1 / 22

การปกครองท้องถิ่นสมัยใหม่

การปกครองท้องถิ่นสมัยใหม่. ศ.ดร.อุดม ทุมโฆสิต. ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาการปกครองท้องถิ่น. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ( NIDA). ปรัชญาการปกครองท้องถิ่นสมัยใหม่.

Download Presentation

การปกครองท้องถิ่นสมัยใหม่

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การปกครองท้องถิ่นสมัยใหม่การปกครองท้องถิ่นสมัยใหม่ ศ.ดร.อุดม ทุมโฆสิต ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(NIDA)

  2. ปรัชญาการปกครองท้องถิ่นสมัยใหม่ปรัชญาการปกครองท้องถิ่นสมัยใหม่ หมายถึง ปรัชญาการปกครองท้องถิ่นในระบอบ การปกครองแบบประชาธิปไตย ซึ่ง ท้องถิ่นมีความเป็นอิสระอย่างแท้จริง ในการปกครองตนเอง ภายใต้กฎหมายและความร่วมมือกับรัฐ 1

  3. ปรัชญาการปกครองภายใต้ระบอบประชาธิปไตยปรัชญาการปกครองภายใต้ระบอบประชาธิปไตย 1. การปกครอง คือ การใช้อำนาจอธิปไตยเพื่อรักษา/พัฒนา/จัดสรรผลประโยชน์ของชาติให้เกิดความมั่นคง ก้าวหน้า ประชามีความสุขอย่างเท่าเทียม 2. อำนาจอธิปไตยในระบอบประชาธิปไตย หมายถึงอำนาจทางปกครองในรัฐหนึ่งรัฐใดที่มีลักษณะ 1) สูงสุด (supremacy) 2) สัมบูรณ์ (absolute) 3) ไร้ข้อจำกัด (unlimitted) 2

  4. 3. การใช้อำนาจการปกครองในระบอบประชาธิปไตยจึงมีลักษณะ : 1) อำนาจเป็นของปวงชน เพื่อปวงชน และโดยปวงชน 2) การใช้อำนาจเป็นไปตามกรอบสัญญาประชาคม (รัฐธรรมนูญ) 3) อำนวยความสุขให้ประชาชนอย่างเท่าเทียม 3

  5. 4. เขตแดนของชาติแบ่งเป็น ชาติ & ท้องถิ่น การจัดสรรอำนาจในการปกครองจึงควรมีความสมดุลระหว่างชาติ & ท้องถิ่น 5. หากรวมศูนย์ไว้ที่ชาติ ท้องถิ่นจะอ่อนแอไร้การพัฒนา ยากจน แต่หากอำนาจในระดับชาติน้อยเกินไป ท้องถิ่นเข้มแข็ง ชาติอ่อนแอ ขาดความมั่นคง ฉะนั้น ศาสตร์และศิลป์ที่สำคัญของการปกครอง คือ การจัดสรรอำนาจระหว่างชาติ&ท้องถิ่น ให้สมดุล 4

  6. จัดการปกครองอย่างไรจึงจะมีประสิทธิภาพ :หลักการเป็นอย่างไร? 5

  7. ประสิทธิภาพ & ไม่มีประสิทธิภาพ เป้าหมาย รูปแบบ ผู้ใช้อำนาจ (รัฐบาล) กลาง & ท้องถิ่น ประชาธิปไตย & เผด็จการ 1. พิจารณาองค์ประกอบทางการปกครอง 2 แนวทางที่ขัดกัน 6

  8. 2. รูปแบบที่ดี ไม่มีประสิทธิภาพ (ไม่ดี) ไม่ดี ไม่ดี ประสิทธิภาพ (ดี) ดี ดี ประชาธิปไตยแบบรวมอำนาจแต่มี ประสิทธิภาพ (พอใช้) ประชาธิปไตยแบบกระจายอำนาจและมีประสิทธิภาพ (ดีมาก) ประชาธิปไตย (ดี) รวมอำนาจโดย เผด็จการแต่มี ประสิทธิภาพ (ไม่ดี) กระจายอำนาจ โดยเผด็จการแต่มีประสิทธิภาพ (ไม่ดี) เผด็จการ (ไม่ดี) กระจายอำนาจ (รัฐบาลท้องถิ่น) รวบอำนาจ (รัฐบาลกลาง) 7

  9. 3. วิธีการ : รัฐบาลกลางเข้มแข็ง ท้องถิ่นเข้มแข็ง เสมอภาค และสมดุล หลักการปกครองท้องถิ่น 1. ยึดหลักท้องถิ่นปกครองตนเอง : ปัญหาท้องถิ่นแก้ไขโดยท้องถิ่น 2. ท้องถิ่นพึ่งตนเอง : หารายได้เองเป็นหลัก 3. ท้องถิ่นควบคุมกันเอง : ตรวจสอบควบคุมโดยสภา/ประชาชน/ผลงาน รัฐบาลกลางกำกับดูแลเท่าที่จำเป็น 4. รัฐบาลกลางสนับสนุนท้องถิ่น ท้องถิ่นสนับสนุนรัฐบาลกลาง โดยจัดอำนาจหน้าที่ให้เหมาะสมสัมพันธ์กัน 8

  10. หลักการปกครองของรัฐบาลกลางหลักการปกครองของรัฐบาลกลาง 1. สนองเป้าหมายชาติ : พัฒนา แข่งขัน มั่นคง และเป็นสุขอย่างเท่าเทียม 2. ทำหน้าที่ระดับชาติที่ท้องถิ่นทำไม่ได้ : เช่น ความมั่นคง เศรษฐกิจ/การเงินในภาพรวม การศึกษาในภาพรวม 3. สนับสนุนท้องถิ่นให้ทำการปกครองได้อย่างมีประสิทธิภาพ (empower & partner) 4. สร้างความเสมอภาคในเรื่องสุข/ทุกข์ 9

  11. 4. ข้อเท็จจริงปัจจุบัน 1. รัฐธรรมนูญดีมาก เพราะเป็นไปตามหลักการการจัดการ- ปกครองที่ดีแล้ว เช่น หมวด 1 บททั่วไป ม.2 ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ม.3 อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ 10

  12. ม.78 วรรค (3) กระจายอำนาจให้ อปท. พึ่งตนเองและตัดสินใจในกิจการของท้องถิ่นได้เอง ส่งเสริมให้ อปท.มี ส่วนร่วมในการดำเนินการตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐพัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่น และระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ตลอดทั้ง โครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในท้องถิ่น ให้ทั่งถึงและเท่าเทียมกันทั่วประเทศ รวมทั้งพัฒนาจังหวัดที่มีความพร้อมให้เป็น อปท. ขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนในจังหวัดนั้น 11

  13. หมวด 14 การปกครองส่วนท้องถิ่น ม.281 ภายใต้บังคับมาตรา 1 รัฐจะต้องให้ความเป็นอิสระแก่ อปท. ตามหลักการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชน ในท้องถิ่น และส่งเสริมให้ อปท. เป็นหน่วยงานหลักในการ จัดทำบริการสาธารณะ และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาในพื้นที่ ท้องถิ่นใดมีลักษณะที่จะปกครองตนเองได้ย่อมมีสิทธิ จัดตั้งเป็น อปท. ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ 12

  14. ม.282 การกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องทำเท่าที่ จำเป็น และมีหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ชัดเจนสอดคล้องและเหมาะสมกับรูปแบบของ อปท. ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติโดยต้องเป็นไปเพื่อการคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นหรือประโยชน์ของประเทศ เป็นส่วนรวม และจะกระทบถึงสาระสำคัญแห่งหลักการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น หรือนอกเหนือจากที่กฎหมายบัญญัติไว้มิได้ 13

  15. ม.282 (ต่อ) ในการกำกับดูแลตามวรรคหนึ่ง ให้มีการกำหนด มาตรฐานกลางเพื่อเป็นแนวทางให้ อปท. เลือกไปปฏิบัติได้เอง โดยคำนึงถึงความเหมาะสมและ ความแตกต่างในระดับของการพัฒนาและประสิทธิ-ภาพในการบริหารของ อปท. ในแต่ละรูปแบบ โดย ไม่กระทบต่อความสามารถในการตัดสินใจดำเนินงานตามความต้องการของ อปท. รวมทั้งจัดให้มีกลไก การตรวจสอบการดำเนินงานโดยประชาชนเป็นหลัก 14

  16. 2. กฎหมายประกอบไม่ดี เพราะมีการกำกับดูแลที่มากเกินไป จน ทำให้ท้องถิ่นขาดอิสระ เช่น ให้อำนาจ ผวจ. นอภ - เรียกบุคคลมาชี้แจง (ม.9) - เรียกเอกสาร/หลักฐานมาตรวจสอบ (ม.90) - แนะนำตักเตือนให้กฎหมายตาม (ม.90) - ระงับการปฏิบัติ (ม.90) - นายก อบต. ที่ฝ่าฝืนคำสั่งถือว่าไม่ผูกพัน อบต. (ม.90) - ยุบสภา อบต. (ม.91) - มีอำนาจสอบสวนฝ่ายบริหาร & สภา หากฝ่าฝืนคำสั่ง (ม.92) - ปลดออกจากตำแหน่ง (ม.92) - อนุมัติ/ไม่อนุมัติข้อบัญญัติ 15

  17. ควรแก้ไขอย่างไร 16

  18. แก้กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่ดีขึ้น โดยยึดหลัก 1. กระจายอำนาจและภารกิจจากส่วนกลางไปสู่ท้องถิ่นและเปลี่ยนบทบาทส่วนกลางเป็นผู้สนับสนุน 2. พัฒนาประชาชนให้มีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งในการปกครองแบบประชาธิปไตย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับท้องถิ่น 3. พัฒนาท้องถิ่นให้มีสมรรถนะทางการปกครองและการบริหารสูง 17

  19. แก้กฎหมาย (ต่อ) 4. ลดอำนาจการควบคุมของส่วนกลางส่วนภูมิภาคลง ให้เหลือเท่าที่จำเป็นจริงๆ 5. การกำกับดูแลการใช้อำนาจอธิปไตยในระดับท้องถิ่น ควรจะทำเหมือนระดับชาติ คือ ต้องใช้วิธีสร้างสมดุลระหว่าง อำนาจบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ 6. จัดระบบความร่วมมือและการถ่วงดุลระหว่างท้องถิ่น/ชุมชนและองค์กรอื่นๆ ในสังคมให้เหมาะสม 18

  20. โดยสรุป การใช้อำนาจทางปกครอง & การกำกับดูแลควรเน้นกระบวนการนิติบัญญัติ กระบวนการประชาชน และระบบศาสตร์ โดยส่วนภูมิภาคมีบทบาทเป็น Inspector & facilitator ก็พอ 19

  21. ฝ่ายนิติบัญญัติ ฟ้อง การกำกับดูแลโดยสภา การกำกับดูแลโดยศาล ตรวจสอบให้ เป็นไปตามกฎหมาย ผวจ. นภอ. ฝ่ายบริหารท้องถิ่น ศาล ตรวจสอบและกำกับดูแลโดยประชาชน ประชาชน ฟ้อง ฟ้อง 20

  22. สอบถาม & อภิปราย 21

More Related