร้างพื้นฐาน อุปกรณ์ต่างๆที่จะใช้ในกิจกรรมว่าเพียงพอ เหมาะสมกับการทำกิจกรรมหรือไม่

  21. 12.การจัดการทรัพย์สิน (REU1 : Asset Management) - สำรวจอุปกรณ์ที่จะใช้ในการทำกิจกรรมว่ามีสภาพที่สมบูรณ์พร้อมกับการใช้งานหรือไม่ การใช้งานปัจจุบันและอนาคตคุ้มกับการจัดซื้อใหม่หรือไม่ 13.การใช้ซ้ำโปรแกรมต่างๆ (REU2 : Reuse Program Management) - การรวบรวมข้อมูลและรูปแบบการทำการจัดการความรู้ เพื่อให้เป็น template ในการจัดการความรู้ในครั้งต่อไป

  22. 14.ความรู้เฉพาะงาน (REU3 : Domain Engineering) - ทบทวน เก็บขั้นตอน วิธีการที่ดี เหมาะสม เพื่อเป็นต้นแบบในการพัฒนาและการนำไปใช้ในครั้งต่อไป ซึ่งจะมีการวิเคราะห์ผล ENG1, ENG2, ENG3, ENG4 และ MAN1 ว่าสามารถนำขั้นตอนใดไปปรับปรุงแก้ไขได้ในอนาคต 15.การตรวจประเมินคุณภาพ (QA : Quality Assurance) - การทำให้กิจกรรมการจัดการความรู้เป็นไปตามมาตรฐาน ISO 12207 (การวัดข้อมูลปริมาณผลผลิตทั้งก่อนและหลังการจัดการความรู้, สัมภาษณ์จากเจ้าหน้าที่และเกษตรกร)

  23. วัตถุประสงค์ เพื่อการเพิ่มทักษะการเพาะปลูกที่เหมาะสมกับเกษตรกรผู้ปลูกถั่วอะซูกิให้มีผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ควบคู่ไปกับการทำเกษตรแบบยั่งยืนเกื้อกูลทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม สามารถรักษาปรับปรุงสภาพแวดล้อม ใช้ทรัพยากรในการผลิตอย่างประหยัดไม่ส่งผลเสียต่อสภาพแวดล้อมทั้งระยะสั้นและระยะยาว

  24. ผลที่คาดว่าจะได้รับ - เกษตรกรได้เกิดการเรียนรู้ในขั้นตอนการเพาะปลูกดูแลถั่วอะซูกิที่เหมาะสม เกษตรกรได้ผลผลิตที่มีปริมาณมากขึ้น รู้จักและสามารถปฏิบัติตามการเกษตรแบบยั่งยืนได้ - เครื่องมือ/สื่อ เผยแพร่วิธีการเพาะปลูกดูแลถั่วอะซูกิ ที่ใช้ได้ผล และสามารถนำมาใช้ได้ซ้ำทั้งเจ้าหน้าที่ปัจจุบัน เกษตรกร และเจ้าหน้าที่ที่เข้ามาใหม่

  25. สถานที่ในการดำเนินการและรวบรวมข้อมูลสถานที่ในการดำเนินการและรวบรวมข้อมูล - สำนักงานโครงการหลวงเชียงใหม่ - ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปางอุ๋ง - ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนแปะ - ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแกน้อย - ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองเขียว

  26. ระยะเวลาการปฏิบัติงานระยะเวลาการปฏิบัติงาน เดือนพฤษภาคม 2555 – เดือนกุมภาพันธ์ 2556

  27. อ้างอิง สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 เชียงใหม่. การส่งเสริมการปลูกถั่วอะซูกิ(Azuki bean) บนพื้นที่ที่สูงปางอุ๋ง. (2548). [ระบบออนไลน์] http://www.ndoae.doae.go.th/article2010/2010015.html (4 มกราคม 2555) ถั่วอะซูกิพันธุ์ปางดะ. [ระบบออนไลน์] http://m.doa.go.th/pvp/planttabian/t17.pdf (2 มกราคม 2555) ธันวา จิตต์สงวน. การพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืน : บทวิเคราะห์จากปัจจัยทางเศรษฐกิจและ สังคม.[ระบบออนไลน์] http://www.mcc.cmu.ac.th/Seminar/pdf/657.pdf (4 มกราคม 2555) ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมวัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร อันเนื่องมาจากพระราชดำริ. หลักการเกษตรธรรมชาติ.[ระบบออนไลน์] http://watyanagr.nfe.go.th/watyanagr2/index.php?name=new s2&file=readnews&id=28(29 ธันวาคม 2554) Thaiall.(2554).การจัดการความรู้(Knowledge Management). [ระบบออนไลน์]. http://www.thaiall.com/km/indexo.html (3 มกราคม 2555)

  28. วิจารณ์ พานิช. 2554. การจัดการความรู้.[ระบบออนไลน์]. http://www.kmi.or.th/kmi-articles/prof-vicharn-panich/28-0001-intro-to-km.html.(28 ธันวาคม 2554). ณพศิษฎ์ จักรพิทักษ์. ทฤษฎีการจัดการความรู้. กรุงเทพฯ : ธนาเพลส, 2552. อุทัยวรรณ ภู่เทศ. กระบวนการจัดการความรู้ในการปรับเปลี่ยพฤติกรรมการใช้ สารเคมีในการเพาะปลูกของเกษตรกร บ้านหนองแอก ต.หนองหม้อ อ.ตาคลี จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. 2551 สริตา อยู่พุ่ม. การวิเคราะห์ปฏิกิริยาร่วมระหว่างลักษณะพันธุกรรมและ สภาพแวดล้อมในถั่วอะซูกิ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2548 วันธะนา สานุสิทธิ์. การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนเชิงเปรียบเทียบของการปลูก ข้าวโดยใช้สารเคมีและสารชีวภาพของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ตำบลไร่อ้อย จังหวัดอุตรดิตถ์.สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, (2553).

More Related